โสม เป็นสมุนไพรที่จัดว่าเป็นราชาแห่งสมุนไพร ใช้รักษาโรคมานานกว่า 2,000 ปี โสม นิยมใช้ตั้งแต่อดีตจนปัจจุบันโดยประเทศทางตะวันออกเชื่อว่าเป็นยาครอบจักรวาล โสมมีชื่อเรียกหลายอย่าง เช่น โสมจัน โสมญี่ปุ่น โสมเกาหลี โสมอเมริกา ผักกะโสม โสมไทย โสมดอกแดง และโสมที่นิยมใช้กันมาพันปี คือ โสมเกาหลี หรือโสมอเมริกา ซึ่งเชื่อว่ามีสรรพคุณทางยาอย่างแท้จริง คำว่า Gingseng มาจากภาษาจีนว่า เรนเซ็น (Ren Shen) แปลว่า โสมคน เนื่องจากมีรากอ้วนคล้ายลำตัว มีกิ่งรากแตกแขนงคล้ายแขนขาของคน เป็นพืชที่โตช้าปลูกยาก แต่ให้คุณค่ามหาศาล โสมที่เราคุ้นเคยคือโสมเกาหลี หรือโสมคน โสมได้รับการจัดเข้าเป็นพืชตระกูล Panax ginseng CA Meyer โดยนักพฤกษาศาสตร์ชาวรัสเซียชื่อว่า CA Meyer ในปี 2385 คำว่า Panax มีรากศัพท์มาจากภาษากรีกแปลว่า "รักษาได้สารพัดโรค" ต่อมาในปี 2503 ได้นำมาตรวจสอบอย่างเป็นระบบโดยบริษัทฟาร์มาตอน เอสเอ จำกัด ในเมืองลูกาโน ประเทศสวิสเซอร์แลนด์ เมื่อได้ศึกษาคุณสมบัติทางเภสัชวิทยา พิษวิทยา และศึกษาวิจัยโดยนำมาใช้กับคนไข้ พบว่าสารประกอบสำคัญในรากโสมคือจินซีโนไซด์ (ginsenosides) ช่วยให้ร่างกายสมบูรณ์แข็งแรง โสมเป็นรากของพืชทำให้แห้งอยู่ในตระกูล Araliaceae ในปัจจุบันมีการเพาะปลูกโสมกันทั่วไปทั้งในประเทศจีน ญี่ปุ่น เกาหลี รัสเซีย อินเดีย สหรัฐอเมริกา และแคนาดา โสมมีอยู่ด้วยกันหลายพันธุ์ แต่ละพันธุ์จะมีสรรพคุณแตกต่างกันทั้งนี้ขึ้นอยู่กับภูมิอากาศและท้องถิ่นที่ทำการเพาะปลูก โสมที่มีแหล่งกำเนิดจากเอเซียเรียกว่า Asian ginseng โสมจากประเทศอเมริกาเรียกว่า American ginseng (Panax quinquefolius L.) ให้ผลการรักษาน้อยกว่าโสมจากเอเซีย อีกชนิดหนึ่งคือ Siberian ginseng ส่วนประกอบจะไม่เหมือนสองชนิดแรก โดยให้ผลการรักษาอ่อนสุด โสมไซบีเรียไม่ใช่โสมที่แท้จริงตามสายพันธุ์ของโสม แต่เชื่อว่ามีระบบการทำงานคล้ายโสม โสมเกาหลีมีฤทธิ์อุ่น สรรพคุณเพิ่มเลือดและสมรรถภาพทางเพศ ชาวเกาหลีออกเสียงเรียกว่า "อินซัม" โสมมักเจริญเติบโตในที่ที่มีอากาศหนาวเย็น บริเวณเส้นรุ้งที่ 22-48 องศาเหนือ และเส้นแวงที่ 85-140 องศาตะวันออก ได้แก่ ดินแดนแถบประเทศเกาหลี จีน ญี่ปุ่น ตลอดจนเส้นแวงที่ 70-97 องศาตะวันตก ได้แก่ประเทศสหรัฐอเมริกา พันธุ์ของโสมนั้นมีหลายพันธุ์ ปลูกในหลายประเทศ อาทิ Panex Ginseng เป็นโสมปลูกในเกาหลี Panex quinquefolium ปลูกในอเมริกาเหนือ Panex notoginseng ปลูกมากในจีน Panex trifolius ปลูกมากในแถบอเมริกาตะวันออกเฉียงเหนือ Panex pseudoginseng ปลูกมากในเนปาลและเทือกเขาหิมาลัย Panex japonicus ปลูกมากในญี่ปุ่น
