รายการอัพเดทล่าสุด

การเลี้ยงปลาหมอ



ปลาหมอไทย...เลี้ยงเป็นอาชีพตลาดนอก-ในประเทศยังต้องการ

ปลาหมอ เป็นปลาที่รู้จักและนิยมบริโภคกันอย่างแพร่หลาย ทั่วทุกภาคของประเทศไทยเนื่องจากปลาที่มีรสชาติ เป็นปลาที่ต้องการของตลาดทั้งภายในและต่างประเทศ ในขณะที่ผลผลิตปลาหมอไทยส่วนใหญ่ได้มาจากการทำประมง จากแหล่งน้ำธรรมชาติ ปัจจุบันมีเกษตรกรเลี้ยงปลาหมอไทยเป็นอาชีพกันมากขึ้น

       แหล่งที่อยู่อาศัย ปลาหมอไทย อาศัยอยู่ในแหล่งน้ำจืดทั่วๆไป ในพื้นที่ลุ่มน้ำปากพนัง ปลาหมอไทย สามารถปรับตัวเจริญเติบโตเข้ากับสภาพแวดล้อมที่เป็นน้ำกร่อยที่มีความเค็มไม่เกิน 7 ส่วนในพันได้ เป็นปลาที่มีความทนทานต่อสภาพแวดล้อม เนื่องจากมีอวัยวะพิเศษช่วยในการหายใจ

       ปลาหมอไทยมีชื่อเรียกแตกต่างกันไปในแต่ละท้องถิ่นเช่น ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เรียกว่า ปลาสะเด็ด ภาคเหนือ เรียกว่า ปลาแข็ง และภาคใต้ เรียกชื่อเป็นภาษายาวีว่า อีแกปูยู ชาวบ้านทั่วไปเรียกว่า ปลาหมอรูปร่างลักษณะภายนอก ปลาหมอไทยมีลำตัวค่อนข้างแบนลำตัวมีสีน้ำตาลดำ หรือคล้ำ ส่วนท้องมีสีขาวหรือเหลืองอ่อนส่วนลำตัวมีเกล็ดแข็ง กระพุ้งแก้มมีลักษณะเป็นหนามหยัก แหลมคม ใช้ในการปีนป่าย บริเวณโคนหางมีจุดกลมสีดำลักษณะความแตกต่างระหว่างเพศ ปลาหมอไทยเพศเมียจะมีขนาดใหญ่และน้ำหนักมากกว่า เพศผู้ เพศผู้มีลักษณะลำตัวเรียวยาว ในระยะฤดูวางไข่ส่วนท้องของปลาเพศเมียจะอูมเป่ง

       การเลือกสถานที่เลี้ยง เป็นปัจจัยหนึ่งที่ส่งผลให้การเลี้ยงปลาหมอไทยประสบความสำเร็จหรือไม่ ดังนั้นการเลือกสถานที่เลี้ยงและการออกแบบบ่อเลี้ยปลา ควรทำด้วยความรอบคอบโดยคำนึงถึงปัจจัยต่างๆ ดังนี้
1. ลักษณะดิน ควรเป็นดินเหนียว หรือดินเหนียวปนทราย น้ำไม่รั่วซึม สามารถเก็บกักน้ำได้ 4-6 เดือน ไม่ควรเลือกพื้นที่ที่เป็นดินทรายหรือดินปนกรวด
2. ลักษณะน้ำ พื้นที่เลี้ยงควรอยู่ใกล้แหล่งน้ำธรรมชาติ เช่น แม่น้ำ ลำคลอง ที่มีน้ำตลอดปี หรืออยู่ในเขตชลประทาน หากเป็นพื้นที่ที่อาศัยน้ำฝนเพียงอย่างเดียว ควรพิจารณาปริมาณน้ำฝนที่ตกในรอบปีด้วย
3. แหล่งพันธุ์ปลา เพื่อความสะดวกในการลำเลียงปลามาเลี้ยง พื้นที่เลี้ยงไม่ควรอยู่ห่างไกลจากแหล่งปลา
4. ตลาด แม้ว่าหลังจากจับปลาขายจะมีพ่อค้ามารับซื้อถึงปากบ่อ แต่หากพื้นที่เลี้ยงอยู่ใกล้ตลาด จะทำให้ได้เปรียบในการขนส่งผลผลิตเพื่อการจำหน่าย อย่างไรก็ตาม บ่อเลี้ยงกุ้งกุลาดำที่อยู่ในเขตพื้นที่น้ำจืด สามารถนำมาใช้เป็นบ่อเลี้ยงปลาหมอไทยได้

       การเตรียมบ่อเลี้ยง เป็นขั้นตอนที่สำคัญ ซึ่งจะส่งผลต่อผลิตที่จะได้รับ ขั้นตอนการเตรียมบ่อก่อนปล่อยปลาลงเลี้ยงสามารถทำได้ ดังนี้
1. สูบน้ำออกจากบ่อให้แห้ง การสูบน้ำจากบ่อให้แห้งจะช่วยกำจัดศัตรูปลาที่มีอยู่ในบ่อ หลังจากการสูบบ่อแห้งแล้วหว่านปูนขาวในขณะที่ดินยังเปียก ในอัตรา 60-100 กิโลกรัมต่อไร่เพื่อปรับสภาพความเป็นกรด-ด่างของดิน
2. กำจัดวัชพืชและพันธุ์ไม้น้ำ วัชพืชและพันธุ์ไม้น้ำที่มีอยู่ในบ่อ จะเป็นแหล่งหลบซ่อนตัวของศัตรูปลาหมอไทยเช่น ปลาช่อน กบ และงู เป็นต้น และทำให้ปริมาณออกซิเจนที่ละลายน้ำลดลง เนื่องจากวัชพืชน้ำใช้ออกซิเจนในการหายใจเช่นเดียวกับปลา นอกจากนี้ การที่มีพืชอยู่ในบ่อมาก จะเป็นอุปสรรคต่อการให้อาหาร และการวิดจับปลา
3. การตากบ่อ การตากบ่อจะทำให้แก๊สพิษในดินบางชนิดสลายตัวไป เมื่อถูกความร้อนและแสงแดด ทั้งยังเป็นการฆ่าเชื้อโรค และศัตรูปลาที่ฝังตัวอยู่ในดิน ใช้เวลาในการตากบ่อ 2-3 สัปดาห์
4. สูบน้ำเข้าบ่อ สูบน้ำใส่บ่อให้ได้ระดับ 60-100 เซนติเมตร ทิ้งไว้ 2-3 วัน ก่อนปล่อยปลาลงเลี้ยง แต่ก่อนที่เราจะปล่อยปลาลงเลี้ยง ต้องใช้อวนไนล่อนสีฟ้ากั้นรอบบ่อให้สูงจากพื้นประมาณ 90 เซนติเมตร เพื่อป้องกันปลาหลบหนีออกจากบ่อ เนื่องจากปลาหมอไทยมีนิสัยชอบปีนป่าย
5. การปล่อยปลาลงเลี้ยง การปล่อยพ่อพันธุ์และแม่พันธุ์ให้วางไข่ในบ่อ วิธีนี้จะช่วยลดปัญหาเรื่องลูกปลาตายในระหว่างการลำเลียงได้ โดยการคัดเลือกพ่อพันธุ์และแม่พันธุ์ที่มีไข่และน้ำเชื้อสมบูรณ์ พร้อมที่จะผสมพันธุ์วางไข่ คือตัวเมียจะมีส่วนท้องที่อูม มีไข่สีเหลือง ส่วนตัวผู้ที่ท้องจะมีเชื้อสีขาว คล้ายน้ำนม เมื่อคัดพ่อแม่พันธุ์ปลาได้แล้ว จะฉีดฮอร์โมนเร่งการวางไข่ให้กับตัวเมียในอัตราเข้มข้นฮอร์โมนสังเคราะห์ 10 ไมโครกรัม และยาเสริม 5 มิลลิกรัม ต่อปลา 1 กิโลกรัม แล้วปล่อยให้วางไข่ในกระชังตาห่างซึ่งแขวนอยู่ในบ่อที่มีระดับน้ำไม่น้อยกว่า 50 เซนติเมตร เมื่อวางไข่หมดแล้วจึงนำกระชังพ่อแม่พันธุ์ขึ้น ปล่อยให้ไข่ฟักเป็นตัว หลังจากลูกปลาฟักออกเป็นตัว ประมาณ 4 วัน จึงเริ่มให้อาหารสำเร็จรูปชนิดผง เป็นระยะเวลา 3-4 สัปดาห์ หลังจากนั้นจึงเปลี่ยนเป็นปลาสดสับละเอียด และเปลี่ยนเป็นอาหารเม็ด เมื่อปลามีขนาดใหญ่ขึ้น
 
อาหารและการให้อาหาร

       ปลาหมอไทยเป็นปลาที่กินอาหารจำพวกเนื้อสัตว์ ในการเลี้ยงจึงให้อาหารเม็ดปลาดุก ในอัตรา 3-5 % ของน้ำหนักตัว วันละ 2 ครั้ง เช้า-เย็น โดยในช่วงแรกของการเลี้ยงจะใช้อาหารเม็ดปลาดุกขนาดเล็กหรือปาสดสับละเอียด เป็นเวลา 2 เดือน และถัดมาเปลี่ยนเป็นอาหารเม็ดปลาดุกขนาดใหญ่ เมื่อปลามีขนาดใหย๋ขึ้น การให้อาหารต้องหว่านให้ทั่วบ่อ และต้องสังเกตการกินอาหารของปลาด้วย ถ้ามีอาหารเหลือมากเกินไป ควรลดอาหารในมื้อถัดไปให้น้อยลง เพราะอาจทำให้น้ำในบ่อเน่าเสียได้
 
การเปลี่ยนถ่ายน้ำ

       การเปลี่ยนถ่ายน้ำใหม่ จะทำให้ปลามีการกินอาหารดีขึ้น ส่งผลให้ปลาเจริญเติบโตดี ทั้งนี้ก่อนเปลี่ยนน้ำทำทุกครั้ง ต้องแน่ใจว่า คุณภาพน้ำที่สูบเข้ามาใหม่ไม่แตกต่างกับคุณภาพน้ำในบ่อมากนัก ในช่วงเดือนแรก ไม่จำเป็นต้องมีการเปลี่ยนถ่ายน้ำ แต่จะใช้วิธีเพิ่มระดับน้ำทุกสัปดาห์ หลังจากเดือนแรกแล้ว จึงเปลี่ยนถ่ายน้ำเดือนละ 2-3 ครั้ง โดยเปลี่ยนถ่ายน้ำครั้งละ 1 ใน 3 ของน้ำในบ่อ หรือขึ้นอยู่กับสภาพคุณภาพน้ำในบ่อด้วย

ระยะเวลาการเลี้ยงและการจับ

       ระยะเวลาการเลี้ยงขึ้นอยู่กับขนาดปลาของปลาที่ตลาดต้องการ แต่โดยทั่วไป จะใช้เวลาเลี้ยงประมาณ 4-5 เดือน การจับปลาหมอไทย โดยทั่วไปจะใช้วิธีการจับแบบวิดบ่อแห้ง โดยก่อนจับปลาจะต้องสูบน้ำออกจากบ่อให้เหลือน้อยแล้วจึงตีอวนจับปลา โดยลากอวนจากขอบบ่อด้านหนึ่งไปยังอีกด้านหนึ่ง แล้วจึงยกอวนขึ้น ใช้สวิงจับใส่ตะกร้าเพื่อคัดขนาด จนกระทั่งเหลือปลาจำนวนน้อยจึงสูบน้ำออกจากบ่อให้หมด หลังจากนั้นจึงตากบ่อให้แห้ง เพื่อเตรียมบ่อใช้เลี้ยงปลาในรุ่นต่อไป

       ในการจำหน่ายปลาหมอไทย แบ่งออกเป็น 3 ขนาด ได้แก่ ปลาขนาดใหญ่ ขนาด 6-10 ตัว/กก. ราคากิโลกรัมละ 55-60 บาท ปลาขนาดกลาง ขนาด 7-20 ตัว/กก. ราคากิโลกรัมละ 25-30 บาท ปลาขนาดเล็ก ขนาดมากกว่า 20 ตัว/กก. ราคากิโลกรัมละ 15-20 บาท

การป้องกันโรค

       โดยทั่วไปโรคปลาหมอไทยมักแพร่ระบาดในฤดูฝน ในทางปฏิบัติ เกษตรกรควรใช้เกลือเม็ดหว่านลงในบ่ออัตรา 80 กิโลกรัม ต่อไร่ ร่วมกับการใช้ปูนขาว อัตรา 20 กิโลกรัมต่อไร่ ละลายในน้ำแล้วสาดให้ทั่วบ่อ อย่างไรก็ตาม โรคที่เกิดขึ้นในบ่อเลี้ยงปลาหมอไทยมักเกิดจากปรสิตภายนอก เชื้อรา และแบคทีเรีย ต่อไปนี้
  ...โรคจุดขาว...

       อาการ ปลาจะมีจุดสีขาวขุ่นขนาดเท่าหัวเข็มหมุด กระจายอยู่ตามลำตัวและครีบ สาเหตุ เกิดจากเชื้อโปรโตซัว ที่กินเซลล์ผิวหนัง การป้องกันและรักษา เนื่องจากปรสิตชนิดนี้จะฝังตัวอยู่ใต้ผิวหนัง การกำจัดได้ผลไม่เต็มที่ วิธีที่ดีที่สุด คือการทำลายตัวอ่อนในน้ำ หรือทำลายตัวแก่ขณะว่ายน้ำอิสระ โดยการใช้ฟอร์มาลิน 150-200 ซีซีต่อน้ำ 1000 ลิตร แช่ไว้ 1 ชั่วโมง และแยกปลาที่เป็นโรคออกจากบ่อ

โรคจากเห็บระฆัง...
อาการ ปลาจะเป็นแผลตามผิวหนังและเหงือก สาเหตุ เกิดจากเห็บระฆังเข้าไปเกาะตามลำตัวและเหงือก
     การป้องกันและรักษา ปรสิตชนิดนี้จะแพร่ได้รวดเร็ว และทำให้ปลาตายได้ในระยะเวลาอันสั้น และมีการติดต่อระหว่างบ่อที่ใช้อุปกรณ์ร่วมกัน การกำจัดทำได้โดยใช้ฟอร์มาลิน 150-200 ซีซี ต่อน้ำ 1000 ลิตร แช่ไว้ 1 ชั่วโมง
  ...โรคตกเลือดตามซอกเกล็ด...
อาการ ปลาจะมีแผลสีแดงเป็นจ้ำๆ ตามลำตัวโดยเฉพาะที่ครีบและซอกเกล็ด ถ้าเป็นแผลเรื้อรังอาจมีอาการเกล็ดหลุด บริเวณรอบๆ และด้านบนของแผลจะมีส่วนคล้ายสำลีสีน้ำตาลปนเหลืองติดอยู่  สาเหตุ เกิดจากปรสิตเซลล์เดียวที่อยู่ร่วมกันเป็นกลุ่มหรือกระจุก
การป้องกันและรักษา
    1. ใช้เกลือเม็ด 5-10 กิโลกรัม ต่อน้ำ 1000 ลิตร แช่ไว้ 48 ชั่วโมง
    2. ใช้ฟอร์มาลิน 25-40 ซีซี ต่อน้ำ 1000 ลิตร หลังจากแช่ยาแล้ว ถ้าปลามีอาการไม่ดีขึ้น ควรเปลี่ยนน้ำแล้วพักไว้ 1 วัน จากนั้นจึงใส่ยาซ้ำอีก 1-2 ครั้ง
...โรคจากเชื้อรา...
อาการ ปลาจะมีแผลเป็นปุยขาวๆ ปนเทา คล้ายสำลีปกคลุมอยู่ สาเหตุ เกิดจากเชื้อรา
การป้องกันและรักษา
    1. ใช้มาลาไคท์กรีน 0.1-0.15 กรัม ต่อน้ำ 1000 ลิตร แช่ 24 ชั่วโมง
    2. ใช้ปูนขาว 20 กิโลกรัมต่อไร่ เพื่อปรับคุณภาพของน้ำในบ่อเลี้ยง



การเลี้ยงกดเหลือง

การเลี้ยงปลากดเหลือง
ปลากดเหลืองเป็นปลาน้ำจืดชนิดหนึ่งที่มีคุณค่าทางเศรษฐกิจสูง  มีราคาดี  เนื้อมีรสชาติดีเป็นที่นิยมของผู้บริโภคทั้งในรูปสดและแปรรูป  เช่น  แกงเหลือง  ฉู่ฉี่  และย่าง ฯลฯ  มีชื่อสามัญ  Green Catfish  และมีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า  Mytus nemurus  ได้รับการตั้งชื่อครั้งแรกโดย  Cuvier  และ  Valencieness  ในปี  2436  ปลากดเหลืองมีการเรียกชื่อแตกต่างกันไปตามท้องถิ่น  ซึ่งชาวประมงแถบจังหวัดกาญจนบุรี  เรียกว่า  ปลากดกลางหรือปลากลาง  แถบจังหวัดฉะเชิงเทราและชลบุรีเรียกว่า  ปลากดนาหรือปลากดเหลืองแถบจังหวัดสุราษฎร์ธานีเรียกว่า  ปลากดฉลอง  แถบจังหวัดปัตตานีและนราธิวาสเรียกว่า  อีแกบาวง  แต่ปลาชนิดนี้ประชาชนส่วนใหญ่ในประเทศไทย  เรียกว่า  ปลากดเหลือง

 การแพร่กระจาย   ปลากดเหลืองพบแพร่กระจายในแหล่งน้ำจืดทั่วไปของทวีปเอเชียตั้งแต่เอเชียตะวันตก  ได้แก่  อินเดีย  เนปาล  ปากีสถาน  และบังกลาเทศ  เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ได้แก่  เมียนมาร์  ไทย  สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว  กัมพูชา  เวียดนาม  มาเลเซีย  และอินโดนีเซีย  สำหรับในประเทศไทยพบแพร่กระจายในแหล่งน้ำธรรมชาติและอ่างเก็บน้ำทั่วทุกภาคของประเทศ  เช่นภาคเหนือพบในลำน้ำกก  ปิง  วัง  ยม  น่าน  กว๊านพะเยา  บึงบอระเพ็ด  เขื่อนภูมิพล  เขื่อนสิริกิติ์  และเขื่อนกิ่วลม  ภาคตะวันออกเฉียงเหนือพบในแม่น้ำมูล แม่น้ำโขงและสาขาในเขื่อนอุบลรัตน์  เขื่อนลำปาว  เขื่อนลำตะคอง  ภาคกลาง  พบในแม่น้ำเจ้าพระยา  แม่น้ำท่าจีน  แม่น้ำแม่กลอง  แม่น้ำปางปะกง  แม่น้ำป่าสัก  เขื่อนศรีนครินทร์  เขื่อนวชิราลงกรณ์และแก่งกระจาน  ภาคใต้พบในแม่น้ำตาปี  ปัตตานี  สายบุรี  บางนรา  โก-ลกและสาขาบริเวณปากแม่น้ำย่านน้ำกร่อยบริเวณชายฝั่งก็สามารถพบปลากดเหลืองได้  นอกจากนี้พบในทะเลน้อย  ทะเลสาบ  สงขลาและพรุต่างๆ  เช่น  พรุโต๊ะแดง  จังหวัดนราธิวาส  พรุควนเคร็งในจังหวัดนครศรีธรรมราช

  อุปนิสัย    ปลากดเหลืองสามารถเจริญเติบโตและอยู่อาศัยได้ในสภาพแวดล้อมที่หลากหลาย  แต่ชอบอาศัยอยู่ตามพื้นท้องน้ำที่เป็นแอ่งหินหรือพื้นดินแข็งน้ำค่อนใสมีกระแสน้ำไหลไม่แรงนักพบอยู่ในระดับความลึกตั้งแต่ 2-40 เมตร  ทั้งยังชอบอาหารบริเวณที่น้ำจากต้นน้ำเหนือเขื่อนหรืออ่างเก็บน้ำไหลมาบรรจบกับบริเวณแนวน้ำนิ่ง  โดยเฉพาะอย่างยิ่งบริเวณปากน้ำซึ่งมีน้ำจืดไหลปะทะกับแนวน้ำเค็ม  มีกุ้ง  ปลา  ปู  หอย  ค่อนข้างสมบูรณ์  ชาวประมงมักจับปลากดเหลืองสามารถที่จะปรับตัวให้เจริญโตได้ดีในสภาพน้ำพรุที่มีความเป็นกรดสูงและมีปริมาณสารแขวนลอยมาก
 
