ปลาหมอไทย...เลี้ยงเป็นอาชีพตลาดนอก-ในประเทศยังต้องการ
ปลาหมอ เป็นปลาที่รู้จักและนิยมบริโภคกันอย่างแพร่หลาย ทั่วทุกภาคของประเทศไทยเนื่องจากปลาที่มีรสชาติ เป็นปลาที่ต้องการของตลาดทั้งภายในและต่างประเทศ ในขณะที่ผลผลิตปลาหมอไทยส่วนใหญ่ได้มาจากการทำประมง จากแหล่งน้ำธรรมชาติ ปัจจุบันมีเกษตรกรเลี้ยงปลาหมอไทยเป็นอาชีพกันมากขึ้น
แหล่งที่อยู่อาศัย ปลาหมอไทย อาศัยอยู่ในแหล่งน้ำจืดทั่วๆไป ในพื้นที่ลุ่มน้ำปากพนัง ปลาหมอไทย สามารถปรับตัวเจริญเติบโตเข้ากับสภาพแวดล้อมที่เป็นน้ำกร่อยที่มีความเค็มไม่เกิน 7 ส่วนในพันได้ เป็นปลาที่มีความทนทานต่อสภาพแวดล้อม เนื่องจากมีอวัยวะพิเศษช่วยในการหายใจ
ปลาหมอไทยมีชื่อเรียกแตกต่างกันไปในแต่ละท้องถิ่นเช่น ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เรียกว่า ปลาสะเด็ด ภาคเหนือ เรียกว่า ปลาแข็ง และภาคใต้ เรียกชื่อเป็นภาษายาวีว่า อีแกปูยู ชาวบ้านทั่วไปเรียกว่า ปลาหมอรูปร่างลักษณะภายนอก ปลาหมอไทยมีลำตัวค่อนข้างแบนลำตัวมีสีน้ำตาลดำ หรือคล้ำ ส่วนท้องมีสีขาวหรือเหลืองอ่อนส่วนลำตัวมีเกล็ดแข็ง กระพุ้งแก้มมีลักษณะเป็นหนามหยัก แหลมคม ใช้ในการปีนป่าย บริเวณโคนหางมีจุดกลมสีดำลักษณะความแตกต่างระหว่างเพศ ปลาหมอไทยเพศเมียจะมีขนาดใหญ่และน้ำหนักมากกว่า เพศผู้ เพศผู้มีลักษณะลำตัวเรียวยาว ในระยะฤดูวางไข่ส่วนท้องของปลาเพศเมียจะอูมเป่ง
การเลือกสถานที่เลี้ยง เป็นปัจจัยหนึ่งที่ส่งผลให้การเลี้ยงปลาหมอไทยประสบความสำเร็จหรือไม่ ดังนั้นการเลือกสถานที่เลี้ยงและการออกแบบบ่อเลี้ยปลา ควรทำด้วยความรอบคอบโดยคำนึงถึงปัจจัยต่างๆ ดังนี้
1. ลักษณะดิน ควรเป็นดินเหนียว หรือดินเหนียวปนทราย น้ำไม่รั่วซึม สามารถเก็บกักน้ำได้ 4-6 เดือน ไม่ควรเลือกพื้นที่ที่เป็นดินทรายหรือดินปนกรวด
2. ลักษณะน้ำ พื้นที่เลี้ยงควรอยู่ใกล้แหล่งน้ำธรรมชาติ เช่น แม่น้ำ ลำคลอง ที่มีน้ำตลอดปี หรืออยู่ในเขตชลประทาน หากเป็นพื้นที่ที่อาศัยน้ำฝนเพียงอย่างเดียว ควรพิจารณาปริมาณน้ำฝนที่ตกในรอบปีด้วย
3. แหล่งพันธุ์ปลา เพื่อความสะดวกในการลำเลียงปลามาเลี้ยง พื้นที่เลี้ยงไม่ควรอยู่ห่างไกลจากแหล่งปลา
4. ตลาด แม้ว่าหลังจากจับปลาขายจะมีพ่อค้ามารับซื้อถึงปากบ่อ แต่หากพื้นที่เลี้ยงอยู่ใกล้ตลาด จะทำให้ได้เปรียบในการขนส่งผลผลิตเพื่อการจำหน่าย อย่างไรก็ตาม บ่อเลี้ยงกุ้งกุลาดำที่อยู่ในเขตพื้นที่น้ำจืด สามารถนำมาใช้เป็นบ่อเลี้ยงปลาหมอไทยได้
