การปลูกองุ่น




ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับองุ่น

ประโยชน์ขององุ่น
        องุ่นเป็นผลไม้ที่มีประโยชน์หลายประการ แต่ต้องเลือกนำมาใช้ประโยชน์ให้เหมาะสมกับ
ชนิดและพันธุ์ขององุ่น เพราะนอกจากใช้รับประทานสดแล้ว ยังสามารถนำไปแปรรูปทำเป็น
อุตสาหกรรมอื่น ๆ อีกหลายชนิด

ประโยชน์ขององุ่นในปัจจุบันสามารถแบ่งได้เป็น 5 ประเภท ดังนี้
1. ใช้รับประทานสด
2. ใช้ตากแห้ง (ลูกเกด)
3. ใช้ทำเหล้าองุ่น (wine)
4. คั้นทำน้ำองุ่นสด
5. บรรจุกระป๋อง

ชนิดและพันธุ์องุ่น
         ชนิดและพันธุ์ขององุ่นมีมากมายนับเป็นพันเป็นหมื่นชนิด เนื่องจากมีการนำพันธุ์ต่าง ๆ
มาผสมพันธุ์กันโดยเฉพาะนำพันธุ์จากยุโรปและอเมริกาซึ่งนิยมปลูกองุ่นกันมากมาผสมพันธุ์กัน
เพื่อให้ได้พันธุ์ที่เหมาะสมกับสภาพที่ปลูกการปลูกองุ่นจะต้องคำนึงถึงความประสงค์ที่จะใช้
ประโยชน์ตามที่ตลาดต้องการเนื่องจากบางพันธุ์ เหมาะสมกับการรับประทานสด บางพันธุ์
เหมาะกับการทำองุ่นแห้ง บางพันธุ์เหมาะกับการทำเหล้าองุ่น (wine) ด้วยเหตุนี้จึงกล่าวถึง
ชนิดและพันธุ์ขององุ่น เพื่อประโยชน์ในด้านต่าง ๆ ดังนี้

การขยายพันธุ์และวิธีการปลูกองุ่น
พื้นที่สำหรับปลูกองุ่น
การปลูกองุ่นให้ได้ผลดี ต้องพิจารณาพื้นที่ที่จะปลูก ดังนี้
1. ดินมีความอุดมสมบูรณ์ดี
2. มีอากาศที่เหมาะสม
3. เป็นพื้นที่ปราศจากโรคและแมลงรบกวนหรือมีน้อย

ลักษณะของดิน
แม้ว่าองุ่นจะขึ้นได้ในพื้นที่ดินเกือบทุกชนิดก็ตามแต่สำหรับเมืองไทยเห็นว่าจำเป็นต้องเลือกดินร่วนปนทราย มีอินทรียวัตถุสมบูรณ์ระบายน้ำได้ดีรวมทั้งดินมีความโปร่งชุ่มชื้นซึ่งรากจะไชชอนหาอาหารได้ดีหากดินที่ปลูกขาดธาตุอาหารชนิดใดควรเสริมให้สมบูรณ์ซึ่งองุ่นชอบดินที่เป็นกรดอ่อน มีค่า pH ระหว่าง 5.5 - 5.6

ความชื้นและอากาศ
องุ่นเจริญเติบโตได้ดีในพื้นที่ที่อุณหภูมิค่อนข้างสูง แสงแดดจัด ความชื้นในอากาศต่ำระดับน้ำฝนไม่ควรเกิน 40 นิ้ว และไม่น้อยกว่า 15 นิ้วต่อปี นอกจากนี้ ควรมีการชลประทานช่วย เพราะในบางระยะองุ่นมีความต้องการน้ำมาก เช่น ในระยะเริ่มติดผลปราศจากโรคและแมลงดินฟ้าอากาศมีส่วนทำให้แมลงเจริญ
เติบโตได้ง่ายการเลือกพื้นที่ ที่จะปลอดภัยจากโรคและแมลงอาจทำได้ยากอย่างไรก็ตาม ต้องสังเกตุพื้นที่รอบ ๆ ที่จะปลูกองุ่น เช่น ไม่รกรุงรัง ชาวไร่ข้างเคียงสนใจต่อการป้องกันโรคและแมลงหรือไม่  ทั้งนี้ในปัจจุบันความก้าวหน้าในการป้องกันโรคและแมลงมีความก้าวหน้ามาก สามารถที่จะต่อสู้ได้ แต่ก็ไม่ควรต้องลงทุนสูง