  รูปร่างลักษณะ  
  ปลากดเหลืองเป็นปลาน้ำจืดที่ไม่มีเกล็ด  ลำตัวกลมยาว  หัวค่อนข้างแบนและเรียวเป็นรูปกรวย(conical) กระดูกท้ายทอยยาวถึงโคนครีบหลัง ตาไม่มีหนังปกคลุม  ปากกว้าง  ขากรรไกรแข็งแรง  มีฟันซี่เล็กๆสั้นปลายแหลมเป็นกลุ่มหรือแผ่นบนขากรรไกรบน  ขากรรไกรล่างและบนเพดานปากซี่กรองสั้นเล็กปลายแหลม  มี 15 ซี่  มีหมวด 4 คู่คือที่บริเวณจมูก  ริมฝีปากบน  ริมฝีปากล่าง  และใต้คางอย่างละ 1 คู่  ซึ่งหนวดคู่แรกและหนวดคู่สุดท้ายจะมีความยาวสั้นกว่าคู่ที่สองและคู่ที่สาม
            ครีบหลังไม่สูงเป็นครีบเดี่ยวอยู่กลางหลัง  มีก้านครีบแข็ง 1 ก้านและก้านครีบอ่อน 7 ก้าน  ครีบไขมันเจริญดีอยู่บนหลังตามหลังตามส่วนท้ายของลำตัว  และอยู่ตรงข้ามกับครีบก้น  ครีบก้นมีก้านครีบอ่อน 10-11  ก้าน    ครีบหูเป็นครีบคู่อยู่หลังบริเวณเหงือก  มีเงี่ยงแข็งและแหลมคม 1 คู่  มีก้านครีบอ่อนข้างละ 9 ก้าน  ครีบท้องมีก้านครีบอ่อน 6-7 ก้าน  ครีบหางเว้าลึกแฉกบนยาวกว่าแฉกล่างประกอบด้วยก้านครีบอ่อน 16-17 ก้าน

              ลักษณะสีของลำตัวจะเปลี่ยนไปตามอายุ  ขนาด  และแหล่งที่อยู่อาศัยปลากดเหลืองที่มีขนาดโตเต็มวัย  ลำตัวบริเวณส่วนหลังมีสีน้ำตาลเข้มปนดำ  บริเวณข้างลำตัวมีสีน้ำตาลปนเหลือง  บริเวณท้องมีสีขาว  ฐานครีบอก  ครีบท้อง ครีบก้น  มีสีเทาเจือชมพู  ครีบหลัง  ครีบหางมีสีเขียวซีดจาง  ปลายครีบมีสีเทาปนดำ  ดวงตามีขนาดปานกลาง
               ปลากดเหลืองที่พบโดยทั่วไปมีขาด 20-25 เซนติเมตร  แต่เคยพบขนาดใหญ่สุดกว่า 60 เซนติเมตร  ปลาชนิดนี้มีกระเพาะลม  ซึ่งมีลักษณะกระเพาะลมตอนเดียวคล้ายรูปหัวใจทำหน้าที่ช่วยในการทรงตัวใช้ปรับความถ่วงจำเพาะของตัวปลาให้เข้ากับสภาพแวดล้อมที่อยู่อาศัย  เพื่อให้สามารถลอยตัวอยู่มนระดับต่างๆได้ตามความต้องการ

  การสืบพันธุ์    1.  ลักษณะความแตกต่างระหว่างปลากดเหลืองเพศผู้กับเพศเมียมีดังนี้

ลักษณะตัวผู้
ลักษณะตัวเมีย
      1.  ลำตัวจะมีลักษณะเรียงยาว
     1.  ลำตัวจะมีลักษณะป้อมสั้น
     2. อวัยวะเพศที่เรียกว่า genital papillae  ยื่นออกมาประมาณ 1 เซนติเมตรจะมีลักษณะเป็นติ่งเรียวยาวและแหลมตอนปลาย
     2.  อวัยวะเพศมีลักษณะเป็นรูกลม
  3. ในฤดูผสมพันธุ์  เมื่อรีดจากส่วนท้องจะมีน้ำเชื้อไหลออกมาลักษณะสีขาวขุ่น
    3.ในฤดูผสมพันธุ์จะมีส่วนท้องบวมเป่งนูนออกมาทางด้านข้างทั้งสองข้างและช่องเพศมีสีชมพูเรื่อๆ
              
              ปริมาณความดกของไข่ขึ้นกับขนาดของแม่ปลากดเหลือง ปลาเพศเมียที่พบเริ่มมีไข่แก่และสืบพันธุ์วางไข่ได้มีความยาวตั้งแต่ 18 เซนติเมตรขึ้นไป  ความยาวเฉลี่ย  28.56 เซนติเมตร  ส่วนปลาเพศผู้ความยาวเฉลี่ย  28.56 เซนติเมตร
                 แม่ปลาขนาดความยาว 18 เซนติเมตร  มีไข่ประมาณ 12,500 ฟอง
                 แม่ปลาขนาดความยาว 30 เซนติเมตร  มีไข่ประมาณ 40,000 ฟอง

   อัตราการปล่อยพ่อแม่พันธุ์     อัตราส่วนการปล่อยพ่อแม่พันธุ์ปลากดเหลืองเท่ากับอัตรา 1 ตัว/1 ตารางเมตร  โดยจะปล่อยแยกเพศหรือรวมเพศก็ได้

 ฤดูกาลวางไข่     ปลากดเหลืองสามารถวางไข่ได้เกือบตลอดทั้งปี  ส่วนใหญ่อยู่ระหว่างเดือนกุมภาพันธ์ถึงเดือนตุลาคมของทุกปีในแม่น้ำเจ้าพระยา สำหรับภาคใต้ตอนล่างฤดูผสมพันธุ์วางไข่อยู่ในช่วงเดือนพฤษภาคมถึงเดือนพฤศจิกายน   เป็นที่น่าสังเกตว่า  ฤดูกาลวางไข่ของปลากดเหลืองจะแตกต่างกันไปตามสภาพและที่ตั้งของพื้นที่  เช่น
·       อ่างเก็บน้ำเขื่อนอุบลรัตน์  ช่วงเดือนกรกฎาคมถึงกันยายนของทุกปี
·       แม่น้ำบางปะกงอยู่ระหว่างเดือนพฤศจิกายน
·       เขื่อนศรีนครินทร์  ช่วงเดือนกรกฎาคมถึงกันยายน
·       เขื่อนบางลาง  จังหวัดยะลา  ช่วงเดือนกรกฎาคมถึงตุลาคม
อนึ่ง  ปัจจัยที่เป็นตัวควบคุมความสุกแก่ของรังไข่  ได้แก่  ปริมาณน้ำฝนที่ตกในแต่ละช่วงของรอบปี
 การพัฒนาไข่ปลากดเหลือง   ไข่ปลากดเหลืองเป็นไข่จมและติดกับวัตถุ  เมื่อสัมผัสกับน้ำจะมีสารเมือกเหนียวที่รอบเปลือกไข่ ทำให้ไข่ปลาติดกับวัตถุหรือไข่ติดกันเป็นกลุ่มก้อนไข่แก่มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางเฉลี่ย 0.82  มิลลิเมตร  ไข่ที่ได้รับการปฏิสนธิจะขยายขึ้นเป็นขนาดประมาณ 1 มิลลิเมตร  มีลักษณะกลม  สีเหลืองใสสด  ส่วนไข่ที่ไม่ได้รับการผสมจะมีสีขาวขุ่นหรือบิดเบี้ยว   การพัฒนาไข่ปลากดเหลืองเป็นตัว  ที่อุณหภูมิ 26-28 องศาเซลเซียส ภายในเวลา 30 ชั่วโมง  เมื่อมีอายุย่างเข้าวันที่4 ลักษณะลำตัวและครีบต่างๆเริ่มคล้ายกับปลาเต็มวัย  ลูกปลามีขนาดประมาณ 0.8 เซนติเมตร  ลูกปลาอายุ 10 วัน  มีความยาวประมาณ 1.5 เซนติเมตร

  นิสัยการกินอาหาร
              ปลากดเหลืองมีกระเพาะอาหารที่มีลักษณะเป็นถุงตรงยาว  ผนังหนาสีขาวขุ่น  นิสัยการกินอาหารในธรรมชาติได้แก่  ปลาขาดเล็ก  ตัวอ่อนแมลงหรือแมลงในน้ำ  กุ้งน้ำจืด  เศษพันธุ์ไม้น้ำ  และหอยฝาเดียว  เป็นต้น  จากลักษณะรูปร่างที่ปราดเปรียวของปลากดเหลือง  พบว่า  จะโฉบจับเหยื่อที่อยู่ผิวน้ำหรือกลางน้ำได้อย่างว่องไว  โดยจะหากินในช่วงกลางคืนได้ดีกว่าช่วงกลางวัน

  การเพาะพันธุ์
              ปลากดเหลืองที่ใช้ในการเพาะพันธุ์ส่วนใหญ่ได้จากการรวบรวมพันธุ์จากแหล่งน้ำธรรมชาติ  เช่น  แม่น้ำ  ลำคลอง  หรืออ่างเก็บน้ำต่างๆ โดยคัดเลือกพันธุ์ปลาที่แข็งแรง  อวัยวะทุกอย่างครบสมบูรณ์  ขนาดไม่ต่ำกว่า 400 กรัม  นำมาเลี้ยงเป็นพ่อแม่ปลาได้ทั้งในบ่อดินและกระชัง  แต่ควรแยกเพศปลาตัวผู้และตัวเมียออกจากกัน
                บ่อดิน   ควรมีขนาด  800-1,600 ตารางเมตร  อัตราการปล่อยปลา 1-2 ตัวต่อตารางเมตร
                กระชัง  ควรเป็นกระชังอวนโพลี  ขนาดตา 2-3 เซนติเมตร  ขนาดกระชังกว้าง 5 เมตร ยาว 5 เมตร  ลึก 2.5 เมตร  อัตราการปล่อยปลา 50-100 ตัว ต่อกระชัง
         การขุนเลี้ยงพ่อแม่พันธุ์  ให้อาหารจำพวก  ปลาสดสับผสมหัวอาหารและเสริมด้วยอาหารเม็ดปลาดุก  หรือให้อาหารต้มสุกจำพวกปลายข้าว 2 ส่วน รำละเอียด 3 ส่วน  ปลาป่น 1 ส่วน  วิตามินและแร่ธาตุประมาณ 1 เปอร์เซ็นต์  โดยน้ำหนัก  เสริมด้วยอาหารเม็ดปลาดุกเล็ก 1 ครั้ง  ต่อสัปดาห์  ปริมาณอาหารที่ให้ในแต่ละวันประมาณ 2-3 เปอร์เซ็นต์ของน้ำหนักปลา  ควรมีการเปลี่ยนถ่ายน้ำใหม่ในบ่อประมาณ 1-2 ครั้ง ต่อเดือนปริมาณ 1 ใน 3 ของบ่อ

  การคัดเลือกพ่อแม่ปลา
               การตรวจสอบพ่อแม่ปลาที่มีความสมบูรณ์ควรทำด้วยความระมัดระวังอาจใช้ผ้าขนหนูปิดหัวปลา  โดยเฉพาะบริเวณตาของพ่อแม่ปลา  แล้วหงายท้องตรวจความพร้อมของปลา  จะป้องกันการบอบช้ำ  และลดความเครียดได้  ปลาเพศเมียที่มีไข่แก่  สังเกตจากส่วนท้องจะบวมเป่งและนิ่ม  ช่องเพศมีสีชมพูเรื่อๆปลาเพศผู้  อวัยวะเป็นติ่งแหลมยื่นยาวออกมาไม่ต่ำกว่า 1 เซนติเมตร

                พ่อแม่ปลาที่ใช้ควรมีน้ำหนักตั้งแต่ 450 กรัม  หรือเป็นปลาที่มีอายุไม่ต่ำกว่า 18 เดือนขึ้นไป  โดยปกติแล้วแม่พันธุ์ปลาจะมีน้ำหนักมากกว่าพ่อแม่พันธุ์ปลา

  การฉีดฮอร์โมนผสมเทียม

             ฮอร์โมนที่ใช้ในการฉีดเร่งให้แม่ปลามีไข่แก่  และพ่อปลามีน้ำเชื้อสมบูรณ์ปัจจุบันนิยมใช้ฮอร์โมนสังเคราะห์ (synthetic  hormore, LHR Ha)  ซึ่งมีชื่อทางการค้าว่า  ซูพรีแฟค (Suprefact) ร่วมกับสารระงับการทำงานของระบบหลั่งฮอร์โมนคือ  โดมเพอริโดน (Domperidone) หรือมีชื่อทางการค้าว่าโมทีเลียม (Motilium)


             โดยฉีดกระตุ้นทั้งเพศผู้และเพศเมียในเพศเมียฉีดเข็มแรกในอัตรา 5-7 ไมโครกรัมและยาเสริมฤทธิ์ 5  มิลลิกรัมต่อแม่ปลาน้ำหนัก 1 กิโลกรัม  เข็มที่สอง ห่างจากเข็มแรก 6 ชั่วโมง  ในอัตรา 15-20 ไมโครกรัม  และยาเสริมฤทธิ์ 5 มิลลิกรัมต่อแม่ปลาน้ำหนัก 1 กิโลกรัม  ส่วนปลาเพศผู้ฉีดในอัตรา 5 ไมโครกรัม  และยาเสริมฤทธิ์ 5 มิลลิกรัม  ต่อพ่อปลาน้ำหนัก 1 กิโลกรัม
              ทั้งนี้แม่ปลาพร้อมที่จะรีดไข่ผสมน้ำเชื้อหลังจากฉีดน้ำยาเข็มที่ 2 ประมาณ 6-8 ชั่วโมง  ถ้าหากปลาเพศผู้อยู่ในสภาวะสมบูรณ์เพศเต็มที่ก็ไม่จำเป็นต้องฉีดฮอร์โมนกระตุ้นก็ได้

  ตำแหน่งที่ฉีดฮอร์โมน
               การฉีดฮอร์โมนปลากดเหลืองนั้น  ตำแหน่งที่เหมาะสมที่สุดคือ  บริเวณกล้ามเนื้อใต้ครีบหลังส่วนต้นเหนือเส้นข้างตัว  โดยใช้เข็มเบอร์ 24 แทงเข็มเอียงทำมุมกับลำตัวประมาณ 30 องศา  แทงลึกประมาณ 1 นิ้ว ( 2 เซนติเมตร )
การรีดไข่ผสมน้ำเชื้อ
             ก่อนการรีดไข่ปลากดเหลืองเพื่อผสมกับน้ำเชื้อจะต้องเตรียมวัสดุและอุปกรณ์ต่างๆ ในการฟักไข่ให้พร้อม  ได้แก่  กะละมังเคลือบที่เช็ดแห้งสนิท  คีมคีบผ้าขาวบาง  ขนไก่  และอวนมุ้งไนลอนตาถี่สีฟ้า  หรือ  กระชังผ้าโอลอนแก้วสำหรับฟักไข่ ฯลฯ

              การรีดไข่โดยจับแม่ปลาให้แน่นพร้อมทั้งเช็ดลำตัวให้แห้ง  รีดไข่ใส่กะละมังพร้อมกันนี้ผ่าเอาถุงน้ำเชื้อจากพ่อปลา  ใช้คีมคีบถุงน้ำเชื้อออกมาขยี้ในผ้าขาวบางให้น้ำเชื้อไหลลงไปผสมกับไข่  ใช้ขนไก่คนให้ไข่กับน้ำเชื้อผสมเข้ากันอย่างทั่วถึงในขั้นตอนนี้ต้องทำอย่างรวดเร็ว  และรีบนำไข่ที่ผสมแล้วไปฟัก  โดยโรยบนอวนมุ้งไนลอนตาถี่สีฟ้า  หรือบนกระชังผ้าโอลอนแก้ว  ในระดับน้ำลึกประมาณ 20-30 เซนติเมตร  การโรยไข่ปลาพยายามให้ไข่กระจายอย่าทับซ้อนกันเป็นก้อนเปิดน้ำไหลผ่านตลอดเวลาและมีเครื่องเพิ่มอากาศใส่ไว้ในบ่อฟักไข่ปลาด้วย

  การฟักไข่
               ไข่ปลากดเหลืองเป็นไข่ติด  ไข่ที่ดีซึ่งได้รับการผสมควรมีลักษณะกลมมีสีเหลืองสดใสและพัฒนาฟักออกเป็นตัว  โดยใช้เวลาประมาณ 27-30 ชั่วโมง  ที่อุณหภูมิของน้ำ 26-28 องศาเซลเซียส  ถุงอาหาร (yolk sac) จะยุบตัวหมดในเวลา 3 วัน  หลังจากนั้นลูกปลาจะเริ่มกินอาหาร
               บ่อเพาะฟักลูกปลากดเหลืองควรมีหลังคาคลุมบังป้องกันแสงแดดและน้ำฝนได้

  การอนุบาลลูกปลาวัยอ่อน
               นำลูกปลาวัยอ่อนที่ฟักออกเป็นตัวใหม่ๆ  ไปอนุบาลในบ่อซีเมนต์ขนาด 50 ตารางเมตร  ระดับน้ำลึก 20-30 เซนติเมตร  สามารถอนุบาลลูกปลาได้ 50,000-100,000 ตัว  หรือ 1,000-2,000 ตัว/ตารางเมตร  ให้ออกซิเจนตลอดเวลา
              อาหารลูกปลา  ในสัปดาห์แรกเป็นอาหารที่มีชีวิต  ได้แก่  ไรแดงหรือ  อาร์ทีเมีย  จนกระทั่งลูกปลามีอายุ 8-10 วัน  จึงเริ่มฝึกให้กินอาหารสมทบ  ได้แก่  เนื้อปลาบดผสมวิตามินและแร่ธาตุ  ส่วนปริมาณการให้อาหารจะให้น้อยๆแต่บ่อยครั้ง  ในระยะนี้อาจผสมยาปฎิชีวนะกับอาหารในอัตรา 3 กรัม/อาหาร  1 กิโลกรัม  เพื่อป้องกันโรคพวกแบคทีเรีย  โดยให้วันละ 1 ครั้ง  ติดต่อกัน 5-7 วัน
             ระดับน้ำ  ในบ่ออนุบาลลูกปลาวัยอ่อนระยะแรกประมาณ  20-30 เซนติเมตรและค่อยๆ  เพิ่มปริมาณน้ำเป็น 50 เซนติเมตร เมื่อเริ่มให้อาหารสมทบจำพวกเนื้อปลาบด  และส่วนผสม  ทั้งนี้  การทำความสะอาดพื้นบ่อเป็นสิ่งจำเป็นมาก  โดยดูดตะกอนพื้นบ่อ  เปลี่ยนถ่ายน้ำประมาณ 1 ใน 3 ของบ่อ  และเพิ่มประมาณน้ำให้เท่าเดิมในช่วงนี้
               การป้องกันโรค  ควรใส่ฟอร์มาลินในความเข้มข้น 40 พีพีเอ็ม  แช่ตลอด 24 ชั่วโมง  สัปดาห์ละ 1 ครั้ง
               การคัดขนาด  เมื่ออนุบาลลูกปลามีอายุ 8-10 วัน  จะเริ่มขนาดต่างกันจึงต้องหมั่นคัดขนาดลูกปลาเพื่อช่วยลดการกินกันเอง  และระยะเวลา 45 วัน  จะได้ลูกปลาขนาด 1.5-2.0 นิ้ว
  การอนุบาลลูกปลาในบ่อซีเมนต์
               จากการอนุบาลปลากดเหลืองขนาดความยาว 3-4 เซนติเมตร  อัตราการปล่อย 50 ตัว/ตารางเมตร  ในบ่อซีเมนต์ 

              พบว่า  ลูกปลาที่ได้รับอาหารกุ้งเบอร์ 2  มีอัตราการเจริญเติบโตและอัตรารอดตายดีที่สุด  เมื่อเทียบกับอาหารปลาดุก (โปรตีน 31 เปอร์เซ็นต์) และเนื้อปลาสับ (โปรตีน 10 เปอร์เซ็นต์)  คือลูกปลามีขนาดความยาว 5-8 เซนติเมตร  ภายใน 7 สัปดาห์

  การอนุบาลลูกปลาในบ่อดิน
             บ่อดินที่ใช้อนุบาลลูกปลา ต้องมีการกำจัดศัตรูของลูกปลาก่อน และพื้นบ่อควรเรียบสะอาด  ปราศจากพืชพรรณไม้น้ำต่างๆ  ควรมีร่องขนาดกว้าง 0.5-1.0 เมตร  ยาวจากหัวบ่อจรดท้ายบ่อ  และลึกจากพื้นบ่อประมาณ 20 เซนติเมตร


              เพื่อความสะดวกในการรวบรวมลูกปลาตรงปลายร่องมีแอ่งลึก  พื้นที่ประมาณ 2-4 ตารางเมตรเป็นแหล่งรวบรวมลูกปลา  ลูกปลากดเหลืองอายุ 12-15 วัน  ขนาด 1-1.5 เซนติเมตร  บ่อขนาด  800 ตารางเมตร  ระดับน้ำลึก 0.50-0.80 เมตร  อัตราการปล่อยอนุบาลบ่อละ 50,000-70,000 ตัว  ให้อาหารผสมได้แก่  เนื้อปลาบด 80 เปอร์เซ็นต์  อาหารผง (powder food)  19.6 เปอร์เซ็นต์  วิตามินและแร่ธาตุ 0.4 เปอร์เซ็นต์  ปั้นเป็นก้อนเล็กๆโยนให้ลูกปลาในบ่อกินวันละ 2 ครั้ง  เช้าและเย็น  โดยปรับปริมาณอาหารที่ให้ทุกสัปดาห์เพื่อให้เพียงพอกับจำนวนลูกปลา  นอกจากนี้อาจผสมน้ำมันปลาหมึกในอาหารจะช่วยดึงดูดลูกปลาให้กินอาหารได้ดีขึ้น  เมื่อลูกปลาอายุประมาณ 15 วัน  จะมีขนาด 4.5-5.0 เซนติเมตร