โสมมีทั้งโสมที่ขึ้นอยู่ในป่าตามธรรมชาติ และโสมที่มนุษย์ปลูกขึ้น รากโสมนั้นมีลักษณะคล้ายร่างกายมนุษย์ ตามตำรายาของสมัยโบราณกล่าวว่า ยิ่งโสมมีลักษณะใกล้เคียงมนุษย์มากเท่าไร ก็แสดงว่าโสมนั้นมีคุณค่ามากและมีราคาแพง โสมป่าจะมีคุณประโยชน์มากกว่าโสมปลูก ชาวบ้านพูดกันว่าโสมป่าที่ขึ้นตามธรรมชาตินั้นมีค่าดังทองคำ ในสมัยโบราณจึงมีการออกป่าเพื่อหาโสมกันมาก ก่อนที่จะออกป่าหาโสมนั้นจะต้องมีการทำพิธีต่างๆ เพื่อให้ร่างกายของพรานโสมมีความบริสุทธิ์ เช่น ชำระล้างร่างกายในธารน้ำเย็นก่อนเข้าป่า ไหว้ขอพรจากสิ่งศักดิ์สิทธิ์เพื่อให้คุ้มครองจากสัตว์ร้ายในป่า และขอให้ได้พบโสมตามที่ต้องการ ในปัจจุบันโสมป่านั้นหายากเต็มที หรืออาจจะสูญพันธุ์ไปหมดแล้ว ชาวเกาหลีจึงนิยมทำแปลงปลูกโสมเองบริเวณเชิงเขา เวลานั่งรถไปตามชนบทจะเห็นแปลงโสมอยู่มากมาย ซึ่งเป็นทัศนียภาพที่สวยงามอีกแบบหนึ่ง เกษตรกรจะนำเอาพลาสติกมาขึงแล้วคลุมด้วยหญ้าฟางเป็นหลังคา
เพิ่มสมรรถภาพการทำงานของร่างกาย
โสมมีคุณสมบัติต่อต้านความเมื่อยล้า ทำให้ร่างกายปลดปล่อยพลังงานมาใช้อย่างมีประสิทธิภาพ ขณะทำงานหรือออกกำลังกาย สารพลังงานเอทีพีและกลัยโคเจนที่มีอยู่ในกล้ามเนื้อจะถูกใช้หมดอย่างรวดเร็ว และเกิดกรดแลคติกเพิ่มขึ้นอย่างมาก ทำให้กล้ามเนื้อเมื่อยล้า สารสกัดจากโสมช่วยให้เซลล์ดูดซึมออกซิเจนเพิ่มขึ้น มีผลทำให้กระบวนการเผาผลาญภายในร่างกายเพิ่มมากขึ้น ร่างกายปลดปล่อยพลังงานได้มากขึ้น ขณะเดียวกับอัตราการเกิดกรดแลคติกก็จะน้อยลง เนื่องจากได้รับการการสังเคราะห์ให้กลับเป็นกลัยโคเจนใหม่ และมีการสะสมสารเอทีพีรวดเร็วขึ้น อัตราการเกิดความเมื่อยล้าของกล้ามเนื้อจึงลดน้อยลงด้วย
สารสกัดจากโสมช่วยปรับอัตราการเต้นของหัวใจให้กลับคืนสู่สภาพปกติรวดเร็วยิ่งขึ้น ร่างกายจึงเหน็ดเหนื่อยช้าลง มีความอดทนต่อการทำงานได้ดีขึ้น โสมเป็นพืชสมุนไพรที่มีสรรพคุณในการรักษาโรคต่าง ๆ มากมายจึงได้รับการพิจารณาให้เป็นสมุนไพรรักษาโรคที่ได้รับความนิยมมากที่สุดชนิดหนึ่งของโลก ด้วยคุณสมบัติหลายประการ รวมถึงการช่วยให้อวัยวะต่างๆ ทำงานได้ตามปกติ และโดยเฉพาะ คุณสมบัติที่โดดเด่น คือ การเพิ่มประสิทธิภาพร่างกายภายใต้สภาวะที่อ่อนเพลีย โสมมีคุณสมบัติลดความเครียด ช่วยปรับสภาพร่างกายและจิตใจให้ทนต่อภาวะต่างๆ ได้มากขึ้น และยังช่วยลดความเมื่อยล้า โดยกระตุ้นให้เซลล์ในร่างกายสร้างพลังงานเพิ่มขึ้น นอกจากนี้ยังช่วยให้ร่างกายรู้สึกสดชื่น กระปรี้กระเปร่า และกระตุ้นระบบภูมิคุ้มกันในร่างกายให้แข็งแรงมากขึ้น โสมมีส่วนช่วยเพิ่มอัตราการสร้างและเผาผลาญพลังงานของร่างกาย ทำให้นักกีฬามีความทนทานต่อการออกกำลังหนักได้ดีขึ้น และช่วยให้ร่างกายสามารถนำพาออกซิเจนไปใช้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
ผลต่อความเครียด
