การเลี้ยงหมูหลุมแบบเกษตรธรรมชาติ
“หมูหลุม” เป็นภาษาชาวบ้านที่เรียกการเลี้ยงหมูแบบขุดหลุมลึก โดยมีวัสดุรองพื้นหลุม ดั้งเดิมมาจากประเทศเกาหลี มีแนวคิดตามหลักการของ “เกษตรกรรมธรรมชาติ” ซึ่งเป็นรูปแบบหนึ่งของระบบเกษตรกรรมยั่งยืน เป็นการเกษตรที่ไม่เพียงแต่คำนึงถึงผลผลิตจากการเกษตรเท่านั้น แต่มีปรัชญาแนวคิดอยู่เบื้องหลังของการทำงาน เป็นการพัฒนารูปแบบการเกษตรที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ความเป็นองค์รวมของระบบนิเวศน์ด้านการเกษตร วงจรชีวภาพห่วงโซ่อาหาร ดิน พืช สัตว์ จุลินทรีย์ พลังธรรมชาติหมุนเวียนจากพลังงานแสงแดด และน้ำ นำมาเป็นปัจจัยในการปลูกพืช เลี้ยงสัตว์ที่เกื้อกูลซึ่งกันและกัน พืชที่ปลูกส่วนหนึ่งนำมาเลี้ยงสัตว์ สัตว์ถ่ายมูลออกมาก็นำปุ๋ยมูลสัตว์มาเพิ่มความอุดมสมบรูณ์ให้กับดินเพื่อการ ปลูกพืช รวมถึงด้านเศรษฐกิจและสังคมของท้องถิ่น และการพึ่งพาตนเองในด้านการผลิตและการบริโภคขนาดเล็กและขนาดกลาง ที่เหมาะสมกับทรัพยากร ภูมิปัญญาในท้องถิ่น และวัฒนธรรมที่มีในชุมชน โดยมีเป้าหมายเชิงนโยบายอยู่ที่การพัฒนาชนบท การฟื้นฟูสิ่งแวดล้อมและการพัฒนาอย่างยั่งยืน การอยู่ดีกินดีของคนชนบท และสุขภาพของประชากร นำไปสู่การแก้ไขปัญหาความยากจนในที่สุด
ประโยชน์การเลี้ยงหมูหลุม
ลดต้นทุนค่าอาหารได้ถึง 50 - 70 เปอร์เซ็นต์ เนื่องจากเน้นการใช้วัตถุดิบในท้องถิ่น และการใช้พืชผักนานาชนิด มาใช้เลี้ยงหมูเป็นหลัก
ลดภาระการเลี้ยงหมูของเกษตรกรเนื่องจากไม่ต้องทำความสะอาดพื้นคอก
ลดมลภาวะของเสียจากการเลี้ยงหมู “ไม่มีกลิ่นเหม็น ไม่มีแมลงวัน” ไม่ทำลายสิ่งแวดล้อมในชุมชน
ได้ปุ๋ยอินทรีย์ สำหรับการปลูกพืช
การสร้างโรงเรือนหมูหลุม
ควรสร้างบนที่ดอน น้ำท่วมไม่ถึง อากาศถ่ายเทได้สะดวก
สร้าง โรงเรือนตามแนวทิศตะวันออก – ตะวันตก
วัสดุการก่อสร้างโรงเรือน ควรเป็นวัสดุที่หาง่ายในท้องถิ่น ตั้งแต่โครงสร้างจนถึงหลังคา เช่นใช้ไม้ยูคาฯ สำหรับทำเสาและโครงหลังคา ใช้ไม้โครงไม้ไผ่ มุงหลังคาด้วยหญ้าคา แฝก จาก หรือกระเบื้อง
พื้นที่สร้างคอกคำนวณ จาก จำนวนหมู 1 ตัวต่อพื้นที่ 1.5-2 ตารางเมตร
คอกขนาด 2.5 x 3 เมตร เลี้ยงหมูได้ 4 ตัว
คอกขนาด 4 x 4 เมตร เลี้ยงหมูได้ 8 ตัว
ขั้นตอนการสร้างคอกหมูหลุม
ขุดดินออกในส่วนพื้นที่จะสร้างคอก ลึก 90 เซ็นติเมตร
ใช้อิฐบล็อกกั้นด้านข้างคอกเหนือขอบหลุมสูงประมาณ 20 เซ็นติเมตร เพื่อกั้นดิน และฝนสาดลงในหลุม
ใส่วัสดุรองพื้นคอกลงไปในหลุม ซึ่งประกอบด้วย
ขี้เลื่อย หรือแกลบ 100 ส่วน
ดินส่วนที่ขุดออก หรือปุ๋ยคอก 10 ส่วน
เกลือ 0.3 - 0.5 ส่วน