  การเลี้ยงปลาขนาดตลาด
                การเลี้ยงปลากดเหลืองให้ได้ขนาดตามที่ตลาดต้องการนั้นสามารถเลี้ยงได้ทั้งในบ่อดินและกระชัง
1.   การเลี้ยงในบ่อดิน  ควรปรับสภาพบ่อโดยใช้หลักการเตรียมบ่อเลี้ยงปลาทั่วๆไปดังนี้
  1.1   ตากพื้นบ่อให้แห้งพร้อมทั้งปรับสภาพก้นบ่อให้สะอาด
      1.2   ใส่ปูนขาวเพื่อปรับสภาพของดินโดยใส่ปูนขาวในอัตราประมาณ 60-100 กิโลกรัม/ไร่
      1.3   ใส่ปุ๋ยคอกเพื่อให้เกิดอาหารธรรมชาติสำหรับลูกปลาควรใส่ปุ๋ยคอกในอัตราประมาณ 60-100 กิโลกรัม/ไร่
      1.4 นำน้ำเข้าบ่อโดยกรองไม่ให้ศัตรูของลูกปลา  ติดเข้ามากับน้ำระดับน้ำลึก 30-40 เซนติเมตร  วันรุ่งขึ้นจึงปล่อยปลาและเพื่อให้ลูกปลามีอาหารกิน  ควรเติมไรแดงในอัตราประมาณ 5 กิโลกรัม/ไร่  หลังจากนั้นจึงให้อาหารผสมแก่ลูกปลา  ก่อนที่จะนำลูกปลามาเลี้ยงควรตรวจดูด้วยว่าเป็นลูกปลาที่มีสุขภาพดีและแข็งแรง

               การปล่อยลูกปลา ลงบ่อเลี้ยงจะต้องปรับสภาพอุณหภูมิของน้ำ ในถุงและน้ำในบ่อให้เท่าๆกันก่อน  โดยแช่ถุงบรรจุลูกปลาในน้ำประมาณ 30 นาทีจึงปล่อยลูกปลา  เวลาที่เหมาะสมในการปล่อยลูกปลาควรเป็นเวลาตอนเย็นหรือตอนเช้า
               การเลี้ยงปลากดเหลืองในบ่อดินขนาด 2 ไร่จำนวน 2 บ่อ  ของเกษตรกรกิ่งอำเภอคลองหอยโข่ง จังหวัดสงขลา  ในอัตราการปล่อยปลาขนาดความยาว 15.0-17.0 เซนติเมตร  น้ำหนักระหว่าง 22-42 กรัม  ตารางเมตรละ 1 ตัวหรือ  ไร่ละ 1,600 ตัว  โดยให้อาหารจำพวกปลาเป็ดสับผสมวิตามินและแร่ธาตุ ใช้ระยะเวลาในการเลี้ยงประมาณ 7 เดือน  จึงจับปลาจำหน่าย  ได้น้ำหนักปลาทังสิ้น 2,125 กิโลกรัม  เป็นผลผลิตไร่ละ 1,062.5 กิโลกรัม  น้ำหนักตัวระหว่าง 400-500 กรัม  (ประมาณ 2.40 ตัว/กิโลกรัม)  ได้ปลา 5,110 ตัว  อัตราการรอดตาย 79.82 เปอร์เซ็นต์  โดยใช้ปริมาณอาหารทั้งหมด 9,562 กิโลกรัม  มีอัตราแลกเนื้อ (FCR) เท่ากับ 2 : 4.5  ดังตารางต่อไปนี้

  ตารางที่ 1   การเลี้ยงปลากดเหลืองในบ่อดินของเกษตรกรจังหวัดสงขลา

บ่อ
จำนวนที่ปล่อย (ตัว)
น้ำหนักเริ่มปล่อย(ตัว)
จำนวนปลาที่เหลือ(ตัว)
อัตราการรอด(%)
น้ำหนักเฉลี่ย(กรัม)
น้ำหนักรวม(กิโลกรัม)
3,200
3,200
15.41
15.80
2,548
2,760
73.38
86.25
419.50
413.00
985
1,140
เฉลี่ย
3,200
15.60
2,654
76.80
416.25
1,062.5
ที่มา  :  สถานีประมงน้ำจืดจังหวัดสงขลา ,2537
            2. การเลี้ยงปลารุ่นในกระชัง สถานีประมงน้ำจืดจังหวัดสงขลาได้ทำการเลี้ยงปลากดเหลืองให้เป็นปลารุ่นในกระชังตาข่ายพลาสติก  ขนาด 2 ´3 ´1.5 เมตร  ปลาความยาวเฉลี่ย 7.17  เซนติเมตร  น้ำหนักเฉลี่ย 3.14 กรัม  อัตราการปล่อย 300 ตัว/กระชัง
            เปรียบเทียบอาหารเนื้อปลาสดสับกับอาหารเม็ดปลากินเนื้อในระยะเวลา 6 เดือน  พบว่า  ปลาที่เลี้ยงด้วยเนื้อปลาสดสับ  มีอัตราการเจริญเติบโตดีมาก  คือ  มีน้ำหนักเฉลี่ย 83.87  กรัม  อัตราการรอดตาย  73.79 เปอร์เซ็นต์  อัตราแลกเนื้อ 4.98  คิดเป็นต้นทุนอาหาร  24.90 บาท/กิโลกรัม (ปลาสดราคากิโลกรัมละ 5 บาท)
           ในขณะที่การเลี้ยงด้วยอาหารเม็ดปลากินเนื้อ  ปลาที่เลี้ยงมีน้ำหนักเฉลี่ย 72.61 กรัม  อัตราการรอดตาย 59.29 เปอร์เซ็นต์  อัตราแลกเนื้อ 2.76 คิดเป็นต้นทุนอาหาร 33.12 บาท/กิโลกรัม (อาหารเม็ดปลากินเนื้อราคากิโลกรัมละ 12 บาท)
             3.  การเลี้ยงปลาในกระชัง  การเลี้ยงปลากดเหลืองในกระชังโดยที่ตัวกระชังทำด้วยตาข่ายพลาสติกขนาดกระชัง 3 ´4 ´1.8 เมตร  ปล่อยปลาขนาด 200-250 กรัม  จนถึงขนาดตลาด  อัตราปล่อย 1,000ตัว/กระชัง  ให้ปลาเป็ดและส่วนผสมอื่นๆเป็นอาหารวันละ 1 ครั้ง  ใช้เวลาเลี้ยง 4 เดือน  ผลปรากฏว่าปลาเจริญเติบโตมีน้ำหนักเฉลี่ย 540 กรัม/ตัว  อัตรารอดตาย 82.0 เปอร์เซ็นต์  ผลผลิต 462.38 กิโลกรัม/กระชัง
            ข้อควรคำนึงในการเลี้ยงปลากดเหลืองให้ได้ขนาดที่ตลาดต้องการนั้น  ถ้าเลี้ยงในบ่อดิน  พันธุ์ปลาที่ปล่อยควรเริ่มที่ขนาด 5-7 เซนติเมตร  อัตราการปล่อยตารางเมตรละ 1-2 ตัว  ส่วนการเลี้ยงในกระชังควรปล่อยปลาตารางเมตรละ 50-70 ตัว  และควรหมั่นคัดขนาดปลาให้สม่ำเสมอกันด้วย

  ต้นทุนและผลตอบแทน
                การเลี้ยงปลากดเหลืองในบ่อดิน  จากปลาขนาดความยาวระหว่าง 15 –17 เซนติเมตร  หรือน้ำหนักเฉลี่ย 32 กรัม/ตัว  โดยให้ปลาเป็ด  ไส้ไก่  วิตามินและแร่ธาตุเป็นอาหาร  พบว่าในระยะเวลา 7 เดือน  ได้ผลผลิตปลาขนาดเฉลี่ย 2.4 ตัว/กิโลกรัม  ไร่ละประมาณ 1,062.50 กิโลกรัม  คิดเป็นรายได้ 63,750 บาท  โดยมีต้นทุนที่เป็นเงินสด 32,377.50 บาท/ไร่ ต้นทุนรวมทั้งสิ้นไร่ละ 49,125.02 บาท รายได้เหนือต้นทุนที่เป็นเงินสด 32,377.50 บาท/ไร่  มีกำไรสุทธิไร่ละ  14,625 บาท  และคิดเป็นผลตอบแทนต่อการลงทุนประมาณ 29.77 เปอร์เซ็นต์  ดังตารางที่ 2
 ตารางที่ 2   รายได้และต้นทุนการเลี้ยงปลากดเหลืองในบ่อดิน  จังหวัดสงขลา  ปี 2536


รายการ
เงินสด
          ไม่เป็นเงินสด
                  รวม
รายได้(บาท,1,062.5 กก.´ 60 บ./กก.)
-
63,750.00
ต้นทุนผันแปร(บาท/ไร่)
31,372.50
15,328.03
46,700.53
-  ค่าพันธุ์ปลา
4,800.00
-
4,800.00
-  ค่าอาหารปลา
24,562.50
2,230.00
26,792.50
-  ค่าปุ๋ยและปูนขาว
1,120.00
100.00
1,220.00
-  ค่ายาป้องกันรักษาโรค
320.00
-
320.00
-  ค่าน้ำมันเชื้อเพลิง
350.00
-
350.00
-  ค่าขนส่ง
220.00
-
220.00
-  ค่าแรงงาน
-
12,000.00
12,000.00
-  ค่าเสียโอกาสการลงทุน
-
1,098.03
1,098.03
-  ค่าเสื่อมบ่อปลา
-
2,424.99
2,424.49
-  ค่าเสื่อมอุปกรณ์ฟาร์ม
-
470.00
470.00
-  ค่าเสียโอกาสเงินลงทุน สร้างบ่อ/อุปกรณ์
-
81.99
81.99
ต้นทุนทั้งหมด
31,372.50
17,753.02
49,125.02
รายได้สุทธิ
+17,049.47
กำไร(บาท/ไร่)
+14,624.98
ที่มา  :  สุขาวดี  และศราวุธ, 2537
              ขนาดกระชัง 3 ´4 ´ 1.8 เมตร  ปล่อยปลารุ่นอายุ 4 เดือน  ในระยะเวลา 120 วัน  ได้ผลผลิต 462.38 กิโลกรัม  คิดเป็นรายได้ 16,402.63 บาท  รายได้สุทธิ 12,322.78 บาท  รายได้เหนือต้นทุนที่เป็นเงินสด  13,919.25 บาท  กำไรสุทธิ  11,340.17 บาท  คิดเป็นผลตอบแทนต่อการลงทุน 69.14 เปอร์เซ็นต์  ดังตารางที่ 3
 
 ตารางที่ 3   รายได้และต้นทุนการเลี้ยงปลากดเหลืองในกระชัง  จังหวัดสงขลา  ปี 2536
รายการ
            เงินสด
      ไม่เป็นเงินสด
             รวม
รายได้(บาท)
27,742.80
ต้นทุนผันแปร(บาท/กระชัง)
13,823.55
1,596.47
15,420.02
-  ค่าพันธุ์ปลา
3,000.00
-
3,000.00
-  ค่าอาหารปลา
10,283.55
120.00
10,403.55
-  ค่ายาป้องกันรักษาโรค
420.00
-
420.00
-  ค่าน้ำมันเชื้อเพลิง/ขนส่ง
120.00
-
120.00
-  ค่าแรงงาน
-
1,200.00
1,200.00
-  ค่าเสียโอกาสลงทุน
-
276.47
276.47
-  ต้นทุนคงที่(บาท/กระชัง)
-
982.61
982.61
-  ค่าเสื่อมกระชัง
-
833.34
833.34
-  ค่าเสื่อมอุปกรณ์ฟาร์ม
-
130.00
130.00
-  ค่าเสียโอกาสเงินลงทุนสร้างกระชัง/อุปกรณ์
-
19.27
19.27
ต้นทุนทั้งหมด
13,823.55
2,579.08
16,402.63
รายได้สุทธิ(บาท/กระชัง)
+12,322.78
รายได้เหนือต้นทุน
ที่เป็นเงินสด(บาท/กระชัง)
+13,919.25
กำไร(บาท/กระชัง)
+11,340.17
ที่มา  :  สุขาวดี  และศราวุธ, 2537
  โรคและการป้องกัน
             โรคปลาที่พบได้ในปลากดเหลืองเกิดจากสาเหตุหลายปัจจัย  เช่น  การติดเชื้อพยาธิภายนอก  การติดเชื้อพยาธิภายใน  การติดเชื้อแบคทีเรีย  การติดเชื้อราและน้ำที่เลี้ยงเป็นพิษ เป็นต้น  การดำเนินการรักษาและป้องกันจึงเป็นวิธีการแก้ไขที่สามารถทำได้ด้วยตนเอง  แต่ต้องใส่สารเคมี  หรือยารักษาให้ถูกต้องกับชนิดของโรคดังนี้
        โรคที่เกิดจากพยาธิภายนอก
              1.  โรคจุดขาว   (Ichthyopthirius  :  “ Ich”) ปลาที่เป็นโรคนี้จะมีจุดสีขาวขุ่นเท่าหัวเข็มหมุดเล็กๆกระจายอยู่ที่ลำตัวและครีบ
             สาเหตุ  ของโรคจุดขาว  คือ  โปรโตซัว  ชนิดที่กินเซลล์ผิวหนังเป็นอาหาร  เมื่อพยาธิโตเต็มที่จะออกจากตัวปลาโดยจมตัวลงสู่บริเวณก้นบ่อปลาและสร้างเกราะหุ้มตัว  ต่อจากนั้นจะมีการแบ่งเซลล์เป็นตัวอ่อนจำนวนมากภายในเกราะนั้น  เมื่อสภาวะแวดล้อมภายนอกเหมาะสม  เกราะหุ้มตัวจะแตกแยกและตัวอ่อนของพยาธิจะว่ายน้ำเข้าตามผิวหนังของปลาต่อไป
             การป้องกันและการรักษา  ยังไม่มีวิธีกำจัดปรสิตที่ยังอยู่ใต้ผิวหนังที่ได้ผลเต็มที่  แต่วิธีการที่ควรทำ  คือ  การทำลายตัวอ่อนในน้ำหรือทำลายตัวแก่ขณะว่ายน้ำอิสระ  โดยการใช้สารเคมีดังต่อไปนี้
                1.   ฟอร์มาลิน  150-200 ซีซี.  ต่อน้ำ  1,000 ลิตร  แช่ไว้นาน 1 ชั่วโมง  สำหรับปลาขนาดใหญ่
                2.  มาลาไค้ท์กรีน 1.0-1.25 กรัมต่อน้ำ  1,000 ลิตร  แช่ไว้นานครึ่งชั่วโมงสำหรับปลาขนาดใหญ่หรือ  0.15 กรัมต่อน้ำ  1,000 ลิตร  แช่ไว้นาน 24 ชั่วโมง  หรือเมทธิลีนบูล 1-3 กรัมต่อน้ำ 1,000 ลิตร  แช่ติดต่อกัน 7 วัน
                3.  มาลาไค้ท์กรีนและฟอร์มาลิน  ในอัตราส่วน 0.15 กรัมและ 25 ซีซี.  ต่อน้ำ 1,000 ลิตร  นาน 24 ชั่วโมง  แช่ติดต่อกันประมาณ 7 วัน  ควรเปลี่ยนน้ำใหม่ทุกวันและแช่ยาวันเว้นวันจนกระทั่งปลามีอาการดีขึ้น  วิธีนี้จะได้ผลดีมาก
              
            2. โรคพยาธิปลิงใส  (Gyrodactylus)   ปลาที่มีพยาธิปลิงใสเกาะจะมีอาการว่ายน้ำทุรนทุรายลอยตัวตามผิวน้ำ  ผอม  กระพุ้งแก้ม  เปิดปิดกว่าปกติ  อาจมีแผลขนาดเล็กเท่าปลายเข็มหมุดกระจายอยู่ทั่วลำตัว  ถ้าเป็นการติดโรคในขั้นรุนแรง  อาจมองเห็นเหมือนกับว่า  ปลามีขนสั้นๆ สีขาวกระจายอยู่ตามลำตัว  ซึ่งอาจทำให้ปลาตายได้   โดยเฉพาะลูกปลาที่เริ่มปล่อยลงบ่อดินใหม่ๆควรระมัดระวังโรคนี้ให้มาก
  การป้องกันและรักษา
              1.  ใช้ฟอร์มาลินจำนวน 25-40 ซีซีต่อน้ำ 1,000 ลิตร  แช่นาน 24 ชั่วโมง
              2.  ใช้ดิพเทอร์เร็กซ์จำนวน 0.25-0.5 กรัมต่อน้ำ  1,000 ลิตร  แช่นาน 24 ชั่วโมง
 
  โรคที่เกิดจากพยาธิภายใน

                            1.  โรคพยาธิใบไม้(pleurogenoides)

             พยาธิใบไม้ที่ทำให้เกิดโรคปลานั้นพบทั้งขณะที่เป็นตัวเต็มวัยแล้วและตัวอ่อน ตัวเต็มวัยของพยาธิใบไม้พบได้ในทางเดินอาหารภายในช่องท้องไม่ค่อยทำอันตรายต่อปลาเท่าใดนัก  ต่างกับตัวอ่อนซึ่งฝังตัวอยู่บริเวณเหงือกและอวัยวะภายในต่างๆ  ทำให้เกิดความเสียหายกับเนื้อเยื่อของเหงือกเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในลูกปลาที่เป็นโรคนี้จะมีอาการกระพุ้งแก้มเปิดอ้าอยู่ตลอดเวลา  ว่ายน้ำทุรนทุรายลอยตัวที่ผิวน้ำ  ผอม  เหงือกบวม  อาจมองเห็นจุดขาวๆ  คล้ายเม็ดสาคู  ขนาดเล็กเป็นไตแข็งบริเวณเหงือกและปลาจะทยอยตายเรื่อยๆ ปลาหลายชนิดในแหล่งน้ำธรรมชาติอาจพบพยาธิใบไม้เต็มวัยได้
            การป้องกันและรักษา
                1.  ควรหลีกเลี่ยงการใช้ปุ๋ยคอก  เพราะอาจจะมีไข่ของพยาธิใบไม้ติดมา  ถ้าหากจำเป็นต้องใช้ปุ๋ยคอก  ควรตากให้แห้งเป็นอย่างดีก่อนจึงจะนำมาใช้พร้อมทั้งกำจัดหอย  ซึ่งเป็นตัวช่วยเสริมการระบาดของพยาธิชนิดนี้อย่างครบวงจร  โดยการตากบ่อให้แห้งและโรยปูนขาวให้ทั่วในอัตรา 30-50 กิโลกรัมต่อไร่  หลังจากจับปลาขึ้นแล้วทุกครั้ง
2.    ยังไม่มีวิธีรักษาหรือจำกัดตัวอ่อนของพยาธิใบไม้ที่เกาะบนตัวปลา

            2.  โรคจากเชื้อแบคทีเรีย 

                1.  โรคตัวด่าง   เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย “ คอลัมนาริส”  ปลาที่เป็นโรคนี้จะมีแผลด่างขาวตามตัว  และเมื่อเกิดการติดเชื้อเป็นเวลานาน  แผลด่างขาวนี้จะกลายเป็นแผลลึกได้  โรคนี้มักเกิดกับปลาหลังการลำเลียงเนื่องจากอุณหภูมิของอากาศที่สูงทำให้ปลามีความต้านทานลดลง เชื้อแบคทีเรียนี้ก็จะเจริญเติบโตอย่างรวดเร็วและทำอันตรายต่อปลา ปลาที่เป็นโรคดังกล่าวจะตายเป็นจำนวนมาก

           การป้องกันและรักษา
                 1.  แช่ปลาในยาเหลือง  อัตราส่วน 2 มิลลิกรัมต่อน้ำ 5 ลิตร  นานประมาณครึ่งชั่วโมง
                 2.ในขณะขนส่งลำเลียงปลาควรใส่เกลือเม็ดในน้ำที่ใช้สำหรับการขนส่งปลาปริมาณ 1 ช้อนชา ต่อน้ำ 1 ลิตร
                 3.  ใช้ด่างดับทิมเข้มข้น 2 พีพีเอ็ม แช่ตลอด
                 4.  ใช้ฟอร์มาลินจำนวน 40-50 พีพีเอ็ม  แช่นาน 24 ชั่วโมง
                5.  ในกรณีที่เชื้ออยู่ในกระแสเลือดใช้เทอร์รามัยซิน 5 กรัมต่อ  น้ำหนักปลา 100 กิโลกรัมต่อวัน  ติดต่อกันเป็นเวลา 10-12 วัน
              
