รายการอัพเดทล่าสุด

การปลูกอะโวกาโด



อะโวกาโด
เกษตรกรผู้ปลูกอะโวกาโด ที่คุณสมชายพาไปเยี่ยมชมคือ คุณนิพนธ์ ธุรชน อยู่บ้านเลขที่ 114 หมู่ที่ 4 ตำบลศิลาแลง อำเภอปัว จังหวัดน่าน ปัจจุบัน อายุ 62 ปี
คุณนิพนธ์ เรียนจบจากวิทยาลัยเกษตรกรรมบางพระ เมื่อปี 2512 ปัจจุบัน สถาบันแห่งนี้ คือมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลตะวันออก วิทยาเขตบางพระ หลังเรียนจบเขาทำงานอยู่ที่น่าน ตำแหน่งสุดท้ายคือ
หัวหน้าศูนย์สนับสนุนการเกษตรฟาร์มบางระจัน บ้านป่ากลาง ศูนย์แห่งนี้ ทำหน้าที่ช่วยเหลือชาวเขาในยุคเก่าก่อน พืชที่ปลูกมากมายหลายชนิดในศูนย์ มีอะโวกาโดรวมอยู่ด้วย

คุณนิพนธ์ ถึงแม้มีภูมิลำเนาอยู่อุบลราชธานี แต่ต้องมนต์เมืองน่าน จึงมีภรรยาเป็นครู ทุกวันนี้กลับอุบลฯแทบไม่ถูกแล้วเขาลาออกจากงาน เมื่อปี 2530 มาทำสวนผสมพื้นที่กว่า 10 ไร่ พืชที่ปลูกมีไม้ผลพื้นเมือง ที่เขาปลูกกัน ส่วนอะโวกาโดมีต้นใหญ่ๆ ราว 50 ต้น หากนับเวลาที่ศึกษาอย่างจริงจัง เริ่มราวปี 2531-2532 ถึงปัจจุบันเจ้าตัวได้เขียนถึงอะโวกาโดไว้ว่า อะโวกาโด เป็นผลไม้ที่รู้จักกันมานานในแถบอเมริกา และยุโรป เนื่องจากอะโวกาโดมีคุณค่าอาหารที่มีประโยชน์ต่อร่างกายมากกว่าผลไม้อื่น
โดยชาวต่างชาติใช้เนื้ออะโวกาโดสุกในการประกอบอาหารในชีวิตประจำวัน เช่น ส่วนประกอบจากสลัด หรือรับประทานเปล่าๆ รับประทานกับไอศครีม น้ำตาล นมข้น หรือปั่นกับนมข้น หรือน้ำเชื่อมทำเป็นเครื่องดื่ม สกัดเอาน้ำมันจากเนื้อทำเครื่องสำอาง แทนน้ำมันมะกอก


สำหรับบ้านเราในแง่คิดของคุณนิพนธ์แล้ว อาจจะแปรรูปออกมาหลายอย่าง เช่น ทำขนมหม้อแกง รับประทานกับน้ำกะทิแบบแตงไทย ทำข้าวเกรียบหรือรับประทานเสร็จเปลือกที่มีเนื้อติด เอามานวดใบหน้ารักษาสิว ฝ้า หรือไม่ก็ปั่นแล้วมาหมักผม หรืออาจจะทำเป็นแชมพูหมักผมก็ได้ เนื่องจากอะโวกาโดมีคุณค่าทางอาหารสูงกว่าไม้ผลชนิดอื่นๆมีโปรตีนสูง มีน้ำตาล มันข้น ที่ให้ค่าความร้อนต่อร่างกายสูง แต่ปริมาณของคาร์โบไฮเดรตต่ำ ทำให้ผู้ป่วยเป็นโรคเบาหวาน บริโภคผลไม้ชนิดนี้ ไขมันก็ย่อยง่าย
ประเทศญี่ปุ่นเคยเอาผลไม้ 70 ชนิด ไปวิจัย พบว่าอะโวกาโดสามารถรักษาโรคได้ในประเทศไทยเกษตรกรยังปลูกอะโวกาโดกันน้อย ปริมาณที่ได้ยังไม่เพียงพอต่อความต้องการของตลาดทางประเทศไทยนำเข้ามา และขายกัน ผลละ 80 บาท

 ต้นอะโวกาโดเป็นพืชพื้นเมืองในแผ่นดินใหญ่ของอเมริกากลางแถบร้อน ที่จังหวัดน่านมีมิชชันนารี นำผลมารับประทานสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 จากนั้นเพาะเมล็ดปลูกไว้ ที่หน้าบ้านอัยการจังหวัดน่าน พบว่า ต้นโตประมาณโอบครึ่ง ผลมีลักษณะกลม ทุกวันนี้อะโวกาโดต้นดังกล่าวได้ตายไปแล้วคนรู้จักดีขึ้น  คุณนิพนธ์ เขียนเล่าไว้ว่า เมื่อปี 2517 ศูนย์อพยพบ้านป่ากลาง ที่รับชาวเขาอพยพลงมาจากดอย เนื่องจากเกิดการต่อสู้กันระหว่างรัฐบาลกับพลพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทยในสมัยนั้น จึงส่งเสริมให้มีการปลูกลิ้นจี่และอะโวกาโด โดยหวังว่า จะให้เป็นผลไม้ประจำจังหวัด องค์การซีอาโต้สมัยนั้นได้สั่งพันธุ์อะโวกาโดจากฟิลิปปินส์มาปลูกจำนวน 11สายพันธุ์ โดยเกษตรกร 1 ราย ปลูกจำนวน 2 ต้น

เมื่อปี 2528 ทางการได้มอบศูนย์ให้อยู่ในความดูแลของจังหวัดน่าน ต่อมาปรากฏว่า อะโวกาโดไม่ได้รับการดูแลเท่าที่ควร จึงล้มหายตายจากไปมาก คุณนิพนธ์ได้ตามไปเก็บรวมพันธุ์ไว้ได้ 9 สายพันธุ์
"มิชชันนารี ที่สอนอยู่โรงเรียนน่านคริสเตียนนำมากิน แล้วเมล็ดถูกนำลงปลูกไว้ ที่เติบโตมีอยู่หน้าบ้านอัยการ ตอนนี้ไม่เหลือแล้ว ชาวบ้านที่น่านเรียกอะโวกาโดว่า...หมากแพ...สายพันธุ์หลังๆ ผมนำมาจากสถานีวิจัยปากช่อง ของ อาจารย์ฉลองชัย แบบประเสริฐ อะโวกาโดปลูกต้นเดียวเดี่ยวๆ ไม่ค่อยติดผล เพราะว่ามีการผสมข้ามต้น ดังนั้น ต้องปลูกหลายต้น อีกอย่างหนึ่งที่ควรระวังคือหากน้ำใต้ดินตื้น น้ำมาก รากจะเน่า ที่ลุ่มอย่างกรุงเทพฯปลูกไม่ดี"  คุณนิพนธ์เล่า และบอกต่ออีกว่า "ผลผลิตที่ออกมาในยุคแรกๆ ชาวบ้านกินไม่เป็น เอาไปเตะเล่น ผมแนะนำให้ซื้อน้ำตาลทราย นมข้นหวานราด มื่อได้ชิมคนรู้จักมากขึ้น ของผมต้นอายุมากสุด ที่ปลูก 20 ปีมาแล้ว ผลผลิต 300-500 กิโลกรัม ต่อต้น ราคาซื้อขายอยู่ที่กิโลกรัมละ 20-30 บาท สำหรับทุกวันนี้ คนซื้อส่วนหนึ่งเป็นนักท่องเที่ยว ซื้อไปชิมแล้วติดใจ"

 วิธีการปลูกและขยายพันธุ์
เจ้าของอธิบายว่า อะโวกาโดขยายพันธุ์ได้หลายแบบ เริ่มจากการเพาะเมล็ด ติดตา ต่อกิ่ง การเพาะเมล็ดให้ผลผลิตหลังปลูก 5-6 ปี แต่พบว่ามีการกลายพันธุ์ ซึ่งอาจจะมีลักษณะดีขึ้นหรือด้อยลงก็ได้ส่วนระยะปลูกนั้น ถ้าเป็นพื้นราบ ได้รับคำแนะนำว่า ควรปลูกระยะระหว่างต้นระหว่างแถว 10 คูณ 10 เมตร พื้นที่ 1 ไร่ ปลูกได้ 16 ต้น ถ้าที่ลาดเชิงเขา ปลูกระยะ 6 คูณ 8 เมตร ปลูกได้ 24-30 ต้น ต่อไร่

วิธีการเตรียมหลุมปลูก ขุดหลุมกว้าง ยาว และลึก 50-70 เซนติเมตร รองก้นหลุมด้วยปุ๋ยคอกเก่าๆ หรือปุ๋ยหมักที่สลายตัวดีแล้วปลูกใหม่ๆ ให้ปุ๋ยสูตรที่มีตัวหน้าสูงเมื่อต้นโต อยู่ในระยะใกล้ออกดอกให้ปุ๋ยสูตรตัวกลางและตัวท้ายสูง อย่าง 8-24-24 สำหรับการปรับปรุงคุณภาพผลผลิต ใส่สูตร 13-13-21แนวทางการใส่ปุ๋ย ไม่ได้ถือว่าเป็นสิ่งตายตัว ผู้ปลูกอาจจะใส่เฉพาะปุ๋ยหมักให้ก็ได้ แต่ยุคนี้ต้องเป็นปุ๋ยชีวภาพ หรือผสมผสานระหว่างปุ๋ยอินทรีย์และเคมีก็ได้

ถามว่า อะโวกาโดสุกแก่ดูแลอย่างไร
เกษตรกรอาวุโสนัยน์ตาสีเหล็กบอกว่า
หนึ่ง...ผิวผลจะเริ่มตกกระ
สอง...บางพันธุ์เปลี่ยนจากสีเขียวเป็นม่วง
สาม...ผิวผลนิ่ม
ฤดูกาลอะโวกาโดที่ปัว จะเริ่มมีตั้งแต่เดือนกรกฎาคม ไปจนถึงเดือนตุลาคม แล้วแต่สายพันธุ์ เช่นพันธุ์ปีเตอร์สัน สุกเร็ว
"หลังจากเก็บอะโวกาโดมาแล้ว ต้องบ่ม วิธีการคือ วางไว้ในห้องธรรมดา แล้วใช้ผ้าคลุม ผมว่า ควรศึกษาอะโวกาโดอย่างจริงจัง ทำให้มีคุณภาพ" คุณนิพนธ์ กล่าว
สำหรับผู้สนใจเรื่องราวของอะโวกาโด ถามไถ่ได้ที่ โทร. (089) 895-1545 และ (054) 792-017 หรือติดต่อผ่าน คุณสมชาย พรหมลังกา โทร. (089) 895-1545 และ (054) 792-017

ลักษณะทั่วไปของอะโวกาโด
1.ต้นอะโวกาโด เป็นไม้ผลยืนต้นที่มีใบเขียวตลอดปี ต้นโตเต็มที่ สูง 6-18 เมตร เป็นไม้เนื้ออ่อน กิ่งเปราะ ทรงต้นแตกต่างกันมาก มีทั้งทรงต้นตรง ลำต้นอวบใหญ่ จนกระทั่งเป็นทรงพุ่มเตี้ย ลำต้นเล็ก เปลือกลำต้นขรุขระ สีน้ำตาลอ่อน มีร่องตามยาวของกิ่ง ใบเรียงสลับบนกิ่ง
2.ใบ ใบเรียงสลับบนกิ่ง ก้านใบสั้นรูปใบยาว ปลายใบเรียวแหลมถึงแหลมป้าน ใบเป็นใบเดี่ยวมีเขียวสด ด้านบนของใบมีสีเขียวเข้มเป็นมัน ด้านล่างสีจางกว่า ยาวประมาณ 8-40เซนติเมตร และกว้างประมาณ 5-18 เซนติเมตร ก้านใบยาว 3-8 เซนติเมตร ใบจะอยู่หนาแน่นที่ส่วนปลายของกิ่งฝอย
3.ดอก ดอกออกเป็นช่อ ตรงปลายกิ่งมีดอกจำนวนมาก แต่ละดอกมีขนาดเล็ก สีเขียวอมเหลือง ก้านชูดอกสั้น ดอกประกอบด้วยกลีบดอก และกลีบรองดอก ในจังหวัดน่านหรืออำเภอปัว จะเริ่มแทงช่อดอกขึ้นอยู่กับอุณหภูมิและสายพันธุ์ บางปีเริ่มแทงช่อดอก เดือนธันวาคมหรือมกราคม
4.ผล ผลอะโวกาโดเป็นแบบผลเดี่ยว มีรูปร่างต่างๆ กัน เช่น รูปร่างแบบผลฝรั่ง ผลรูปไข่ ผลกลม หรือยาวคล้ายมะเขือยาว แต่ส่วนใหญ่จะมีรูปร่างเป็นรูปไข่ หรือทรงกลม สีของผิวมีทั้งสีเขียวปนเหลือง หรือม่วง ผิวของผลอาจจะเรียบเป็นมัน หรือขรุขระ เปลือกหนา และเหนียว
บางพันธุ์เปราะ เนื้อผลจะมีสีเหลืองอ่อนถึงเหลืองเข้ม มีเมล็ดขนาดใหญ่ รูปร่างคล้ายลูกข่าง หรือกลมแป้น หรือแหลม มีเปลือกหุ้มเมล็ด 2 ชั้น เมล็ดมีใบเลี้ยง 1 คู่ ขนาดใหญ่ หนา สีขาวครีม ผิวของใบเลี้ยงอาจจะเรียบหรือขรุขระ
คุณค่าทางอาหารของอะโวกาโด เมื่อเทียบกับผลไม้อื่นๆ พลังงาน (แคลอรี) ต่อน้ำหนัก เนื้อ 1 กิโลกรัม (ภาควิชาพืชสวน คณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์)สภาพดินฟ้าอากาศที่เหมาะสม
อะโวกาโด เป็นพืชเขตร้อน และกึ่งร้อนที่มีความต้องการดินฟ้าอากาศ ดังนี้

