การเพาะเห็ดโคนญี่ปุ่น (เห็ดยานางิ)


วัสดุ อุปการ์ที่สำคัญในการเพาะเห็ดโคนญี่ปุ่น

วัสดุเพาะ วัสดุเพาะที่นิยมมากที่สุด คือขี้เลื่อยจากไม้เนื้ออ่อน เช่น ไม้ยางพารา ไม้งิ้ว ไม้นุ่น ไม้ก้ามปู ไม้กระถินณรงค์ กากเป็นไม้เนื้อ   แข็ง เช่น ไม้มะขาม ไม้ทุเรียน ไม้ขนุน ต้องทำการหมักสลายยางไม้เสียก่อน วัสดุเพาะที่นิยมกรณีที่ไม่มีขี้เลื่อย คือ ฟางข้าว ต้นข้าวโพด   ต้นข้าวฟ่าง วัสดุเพาะดังกล่าวนี้หากนำไปเพาะเห็ด จะทำให้ผลผลิตค่อนข้างสูงคุณภาพดี ไม่มีกลิ่นไม้ รสชาติดีกว่า แต่ต้องทำการหมักจน  กว่าวัสดุเพะจะนิ่มและหอม จึงจะสามารถนำไปเพาะเห็ดโคนญี่ปุ่นได้  
สูตรอาหาร เห็ดโคนญี่ปุ่นเป็นเห็ดที่มีคุณค่าทางอาหารสูง ดังนั้น การที่จะเพาะเห็ดโคนญี่ปุ่นให้ได้ผลผลิตสูง คุณภาพดี ก็ควรทำการเสริม
สูตรอาหารสำหรับเห็ดโคนญี่ปุ่น
                                         
สูตรที่  1
สูตรที่  2
1. ขี้เลื่อยไม้ยางพารา   100     กิโลกรัม
1. ฟางข้าวสับ          100   กิโลกรัม
2. รำละเอียด                     7      กิโลกรัม
2. รำละเอียด                7    กิโลกรัม
3. ภูไมท์ซัลเฟต               3      กิโลกรัม
3. ภูไมท์ซัลเฟต              โลกรัม
4. ดีเกลือ                        0.2     กิโลกรัม
4. ดีเกลือ                     0.2  กิโลกรัม
5. ยิปซัม                            1      กิโลกรัม
5. ยิปซัม                         1  กิโลกรัม
6. ปูนขาว                          1       กิโลกรัม
6. ปูนขาว                       1 กิโลกรัม
7. ความชื้น                            65-70     %
7. ความชื้น                 65-70     %
8. ความเป็นกรด-ด่าง          5.5 -7 
8. ความเป็นกรด-ด่าง          5.5 -7 

การบรรจุถุงพลาสติก ถุงพลาสติกที่นำมาบรรจุวัสดุเพาะเห็ดนิยมใช้ถุงกันร้อน พับก้นเรียบร้อยแล้ว สำหรับวัสดุเพาะที่เป็นขี้เลื่อย นิยมใช้ถุง ขนาด 6.5 x 12.5 นิ้ว หนา 0.10 มม. ถ้าเป็นฟางใช้ 9x13 นิ้วหนา. 10มม. การบรรจุวัสดุเพาะลงในถุงนั้นควรบรรจุประมาณ 3 ใน 4ของความสูง กด ทุบ เพื่อให้วัสดุเพาะแน่นพอสมควรหรือพยายามให้อากาศเหลือน้อยที่สุดในถุง แล้วจึงใส่คอขวด อุดด้วยจุกประหยัดสำลี
การนึ่งฆ่าเชื้อจุลินทรีย์
การนึ่งฆ่าเชื้อนั้นจะนึ่งด้วยหม้อนึ่งแบบไหนก็ได้ สิ่งที่สำคัญที่สุดที่ควรระวัง คือ
1. อุณหภูมิที่ใช้ คืออุณหภูมิน้ำเดือดธรรมดา 98-100 องศาเซลเซียส
2. ต้องไล่อากาศออกให้สม่ำเสมอ เพราะนอกจากนึ่งเพื่อฆ่าเชื้อโรคแล้ว จะต้องไล่ก๊าซพิษออกให้หมด ด้วยวิธีการทดสอบว่าไล่ก๊าซพิษออกหมดหรือยังให้สังเกตจากกลิ่นด้วยการผ่าก้อนเชื้อและดมดูหรือดมกลิ่นไอที่ระบายออกมาจากหม้อนึ่ง ขณะที่ทำการนึ่ง ใช้เวลาการนึ่งนับตั้งแต่น้ำเดือดพ่นออกจากปากท่อระบายไอออกอย่างสม่ำเสมอ จึงทำการจับเวลา การจะใช้เวลานานเท่าไหร่ขึ้นอยู่กับชนิดและขนาดของหม้อนึ่ง  โดยปกติหากเป็นหม้อนึ่งขนาดเล็กที่นึ่งได้ไม่เกิน 100 ก้อน ใช้เวลานึ่งประมาณ 2 - 3 ชม. ขนาดไม่เกิน 1,000 ก้อน ใช้เวลานึ่ง 3 - 4 ชม.  หากใหญ่กว่านั้นให้ใช้เวลา 4-6 ชม.
3. เมื่อนึ่งสุกแล้ว เอาออกจากหม้อนึ่งไว้ในที่สะอาด จะให้ดีควรคลุมด้วยมุ้งผ้าฝ้าย เพื่อกันไม่ให้ฝุ่นหรือเชื้อโรคตกลงไป