                2.  โรคแผลตามตัว   เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย Aeromonas  และ  Pseudomonas  ปลาจะมีลักษณะผิวหนังบวมแดงและเริ่มเปื่อยเป็นแผลลึกลงไปจะเห็นกล้ามเนื้อส่วนในปลาขนาดเล็กมักจะทำให้เกิดอาการครีบกร่อน  ทั้งครีบตามลำตัวและครีบหาง

              การป้องกันและรักษา
                 1.  ใช้ยาปฏิชีวนะจำพวกไนไตรฟูราโซนในอัตราส่วน 1-2 มิลลิกรัม  ต่อน้ำ 1 ลิตร  แช่ปลานานประมาณ 2-3 วัน
                2.  แช่ปลาที่เป็นโรคในสารละลายออกซีเตตร้าซัยคลิน  หรือ  เตตร้าไคลินในอัตราส่วน 60-70 มิลลิกรัม  ต่อน้ำ 1 ลิตร  นาน 1-2 วัน  ติดต่อกัน 3-4 ครั้ง
                3.  ถ้าปลาเริ่มมีอาการของโรคอาจผสมยาปฏิชีวนะดังข้อ 1 หรือ 2 ในอัตราส่วน  60-70 มิลลิกรัม  ต่อน้ำหนักปลา 1 กิโลกรัม  หรือ 2-3 กรัม  ต่ออาหาร 1 กิโลกรัม  นานติดต่อกัน 3-5 วัน
              3.  โรคท้องบวม    อาการของโรคจะเห็นส่วนท้องบวมมากและบางตัวผิวหนังจะเป็นรอยช้ำตกเลือด

              การป้องกันและรักษา
             ให้แช่ปลาในยาปฏิชีวนะออกซีเตตร้าไซคลินในอัตราส่วน 10-20 พีพีเอ็ม  ส่วนการฆ่าเชื้อในบ่อเลี้ยงปลาควรใช้ปูนขาวในอัตราส่วน 10-20 พีพีเอ็ม  ส่วนการฆ่าเชื้อในบ่อเลี้ยงปลาควรใช้ปูนขาวในอัตราส่วน 50-60 กิโลกรัม/ไร่
              เกี่ยวกับสาเหตุของเชื้อโรคชนิดต่างๆซึ่งทำให้เกิดโรคในปลากดเหลืองแล้ว สภาพแวดล้อมที่ปลาอาศัยอยู่ทั้งด้านกายภาพหรือองค์ประกอบด้านเคมีจะเป็นปัจจัยสำคัญซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นให้ปลาอ่อนแอและส่งผลต่อการติดเชื้อโรคดังกล่าวข้างต้น  ปัจจัยเหล่านี้ได้แก่  ปริมาณออกซิเจนในน้ำความเป็นกรดด่างน้ำ สารพิษในน้ำปริมาณคลอรีนหรือโลหะหนักในน้ำรวมถึงสภาวะอุณหภูมิที่เปลี่ยนแปลงอย่างกะทันหัน
            ดังนั้นผู้เลี้ยงปลาจึงควรที่จะศึกษาวิธีการป้องกันและแก้ไขสภาพแวดล้อม ให้เหมาะสมกับการอยู่อาศัยของปลาหรือหลีกเลี่ยงสาเหตุที่ทำให้การเลี้ยงปลากดเหลืองมีผลผลิตลดต่ำในที่สุด
 
  ด้านการตลาด
              ปลากดเหลืองขนาด 3-5 ตัว/กิโลกรัม  (ขนาดเฉลี่ย 250 กรัม/ตัว) จำหน่ายให้ผู้รวบรวมหรือบริโภคในท้องถิ่นทางภาคใต้ราคา 40 บาท/กิโลกรัม  ในขณะที่ราคาจำหน่ายปลีกแก่ผู้บริโภคในเขตเมืองระดับราคา 60-80 บาท/กิโลกรัม  สำหรับราคาขายส่งไปยังตลาดต่างประเทศในราคา 100-120 บาท/กิโลกรัม  ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับขนาดของปลา  ปริมาณและความสดของปลาเป็นสำคัญ  ปัจจุบันผลผลิตเกือบทั้งหมดมาจากการจับในแหล่งน้ำธรรมชาติ  หากมีการเลี้ยงเพิ่มขึ้นก็จะช่วยเสริมสร้างความมั่นใจให้แก่ผู้จำหน่าย  และผู้บริโภคปลากดเหลือง
  การกำจัดกลิ่นโคลนในเนื้อปลา
              การเลี้ยงปลากดเหลืองในบ่อดินสร้างป้องกันการเกิดกลิ่นสาปในเนื้อปลาได้โดยก่อนจับปลาขึ้นจำหน่าย  ควรจะย้ายปลามาเลี้ยงในกระชังในแหล่งน้ำที่มีการถ่ายเทดีประมาณ 15 วัน  จะป้องกันการเกิดกลิ่นสาบได้เพราะกลิ่นโคลนไม่ใช่เป็นกลิ่นถาวรที่ติดอยู่กับตัวปลาตลอดไป  กลิ่นนี้จะหายได้เมื่อนำปลาไปใส่ไว้ในน้ำสะอาด  และงดให้อาหารเป็นเวลา 7 วัน  ที่อุณหภูมิน้ำ 24 องศาเซลเซียส  ถ้าอุณหภูมิสูงกว่านี้จะทำให้กลิ่นโคลนหมดไปจากตัวปลาเร็วขึ้น
   การเกิดกลิ่นโคลน(off-flavors)ในเนื้อปลากลุ่ม catfish อาจเกิดจากหลายสาเหตุ  ได้แก่
                1.  เกิดจากแหล่งน้ำมีปริมาณของสาหร่ายสีน้ำเงินแกมเขียว (blue green) ซึ่งจะเจริญเติบโตอย่างรวดเร็วในแหล่งน้ำที่มีปุ๋ยและแร่ธาตุปริมาณสูงวิธีแก้ไขโดยการเปลี่ยนถ่ายน้ำและเพิ่มปริมาณน้ำในบ่อเพื่อลดจำนวนของสาหร่ายและตายในที่สุด
                2. เกิดจากการให้อาหารปลามากเกินไป  ทำให้อาหารเน่าตกอยู่พื้นก้นบ่อซึ่งจะดูดซึมเข้าสู่ตัวปลาได้และทำให้เกิดการ bloom ของสาหร่ายสีน้ำเงินแกมเขียว  ซึ่งทำให้เกิดกลิ่นสาบได้
                3. เกิดจากซากพืชหรือซากสัตว์ที่ตกค้างอยู่ในบริเวณ ซึ่งเป็นสาเหตุให้เกิดกลิ่นสาบได้ดังนั้นจะต้องทำความสะอาดบ่อกำจัดเศษซากพืช  ใบไม้  ออกให้หมด
                4.  ชนิดหรือส่วนผสมของอาหาร  อาหารที่มีส่วนผสมของจำพวกไขมันหรือสารละลายในไขมันทำให้เกิดกลิ่นสาบในเนื้อปลาได้
 

การเลี้ยงปลาไหล


การเพาะเลี้ยงปลาไหลนา
(Culturing and Breeding of Swamp Eel)     
ปลาไหลนา หรือปลาไหลบึง จัดเป็นปลาอยู่ในวงศ์ Synbranchiformes  ครอบครัว Synbranchidae
ซึ่งปลาในครอบครัวนี้ มีอยู่ 3 ชนิด คือ


1. ปลาไหลนา  Monopterus albus, Zuiew (1973)
ชื่อสามัญ Swamp Eel, Asian Swamp Eel  ลำตัวด้านหลังมีสีน้ำตาล ท้องมีสีเหลืองทอง มีขนาดยาวที่สุดถึง 1.01 เมตร  พบทั่วทุกภาคของประเทศ
มีกระดูกเหงือก 3 คู่

2. ปลาหลาด Ophisternon bengalense,  Mcclelland (1845) มีชื่อสามัญ Bengal Eel ลำตัวมีขนาดเล็กยาวประมาณ 30 เซนติเมตรลำตัวมีสีเหลือง หางจะเป็นรูปใบพาย พบทางภาคกลางของประเทศ และอ่าวเบงกอลมีกระดูกเหงือก 4 คู่

3. ปลาหล่อย Macrotema caligans, Cantor (1849)
 ลำตัวมีสีเหลือง ขนาดเล็กที่สุดยาวประมาณ 17 - 20 เซนติเมตร หางเป็นรูปใบพายพบทางภาคใต้บริเวณทะเลสาปลำปำ จังหวัดพัทลุง กระดูกเหงือกมี 4 คู่

 ลักษณะทั่วไป
ปลาไหลนาสามารถเจริญเติบโตได้ดีใน แหล่งน้ำทั่วไป สามารถทนทานต่อสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนไป และสามารถใช้ลำไส้ส่วนท้าย (hindgut) เป็นเครื่องช่วยในการหายใจ ฤดูแล้งจะขุดรูอยู่อาศัยลึก 1 - 1.5 เมตร ออกหากินในเวลากลางคืน เป็นปลาที่สามารถ เปลี่ยนเพศได้ (hermphrodite) โดยช่วงแรกจะเป็นเพศเมีย และจะกลายเป็นเพศผู้เมื่อโตขึ้น ด้านน้ำหนักเพศเมียจะมีน้ำหนักตั้งแต่ 100 -  300 กรัม เพศผู้มีน้ำหนักมากกว่า 400 กรัม จัดเป็นพวกปลากินเนื้อ (carnivorous) กินอาหารที่มีสภาพสดจนถึงเน่าเปื่อย ตัวหนอน ตัวอ่อนแมลง หอย ไส้เดือน และสัตว์หน้าดินต่าง ๆ (benthos)มีนิสัยรวมกลุ่มกันกินอาหาร

การเพาะพันธุ์
1. การแยกเพศ สามารถแยกได้ดังนี้
เพศผู้   ความยาวมากกว่า60 เซนติเมตร น้ำหนักมากกว่า 400 กรัม ท้องไม่อูม ตัวยาวเรียว ช่องเพศสีขาวซีดไม่บวม  ลำตัวสีเหลืองคล้ำ

เพศเมีย  ความยาว 29 - 50 เซนติเมตร น้ำหนัก ต่ำกว่า  300 กรัม ท้องอูมเป่ง ตัวอ้วน ท้องป่อง ช่องเพศ สีแดงเรื่อบวม (ช่วงผสมพันธุ์) ลำตัวสีเหลืองเปล่งปลั่ง

2. ฤดูวางไข่ สามารถเพาะพันธุ์ได้ตั้งแต่เดือนมีนาคมถึงเดือนกันยายน และมีความสมบูรณ์สูงสุดในเดือนสิงหาคม ปริมาณความดกของไข่ปลาไหลขึ้นอยู่กับขนาดน้ำหนักและความยาว คือ

ความยาว                                ปริมาณไข่
20 - 30 เซนติเมตร              300 - 400 ฟอง
40 - 50 เซนติเมตร              400 - 500 ฟอง
มากกว่า 50 เซนติเมตร             1,000   ฟอง

3. การพัฒนาของไข่ 
ปลาไหลนาจะมีไข่เพียง 1 ฝัก ไข่ปลาไหลนาเป็นลักษณะไข่จมไม่ติดวัสดุ
เมื่อสัมผัส จะมีความยืดหยุ่นมาก มีลักษณะสีเหลืองสดใส  ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 0.3 เซนติเมตร ไข่ได้รับการผสมมีลักษณะกลม สีเหลืองทอง ส่วนไข่ที่ไม่ได้รับ การผสมจะมีสีขาวใส ไข่จะใช้เวลาในการฟักประมาณ 3 วัน  ลูกปลาเมื่อฟักออกใหม่ ๆ มีความยาว 2.5 เซนติเมตรมีถุงไข่แดง 2 ใน 3 ส่วน และมีครีบหู อายุ 5 - 6 วัน  ถุงไข่แดงยุบพร้อมครีบหูหายไป และเริ่มกินอาหารได้อัตราการฟัก 70 - 80 เปอร์เซ็นต์


4. นิสัยการกินอาหาร 
    ปลาไหลนาขนาด 2.5 - 3.0 เซนติเมตร กินสิ่งมีชีวิตเล็ก ๆ คือ ไรแดง วันละ 2 ครั้ง  ขนาดความยาว 5 เซนติเมตร เริ่มฝึกให้กินอาหารผงสำเร็จรูปร่วมกับหนอนแดงจนอายุได้ 6 สัปดาห์ ปลาจะมีขนาด 8 - 10 เซนติเมตร เริ่มให้ปลาสดบดวันละ 2 ครั้ง  และสามารถนำไปเลี้ยงเป็นปลาใหญ่ต่อไป

5. การเพาะขยายพันธุ์ โดยปกติสามารถทำได้โดยวิธีเลียนแบบธรรมชาติ
    การเพาะพันธุ์โดยวิธีเลียนแบบธรรมชาติควรทำ ในบ่อซีเมนต์ขนาด 5 x 10 x 1 เมตรใส่ดินเหนียวหนา 30 เซนติเมตร ให้ดินสูงด้านใดด้านหนึ่งใส่พ่อแม่ตารางเมตรละ 4 ตัว  ใส่น้ำสูงประมาณ 40 เซนติเมตร ปลูกพรรณไม้น้ำเพื่อให้คล้ายกับธรรมชาติมากที่สุด ให้ปลาสดสับผสมน้ำมันตับปลากินวันละ 1 มื้อ ๆ ละ 3 เปอร์เซ็นต์ต่อน้ำหนักตัว ให้กินตอนเย็น ถ่ายเทน้ำสัปดาห์ละ 1 ครั้ง  ปลาจะต้องใช้เวลาปรับตัว 2 - 4 เดือนเมื่อปลาเพศผู้พร้อม จะสร้างหวอดไข่สีขาวมีช่องว่างอยู่ตรงกลาง คล้ายกับขนมโดนัท ปลาจะเริ่มผสมพันธุ์วางไข่ในตอนใกล้รุ่ง หลังจากก่อหวอด 7 - 10 วัน  ก็รวบรวมลูกพันธุ์ขึ้นมาอนุบาลต่อไป  ส่วนการเพาะพันธุ์โดยวิธีฉีดฮอร์โมนผสมเทียม ได้มีผู้ทำการทดลองฉีดฮอร์โมน Suprefect + Motilium ในระดับต่าง ๆ กัน ปรากฎว่าปลาไม่มีการวางไข่แต่อย่างใด

6. การอนุบาลลูกปลาวัยอ่อน แบ่งได้เป็น 2 ระยะ
    6.1 อนุบาลลูกปลาวัยอ่อน ขนาด 5 เซนติเมตร ทำได้คือ  นำลูกปลาวัยอ่อนอายุ 7 - 10 วัน  ที่ฟักออกเป็นตัวไปอนุบาลในกะละมังพลาสติกกลมปล่อยอัตราความหนาแน่น 350 ตัว/ตารางเมตร  ใส่น้ำลึก 15 เซนติเมตร ใส่ต้นผักตบชวาหรือจอกเพื่อให้ลูกปลาเกาะ ควรมีการถ่ายเทน้ำ 2 - 3 วัน/ครั้ง  อาหารใช้ไรแดงให้กินวันละ 2 ครั้ง  เช้าและเย็นพร้อมฝึกให้กินอาหารสมทบ  โดยฝึกให้กินอาหารผงสำเร็จรูป (Powder feed) โดยปั้นเป็นก้อน ๆ ใช้ระยะเวลา 2 สัปดาห์ ควรมีการคัดขนาดเพื่อช่วยลดการกินกันเอง

6.2 การอนุบาลลูกปลาไหลนา จากขนาด 5 ซ.ม. - 10 ซ.ม.
     เมื่ออนุบาลปลาจนได้ขนาด 5 เซนติเมตร ปลาจะมีขนาดปากที่กว้างขึ้นลดไรแดง และให้อาหารสมทบวันละ 2 มื้อเช้า-เย็น โดยปั้นเป็นก้อนเล็ก ๆ ปรับปริมาณอาหารที่ให้ทุกสัปดาห์ เพื่อให้เพียงพอกับ จำนวนลูกปลา นอกจากนี้อาจผสมน้ำมันปลาหมึกเพื่อช่วยดึงดูดลูกปลาให้กินอาหารได้ดีขึ้นและควรมีวัตถุที่หลบซ่อน โดยใช้ท่อพีวีซีหรือท่อพลาสติก โดยตัดเป็นท่อนยาวประมาณ 20 เซนติเมตร บ่อละ 3 - 5 ท่อน เนื่องจาก ลูกปลาค่อนข้างตกใจง่าย  เมื่อมีเสียงดัง ๆ หลังจากเลี้ยงลูกปลาไหลประมาณ 6 สัปดาห์ ก็จะได้ปลาขนาด 10 เซนติเมตร มีน้ำหนักประมาณ 1 - 2 กรัม สามารถแยกลงบ่อเลี้ยงต่อไป

7. การเลี้ยงปลาขนาดตลาด
    การเลี้ยงปลาไหลนาให้ได้ขนาดตามที่ตลาดต้องการนั้น สามารถเลี้ยงได้ในบ่อซีเมนต์  และท่อซีเมนต์กลมโดยมีวิธีการ คือ

1. แบบเลียนแบบธรรมชาติ โดย
1.1 ใส่ฟางข้าวหนาประมาณ 30 เซนติเมตร
1.2 ดินทับหนา 10 เซนติเมตร
1.3 น้ำสูงกว่าผิวดิน 10 เซนติเมตร

หมักฟางข้าวไว้ 1 - 2 สัปดาห์ หากมีการเน่าควรมีการถ่ายน้ำทิ้งบ้างแล้ว  เติมน้ำใหม่ลงไป เพื่อให้เกิดไรแดง หนอนแดง แล้วจึงนำปลาขนาดน้ำหนักตัวประมาณ 30 - 40 ตัว/กิโลกรัม ลงปล่อยในอัตราความหนาแน่น 30 - 40 ตัว/ตารางเมตร หากเป็นท่อซีเมนต์กลมขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 1.0 เมตร ใส่ประมาณ 100 ตัว โดยคัดขนาดปลาขนาดเท่า ๆ กันก่อน

1.4 เติมฟางข้าวทุกเดือน ๆ ละ 1 ครั้ง
1.5 ให้อาหารสมทบวันละ 2 - 3 เปอร์เซ็นต์ ปั้นเป็นก้อนวันละมื้อในช่วงเย็นเลี้ยงประมาณ 6 – 8 เดือน จะได้น้ำหนักปลาขนาดตัวละ 200 กรัม ให้ผลผลิต 20 - 30 กิโลกรัม/ตารางเมตร อัตราการรอดตาย 70-80 เปอร์เซ็นต์ อัตราการแลกเนื้อ (FCR) เท่ากับ 1:4.5

2. แบบพัฒนา(Intensive) โดยสามารถเลี้ยงในบ่อซีเมนต์ ขนาดตั้งแต่ 10–50  ตารางเมตร โดยปล่อยลูกปลาไหลขนาด 10 กรัม ในอัตราส่วน 150 – 200 ตัว/ตารางเมตร  มีการถ่ายเทน้ำได้สะดวก มีการให้ออกซิเจนตลอดเวลา รวมทั้งจัดที่หลบซ่อนให้ปลาไหล ส่วนอาหารใช้ปลาเป็ดสดหรือปลาข้างเหลืองผ่าแยกออกเป็นสองซีกคลุกเคล้ากับน้ำมันปลาหมึก วางให้ลูกปลาไหลกินเป็นจุด ๆ โดยใช้เวลาเลี้ยงประมาณ 6 – 7 เดือน

การเลี้ยงปลาทับทิม

 


จากประวัติศาสตร์ วันที่ 25 มีนาคม พ.ศ. 2508   สมเด็จพระจักรพรรดิอะกิฮิโตะ เมื่อครั้งดำรงพระอิสริยยศ มกุฎราชกุมารแห่งประเทศญี่ปุ่น  ได้ทรงจัดส่งเข้ามาทูลเกล้าถวายพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว  จำนวน 50 ตัว ครั้งนั้นได้โปรดเกล้าฯ ให้ทดลองเลี้ยงปลานิลในบ่อสวนจิตรลดา เป็นหนึ่งโครงการในโครงการส่วนพระองค์ สวนจิตรลดา
      ผลการทดลองปรากฏว่าปลานิลที่ทรงโปรดเกล้าให้ทดลองเลี้ยงได้เจริญเติบโตและ แพร่ขยายพันธุ์ได้เป็นอย่างดี ต่อมาจึงได้พระราชทานชื่อว่า "ปลานิล"  (โดยมีที่มาจากชื่อแม่น้ำไนล์ (Nile) ที่เป็นถิ่นที่อยู่อาศัยดั้งเดิม หรือชื่อวิทยาศาสตร์ Tilapia nilotica) และพระราชทานพันธุ์ปลาดังกล่าวให้กับกรมประมงจำนวนหนึ่ง เมื่อวันที่ 17 มีนาคม พ.ศ. 2509 เพื่อนำไปขยายพันธุ์และแจกจ่ายแก่พสกนิกร และปล่อยลงไว้ตามแหล่งน้ำต่าง ๆ ตามที่เห็นว่าเหมาะสม เนื่องจากปลานิลมีคุณลักษณะพิเศษหลายอย่าง เช่น กินอาหารได้ทุกชนิด เช่น ไรน้ำ ตะไคร่น้ำ ตัวอ่อนของแมลงและสัตว์น้ำเล็ก ๆ มีขนาดลำตัวใหญ่ ความยาวประมาณ 10-30 เซนติเมตร แพร่ขยายพันธุ์ง่าย และมีรสชาติดี

          ในปัจจุบันพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวยังโปรดเกล้าฯ ให้ทดลองเลี้ยงและแพร่ขยายพันธุ์ปลานิลในบ่อสวนจิตรลดาต่อไป ในทางวิชาการเรียกสายพันธุ์ปลานิลดังกล่าวว่า "ปลานิลจิตรลดา" ซึ่งยังคงเป็นปลานิลสายพันธุ์แท้ที่ประเทศไทยได้รับทูลเกล้าฯ ถวายพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว จากพระจักรพรรดิอะกิฮิโตะ

       แต่แล้ว พันธุกรรมก็เริ่มกลับกลาย สีสรรค์ที่เคยดกดำ กลับแปรเปลี่ยน เป็นสีกระดำกระด่าง บางตัวก็ออกสีแดงเรื่อ ตัวไหนสีออกแดงเรื่อมากๆ เลยตั้งชื่อให้ใหม่เสียเลยว่า  "ปลานิลแดง"

     แต่แล้วการพัฒนาของสายพันธ์ก็ได้มีการคัดแยก DNA โดยมีบริษัทผู้รับการวิจัยนี้ไปคือ บริษัทเจริญโภคพันธ์ หรือที่เราเรียกว่า บริษัท "CP"
    ทางทีมงาน C.P ได้ทำการคัดเลือกสายพันธ์จากปลานิลมา 5 สายพันธ์มาผสมกัน คัดแต่ความเก่งในแต่ละด้านมารวมกัน เป็นพัธ์ใหม่เกิดขึ้น  ซึ่งในนั้นเป็นปลานิลจิตรดาที่ได้รับพระราชทาน อยู่ในนั้นด้วย 
 
  (การใช้สายพันธ์ จากบราซิล เป็นพันธ์ที่โตเร็ว  พันธ์ไต้หวัน เป็นพันธ์ที่ทนทานโรค พันธ์แอฟริกา ที่ให้สีแดง)

   ที่นี้หละ ได้ปลามาแล้ว คัดแต่ตัวแดงๆๆ จะเรียกปลานิลแดง ออกสู่ท้องตลาด ก็ดูไม่เหมาะกับความพากเพียรที่ได้ทุ่มเทค้นคิด จึงได้ขอพระราชทานชื่อ ปลานิลแดง จากองค์สมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และได้พระราชทานนามว่า
 "ปลาทับทิม"   .......นี่แหละที่มา


การเลี้ยงปลานิล

การเลี้ยงปลานิล
สร้างรายได้เสริมสวนยางด้วยปลานิล



      การเลี้ยงปลานิล    อีก 1 อาชีพเสริมของเกษตรกรชาวสวนยางพาราในอำเภอควนกาหลง  จังหวัดสตูล   ที่สำนักงานกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง จ.สตูล    สนับสนุนเพื่อให้เกษตรกร  สามารถสร้างรายได้เสริมระหว่างช่วงรอผลผลิต   หลังโค่นต้นยางเก่าและปลูกทดแทนด้วยยางใหม่   ซึ่งชาวสวนยางที่บ้านควนกาหลง ได้เริ่มทำการเกษตรเลี้ยงปลานิลมาเป็นระยะเวลากว่า  1  ปีแล้ว โดยสำนักงานกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง หรือ สกย.จ.สตูล  เป็นผู้สนับสนุนทั้งด้านเงินทุนและจัดหาพันธุ์ปลานิลมาให้เกษตรกรเพาะพันธุ์  ทั้งนี้  การทำอาชีพเสริมของเกษตรกรชาวสวนยางพารา  มีมากมายหลายกิจกรรมเช่น   การปลูกผักปลอดสารพิษ   พอถึงช่วงแล้งยังสามารถปรับเปลี่ยนเป็นการเลี้ยงปลา  และทำการเลี้ยงได้ตลอดปี   โดยเฉพาะการเลี้ยงปลานิล  ซึ่งเป็นปลาที่ตลาดมีความต้องการสูงกว่าปลาชนิดอื่น รายได้ที่มาจากการขายปลานิล  จึงช่วยให้ชาวสวนยางเลี้ยงชีพได้ตามแนวทางเกษตรผสมผสาน   โดยเน้นหลักเศรษฐกิจแบบพอเพียง

        ปลานิลถือเป็นปลาเศรษฐกิจของประเทศ ราคาที่ขายได้ประมาณกิโลกรัมละ 70-100 บาท การเพาะเลี้ยงปลานิล ใช้เวลาประมาณ 3 เดือนกว่า   จึงมีขนาดโตพอจับขายได้   ซึ่งถือว่าใช้ระยะเวลาไม่นานนัก  สำหรับต้นทุนประมาณ 20,000 บาท ที่ใช้ต่อการเลี้ยงปลานิล 1 บ่อ ปลานิลเป็นปลากินพืช  แต่สำหรับการเพาะเลี้ยงปลานิลเพื่อนำออกจำหน่าย    เกษตรกรมักให้อาหารประเภทปลากินเนื้อ ซึ่งต้องดูความเหมาะสมในการให้อย่างสม่ำเสมอ   เพื่อให้ปลานิลมีขนาดมาตรฐานสมบูรณ์ และขายได้ราคา ปลานิลที่เลี้ยงไว้จะออกลูก  ทำให้พื้นที่บ่อเลี้ยงหนาแน่นมากขึ้น  จึงต้องหมั่นคอยสังเกตคัดจับปลาออกบ้าง การคัดจับปลานิลทำได้ง่าย   โดยใช้ตาข่ายไนล่อนขนาดช่องตา 6-8 เซนติเมตร    ช้อนจับออกจำหน่าย   เพื่อลดความหนาแน่น และวิดน้ำจับปลาทั้งหมด เมื่อเลี้ยงปลาได้ครบ 1 ปี   หรือรอจับในช่วงเวลาที่ปลามีราคาสูงขึ้น

         ปัญหาการเลี้ยงปลานิลในพื้นที่ที่มีการปลูกพืชในบริเวณบ่อเลี้ยงปลา ต้องระมัดระวังในเรื่องของสารพิษที่ใช้ฉีดฆ่าศัตรูพืช   ที่อาจปนเปื้อนลงมาภายในบ่อ   เวลาที่น้ำล้นบ่อ   ซึ่งมีผลทำให้ปลานิลที่มีขนาดเล็กไม่สามารถปรับสภาพกับสารพิษเหล่านี้   เป็นสาเหตุให้ปลาในบ่อเลี้ยงตายได้ นอกจาก  สกย.  จังหวัดสตูลแล้ว   ยังมีหน่วยงานภาครัฐฯ ที่เข้ามาให้การสนับสนุน    เกษตรกร  โดยสถาบันการอาชีวศึกษาภาคใต้ 2 วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยี     จังหวัดสตูลได้ทำบ่อเพาะพันธุ์ปลานิล เพื่อขยายการเพาะพันธุ์   และให้คำชี้แนะแก่เกษตรกรที่สนใจเพาะเลี้ยงปลานิล เพื่อให้เกษตรกรเข้าใจ      หลักการและนำไปปฏิบัติได้อย่างถูกต้อง เกษตรกรจึงประสบผลสำเร็จในการเพาะเลี้ยงปลานิล และนำออกจำหน่ายเป็นรายได้เพิ่ม ช่วยเสริมความเข้มแข็งให้กับชุมชนชาวสวนยางตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง.





ปลานิล  Oreochromis nilotica  เป็นปลาน้ำจืดชนิดหนึ่งซึ่งมีคุณค่าทางเศรษฐกิจนับตั้งแต่ปี พ.ศ. 2508 เป็นต้นมา สามารถเลี้ยงได้ในทุกสภาพ การเพาะเลี้ยงในระยะเวลา 8 เดือน – 1 ปี สามารถเจริญเติบโตได้ถึงขนาด 500 กรัม เนื้อปลามีรสชาติดี มีผู้นิยมบริโภคกันอย่างกว้างขวาง ขนาดปลานิลที่ตลาดต้องการจะมีน้ำหนักตัวละ 200 – 300 กรัม จากคุณสมบัติของปลานิลซึ่งเลี้ยงง่ายเจริญเติบโตเร็วแต่ปัจจุบันปลานิลพันธุ์แท้ค่อนข้างจะหายาก เพื่อให้ได้ปลานิลพันธุ์ดีกรมประมงจึงได้ดำเนินการ ปรับปรุงพันธุ์ปลานิลในด้านต่างๆอาทิ เจริญเติบโตเร็ว ปริมาณความดกของไข่สูง ให้ผลผลิตและมีความต้านทานโรคสูง เป็นต้น ดังนั้นผู้เลี้ยงปลานิลจะได้มีความมั่นใจในการเลี้ยงปลานิจเพื่อเพิ่มผลผลิตสัตว์น้ำให้เพียงพอต่อการบริโภคต่อไป


ความเป็นมา
                สมเด็จพระจักรพรรดิอากิฮิโต เมื่อครั้งดำรงพระอิสริยยศมกุฎราชกุมารแห่งประเทศญี่ปุ่น ทรงจัดส่งปลานิลจำนวน 50 ตัวความยาวเฉลี่ยประมาณตัวละ 9 เซนติเมตร น้ำหนักประมาณ 14 กรัม มาทูลเกล้าฯถวายแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เมื่อวันที่ 25 มีนาคม พ.ศ. 2508 นั้น  ในระยะแรกได้ทรงโปรดเกล้าฯให้ปล่อยบ่อดิน เนื้อที่ประมาณ 10 ตารางเมตร ณ บริเวณสวนจิตรลดา พระราชวังดุสิต เมื่อเลี้ยงมาได้ 5 เดือนเศษ ปรากฏว่ามีลูกปลาเกิดขึ้นเป็นจำนวนมาก จึงได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เจ้าหน้าที่ที่สวนหลวงขุดบ่อใหม่ขึ้น 6 บ่อ มีเนื้อที่เฉลี่ยบ่อละ 70 ตารางเมตร ซึ่งในโอกาสนี้พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้ทรงย้ายพันธุ์ปลาด้วยพระองค์เองจากบ่อเดิมไปปล่อยเลี้ยงในบ่อใหม่ทั้ง 6 บ่อ เมื่อวันที่ 1 กันยายน 2508 ต่อจากนั้น ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้กรมประมงจัดส่งเจ้าหน้าที่วิชาการมาตรวจสอบการเจริญเติบโตเป็นประจำทุกเดือน
โดยที่ปลาชนิดนี้เป็นจำพวกกินพืช เลี้ยงง่าย มีรสชาติดี ออกลูกดก เจริญเติบโตได้รวดเร็ว ในเวลา 1 ปี จะมีน้ำหนักประมาณครึ่งกิโลกรัม และมีความยาวประมาณ 1 ฟุต พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงมีพระราชประสงค์ที่จะให้ปลาชนิดนี้แพร่ขยายพันธุ์ อันจะเป็นประโยชน์แก่พสกนิกรของพระองค์ต่อไป ดังนั้นเมื่อวันที่ 17 มีนาคม 2509 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯพระราชทานชื่อปลาชนิดนี้ว่า “ปลานิล” และได้พระราชทานปลานิลขนาดยาว 3 – 5 เซนติเมตร จำนวน 10,000 ตัว ให้แก่กรมประมงนำไปเพาะเลี้ยงขยายพันธ์ที่แผนกทดลองและเพาะเลี้ยงในบริเวณเกษตรกลาง บางเขนและที่สถานีประมงต่างๆทั่วราชอาณาจักร รวม 15 แห่ง เพื่อดำเนินการเพาะเลี้ยงขยายพันธุ์พร้อมกัน เมื่อปลานิลแพร่ขยายพันธุ์ออกไปได้มากเพียงพอแล้วจึงได้แจกจ่ายให้แก่ราษฎรนำไปเพาะเลี้ยงตามพระราชประสงค์ต่อไป

 รูปร่างลักษณะ
ปลานิลเป็นปลาน้ำจืดชนิดหนึ่ง อยู่ในตระกูลซิคลิดี(Cichlidae) มีถิ่นกำเนิดเดิมอยู่ทวีปแอฟริกา พบทั่วไปตามหนอง บึง และทะเลสาบ ในประเทศซูดาน  ยูกันดา  แทนแกนยีกา โดยที่ปลานิลชนิดนี้เจริญเติบโตเร็วและเลี้ยงง่าย เหมาะสมที่จะนำมาเพาะเลี้ยงในบ่อได้เป็นอย่างดี จึงได้รับความนิยมและเลี้ยงกันอย่างแพร่หลายในภาคพื้นเอเชีย แม้แต่ในสหรัฐอเมริกาก็นิยมเลี้ยงปลาชนิดนี้
รูปร่างลักษณะของปลานิลคล้ายกับปลาหมอเทศ แต่ลักษณะพิเศษของปลานิลมีดังนี้คือ ริมฝีปากบนและร่างเสมอกัน ที่บริเวณแก้มมีเกล็ด 4 แถว ตามลำตัวมีลายพาดขวางจำนวน 9 – 10 แถบ นอกจากนั้นลักษณะทั่วไปมีดังนี้ ครีบหลังมีเพียง 1 ครีบ ประกอบด้วยก้านครีบแข็งและก้านครีบอ่อนเป็นจำนวนมาก ครีบก้นประกอบด้วยก้านครีบแข็งและอ่อนเช่นกัน มีเกล็ดตามแนวเส้นข้างตัว 33 เกล็ด ลำตัวมีสีเขียวปนน้ำตาล ตรงกลางเกล็ดมีสีเข้ม ที่กระดูกแก้มมีจุดสีเข้มอยู่จุดหนึ่งบริเวณส่วนอ่อนของครีบหลัง ครีบก้น และครีบหางนั้นจะมีจุดสีขาวและสีดำตัดขวางแลดูคล้ายลายข้าวตรอกอยู่โดยทั่วไป
       ต่อมากรมประมงโดยสถาบันวิจัยและพัฒนาและพันธุกรรมสัตว์น้ำได้นำปลานิลสายพันธุ์แท้มีชื่อว่าปลานิลสายพันธุ์จิตรลดาไปดำเนินการปรับปรุงพันธุ์ได้ปลานิลสายพันธุ์ใหม่ จำนวน 3 สายพันธุ์ ดังนี้
    1. ปลานิลสายพันธุ์จิตรลดา 1 เป็นปลานิลที่ปรับปรุงพันธุ์มาจากปลานิลสายพันธ์แบบคัดเลือกภายในครอบครัว (within family selection) เริ่มดำเนินการปรับปรุงพันธุ์ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2528 จนถึงปัจจุบันเป็นชั่วอายุที่ 7 ซึ่งทดสอบพันธุ์แล้วพบว่ามีอัตราการเจริญเติบโตดีกว่าปลานิลพันธุที่เกษตรกรเลี้ยง 22 %
   2. ปลานิลสายพันธุ์จิตลดา 2 เป็นปลานิลที่พัฒนาพันธุ์มาจากปลานิลสายพันธุ์จิตรลดา โดยการปรับเปลี่ยนพันธุกรรมในพ่อพันธุ์ให้มีโครโมโซมเป็น "YY"  ที่เรียกว่า  "YY - Male"  หรือซุปเปอร์เมล ซึ่งเมื่อนำพ่อพันธุ์ดังกล่าวไปผสมพันธุ์กับแม่พันธุ์ปรกติจะได้ลูกปลานิลเพศผู้ที่เรียกว่า "ปลานิลสายพันธุ์จิตรลดา 2 " ซึ่งมีลักษณะเด่นคือเป็นเพศผู้ที่มีโครโมโซมเพศเป็น "XY" ส่วนหัวเล็กลำตัวกว้าง สีขาวนวล เนื้อหนาและแน่น  รสชาติดี อายุ 6 – 8 เดือน สามารถเจริญเติบโตได้ขนาด 2 – 3 ตัวต่อกิโลกรัม ให้ผลผลิตต่อไร่สูงกว่าปลานิลพันธุ์ที่เกษตรกรเลี้ยง 45 %
           3.  ปลานิลสายพันธุจิตรลดา 3 เป็นปลานิลที่ปรับปรุงพันธุ์มาจากการนำปลานิลพันธุ์ผสมกลุ่มต่างๆที่เกิดจากการผสมพันธุ์ระหว่างปลานิลสายพันธุ์จิตรลดาและปลานิลสายพันธุ์อื่นๆ อีก 7 สายพันธุ์ ได้แก่  อียิปต์  กานา  เคนยา  สิงคโปร์ เซเนกัล  อิสราเอล และไต้หวันซึ่งมีการเจริญเติบโตเร็วและมีอัตรารอดสูง ในสภาพแวดล้อมการเลี้ยงต่างๆ ไปสร้างเป็นประชากรพื้นฐาน จากนั้นจึงดำเนินการคัดพันธุ์ในประชากรพื้นฐานต่อโดยวิธีดูลักษณะครอบครัวร่วมกับวิธีดูลักษณะภายในครอบครัว ปลานิลชั่วอายุที่ 1 – 5 ดำเนินการปรับปรุงพันธุ์โดยหน่วยงาน  ICLARM  ในประเทศฟิลิปปินส์ จากนั้นจึงนำลูกปลาชั่วอายุที่ 5 เข้ามาในประเทศไทย ในปี พ.ศ. 2538 สถาบันวิจัยและพัฒนาพันธุกรรมสัตว์น้ำจึงดำเนินการปรับปรุงปลาพันธุ์ดังกล่าวต่อ โดยวิธีการเดิมจนในปัจจุบันได้ 2 ชั่วอายุ และเรียกว่า "ปลานิลสายพันธุ์จิตรลดา 3 " ปลาสายพันธุ์นี้มีลักษณะเด่นคือ ส่วนหัวเล็ก ลำตัวกว้าง สีเหลืองนวล เนื้อหนาและแน่น รสชาติดี อายุ 6 – 8 เดือน สามารถเจริญเติบโตได้ขนาด 3 – 4 ตัวต่อกิโลกรัม ให้ผลผลิตต่อไร่สูงกว่าปลานิลพันธุ์ที่เกษตรกรเลี้ยง 40 %
ปัจจุบันสถาบันวิจัยและพัฒนาพันธุกรรมสัตว์น้ำได้กระจายพันธุ์ปลานิลทั้ง 3 สายพันธุ์ ไปสู่ภาครัฐและเอกชนทั่วประเทศ เพื่อใช้ในการเพาะเลี้ยงแล้ว โดยหน่วยงานของสถาบันฯในจังหวัดปทุมธานีและหน่วยพัฒนาพันธุกรรมสัตว์น้ำจืดพิษณุโลก ขอนแก่น และสุราษฏร์ธานี นอกจากนี้ยังดำเนินการดำรงสายพันธุ์และทดสอบพันธุ์ปลานิลดังกล่าวด้วย

 คุณสมบัติและนิสัย
ปลานิลมีนิสัยชอบอยู่รวมกันเป็นฝูง (ยกเว้นเวลาสืบพันธุ์) มีความอดทนและปรับตัวเข้ากับสภาพแวดล้อมได้ดี  จากการศึกษาพบว่า ปลานิลทนต่อความเค็มได้ถึง 20 ส่วนในพันส่วน ทนต่อค่าความเป็นกรด – ด่าง (pH) ได้ดีในช่วง 6.5 – 8.3 และสามารถทนต่ออุณหภูมิได้ถึง 40  องศาเซลเซียส แต่ในอุณหภูมิที่ต่ำกว่า 10 องศาเซลเซียสพบว่าปลานิลปรับตัวและเจริญเติบโตได้ไม่ดีนักทั้งนี้เป็นเพราะถิ่นกำเนิดเดิมของปลาชนิดนี้อยู่ในเขตร้อน