1.ดิน ไม้ผลชนิดนี้เจริญเติบโตได้ดีในดินหลายประเภท แต่ดินที่เหมาะสมแก่การปลูกต้องเป็นดินที่มีการระบายน้ำดี ดินสมบูรณ์ และเนื้อดินลึก ดินในที่ราบลุ่มหาดกลาของไทยซึ่งมีน้ำต่ำกว่าผิวดินไม่ถึง 1 เมตร
ถึงแม้จะยกร่องปลูกต้นอะโวกาโดก็มีอายุไม่ยืน นอกจากไม่ทนต่อน้ำท่วม นอกจากนี้ ถ้าดินมีความชื้นสูงเกินความต้องการจะทำให้การถ่ายเทอากาศในดินไม่ดี เป็นสาเหตุทำให้เกิดโรครากเน่าได้
2.อุณหภูมิ อุณหภูมิของประเทศไทยไม่เป็นอุปสรรคต่อการปลูกอะโวกาโด เพราะต้นอะโวกาโดสามารถปรับตัวเข้ากับสิ่งแวดล้อมได้ดี
3.ปริมาณน้ำฝน ความต้องการน้ำฝนของต้นอะโวกาโด อย่างต่ำเฉลี่ย 750-1,000 มิลลิเมตร/ปี
4.ลม ต้นอะโวกาโด เป็นไม้เนื้ออ่อน กิ่งเปราะ ลมที่พัดกระโชกแรง จึงเป็นอันตรายต่อต้นและผลของอะโวกาโด ในที่ไม่มีแนวป้องกันลมตามธรรมชาติ ต้องปลูกไม้กันลม
เพื่อป้องกันความเสียหาย การตัดแต่งต้นให้เตี้ยและทรงพุ่มให้โปร่งจะช่วยได้พอสมควร

การปลูกดอกรัก

 ดอกรัก (ชื่อวิทยาศาสตร์: Calotropis gigantea (Linn.) R.Br.ex Ait.) เป็นไม้พุ่มขนาดเล็กในวงศ์ Apocynaceae วงศ์ย่อย Asclepiadoideae
ลำต้นสูง 1.5–3 เมตร ดอกมีสีขาวหรือม่วง มีรยางค์เป็นคล้ายมงกุฎรักเป็นพืชพื้นเมืองของอินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ ไทย ศรีลังกา
อินเดีย และจีน ดอกของพืชชนิดนี้เรียกว่า ดอกรัก

สรรพคุณ
ดอก   รักษาอาการไอ หอบหืด และหวัด ช่วยให้เจริญอาหารเปลือกและราก  ใช้รักษาโรคบิด ขับเหงื่อ ขับเสมหะ ขับน้ำเหลืองเสีย และทำให้อาเจียน  ยางถ้าถูกผิวหนังจะทำให้เกิดอาการระคายเคือง แต่ก็มีฤทธิ์เป็นยาถ่าย สามารถอาการปวดฟัน ปวดหู ขับพยาธิ รักษากลากเกลื้อน และใช้เป็นยาขับเลือด

ลักษณะทางพฤษศาสตร์
สูง 1.5–3 เมตร ทุกส่วนมียางขาวเหมือนน้ำนม ตามกิ่งมีขน
ใบเป็นใบเดี่ยวออกตรงกันข้าม รูปรีแกมขอบขนาน ปลายแหลมโคนเว้า
กว้าง 6–8 เซนติเมตร ยาว 10–14 เซนติเมตร เนื้อใบหนา ใต้ใบมีขนนุ่ม ก้านสั้น
ดอกสีขาวหรือสีม่วง ออกเป็นช่อตามซอกใบหรือปลายกิ่ง กลีบเลี้ยง 5 กลีบ
โคนเชื่อมติดกัน เมื่อบานเส้นผ่าศูนย์กลาง 2–3 เซนติเมตร
มีรยางค์เป็นคล้ายมงกุฎ 5 สัน มีเกสรตัวผู้ 5 อัน ผลเป็นฝักคู่ กว้าง 3–4 เซนติเมตร ยาว 6–8 เซนติเมตร
เมื่อแก่แตกได้เมล็ดแบนสีน้ำตาลจำนวนมาก มีขนสีขาวเป็นกระจุกอยู่ที่ปลายด้านหนึ่งอยู่ตรงกลาง
ส่วนนี้เองที่นำมาใช้ร้อยมาลัย ผลรักเป็นฝักรูปรีปลายแหลมยาว 5-7 ซม.
เมื่อแก่จะแตกและปล่อยเมล็ดเล็กๆ ที่มีขนเป็นพู่ ปลิวไปตามลม

“ดอกรัก” หรือในบางท้องถิ่นเรียกปอเถื่อน , ปั๋นเถื่อน ที่มักพบตามที่ว่างริมทางหรือหัวไร่ปลายนาที่มีแดดจัด พบทั้งดอกสีขาวและสีม่วง โดยการใช้ประโยชน์จากดอกรักนั้น มีความผูกพันกับขนบธรรมเนียมประเพณีของไทยมานานเช่นเดียวกับชื่อที่เป็นไม้ นามมงคลมีความหมายถึงความรัก ดังจะพบว่าดอกรักจะถูกนำมาใช้ในงานมงคลต่าง ๆ เช่น มาร้อยทำอุบะมาลัย หรือ ร้อยมาลัยทำเครื่องมงคลถวายพระ หรือสักการะสิ่งศักดิ์สิทธิ์ในพิธีสำคัญ แม้กระทั่งใบต้นรักเองยังถูกมารองในขันสินสอด และขันเงินในพิธีแต่งงาน

อย่างการปลูกต้นรักเพื่อเก็บดอกรักจำหน่ายเป็นการค้านั้น หลายท่านอาจจะเข้าใจว่า “ดอกรัก” ที่นำมาร้อยมาลัยนั้นเป็นสายพันธุ์ที่เราเห็นขึ้นตามริมถนน ซึ่งชาวบ้านเรียกกันว่า “รักแก้ว” ดอกจะมีลักษณะอ้วน ป้อม ดอกเล็ก และมีน้ำหนักน้อย ไม่เป็นที่นิยมของตลาดร้อยมาลัย เช่นเดียวกับดอกรักสีม่วง แต่ตลาดจะมีความนิยมใช้ดอกรักสีขาวพันธุ์ “จิ้งจก” ซึ่งลักษณะของดอกตูมจะดูคล้ายกับปากจิ้งจก ดอกจะมีสีขาวใส มันวาว ทรงดอกยาวใหญ่ และมีน้ำหนักคล้ายกับดอกรักที่ทำมาจากพลาสติก เกษตรกรเก็บดอกรักจำหน่ายในราคากิโลกรัมละ 10-300 บาท ซึ่งราคาจะแพงในช่วงเทศกาลสำคัญ เช่น วันพ่อ วันแม่ วันเข้าพรรษา วันมาฆบูชา แล้วราคาจะสูงมากในช่วงฤดูหนาวราวเดือนตุลาคม – มกราคมของทุกปี ดอกรักจะมีราคาสูงมาก เพราะเป็นช่วงต้นรักจะให้ดอกน้อย การขยายพันธุ์ต้นรักที่นิยม คือ การปักชำด้วยกิ่ง โดยตัดกิ่งต้นรักให้มีความยาวราว 30-40 เซนติเมตร ขุดหลุมปลูกกว้าง ยาวและลึก 30 เซนติเมตร จากนั้นวางท่อนพันธุ์ให้เฉียง 45 องศา ราว 3-5 กิ่ง โดยจะปลูกระยะ 3×3 เมตร ควรปลูกในช่วงฤดูฝนราว 2-3 เดือน ต้นรักก็จะสามารถเก็บดอกจำหน่ายได้ เกษตรกรที่มีความชำนาญในช่วงเช้าในแต่ละวันจะสามารถเก็บดอกรักได้ราว 3-5 กิโลกรัม


การเก็บดอกรัก  ควรระวังยาง เนื่องจากยางของต้นรักเป็นเอนไซม์ประเภทหนึ่งจะค่อนข้างเป็นอันตรายมีฤทธิ์ กัดกร่อน หากถูกผิวหนังหรือเข้าปากก็จะทำให้ระคายเคือง แสบคัน มีพิษต่อระบบทางเดินอาหาร ทำให้อาเจียนและถ่ายอย่างแรง หากถูกศีรษะก็จะทำให้ผมร่วงได้ หรือหากยางกระเด็นเข้าตา จะทำให้ตาพร่ามัวหรือตาบอดได้จึงต้องระวังอย่างยิ่ง หากโดนยางของต้นรักบริเวณผิวหนังต้องรีบล้างด้วยน้ำสะอาดโดยทันที หากยางเข้าตาหลังจากล้างน้ำแล้วให้รีบไปพบแพทย์ ในการป้องกันยางต้นรักสำหรับเกษตรกรนั้นจะต้องแต่งกายให้มิดชิด ใส่แว่นตา สวมหมวก ใส่ถุงมือ เช่น อาจจะใช้ถุงหิ้วพลาสติกแทนถุงมือ และอาจจะนำลูกโป่งมาใส่นิ้วมือแทนปลอกนิ้ว เป็นต้น เพื่อให้ปลอดภัยจากยางต้นรัก

ในทางประโยชน์ด้านสมุนไพรนั้น ตำรายาแผนโบราณจะใช้ ดอก แก้ไอ แก้หืด เปลือกต้น ทำให้อาเจียน เปลือกราก แก้บิด ขับเหงื่อ ขับเสมหะ ทำให้อาเจียน ยาง ยาถ่ายอย่างแรง แก้ปวดฟัน ปวดหู ขับพยาธิ แก้กลากเกลื้อน แต่อย่างไรก็ตามควรศึกษาวิธีการใช้จากผู้รู้ให้ดีเสียก่อน.