การขยายพันธุ์องุ่น
องุ่นเป็นผลไม้ที่ขยายพันธุ์ได้ง่ายรวดเร็วส่วนมากชาวไร่องุ่นจะซื้อพันธุ์จากสถานที่จำหน่ายพันธุ์มาปลูกเพราะเป็นการสะดวกแต่ถ้าหากว่าผู้ปลูกทำการขยายพันธุ์เองจะเป็นการประหยัดและมีความมั่นใจพันธุ์ที่นำมาปลูกอย่างไรก็ตาม ผู้ปลูกองุ่นควรมีความรู้ ความชำนาญสามารถขยายพันธุ์ได้เองจะเป็นการลดต้นทุน ซึ่งการขยายพันธุ์องุ่นสามารถทำได้ถึง 6 วิธี
1. การเพาะเมล็ด
2. การตัดกิ่งปักชำ
3. การติดตา
4. การทับกิ่ง
5. การตอน
6. การต่อเสียบ

การขยายพันธุ์แต่ละวิธีมีขั้นตอนและรายละเอียด ดังนี้
1. การขยายพันธุ์ด้วยการเพาะเมล็ด
    การขายพันธุ์ด้วยวิธีนี้ ไม่ค่อยนิยมกันมากนัก เพราะพันธุ์ที่ได้จะออกดอกออกผลช้า ไม่ตรงตามพันธุ์ บางพันธุ์มีเมล็ดเว้นแต่จะทำการผสมพันธุ์แล้วเพาะเมล็ดเพื่อได้พันธุ์ที่ดีกว่าเดิม วิธีการเพาะเมล็ดทำได้โดยการเก็บเมล็ดจากผลองุ่นที่สุกแก่เต็มที่แล้ว นำไปเก็บไว้ในทรายชื้นหรือในตู้เย็นสัก2 - 3 เดือน เพื่อให้มีการพักตัว หลังจากนั้นนำไปเพาะในกระบะหรือในแปลงเพาะโดยใช้ขี้เถ้าแกลบผสมกับทรายหยาบและปุ๋ยคอกลงไปด้วยหว่านเมล็ดองุ่นลงในกระบะเพาะหรือในแปลงเพาะใช้หญ้าแห้งหรือฟางแห้งคลุมไว้เพื่อรักษาความชื้น รดน้ำให้ชุ่มชื้นทุกวันประมาณ 20 - 30 วัน จะเริ่มงอกแตกเป็นต้นสูงประมาณ 20 เซนติเมตรแยกนำไปชำในถุงพลาสติกหรือในแปลงชำ เมื่อลำต้นแข็งแรงสามารถนำไปปลูกในพื้นที่ที่เตรียมไว้

2. การขยายพันธุ์ด้วยการตัดกิ่งปักชำ
    การขยายพันธุ์ด้วยวิธีนี้ จะได้พันธุ์ตรงตามพันธุ์เดิม โดยตัดจากกิ่งองุ่นที่แก่ มีอายุไม่เกิน 1 ปีควรใช้กิ่งขนาดกลาง มีข้อถี่ ตัดยาวประมาณ 7 - 8 นิ้ว เลือกกิ่งที่มีตาบริสุทธิ์ไม่บอดไม่เสียการปักชำ จะปักลงในกระบะทรายหรือในแปลงปักชำก็ได้ โดยใช้ขี้เถ้าแกลบผสมกับทรายและปุ๋ยคอก ราดด้วยยาฆ่าเชื้อรา
เช่น ยาบอร์โดมิกซ์เจอร์ แล้วนำกิ่งที่เตรียมไว้มาปักชำควรปักลงไปในดินไม่น้อยกว่า 2 ข้อ มีตาเหลือพ้นดิน 2 - 3 ตา ควรปักให้เอนไปทางทิศตะวันตกหันตาไปทางทิศตะวันออก กดดินที่โคนกิ่งให้แน่น อย่าให้ถูกแสงแดดมาก รดน้ำให้ชุ่มชื้นอยู่เสมอ แต่อย่าให้แฉะ ประมาณ 15 - 20 วัน ก็จะแตกใบอ่อน เมื่อแตกกิ่งและมีใบแข็งแรง ให้แยกไปชำในถุงพลาสติกที่บรรจุดินผสมปุ๋ยคอก และขี้เถ้าแกลบเพื่อให้เติบโตจึงนำไปปลูกต่อไปหรือจะนำไปชำในแปลงชำ จนกระทั่งสามารถนำไปปลูกในไร่ได้ ซึ่งใช้เวลาประมาณ 7 - 8 เดือน อย่าชำไว้นานเพราะเมื่อย้ายไปปลูกจะทำให้ต้นแคระแกรน ลำบากต่อการย้ายไปปลูกซึ่งการย้ายกิ่งปักชำไปปลูกในไร่ให้ตัดเถาเหลือ 2 - 3 ตา พ่นยาป้องกันโรคก็สามารถปลูกในไร่ต่อไปได้