รำละเอียด 1 ส่วน
ขั้นตอนการเตรียมพื้นคอกหมูหลุม
แบ่งความลึกของหลุมเป็น 3 ส่วน แต่ละส่วนมีความลึกประมาณ 30 เซนติเมตร ในแต่ละชั้น ให้เริ่มต้นจากการใส่แกลบหรือขี้เลื่อยลงไปก่อน ให้มีความสูงประมาณ 30 เซนติเมตร ตามด้วยดินที่ขุดหรือปุ๋ยคอก โรยทับด้วยรำละเอียดและเกลือ จากนั้นรดด้วยน้ำหมักชีวภาพให้มีความชื้นพอหมาด (ความชื้นประมาณ 70 เปอร์เซ็นต์) ถ้าจะให้ผลดีต่อประสิทธิภาพการย่อยสลายวัสดุรองพื้นคอก ควรโรยดินที่มีเชื้อราขาวบาง ๆ (เชื้อไตรโครเดอร์มา) ในแต่ละชั้น ทำจนครบ 3 ชั้น ในชั้นสุดท้าย ให้แกลบหรือขี้เลื่อยสูงเพียง 20 เซนติเมตร เพราะชั้นบนสุดโรยแกลบปิดหน้าหนา 1 ฝ่ามือ ทิ้งไว้ประมาณ 7 วัน จึงนำหมูมาเลี้ยง
พันธุ์สุกร
ควรใช้สุกร 3 สายเลือดจากฟาร์มที่เชื่อถือได้ และคัดสายพันธุ์มาสำหรับการเลี้ยงแบบปล่อยได้ดี ลูกสุกรขุนหย่านมแล้ว อายุประมาณ 1 - 2 เดือน น้ำหนักประมาณ 15-20 กิโลกรัม
การจัดการเลี้ยงดู
การนำลูกหมูมาเลี้ยง ควรมีน้ำหนัก ตั้งแต่ 15 – 20 กิโลกรัม
ในช่วงเดือนแรกให้ใช้อาหารเม็ดหมูอ่อนก่อนหลังจากนั้นค่อยเปลี่ยน เป็นอาหารผสมพวกรำ –ปลายข้าว และผสมพืชหมัก เศษผักหรือผักต่าง ๆ ในท้องถิ่น
น้ำดื่มใช้น้ำหมักสมุนไพร,น้ำหมักผลไม้,อัตรา 2 ช้อนโต๊ะต่อน้ำ 10 ลิตร
ใช้น้ำหมักชีวภาพรดพื้นคอก สัปดาห์ละครั้งเพื่อช่วยลดกลิ่น
หากขี้เลื่อยหรือแกลบภายในหลุมยุบตัวลง ให้เติมเข้าไปใหม่จนเสมอปากหลุม
การให้อาหาร
ในช่วงหมูเล็ก(หลังจากหย่านมจนถึงน้ำหนัก 30 กิโลกรัม) จะใช้อาหารเม็ดของอาหารหมูอ่อน หรืออาจจะผสมอาหารหมูเล็กเอง(อาหารข้น) ซึ่งประกอบด้วยรำอ่อน ปลายข้าว กากถั่วเหลืองและ ปลาป่น หรือใช้น้ำปลาหมักหรือน้ำหอยเชอร์รี่หมักแทนปลาป่นก็ได้ โดยนำไปผสมกับอาหารข้นในตอนที่จะให้หมูกินอาหาร เมื่อหมูน้ำหนัก 30 กิโลกรัมขึ้นไป จะให้รำ ปลายข้าว ผสมกับพืชหมัก ซึ่งพืชหมักคือ การนำเอาผักต่าง ๆ ต้นกล้วย ต้นถั่วเขียว กระถิน หรือหญ้าขน หญ้าเนเปียร์ มาหมักเป็นเวลา 7วัน และผสมกับปลาหมัก หรือหอยเชอร์รี่หมักเพื่อเป็นแหล่งโปรตีนและแร่ธาตุให้กับหมู แทนปลาป่น ด้านน้ำดื่มจะใช้สมุนไพรชนิดต่าง ๆ มาหมัก เพื่อให้หมูกินตลอดเวลา การทำน้ำหมักชีวภาพจะทำมาจากส่วนผสม บอระเพ็ด ตะโกส้ม สาบเสือ ตะไคร้หอม และมะกรูด ช่วยดับกลิ่น และช่วยบำรุงสุขภาพของหมู จะมีการราดน้ำหมัก และกลบปุ๋ยคอก อาทิตย์ละ 1 ครั้ง
การเลี้ยงหมู 1 ชุด (5 ตัว) จะให้ปุ๋ยประมาณ 2,500 กิโลกรัม ทำให้เกษตรกรมีปุ๋ยคอกไปใส่นาข้าว การเลี้ยงหมูชีวภาพจะใช้เวลาเลี้ยงประมาณ 4 เดือน ได้น้ำหนักประมาณ 100 กก.