 การสืบพันธุ์
         1. ลักษณะ ตามปกติแล้วรูปร่างภายนอกของปลานิลตัวผู้และตัวเมีย จะมีลักษณะคล้ายคลึงกันมาก แต่จะสังเกตลักษณะเพศได้ก็โดยการดูอวัยวะเพศที่บริเวณใกล้กับช่องทวาร โดยตัวผู้จะมีอวัยวะเพศในลักษณะเรียวยาวยื่นออกมา แต่สำหรับตัวเมียจะมีลักษณะเป็นรูค่อนข้างใหญ่และกลม ขนาดปลาที่จะดูเพศได้ชัดเจนนั้นต้องเป็นปลาที่มีขนาดความยาวตั้งแต่10 เซนติเมตรขึ้นไป สำหรับปลาที่มีขนาดโตเต็มที่นั้นเราจะสังเกตเพศได้อีกวิธีหนึ่งด้วยการดูสีที่ลำตัวซึ่งปลาตัวผู้ที่ใต้คางและลำตัวจะมีสีเข้มต่างกับตัวเมีย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงฤดูผสมพันธุ์สีจะยิ่งเข้มขึ้น
         2. การผสมพันธุ์และวางไข่ ปลานิลสามารถผสมพันธุ์ได้ตลอดปีโดยใช้เวลา 2 – 3เดือน/ครั้ง แต่ถ้าอาหารเพียงพอและเหมาะสมในระยะเวลา 1 ปี จะผสมพันธุ์ได้ 5 – 6 ครั้ง ขนาดอายุและช่วงการสืบพันธุ์ของปลาแต่ละตัวจะแตกต่างกันไปตามสภาพแวดล้อม และสภาพทางสรีรวิทยาของปลาเอง การวิวัฒนาการของรังไข่และถุงน้ำเชื่อของปลานิล พบว่าปลานิลจะมีไข่และน้ำเชื่อเมื่อมีความยาว 6.5 ซม.
              โดยปรกติปลานิลที่ยังโตไม่ได้ขนาดผสมพันธุ์หรือสภาพแวดล้อมไม่เหมาะสมเพื่อการวางไข่ ปลารวมกันอยู่เป็นฝูง แต่ภายหลังที่ปลามีขนาดที่จะสืบพันธุ์ได้ปลาตัวผู้จะแยกออกจากฝูงแล้วเริ่มสร้างรังโดยเลือกเอาบริเวณเชิงลาดหรือก้นบ่อที่มีระดับน้ำลึกระหว่าง  0.5 – 1 เมตร วิธีการสร้างรังนั้นปลาจะปักหัวลง โดยที่ตัวของมันอยู่ในระดับที่ตั้งฉากกับพื้นดิน แล้วใช้ปากพร้อมกับการเคลื่อนไหวของลำตัวเพื่อเขี่ยดินตะกอนออกจากนั้นจะอมดินตะกอนงับเศษสิ่งของต่างๆออกไปทิ้งนอกรังทำเช่นนี้จนกว่าจะได้รังที่มีลักษณะค่อนข้างกลมเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 20 – 35 ซม. ลึกประมาณ 3 – 6 ซม. ความกว้างและความลึกของรังไข่ขึ้นอยู่กับขนาดของพ่อปลาหลังจากสร้างรังเรียบร้อยแล้วมันพยายามไล่ปลาตัวอื่นๆ ให้ออกไปนอกรัศมีของรังไข่ประมาณ2–3เมตรขณะเดียวกันพ่อปลาที่สร้างรังจะแผ่ครีบหางและอ้าปากกว้าง ในขณะที่ปลาตัวเมียว่ายน้ำอยู่ใกล้ๆรัง และเมื่อเลือกตัวเมียได้ถูกใจแล้วก็แสดงอาการจับคู่ โดยว่ายน้ำเคล้าคู่กันไปโดยใช้หางดีดและกัดกันเบาๆ การเคล้าเคลียดังกล่าวใช้เวลาไม่นานนัก ปลาตัวผู้ก็จะใช้บริเวณหน้าผากดุนที่ใต้ท้องของตัวเมียเพื่อเป็นการกระตุ้นเร่งเร้าให้ตัวเมียวางไข่ ซึ่งตัวเมียจะวางไข่ครั้งละ 10 – 15 ฟอง ปริมาณไข่รวมกันแต่ละครั้งมีปริมาณ 50 – 600 ฟอง ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับขนาดของแม่ปลา เมื่อปลาวางไข่แต่ละครั้งปลาตัวผู้จะว่ายไปเหนือไข่พร้อมกับปล่อยน้ำเชื้อลงไปทำเช่นนี้จนกว่าการผสมพันธุ์แล้วเสร็จโดยใช้เวลา 1 – 2 ชั่วโมง ปลาตัวเมียเก็บไข่ที่ได้รับการผสมแล้วอมไว้ในปากและว่ายออกจากรังส่วนปลาตัวผู้ก็จะคอยหาโอกาสเค้าเคลียกับปลาตัวเมียอื่นต่อไป
            3. การฟักไข่ ไข่ปลาที่อมไว้โดยปลาตัวเมียจะวิวัฒนาการขึ้นตามลำดับ แม่ปลาจะขยับปากให้น้ำไหลเข้าออกในช่องปากอยู่เสมอ เพื่อช่วยให้ไข่ที่อมไว้ได้รับน้ำที่สะอาด ทั้งยังเป็นการป้องกันศัตรูที่จะมากินไข่ ระยะเวลาฟักไข่ที่ใช้แตกต่างกันตามอุณหภูมิของน้ำ สำหรับน้ำที่มีอุณหภูมิ 27 องศาเซลเซียส ไข่จะมีวิวัฒนาการเป็นลูกปลาวัยอ่อนภายใน 8 วัน ซึ่งในระยะเวลาดังกล่าวถุงอาหารยังไม่ยุบ  และจะยุบเมื่อลูกปลามีอายุครบ 13 – 14 วัน นับจากวันที่แม่ปลาวางไข่ ในช่วงระยะเวลาที่ลูกปลาฟักออกมาเป็นตัวใหม่ๆ ลูกปลานิลวัยอ่อนจะเกาะรวมตัวกันเป็นกลุ่ม โดยว่ายวนเวียนอยู่บริเวณหัวของแม่ปลา และเข้าไปหลบซ่อนอยู่ในช่องปากเมื่อมีภัย หรือถูกรบกวนโดยปลานิลด้วยกันเอง เมื่อถุงอาหารยุบลงลูกปลานิลจะเริ่มกินอาหารจำพวกพืชและไรน้ำขนาดเล็กได้ และหลังจาก 3  สัปดาห์แล้วลูกปลาก็จะกระจายแตกฝูงไปหากินเลี้ยงตัวเองได้โดยลำพัง

 การเพาะพันธุ์ปลานิล
การเพาะพันธุ์ปลานิลให้ได้ผลดีและมีประสิทธิภาพต้องได้รับการเอาใจใส่และมีการปฏิบัติด้านต่างๆ เช่น การเตรียมบ่อ การเลี้ยงพ่อพันธุ์แม่พันธุ์ การตรวจสอบลูกปลาและการอนุบาลลูกปลาและการอนุบาลลูกปลาสำหรับการเพาะพันธุ์ปลานิลอาจทำได้ทั้งในบ่อดิน บ่อซีเมนต์ และกระชังไนลอนตาถี่  ดังวิธีการต่อไปนี้
1.  การเตรียมบ่อเพาะพันธุ์
 1.1 บ่อดิน บ่อเพาะปลานิลควรเป็นบ่อรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้ามีเนื้อที่ตั้งแต่ 50–1,600 ตารางเมตร สามารถเก็บกักน้ำได้สูง 1 เมตร บ่อควรมีเชิงลาดตามความเหมาะสม เพื่อป้องกันดินพังทลาย และมีชานบ่อกว้าง 1 – 2 เมตร ถ้าเป็นบ่อเก่าก็ควรวิดน้ำและสาดเลนขึ้นตกแต่งภายในบ่อให้ดินแน่น ใส่โล่ติ๊นกำจัดศัตรูของปลาในอัตราส่วนโล่ติ๊นแห้ง 1 กก./ ปริมาตรของน้ำ 100 ลูกบาศก์เมตร  โรยปูนขาวให้ทั่วบ่อ 1 กก./พื้นที่บ่อ 10 ตรม. ใส่ปุ๋ยคอกแห้ง 300 กก./ไร่ ตากบ่อทิ้งไว้ประมาณ   2 – 3 วัน จึงเปิดหรือสูบน้ำเข้าบ่อผ่านผ้ากรองหรือตะแกรงตาถี่ให้มีระดับสูงประมาณ 1 เมตร การใช้บ่อดินเพาะปลานิล จะมีประสิทธิภาพดีกว่าวิธีอื่น เพราะเป็นบ่อที่มีลักษณะคล้ายคลึงตามธรรมชาติ  และการผลิตลูกปลานิลจากบ่อดินจะได้ผลผลิตสูงและต่ำกว่าต้นทุนกว่าวิธีอื่น
            1.2 บ่อซีเมนต์ ก็สามารถใช้ผลิตลูกปลานิลได้ รูปร่างของบ่อจะเป็นสี่เหลี่ยมผืนผ้า หรือทรงกรมก็ได้ มีความลึกประมาณ 1 เมตร พื้นที่ผิวน้ำตั้งแต่ 10 ตารางเมตรขึ้นไป ทำความสะอาดบ่อและเติมน้ำที่กรองด้วยผ้าไนลอนหรือมุ้งลวดตาถี่ให้มีระดับความสูงประมาณ 80 ซม. ถ้าใช้เครื่องเป่าลมช่วยเพิ่มออกชิเจนในน้ำจะทำให้การเพาะพันธุ์ปลานิลด้วยวิธีนี้ได้ผลมากขึ้น
  อนึ่ง การเพาะปลานิลในบ่อซีเมนต์ ถ้าจะให้ได้ลูกปลามากก็ต้องใช้บ่อขนาดใหญ่ ซึ่งต้องเสียค่าใช้จ่ายด้านการลงทุนสูง
                1.3 กระชังไนลอนตาถี่  ขนาดของกระชังที่ใช้ประมาณ  5x8x2 เมตร วางกระชังในบ่อดินหรือในหนอง บึง   อ่างเก็บน้ำ ให้พื้นกระชังอยู่ต่ำกว่าระดับน้ำประมาณ 1 เมตร ใช้หลักไม้ 4 หลัก ผูกตรงมุม 4 มุม ยึดปากและพื้นกระชังให้แน่นเพื่อให้กระชังขึงตึงการเพาะพันธุ์ปลานิลด้วยวิธีนี้มีความเหมาะสมที่จะใช้ผลิตลูกปลาในกรณีซึ่งเกษตรกรไม่มีพื้นที่

2. การคัดเลือกพ่อแม่พันธุ์
      การคัดเลือกพ่อแม่ปลานิล โดยการสังเกตลักษณะภายนอก ของปลาที่สมบูรณ์ ปราศจากเชื้อโรคและบาดแผล สำหรับพ่อแม่ปลาที่พร้อมจะวางไข่นั้นสังเกตได้จากอวัยวะเพศ ถ้าเป็นปลาตัวเมียจะมีสีชมพูแดงเรื่อ ส่วนปลาตัวผู้ก็สังเกตได้จากสีของปลาตัวผู้และตัวควรมีขนาดไล่เลี่ยกันคือมีความยาวตั้งแต่ 15 – 25 เซนติเมตร น้ำหนักตั้งแต่ 150 – 200 กรัม

3. อัตราส่วนที่ปล่อยพ่อแม่ปลาลงเพาะพันธุ์
ปริมาณพ่อแม่ปลาที่จะนำไปปล่อยในบ่อเพาะ 1 ตัว/4 ตารางเมตร หรือไร่ละ 400 ตัว ควรปล่อยในอัตราส่วนพ่อปลา 2 ตัว/ปลา 3 ตัว จากการสังเกตพฤติกรรมในการผสมพันธุ์ของปลาชนิดนี้  ปลาตัวผู้มีสรรถภาพที่จะผสมพันธุ์กับปลาตัวเมียอื่นๆ ได้อีก ดังนั้นการเพิ่มอัตราส่วนของปลาตัวเมียให้มากขึ้นก็จะทำให้ได้ลูกปลานิลเพิ่มขึ้น ส่วนการเพาะปลานิลในกระชังใช้อัตราส่วนปลา   6 ตัว / ตารางเมตร โดยใช้ตัวผู้ 1 ตัว / ตัวเมีย 3 – 5 ตัว การเพาะปลานิลแต่ละรุ่นจะใช้เวลาประมาณ 2 เดือน  จึงเปลี่ยนพ่อแม่ปลารุ่นใหม่ต่อไป

4. การให้อาหารและปุ๋ยในบ่อเพาะพันธุ์
  การเลี้ยงปลานิลมีความจำเป็นที่ต้องให้อาหารสมทบหรืออาหารผสม ได้แก่ ปลายข้าว สาหร่าย รำละเอียด ในอัตราส่วน        1 : 2 : 3  โดยให้อาหารดังกล่าวแก่พ่อแม่ปลานิลประมาณ 2% ของน้ำหนักตัว ทั้งนี้เพื่อให้ปลานิลใช้เป็นพลังงานซึ่งต้องใช้พลังงานมากกว่าในช่วงการผสมพันธุ์ ส่วนปุ๋ยคอกแห้งก็ต้องใส่ในอัตราส่วนประมาณ 100 – 200 กก./ ไร่ / เดือน ทั้งนี้เพื่อเพิ่มปริมาณอาหารธรรมชาติในบ่อ ได้แก่ พืชน้ำขนาดเล็กๆไรน้ำและตัวอ่อน อันจะเป็นประโยชน์ต่อลูกปลานิลวัยอ่อนภายหลังที่ถุงอาหารยุบตัวลง และจะต้องดำรงชีวิตอยู่ในบ่อเพาะดังกล่าวประมาณ 1 สัปดาห์ก่อนย้ายไปเลี้ยงในบ่ออนุบาล  ถ้าในบ่อขาดอาหารธรรมชาติดังกล่าว  ผลผลิตลูกปลานิลจะได้น้อยเพราะขาดอาหารที่จำเป็นเบื้องต้น หลังจากถุงอาหารได้ยุบลงใหม่ๆ ก่อนที่ลูกปลานิลจะสามารถกินอาหารสมทบอื่นๆได้อาหารสมทบที่หาได้ง่ายคือ รำข้าว ซึ่งควรปรับปรุงคุณภาพให้ดียิ่งขึ้นโดยใช้ปลาป่น กากถั่ว และวิตามินเป็นส่วนผสม นอกจากนี้แหนเป็ดและสาหร่ายบางชนิดก็สามารถใช้เป็นอาหารเสริมแก่พ่อแม่ปลานิลได้เป็นอย่างดีในกรณีที่ใช้กระชังไนลอนตาถี่เพาะพันธุ์ปลานิลก็ควรให้อาหารสมทบแก่พ่อแม่ปลาอย่างเดียว

 การอนุบาลลูกปลานิล
                
                                             บ่อดิน

           1. บ่อดิน บ่อดินควรมีขนาดประมาณ 200 ตรม. ถ้าเป็นบ่อรูปสามเหลี่ยมผืนผ้าจะสะดวกในการจับย้ายลูกปลา  น้ำในบ่อควรมีระดับความลึกประมาณ 1 เมตร บ่ออนุบาลปลานิลควรเตรียมไว้ให้มีจำนวนมากพอเพื่อให้เลี้ยงลูกปลาขนาดเดียวกันที่ย้ายมาจากบ่อเพาะการเตรียมบ่อเพาะการเตรียมบ่ออนุบาลควรดำเนินการล่วงหน้าประมาณ 1 สัปดาห์ บ่อขนาดดังกล่าวนี้จะใช้อนุบาลลูกปลานิลขนาด
 1 – 2 ซม. ได้ครั้งละประมาณ 50,000 ตัว
      การอนุบาลลูกปลานิล นอกจากใช้ปุ๋ยเพาะอาหารธรรมชาติ แล้วจำเป็นต้องให้อาหารสมทบ เช่น รำละเอียด กากถั่วอีกวันละ 2 ครั้ง พร้อมทั้งสังเกตความอุดมสมบูรณ์ของอาหารธรรมชาติจากสีของน้ำซึ่งมีสีเขียวอ่อน หรือจะใช้ถุงลากแฟรงก์ตอนตรวจดูปริมาณของไรน้ำก็ได้ ถ้ามีปริมาณน้อยก็ควรเติมปุ๋ยคอก ในช่วงเวลา 5 – 6 สัปดาห์  ลูกปลาจะโตมีขนาด 3 – 5 ซึ่งเป็นขนาดที่เหมาะสมจะนำไปเลี้ยงเป็นปลาใหญ่
  
                 
                                                นาข้าว

2. นาข้าว ใช้เป็นบ่ออนุบาลโดยนาข้าวที่ได้เสริมคันดินให้แน่น เพื่อเก็บกักน้ำให้มีระดับความสูงประมาณ 50 ซม. โดยใช้ดินที่ขุดขึ้นรอบคันนาไปเสริม ซึ่งจะมีคูขนาดเล็กโดยรอบพร้อมบ่อขนาดเล็กประมาณ 2x5 เมตร ลึก 1 เมตร ให้ด้านคันนาที่ลาดเอียงต่ำสุดเป็นที่รวบรวมลูกปลาขณะจับ พื้นที่นาดังกล่าวก็จะเป็นนาอนุบาลลูกปลานิลได้หลังจากปักดำข้าว 10 วัน หรือภายหลังที่เก็บเกี่ยวข้าวแล้ว ส่วนการให้อาหารและปุ๋ย ก็ปฏิบัติเช่นเดียวกับบ่ออนุบาล การป้องกันศัตรูของปลานิลในนาข้าวควรใช้อวนไนลอนตาถี่สูงประมาณ 1 เมตร ทำเป็นรั้วล้อมรอบเพื่อป้องกันศัตรูของปลาจำพวก  กบ  งู  เป็นต้น

  
                             บ่อซีเมนต์
        
               3. บ่อซีเมนต์ บ่ออนุบาลปลานิลและบ่อเพาะปลานิลจะใช้บ่อเดียวกันก็ได้ ซึ่งสามารถใช้อนุบาลลูกปลาวัยอ่อนได้ตารางเมตรละประมาณ 300 ตัว เป็นเวลา 4 – 6 สัปดาห์ โดยใช้เครื่องเป่าลมช่วยและเปลี่ยนถ่ายน้ำประมาณครึ่งบ่อสัปดาห์ละครั้ง ให้อาหารสมทบวันละ 3 เวลา ลูกปลาที่เลี้ยงจะเติบโตขึ้นมีขนาด 3 – 5 ซม.

  
                        กระชังไนลอนตาถี่
            
               4. กระชังไนลอนตาถี่ ขนาด 3x3x2 เมตร สามารถใช้อนุบาลลูกปลาวัยอ่อนได้ครั้งละจำนวน 3,000 – 5,000 ตัว โดยให้ไข่แดงต้มบดให้ละเอียด วันละ 3 – 4 ครั้ง หลังจากถุงอาหารของลูกปลายุบตัวลงใหม่ๆ เป็นเวลาประมาณ 1 สัปดาห์ หลังจากนั้นจึงให้รำละเอียดอัตรา 1 ส่วนติดต่อกันเป็นระยะเวลาประมาณ 4-5 สัปดาห์  ลูกปลาจะโตขึ้นมีขนาด 3 – 5 ซม. ซึ่งสามารถนำไปเลี้ยงเป็นปลาขนาดใหญ่หรือจำหน่ายให้แก่ผู้เลี้ยงปลา
      การอนุบาลลูกปลานิลอาจจะใช้บ่อเพาะพันธุ์อนุบาลปลานิลเลยก็ได้เพื่อเป็นการประหยัดโดยช้อนเอาพ่อพันธุ์แม่พันธุ์ออกไปเลี้ยงไว้ต่างหาก



 การเลี้ยง

ปลานิลเป็นปลาที่ประชาชนนิยมเลี้ยงกัน มากชนิดหนึ่งทั้งในรูปแบบการค้า และเลี้ยงไวบริโภคในครัวเรือน ทั้งนี้เนื่องจากปลานิลเป็นปลาที่เลี้ยงง่าย กินอาหารได้แทบทุกชนิด เนื้อมีรสชาติดีตลาดมีความต้องการสูง การเลี้ยงปลาชนิดนี้เพื่อผลิตจำหน่าย จึงมีความจำเป็นที่จะต้องพิจารณาช่วยลดต้นทุนการผลิตให้มากที่สุดในเรื่องอาหารปลาที่จะนำใช้เลี้ยง กล่าวคือต้องเป็นอาหารที่หาได้ง่าย ราคาต่ำ นอกจากนั้นการเลี้ยงปลาชนิดนี้มีความจำเป็นในด้านการจัดการฟอร์มที่เหมาะสม เพราะปลานิลเป็นปลาที่ออกลูกดกถ้าปลาในบ่อมีความหนาแน่นมากก็จะไม่เจริญเติบโต  ดังนั้นการเลี้ยงที่จะให้ได้ผลดีเป็นที่พอใจก็จำเป็นต้องปฏิบัติให้ถูกต้องตามหลักวิชาการประเภทของการเลี้ยง และขั้นตอนต่อไปนี้


1.  บ่อดิน

             บ่อที่เลี้ยงปลานิลควรเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าเพื่อสะดวกในการจับ เนื้อที่ตั้งแต่ 200 ตารางเมตรขึ้นไป  อาหารที่ให้ใช้เศษอาหารจากโรงครัว ปุ๋ยคอก อาหารสมทบอื่นๆที่หาได้ง่าย เช่น แหนเป็ด สาหร่าย เศษพืชผักต่างๆ ปริมาณปลาที่ผลิตได้ก็เพียงพอสำหรับบริโภคในครอบครัว
            ส่วนการเลี้ยงปลานิลเพื่อการค้าควรใช้บ่อขนาดใหญ่ตั้งแต่ 0.5 – 3.0 ไร่ ควรจะมีหลายบ่อเพื่อทยอยจับปลาเป็นรายวันรายสัปดาห์และรายเดือน ให้ได้เงินสดมาใช้จ่ายเป็นเงินทุนหมุนเวียนสำหรับค่าอาหารปลา  เงินเดือนคนงานและค่าใช้จ่ายอื่นๆ