3. การขยายพันธุ์ด้วยวิธีติดตา
    การขยายพันธุ์ด้วยวิธีนี้ ส่วนใหญ่จะทำเพื่อนำตาขององุ่นพันธุ์ดีไปติดกับต้นตอที่เป็นพันธุ์ไม่ดีแต่แข็งแรงวิธีทำให้เฉือนตาต้นพันธุ์ดีเข้าไปในเนื้อไม้แล้วบากต้นตอให้มีลักษณะเดียวกับตาที่เฉือนมา นำเนื้อไม้ที่มีตาสอดเข้าไปในรอยบากของต้นตอมัดด้วยเชือกพลาสติกหรือเชือกกล้วย แล้วพันด้วยผ้าพลาสติก หรือผ้าชุบขี้ผึ้งโดยเปิดตาไว้ เมื่อตาแตกกิ่งและรอยที่ต่อติดแน่นแล้ว จึงแก้เชือกและผ้าพลาสติกที่พันออก อย่าปล่อยทิ้งไว้ให้นานมาก หากไม่แก้ออกจะทำให้กิ่งคอดไม่เติบโต

4. การขยายพันธุ์ด้วยการทับกิ่ง
    การขยายพันธุ์องุ่นด้วยวิธีนี้ สามารถขยายพันธุ์กับองุ่นได้ทุกพันธุ์ซึ่งได้ผลแน่นอนวิธีทำก็คือโน้นเถาองุ่นที่มีอายุตั้งแต่ 1 ปีขึ้นไป ตัดแขนง ใบ และยอดอ่อนทิ้ง นอนเถาลงในรางที่ขุดลึก3 - 5 นิ้ว  ใช้ไม้ไผ่หรือลวดทำเป็นง่ามปักคร่อมเถาไว้ ป้องกันการหลุดเลื่อน ใช้ดินผสมกับ ปุ๋ยคอก หรือหญ้าผุ ๆกลบทับให้มิดพูนดินทับให้สูงกว่าระดับดินคลุมด้วยหญ้าหรือฟางรดน้ำให้ชุ่มชื้นอยู่เสมอ ประมาณ 1 - 2 เดือนก็จะออกรากตามข้อกิ่งและแตกยอดเป็นกระโดงเมื่อพ้นดินพอสมควรแล้วให้ตัดเป็นท่อนๆระหว่างข้อให้มียอดกระโดงท่อนละ 1 กระโดงนำไปชำในถุงพลาสติกเมื่อตั้งตัวแข็งแรงดีแล้วก็สามารถนำไปปลูกได้

5. การขยายพันธุ์ด้วยวิธีการตอน
    การตอนเพื่อการขยายพันธุ์องุ่นไม่เหมือนกันกับการตอนต้นไม้ทั่ว ๆ ไปซึ่งต้องควั่นกิ่งส่วนการตอนต้นองุ่น  ให้นำดินหุ้มตรงข้อแล้วใช้มอสหรือกาบมะพร้าวหุ้มดินห่อด้วยพลาสติกหรือใบตองรดน้ำให้ชุ่มชื้นประมาณ 10 - 15 วัน ก็ออกรากหลังจากนั้นตัดกิ่งตอนนำไปชำในกระบะทรายหรือขี้เถาแกลบเมื่อกิ่งตอนแตกใบแข็งแรงดีแล้ว สามารนำไปปลูกได้

6. การขยายพันธุ์ด้วยการต่อเสียบ
    การขยายพันธุ์ด้วยการต่อเสียบทำได้หลายวิธี แต่จะกล่าวเฉพาะการต่อเสียบในแปลง วิธีทำก็คือขุดดินโคนต้นองุ่นที่ใช้ทำเป็นต้นตอ ลึกประมาณ 4 - 5 นิ้วแล้วใช้มีดหรือเลื่อยตัดต้นตอให้เสมอระดับดินหลังจากนั้นใช้มีดคม ๆ ผ่าต้นตอตรงกลางเพื่อให้แยกออกเป็น 2 ส่วน ลึกประมาณ 2 นิ้ว ตัดกิ่งองุ่นพันธุ์ดีมีตาบริสุทธิ์ เอามีดปาดกิ่งให้เป็นลิ่มแล้วเสียบลงในช่องของต้นตอที่ผ่าไว้ให้เปลือกของกิ่งกับเปลือกของต้นตอประสานกันให้สนิท ใช้เชือกหรือพลาสติกพันรัดให้แน่น กลบดินพูนขึ้นทับตาบนกิ่งพันธุ์ดีเมื่อตาแตกกิ่งให้เอาเชือกหรือพลาสติกออก กิ่งองุ่นที่เสียบใหม่จะเจริญเติบโตเป็นองุ่นพันธุ์ดีต่อไป