วิธีการทำอาหารหมักหมูหลุม
ใช้ต้นกล้วย หรือหญ้า นำมาสับให้เป็นชิ้นเล็กๆ
ผสมกับน้ำตาล ทรายแดง โดยใช้อัตราส่วน น้ำตาล 1 กิโลกรัมต่อต้นกล้วย หรือหญ้าสับ 25 กิโลกรัม และเกลือ 2.5 ขีด คลุกเคล้าให้ เข้ากันดี(หรือ ๑๐๐-๔-๑)
ใส่ ใน ถัง-โอ่งหมัก ปิดด้วยกระดาษ หรือถุงปุ๋ยที่อากาศถ่ายเทได้ หมักทิ้งไว้ในที่ร่ม 4-5 วัน
การนำอาหารหมักมาใช้เลี้ยงหมู
การนำอาหารหมัก โดยเฉพาะพืชหมัก ซึ่งเป็นอาหารเยื่อใยที่ตามปกติหมูจะย่อยได้น้อย แต่การนำมาหมักจะช่วยให้หมูใช้ประโยชน์จากพืชหมักได้มากยิ่งขึ้น แต่อย่างไรก็ตามการนำไปใช้เลี้ยงหมูควรคำนึงถึงอายุของหมูด้วย โดยมีหลักการใช้อาหารหมัก ดังนี้
หมูรุ่น (น้ำหนัก 30 – 60 กก.)
ใช้อาหารผสม 2 ส่วน ผสมอาหารหมัก 1 ส่วน ให้กินวันละ 2-3 กก. ต่อวัน
หมูขุน (น้ำหนัก 60 – 100 กก.)
ใช้อาหารผสม 1 ส่วน ผสมอาหารหมัก 1 ส่วน ให้กินวันละ 4-6 กก. ต่อวัน
แม่หมูอุ้มท้อง
ใช้อาหารผสม 1 ส่วน ผสมอาหารหมัก 2 ส่วน ให้กินวันละ 3-4 กก. ต่อวัน
การทำน้ำหมักสมุนไพร
น้ำหมักสมุนไพรที่นำมาผสมในน้ำดื่ม จะช่วยลดกลิ่นมูลของหมูได้เป็นอย่างดี โดยทำให้การเลี้ยงหมู ไม่มีกลิ่นเหม็น และไม่มีแมลงวัน
วิธีการทำ
ใช้สมุนไพร เช่น ตะไคร้ ใบมะกรูด ข่า ขมิ้น บอระเพ็ด และใบเตย นำสมุนไพรทั้งหมดมาสับเป็นชิ้นเล็กๆ
นำสมุนไพร 1 กิโลกรัม ผสมกับน้ำตาลทรายแดง 1 กิโลกรัม หมักใส่ในถังพลาสติกหรือไห
ปิดด้วยกระดาษ หมักทิ้งไว้อย่างน้อย 1 เดือน
การนำมาใช้
ใช้น้ำหมักสมุนไพร 2 ช้อนโต๊ะ ผสมน้ำสะอาด 10 ลิตร นอกจากนี้ยังสามารถนำไปรดพื้นคอกเพื่อลดกลิ่น โดยใช้น้ำหมัก สมุนไพร 3-4 ช้อนโต๊ะ ต่อน้ำ 20 ลิตร
“หมูหลุม” เป็นภาษาชาวบ้านที่เรียกการเลี้ยงหมูแบบขุดหลุมลึก โดยมีวัสดุรองพื้นหลุม ดั้งเดิมมาจากประเทศเกาหลี มีแนวคิดตามหลักการของ “เกษตรกรรมธรรมชาติ” ซึ่งเป็นรูปแบบหนึ่งของระบบเกษตรกรรมยั่งยืน เป็นการเกษตรที่ไม่เพียงแต่คำนึงถึงผลผลิตจากการเกษตรเท่านั้น แต่มีปรัชญาแนวคิดอยู่เบื้องหลังของการทำงาน เป็นการพัฒนารูปแบบการเกษตรที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ความเป็นองค์รวมของระบบนิเวศน์ด้านการเกษตร วงจรชีวภาพห่วงโซ่อาหาร ดิน พืช สัตว์ จุลินทรีย์ พลังธรรมชาติหมุนเวียนจากพลังงานแสงแดด