การเตรียมบ่อเลี้ยง เป็นขั้นตอนที่สำคัญ ซึ่งจะส่งผลต่อผลิตที่จะได้รับ ขั้นตอนการเตรียมบ่อก่อนปล่อยปลาลงเลี้ยงสามารถทำได้ ดังนี้
1. สูบน้ำออกจากบ่อให้แห้ง การสูบน้ำจากบ่อให้แห้งจะช่วยกำจัดศัตรูปลาที่มีอยู่ในบ่อ หลังจากการสูบบ่อแห้งแล้วหว่านปูนขาวในขณะที่ดินยังเปียก ในอัตรา 60-100 กิโลกรัมต่อไร่เพื่อปรับสภาพความเป็นกรด-ด่างของดิน
2. กำจัดวัชพืชและพันธุ์ไม้น้ำ วัชพืชและพันธุ์ไม้น้ำที่มีอยู่ในบ่อ จะเป็นแหล่งหลบซ่อนตัวของศัตรูปลาหมอไทยเช่น ปลาช่อน กบ และงู เป็นต้น และทำให้ปริมาณออกซิเจนที่ละลายน้ำลดลง เนื่องจากวัชพืชน้ำใช้ออกซิเจนในการหายใจเช่นเดียวกับปลา นอกจากนี้ การที่มีพืชอยู่ในบ่อมาก จะเป็นอุปสรรคต่อการให้อาหาร และการวิดจับปลา
3. การตากบ่อ การตากบ่อจะทำให้แก๊สพิษในดินบางชนิดสลายตัวไป เมื่อถูกความร้อนและแสงแดด ทั้งยังเป็นการฆ่าเชื้อโรค และศัตรูปลาที่ฝังตัวอยู่ในดิน ใช้เวลาในการตากบ่อ 2-3 สัปดาห์
4. สูบน้ำเข้าบ่อ สูบน้ำใส่บ่อให้ได้ระดับ 60-100 เซนติเมตร ทิ้งไว้ 2-3 วัน ก่อนปล่อยปลาลงเลี้ยง แต่ก่อนที่เราจะปล่อยปลาลงเลี้ยง ต้องใช้อวนไนล่อนสีฟ้ากั้นรอบบ่อให้สูงจากพื้นประมาณ 90 เซนติเมตร เพื่อป้องกันปลาหลบหนีออกจากบ่อ เนื่องจากปลาหมอไทยมีนิสัยชอบปีนป่าย
5. การปล่อยปลาลงเลี้ยง การปล่อยพ่อพันธุ์และแม่พันธุ์ให้วางไข่ในบ่อ วิธีนี้จะช่วยลดปัญหาเรื่องลูกปลาตายในระหว่างการลำเลียงได้ โดยการคัดเลือกพ่อพันธุ์และแม่พันธุ์ที่มีไข่และน้ำเชื้อสมบูรณ์ พร้อมที่จะผสมพันธุ์วางไข่ คือตัวเมียจะมีส่วนท้องที่อูม มีไข่สีเหลือง ส่วนตัวผู้ที่ท้องจะมีเชื้อสีขาว คล้ายน้ำนม เมื่อคัดพ่อแม่พันธุ์ปลาได้แล้ว จะฉีดฮอร์โมนเร่งการวางไข่ให้กับตัวเมียในอัตราเข้มข้นฮอร์โมนสังเคราะห์ 10 ไมโครกรัม และยาเสริม 5 มิลลิกรัม ต่อปลา 1 กิโลกรัม แล้วปล่อยให้วางไข่ในกระชังตาห่างซึ่งแขวนอยู่ในบ่อที่มีระดับน้ำไม่น้อยกว่า 50 เซนติเมตร เมื่อวางไข่หมดแล้วจึงนำกระชังพ่อแม่พันธุ์ขึ้น ปล่อยให้ไข่ฟักเป็นตัว หลังจากลูกปลาฟักออกเป็นตัว ประมาณ 4 วัน จึงเริ่มให้อาหารสำเร็จรูปชนิดผง เป็นระยะเวลา 3-4 สัปดาห์ หลังจากนั้นจึงเปลี่ยนเป็นปลาสดสับละเอียด และเปลี่ยนเป็นอาหารเม็ด เมื่อปลามีขนาดใหญ่ขึ้น
