การปลูกดอกแค


การปลูกแค
แค หรือ SESBANIG GRANDIFLORA-DESV อยู่ในวงศ์ PAPILIONACEAE เป็นไม้ยืนต้น
สูง ๓-๕ เมตร โตเร็วมีกิ่งก้านมาก เปลือกต้นเป็นสีน้ำตาล มีร่องขรุขระตามยาว หนา เปลือกในสีชมพู รสฝาดใบเป็นใบประกอบขนนก มีใบย่อยมากกว่า ๕๐ ใบ ดอก มี ๒ สีคือ สีขาว และ สีแดง ดอกออกเป็นช่อตามซอกใบ แต่ละช่อประกอบด้วยดอกย่อย ๒-๔ ดอก ดอกเป็นรูปดอกถั่วขนาดใหญ่ กลีบเลี้ยงเป็นรูประฆัง หรือรูปถ้วย ดอกห้อยลง “ผล”เป็นฝักแบน ยาว ๘-๑๕ ซม. เมื่อแก่จะแตกออกเป็น ๒ ซีก มีเมล็ดเรียงอยูตรงกลางแถวเดียว เมล็ดคล้ายเมล็ดถั่ว กลมแบนสี น้ำตาลอ่อน หนึ่ง ฝกมีหลายเมล็ดดอกออกตลอดปี

 ขยายพันธุ์ด้วยวิธีเพาะเมล็ด
ดอกแค  เป็นต้นไม้พื้นบ้าน เป็นพืชที่ปลูกง่าย สามารถปลูกได้ในทุกพื้นที่ ทั้งดินเหนียวและดินปนทราย เป็นต้นไม้ยืนต้นมีสายพันธุ์เหมือนพืชตระกูลถั่ว ใบจะเรียวดูคล้ายกับขนนก เป็นพืชที่เจริญเติบโตง่าย
ปลูกง่ายในดินทุกชนิดขยายพันธุ์โดยใช้เมล็ด ขนาดของลำต้นนั้นแล้วแต่พันธุ์ และจะออกดอกเป็นสีขาว และสีแดงเมื่อดอกบานออก พวกแมลงก็จะมาตอมแล้วจะผสมเกสรระหว่างดอกกัน จากนั้นก็จะกลายเป็นฝัก ฝักจะมีลักษณะเหมือนถั่วฝักยาว ทุกส่วนของแคสามารถนำมาทำยาได้ จึงนับว่าเป็นพืชที่ทรงคุณค่ามากชนิดหนึ่ง สวนที่นำมารับประทานได้ มียอดอ่อน ดอกอ่อน ใบอ่อน และฝัก่ออน ออกในช่วงฤดูฝน ส่วนดอกอ่อนจะออกในช่วงฤดูหนาวดอกแค ๑๐๐ กรัม หรือ ๑ ขีด ให้พลังงานต่อร่างกาย ๑๐ กิโลแคลอรี มีเส้นใยอาหาร แคลเซียม ฟอสฟอรัส เหล็กแคโรทีน วิตามินเอ วิตามินบีหนึ่ง วิตามินบีสอง และวิตามินซี การรับประทานดอกแคจะทำให้ร่างกายได้เส้นใยอาหาร ดอกแค เมื่อแก่จนกลีบร่วง ก็จะมีฝักอ่อน นำมาทำอาหารได้ เมื่อแก่จะแพร่พันธุ์ด้วยเมล็ด เจริญเติบโตง่ายมีอายุไม่นานก็ยืนต้นตาย แพร่พันธุ์ด้วยฝักที่มีเมล็ดแก่จัด การนำดอกแคมาทำอาหารต้องเด็ดเกสรสีเหลืองของดอกแคออกก่อนจะทำให้ไม่มีรสขม โดยนิยมปลูกเป็นรั้วบ้าน คันนา ริมถนน และในบริเวณบ้าน หรือปลูกไว้เพื่อปรับพื้นที่ให้มีปุ๋ย เพราะใบแคที่ผุแล้ว ทำให้ดินอุดมสมบูรณ์

วิธีการปลูกแค
ในการปลูกแคเพื่อเก็บดอกแคขาย จะต้องนำฝักแคที่แก่จัดนำฝักแคมาแกะเอาเมล็ดออก แล้วนำเมล็ดแคไปเพาะในแปลงเพาะดูแลรักษาต้นกล้าแคจนกระทั่งต้นกล้าแคมีความสูงประมาณ ๑๐ เซนติเมตร หรือเมื่อแคมีอายุประมาณ ๑ เดือน จากนั้นจึงย้ายต้นกล้ามาปลูกลงในแปลงปลูกที่ยกร่องไว้เรียบร้อยแล้ว สำหรับระยะปลูกควรจะเป็น ๑.๕-๒ เมตร จากนั้นประมาณ ๓ เดือน หรือเมื่อแคมีความสูงต้นประมาณ ๑ เมตร ก็จะสามารถเก็บดอกแคขายได้แล้ว