วิธีการปลูกองุ่น
การเตรียมพื้นที่
    องุ่นชอบดินร่วนที่อุดมสมบูรณ์ด้วยอินทรียวัตถุ มีความชุ่มชื้นระบายน้ำได้ดีการเตรียมดินสำหรับปลูกองุ่น มีวิธีการดังนี้

1. พื้นที่ดินทราย ซึ่งเป็นดินที่ไม่ค่อยอุดมสมบูรณ์ควรปลูกพืชตระกูลถั่วเพื่อเป็นการบำรุงดินโดยปลูกไว้ล่วงหน้าแล้วไถกลบเมื่อออกดอก

2. พื้นที่ดินเหนียว น้ำท่วมถึง ให้ทำการยกร่องให้สูงอย่าให้น้ำท่วมถึงใส่ปุ๋ยหมักและทรายหยาบผสมลงในดินเพื่อให้ดินโปร่งร่วนซุย

3. พื้นที่ดินดอนหรือลาดเขา ให้ทำการไถให้ลึก ตากดินไว้สัก 1 สัปดาห์ ปลูกพืชตระกูลถั่ว แล้วไถกลบเมื่อออกดอกจะเป็นการทำให้ดินมีลักษณะดีขึ้น

วิธีปลูก
    เมื่อเตรียมพื้นที่เสร็จเรียบร้อยแล้วให้กะระยะในการขุดหลุมปลูกหากเป็นดินที่อุดมสมบูรณ์ควรปลูกให้ห่างกันระหว่างต้น 2.50 - 3.00 เมตร      ระหว่างแถว4.00 เมตร ถ้าเป็นดินเหนียวก็ให้ถี่ลงกว่านี้ทั้งนี้การกะระยะปลูกขึ้นอยู่กับสภาพท้องที่และพันธุ์องุ่นที่ปลูกประกอบด้วย  แถวที่ปลูกองุ่นควรยกเป็นลูกฟูกตลอดแถวอย่างน้อยกว้าง 1.50 เมตร หากเป็นที่ลาดให้ทำร่องขวางเพื่อป้องกันการพังของดิน

การขุดหลุมปลูก
    ให้ขุดหลุมกว้าง 1 เมตร ลึก 1 เมตร แยกดินปากหลุมและก้นหลุมไว้ต่างหากตากดินให้ แห้งประมาณ15 - 20 วัน ผสมดินปากหลุมกับปุ๋ยคอกไว้ก้นหลุมและผสมดินก้นหลุมกับปุ๋ยคอกไว้ ปากหลุมแล้วจึงนำต้นองุ่นลงปลูก ตัดกิ่งเล็ก ๆ ออกเหลือแต่ลำต้นมีตา 2 - 3ตา ตัดรากที่ไม่แข็งแรงออก นำดินที่ผสมปุ๋ยคอกกลบดินที่โคนให้เป็นโคกนูน กดดินให้แน่นปักหลักผูกลำต้นกันโยนคลอน รดน้ำให้ชุ่ม ใช้ใบมะพร้าว หรือใบไม้ทำกำบังแสงแดด หลังจากปลูกประมาณ 1 เดือน จะแตกตาแตกกิ่ง แตกใบงอกงามเจริญเติบโตแข็งแรงการปลุกองุ่นควรปลูกต้นฤดูฝนซึ่งจะเป็นการประหยัดในเรื่องการรดน้ำ



ค้างองุ่น
    เนื่องจากองุ่นเป็นพันธุ์ไม้เลื้อยหากปลูกแล้วไม่ทำค้าง เถาองุ่นจะเลื้อยไปตามพื้นดินทำให้ เจริญเติบโตช้า เกิดโรคได้ง่าย ผลที่ออกมาก็จะกองอยู่กับพื้นดิน เกิดการเน่าเสียจึงจำเป็นต้องทำค้างให้องุ่นที่ปลุกเลื้อยขึ้นค้างการทำค้างองุ่น ที่นิยมกันมี 3 แบบ ดังนี้

1. การทำค้างแบบร้านสูง หรือร้านเตี้ย โดยใช้ไม้ระแนงตีเป็นร้านจะให้สูงหรือเตี้ยก็แล้วแต่ ความต้องการหรือจะใช้ลวดตาข่ายห่าง ๆ ขึงก็ได้ เมื่อองุ่นออกผลพวงองุ่นจะห้อยลงมาใต้ร้าน แต่ มีข้อเสียก็คือ ยากแก่การตัดแต่ง และการป้องกันโรค