อาหารและการให้อาหาร
ปลาหมอไทยเป็นปลาที่กินอาหารจำพวกเนื้อสัตว์ ในการเลี้ยงจึงให้อาหารเม็ดปลาดุก ในอัตรา 3-5 % ของน้ำหนักตัว วันละ 2 ครั้ง เช้า-เย็น โดยในช่วงแรกของการเลี้ยงจะใช้อาหารเม็ดปลาดุกขนาดเล็กหรือปาสดสับละเอียด เป็นเวลา 2 เดือน และถัดมาเปลี่ยนเป็นอาหารเม็ดปลาดุกขนาดใหญ่ เมื่อปลามีขนาดใหย๋ขึ้น การให้อาหารต้องหว่านให้ทั่วบ่อ และต้องสังเกตการกินอาหารของปลาด้วย ถ้ามีอาหารเหลือมากเกินไป ควรลดอาหารในมื้อถัดไปให้น้อยลง เพราะอาจทำให้น้ำในบ่อเน่าเสียได้
การเปลี่ยนถ่ายน้ำ
การเปลี่ยนถ่ายน้ำใหม่ จะทำให้ปลามีการกินอาหารดีขึ้น ส่งผลให้ปลาเจริญเติบโตดี ทั้งนี้ก่อนเปลี่ยนน้ำทำทุกครั้ง ต้องแน่ใจว่า คุณภาพน้ำที่สูบเข้ามาใหม่ไม่แตกต่างกับคุณภาพน้ำในบ่อมากนัก ในช่วงเดือนแรก ไม่จำเป็นต้องมีการเปลี่ยนถ่ายน้ำ แต่จะใช้วิธีเพิ่มระดับน้ำทุกสัปดาห์ หลังจากเดือนแรกแล้ว จึงเปลี่ยนถ่ายน้ำเดือนละ 2-3 ครั้ง โดยเปลี่ยนถ่ายน้ำครั้งละ 1 ใน 3 ของน้ำในบ่อ หรือขึ้นอยู่กับสภาพคุณภาพน้ำในบ่อด้วย
ระยะเวลาการเลี้ยงและการจับ
ระยะเวลาการเลี้ยงขึ้นอยู่กับขนาดปลาของปลาที่ตลาดต้องการ แต่โดยทั่วไป จะใช้เวลาเลี้ยงประมาณ 4-5 เดือน การจับปลาหมอไทย โดยทั่วไปจะใช้วิธีการจับแบบวิดบ่อแห้ง โดยก่อนจับปลาจะต้องสูบน้ำออกจากบ่อให้เหลือน้อยแล้วจึงตีอวนจับปลา โดยลากอวนจากขอบบ่อด้านหนึ่งไปยังอีกด้านหนึ่ง แล้วจึงยกอวนขึ้น ใช้สวิงจับใส่ตะกร้าเพื่อคัดขนาด จนกระทั่งเหลือปลาจำนวนน้อยจึงสูบน้ำออกจากบ่อให้หมด หลังจากนั้นจึงตากบ่อให้แห้ง เพื่อเตรียมบ่อใช้เลี้ยงปลาในรุ่นต่อไป
ในการจำหน่ายปลาหมอไทย แบ่งออกเป็น 3 ขนาด ได้แก่ ปลาขนาดใหญ่ ขนาด 6-10 ตัว/กก. ราคากิโลกรัมละ 55-60 บาท ปลาขนาดกลาง ขนาด 7-20 ตัว/กก. ราคากิโลกรัมละ 25-30 บาท ปลาขนาดเล็ก ขนาดมากกว่า 20 ตัว/กก. ราคากิโลกรัมละ 15-20 บาท
การป้องกันโรค
โดยทั่วไปโรคปลาหมอไทยมักแพร่ระบาดในฤดูฝน ในทางปฏิบัติ เกษตรกรควรใช้เกลือเม็ดหว่านลงในบ่ออัตรา 80 กิโลกรัม ต่อไร่ ร่วมกับการใช้ปูนขาว อัตรา 20 กิโลกรัมต่อไร่ ละลายในน้ำแล้วสาดให้ทั่วบ่อ อย่างไรก็ตาม โรคที่เกิดขึ้นในบ่อเลี้ยงปลาหมอไทยมักเกิดจากปรสิตภายนอก เชื้อรา และแบคทีเรีย ต่อไปนี้
...โรคจุดขาว...