ทวีศักดิ์ ชัยเรืองยศ

การปลูกดอกมะลิ




มะลิเป็นไม้ดอกสีขาวที่มีกลิ่นหอม สามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้หลายอย่าง เช่น เก็บดอกมาร้อยเป็นพวงมาลัย ทำเป็นดอกไม้แห้ง หรือนำมาสกัดทำน้ำมันหอมระเหย นอกจากนั้นส่วนต่าง ๆ ของมะลิก็ยังมาใช้เป็นพืชสมุนไพรรักษาโรคได้
                   
พันธุ์ มะลิที่นิยมใช้ดอกมาร้อยมาลัยในปัจจุบันเป็นมะลิลาพันธุ์ราษฎร์บูรณะ   สภาพแวดล้อมที่เหมาะสม  ดินร่วนซุยมีการระบายน้ำดี มีความเป็นกรด-ด่าง 5.5-6.5   มีอินทรีย์วัตถุและธาตุอาหารสมบูรณ์ ได้รับแสงแดดเต็มที่เพื่อให้มีดอกดก

การขยายพันธุ์
การขยายพันธุ์ที่นิยมกันมากที่สุดคือ การปักชำ
1. เตรียมวัสดุเพาะชำ ทรายผสมขี้เถ้าแกลบ อัตราส่วน 1:1 บรรจุในภาชนะ แล้วรดน้ำให้ชุ่ม
2. เตรียมกิ่งพันธุ์ กิ่งที่ใช้เป็นกิ่งกึ่งแก่กึ่งอ่อน ตัดให้มีความยาวของกิ่ง 4 นิ้ว หรือมีข้ออย่างน้อย3 ข้อ การตัดกิ่งควรตัดให้ชิดข้อ ริดใบส่วนล่างออก
 3. นำกิ่งมะลิปักชำลงในแปลงชำ ให้มีระยะระหว่างแถวและกิ่ง 2x2 นิ้ว รดน้ำและสารเคมีป้องกันกำจัดเชื้อรา รักษาความชื้นให้เหมาะสมและคงที่
 4. หลังจากกิ่งปักชำออกรากแล้วให้ย้ายลงปลูกในถุงขนาด 2x3 นิ้ว โดยใส่ดิน+ขุยมะพร้าว+ปุ๋ยคอก อัตรา 3:1:1 จนต้นมะลิแข็งแรงดีแล้วจึงนำไปปลูก

การปลูก
นิยมปลูกในช่วงฤดูฝน เดือน มิถุนายน-กรกฎาคมขุดหลุมลึก กว้าง และยาวด้านละ 50 ซม. ใส่ปุ๋ยคอกและวัสดุอื่น ๆ ในอัตราส่วน 1:1:1 พร้อมทั้งเติมปุ๋ยซุปเปอร์ฟอสเฟต (0-46-0) และปุ๋ยผสมสูตร 15-15-15 อย่างละ 1 กำมือ คลุกให้เข้ากัน แล้วใส่กลับลงไปในหลุมใหม่ ทิ้งไว้ 7-10 วัน จึงนำต้นมะลิลงปลูก 
                             
การดูแลรักษาการให้น้ำ มะลิต้องการน้ำปานกลาง ทั้งนี้อาจให้น้ำวันละ 1-2 ครั้ง ระวังอย่าให้น้ำขังการใส่ปุ๋ย ให้ใช้ปุ๋ยสูตรเสมอ เช่น 15-15-15 อัตรา 1-3 ช้อนแกงต่อต้น ขึ้นอยู่กับขนาดทรงพุ่ม ใส่เดือนละครั้ง โดยหว่านและรดน้ำตาม การตัดแต่ง ควรตัดแต่งทรงพุ่มให้โปร่งรวมทั้งตัดกิ่งที่แห้งตายออกด้วย
                  
โรคและแมลงศัตรูที่สำคัญ
1.โรครากเน่า
2.โรคแอนแทรกโนส
3.โรครากปม
4.หนอนเจาะดอก หนอนกินใบ
5.หนอนเจาะลำต้น เพลี้ยไฟ
                   
การเก็บเกี่ยว
เก็บดอกตูม ที่โตเต็มที่ สีขาวนวล วิธีเก็บให้ใช้มือเด็ดตรงก้านดอกใต้กลีบเลี้ยง ควรเก็บดอกเวลาเช้ามืด 03.00-04-00 น.
หมายเหตุ :   การปฏิบัติหลังการเก็บเกี่ยว หลังจากเด็ดดอกมะลิจากแปลงแล้วบรรจุ จะต้องลดอุณหภูมิดอก โดยบรรจุดอกในถุงพลาสติกลงในกล่องโฟมที่ปูพื้นกล่องด้วยน้ำแข็งเกล็ด แล้วปูทับด้วยน้ำแข็งเกล็ดเป็นเวลาอย่างน้อย 3 ชั่วโมง จากนั้นจึงค่อยบรรจุในถุงพลาสติกขนาดใหญ่ส่งให้ผู้รวบรวม 



งบประมาณการลงทุนและผลตอบแทน  
รายการลงทุน
มูลค่าการลงทุน
ปริมาณผลผลิต
มูลค่าผลผลิต
ผลกำไร
 
  - ค่าเตรียมดิน  
4,950
1,866
93,300
ราคาเฉลี่ยตลอดปี กก.ละ 50 บาท
55,700
  - ค่าต้นพันธุ์   
6,600
         
  - ค่าปุ๋ยเคมี   
4,800
         
  - สารเคมีควบคุมศัตรูพืช   
7,200
         
  - สารเคมีกำจัดวัชพืช   
3,600
         
  - วัสดุอุปกรณ์ในการบรรจุ   
11,050
         
รวม
37,600
1,866
93,300
55,700
                   
 เทคนิคการบังคับมะลิให้ออกดอกในฤดูหนาว                     
          เนื่องจากในฤดูหนาวมะลิจะออกดอกน้อย แต่ตลาดมีความต้องการในปริมาณสูง จึงทำให้มะลิมีราคาสูงกว่าปกติ ดังนั้นหากเกษตรกรสามารถทำให้มะลิออกดอกใน ฤดูหนาวได้ก็จะทำให้มีรายได้ดีจากการปลูกมะลิ

ปัจจัยสำคัญที่ทำให้มะลิออกดอกในฤดูหนาว
          การตัดแต่งกิ่ง โดยทำการตัดแต่งกิ่งแห้ง กิ่งที่เป็นโรค หรือถูกแมลงทำลาย และกิ่งเลื้อย วิธีการตัดแต่งกิ่งมี 2 วิธีคือ
          1. แบบเหลือกิ่งไว้กับต้นยาว โดยตัดแต่งกิ่งออกเพียงเล็กน้อย เหลือกิ่งสมบูรณ์ไว้กับต้นมาก ๆ เหมาะกับมะลิที่มีอายุน้อยต้นมะลิที่ยังไม่ได้ตัดแต่งกิ่งตัดแต่งแบบเหลือกิ่งไว้ยาว
                   
          2. แบบเหลือกิ่งไว้กับต้นสั้น  โดยตัดแต่งกิ่งให้เหลือ 3-4 กิ่ง แต่ละกิ่งยาวประมาณ 1-1.5 ฟุต เหมาะกับมะลิอายุ 2 ปีขึ้นไปต้นมะลิอายุมากกว่า 2 ปีขึ้นไป
    
ตัดแต่งแบบเหลือกิ่งไว้สั้น                   
         มะลิช่วงระยะเวลาตั้งแต่เก็บดอกจนถึงตากิ่งเจริญให้ดอกใหม่อีกครั้งประมาณ 6 สัปดาห์ ดังนั้นถ้าต้องการให้มะลิออกดอกในเดือนใด ก็ต้องนับย้อนเวลาตัดแต่งกิ่งถอยหลังไป 6 สัปดาห์ ฉะนั้น เมื่องต้องการให้มะลิออกดอกในฤดูหนาว ระยะเวลาที่เหมาะสมในการตัดแต่งกิ่ง คือ ช่วงเดือนสิงหาคม ถึง เดือนกันยายน

การบำรุงรักษาต้นและดอก
          1. การบำรุงต้น หลังตัดแต่งกิ่งมะลิแล้ว ควรใส่ปุ๋ยคอกและปุ๋ยเคมีสูตร 15-15-15 อัตรา 1-2 ช้อนแกง/ต้น ใส่เดือนละครั้ง
          2. การบำรุงดอก ฤดูหนาวมะลิออกดอกน้อยและมีขนาดเล็ก ควรใส่ปุ๋ยทางใบที่มีธาตุฟอสฟอรัสสูง เช่น 52-5-4 อัตรา 3 ช้อนแกง/น้ำ 20 ลิตร ฉีดพ่นทุก 10 วัน แนะนำให้ใช้ในฤดูหนาวเท่านั้น ฤดูอื่นไม่แนะนำให้ใช้ปุ๋ยทางใบ เนื่องจากมะลิมีราคาไม่สูงไม้คุ้มค่าการลงทุน

การใช้สารไทโอยูเรีย
          สารไทโอยูเรีย มีผลต่อการชักนำให้มะลิดออกดอก จากการวิจัยพบว่า สารไทโอยูเรียเป็นสารที่มีผลทำลายการพักตัวของมะลิ และเร่งการออกดอกในฤดูหนาวของมะลิ จะออกดอกหลังพ่นสารไทโอยูเรียแล้วประมาณ 20 วัน เก็บดอกได้นาน 1 เดือน และการให้ปุ๋ยไนโตรเจนสูง ร่วมกับการพ่นสารไทโอยูเรีย จะมีผลต่อการเพิ่มปริมาณดอกได้ดีขึ้น

ขั้นตอนการปฏิบัติ
ตัดแต่งกิ่งมะลิในเดือนกันยายนให้ปุ๋ยและน้ำ เพื่อบำรุงต้นให้สมบูรณ์ ใช้สูตร 15-15-15 อัตรา 1-2 ช้อนแกง/ต้น ในเดือนกันยายนและตุลาคม             พ่นสารไทโอยูเรีย 1% (ไทโอยูเรีย 100 กรัม ผสมน้ำ 20 ลิตร) ในเดือนพฤศจิกายน

ดอกมะลิที่ได้จะมีขนาดเล็ก จึงมีการทดลองเพื่อเพิ่มขนาดดอก พบว่าถ้าฉีดพ่นสารละลายน้ำตาลซูโครส 1% ผสมกับฮอร์โมนจิบเบอเรลลิน (GA3) 0.1 ppM ให้ทั่วต้นในระยะที่ดอกมีขนาดยาว 2 มม. ทุก 3 วัน จะทำให้ดอกมะลิมีขนาดใหญ่ขึ้น แต่อาจจะพบปัญหาเกิดราดำที่ใบ จึงควรใช้สารเคมีป้องกันกำจัดเชื้อราร่วมด้วย จากการปฏิบัติดังกล่าวมะลิจะออกดอกในเดือนพฤศจิกายน-ธันวาคม ซึ่งเป็นช่วงฤดูหนาวดอกมะลิมีราคาสูง

การใช้สมุนไพรควบคุมศัตรูพืช
          เพื่อเป็นการลดต้นทุนการผลิตและเพื่อหลีกเลี่ยงสารเคมีที่ตกค้างอยู่ในดอกมะลิ จึงได้ใช้สารสะเดาในการควบคุมหนอนเจาะดอกมะลิเพลี้ยไฟ และตั๊กแตน ซึ่งมีวิธีการใช้สารดังนี้
           ใช้สารสะเดาบดอบแห้ง จำนวน 5 กิโลกรัม ผสมกับแอลกอฮอล์ 3 ลิตร หมักทิ้งไว้ 2 ชั่วโมง เพื่อให้แอลกอฮอล์สกัดสารอาซาดิแรคติน ออกมาจากสะเดาให้มากที่สุด
           จากนั้นเติมน้ำ 5 ลิตร ลงไปแล้วใส่ภาชนะมีฝาปิด หมักทิ้งไว้ 2 วัน คนทุกวัน เมื่อครบกำหนดแล้วคั้นเอาน้ำเก็บไว้ในแกลลอน แล้วเอากากสะเดามาผสมแบบเดิมใหม่อีกครั้งหนึ่ง
           ทำเช่นเดิมแล้วคั้นเอาน้ำมารวมกับน้ำครั้งแรกไว้ฉีดพ่น โดยใช้น้ำไว้ฉีดพ่น ในอัตราน้ำสารสะเดาหมัก 100 ซี.ซี. ผสมกับน้ำสะอาด 20 ลิตรฉีดพ่นทุก 7 วัน สามารถที่จะควบคุมศัตรูพืชดังกล่าวได้อย่างดียิ่ง
                   
     
มะลิซ้อน                              มะลิลา                              มะลิจันทบูร                              มะลิฉัตร
                   
เรียบเรียงโดย
นางนววรรณ ทองคนทา นักวิชาการส่งเสริมการเกษตรชำนาญการ

การปลูกกุหลาบตัดดอก


 การปลูกกุหลาบตัดดอก
สภาพที่เหมาะสมในการปลูก
พื้นที่ปลูก ควรปลูกในที่ที่ระบายน้ำได้ดี มีความเป็นกรดเล็กน้อย พีเอ็ช ประมาณ 6-6.5 และได้แสงอย่างน้อย 6 ชั่วโมง
อุณหภูมิ อุณหภูมิที่เหมาะสมในการเจริญของกุหลาบคือ กลางคืน 15-18 องศาเซลเซียส และกลางวัน 20-25 องศาเซลเซียส ซึ่งเป็นช่วงอุณหภูมิที่จะทำให้ได้ดอกที่มีคุณภาพดี และให้ผลผลิตสูง หากอุณหภูมิต่ำกว่า 15 องศาเซลเซียส การเจริญเติบโตและการออกดอกจะช้าอย่างมาก หากอุณหภูมิสูงกว่า 28 องศาเซลเซียส ควรให้มีความชื้นในอากาศสูงเพื่อชลอการคายน้ำ
ความชื้น ความชื้นสัมพัทธ์ที่เหมาะสมกับการเจริญของกุหลาบคือร้อยละ 70-80 แสง กุหลาบจะให้ผลผลิตสูง และดอกมีคุณภาพดี ถ้าความเข้มของแสงมาก และ