และน้ำ นำมาเป็นปัจจัยในการปลูกพืช เลี้ยงสัตว์ที่เกื้อกูลซึ่งกันและกัน พืชที่ปลูกส่วนหนึ่งนำมาเลี้ยงสัตว์ สัตว์ถ่ายมูลออกมาก็นำปุ๋ยมูลสัตว์มาเพิ่มความอุดมสมบรูณ์ให้กับดินเพื่อการ ปลูกพืช รวมถึงด้านเศรษฐกิจและสังคมของท้องถิ่น และการพึ่งพาตนเองในด้านการผลิตและการบริโภคขนาดเล็กและขนาดกลาง ที่เหมาะสมกับทรัพยากร ภูมิปัญญาในท้องถิ่น และวัฒนธรรมที่มีในชุมชน โดยมีเป้าหมายเชิงนโยบายอยู่ที่การพัฒนาชนบท การฟื้นฟูสิ่งแวดล้อมและการพัฒนาอย่างยั่งยืน การอยู่ดีกินดีของคนชนบท และสุขภาพของประชากร นำไปสู่การแก้ไขปัญหาความยากจนในที่สุด
ประโยชน์การเลี้ยงหมูหลุม
ลดต้นทุนค่าอาหารได้ถึง 50 - 70 เปอร์เซ็นต์ เนื่องจากเน้นการใช้วัตถุดิบในท้องถิ่น และการใช้พืชผักนานาชนิด มาใช้เลี้ยงหมูเป็นหลัก
ลดภาระการเลี้ยงหมูของเกษตรกรเนื่องจากไม่ต้องทำความสะอาดพื้นคอก
ลดมลภาวะของเสียจากการเลี้ยงหมู “ไม่มีกลิ่นเหม็น ไม่มีแมลงวัน” ไม่ทำลายสิ่งแวดล้อมในชุมชน
ได้ปุ๋ยอินทรีย์ สำหรับการปลูกพืช
การสร้างโรงเรือนหมูหลุม
ควรสร้างบนที่ดอน น้ำท่วมไม่ถึง อากาศถ่ายเทได้สะดวก
สร้าง โรงเรือนตามแนวทิศตะวันออก – ตะวันตก
วัสดุการก่อสร้างโรงเรือน ควรเป็นวัสดุที่หาง่ายในท้องถิ่น ตั้งแต่โครงสร้างจนถึงหลังคา เช่นใช้ไม้ยูคาฯ สำหรับทำเสาและโครงหลังคา ใช้ไม้โครงไม้ไผ่ มุงหลังคาด้วยหญ้าคา แฝก จาก หรือกระเบื้อง
พื้นที่สร้างคอกคำนวณ จาก จำนวนหมู 1 ตัวต่อพื้นที่ 1.5-2 ตารางเมตร
คอกขนาด 2.5 x 3 เมตร เลี้ยงหมูได้ 4 ตัว
คอกขนาด 4 x 4 เมตร เลี้ยงหมูได้ 8 ตัว
ขั้นตอนการสร้างคอกหมูหลุม
ขุดดินออกในส่วนพื้นที่จะสร้างคอก ลึก 90 เซ็นติเมตร
ใช้อิฐบล็อกกั้นด้านข้างคอกเหนือขอบหลุมสูงประมาณ 20 เซ็นติเมตร เพื่อกั้นดิน และฝนสาดลงในหลุม
ใส่วัสดุรองพื้นคอกลงไปในหลุม ซึ่งประกอบด้วย
ขี้เลื่อย หรือแกลบ 100 ส่วน
ดินส่วนที่ขุดออก หรือปุ๋ยคอก 10 ส่วน
เกลือ 0.3 - 0.5 ส่วน
รำละเอียด 1 ส่วน
ขั้นตอนการเตรียมพื้นคอกหมูหลุม