2. การทำค้างแบบรั้ว วิธีการคือ ใช้เสาไม้หรือเสาซีเมนต์หรือเสาเหล็กปักเป็นแถวยาว เสาต้นแรกและต้นสุดท้ายต้องแข็งแรง เพื่อเป็นตัวยึดเหนี่ยวลวดในเวลาขึงจะได้มั่นคง ส่วนเสาตรงกลางจะเล็กบางก็ได้ความสูงของเสาเมื่อปักลงไปในดินแล้วให้เหลือความสูงไว้เท่ากับความสูงของคน หรือสูงกว่าเล็กน้อยการปักเสาห่างกันประมาณ 12 - 15 ฟุต การขึงลวดจะขึงกี่เส้นก็ได้ แต่ ลวดเส้นล่างต้องสูงกว่าพื้นดินไม่น้อยกว่า 60 เซนติเมตร ลวดที่ใช้ขึงจะใช้ลวด เบอร์ 9 หรือเบอร์ 10 หรือเบอร์ 11 ก็ได้แต่มือองุ่นมักชอบเกาะลวดเส้นเล็กมากกว่าลวดเส้นใหญ่ หากไม่ใช้ลวดขึงจะใช้ ไม้ระแนงแทนลวดก็ได้ แต่จะสิ้นเปลืองมากว่าการใช้ลวด ข้อดี ของการทำค้างแบบรั้ว คือ สะดวกต่อการตัดแต่ง การบำรุงรักษา การป้องกันโรคและศัตรูพืช

3. การทำค้างแบบค้างเตี้ยเป็นรูปตัวที หรือรูปไม้กางเขน โดยใช้เสาไม้หรือเสาซีเมนต์ปักเป็นแถวให้สูงจากพื้นดิน 5 - 6 ฟุต ตอนบนของหัวเสาใช้ไม้ตีเป็นรูปไม้กางเขนยาว1.00 - 1.20 เมตร สามารถขึ้นลวดได้ 3 - 4 แถว เพื่อให้เถาองุ่นจับเกาะค้าง แบบนี้ใบองุ่นสามารถรับแสงแดดได้เต็มที่ ง่ายต่อการตัดแต่งและการป้องกันโรควัสดุอุปกรณ์ที่นำมาใช้ทำค้างองุ่น ไม่จำเป็นต้องใช้วัสดุดังกล่าวเสมอไป จะใช้วัสดุที่มีอยู่ในท้องถิ่น เช่นไม้ไผ่ ไม้รวกก็ได้ตามความเหมาะสม ทั้งในด้านความสะดวกและการประหยัดตอนที่ 4 การเลี้ยงเถาองุ่น การตัดแต่ง และการเก็บผลองุ่น

การเลี้ยงเถาองุ่นและการตัดแต่ง
     องุ่นที่ปลูกในเมืองไทย มีอายุการออกดอกติดผลเร็วกว่าองุ่นที่ปลูกในต่างประเทศ เพราะจะออกดอกติดผลได้ภายในระยะเวลา 1 ปี ดังนั้นการตัดแต่งจะกระทำได้เมื่อองุ่นที่ปลูกมีอายุเพียง 7 - 8 เดือน แต่ทั้งนี้ก็ย่อมขึ้นอยู่กับสภาพพื้นที่ที่ปลูก ดินฟ้าอากาศและชนิดพันธุ์ที่ปลูกประกอบด้วยการแต่งและตัดเถาองุ่น แบ่งได้ 2 ประการ คือ

1. แต่งและตัดเพื่อให้องุ่นที่ปลุกแตกกิ่งก้านสาขาได้รูปทรงเข้ากับหลักหรือค้างที่ทำไว้
2. แต่งและตัดเพื่อบังคับให้องุ่นแตกกิ่งออกดอกติดผลตามความต้องการ