การให้น้ำ
ให้น้ำระบบน้ำหยด หรือใช้หัวพ่นน้ำระหว่างแถวปลูก อัตรา 6-7 ลิตร/ตร.ม./ วัน หรือ 49 ลิตร/ตร.ม./สัปดาห์ อาจให้ทุกวัน วันเว้นวัน หรือ 2-3 วันต่อครั้ง แล้วแต่สภาพการอุ้มน้ำของดิน อย่ารดน้ำให้ดินแฉะตลอดเวลา ควรให้ดินมีโอกาสระบายน้ำ และมีอากาศเข้าไปแทนที่บ้าง ดังนั้นใน 1 สัปดาห์ หากปลูกในโรงเรือนจะต้องใช้น้ำประมาณ 78,400 ลิตร หรือ 78.4 คิวบิคเมตร ต่อไร่ น้ำที่ใช้ควรมีคุณภาพดี มี pH 5.8-6.5

การใส่ปุ๋ย
การให้ปุ๋ยก่อนปลูก
ปุ๋ยก่อนปลูกคือปุ๋ยที่ผสมกับเครื่องปลูกก่อนการปลูกพืช ซึ่งให้ประโยชน์ 2 ประการคือ
1. ให้ธาตุอาหารที่พืชต้องการอย่างเพียงพอตั้งแต่เริ่มปลูก
2. ให้ธาตุอาหารบางชนิดในปริมาณมากและเพียงพอสำหรับการปลูกพืชตลอดฤดู ซึ่งทำให้สามารถงดหรือลดการให้ปุ๋ยนั้น ๆ ได้
ระหว่างการปลูกพืชการให้ธาตุอาหารทุกชนิดแก่พืชในขณะปลูก ทำได้ลำบากเนื่องจากมีถึง 14 ธาตุ ธาตุบางชนิดจะมีอยู่ในดินอยู่แล้ว บางชนิดต้องให้เพิ่มเติม หากเป็นไปได้ควรส่งดินไปตรวจเพื่อรับคำแนะนำว่าควรปรับปรุงดินได้อย่างไร ซึ่งตัวอย่างสามารถส่งไปตรวจที่กองเกษตรเคมี กรมวิชาการเกษตร กรุงเทพฯ

การให้ปุ๋ยระหว่างปลูก
ปริมาณ และสัดส่วนของธาตุอาหาร
การให้ปุ๋ยระหว่างปลูกพืช เนื่องจากธาตุอาหารส่วนใหญ่จะมีอยู่ในดินแล้วเมื่อปลูกพืชจึงยังคงเหลือธาตุ ไนโตรเจน และโปแตสเซืยม ซึ่งจะถูกชะล้างได้ง่าย ดังนั้นจึงต้องให้ปุ๋ย ทั้งสองในระหว่างที่พืชเจริญเติบโต ซึ่งการให้ปุ๋ยอาจทำได้โดยการให้พร้อมกับการให้น้ำ (fertigation)
การให้ปุ๋ยพร้อมกับน้ำสำหรับกุหลาบ หากให้ทุกวันจะให้ในอัตราความเข้มข้นของไนโตรเจน 160 มก./ลิตร (ppm) และหากให้ปุ๋ยทุกสัปดาห์ควรให้ในอัตราความเข้มข้นของไนโตรเจน 480 มก./ลิตร
สัดส่วนของไนโตรเจน (N) ฟอสฟอรัส (P2O) และโปแตสเซียม (K2O) สำหรับกุหลาบในระยะต่าง ๆ คือ - ระยะสร้างทรงพุ่ม 1 : 0.58 : 0.83
- ระยะให้ดอก 1 : 0.5 : 0.78
- ระยะตัดแต่งกิ่ง 1: 0.8 : 0.9


การขยายพันธุ์

1. การตัดชำ
วิธีการตัดชำที่นิยมทำอยู่ทั่วไปคือ เลือกกิ่งกุหลาบที่ไม่แก่และไม่อ่อน จนเกินไปนำมาตัดเป็นท่อนประมาณ 12-15 เซนติเมตร หรือ 1 คืบ รอยตัดต้อง อยู่ใต้ข้อพอดีแล้วตัดใบตรงโคนกิ่งออก จากนั้นเฉือนโคนทิ้ง แล้วจุ่มโคนกิ่งตัดชำนี้ ในฮอร์โมนเร่งราก เซ่น เซอราดิกส์ เบอร์ 2 (เพื่อช่วยเร่งให้ออกรากเร็วขึ้น) แล้วผึ่ง ให้แห้งนำไปปักชำในแปลงพ่นหมอกกลางแจ้ง ถ้าไม่มีแปลงพ่นหมอกก็ใช้เครื่องพ่นน้ำรดสนามหญ้าก็ได้แล้วให้น้ำเป็นระยะ ๆ ตามความจำเป็น โดยมีหลักว่าอย่า ให้ใบกุหลาบแห้ง กิ่งกุหลาบจะออกรากใน 12-15 วัน แล้วแต่พันธุ์ การชำกิ่งนี้ นิยมทำกันมากในปัจจุบันเพราะได้จำนวนต้นมากในระยะเวลาสั้นเสียค่าใช้จ่าย น้อยแต่กิ่งชำนี้เมื่อนำไปปลูกต้นจะโทรมเร็วภายใน 3- 4 ปี ซึ่งกุหลาบพันธุ์สีเหลือง และสีขาวมักจะออกรากยาก

2. การตอน
กิ่งที่ใช้ตอนมักมาจากกิ่งที่มีสภาพแตกต่างกันทั้งกิ่งอ่อนและกิ่งแก่ คละกันไปทำให้การเจริญเติบโตของต้นกุหลาบหลังลงแปลงปลูกในแปลงไม่สม่ำเสมอ ซึ่งการตอนนี้จะใช้เวลาในการเกิดรากนานประมาณ 4-7 สัปดาห์ ทั้งนี้ แล้วแต่ พันธุ์ที่จะใช้ตอน

3. การติดตา
วิธีการทำต้นกุหลาบติดตานี้ค่อนข้างยุ่งยากและต้องใช้เวลาในการทำ นานกว่า 2 วิธีแรกคือ ตั้งแต่เริ่มตัดชำต้นตอป่าจนถึงพันธุ์ดีทีนำไปติดนั้นออก ดอกแรกจะใช้เวลาประมาณ 5-6 เดือน โดยในขั้นแรกจะต้องตัดชำต้นตอป่า (ของกุหลาบป่า) ให้ออกรากและเลี้ยงต้นตอป่านั้นให้แตกยอดใหม่ยาวเกิน 1 ฟุต ขึ้นไป ซึ่งจะใช้เวลาประมาณ 3 เดือน (หลังตัดชำและออกราก) จากนั้นจึงนำ ตาพันธุ์ดีที่ต้องการไปติดตาที่บริเวณโคนของต้นตอป่า การติดตานี้จะต้องอาศัย ฝีมือและความชำนาญพอสมควรโดยจะใช้วิการติดตาแบบใดก็ได้ เช่น แบบตัวที เป็นต้น

วิธีติดตา
วิธีติดตากุหลาบที่ได้ผลดีคือการติดตาแบบที่เรียกว่ารูปตัวที หรือ แบบโล่ มีวิธีทำดังนี้คือ

1. เลือกบริเวณที่จะติดตา ซึ่งโดยทั่วไปแล้วจะพยายามติดตาให้ต่ำที่สุด เท่าที่จะทำได้คือ ประมาณไม่เกิน 3 นิ้ว นับจากผิวดิน แล้วใช้กรรไกรหรือมีด ตัดหนามตรงบริเวณที่จะติดตาออกโดยรอบกิ่ง

2. ใช้ปลายมีดกรีดที่เปลือกเป็นรูปตัวที แล้วเผยอเปลือกตรงรอยกรีด ด้านบนให้เปิดออกเล็กน้อย

3. เฉือนตาเป็นรูปโล่ ให้ได้แผ่นตำยาวประมาณ 1 นิ้ว และให้แผ่นตานั้น มีเนื้อไม้ติดมาด้วยเพียงบางๆ ไม่ต้องแกะเนื้อไม้ติดมามาก ให้ลอกเนื้อไม้ออกอย่าง ระมัดระวังอย่าให้แผ่นตาโค้งงอหรือบอบช้ำ

4. นำแผ่นตาไปเสียบลงที่รอยกรีดของต้นตออย่างระมัดระวังอย่าให้แผ่นตาช้ำ โดยใช้มือซ้ายจับแผ่นตา (ตรงก้านใบ) ค่อย ๆ กดลงไปขณะเดียวกันมือขวา ก็ค่อยเปิดเปลือกช่วย แล้วพันด้วยพลาสติก

เพื่อให้ตาเจริญเติบโตเร็วขึ้น ควรปล่อยให้กิ่งใหม่เจริญเติบโตจนกระทั่ง กิ่งใหม่ยาวพอสมควรแล้วจึงตัดต้นตอที่อยู่เหนือกิ่งใหม่ออกทั้งหมด สำหรับ พลาสติก ที่ติดตาอยู่นั้นอาจจะปล่อยให้ผุหรือหลุดไปเองก็ได้ถ้าเห็นว่าแผ่นพลาสติกนั้นรัด ต้นเดิมแน่นเกินไปหรือไปขัดขวางการเจริญเติบโตของกิ่งใหม่ก็ให้แกะออก  ส่าหรับกิ่งที่แตกออกมาใหม่นี้ ควรมีไม้ผูกพยุงกิ่งไว้เสมอเพราะอาจจะ เกิดการฉีกขาดตรงรอยต่อได้ง่ายเนื่องจากรอยประสานยังไม่แข็งแรงนัก  ในกรณีที่การติดตานั้นไม่ได้ผล คือ แผ่นตาที่นำไปติดตานั้นเปลี่ยนเป็น สีน้ำตาลหรือสีดำให้รีบแกะแผ่นพลาสติกและแผ่นตานั้นออกแล้วติดตาใหม่ในด้าน ตรงข้ามกับของเดิม หากไม่ได้ผลอีกต้องเลี้ยงดูต้นตอนั้นจนกว่ารอยแผลจะเชื่อม ก้นดีแล้วจึงนำมาติดตาใหม่ได้  สำหรับการติดตาในกุหลาบแบบทรงต้นสูง (Standard) นั้นก็ทำเช่นเดียวกัน เพียงแต่ตำแหน่งที่ติดตาอยู่ในระดับสูงกว่าเท่านั้นเอง การติดตาจะติดที่ต้นตอหรือกิ่ง ขนาดใหญ่ที่แตกออกมาก็ได้

สภาพที่เหมาะสมในการปลูก
พื้นที่ปลูก ควรปลูกในที่ที่ระบายน้ำได้ดี มีความเป็นกรดเล็กน้อย พีเอ็ช ประมาณ 6-6.5 และได้แสงอย่างน้อย 6 ชั่วโมง  อุณหภูมิ อุณหภูมิที่เหมาะสมในการเจริญของกุหลาบคือ กลางคืน 15-18 องศาเซลเซียส และกลางวัน 20-25 องศาเซลเซียส ซึ่งเป็นช่วงอุณหภูมิที่จะทำให้ได้ดอกที่มีคุณภาพดี และให้ผลผลิตสูง หากอุณหภูมิต่ำกว่า 15 องศาเซลเซียส การเจริญเติบโตและการออกดอกจะช้าอย่างมาก หากอุณหภูมิสูงกว่า 28 องศาเซลเซียส ควรให้มีความชื้นในอากาศสูงเพื่อชลอการคายน้ำความชื้น ความชื้นสัมพัทธ์ที่เหมาะสมกับการเจริญของกุหลาบคือร้อยละ 70-80  แสง กุหลาบจะให้ผลผลิตสูง และดอกมีคุณภาพดี ถ้าความเข้มของแสงมาก และการให้น้ำให้น้ำระบบน้ำหยด หรือใช้หัวพ่นน้ำระหว่างแถวปลูก อัตรา 6-7 ลิตร/ตร.ม./ วัน หรือ 49 ลิตร/ตร.ม./สัปดาห์ อาจให้ทุกวัน วันเว้นวัน หรือ 2-3 วันต่อครั้ง แล้วแต่สภาพการอุ้มน้ำของดิน อย่ารดน้ำให้ดินแฉะตลอดเวลา ควรให้ดินมีโอกาสระบายน้ำ และมีอากาศเข้าไปแทนที่บ้าง ดังนั้นใน 1 สัปดาห์ หากปลูกในโรงเรือนจะต้องใช้น้ำประมาณ 78,400 ลิตร หรือ 78.4 คิวบิคเมตร ต่อไร่ น้ำที่ใช้ควรมีคุณภาพดี มี pH 5.8-6.5