      ปัจจุบันการเลี้ยงปลานิลในบ่อดินแบ่งได้ 4 ประเภท ตามลักษณะของการเลี้ยง ดังนี้

           1. การเลี้ยงปลานิลแบบเดี่ยว โดยปล่อยลูกปลาขนาดเท่ากันลงเลี้ยงพร้อมกันใช้เวลาเลี้ยง   6 – 12  เดือน แล้ววิดจับหมดทั้งบ่อ
 2. การเลี้ยงปลานิลหลายรุ่นในบ่อเดียวกัน  โดยใช้อวนจับปลาใหญ่ คัดเฉพาะขนาดปลาที่ตลาดต้องการจำหน่ายและปล่อยให้ปลาขนาดเล็กเจริญเติบโตต่อไป
 3.การเลี้ยงปลานิลร่วมกับปลาชนิดอื่น เช่น ปลาสวาย ปลาตะเพียน ปลาจีน ฯลฯ เพื่อใช้ประโยชน์จากอาหาร  หรือเลี้ยงร่วมกับปลากินเนื้อเพื่อกำจัดลูกปลาที่ไม่ต้องการ ขณะเดียวกันจะได้ปลากินเนื้อเป็นผลพลอยได้ เช่น การเลี้ยงปลานิลร่วมกับปลากราย และการเลี้ยงปลานิลร่วมกับปลาช่อน เป็นต้น
 4.การเลี้ยงปลานิลแบบแยกเพศโดยวิธีแยกเพศปลา หรือเปลี่ยนเป็นเพศเดียวกันเพื่อป้องกันการแพร่พันธุ์ในบ่อส่วนมากนิยมเลี้ยงเฉพาะปลาเพศผู้ซึ่งมีการเจริญเติบโตเร็วกว่าเพศเมียโดยสามารถจัดเตรียมลูกปลาเพศผู้ได้ 4 วิธีดังนี้
     วิธีที่ 1 การคัดเลือกโดยดูลักษณะเพศภายนอกนำปลาที่เลี้ยงทั้งหมดมาแยกเพศโดยตรงซึ่งจำเป็นต้องเป็นปลาที่มีขนาดใหญ่พอสมควร โดยดูจากลักษณะสีใต้คางของปลา สำหรับปลาเพศผู้จะมีสีแดงหรือสีชมพู ส่วนปลาเพศเมียใต้คางจะมีสีเหลือง หรือจะสังเกตบริเวณช่องขับถ่ายเพศเมียจะมี 3 ช่อง เพศผู้มี 2 ช่อง ขนาดปลาที่สามารถเห็นความแตกต่างได้ชัดเจนควรมีขนาดความยาวตั้งแต่ 12 ซม. และมีน้ำหนัก 50 กรัม ขึ้นไป

      วิธีที่ 2 การผสมข้ามสายพันธุ์ การผสมข้ามพันธุ์ทั้งสกุลและชนิด ในปลาบางชนิดทำให้เกิดลูกปลาเพศเดียวกันได้ เช่น การผสมข้ามสายพันธุ์ระหว่าง O.niloticus กับ O.aureus จะได้ลูกพันธุ์ปลานิลผู้ร้อยเปอร์เซ็นต์ ซึ่งประสบความสำเร็จมาแล้วในประเทศอิสราเอล

      วิธีที่ 3 การใช้ฮอร์โมนแปลงเพศปลา สามารถทำได้หลายวิธี เช่น การฝังแคปซูล การแช่ปลาในสายละลายฮอร์โมนและการผสมฮอร์โมนในอาหารให้ลูกปลากิน โดยใช้ฮอร์โมนแอนโดรเจนหรือฮอร์โมนเพศผู้สามารถเปลี่ยนเพศได้มากกว่า 95 เปอร์เซ็นต์

      วิธีที่ 4ปลานิลซุเปอร์เมล เป็นการผลิตลูกปลานิลเพศผู้ทั้งครอก ซึ่งสถาบันวิจัยและพัฒนาพันธุกรรมสัตว์น้ำได้ดำเนินการขยายพันธุ์พร้อมจำหน่ายให้แก่เกษตรกรหลายแห่ง อาทิ ศูนย์พัฒนาประมงน้ำจืดพิษณุโลก สุราษฏร์ธานีและขอนแก่น

      การขุดบ่อเลี้ยงปลาในปัจจุบันนิยมใช้เครื่องจักรกล  เช่น รถแทรกเตอร์ รถตักขุดดิน เพราะเสียค่าใช้จ่ายต่ำกว่าใช้แรงงานจากคนขุดเป็นอันมากนอกจากนี้ยังปฏิบัติงานได้รวดเร็วตลอดจนสร้างคันดิน ก็สามารถอัดให้แน่นป้องกันการรั่วซึมได้เป็นอย่างดี ความลึกของบ่อประมาณ 1 เมตร มีเชิงลาดประมาณ 45 องศา เพื่อป้องกันการพังทลายของดิน แลมีชานบ่อกว้างประมาณ   1– 2 เมตร ตามขนาดความกว้าวยาวของบ่อที่เหมาะสม ถ้าบ่ออยู่ใกล้แหล่งน้ำ เช่น คู คลอง แม่น้ำ หรือในเขตชลประทาน ควรสร้างท่อระบายน้ำทิ้งที่พื้นบ่ออีกครั้งหนึ่ง โดยจัดระบบน้ำเข้าออกคนละทาง เป็นการลดค่าใช้จ่ายในการสูบน้ำ แต่ถ้าบ่อนั้นไม่สามารถจะทำท่อชักน้ำและระบายน้ำได้จำเป็นต้องใช้เครื่องสูบน้ำ



 ขั้นตอนการเลี้ยงปลานิลในบ่อ

             1. กำจัดวัชพืชและพรรณไม้ต่างๆ เช่น กก หญ้า ผักตบชวา ให้หมดโดยนำมากอองสุมไว้ เมื่อแห้งแล้วนำมาใช้เป็นปุ๋ยหมักในขณะที่ปล่อยปลาลงเลี้ยงถ้าในบ่อเก่ามีเลนมากจำเป็นต้องสาดเลนขึ้นโดยนำไปเสริมคันดินที่ชำรุด หรือ ใช้เป็นปุ๋ยแก่พืชผัก ผลไม้  บริเวณใกล้เคียง พร้อมทั้งตกแต่งเชิงลาดและคันดินให้แน่นด้วย

             กำจัดศัตรู ศัตรูของปลานิล ได้แก่ ปลาจำพวกกินเนื้อ เช่น ปลาช่อน ปลาชะโด ปลาหมอ ปลาดุก นอกจากนี้ก็มีสัตว์พวก กบ งู เขียด เป็นต้น ดังนั้นก่อนที่จะปล่อยปลานิลลงเลี้ยงจึงจำเป็นต้องกำจัดศัตรูดังกล่าวเสียก่อน โดยวิธีระบายน้ำออกให้เหลือน้อยที่สุด

     การกำจัดศัตรู  ของปลาอาจใช้โล่ติ๊นสดหรือแห้งประมาณ 1 กิโลกรัม ต่อปริมาณน้ำในบ่อ 100 ลูกบาศก์เมตร โดยทุบหรือบดโล่ติ๊นให้ละเอียดนำลงแช่น้ำประมาณ 1 – 2 ปี๊บ ขยำโล่ติ๊นเพื่อให้น้ำสีขาวออกมาหลายๆครั้งจนหมด นำไปสาดให้ทั่วบ่อ ศัตรูพวกปลาจะลอยหัวขึ้นมาภายหลังสาดโล่ติ๊น ประมาณ 30 นาที ใช้สวิงจับขึ้นมาบริโภคได้ปลาที่เหลือตายพื้นบ่อจะลอยในวันรุ่งขึ้น ส่วนศัตรูจำพวก กบ เขียด งู จะหนีออกจากบ่อไป และก่อนปล่อยปลาลงเลี้ยงควรทิ้งระยะไว้ประมาณ 7 วัน เพื่อให้ฤทธิ์ของโล่ติ๊นสลายตัวไปหมดเสียก่อน

2. การใส่ปุ๋ย โดยปรกติแล้วอุปนิสัย ในการกินอาหารของปลานิล จะกินอาหารจำพวกแฟรงก์ตอนพืชและสัตว์เศษวัสดุเน่าเปื่อยตามพื้นบ่อ แหน สาหร่าย ฯลฯ ดังนั้น ในบ่อเลี้ยงปลาควรให้อาหารธรรมชาติดังกล่าวเกิดขึ้นเสมอจึงจำเป็นต้องใส่ปุ๋ยลงไปละลายเป็นธาตุอาหารซึ่งพืชน้ำขนาดเล็กจำเป็นต้องใช้ในการปรุงอาหารและเจริญเติบโตโดยกระบวนการสังเคราะห์แสงซึ่งเป็นโซ่อาหาร อันดับต่อไปคือ แฟรงก์ตอนสัตว์ ได้แก่ ไรน้ำ และตัวอ่อนของแมลง  ปุ๋ยที่ใช้ได้แก่ มูลวัว ควาย หมู เป็ด ไก่ นอกจากปุ๋ยที่ได้จากมูลสัตว์แล้วก็อาจใช้ปุ๋ยหมักและฟางข้าวปุ๋ยพืชสดต่างๆ ได้เช่นเดียวกัน
             อัตราส่วนการใส่ปุ๋ยคอก ในระยะแรกควรใส่ประมาณ 250 – 300 กก./ ไร่ / เดือน ส่วนในระยะหลังควรลดลงเพียงครึ่งหนึ่ง หรือสังเกตสีของน้ำในบ่อ และในกรณีที่หาปุ๋ยคอกไม่ได้ก็หาปุ๋ยวิทยาศาสตร์สูตร 15  :15 : 15 ใส่ประมาณ 5 กก. / ไร่ / เดือน ก็ได้ วิธีใส่ปุ๋ยถ้าเป็นปุ๋ยคอกควรตากให้แห้งเสียก่อน เพราะปุ๋ยสดจะทำให้มีแก๊สจำพวกแอมโมเนียละลายอยู่ในน้ำมาก เป็นอันตรายต่อปลา การใส่ปุ๋ยคอกใช้วิธีหว่านลงไปในบ่อโดยละลายน้ำทั่วๆก่อนส่วนปุ๋ยหมักหรือปุ๋ยสดนั้นควรกองสุมไว้ตามมุมบ่อ 2 –3  แห่ง โดยมีไม้ปักล้อมเป็นคอกรอบกองปุ๋ยเพื่อป้องกันไม่ให้ส่วนที่ยังไม่สลายตัวกระจัดกระจาย

3. อัตราปล่อยปลา อัตราการปล่อยปลาที่เลี้ยงในบ่อดินขึ้นอยู่กับคุณภาพน้ำ อาหาร และการจัดการเป็นสำคัญ โดยทั่วไปจะปล่อยลูกปลาขนาด 3 – 5 เซนติเมตร ลงเลี้ยงในอัตรา 1 – 3 ตัว / ตารางเมตร หรือ 2,000 – 5,000 ตัว / ไร่
4. การให้อาหาร การใส่ปุ๋ยเป็นการให้อาหารแก่ปลานิลที่สำคัญมากวิธีหนึ่ง เพราะจะได้อาหารธรรมชาติที่มีโปรตีนสูงและราคาถูกแต่เพื่อเป็นการเร่งให้ปลานิลที่เลี้ยงเจริญเติบโตเร็วขึ้นหรือถูกต้องตามหลักวิชาการ จึงควรให้อาหารจำพวกคาร์โบไฮเดรทเป็นอาหารสมทบด้วย เช่น รำ ปลายข้าว มีโปรตีนประมาณ 20 % เศษอาหารที่เหลือจากโรงครัวหรือภัตตาคาร อาหารประเภทพืชผัก เช่น แหนเป็ด สาหร่าย ผักตบชวาสับให้ละเอียด เป็นต้น อาหารสมทบเหล่านี้ควรเลือกชนิดที่มีราคมถูกและหาได้ง่าย ส่วนปริมาณที่ให้ก็ไม่ควรเกิน 4 % ของน้ำหนักปลาที่เลี้ยง หรือจะใช้วิธีสังเกตจากปลาที่ขึ้นมากินอาหารจากจุดที่ให้เป็นประจำ คือ ถ้ายังมีปลานิลออกมาออกันมากเพื่อรอกินอาหารก็เพิ่มจำนวนอาหารมากขึ้นตามลำดุบทุก 1 – 2 สัปดาห์
ในการให้อาหารสมทบมีข้อพึงระวังคือ  ถ้าปลากินไม่หมดอาหารจมพื้นบ่อหรือละลายน้ำ
มากก็จะทำให้เกิดความเสียหายขึ้นหลายประการ เช่น เสียค่าใช้จ่ายไปโดยเปล่าประโยชน์ ทำให้น้ำเน่าเสียเป็นอันตรายต่อปลาที่เลี้ยง และ/หรือต้องเพิ่มค่าใช้จ่ายในการสูบถ่ายเปลี่ยนน้ำบ่อยๆเป็นต้น



 การเลี้ยงปลานิลเพศผู้ในบ่อดินแบบกึ่งพัฒนา

              1. เตรียมบ่อโดยสูบน้ำเข้าบ่อให้ได้ระดับน้ำสูงประมาณ 1 เมตรใส่ปูนขาว 200 กก./ไร่ และปุ๋ยคอก 200 กก./ ไร่ ทิ้งไว้เป็นเวลาประมาณ 7 วัน เพื่อให้เกิดอาหารธรรมชาติในบ่อซึ่งเป็นอาหารปลา
               2. ปล่อยลูกปลา ขนาด 2 – 3 เซนติเมตร จำนวน 5,000 ตัว / ไร่ ในระหว่างการเลี้ยงมีการเติมปุ๋ยคอก 200 กก./ ไร่ / เดือน เพื่อให้เกิดอาหารธรรมชาติในบ่อ ให้อาหารเสริม เช่น ปลาป่น  รำข้าว กากถั่วเหลือง  เป็นต้น  ควรมีการเติมน้ำในบ่อปลาด้วยอย่างสม่ำเสมอ
               3. เมื่อเลี้ยงครบ 5 เดือน จะได้ปลาขนาด 300 กรัม เริ่มให้ปลากินอาหารเม็ดระดับโปรตีน 25 % ปริมาณ 3% ของน้ำหนักตัวเป็นเวลา 1 เดือน
 4. ได้ปลานิลขนาด 2 – 3 ตัว / กิโลกรัม ผลผลิต 1.5 – 2 ตัน / ไร่ (ข้อมูลจาก สถาบันวิจัยและพัฒนาพันธุกรรมสัตว์น้ำ กรมประมง)

 การเลี้ยงปลานิลเพศผู้ในบ่อดินแบบพัฒนา

                1. เตรียมบ่อโดยสูบน้ำเข้าบ่อให้ได้ระดับความสูงประมาณ 1 เมตร ใส่ปูนขาว 200 กก./ไร่ ทิ้งไว้ประมาณ 7 วัน
 2. นำลูกปลานิลขนาด 45 กรัม มาปล่อยในบ่อที่เตรียมน้ำไว้ในอัตรา 8,000 ตัว / ไร่
 3. ให้อาหารเม็ดระดับโปรตีน 25 % วันละ 3 ครั้ง ปริมาณ 5 % ของน้ำหนักตัว และมีการตรวจสอบอัตรารอดและปรับปริมาณอาหารทุกเดือน เลี้ยงเป็นเวลา 4 เดือนในระหว่างการเลี้ยงมีการเปิดเครื่องตีน้ำเพื่อเพิ่มอากาศตลอดเวลา
4. จะได้ปลานิลขนาด 1– 2 ตัว / กิโลกรัม ผลผลิต 3 ตัน / ไร่ (ข้อมูลจาก สถาบันวิจัยและพัฒนาพันธุกรรมสัตว์น้ำ  กรมประมง)

 การเลี้ยงปลาร่วมกับสัตว์บก

 วัตถุประสงค์เพื่อใช้ข้อมูลสัตว์และปุ๋ยในบ่อเป็นอาหารซึ่งจะเป็นการใช้ประโยชน์แบบผสมผสาน ระหว่างการเลี้ยงปลากับการเลี้ยงสัตว์อื่นๆ โดยเศษอาหารที่เหลือจากการย่อย หรือตกหล่นจากที่ให้อาหารของปลาโดยตรง ในขณะที่ข้อมูลของสัตว์จะเป็นปุ๋ยและให้แร่ธาตุสารอาหารแก่พืชน้ำซึ่งเป็นอาหารของปลา ซึ่งจะลดต้นทุนค่าใช้จ่ายและแก้ปัญหามลภาวะได้

 วิธีการเลี้ยงสัตว์ร่วมกับปลาอาจใช้วิธีการสร้างคอกสัตว์บนบ่อปลาเพื่อไม่ให้มูลไหลลงบ่อปลาโดยตรง หรือสร้างคอกสัตว์ไว้บนคันบ่อปลาแล้วนำมูลสัตว์มาใส่ลงบ่อในอัตราที่เหมาะสม ในประเทศไทยนิยมเลี้ยงสุกร จำนวน 10 ตัว หรือ เป็ด ไก่ไข่ จำนวน 200 ตัว ต่อบ่อปลาพื้นที่น้ำ 1 ไร่

          1.  กระชังหรือคอก
      การเลี้ยงปลานิล โดยใช้แหล่งน้ำธรรมชาติทั้งบริเวณน้ำกร่อยและน้ำจืดที่มีคุณภาพน้ำดี สำหรับกระชังส่วนใหญ่ที่ใช้กันโดยทั่วไปจะมีขนาดกว้าง 20 เมตร ยาว 25 เมตร ลึก 5 เมตร สามารถจะนำมาใช้ติดตั้ง 2 รูปแบบคือ

    1.1 กระชังหรือคอกแบบผูกติดกับที่ สร้างโดยใช้ไม้ไผ่ทั้งลำปักลงในแหล่งน้ำ ควรมีไม้ไผ่ผูกเป็นแนวนอนหรือเสมอผิวน้ำที่ระดับประมาณ 1 – 2 เมตร เพื่อยึดลำไม้ไผ่ที่ปักลงในดินให้แน่น กระชังตอนบนและล่างควรร้อยเชือกคร่าวเพื่อใช้ยืดตัวกระชังให้ขึงตึงโดยเฉพาะตรงมุม 4 มุม ของกระชังทั้งด้านล่างและด้านบนการวางกระชังควรวางให้เป็นกลุ่มโดยเว้นระยะห่างกันให้น้ำไหลผ่านได้สะดวก  อวนที่ใช้ทำกระชัง เป็นอวนไนลอนช่องตาแตกต่างกันตาม ขนาดของปลานิลที่เลี้ยง คือขนาดช่องตา 1/4 นิ้ว ขนาด1/2 นิ้ว และอวนตาที่ถี่สำหรับเพาะและเลี้ยงลูกปลาวัยอ่อน
            1.2 กระชังแบบลอย ลักษณะของกระชังก็เหมือนกับกระชังโดยทั่วไปแต่ไม่ใช้เสาปักยึดอยู่กับที่ ส่วนบนของกระชังผูกติดทุ่นลอยซึ่งใช้ไม้ไผ่หรือแท่งโฟมมุมทั้ง4ด้านล่างใช้แท่งปูนซีเมนต์หรือก้อนหินผูกกับเชือกคร่าวถ่วงให้กระชังจมถ้าเลี้ยงปลาหลาย กระชังก็ใช้เชือกผูกโยงติดกันไว้เป็นกลุ่ม
       อัตราส่วนของปลาที่เลี้ยงในกระชัง ปลานิลที่เลี้ยงในกระชังในแหล่งน้ำที่มีคุณภาพน้ำดี  สามารถปล่อยปลาได้หนาแน่นคือ        40 – 100 ตัว / ตรม. โดยให้อาหารสมทบที่เหมาะสม เช่น ปลายข้าว หรือ มันสำปะหลัง รำข้าว ปลาป่น และพืชผักต่างๆโดยมีอัตราส่วนของโปรตีนประมาณ 20 %
      สำหรับวิธีทำอาหารผสมดังกล่าว คือ ต้มเฉพาะปลายข้าว หรือมันสำปะหลังให้สุก แล้วนำมาคลุกเคล้ากับรำปลาป่นและพืชผักต่างๆ แล้วปั้นเป็นก้อนเพื่อมิให้ละลายน้ำได้ง่ายก่อนที่ปลาจะกิน