    การแต่งและตัดตามข้อ 1 เพื่อให้ได้รูปทรงตามความต้องการ ต้องดำเนินการตั้งแต่ปลูก หากองุ่นที่ปลูกไม่แข็งแรงให้ตัดต้น เหลือตาเพียง 2 - 3 ตา เมื่อแตกกิ่งจากตาแล้วตัดกิ่งออกเหลือกิ่งที่ แข็งแรงเพียง 1 กิ่ง เพื่อใช้เป็นเถาใหญ่ ต้องคอยเด็ดกิ่งแขนงข้าง ๆ ออกให้เหลือแต่ยอดเถาเดียว ผูกเถากับค้างหรือหลัก ให้ยึดเกาะเมื่อเถาเจริญเติบโตเป็นสีน้ำตาล ก็ตัดยอดหรือปลายของเถานั้นตามความต้องการตามปกติจะต้องตัดเหลือแค่ลวดเส้นล่าง องุ่นจะแตกกิ่งจากตาปลายแถวเป็นหลายกิ่ง เลือกตัดให้เหลือ 1 - 2 กิ่ง ซึ่งจะเป็นแขนงขององุ่น มัดกิ่งแขนงนี้เข้ากับค้างตามความต้องการการแต่งและตัดตามข้อ 2 เพื่อบังคับให้ออกผลนั้นต้องดำเนินนการเมื่อองุ่นขึ้นค้างเข้ารูปทรงตามข้อ 1แล้ว วิธีการคือ เมื่อกิ่งแขนงเจริญเติบโตจนยาวให้ตัดยอดของแขนงนั้นออก เหลือไว้ตามที่ ต้องการโดยคำนึงถึงระยะของต้น ขนาดของค้าง และหลักที่ทำไว้ซึ่งกำหนดไว้ว่าจะมีตาแตกจากแขนงนี้กี่ตา เมื่อตาบนแขนงนี้แตกเป็นกิ่งเจริญเติบโตจนเป็นกิ่งแก่มีสีน้ำตาล ให้ตัดกิ่งให้สั้นเป็นตอกิ่ง มีตาเหลือ 2 - 3 ตา เพื่อให้เกิดกิ่งจากตาของตอกิ่งที่เหลือไว้ กิ่งที่เกิดเมื่อสมบูรณ์แข็งแรงจะออกดอกติดผลเมื่อออกผลแล้วต้องเลี้ยงกิ่งนี้ไปจนเป็นกิ่งแก่จึงตัดให้สั้นเข้าเหลือตาไว้ 2 - 3 ตา เพื่อให้เป็นตอกิ่ง

ซึ่งจะแตกกิ่งต่อไป และกิ่งที่แตกนี้เจริญเติบโตแข็งแรงก็จะออกดอกติดผลการตัดแต่งกิ่ง ถ้าเห็นว่างอกกิ่งมากเกินไป ควรตัดออกบ้างเพื่อมิให้แยกอาหาร กิ่งที่ตัดออกนี้หากเป็นกิ่งแก่สามารถนำไปปักชำเป็นพันธุ์ต่อไปการเด็ดตาตาที่แตกเป็นกิ่งซ้อนขึ้นมาใหม่ ถ้าไม่มีประโยชน์ควรตัดทิ้งยิ่งเห็นว่าเป็นตาที่ไม่สมบูรณ์ควรรีบตัดทิ้งไปการตัดมือความจริงมือขององุ่นมีไว้เพียงเพื่อยึดเกาะรับน้ำหนักของกิ่ง ถ้ามากเกินไปควรตัดทิ้ง หากปล่อยไว้ก็จะแย่งอาหาร และเมื่อองุ่นตายจะแกะมือออกค่อนข้างยากอายุการตกผลและการเก็บผลองุ่นตามปกติองุ่นจะตกผลปีละครั้ง สำหรับองุ่นในเมืองไทย หากต้นแข็งแรงเจริญเติบโตดีจะให้ผลในระยะ 1 ปี การตกผลจะราวต้นเดือนกันยายน - ตุลาคม และแก่เก็บได้ราวปลายเดือนธันวาคม - มกราคม สำหรับองุ่นที่ตกผลปีละ 2 ครั้งนั้นจะตกผลในเดือนกันยายนถึงตุลาคม ผลจะแก่เก็บได้ ในเดือนธันวาคม - มกราคม และจะตกผลในครั้งที่สองเดือนกุมภาพันธ์ ผลจะแก่เก็บได้ในเดือนพฤษภาคม ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับชนิดของพันธุ์การบำรุงรักษาสภาพพื้นที่รวมทั้งดินฟ้าอากาศอายุขององุ่น หากบำรุงรักษาเป็นอย่างดี สามารถจะออกผลได้นานถึง 50 - 60 ปี ส่วนการที่องุ่นจะเริ่มตกผลเมื่ออายุ 1 ปีนั้นจะเกิดขึ้นเฉพาะองุ่นที่ขยายพันธุ์ด้วยการตัดกิ่ง ปักชำ ติดตา ทับกิ่ง ต่อกิ่งและตอนส่วนการขยายพันธุ์ด้วยการเพาะเมล็ดจะตกผลเมื่ออายุ 3 - 4 ปี