แมลงและไรศัตรูกุหลาบ
1. ไรแดง (Spider mite)
2. เพลี้ยไฟ (Thrips)
3. หนอนเจาะสมอฝ้าย (Heliothis armigera)
4. หนอนกระทู้หอมหรือหนอนหนังเหนียว (onion cutworm: Spodoptera exigua)
5. ด้วงกุหลาบ (rose beetle: Adoretus compressus)
6. เพลี้ยหอย (scale insect: Aulucaspis rosae)
7. เพลี้ยอ่อน (aphids: Macrosiphum rosae และ Myzaphis rosarum)

โรคและแมลงศัตรู

1.โรคราน้ำค้าง (Downey mildew)
เชื้อสาเหตุ เชื้อรา Peronospora spasa
ลักษณะการทำลาย อาการจะแสดงบน ใบ กิ่ง คอดอก กลีบเลี้ยง และกลีบดอก การเข้าทำลายจะจำกัดที่ส่วนอ่อน หรือส่วนยอด

2. โรคราแป้ง (Powdery mildew)
เชื้อสาเหตุ เชื้อรา Sphaerotheca pannosa
ลักษณะการทำลาย อาการเริ่มแรกผิวใบด้านบนจะมีลักษณะนูน อวบน้ำเล็กน้อย และบริเวณนั้นมักมีสีแดง และจะสังเกตเห็นเส้นใย และอัปสปอร์ สีขาวเด่นชัดบนผิวของใบอ่อน ใบจะบิดเบี้ยว และจะถูกปกคลุมด้วยเส้นใยสีขาว ใบแก่อาจไม่เสียรูปแต่จะมีราแป้งเป็นวงกลม หรือรูปทรงไม่แน่นอน

3. โรคใบจุดสีดำ (black spot: Diplocarpon rosae)
เป็นโรคที่พบเสมอ ๆ ในกุหลาบที่ปลูกเป็นแปลงใหญ่ ๆ หรือปลูกประดับอาคารบ้านเรือนเพียง 2-3 ต้น โดยมากจะเกิดกับใบล่าง ๆ อาการเริ่มแรกเป็นจุดกลมสีดำขนาดเล็กด้านบนของใบ และจะขยายใหญ่ขึ้นหากอากาศมีความชื้นสูง และผิวใบเปียก หากเป็นติดต่อกันนาน จะทำให้ใบร่วงก่อนกำหนด ต้นโทรม ใบและดอกมีขนาดเล็กลง

4. โรคที่เกิดจากเชื้อไวรัส
ลักษณะอาการแตกต่างกันไปตามชนิดของไวรัส เช่น ใบด่างซีดเหลือง หรือด่างเป็นซิกแซก

5. โรคราสีเทา (botrytis:Botryotinia fuckeliana syn. Botrytis cinerea) มักพบในสภาพอุณหภูมิต่ำ ความชื้นสัมพัทธ์สูง และการระบายอากาศไม่ดีพอ ดอกตูมจะเป็นจุดสีน้ำตาล และลามขยายใหญ่และเน่าแห้ง การป้องกันกำจัด เพื่อไม่ให้ดอกกุหลาบถูกฝนควรปลูกกุหลาบในโรงเรือนพลาสติก การป้องกันควรฉีดพ่นสารเคมีด้านข้างและด้านบนดอกด้วย คอปเปอร์ ไฮดร๊อกไซด์ แมนโคเซ็บ หรือ คอปเปอร์ อ๊อกซี่คลอไรด์

6. โรคกิ่งแห้งตาย (die back)
เกิดจากตัดกิ่งเหนือตามากเกินไปทำให้เชื้อราเข้าทำลายกิ่งเหนือตาจนเป็นสีดำ และอาจลามลงมาทั้งกิ่งได้ ดังนั้นจึงควรตัดกิ่งเหนือตาประมาณ 1/4 นิ้ว ทำมุม 45 องศาเฉียงลง

การปลูกดอกดาวเรือง


การปลูกดอกดาวเรือง
เงินลงทุน
ครั้งแรกประมาณ  15,000 บาท ขึ้นไป / ไร่ ( ไม่รวมค่าที่ดิน )      
(เมล็ดดาวเรืองราคา 0.80 - 1 บาท/เมล็ด  ใช้ปลูก 8,000 กว่าเมล็ด/ไร่)
รายได้  ประมาณ 24,000 บาท ขึ้นไป/ไร่/รุ่น

วัสดุ/อุปกรณ์
กระบะเพาะ  จอบ  เสียม  เครื่องฉีดพ่นยาฆ่าแมลง  ปุ๋ย  บัวรดน้ำแหล่งจำหน่ายเมล็ดดาวเรืองภาควิชาพืชสวน มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ร้านขายสินค้าเกษตร

วิธีดำเนินการ
ดาวเรืองมีหลายพันธุ์ แต่พันธุ์ที่เหมาะสมสำหรับปลูกเพื่อตัดดอกไปจำหน่าย ได้แก่ พันธุ์ซอฟเวอร์เรน ทอรีดอร์ และดับเบิ้ล-อีเกิ้ล ซึ่งมีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางดอกประมาณ 8.5-10 เซนติเมตร

การขยายพันธุ์
ทำได้โดยการใช้เมล็ดและการปักชำ แต่วิธีที่นิยมทำคือ การใช้เมล็ดเพราะได้จำนวนมากกว่า โดยนำเมล็ดดาวเรืองมาเพาะในกระบะเพาะซึ่งมีวัสดุเพาะ คือ ขุยมะพร้าว ทราย  ขี้เถ้าแกลบ ปุ๋ยคอก ในอัตราส่วน 1:1:1:1 หรือแปลงเพาะที่มีดินร่วนซุยค่อนข้างละเอียด คราดดินให้ผิวดินเรียบสม่ำเสมอ ทำร่องบนกระบะเพาะหรือแปลงเพาะให้ลึกประมาณ 0.5 เซนติเมตร กว้าง 1 เซนติเมตร แต่ละร่องห่างกัน 5 เซนติเมตร หยอดเมล็ดลงร่องห่างกัน 1-2 นิ้ว แล้วกลบแต่ละร่องด้วยวัสดุเพาะ หรือดินละเอียดเพียงบางๆรดน้ำด้วยฝักบัวฝอยให้ชุ่ม แล้วคลุมกระบะเพาะด้วยกระดาษหนังสือพิมพ์ หรือคลุมแปลงเพาะด้วยฟางหรือหญ้าแห้ง  ควรรดน้ำวันละ 2 ครั้ง เช้า-เย็น เพื่อรักษาความชื้นเมล็ดดาวเรืองจะงอกภายใน 3-5 วัน เป็นต้นกล้า

การปลูก
    1.    ไถเตรียมดิน หว่านปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมักลงไป ประมาณ 1 ตัน/ไร่ ยกร่องแปลงปลูกกว้าง 1 เมตร รดน้ำแปลงไว้ล่วงหน้า 1 วัน
    2.    ขุดหลุมกว้าง 15 เซนติเมตร แปลงละ 3 แถว ระยะระหว่างแถว 30 เซนติเมตร ระยะระหว่างต้น 30 เซนติเมตร ใส่ปุ๋ยทริบเบิ้ลซุปเปอร์ฟอสเฟส หรือสูตร 15-15-15 ประมาณ 1    ช้อนชา รองก้นหลุม แล้วเกลี่ยดินข้างหลุมมากลบปุ๋ยเล็กน้อย เพื่อป้องกันไม่ให้รากดาวเรืองสัมผัสปุ๋ยโดยตรง
    3.    นำต้นกล้าที่มีอายุ 7-10 วัน ( นับจากวันเพาะเมล็ด ) โดยแยกต้นกล้าให้มีวัสดุเพาะ หรือดินหุ้มติดรากมาด้วย เพื่อป้องกันรากกระทบกระเทือน นำมาปลูกในแต่ละหลุมที่เตรียมไว้ รดน้ำให้ชุ่ม
    4.    หลังจากนั้น ต้องรดน้ำเช้า-เย็น ประมาณ 7 วัน ซึ่งต้นกล้า จะตั้งตัวได้ดี แล้วจึงรดน้ำเพียงวันละ 1 ครั้ง ในตอนเช้า ในช่วงที่ดอกเริ่มบานไม่ควรรดน้ำให้โดนดอก เพื่อป้องกันดอกเป็นโรค
    5.    เมื่อดาวเรืองอายุ 15 และ 25 วัน ควรใส่ปุ๋ย 15-15-15 ในอัตรา 1 ช้อน : ต้น เมื่ออายุ 35 และ 45 วัน ใส่ปุ๋ยสูตร 12-24-12 ในอัตราเดียวกัน  โดยวิธีฝังลงในดินตื้นๆ ประมาณ ?  นิ้ว ห่างโคนต้น 6 นิ้ว แล้วรดน้ำให้ชุ่มทุกครั้งที่ใส่ปุ๋ย
    6.    ช่วงดาวเรืองอายุ 21-25 วัน ซึ่งเป็นระยะที่ต้นมีใบจริงขนาดใหญ่ ประมาณ 4 คู่ และส่วนยอดมีใบเล็กๆ 1-2 คู่ จะต้องปลิดยอดทิ้งเพื่อให้แตกกิ่งข้าง โดยใช้มือซ้ายจับคู่ใบบนสุดที่จะเหลือไว้ แล้วใช้มือขวาดึงส่วนยอดลงทางด้านข้างจนหลุดออกมา หลังจากนั้น 5-7 วันตาข้างจะเริ่มแตกและเจริญเป็นกิ่งใหม่ ซึ่งจะติดตุ่มดอกทั้งที่ตายอดปลายกิ่งและตาข้าง
    7.    หลังจากปลูก 40-45 วันในแต่ละกิ่ง เมื่อดอกยอดมีขนาดเท่าเมล็ดข้าวโพดดอกข้างมีขนาดเท่าเมล็ดถั่วเขียว ต้องรีบปลิดดอกข้างออกให้หมดภายใน 2-3 วัน คงเหลือดอกยอดไว้ดอกเดียว  เพื่อให้ดอกมีขนาดใหญ่
    8.    หลังจากนั้นประมาณ 20 วัน ( อายุ 60-65 วัน ) ก็ตัดดอกไปจำหน่ายได้ ซึ่งจะได้ประมาณ 10-12 ดอก/ต้น