การเขี่ยเชื้อ  
สำหรับหัวเชื้อที่ใช้ควรเป็นเชื้อบริสุทธิ์ไม่มีการถ่ายเชื้อหลายครั้งก่อนเขี่ยเชื้อควรทำการเขย่าเมล็ดข้าวฟ่างแยกออกจากกันก่อน  1-2 วัน เพื่อ
1. สะดวกแก่การนำไปใช้

2. เพื่อให้เมล็ดข้าวฟ่างแยกออกจากกัน เส้นใยเห็ดยังได้รับความบอบช้ำอยู่ หากนำเอาไปใช้เลย อาจถูกเชื้อโรคเข้าไปทำลายหรือแข่งขันได้3. เพื่อให้เชื้อเห็ดเจริญเข้าไปในเนื้อเมล็ดข้าวฟ่างมากขึ้น เพราะระยะแรกเส้นใยเห็ดเจริญเฉพาะบริเวณรอบๆเมล็ดนั้นจะทำให้ประหยัดและเชื้อเห็ดพุ่งแรงมาก4. ลดความเสี่ยงทั้งนี้เนื่องจาก หากเชื้อไม่บริสุทธิ์ หลังจากทำการเขย่าแล้วเชื้อคู่แข่งที่แฝงติดอยู่จะเจริญเติบโตอย่างรวดเร็วกว่า เชื้อเห็ดจะไม่เจริญหรือเจริญไม่สม่ำเสมอ ก็คัดทิ้งออกก่อนที่จะนำไปใช ้เพราะหากเชื้อไม่บริสุทธิ์เมื่อเอาไปใช้ก้อนเห็ดที่ใช้หัวเชื้อขวดนั้นก็คงเสียทั้งชุดหัวเชื้อเห็ดที่ยังไม่นำไปใช้เมื่อเชื้อเห็ดเจริญเต็มเมล็ดข้าวฟ่างแล้ว หากยังไม่นำเอาไปใช้ควรทำการเขย่า แล้วเก็บไว้ในตู้เย็นชั้นแช่ผักที่อุณหภูมิประมาณ 8 - 10 องศาเซลเซียส จะเก็บได้นานเป็นเดือนก่อนใช้นำมาเขย่าเก็บไว้อีก 2 - 3 วัน เพื่อให้เส้นใยเห็ดฟื้นตัวเสียก่อน วิธีการเขี่ยเชื้อหลังจากที่ก้อนวัสดุเพาะที่ผ่านการนึ่งฆ่าเชื้อแล้ว ให้นำเอาเข้ามาในห้องที่สะอาดหรือสถานที่ที่ทำการเขี่ยเชื้อ ถ้าเป็นห้องเขี่ยเชื้อควรเป็นห้องที่สะอาด ก่อนและหลังการนำเอาของเข้ามาในห้องเขี่ยเชื้อ ควรทำความสะอาดพื้นห้องทุกครั้ง ด้วยน้ำยาฆ่าเชื้อ เช่น แอลกอฮอล์ น้ำยาคลอรีนผสมน้ำเช็ดหรือถูพื้น ข้างฝาทุกๆ 10 - 15 วัน ควรปิดห้องเพื่อทำการอบฆ่าเชื้อในบรรยากาศหรือตามซอกตามมุม โดยใช้ด่างทับทิมผสมฟอร์มาลิน อบทิ้งไว้ 24 ชั่วโมง หากไม่มีห้องเขี่ยเชื้อ ให้ใช้มุ้งผ้าฝ้ายที่สะอาดคลุมกองก้อนวัสดุเพาะแล้ว จึงทำการเขี่ยเชื้อเห็ดลงไปก่อนที่จะทำการเขี่ยเชื้อลงไปนั้นให้ใช้ แอลกอฮอล์ หรือ น้ำยาคลอรีน เช็ดปากขวดหัวเชื้อเสียก่อน จากนั้นจึงเทหัวเชื้อใส่เข้าไปยังปากถุงอย่างรวดเร็วโดยการเปิดจุกประหยัดสำลีออก ใส่หัวเชื้อลงไป 15 - 20 เมล็ด ก็พอ รีบปิดปากถุงตามเดิมทันที  จากนั้นจึงทำการเทหัวเชื้อในถุงต่อไปทันที หากเป็นไปได้ อย่าพยายามตั้งขวดหัวเชื้อขึ้น เพราะเท่ากับเป็นการดูดเอาอากาศที่สกปรกเข้าไป หัวเชื้อเห็ดโคนญี่ปุ่น 1 ขวด เขี่ยได้ 50 ถุง