การดูแลรักษา
ในขั้นตอนของการปฎิบัติดูแลรักษา มีคำแนะนำเกี่ยวกับการให้น้ำต้นแคว่าไม่ควรให้น้ำแก่ต้นแคมากเกินไป เพราะจะทำให้แคไม่ค่อยออกดอก ควรจะให้น้ำเพียงอาทิตยละ ๑ ครั้ง ก็เพียงพอ สวนการให้ปุ๋ยควรจะให้ปุ๋ยทางใบและสารเร่งดอกไปพร้อม ๆ กับการใช้สารป้องกันกำจัดแมลงโดยผสมทั้งสามอยางเข้าด้วยกัน แล้วฉีดพ่นประมาณ ๑๕ วันตอหนึ่งครั้ง เมื่อต้นแคมีอายุได้ ๑ ปีให้ทำการตัดแตงกิ่งข้างล่างและกิ่งที่พุ่งสูงขึ้นไปทิ้งให้เหลือกิ่งที่อยู่ในระดับเท่าความสูงคนเพื่อสะดวกในการเก็บดอกแค และพยายามตัดแต่งให้กิ่งแผ่ออกด้านข้างจนดูเป็นทรงพุ่มโปร่ง ๆ เพราะนอกจากจะสะดวกในการเก็บดอกแล้วยังทำให้มีแมลงมารบกวนน้อยหรือถ้าหากมีแมลงมารบกวนก็สามารถฉีดพ่นยาป้องกันกำจัดได้ง่าย นอกจากนั้นยังทำให้ออกดอกได้มากอีกด้วย

                                            
เมื่อต้นแคเริ่มออกดอก จะสังเกตุเห็นเป็นตุ่มดอกสีเขียว จากนั้นอีกประมาณ ๒-๓ วันดอกก็จะมีขนาดใหญ่ มีกลีบดอกสีขาว รูปทรงคล้ายกับเมล็ดถั่ว ก็จะเก็บดอกแคขายได้ และควรเก็บดอกแคตั้งแต่ดอกยังตูมอยู่ไม่ควรรอจนดอกบานแล้วจึงเก็บเพราะจะทำให้ราคาถูกลง ในส่วนของฝักแคอ่อน ๆ ที่มีลักษณะคล้ายถั่วฝักยาวนั้น สามารถนำมารับประทานได้โดยนํามาต้มรับประทานกับน้ำพริกปลาทูในลักษณะเครื่องเคียงผักสดหรือใส่ในแกงป่า แกงส้มก็ได้เช่นกัน แต่เนื่องจากในสมัยก่อนมีพืชผักรับประทานกันมากมายจึงไม่ค่อยนิยมนำฝักแคมารับประทานกัน  ในส่วนของราคาและผลผลิตดอกแคนั้น ในพื้นที่ ๑ ไร่ ใช้ระยะปลูก ๑.๕-๒ เมตร สามารถจะเก็บดอกแคได้เฉลี่ยวันละ ๒๐-๓๐ กิโลกรัม ส่งจำหน่ายในราคากิโลกรัมละ ๒๐-๒๕ บาท ก็จะมีรายได้ประมาณวันละ ๔๐๐ บาท ราคาขึ้นอยู่กับภาวะของตลาดและในเขตพื้นที่ ดังนั้นจะถืออาชีพปลูกหรือเก็บดอกแคขายเป็นอาชีพเสริมกันก็ได้

คุณสมบัติในการใช้รักษาโรคของดอกแค
๑. รักษาโรคไข้หัวลม เมื่ออากาศเริ่มเปลี่ยน
๒. เป็นยาระบาย หากใช้ใบของมัน
๓. แก้รอยฟกช้ำโดยการโขลกแล้วนำไปพอกบริเวณนั้น
๔. รักษาโรคริดสีดวงจมูก โดยใช้เปลือก ใบ ราก และดอกมาต้มหยอดจมูก
๕. โรคปวดศีรษะใช้เปลือกไปต้มรับประทาน
๖. โรคบิด ถ่ายเป็นมูกเลือด ท้องร่วงใช้เปลือกไปต้มหรือฝนรับประทาน



Share this video :

บทความที่ได้รับความนิยม

 
Support : |
Copyright © 2011-2012 อาชีพพารวย - All Rights Reserved
เข้าสู่ปีที่ 2 อาชีพพารวย เพื่อนคู่คิดนักเกษตร พ.ศ. 2555
เว็บไซต์เพื่อนเกษตร