อาการ ปลาจะมีจุดสีขาวขุ่นขนาดเท่าหัวเข็มหมุด กระจายอยู่ตามลำตัวและครีบ สาเหตุ เกิดจากเชื้อโปรโตซัว ที่กินเซลล์ผิวหนัง การป้องกันและรักษา เนื่องจากปรสิตชนิดนี้จะฝังตัวอยู่ใต้ผิวหนัง การกำจัดได้ผลไม่เต็มที่ วิธีที่ดีที่สุด คือการทำลายตัวอ่อนในน้ำ หรือทำลายตัวแก่ขณะว่ายน้ำอิสระ โดยการใช้ฟอร์มาลิน 150-200 ซีซีต่อน้ำ 1000 ลิตร แช่ไว้ 1 ชั่วโมง และแยกปลาที่เป็นโรคออกจากบ่อ
โรคจากเห็บระฆัง...
อาการ ปลาจะเป็นแผลตามผิวหนังและเหงือก สาเหตุ เกิดจากเห็บระฆังเข้าไปเกาะตามลำตัวและเหงือก
การป้องกันและรักษา ปรสิตชนิดนี้จะแพร่ได้รวดเร็ว และทำให้ปลาตายได้ในระยะเวลาอันสั้น และมีการติดต่อระหว่างบ่อที่ใช้อุปกรณ์ร่วมกัน การกำจัดทำได้โดยใช้ฟอร์มาลิน 150-200 ซีซี ต่อน้ำ 1000 ลิตร แช่ไว้ 1 ชั่วโมง
...โรคตกเลือดตามซอกเกล็ด...
อาการ ปลาจะมีแผลสีแดงเป็นจ้ำๆ ตามลำตัวโดยเฉพาะที่ครีบและซอกเกล็ด ถ้าเป็นแผลเรื้อรังอาจมีอาการเกล็ดหลุด บริเวณรอบๆ และด้านบนของแผลจะมีส่วนคล้ายสำลีสีน้ำตาลปนเหลืองติดอยู่ สาเหตุ เกิดจากปรสิตเซลล์เดียวที่อยู่ร่วมกันเป็นกลุ่มหรือกระจุก
การป้องกันและรักษา
1. ใช้เกลือเม็ด 5-10 กิโลกรัม ต่อน้ำ 1000 ลิตร แช่ไว้ 48 ชั่วโมง
2. ใช้ฟอร์มาลิน 25-40 ซีซี ต่อน้ำ 1000 ลิตร หลังจากแช่ยาแล้ว ถ้าปลามีอาการไม่ดีขึ้น ควรเปลี่ยนน้ำแล้วพักไว้ 1 วัน จากนั้นจึงใส่ยาซ้ำอีก 1-2 ครั้ง
...โรคจากเชื้อรา...