การบ่มเชื้อ
หลังจากการใส่หัวเชื้อเห็ดโคนญี่ปุ่นลงไปแล้ว นำเอาไปบ่มในห้อง สำหรับการบ่มเชื้อ หรือ โรงเรือนสำหรับเปิดดเลยในระยะ
ที่ทำการบ่มเชื้อนั้น ไม่มีการรดน้ำ ไม่ต้องการแสง ดังนั้นภายในโรงบ่มมีเพียงแสงสลัวๆก็พอ เพราะถ้าหากแสงมากเกิเส้นใยเห็ดจะเจริญ
ช้า และต้องการอุณหภูมิห้องธรรมดา ประมาณ 24-28 องศาในการบ่มก้อนเชื้อเห็ดโคนญี่ปุ่น จะใช้เวลาประมาณ 50 วัน เชื้อจะเดินเต็มถุง แล้วจึงจะนำไปเปิดปากถุง 

การกระตุ้นให้ออกดอก
เมื่อเส้นใยเห็ดเจริญเต็มวัสดุเพาะแล้ว สามารถนำไปกระตุ้นให้เกิดดอกได้ โดยเห็ดโคนญี่ปุ่นต้องการปัจจัยในการออกดอก ดังนี้
1. ต้องการพักตัวในการสะสมอาหารก่อนการเปิดดอก
2. อากาศในโรงเรือนมีการถ่ายเทของอากาศ ปานกลาง
3. อุณหภูมิในช่วงของการเปิดดอก 24-30 องศาเซลเซียส
4. ความชื้นที่ต้องการ 80 - 85 %
5. ออกดอกรุ่นแรก 10 วัน
6. อายุดอก 1 วัน
7. เว้นระยะแต่ละรุ่น 15-20 วัน
8. จำนวนครั้งที่มีดอก 12-18 ครั้ง
9. ผลผลิตเฉลี่ย/รอบ 20-25 กรัม
10. ผลผลิตเฉลี่ย/ก้อน 200-250 กรัม
11. ราคาประกันรับซื้อ 120 บาท/กก.
การดูแลรักษาสำหรับช่วงที่ทำให้เกิดดอกเห็ดนี้ ควรศึกษาสภาพแวดล้อม และปัจจัยที่มีผลกระทบต่อดอกเห็ดให้ถ่องแท้ เพราะจะทำให้การแก้ปัญหา ได้
อุปสรรค ปัญหาและการแก้ไข ของเห็ดโคนญี่ปุ่น (บางส่วน)
เขี่ยเชื้อเห็ดลงไปแล้ว เส้นใยเห็ดไม่เจริญออกมาเป็นดอกเห็ด
มีหลายสาเหตุ ด้วยกัน คือ
**** เชื้อเห็ดตาย หรือเสีย
**** ทำการเขี่ยเชื้อเห็ดในขณะที่ก้อนวัสดุยังร้อนเกินไป
**** ก้อนวัสดุเพะมีก๊าซพิษ เช่น แอมโมเนียหลงเหลืออยู่
เชื้อเห็ดเจริญเติบโตไม่ถึงก้นถุงแล้วหยุดชะงัก
อาจมีสาเหตุมาจาก
**** ก้อนเชื้อเปียก หรือ มีความชื้นมากเกินไป
**** อุณหภูมิห้องบ่มสูงเกินไป ในกรณีนี้ ควรทำการรดน้ำที่พื้นโรงเรือน พร้อมทั้งเปิดประตู หรือฝาด้านข้างให้ลมโกรกเอาความร้อนออก
ดอกเห็ดที่เกิดรุ่นหลัง ดอกเห็ดแห้งเหี่ยวตาย
อาจมีสาเหตุมาจาก
**** เกิดจากการรักษาระดับความชื้นไม่พอดี
****รดน้ำมากเกินเชื้อแบคทีเรียเข้าไปทำลายดอกเห็ด ดังนั้น ในระยะออกดอกอย่าพยายามรดน้ำให้ถูกดอกเห็ดมากเกินไป ควรรดเฉพาะ
ที่พื้น ข้างฝา เพดาน และฉีดเป็นฝอยละเอียดไปที่ดอกเห็ดเล็กน้อย
ก้อนเชื้อหมดอายุเร็ว และให้ผลผลิตต่ำ
**** วัสดุเพาะถูกหมักนานเกินไป ก่อนที่จะนำเอามาเพาะเห็ด
**** ใช้ขี้เลื่อยไม่เนื้ออ่อนเกินไป
**** มีการสะสมเชื้อโรคภายในโรงเรือน ทำให้เชื้อจุลินทรีย์เข้ามาทำลายเชื้อเห็ดได้
อ้างอิงจาก
นาย สิทธิกาญจน์ ไทยเจียมอารีย์

Share this video :

บทความที่ได้รับความนิยม

 
Support : |
Copyright © 2011-2012 อาชีพพารวย - All Rights Reserved
เข้าสู่ปีที่ 2 อาชีพพารวย เพื่อนคู่คิดนักเกษตร พ.ศ. 2555
เว็บไซต์เพื่อนเกษตร