การเก็บผลองุ่น
    ระยะเวลาการเก็บผลองุ่นจะกำหนดให้แน่นอนทำได้ยาก รวมทั้งการเก็บผลก็แล้วแต่ประโยชน์ที่จะนำไปใช้ เช่น รับประทานสด ตากแห้งหรือทำเหล้าองุ่นต้องใช้ ดุลยพินิจและความชำนาญและฤดูกาล อย่างไรก็ตามมีข้อสังเกตบางประการนำมาประกอบการพิจารณาในการเก็บผล ดังนี้
1. แสดงสีตามพันธุ์ออกมา เช่น สีเขียวเมื่อแก่ และสุกก็จะเป็นสีขาว
2. รสและกลิ่นหอมหวาน
3. เนื้ออ่อนนุ่ม
4. ขั้วเปลือกจากสีเขียวเป็นสีน้ำตาล
5. ผลดึงหลุดจากพวงได้ง่าย
6. เมล็ดล่อนจากเนื้อเป็นสีน้ำตาล  นอกจากนี้ อาจจะใช้วิธีเก็บมาชิมเพราะองุ่นบางพันธุ์เมื่อตัดแล้วนำมาแขวนทิ้งไว้สัก2 - 3 วัน จะมีรสหวานขึ้น แสดงว่าองุ่นแก่และสุก สามารถเก็บได้

วิธีเก็บ
     ใช้กรรไกรค่อย ๆ ตัดพวงองุ่นจากเถาอย่าใช้มือดึง เมื่อตัดแล้วใส่กระบะหรือถาด นำไปเก็บไว้ในห้องเย็นจะอยู่ได้นาน

การจัดการและการตลาด
ปัจจัยทางด้านการตลาดขององุ่น
การตลาด  หมายถึง การกระจายหรือเคลื่อนย้ายของสินค้า และบริการจากผู้ผลิตไปยังผู้บริโภค ในปัจจุบันตลาดในประเทศไทยและต่างประเทศมีความต้องการผลองุ่นเพิ่มมากขึ้น อย่างไรก็ตามผู้ปลูกองุ่นมักจะคำนึงถึงด้านการปลูกองุ่นเพื่อให้ได้ผลผลิตสูงมากกว่า  ปัญหาทางด้านการตลาด ซึ่งจะมี ปัญหาเกิดขึ้นในภายหลัง ดังนั้น เพื่อมิให้ผู้ปลูกองุ่นเป็นอาชีพหลักหรืออาชีพเสริมต้องขาดทุนจึงควรศึกษา และเลือกตัดสินให้ถูกต้อง โดยวางแผนดำเนินการ ดังนี้

1. จำนวนองุ่นที่ปลูกและพันธุ์ที่ปลูก

ต้องพิจารณาความต้องการของตลาดหลาย ๆ แห่ง เพื่อพิจารณาดูว่าตลาดมีความต้องการมากน้อยแค่ไหน ต้องการองุ่นพันธุใดมากที่สุด มีความแปรผันในด้านราคาห่างกันประมาณเท่าใด เพื่อเป็นข้อมูลในการปลูกและการคัดเลือกพันธุ์องุ่นที่จะปลูก

2. การขายผลผลิต

การขายองุ่นมีทางเลือกหลายทาง เช่น ขายให้ผู้บริโภคโดยตรง ขายให้พ่อค้าคนกลาง ขายโดยผ่านสหกรณ์ หรือขายโดยการตกลงทำสัญญาล่วงหน้า ซึ่งผู้ปลูกองุ่นต้องพิจารณาเลือกให้ถูกต้อง หากเลือกได้ถูกต้องจะมีส่วนช่วยเพิ่มผลกำไรได้มาก

3. ระยะเวลาในการจำหน่าย
โดยปกติราคาองุ่นในตลาดแต่ละแห่งมีการเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับสถานการณ์ต่าง ๆ เช่น ช่วงเทศกาล ปริมาณผลผลิต ผู้ปลูกองุ่นจำเป็นต้องวางแผนในการจำหน่าย โดยการเลือกเวลาที่เหมาะสม อาจจำหน่ายผลสดหรืออาศัยการเก็บรักษาผลผลิตไว้จำหน่ายในช่วงเวลาที่ได้ราคา หรือแปรรูปเพื่อจำหน่ายได้ระยะเวลานาน