อาการ ปลาจะมีแผลเป็นปุยขาวๆ ปนเทา คล้ายสำลีปกคลุมอยู่ สาเหตุ เกิดจากเชื้อรา
การป้องกันและรักษา
1. ใช้มาลาไคท์กรีน 0.1-0.15 กรัม ต่อน้ำ 1000 ลิตร แช่ 24 ชั่วโมง
2. ใช้ปูนขาว 20 กิโลกรัมต่อไร่ เพื่อปรับคุณภาพของน้ำในบ่อเลี้ยง
ปลาหมอ เป็นปลาที่รู้จักและนิยมบริโภคกันอย่างแพร่หลาย ทั่วทุกภาคของประเทศไทยเนื่องจากปลาที่มีรสชาติ เป็นปลาที่ต้องการของตลาดทั้งภายในและต่างประเทศ ในขณะที่ผลผลิตปลาหมอไทยส่วนใหญ่ได้มาจากการทำประมง จากแหล่งน้ำธรรมชาติ ปัจจุบันมีเกษตรกรเลี้ยงปลาหมอไทยเป็นอาชีพกันมากขึ้น
แหล่งที่อยู่อาศัย ปลาหมอไทย อาศัยอยู่ในแหล่งน้ำจืดทั่วๆไป ในพื้นที่ลุ่มน้ำปากพนัง ปลาหมอไทย สามารถปรับตัวเจริญเติบโตเข้ากับสภาพแวดล้อมที่เป็นน้ำกร่อยที่มีความเค็มไม่เกิน 7 ส่วนในพันได้ เป็นปลาที่มีความทนทานต่อสภาพแวดล้อม เนื่องจากมีอวัยวะพิเศษช่วยในการหายใจ
ปลาหมอไทยมีชื่อเรียกแตกต่างกันไปในแต่ละท้องถิ่นเช่น ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เรียกว่า ปลาสะเด็ด ภาคเหนือ เรียกว่า ปลาแข็ง และภาคใต้ เรียกชื่อเป็นภาษายาวีว่า อีแกปูยู ชาวบ้านทั่วไปเรียกว่า ปลาหมอรูปร่างลักษณะภายนอก ปลาหมอไทยมีลำตัวค่อนข้างแบนลำตัวมีสีน้ำตาลดำ หรือคล้ำ ส่วนท้องมีสีขาวหรือเหลืองอ่อนส่วนลำตัวมีเกล็ดแข็ง กระพุ้งแก้มมีลักษณะเป็นหนามหยัก แหลมคม ใช้ในการปีนป่าย บริเวณโคนหางมีจุดกลมสีดำลักษณะความแตกต่างระหว่างเพศ ปลาหมอไทยเพศเมียจะมีขนาดใหญ่และน้ำหนักมากกว่า เพศผู้ เพศผู้มีลักษณะลำตัวเรียวยาว ในระยะฤดูวางไข่ส่วนท้องของปลาเพศเมียจะอูมเป่ง
การเลือกสถานที่เลี้ยง เป็นปัจจัยหนึ่งที่ส่งผลให้การเลี้ยงปลาหมอไทยประสบความสำเร็จหรือไม่ ดังนั้นการเลือกสถานที่เลี้ยงและการออกแบบบ่อเลี้ยปลา ควรทำด้วยความรอบคอบโดยคำนึงถึงปัจจัยต่างๆ ดังนี้
1. ลักษณะดิน ควรเป็นดินเหนียว หรือดินเหนียวปนทราย น้ำไม่รั่วซึม สามารถเก็บกักน้ำได้ 4-6 เดือน ไม่ควรเลือกพื้นที่ที่เป็นดินทรายหรือดินปนกรวด
2. ลักษณะน้ำ พื้นที่เลี้ยงควรอยู่ใกล้แหล่งน้ำธรรมชาติ เช่น แม่น้ำ ลำคลอง ที่มีน้ำตลอดปี หรืออยู่ในเขตชลประทาน หากเป็นพื้นที่ที่อาศัยน้ำฝนเพียงอย่างเดียว ควรพิจารณาปริมาณน้ำฝนที่ตกในรอบปีด้วย
3. แหล่งพันธุ์ปลา เพื่อความสะดวกในการลำเลียงปลามาเลี้ยง พื้นที่เลี้ยงไม่ควรอยู่ห่างไกลจากแหล่งปลา