 การเลี้ยงปลานิลในน้ำกร่อย
                ในปัจจุบันพื้นที่และสภาพแหล่งน้ำจืดที่เหมาะสมในการเพาะเลี้ยงปลามีปริมาณลดน้อยลง  การใช้แหล่งน้ำกร่อยและทะเล เพื่อการเพาะเลี้ยงกำลังเป็นที่น่าสนใจ ปลาในสกุลปลานิลหลายชนิดสามารถเจริญเติบโตได้ดีในน้ำกร่อย  ซึ่งการคัดเลือกปลานิลชนิดใดเพื่อเลี้ยงในน้ำความเค็มต่างๆ จะต้องพิจารณาให้เหมาะสม
             ข้อดีของการเลี้ยงปลานิลในน้ำกร่อยคือจะมีปัญหาเรื่องกลิ่นน้อยและมีปริมาณแบคทีเรียน้อยกว่าการเลี้ยงในน้ำจืด  แต่สำหรับปัญหาใหญ่ของการเลี้ยงปลาในน้ำที่มีระดับความเค็มสูง  คือโรคปลา  ความเครียดและการทำร้ายร่างกายกันเอง

            ชนิด
ความเค็มที่เหมาะสมต่อการเจริญเติบโต

O.mossambicus
O.niloticus
O.aureus
O.spilurus
Red tilapia


17.5    ppt
5-10   ppt
10-15 ppt
25-30  ppt
25-30  ppt

 การเลี้ยงปลานิลชนิดต่างๆต้องพิจารณา ถึงความเหมาะสมของแต่ละชนิดให้สัมพันธ์กับสภาพแวดล้อมที่จะเลี้ยง เช่น  O.niloticus  และ  O.aureus  เจริญเติบโตและเหมาะสมที่จะเลี้ยงในน้ำจืดและในน้ำกร่อยปลานิลแดงซึ่งเป็นลูกผสมของปลาหมอเทศ  O.mossambicus  กับปลานิล  O.niloticus  และO.spilurusเจริญเติบโตได้ดีในน้ำที่มีระดับความเค็มสูงส่วนในประเทศไทยเลี้ยงปลานิล  O.niloticus  โดยปล่อยเลี้ยงในอัตรา 5 ตัว/ตรม.  ได้ผลผลิต 11,000 กก./10,000 ตรม.  ในระยะเวลาเลี้ยง 5 เดือน  ปลาจะเจริญเติบโตเฉลี่ยวันละ 2.2 กรัม แต่ทั้งนี้ระดับความเค็มต้องต่ำกว่า 30 ppt
             สรุปได้ว่าการจะพิจารณาเลี้ยงปลานิลในรูปแบบใดตั้งแต่ระบบพื้นฐานคือ  ไม่พัฒนา  ไปจนถึงระบบการเลี้ยงพัฒนาขั้นสูงย่อมขึ้นอยู่กับระบบชีววิทยา ระบบสังคมเศรษฐกิจ  ปัจจัยของสภาพแวดล้อมและระบบตลาดจะเป็นปัจจัยที่สำคัญที่สุด

 การเจริญเติบโตและผลผลิต
               ปลานิลเป็นปลาที่มีการเจริญเติบโตเร็ว เมื่อได้รับการเลี้ยงดูอย่างถูกต้องจะมีขนาดเฉลี่ย 500 กรัม  ในเวลา 1 ปี  ผลผลิตไม่น้อยกว่า 500 กก./ไร่/ปี  ในกรณีเลี้ยงในกระชังที่คุณภาพน้ำดี  มีอาหารสมทบอย่างสมบูรณ์สามารถให้ผลผลิตไม่น้อยกว่า 5 กิโลกรัม/ลูกบาศก์เมตร

การเจริญเติบโตของปลานิล

อายุปลา(เดือน)
ความยาว(ซม.)
น้ำหนัก(กรัม)
3
10
30
6
20
200
9
25
350
12
30
500


 การจับจำหน่ายและการตลาด
       ระยะเวลาการจับจำหน่ายไม่แน่นอนขึ้นอยู่กับขนาดของปลานิลและความต้องการของตลาด  โดยทั่วไปปลานิลที่ปล่อยลงเลี้ยงในบ่อรุ่นเดียวกันก็จะใช้เวลาประมาณ 1 ปี  จึงจะจับจำหน่าย  เพราะปลานิลที่ได้จะมีน้ำหนักประมาณ 2-3 ตัวต่อกิโลกรัม  ซึ่งเป็นขนาดที่ตลาดต้องการ  ส่วนปลานิลที่ปล่อยลงเลี้ยงหลายรุ่นในบ่อเดียวระยะเวลาการจับจำหน่ายก็ขึ้นอยู่กับราคาปลาและความต้องการของผู้ซื้อ  การจับปลานิลทำได้ 2 วิธี  ดังนี้

       1. จับปลาแบบไม่วิดบ่อแห้ง จะใช้อวนตาห่างจับปลาเพราะจะได้ปลาที่มีขนาดใหญ่ตามที่ต้องการ การตีอวนจับปลากระทำโดยผู้จับยืนเรียงแถวหน้ากระดาน และเว้นระยะห่างกัน ประมาณ4.50 เมตร  ซึ่งอยู่ทางด้านหนึ่งของบ่อแล้วลากอวนไปยังอีกด้านหนึ่งของบ่อตามความยาวแล้วยกอวนขึ้น  หลังจากนั้นก็นำสวิงตักปลาใส่เข่งเพื่อชั่งขาย  ทำเช่นนี้เรื่อยไปจนได้ปริมาณตามที่ต้องการ  ส่วนปลาเล็กก็คงปล่อยเลี้ยงในบ่อต่อไป
   การลากอวนแต่ละครั้งจะมีปลาเบญจพรรณเป็นผลพลอยได้เสมอ  เช่น  ปลาดุก  ปลาหลด  ปลาตะเพียน  ปลาช่อน  เป็นต้น
      การคัดขนาดของปลากระทำได้ 2วิธีคือ  ถ้านำไปจำหน่ายที่องค์การสะพานปลา  องค์การสะพานปลาก็จะจัดการคัดขนาดให้แต้ถ้าเกษตรกรผู้เลี้ยงปลาจำหน่ายที่ปากบ่อก็จำเป็นต้องทำการคัดขนาดปลากันเอง
          2. จับปลาแบบวิดบ่อแห้ง  ก่อนทำการจับปลาจะต้องสูบน้ำออกจากบ่อให้เหลือน้อย  แล้วตีอวนจับปลาเช่นเดียวกับวิธีแรกจนกระทั่งปลาเหลือจำนวนน้อย  จึงสูบน้ำออกจากบ่ออีกครั้งหนึ่งและขณะเดียวกันก็ตีน้ำไล่ปลาให้ไปรวมกันอยู่ในร่องบ่อ  ร่องบ่อนี้จะเป็นส่วนที่ลึกอยู่ด้านหนึ่งของบ่อเมื่อน้ำในบ่อแห้ง  ปลาจะมารวมกันอยู่ที่ร่องบ่อ  และเกษตรกรผู้เลี้ยงปลาก็จับขึ้นจำหน่ายต่อไป  การจับปลาลักษณะนี้ส่วนใหญ่จะทำทุกปีในฤดูแล้งเพื่อตากบ่อให้แห้งและเริ่มต้นเลี้ยงปลาในฤดูการผลิตต่อไป
              ตลาดของปลานิลส่วนใหญ่ยังใช้บริโภคภายในประเทศอย่างไรก็ตามมีโรงงานห้องเย็นเริ่มรับซื้อปลานิล  ปลานิลแดง  เพื่อแปรรูปส่งออกจำหน่ายต่างประเทศ  เช่น  ประเทศสหรัฐอเมริกา  อิตาลี  ฝรั่งเศส  ออสเตรเลีย  เป็นต้น  โดยโรงงานจะรับซื้อปลาขนาด 400 กรัมขึ้นไป  เพื่อแช่แข็งส่งออกทั้งตัวและรับซื้อปลาขนาด 100-400 กรัม  เพื่อแล่เฉพาะเนื้อแช่แข็ง  หรือนำไปแปรรูปเพื่อส่งออกต่อไป         

 ต้นทุนและผลตอบแทน                  
ตาราง  แสดงต้นทุนการผลิตปลานิลเฉลี่ยต่อไร่ต่อรุ่น


                                    หมายเหตุ  :  ตัวเลขประเมิน (ปี 2538)
                                    ที่มา  :   กลุ่มวิจัยสินค้าเกษตรกรรมที่ 2  สำนักวิจัยเศรษฐกิจการเกษตร


วิถีการตลาดปลานิล




 ลักษณะและการจำหน่ายผลผลิตปลานิล
              เกษตรกรผู้เลี้ยงปลานิล จะมีการจำหน่ายผลผลิตในหลายลักษณะ  ได้แก่  ขายปลีกแก่พ่อค้าต่างๆ  ที่เข้ามารับซื้อจากฟาร์มซึ่งมีทั้งพ่อค้าขายปลีกในตลาดหรือพ่อค้ารวบรวมในพื้นที่และจากต่างท้องถิ่นหรือส่งให้องค์การสะพานปลาขายส่วนใหญ่แล้วเกษตรกรจะขายแก่พ่อค้าผู้รวบรวม  66-71%  และนำไปขายแก่พ่อค้าขายส่งที่องค์การสะพานปลา 21%  และขายในรูปลักษณะอื่นๆ 3-6 %


 ราคาและความเคลื่อนไหว
             ราคาและผลผลิตปลานิลแต่ละท้องถิ่นจะแตกต่างกัน  ตลาดในชนบทมีความต้องการปลาขนาดเล็กเพื่อการบริโภค  ซึ่งตรงกันข้ามกับตลาดในเมืองมีความต้องการปลาขนาดใหญ่ ราคาของปลาจึงแตกต่างกัน
           ความเคลื่อนไหวของราคาที่เกษตรกรขายได้และราคาขายส่งเป็นไป  ในลักษณะทิศทางเดียวกันและขึ้นอยู่กับฤดูกาล  ในการขายปลาโดยปกติราคาขายจะสูงในช่วงเดือนมกราคมถึงเดือนกันยายน  สำหรับราคาจำหน่ายที่ฟาร์มอยู่ที่ขนาดของปลาอยู่ระหว่าง 12-15 บาท/กก.  สำหรับราคาขายปลีกโดยเฉลี่ยราคาอยู่ที่ 20-25 บาท/กก.  ผลต่างระหว่างราคาฟาร์มและราคาขายปลีกเท่ากับ 8-10 บาท/กก.
            ด้านราคาส่งออกนั้นขึ้นอยู่กับอุปสงค์และอุปทานของตลาดโลกเป็นสำคัญ  เมื่อประเทศคู่แข่ง  เช่น  ไต้หวัน  อินโดนีเซีย  สามารถผลิตได้มากก็จะทำให้ประเทศไทยส่งขายได้น้อย  เพราะเนื่องจากผลผลิตปลานิลแช่แข็งทั้งในรูปปลาทั้งตัวและปลาทั้งตัวควักไส้มีราคาสู้กับประเทศคู่แข่งไม่ได้
             อย่างไรก็ตาม  ราคาปลานิลแล่เฉพาะเนื้อมีราคาอยู่ระหว่าง 75-80 บาท/กก.  และสำหรับปลานิลแช่แข็งทั้งตัวอยู่ระหว่าง 30-35 บาท/กก.


 ปัญหาการตลาดปลานิลของเกษตรกร
           ตลาดปลานิลพ่อค้าคนกลางเป็นผู้กำหนดราคาและปริมาณการซื้อ  โดยที่พ่อค้าคนกลางจะเข้าไปรับซื้อถึงฟาร์ม  เพราะเกษตรกรส่วนใหญ่ไม่สามารถนำผลผลิตออกมาขายที่ตลาด  เนื่องจากขาดอุปกรณ์ในการจับและลำเลียง  อีกทั้งยังไม่มีความรู้ในด้านการตลาด  ปัญหาที่สำคัญซึ่งเป็นตัวกำหนดราคาที่เกษตรกรพบอยู่เสมอ  คือ
            1.ขนาดพันธุ์ปลา ปลานิลเป็นปลาที่แพร่พันธุ์ได้สามารถออกลูกตลอดทั้งปีเป็นปลานิลเพศเมียส่วนใหญ่และลูกปลาจึงมีขนาดเล็กและไม่ได้น้ำหนักตามที่ผู้ซื้อต้องการ
          2. กลิ่นโคลนของเนื้อปลา  เนื่องจากปลานิลที่เลี้ยงยังใช้เศษอาหาร   วัสดุที่เหลือจากการ
บริโภค  หรือเลี้ยงปลาผสมผสาน  ทำให้ปลาแล่เนื้อมีกลิ่นโคลน
         3. ปลาที่เกษตรกรจับ ส่วนมากวิดบ่อและปลาตายจำนวนมาก การจับส่งลำเลียงไม่ถูกวิธี  เมื่อนำไปบรรจุจะมีแบคทีเรียสูง  ทำให้เนื้อปลามีสีเขียว
          4. เกษตรกรขาดแคลนเงินทุน  ทำให้เมื่อปลามีขนาดโตพอจำหน่ายได้ เกษตรกรจะรีบขายทันที  ทำให้ราคาต่ำ

 การกำจัดกลิ่นสาบ
             กลิ่นที่พบมากในปลาเลี้ยง  โดยเฉพาะปลาที่เลี้ยงในบ่อดิน  และเป็นปัญหามากต่อการส่งออก  ได้แก่ กลิ่นสาบหรือกลิ่นโคลนแต่เดิมเข้าใจกันว่าอาหารที่ขึ้นราอาจเป็นสาเหตุที่ทำให้ปลามีกลิ่นดังกล่าวแต่ปัจจุบันเป็นที่ทราบค่อนข้างแน่นอนแล้วว่ากลิ่นโคลนในตัวปลาเกิดขึ้นเนื่องจาก  ปลาดูดซับสารละลายชนิดหนึ่งในน้ำ  เรียกว่า  จีออสมิน  (Geosmin)  เข้าไปทางเหงือก  หรือกินตัวการที่ผลิตสารนี้เข้าไปโดยตรงแล้วสะสมสารนี้ในเนื้อเยื่อที่สะสมไขมันสันนิษฐานกันว่าตัวการที่ผลิตสารนี้ได้แก่  สาหร่ายสีน้ำเงินแกมเขียวบางชนิด  เชื้อราและจุลินทรีย์ที่เกิดขึ้นในบ่อเลี้ยง  ตัวการเหล่านี้มักเกิดขึ้นอย่างหนาแน่นในบ่อที่มีการให้อาหารมากดังนั้นหากจะกล่าวว่าอาหารเป็นต้นเหตุของกลิ่นโคลนก็เป็นได้ เพราะปริมาณอาหารที่ใช้เลี้ยงไม่ใช่คุณภาพของอาหารโดยตรงที่เป็นต้นเหตุ
            กลิ่นโคลนไม่ใช่เป็นกลิ่นถาวรที่อยู่กับตัวปลาตลอดไปกลิ่นนี้จะหายไปเมื่อนำปลาไปใส่ไว้ในน้ำสะอาดและงดให้อาหารเป็นเวลา 7 วัน ที่อุณหภูมิน้ำ  24  องศาเซลเซียส  ถ้าอุณหภูมิสูงกว่านี้จะทำให้กลิ่นโคลนหมดไปจากตัวปลาเร็วขึ้น  การแช่ปลาในน้ำสะอาดเป็นเวลา 7 วัน จะทำให้ปลาสูญเสียน้ำหนักไปประมาณ 5-12 เปอร์เซ็นต์
             ปลานิลไม่ต้องการกรดไขมัน w-6  ซึ่งมีมากในน้ำมันปลาจึงไม่ควรใส่น้ำมันปลาในอาหารปลานิล เพราะนอกจากไม่มีประโยชน์ในด้านให้กรดไขมันที่จำเป็นแล้วยังอาจทำให้ปลามีกลิ่นคาวรุนแรงแม้ว่าจะเก็บปลาไว้เป็นปีๆ  ก็ตาม
             ปลานิลที่ขุนไว้จนอ้วนจะมีเนื้อยุ่ยเหลวเมื่อทำเป็นเนื้อแล่เนื่องจากไขมันอาหารไปสะสมตามเนื้อมากเกินไป ตามปกติปลาเลี้ยงจะมีไขมันมากกว่าปลาธรรมชาติอยู่แล้วเพราะปลาเลี้ยงได้รับอาหารเต็มที่เพื่อเร่งให้เจริญเติบโตเร็ว อาหารที่มีไขมันหรือสัดส่วนของพลังงานต่อโปรตีนสูง  จึงทำให้คุณภาพของเนื้อปลาต่ำลง  ในทางตรงกันข้ามหากเนื้อปลามีไขมันน้อยเกินไปซึ่งมีสาเหตุมาจากปลาได้รับอาหารไม่เพียงพอเนื้อปลาจะแห้งและแข็งเกินไปไม่ชวนรับประทาน

 ตลาดภายในประเทศ
              ปัจจุบันผู้บิโภคภายในประเทศ  เริ่มสนใจที่จะบริโภคปลานิลเพิ่มสูงขึ้น  และกรมประมงมีโครงการส่งเสริมให้มีการพัฒนาการเพาะเลี้ยงปลานิล  ซึ่งจะเป็นโอกาสให้ผู้บริโภคภายในประเทศไทยรู้ถึงคุณค่าของอาหารโปรตีนจากปลานิลมากขึ้น  โอกาสที่การจำหน่ายภายในประเทศจึงน่าจะมีแนวโน้มดีขึ้นตามไปด้วย
              ผลผลิตปลานิลส่วนใหญ่จะบริโภคภายในประเทศ  เป็นรูปสด 89%  ในการแปรรูปทำเค็ม  ตากแห้ง 5%  ย่าง 3%  และที่เหลือในรูปอื่นๆ
                สำหรับปลานิลทั้งตัว  และในรูปแช่แข็งก็มีจำหน่ายในประเทศโดยผู้ผลิตคือโรงงานและจำหน่ายให้ภัตตาคารหรือร้านอาหาร

 ตลาดต่างประเทศ
                เนื่องจากภาวการณ์ติดต่อและการคมนาคมในปัจจุบันทำให้สะดวก  นอกจากนี้ผลต่างของราคาจำหน่ายปลานิลของต่างประเทศยังมีความต้องการปลานิลเพื่อบริโภคสูง
              ตลาดต่างประเทศมีทั้งตลาดในยุโรปตะวันออกกลางสหรัฐอเมริกาออสเตรเลียและเอเชีย  โดยปลานิลแช่แข็งที่ส่งออกมีปริมาณไม่มากนัก ในปี2533ประเทศไทยส่งออกปลานิลทั้งในรูปปลานิลแช่แข็งและในรูปแล่เนื้อประมาณ111,174.64กก.เพิ่มขึ้น 179,231.72 กก.  ในปี  2534  หรือคิดเป็นร้อยละ 61.22
               ประเทศคู่แข่งปลานิลแช่แข็งที่สำคัญคือ  ไต้หวัน  บังกลาเทศ  ประเทศเหล่านี้สามารถผลิตปลาที่ได้ขนาด  เมื่อนำมาแล่เนื้อจะมีขนาด 40-60 กรัมและ60-80  กรัมต่อชิ้น  นั้นคือ  ขนาดปลาต้องมีน้ำหนัก 400 กรัม/ตัวขึ้นไปซึ่งการผลิตปลานิลให้มีลักษณะตามต้องการของตลาดต่างประเทศ  จึงต้องพิจารณาถึงต้นทุนและกรรมวิธีในการผลิตอย่างรอบคอบ

 แนวโน้มการเลี้ยงปลานิลในอนาคต
           ปลานิลเป็นปลาที่ตลาดผู้บริโภคยังมีความต้องการสูงขึ้นเรื่อยๆเนื่องจากจำนวนประชากรมีอัตราการเจริญเติบโตสูงจึงส่งผลต่อแนวโน้มการเลี้ยงปลาชนิดนี้ให้มีลู่ทางแจ่มใสต่อไปโดยไม่ต้องกังวลปัญหาด้านการตลาดเนื่องจากเป็นปลาที่มีราคาดีไม่มีอุปสรรคเรื่องโรคระบาดเป็นที่นิยมบริโภคและเลี้ยงกันอย่างแพร่หลายในทั่วทุกภูมิภาคเพราะสามารถนำมาประกอบอาหารได้หลายรูปแบบโดยเฉพาะอย่างยิ่งในปัจจุบันปลานิลสามารถส่งเป็นสินค้าออกไปสู่ต่างประเทศในลักษณะของปลาแล่เนื้อ ตลาดที่สำคัญๆ
 อาทิ  ประเทศญี่ปุ่น  สหรัฐอเมริกา  อิตาลี  เป็นต้น ดังนั้นการเลี้ยงปลานิลให้มีคุณภาพ  ปราศจากกลิ่นโคลนย่อมจะส่งผลดีต่อการบริโภค  การจำหน่ายและการให้ผลตอบแทนที่คุ้มค่าที่สุด


บทความที่ได้รับความนิยม

 
Support : |
Copyright © 2011-2012 อาชีพพารวย - All Rights Reserved
เข้าสู่ปีที่ 2 อาชีพพารวย เพื่อนคู่คิดนักเกษตร พ.ศ. 2555
เว็บไซต์เพื่อนเกษตร