โรคและแมลงที่สำคัญ
   1. โรคเหี่ยว เป็นโรคที่เกิดจากเชื้อราไฟทอปทอรา (Phytoptora) มักเกิดกับดาวเรืองที่ดอกกำลังเริ่มทยอยบาน ระยะแรกมีอาการคล้ายกับดาวเรืองขาดน้ำ กล่าวคือ อาการเหี่ยวจะแสดงในตอนกลางวันส่วนกลางคืนอาการจะปกติ หลังจากนั้นประมาณ 3 -4 วัน ดาวเรืองก็จะเหี่ยวทั้งด้นและตายไปในที่สุด
    การป้องกันกำจัด ใช้สารเคมีป้องกันและกำจัดเชื้อรา เช่น แมนโคเซ็ป ฉีดพ่นสลับกับคาร์เบนดาซิมประมาณสัปดาห์ละครั้ง และถ้าพบมากต้นที่เป็นโรคและตายในแปลงต้องรีบกำจัดทิ้ง
   2. โรคราแป้ง เกิดจากเชื้อราชนิดหนึ่งลักษณะอาการ คือจะเห็นสปอร์ของเชื้อราเป็นฝุ่นสีขาว ๆ ตามใบของดาวเรือง ทำให้ใบหยิก การเจริญเติบโตชะงัก ถ้าเป็นมากอาจทำให้ต้นตายในที่สุด
    การป้องกันกำจัด โดยการพ่นด้วยสารเคมีป้องกันกำจัดเชื้อรา เช่น แมนโคเซ็ป ไดแทน-เอ็ม 45 ประมาณสัปดาห์ละครั้ง
   3. โรคดอกไหม้ เกิดเชื้อราเข้าทำลายดอกดาวเรือง ทำให้ดอกเป็นสีน้ำตาลจนไม่สามารถเก็บเกี่ยวได้
    การป้องกันกำจัด ควรฉีดพ่นด้วยสารเคมีแมนโคเซ็ปหรือดาโคนิล โดยฉีดพ่นให้ทั่วทั้งแปลง
   4.  เพลี้ยไฟ เข้าทำลายโดยดูดกินน้ำเลี้ยงจากยอดอ่อนและใบอ่อน จะเห็นมีรอยขีดตามใบหรือกลีบเลี้ยงของดอก เพลี้ยไฟจะระบาดมากในช่างฤดูร้อน
    การป้องกันกำจัด ใช้สารเทมมิค เอ จี (Temic A.G.) ฝังรอบ ๆ โคนต้น โดยฝังให้ห่างโคนต้นประมาณ 1 ฝ่ามือ หรือฉีดพ่นด้วยสารโตกุไธออนสัปดาห์ละครั้ง
   5.  หนอนกระทู้หอม เป็นหนอนของผีเสื้อกลางคืน จะเข้าทำลายในขณะที่ดอกดาวเรืองเริ่มบานหนอนจะกัดกินดอกดาวเรือง ทำให้ดอกแหว่งเสียหาย
    การป้องกันกำจัด ฉีดพ่นด้วยสารเคมีกำจัดแมลง เช่น แลนเนท,แคสเคต หรือใช้เชื้อไวรัสทำลายแมลงพวกเอ็น.พี.วี (NPV) ฉีดพ่นในแปลงที่มีหนอนกระทู้หอมระบาด

ตลาด / แหล่งจำหน่าย
   แหล่งรับซื้อดาวเรืองที่ใหญ่ที่สุดในกรุงเทพ ฯ คือ ตลาดปากคลองตลาด ส่วนตลาดอื่น ๆ เช่น สวนจตุจักร นิยมรับซื้อดาวเรืองที่ปลูกในกระถางหรือถุงพลาสติก นอกจากนี้ยังมีตลาดอื่น ๆ อีก เช่น ตลาดเทเวศร์ ลาดพร้าว สะพานควาย บางเขน และตามศูนย์การค้าหรือซุปเปอร์มาร์เก็ต
    ส่วนในต่างจังหวัดนั้น สามารถนำดาวเรืองไปจำหน่ายได้ตามตลาดสดทั่วไป และจะมีพ่อค้าไปรับซื้อในท้องที่ที่ปลูกดาวเรือง จากนั้นพ่อค้าก็จะนำไปจำหน่ายต่อที่ตลาดกรุงเทพ ฯ

สถานที่ให้คำปรึกษา
1.    กองส่งเสริมพืชสวน กรมส่งเสริมการเกษตร โทร. 561-4879
2.    สำนักงานเกษตรจังหวัดและอำเภอ

ข้อแนะนำ
1.    เมล็ดดาวเรืองที่ยังไม่พร้อมที่จะปลูก ควรเก็บรักษาไว้ในตู้เย็นช่องแช่ผัก จะช่วยให้เปอร์เซ็นต์การงอกลดลงไม่มากนัก
2.    ดาวเรืองสามารถปลูกได้ปีละประมาณ 3 รุ่น เก็บดอกได้ 5-7 ครั้ง/รุ่น แล้วต้องโละแปลงปลูกใหม่
       เอื้อเฟื้อข้อมูล กรมวิชาการเกษตร (www.doae.go.th)

การปลูกพริกไทย


 ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับพริกไทย
      ผลและเมล็ดของพริกไทย รสเผ็ดอุ่น ช่วยขับลม ขับเหงื่อ ขับปัสสาวะแก้ท้องอืดท้องเฟ้อ แก้ไข้มาเลเรีย แก้อหิวาตกโรคนอกจากนี้ น้ำมันหอมระเหยที่เรียกว่า Pepper oilยังใช้ร่วมกับน้ำมันหอมอื่น ๆ ในการนวดตัว เพื่อบำบัดอาการท้องอืดท้องเฟ้อท้องเสีย แก้คลื่นเหียน อาเจียน ช่วยให้หายใจสะดวก และช่วยล้างพิษ ข้อควรระวังคือ ไม่ควรรับประทานพริกไทยมากเกินไป และผู้ป่วยเกี่ยวกับโรคตาและเจ็บคอไม่ควรรับประทาน

ลักษณะทั่วไปพริกไทยเป็นไม้เถาเลื้อยยืนต้น ลำต้นเป็นปล้อง มีรากฝอยตามข้อใช้ในการยึดเกาะ ใบเดี่ยว รูปรี ออกเรียงสลับตามข้อ และกิ่งปลายใบแหลม ขอบใบเรียบ คล้ายใบพลู ดอกสีขาว ออกเป็นช่อตามข้อ ช่อดอกแต่ละช่อมีดอกฝอยประมาณ 70-85 ดอกผลออกเป็นช่อทรงกระบอกกลมยาว ช่อผลเป็นสีเขียว เมื่อแก่เป็นสีเหลืองและแดงภายในมีเมล็ดกลม
การปลูก    พริกไทยดำขยายพันธุ์โดยการเพาะเมล็ดและตัดเถาชำ ชอบดินร่วนซุยที่มีความอุดมสมบูรณ์ มีการระบายน้ำดี อากาศแบบร้อนชื้น ควรเพาะเมล็ดในฤดูฝน เพื่อให้ต้นกล้าเจริญเติบโตได้ดี การชำเถาให้เลือกเถาที่มีรากตามข้อปล้อง อายุประมาณ 1 ปีลิดใบออกบางส่วน ตัดเป็นท่อน ๆ ชำ เมื่อแตกยอดอ่อนจึงย้ายไปปลูกในถุงพลาสติก ซึ่งควรอยู่ในที่ร่ม ประมาณ 1- 2 เดือนจึงทำการย้ายปลูก  การปลูกขุดหลุมกว้าง-ยาว-ลึก 30 -30-30 ซม. ระยะห่างระหว่างต้นระหว่างแถว 2-2 เมตร ไม้หรือเสาที่จะให้ต้นเลื้อยควรหุ้มด้วยกาบมะพร้าวเพื่อช่วยให้เถายึดเกาะได้ดีและช่วยให้ต้นพริกไทยได้ความชื้นจากกาบมะพร้าวเพื่อช่วยให้เถายึดเกาะได้ดี และช่วยให้ต้นพริกไทยได้ความชื้นจากกาบมะพร้าว แต่ระวังอย่าให้หลุมชื้นแฉะหรือแห้งเกินไป   พริกไทยจะตายได้ สำหรับไม้หรือเสาที่ทำค้าง  ควรมีขนาดประมาณ 4x4นิ้ว ยาว 4เมตร ปักลงในดินลึก 60 ซม  แต่ละค้างปักให้ห่างกัน
ประมาณ 2 เมตร

  การดูแลรักษา
    เมื่อพริกไทยเริ่มแตกยอดอ่อน 3-5 ยอด ผู้ปลูกต้องคอยตัดยอดอ่อนให้เหลือยอดที่สมบูรณ์ที่สุดต้นละ 2 ยอด เท่านั้น และคอยหมั่นตรวจดูอย่าให้ยอดเลื้อยไปรวมอยู่ด้านใดด้านหนึ่งของค้างเพียงด้านเดียวเพราะเมื่อพริกไทยให้ผลจะทำให้ค้างล้มได้ วิธีการปฏิบัติที่ดีคือใช้เชือกมัดเถาพริกไทยเป็นเปลาะ ๆ ห่างกัน 10-15 ซม. เปลาะแรกให้อยู่เหนือพื้นดิน 3 ข้อเมื่ออายุ 1 ปี ให้ตัดยอดที่สูงเหนือพื้นดินมาก กว่า 50 ซม.ทิ้งไปเพื่อให้แตกยอดมาใหม่และในระหว่างที่เถายังเจริญเติบโตไม่ถึงยอดไม้ค้าง ให้ตัดช่อดอกที่ออกมาระหว่างนั้นออกไป ไม่เช่นนั้นต้นจะแคระแกรนโตช้าลงนอกจากนี้ให้ดูแลเรื่องการใส่ปุ๋ย
บำรุงดิน หมั่นพรวนดินคลุมโคนต้น เพื่อป้องกันไม่ให้ต้นโยกคลอนล้มลงได้ และช่วยกระตุ้นให้รากแผ่กระจายหาอาหารสะดวก
ยิ่งขึ้น
การเก็บเกี่ยว

 อายุในการให้ผลผลิตของต้นพริกไทยจะอยู่ในปีที่ 3 จึงเริ่มให้ดอกและติดผล และจะสามารถเก็บเกี่ยวผลได้ในอีก 6-7เดือนถัดมา  การเก็บเมล็ดน้นต้องดูวัตถุประสงค์ว่าต้องการเก็บเพื่อใช้เป็นพริกไทยขาวหรือที่เรียกอีกชื่อว่า "พริกไทยล่อน"หรือต้องการเก็บเป็นพริกไทยดำเพราะทั้งสองแบบมีวิธีการเก็บที่แตกต่างกัน    ในการเก็บพริกไทยขาวหรือพริกไทยล่อน ให้สังเกตจากรวงหรือช่อของพริกไทยที่มีเมล็ดสีเหลือ หรือสีแดง ช่อละ 3-4เมล็ด การเก็บให้เก็บทั้งช่อ โดยทยอยเก็บเป็นระยะ แต่ในฤดูเก็บเกี่ยวหนึ่ง ๆ ไม่ควรเก็บเกินกว่า 4 ครั้ง เพราะจะทำให้ต้นโทรมได้จากนั้นนำไปตากแดดแล้วนำไปนวดเพื่อแยกเมล็ดออกมา แล้วนำเมล็ดไปใส่ไว้ในกระสอบมัดปากให้แน่น นำไปแช่น้ำนาน 7-14วันแล้วนำไปตากแดดทันทีหากไม่มีแดดให้แช่น้ำไว้ก่อนป้องกันการขึ้นรา


 การตากแดดให้ตากบนลานหรือเสื่อลำแพนโดยเกลี่ยให้กระจายสม่ำเสมอ ตากแดด 4-5 วัน การทดสอบว่าเมล็ดแห้งสนิทแล้วหรือยังทำได้โดยใช้มือกอบเมล็ดขึ้นมาค่อย ๆ ถ่างนิ้วให้เมล็ดลอดลงระหว่างนิ้วหากมีการฝืดลอดลงนิ้วยากแสดงว่ายังไม่แห้งสนิท หรือจะใช้วิธีฟันขบดูหากแตกออกเป็นชิ้นเล็กชิ้นน้อยแสดงว่าแห้งดีแล้ว แต่ถ้าแตกออกเป็นสองซีกแสดงว่ายังแห้งไม่ดี ให้ตากแดดต่อไปอีก ในกรณีเก็บเมล็ดเพื่อใช้ทำพริกไทยดำ ให้เก้บเมล็ดแก่จัดที่ยังมีสีเขียวอยู่ โดยให้ใช้เล็บจิกลงที่เมล็ด หากจิกไม่ลงแสดงว่าเมล็้ดแก่ดีแล้ว การเก็บให้เก็บทั้งรวงเช่นเดียวกันเก้บมาแล้วนำไปตากแดดบนลานหรือเสื่อแล้วใช้ผ้าใบหรือสังกะสีคลุมทับไว้ 3-4วัน เพื่อให้ก้านเหี่ยว ง่ายต่อการนำไปนวดแยกเมล็ดออกแล้วนำไปร่อนในตะแกรงที่มีรูให้เมล็ด ลอดออกมาได้จนเหลือแต่เมล็ดพริกไทยล้วน ๆ จากนั้นนำไปตากแดดให้สม่ำเสมอ 5-6 วัน เมล็ดที่แห้งสนิทดีแล้วจะเปลี่ยนเป็นสีดำ