4. ตลาด แม้ว่าหลังจากจับปลาขายจะมีพ่อค้ามารับซื้อถึงปากบ่อ แต่หากพื้นที่เลี้ยงอยู่ใกล้ตลาด จะทำให้ได้เปรียบในการขนส่งผลผลิตเพื่อการจำหน่าย อย่างไรก็ตาม บ่อเลี้ยงกุ้งกุลาดำที่อยู่ในเขตพื้นที่น้ำจืด สามารถนำมาใช้เป็นบ่อเลี้ยงปลาหมอไทยได้
การเตรียมบ่อเลี้ยง เป็นขั้นตอนที่สำคัญ ซึ่งจะส่งผลต่อผลิตที่จะได้รับ ขั้นตอนการเตรียมบ่อก่อนปล่อยปลาลงเลี้ยงสามารถทำได้ ดังนี้
1. สูบน้ำออกจากบ่อให้แห้ง การสูบน้ำจากบ่อให้แห้งจะช่วยกำจัดศัตรูปลาที่มีอยู่ในบ่อ หลังจากการสูบบ่อแห้งแล้วหว่านปูนขาวในขณะที่ดินยังเปียก ในอัตรา 60-100 กิโลกรัมต่อไร่เพื่อปรับสภาพความเป็นกรด-ด่างของดิน
2. กำจัดวัชพืชและพันธุ์ไม้น้ำ วัชพืชและพันธุ์ไม้น้ำที่มีอยู่ในบ่อ จะเป็นแหล่งหลบซ่อนตัวของศัตรูปลาหมอไทยเช่น ปลาช่อน กบ และงู เป็นต้น และทำให้ปริมาณออกซิเจนที่ละลายน้ำลดลง เนื่องจากวัชพืชน้ำใช้ออกซิเจนในการหายใจเช่นเดียวกับปลา นอกจากนี้ การที่มีพืชอยู่ในบ่อมาก จะเป็นอุปสรรคต่อการให้อาหาร และการวิดจับปลา
3. การตากบ่อ การตากบ่อจะทำให้แก๊สพิษในดินบางชนิดสลายตัวไป เมื่อถูกความร้อนและแสงแดด ทั้งยังเป็นการฆ่าเชื้อโรค และศัตรูปลาที่ฝังตัวอยู่ในดิน ใช้เวลาในการตากบ่อ 2-3 สัปดาห์
4. สูบน้ำเข้าบ่อ สูบน้ำใส่บ่อให้ได้ระดับ 60-100 เซนติเมตร ทิ้งไว้ 2-3 วัน ก่อนปล่อยปลาลงเลี้ยง แต่ก่อนที่เราจะปล่อยปลาลงเลี้ยง ต้องใช้อวนไนล่อนสีฟ้ากั้นรอบบ่อให้สูงจากพื้นประมาณ 90 เซนติเมตร เพื่อป้องกันปลาหลบหนีออกจากบ่อ เนื่องจากปลาหมอไทยมีนิสัยชอบปีนป่าย
5. การปล่อยปลาลงเลี้ยง การปล่อยพ่อพันธุ์และแม่พันธุ์ให้วางไข่ในบ่อ วิธีนี้จะช่วยลดปัญหาเรื่องลูกปลาตายในระหว่างการลำเลียงได้ โดยการคัดเลือกพ่อพันธุ์และแม่พันธุ์ที่มีไข่และน้ำเชื้อสมบูรณ์ พร้อมที่จะผสมพันธุ์วางไข่ คือตัวเมียจะมีส่วนท้องที่อูม มีไข่สีเหลือง ส่วนตัวผู้ที่ท้องจะมีเชื้อสีขาว คล้ายน้ำนม เมื่อคัดพ่อแม่พันธุ์ปลาได้แล้ว จะฉีดฮอร์โมนเร่งการวางไข่ให้กับตัวเมียในอัตราเข้มข้นฮอร์โมนสังเคราะห์ 10 ไมโครกรัม และยาเสริม 5 มิลลิกรัม ต่อปลา 1 กิโลกรัม แล้วปล่อยให้วางไข่ในกระชังตาห่างซึ่งแขวนอยู่ในบ่อที่มีระดับน้ำไม่น้อยกว่า 50 เซนติเมตร เมื่อวางไข่หมดแล้วจึงนำกระชังพ่อแม่พันธุ์ขึ้น ปล่อยให้ไข่ฟักเป็นตัว หลังจากลูกปลาฟักออกเป็นตัว ประมาณ 4 วัน จึงเริ่มให้อาหารสำเร็จรูปชนิดผง เป็นระยะเวลา 3-4 สัปดาห์ หลังจากนั้นจึงเปลี่ยนเป็นปลาสดสับละเอียด และเปลี่ยนเป็นอาหารเม็ด เมื่อปลามีขนาดใหญ่ขึ้น