4. สถานที่จำหน่าย
     ผู้ปลูกองุ่นทั่วไปต้องพิจารณาว่าจะขายผลผลิตที่ไหน เพราะตลาดที่รับซื้อแต่ละแห่งจะแตกต่างกันเนื่องจากปัจจัยอื่น ๆ ไม่เหมือนกัน เช่น การขนส่งจำนวนที่พ่อค้าสามารถขายได้มากน้อย เป็นต้น ดังนั้น จะต้องเอาปัจจัยนี้มาพิจารณาด้วย เพื่อจะได้กำไรจากการขายมากที่สุดอย่างไรก็ตาม ผู้ปลูกองุ่นเพื่อการจำหน่าย สิ่งที่ต้องคำนึงถึงมากที่สุดคือ ต้นทุนที่ลงทุนทั้งหมดและเมื่อจำหน่ายแล้วต้องมีกำไรมากที่สุดจึงจะประสบผลสำเร็จประเทศไทยนับว่ามีสภาพดินฟ้าอากาศเหมาะแก่การปลูกองุ่นมาก เพราะองุ่นที่ปลูกโตเร็วกว่าประเทศอื่นบางประเทศ แต่ผลผลิตยังมีไม่เพียงพอต่อการบริโภคเพราะยังปลูกกันน้อย แต่ก็เพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ส่วนใหญ่ผลผลิตจะบริโภคเฉพาะภายในประเทศ ราคาซื้อขายก็ถูกกว่าแต่ก่อนมาก ทั้งนี้แล้วแต่ชนิดและพันธุ์ขององุ่นความต้องการของตลาดในประเทศไทยไม่แน่นอน

บางระยะเวลามีความต้องการสูงมาก เช่น ช่วงเทศกาลต่าง ๆ จึงทำให้ราคาองุ่นสูง บางช่วงราคาองุ่นจะถูก เช่น องุ่นขาว - เขียว ราคากิโลกรัมละ30 - 40 บาท ชาวไร่ก็ยังอยู่ได้ โดยพยายามลดต้นทุนและบำรุงรักษาให้ได้ผลดียิ่งขึ้นองุ่นที่จำหน่ายภายในประเทศส่วนใหญ่จำหน่ายผลองุ่นสดการนำองุ่นไปแปรรูปโดยใช้ทำเหล้าองุ่น (Wine) องุ่นบรรจุกระป๋อง หรือทำน้ำองุ่นสดยังไม่สามารถดำเนินได้ เนื่องจากมีปัญหาด้านพันธุ์องุ่น และการลงทุนที่สูงไม่คุ้มค่าการทำองุ่นตากแห้งด้วยแสงแดด  ในปัจจุบัน ประเทศไทยนับได้ว่ามีองุ่นที่จำหน่ายมากพอสมควร ในช่วงที่มีปริมาณมาก ราคาจะต่ำควรนำมาแปรรูปเป็นองุ่นตากแห้ง เพื่อเก็บไว้บริโภคหรือเพื่อจำหน่าย สำหรับการแปรรูปเป็นองุ่นตากแห้ง ใคร่ขอเสนอวิธีทำโดยตากแห้งด้วยแสงแดด ซึ่งเป็นวิธีที่ง่าย ลงทุนน้อย เหมาะสมกับเมืองไทยเพราะมีแสงแดดมาก

วิธีทำ
     เก็บผลองุ่นด้วยมืออย่างระมัดระวังอย่าให้เสียหาย นำไปใส่ถาดที่ทำด้วย
กระดาษแข็งมีกรอบทำด้วยไม้ เกลี่ยองุ่นให้ทั่วถาดอย่าให้พวงซ้อนกัน นำไป
ตากแดดประมาณ 10 - 15 วัน แล้วใช้ถาดเปล่าขนาดเท่ากันครอบถาดที่มีองุ่น
ไว้กลับพลิกโดยเร็ว โดยให้องุ่นกลับมาอยู่ในถาดใหม่ ทั้งนี้ด้านล่างจะยังไม่
ถูกแสงแดดเมื่ออยู่ในถาดเดิม ตากไว้อีก 10 - 15 วัน องุ่นก็จะแห้งทั่วกัน
คือมีความชื้นประมาณ 15% นำไปบรรจุหีบหรือลังหุ้มด้วยกระดาษหนา ๆ
เพื่อให้องุ่นมีความชื้นเท่ากัน หลังจากนั้นบรรจุในกล่องหรือหีบห่อ เพื่อนำไป
เก็บไว้รับประมาณหรือเพื่อจำหน่ายต่อไป
Share this video :

บทความที่ได้รับความนิยม

 
Support : |
Copyright © 2011-2012 อาชีพพารวย - All Rights Reserved
เข้าสู่ปีที่ 2 อาชีพพารวย เพื่อนคู่คิดนักเกษตร พ.ศ. 2555
เว็บไซต์เพื่อนเกษตร