พริกไทยดำต่างกับพริกไทยขาวอย่างไรพริกไทยเป็นไม้เลื้อย มีชื่อสามัญว่า Black Piper มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Piper nigrum Linn วงศ์ Piperaceae ผลอ่อนของพริกไทมีสีเขียว พอเริ่มแก่ก็จะกลายเป็นสีแดงและดำในในที่สุด พริกไทยดำ ( Black peper ) และ พริกไทยขาว( White peper ) ซึ่งทั้งสองอย่าง ได้มาจากพืชชนิดเดียวกันแต่วิธีการเก็บต่างกัน นั่นคือ  พริกไทยดำ ได้จากการเก็บผลพริกไทยที่เป็นผลแก่เต็มที่แต่ยังไม่สุก เมื่อเก็บแล้วนำไปตากบนลาน ใช้สังกะสีหนือผ้าใบคลุมให้ผลหลุดจากขั้วจากนั้นทำอย่างไรก็ได้ให้เหลือแต่ผล(ปกติคงใช้เท้าเหยียบ ร่อน และเหยียบ ซ้ำอีก) แล้วนำมาผึ่งแดดให้แห้งประมาณ 4 – 5 วัน ผิวก็จะเหี่ยวย่น เป็นสีดำข้อมูลทางวิทยาศาสตร์ของ พริกไทยดำจะมีน้ำมันหอมระเหยมากประมาณร้อยละ2-4 และมีสารแอลคาลอยด์เป็นสารสำคัญ เช่น Piperine ซึ่งเป็นตัวทำให้มีรสเผ็ด นอกจากนี้ยังมี Piperidine, Piperitine,Peperyline, Piperolein A และ B



ส่วนพริกไทยขาว ( White pepper ) นั้นได้จากการเก็บผลพริกไทยที่แก่จัด และผลเริ่มสุกเป็นสีแดง และกลายเป็นสีดำจากนั้นนำไปแช่น้ำ เพื่อลอกเอาเปลือกชั้นนอกออกไป เหลือแต่เมล็ดข้างในโดยจะแช่ในน้ำไหล หรือน้ำนิ่งก็ได้ แต่พริกไทยที่แช่น้ำไหล จะมีสีขาวกว่าพริกไทย ที่แช่ในน้ำนิ่ง โดยจะใช้เวลาในการแช่ประมาณ 7-14 วัน หลังจากนั้น นำพริกไทยที่แช่น้ำมานวด เพื่อลอกเปลือกออก ล้างด้วยน้ำสะอาด แล้วนำไปตากแดดทันที โดยใช้เวลาในการตากแดดประมาณ 4-5 วัน ก็จะแห้งสนิทการทดสอบความแห้งทำโดยใช้ฟันขบเมล็ดพริกไทย ถ้าแตกออกเป็นชิ้นเล็ก ชิ้นน้อย แสดงว่าแห้งสนิทดี  แต่ถ้าแตกออกเป็นสองซีก แสดงว่ายังไม่แห้งสนิท หรือทดสอบโดยใช้มือ
กอบเมล็ดพริกไทย แล้วค่อยๆกางนิ้วออก ให้เมล็ด
พริกไทยลอดระหว่างนิ้วถ้าเมล็ดลอดออกได้ง่าย
ไม่ฝืด และเมล็ดไม่เกาะติดกัน แสดงว่าเมล็ดแห้งสนิท


ข้อมูลทางวิทยาศาสตร์ของพริกไทยขาว ( พริกไทยล่อน ) จะมีน้ำมันหอมระเหยต่ำกว่าพริกไทยดำ ดังนั้นตัวที่ทำให้ช่วยขับลมก็คือ พวกน้ำมันหอมระเหยนั่นเองพริกไทยขาว จะมีราคาแพงกว่า พริกไทยดำ เนื่องจากมีขั้นตอนในการผลิต และค่าใช้จ่ายสูงกว่าการผลิตพริกไทยดำ และประชาชนยังนิยมบริโภคพริกไทยขาว มากกว่าพริกไทยดำ แต่ในแง่สรรพคุณ ทางยาสมุนไพรนั้น พริกไทยดำจะมีตัวยามากกว่า พริกไทยขาว  ที่มา : นสพ.ไทยโพสต์  วันที่ 21/042548

การปลูกพืชระบบไฮโดรโปนิกส์

การปลูกพืชระบบไฮโดรโปนิกส์
การ ปลูกพืชโดยไม่ใช้ดินหรือไฮโดรโปนิกส์ เป็นวิธีการที่พัฒนาขึ้นในประเทศพัฒนาซึ่งมีปัญหาพื้นที่ทำการเกษตรลดลง เนื่องจากการเจริญเติบโตของชุมชน หรือพื้นที่ที่มีอยู่ไม่เหมาะสมต่อการทำการเกษตร เป็นวิธีที่ไม่ใช้ดินเป็นวัสดุปลูก แต่พืชจะเจริญเติบโตโดยได้รับธาตุอาหารจากสารละลายธาตุอาหาร การปลูกพืชโดยวิธีนี้จึงสามารถทำได้ในทุกพื้นที่แม้จะไม่มีที่ดินสำหรับปลูก พืชหรือพื้นที่ดินที่มีอยู่ไม่สามารถใช้ปลูกพืชได้ ในปัจจุบันไฮโดรโปนิกส์เป็นวิธีการปลูกพืชที่ใช้แพร่หลายในประเทศต่างๆ เช่น ไต้หวัน ญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกา ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ อิสราเอล และประเทศต่างๆ ในทวีปยุโรป สำหรับประเทศไทยมีความเข้าใจกันโดยทั่วไปว่าการปลูกพืชด้วยวิธีนี้เป็นวิธี ที่ต้องลงทุนสูงและมีวิธีการยุ่งยากซับซ้อน ต้องใช้เทคโนโลยีขั้นสูง ประกอบกับปัญหาขาดแคลนพื้นที่ทำการเกษตรยังไม่รุนแรงนัก ยังมีพื้นที่ทำเกษตรกรรมมากมาย สามารถปลูกพืชด้วยวิธีปกติได้เพียงพอกับความต้องการ จึงไม่มีความจำเป็นที่จะต้องหาวิธีการอื่นมาทดแทน อย่างไรก็ดีในระยะ 5 ปีที่ผ่านมา ได้มีการปลูกพืชโดยวิธีไฮโดรโปนิกส์เป็นการค้าเพื่อผลิตพืชผักที่มีคุณภาพใน ปริมาณที่แน่นอน สนองความต้องการของซุปเปอร์มาร์เก็ต ตลาดพืชผักปลอดภัยจากสารพิษ การปลูกพืชทดแทนพืชนำเข้า และปลูกเพื่อการส่งออก

ไฮโดร โปนิกส์ (hydroponics) เป็นคำที่มาจากภาษากรีก 2 คำ คือคำว่า hydro ซึ่งแปลว่าน้ำ และคำว่า ponos แปลว่าทำงานหรือแรงงาน เมื่อรวมกันจึงมีความหมายว่าการทำงานที่เกี่ยวข้องกับน้ำ ประวัติความเป็นมาของการปลูกพืชโดยวิธีนี้นั้นเริ่มมาจากการศึกษาเกี่ยวกับ การใช้ธาตุอาหารต่างๆ ในการปลูกพืช ซึ่งมีมาตั้งแต่หลายพันปีก่อนสมัยของอริสโตเติล           จากหลักฐานทางประวัติศาสตร์พบว่านักวิทยาศาสตร์หลายท่านได้เขียนบันทึก ต่างๆ     ทางพฤกษศาสตร์ขึ้นและปรากฎอยู่จนทุกวันนี้ แต่การปลูกพืชตามหลักการทางวิทยาศาสต ร์นั้นเริ่มขึ้นประมาณ 300 ปีมาแล้ว คือประมาณ ค.ศ. 1699 John Woodward นักพฤกษศาสตร์ชาวอังกฤษได้พยายามทำการทดลอง เพื่อหาคำตอบว่าอนุภาคของของแข็งและของเหลวที่อยู่ในดินมีความสำคัญต่อการ เจริญเติบโตของพืชอย่างไร ต่อมาปี ค.ศ. 1860-1865 นักวิทยาศาสตร์ชื่อ Sachs และ Knop นับเป็นผู้ริเริ่มปลูกพืชด้วยวิธีไฮโดรโปนิกส์ตามหลักการทางวิทยาศาสตร์สมัย ใหม่ โดยการปลูกพืชด้วยสารละลายเกลือ อนินทรีย์ต่างๆ เช่น โพแทสเซี่ยมฟอสเฟต โพแทสเซี่ยมไนเตรต ซึ่งให้ธาตุอาหารที่จำเป็นต่อการเจริญเติบโตของพืช คือ ไนโตรเจน ฟอสฟอรัส โพแทสเซี่ยม แมกนีเซียม กำมะถัน แคลเซียม และเหล็ก ภายหลังมีการพัฒนาสูตรธาตุอาหารพืชเรื่อยมา จนถึงปี ค.ศ. 1920-1930 William F.Gericke แห่งมหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย ประสบความสำเร็จในการปลูกมะเขือเทศในสารละลายธาตุอาหาร โดยพืชมีการเจริญเติบโตสมบูรณ์และให้ผลผลิตเร็ว นับเป็นจุดเริ่มต้นของการนำเทคนิคการปลูกพืชโดยวิธีนี้ไปประยุกต์ใช้เพื่อ ปลูกพืชเป็นการค้า และได้มีการพัฒนาเทคนิควิธีการและส่วนประกอบในสารละลายเรื่อยมาจนถึง ปัจจุบัน

การ ประยุกต์ใช้ระบบการปลูกพืชแบบไฮโดรโปนิกส์อย่างจริงจังเริ่มขึ้นระหว่าง สงครามโลกครั้งที่ 2 เช่น กองทัพสหรัฐอเมริกาซึ่งตั้งฐานทัพอยู่ในประเทศญี่ปุ่น สภาพพื้นที่เป็นหินไม่เหมาะต่อการปลูกพืช ได้มีการนำการปลูกพืชด้วยวิธีไฮโดรโปนิกส์มาใช้ปลูกพืชผักเลี้ยงกองทัพโดย ปลูกภายในโรงเรือนและใช้กรวดเป็นวัสดุปลูก แม้หลังจากสงครามโลกครั้งที่ 2 ยุติลง               กองทัพอเมริกันที่ยึดครองประเทศญี่ปุ่นก็ยังคงใช้วิธีนี้ผลิตพืชผัก กองทัพเรืออังกฤษซึ่งมีที่ตั้งอยู่ตามเกาะห่างไกล ในมหาสมุทรแปซิฟิก และมีหลายแห่งที่พื้นที่ไม่เอื้ออำนวยต่อการปลูกพืช แต่กองทัพต้องการพืชผักเป็นอาหารสำหรับกำลังพล จึงได้มีการนำการปลูกพืชด้วยวิธีนี้มาใช้เช่นกัน

ปัจจุบัน การปลูกพืชด้วยระบบไฮโดรโปนิกส์ได้พัฒนาไปมาก โดยทั่วไปในประเทศพัฒนามักทำการปลูกภายใต้เรือนกระจก มีการควบคุมสภาพแวดล้อม การผลิตเป็นอุตสาหกรรมขนาดใหญ่จะใช้คอมพิวเตอร์ควบคุมระบบต่างๆ การเพาะกล้า และการย้ายกล้าลงปลูกในระบบจะเป็นแบบอัตโนมัติหรือกึ่งอัตโนมัติ ระบบที่นิยมใช้จะแตกต่างกัน เช่น ประเทศในแถบยุโรปจะนิยมใช้nutrient film technique (NFT) สหรัฐอเมริกานิยมใช้ระบบน้ำไม่ไหลเวียน (non-circulating system) ในออสเตรเลียจะใช้ทั้ง 2 ระบบ

สำหรับประเทศในแถบ เอเซีย ญี่ปุ่นเป็นชาติแรกที่นำการปลูกพืชด้วยวิธีไฮโดรโปนิกส์มาใช้ เป็นเชิงพาณิชย์ โดยเริ่มจากที่กองทัพสหรัฐอเมริกาซึ่งเข้ายึดครองประเทศญี่ปุ่นช่วงหลัง สงครามโลกครั้งที่ 2 นำเทคนิคนี้มาใช้ปลูกพืชผักเพื่อเป็นอาหาร หลังจากนั้นในปี ค.ศ. 1960 ได้มีการพัฒนาเทคนิคการปลูกพืชในกรวด (gravel culture) ขึ้น นับเป็นเทคนิคการปลูกพืชแบบไฮโดรโปนิกส์แบบแรกที่พัฒนาขึ้นโดยชาวญี่ปุ่น จากนั้นก็มีการพัฒนาเรื่อยมาจนปัจจุบันประเทศญี่ปุ่นมีเทคนิคต่างๆ กว่า 30 แบบ ถือเป็นประเทศที่มีความก้าวหน้าที่สุดในการปลูกพืชด้วยวิธีไฮโดรโปนิกส์ในเอ ซีย การปลูกผักด้วยวิธีไฮโดรโปนิกส์ในญี่ปุ่นพัฒนาอย่างรวดเร็วเนื่องจากการ เจริญของเมืองและราคาที่ดินที่สูงขึ้น ทำให้การทำการเกษตรด้วยระบบดั้งเดิมถูกจำกัดโดยราคาที่ดิน พืชที่นิยมปลูกด้วยวิธีนี้คือ มะเขือเทศ แตงกวา และ Japanese hornwort เนื่องจากเป็นพืชที่ให้กำไรมาก ฟาร์มไฮโดรโปนิกส์ในญี่ปุ่นที่ประสบความสำเร็จมักดำเนินการในเรือนกระจกขนาด ใหญ่ มีผลผลิตออกสู่ตลาดต่อวันในปริมาณมาก อย่างไรก็ตามมีฟาร์มขนาดเล็กที่ประสบความสำเร็จเช่นกัน ส่วนใหญ่จะเป็นฟาร์มที่ปลูกในโรงเรือนที่มีมาตรฐานสูง ความสำเร็จของการทำฟาร์มไฮโดรโปนิกส์ในญี่ปุ่นขึ้นกับการพัฒนาเพื่อเพิ่มผล ผลิตพร้อมๆ กับการลดต้นทุนการผลิต

มุมสุขภาพ เห็ดล้างสารพิษในร่างกาย

 เห็ด 3 อย่างล้างสารพิษในร่างกาย
เห็ดสามอย่างคือ เห็ดสามชนิด หรือสามชนิดขึ้นไป จะเป็นเห็ดสดหรือเห็ดแห้งก็ได้ นำมาปรุงอาหารแล้วกินได้ทั้งเนื้อเห็ด และน้ำต้มเห็ด แต่ต้องดูด้วยนะคะว่าไม่ใช่เห็ดพิษจ้ะ....