อาหารและการให้อาหาร
ปลาหมอไทยเป็นปลาที่กินอาหารจำพวกเนื้อสัตว์ ในการเลี้ยงจึงให้อาหารเม็ดปลาดุก ในอัตรา 3-5 % ของน้ำหนักตัว วันละ 2 ครั้ง เช้า-เย็น โดยในช่วงแรกของการเลี้ยงจะใช้อาหารเม็ดปลาดุกขนาดเล็กหรือปาสดสับละเอียด เป็นเวลา 2 เดือน และถัดมาเปลี่ยนเป็นอาหารเม็ดปลาดุกขนาดใหญ่ เมื่อปลามีขนาดใหย๋ขึ้น การให้อาหารต้องหว่านให้ทั่วบ่อ และต้องสังเกตการกินอาหารของปลาด้วย ถ้ามีอาหารเหลือมากเกินไป ควรลดอาหารในมื้อถัดไปให้น้อยลง เพราะอาจทำให้น้ำในบ่อเน่าเสียได้
การเปลี่ยนถ่ายน้ำ
การเปลี่ยนถ่ายน้ำใหม่ จะทำให้ปลามีการกินอาหารดีขึ้น ส่งผลให้ปลาเจริญเติบโตดี ทั้งนี้ก่อนเปลี่ยนน้ำทำทุกครั้ง ต้องแน่ใจว่า คุณภาพน้ำที่สูบเข้ามาใหม่ไม่แตกต่างกับคุณภาพน้ำในบ่อมากนัก ในช่วงเดือนแรก ไม่จำเป็นต้องมีการเปลี่ยนถ่ายน้ำ แต่จะใช้วิธีเพิ่มระดับน้ำทุกสัปดาห์ หลังจากเดือนแรกแล้ว จึงเปลี่ยนถ่ายน้ำเดือนละ 2-3 ครั้ง โดยเปลี่ยนถ่ายน้ำครั้งละ 1 ใน 3 ของน้ำในบ่อ หรือขึ้นอยู่กับสภาพคุณภาพน้ำในบ่อด้วย
ระยะเวลาการเลี้ยงและการจับ
ระยะเวลาการเลี้ยงขึ้นอยู่กับขนาดปลาของปลาที่ตลาดต้องการ แต่โดยทั่วไป จะใช้เวลาเลี้ยงประมาณ 4-5 เดือน การจับปลาหมอไทย โดยทั่วไปจะใช้วิธีการจับแบบวิดบ่อแห้ง โดยก่อนจับปลาจะต้องสูบน้ำออกจากบ่อให้เหลือน้อยแล้วจึงตีอวนจับปลา โดยลากอวนจากขอบบ่อด้านหนึ่งไปยังอีกด้านหนึ่ง แล้วจึงยกอวนขึ้น ใช้สวิงจับใส่ตะกร้าเพื่อคัดขนาด จนกระทั่งเหลือปลาจำนวนน้อยจึงสูบน้ำออกจากบ่อให้หมด หลังจากนั้นจึงตากบ่อให้แห้ง เพื่อเตรียมบ่อใช้เลี้ยงปลาในรุ่นต่อไป
ในการจำหน่ายปลาหมอไทย แบ่งออกเป็น 3 ขนาด ได้แก่ ปลาขนาดใหญ่ ขนาด 6-10 ตัว/กก. ราคากิโลกรัมละ 55-60 บาท ปลาขนาดกลาง ขนาด 7-20 ตัว/กก. ราคากิโลกรัมละ 25-30 บาท ปลาขนาดเล็ก ขนาดมากกว่า 20 ตัว/กก. ราคากิโลกรัมละ 15-20 บาท
การป้องกันโรค
โดยทั่วไปโรคปลาหมอไทยมักแพร่ระบาดในฤดูฝน ในทางปฏิบัติ เกษตรกรควรใช้เกลือเม็ดหว่านลงในบ่ออัตรา 80 กิโลกรัม ต่อไร่ ร่วมกับการใช้ปูนขาว อัตรา 20 กิโลกรัมต่อไร่ ละลายในน้ำแล้วสาดให้ทั่วบ่อ อย่างไรก็ตาม โรคที่เกิดขึ้นในบ่อเลี้ยงปลาหมอไทยมักเกิดจากปรสิตภายนอก เชื้อรา และแบคทีเรีย ต่อไปนี้
...โรคจุดขาว...