แบ่งความลึกของหลุมเป็น 3 ส่วน แต่ละส่วนมีความลึกประมาณ 30 เซนติเมตร ในแต่ละชั้น ให้เริ่มต้นจากการใส่แกลบหรือขี้เลื่อยลงไปก่อน ให้มีความสูงประมาณ 30 เซนติเมตร ตามด้วยดินที่ขุดหรือปุ๋ยคอก โรยทับด้วยรำละเอียดและเกลือ จากนั้นรดด้วยน้ำหมักชีวภาพให้มีความชื้นพอหมาด (ความชื้นประมาณ 70 เปอร์เซ็นต์) ถ้าจะให้ผลดีต่อประสิทธิภาพการย่อยสลายวัสดุรองพื้นคอก ควรโรยดินที่มีเชื้อราขาวบาง ๆ (เชื้อไตรโครเดอร์มา) ในแต่ละชั้น ทำจนครบ 3 ชั้น ในชั้นสุดท้าย ให้แกลบหรือขี้เลื่อยสูงเพียง 20 เซนติเมตร เพราะชั้นบนสุดโรยแกลบปิดหน้าหนา 1 ฝ่ามือ ทิ้งไว้ประมาณ 7 วัน จึงนำหมูมาเลี้ยง
พันธุ์สุกร
ควรใช้สุกร 3 สายเลือดจากฟาร์มที่เชื่อถือได้ และคัดสายพันธุ์มาสำหรับการเลี้ยงแบบปล่อยได้ดี ลูกสุกรขุนหย่านมแล้ว อายุประมาณ 1 - 2 เดือน น้ำหนักประมาณ 15-20 กิโลกรัม
การจัดการเลี้ยงดู
การนำลูกหมูมาเลี้ยง ควรมีน้ำหนัก ตั้งแต่ 15 – 20 กิโลกรัม
ในช่วงเดือนแรกให้ใช้อาหารเม็ดหมูอ่อนก่อนหลังจากนั้นค่อยเปลี่ยน เป็นอาหารผสมพวกรำ –ปลายข้าว และผสมพืชหมัก เศษผักหรือผักต่าง ๆ ในท้องถิ่น
น้ำดื่มใช้น้ำหมักสมุนไพร,น้ำหมักผลไม้,อัตรา 2 ช้อนโต๊ะต่อน้ำ 10 ลิตร
ใช้น้ำหมักชีวภาพรดพื้นคอก สัปดาห์ละครั้งเพื่อช่วยลดกลิ่น
หากขี้เลื่อยหรือแกลบภายในหลุมยุบตัวลง ให้เติมเข้าไปใหม่จนเสมอปากหลุม
การให้อาหาร
ในช่วงหมูเล็ก(หลังจากหย่านมจนถึงน้ำหนัก 30 กิโลกรัม) จะใช้อาหารเม็ดของอาหารหมูอ่อน หรืออาจจะผสมอาหารหมูเล็กเอง(อาหารข้น) ซึ่งประกอบด้วยรำอ่อน ปลายข้าว กากถั่วเหลืองและ ปลาป่น หรือใช้น้ำปลาหมักหรือน้ำหอยเชอร์รี่หมักแทนปลาป่นก็ได้ โดยนำไปผสมกับอาหารข้นในตอนที่จะให้หมูกินอาหาร เมื่อหมูน้ำหนัก 30 กิโลกรัมขึ้นไป จะให้รำ ปลายข้าว ผสมกับพืชหมัก ซึ่งพืชหมักคือ การนำเอาผักต่าง ๆ ต้นกล้วย ต้นถั่วเขียว กระถิน หรือหญ้าขน หญ้าเนเปียร์ มาหมักเป็นเวลา 7วัน และผสมกับปลาหมัก หรือหอยเชอร์รี่หมักเพื่อเป็นแหล่งโปรตีนและแร่ธาตุให้กับหมู แทนปลาป่น ด้านน้ำดื่มจะใช้สมุนไพรชนิดต่าง ๆ มาหมัก เพื่อให้หมูกินตลอดเวลา การทำน้ำหมักชีวภาพจะทำมาจากส่วนผสม บอระเพ็ด ตะโกส้ม สาบเสือ ตะไคร้หอม และมะกรูด ช่วยดับกลิ่น และช่วยบำรุงสุขภาพของหมู จะมีการราดน้ำหมัก และกลบปุ๋ยคอก อาทิตย์ละ 1 ครั้ง
การเลี้ยงหมู 1 ชุด (5 ตัว) จะให้ปุ๋ยประมาณ 2,500 กิโลกรัม ทำให้เกษตรกรมีปุ๋ยคอกไปใส่นาข้าว การเลี้ยงหมูชีวภาพจะใช้เวลาเลี้ยงประมาณ 4 เดือน ได้น้ำหนักประมาณ 100 กก.