 ประโยชน์ของเห็ดสามอย่างเมื่อนำมารวมกันปรุงอาหาร  ล้างสารพิษที่ตกค้างในตับ ช่วยบำรุงตับลดอนุมูลอิสระที่จะเกิดเป็นเซลล์มะเร็งโปรตีนในเห็ดสามอย่าง หรือสามอย่างขึ้นไป


เห็ดที่นำมาใช้คือ เห็ดที่กินได้ เช่น เห็ดหูนาดำ เห็ดหูนาขาว เห็ดหอม เห็ดฟาง เห็ดนางฟ้า เห็ดโคน เห็ดเข็มทอง ล้างให้สะอาดก่อนปรุงอาหาร เมื่อนำมารวมกันประกอบอาหารแล้วจะได้โปรตีนจากเห็ด ที่ร่างกายดูดซึมไปใช้งานได้ง่ายที่สุด ง่ายกว่าเนื่อสัตว์ โปรตีนจากเห็ดจะไปสร้างกรดอะมิโนที่บำรุงสมอง ปรับสมดุลของการสร้างเซลล์ใหม่ในร่างกาย ต้านการเกิดมะเร็ง ขจัดสารพิษ แต่ถ้าคนที่เป็นมะเร็งแล้วกินได้ แต่อย่าคาดหวังอะไร ควรไปให้แพทย์รักษาจะดีที่สุด อาหารตัวอื่นที่ต้านอนุมูลอิสระได้ดีก็มีมากมาย เช่น กระเจี๊ยบเขียว ลูกหม่อน ผักและผลไม้ ที่ควรกินป้องกันเอาไว้

น้ำต้มเห็ดสามอย่าง ใช้ทำเป็นน้ำซุปปรุงอาหารก็ได้ แต่ไม่ควรนำเห็ดสามอย่างไปผัดน้ำมัน ถ้าจะผัดควรใช้กะทิผัดแทนน้ำมัน เพราะกะทิเป็นไขมันที่ละลายในน้ำได้ และกะทิมีโคเลสเตอรอลฝ่ายดีมีประโยชน์ต่อร่างกาย

ภูมิปัญญาชาวบ้าน (วิธีการทดสอบเห็ดมีพิษ)
ให้ นำน้ำสะอาดใส่ในหม้อแล้วนำไปต้มบนไฟให้เดือดจัด หลังจากนั้นให้ใส่เห็ดที่เก็บมาได้หรือเห็ดที่ต้องสงสัยว่าจะมีพิษลงไปในหม้อน้ำเดือด

จากนั้นใส่เมล็ดข้าวสารลงไปเล็กน้อย ประมาณ 10-20 เมล็ด โดยปล่อยตั้งไฟทิ้งไว้ ประมาณ 10 นาที จึงยกลงจากไฟ ตั้งพักไว้ให้เย็น แล้วให้ตักเมล็ดข้าวสารขึ้นมาบีบดูว่ามีลักษณะเป็นอย่างไร

หากเมล็ดข้าวสารแหลกหรือเปื่อยยุ่ยคามือ แสดงว่าเห็ดชนิดนั้นไม่มีพิษ สามารถนำมารับประทาน แต่ถ้าเมล็ดข้าวสารยังคงแข็งตัวอยู่ในสภาพเดิม ไม่เปลี่ยนแปลงแม้จะบดขยี้อย่างไรก็ตาม แสดงว่าเห็ดชนิดนั้นมีพิษ ห้ามนำมารับประทานโดยเด็ดขาด


 เมนูเห็ดล้างพิษ
"เห็ด" บำรุงสมอง ลดคอเลสเตอรอล ฤดูฝนแบบนี้ เมนูตั้งโต๊ะมักจะมีเห็ดหน้าตาแปลกๆ สลับกันขึ้นมาให้ได้เอร็ดอร่อยกันแทบทุกมื้อกว่าช่วงเวลาอื่นๆ ของปี ชาวจีนและชาวญี่ปุ่นนิยมนำเห็ดไปปรุงเป็นนํ้าแกง นํ้าชา ยาบำรุงร่างกาย และยารักษาโรคต่างๆ

ทางยุโรปนำไปปรุงเป็นซุป คนไทยนำมาผสมในแกงต่างๆ รวมถึงผัด ต้ม จิ้มนํ้าพริก  ยิ่งช่วงกินเจ เห็ดจะถูกนำมาใช้ปรุงอาหารแทนเนื้อสัตว์ เช่น เห็ดเข็มทอง เห็ดหอม เห็ดกระดุม หรือแชมปิญอง เห็ดนางรม หรือเห็ดออรินจิ เห็ดนางฟ้า เห็ดฟาง เห็ดโคน เห็ดหูหนู เห็ดหลินจือ

การบริโภคเห็ดได้รับความนิยมมากขึ้นเรื่อยๆ สรรพคุณของเห็ดที่ช่วยในการกระตุ้นการทำงานของระบบภูมิคุ้มกัน และลดความเสี่ยงต่อโรคหลอดเลือดหัวใจ และช่วยในการต้านมะเร็งหลายๆ ชนิด แถมเห็ดบางชนิดรสชาติใกล้เคียงเนื้อสัตว์ สามารถนำไปปรุงอาหารให้อร่อยได้หลายวิธี ทั้งต้ม ผัด แกง ยำ ย่าง หรือทอด จึงดัดแปลงไปได้หลายสิบเมนูเลยทีเดียว   ถ้านำเห็ดอย่างน้อย 3 ชนิด มาปรุงเป็นอาหาร เรียกว่าเป็นเมนูเห็ดล้างพิษ จะเป็นเห็ดสด หรือเห็ดแห้งก็ได้ นำมาปรุงอาหาร แล้วกินได้ทั้งเนื้อเห็ด และนํ้า โปรตีนจากเห็ดที่ร่างกายดูดซึมจะใช้งานได้ง่ายที่สุด ง่ายกว่าเนื้อสัตว์ ประโยชน์ของเห็ด 3 อย่าง เมื่อนำมารวมกันปรุงอาหาร จะช่วยล้างสารพิษที่ตกค้างในตับ ช่วยบำรุงตับ ลดอนุมูลอิสระที่จะเกิดเป็นเซลล์มะเร็งว่ากันมาเช่นนี้


เมนู ซุปเห็ดล้างพิษ
วิธีทำ เครื่องปรุงมีแค่ 6 อย่าง ส่วนชนิดของเห็ด ขอเลือกเป็นเห็ดยอดนิยมของคนไทยได้แก่ เห็ดหูหนู เห็ดหอมสด และเห็ดออรินจิ ซึ่งเดิมเป็นเห็ดนางรมพื้นเมืองที่ขึ้นในแถบเมดิเตอร์เรเนียน มะเขือเทศท้อ เกลือ พริกไทย เริ่มจากหั่นเห็ดหูหนูซอยให้เป็นเส้นยาวๆ ไม่ต้องบางมาก หั่นเห็ดออรินจิเป็นท่อนเล็กๆ ส่วนเห็ดหอมสด เลาะเอาก้านแข็งๆ ออก มะเขือเทศท้อหั่นเป็นเสี้ยวๆ เตรียมเสร็จแล้วพักไว้  ต้มนํ้าให้เดือด ใส่เห็ดทั้ง 3 ลงไป ต้มพอสุก ใส่มะเขือเทศท้อ เกลือ และพริกไทย เคี่ยวสักพักให้ความหวานจากมะเขือเทศท้อออกมา ซุปเห็ด 3 สหายสลายพิษ เห็ดหอมสดเนื้อนุ่มเหนียว เห็ดหูหนูเนื้อกรุบกรอบอร่อย ส่วนเห็ดออรินจิ เนื้อขาว แน่น และรสหวานนิดๆ ถ้าได้รับการปรุงอย่างถูกวิธี จะมีรสเหมือนหอยนางรมจริงๆ  ความอร่อยของเห็ด 3 อย่างที่รสชาติต่างกัน ในนํ้าซุปใสหวานนิดๆ เค็มน้อยๆ พร้อมความเผ็ดร้อนอ่อนๆ ของพริกไทย สำหรับคุณที่ชอบรสจัดจ้าน ก็ทุบพริกขี้หนูสวน แล้วบีบมะนาวใส่ลงไป กลายเป็นต้มยำเห็ด 3 สหาย ทำง่าย ดีต่อสุขภาพ


คุณประโยชน์ของเห็ด
เห็ดหอม บำรุงสมอง ลดคอเลสเตอรอล ต้านมะเร็ง รักษาหอบหืด ลดความเครียด ชะลอความชรา
เห็ดออรินจิ มีคุณค่าทางโภชนาการสูงใกล้เคียงกับเนื้อสัตว์ มีโปรตีน และมีคอเลสเตอรอลตํ่า
เห็ดหูหนู ช่วยลดระดับไขมันในเลือด ทำให้หัวใจแข็งแรง ไม่เกิดอาการหลอดเลือดตีบตัน ช่วยผ่อนคลายกล้ามเนื้อที่ตึงเครียดให้คลายตัว ทำให้เกิดความกระฉับกระเฉง กระปรี้กระเปร่า เพราะเห็ดหูหนูช่วยชะล้างและบำรุง เสริมสร้างโลหิต ช่วยบำรุงสายตา บำรุงตับ บำรุงผิวให้เปล่งปลั่ง สดใส

วิธีเลือกเห็ด เห็ดหอมให้เลือกเห็ดใหม่ ซึ่งสีจะออกเทาเกือบดำ ไม่หมองคลํ้า เลือกที่มีเนื้อดอกหนาหน่อย เห็ดออรินจิให้เลือกดอกที่มีสีขาวสะอาด กลิ่นไม่แรง เนื้อแน่นมากๆ และเห็ดหูหนูที่ดี ดอกจะต้องใหญ่หนา สีเป็นมัน

วิธีเก็บรักษาเห็ดสด หลังจากซื้อมาแล้ว ต้องตัดรากและเศษดินออกให้หมด อย่าให้เห็ดถูกนํ้าเพราะจะทำให้เน่าเสียเร็ว เก็บใส่ถุงพลาสติกเจาะรูให้ไอนํ้าระเหยออก แล้วรัดปากถุงให้แน่น เก็บไว้ในตู้เย็นช่องธรรมดาจะอยู่ได้ 1-2 วัน ไม่ควรเก็บไว้นานๆ เพราะจะเน่าและขึ้นรา ก่อนนำมาปรุงอาหารต้องล้างให้สะอาดโดยเฉพาะตามซอก

ที่มาโรงพยาบาลสมิติเวช โทร.0-2711-8181

บทความที่ได้รับความนิยม

 
Support : |
Copyright © 2011-2012 อาชีพพารวย - All Rights Reserved
เข้าสู่ปีที่ 2 อาชีพพารวย เพื่อนคู่คิดนักเกษตร พ.ศ. 2555
เว็บไซต์เพื่อนเกษตร