อาการ ปลาจะมีจุดสีขาวขุ่นขนาดเท่าหัวเข็มหมุด กระจายอยู่ตามลำตัวและครีบ สาเหตุ เกิดจากเชื้อโปรโตซัว ที่กินเซลล์ผิวหนัง การป้องกันและรักษา เนื่องจากปรสิตชนิดนี้จะฝังตัวอยู่ใต้ผิวหนัง การกำจัดได้ผลไม่เต็มที่ วิธีที่ดีที่สุด คือการทำลายตัวอ่อนในน้ำ หรือทำลายตัวแก่ขณะว่ายน้ำอิสระ โดยการใช้ฟอร์มาลิน 150-200 ซีซีต่อน้ำ 1000 ลิตร แช่ไว้ 1 ชั่วโมง และแยกปลาที่เป็นโรคออกจากบ่อ
โรคจากเห็บระฆัง...
อาการ ปลาจะเป็นแผลตามผิวหนังและเหงือก สาเหตุ เกิดจากเห็บระฆังเข้าไปเกาะตามลำตัวและเหงือก
การป้องกันและรักษา ปรสิตชนิดนี้จะแพร่ได้รวดเร็ว และทำให้ปลาตายได้ในระยะเวลาอันสั้น และมีการติดต่อระหว่างบ่อที่ใช้อุปกรณ์ร่วมกัน การกำจัดทำได้โดยใช้ฟอร์มาลิน 150-200 ซีซี ต่อน้ำ 1000 ลิตร แช่ไว้ 1 ชั่วโมง
...โรคตกเลือดตามซอกเกล็ด...
อาการ ปลาจะมีแผลสีแดงเป็นจ้ำๆ ตามลำตัวโดยเฉพาะที่ครีบและซอกเกล็ด ถ้าเป็นแผลเรื้อรังอาจมีอาการเกล็ดหลุด บริเวณรอบๆ และด้านบนของแผลจะมีส่วนคล้ายสำลีสีน้ำตาลปนเหลืองติดอยู่ สาเหตุ เกิดจากปรสิตเซลล์เดียวที่อยู่ร่วมกันเป็นกลุ่มหรือกระจุก
การป้องกันและรักษา
1. ใช้เกลือเม็ด 5-10 กิโลกรัม ต่อน้ำ 1000 ลิตร แช่ไว้ 48 ชั่วโมง
2. ใช้ฟอร์มาลิน 25-40 ซีซี ต่อน้ำ 1000 ลิตร หลังจากแช่ยาแล้ว ถ้าปลามีอาการไม่ดีขึ้น ควรเปลี่ยนน้ำแล้วพักไว้ 1 วัน จากนั้นจึงใส่ยาซ้ำอีก 1-2 ครั้ง
...โรคจากเชื้อรา...
อาการ ปลาจะมีแผลเป็นปุยขาวๆ ปนเทา คล้ายสำลีปกคลุมอยู่ สาเหตุ เกิดจากเชื้อรา
การป้องกันและรักษา
1. ใช้มาลาไคท์กรีน 0.1-0.15 กรัม ต่อน้ำ 1000 ลิตร แช่ 24 ชั่วโมง
2. ใช้ปูนขาว 20 กิโลกรัมต่อไร่ เพื่อปรับคุณภาพของน้ำในบ่อเลี้ยง