วิธีการทำอาหารหมักหมูหลุม
ใช้ต้นกล้วย หรือหญ้า นำมาสับให้เป็นชิ้นเล็กๆ
ผสมกับน้ำตาล ทรายแดง โดยใช้อัตราส่วน น้ำตาล 1 กิโลกรัมต่อต้นกล้วย หรือหญ้าสับ 25 กิโลกรัม และเกลือ 2.5 ขีด คลุกเคล้าให้ เข้ากันดี(หรือ ๑๐๐-๔-๑)
ใส่ ใน ถัง-โอ่งหมัก ปิดด้วยกระดาษ หรือถุงปุ๋ยที่อากาศถ่ายเทได้ หมักทิ้งไว้ในที่ร่ม 4-5 วัน
การนำอาหารหมักมาใช้เลี้ยงหมู
การนำอาหารหมัก โดยเฉพาะพืชหมัก ซึ่งเป็นอาหารเยื่อใยที่ตามปกติหมูจะย่อยได้น้อย แต่การนำมาหมักจะช่วยให้หมูใช้ประโยชน์จากพืชหมักได้มากยิ่งขึ้น แต่อย่างไรก็ตามการนำไปใช้เลี้ยงหมูควรคำนึงถึงอายุของหมูด้วย โดยมีหลักการใช้อาหารหมัก ดังนี้
หมูรุ่น (น้ำหนัก 30 – 60 กก.)
ใช้อาหารผสม 2 ส่วน ผสมอาหารหมัก 1 ส่วน ให้กินวันละ 2-3 กก. ต่อวัน
หมูขุน (น้ำหนัก 60 – 100 กก.)
ใช้อาหารผสม 1 ส่วน ผสมอาหารหมัก 1 ส่วน ให้กินวันละ 4-6 กก. ต่อวัน
แม่หมูอุ้มท้อง
ใช้อาหารผสม 1 ส่วน ผสมอาหารหมัก 2 ส่วน ให้กินวันละ 3-4 กก. ต่อวัน
การทำน้ำหมักสมุนไพร
น้ำหมักสมุนไพรที่นำมาผสมในน้ำดื่ม จะช่วยลดกลิ่นมูลของหมูได้เป็นอย่างดี โดยทำให้การเลี้ยงหมู ไม่มีกลิ่นเหม็น และไม่มีแมลงวัน
วิธีการทำ
ใช้สมุนไพร เช่น ตะไคร้ ใบมะกรูด ข่า ขมิ้น บอระเพ็ด และใบเตย นำสมุนไพรทั้งหมดมาสับเป็นชิ้นเล็กๆ
นำสมุนไพร 1 กิโลกรัม ผสมกับน้ำตาลทรายแดง 1 กิโลกรัม หมักใส่ในถังพลาสติกหรือไห
ปิดด้วยกระดาษ หมักทิ้งไว้อย่างน้อย 1 เดือน
การนำมาใช้
ใช้น้ำหมักสมุนไพร 2 ช้อนโต๊ะ ผสมน้ำสะอาด 10 ลิตร นอกจากนี้ยังสามารถนำไปรดพื้นคอกเพื่อลดกลิ่น โดยใช้น้ำหมัก สมุนไพร 3-4 ช้อนโต๊ะ ต่อน้ำ 20 ลิตร