สารสกัดจากโสมมีคุณสมบัติต้านความเครียด โดยฮอร์โมน ACTH จากต่อมใต้สมองจะเป็นตัวควบคุมการหลั่งของฮอร์โมนจากต่อมหมวกไต ซึ่งทำหน้าที่ป้องกันและต่อต้านความเครียด โดยเร่งกระบวนการเมตาบอลิสซึมต่างๆ เพื่อปลดปล่อยพลังงานและสารออกมาต้านความเครียด
ช่วยปรับสภาพร่างกายและจิตใจ ให้ทนต่อความกดดันจากภายนอก โสมเร่งขบวนการเผาผลาญอาหารต่างๆ เพื่อปลดปล่อยพลังงานออกมาต่อต้านความเครียดลดการหลั่งฮอร์โมนที่ทำให้เกิดความเครียดจากต่อมหมวกไตช่วยบรรเทาอาการร้อนวูบวาบในหญิงวัยหมดประจำเดือน
ผลต่อสมรรถภาพทางเพศ
เชื่อกันว่าโสมมีฤทธิ์เป็นตัวกระตุ้นกำหนัดทางเพศ แต่การวิจัยค้นความด้วยวิทยาศาสตร์การแพทย์สมัยใหม่พิสูจน์ว่าโสมไม่ได้มีฤทธิ์ต่อฮอร์โมนเพศ หากการบำรุงด้วยโสมทำให้สมรรถภาพร่างกายและจิตใจสมบูรณ์แข็งแรง จึงส่งผลให้สมรรถภาพทางเพศมีความสมบูรณ์ขึ้นไปด้วย
เสริมประสิทธิภาพทางเพศในชาย มีงานวิจัยในผู้ป่วยที่มีปัญหาองคชาติไม่แข็งตัว ( Erectile dysfunction ) 45 รายโดยรับประทานโสมเกาหลี ปริมาณ 900 ม.ก. 3 ครั้งต่อวันเป็นเวลาสองเดือน พบว่าสามารถเพิ่มประสิทธิภาพได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ในการประเมินอย่างละเอียดทุกด้าน โสมจึงช่วยเสริม
สมรรถภาพทางเพศในผู้ชาย
รักษาโรคสมรรถภาพทางเพศเสื่อม ผลต่อสมรรถภาพทางเพศ ในสมัยโบราณเชื่อกันว่าโสมเป็นตัวกระตุ้นกำหนัดทางเพศ แต่การวิจัยทางวิทยาศาสตร์พิสูจน์ได้ว่า โสมไม่ได้ทำให้ฮอร์โมนทางเพศเปลี่ยนแปลงเลย การที่โสมช่วยให้สมรรถภาพทางเพศดีขึ้น เป็นผลจากคุณสมบัติที่ทำให้สุขภาพจิต และสมรรถภาพทางร่างกายดีขึ้นช่วยฟื้นฟูสมรรถภาพทางเพศ
ผลต่อระดับน้ำตาลในเลือด
สารสกัดจากโสมทำให้ตับอ่อนหลั่งอินซูลินออกมาควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ดีขึ้น ช่วยป้องกันการเกิดอาการชาตามนิ้วมือและปลายเท้า การเกิดแผลเน่าเปื่อย นอกจากนี้สารจินซีโนไซด์ Rb1 และ Re ยังมีฤทธิ์คล้ายอินซูลิน ช่วยลดขนาดการใช้อินซูลินในการรักษาผู้ป่วยเบาหวานได้ สารไบโอแอกทีฟในโสมช่วยรักษาเบาหวาน ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้อยู่ในระดับปกติ เสริมฤทธิ์ฮอร์โมนอินซูลินในการกำจัดน้ำตาลส่วนเกินออกจากร่างกาย
ลต่อระบบภูมิคุ้มกัน
โสมช่วยเพิ่มประสิทธิภาพของระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย ผลการทดลองพบว่าสารสกัดโสมช่วยให้ร่างกายมีภูมิคุ้มกันสูงขึ้น ปฏิกริยาตอบสนองของเม็ดเลือดขาวชนิดต่างๆ ดีขึ้นกระตุ้นระบบภูมิคุ้มกันในร่างกายให้ทำงานอย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น โดยการสร้างสารอินเทอเฟียรอน ซึ่งเป็นสารที่มีฤทธิ์ต้านไวรัส และกระตุ้นการสร้างอินเทอลิวคิน-1 อัตราการทำลายจุลินทรีย์หรืออนุภาคแปลกปลอมต่างๆของเซลล์เม็ดเลือดขาวเพิ่มขึ้น จำนวนเม็ดเลือดขาวเพิ่มสูงขึ้น เป็นผลทำให้ร่างกายสามารถเพิ่มภูมิคุ้มกันต่อโรค ที่มีสาเหตุจากเชื้อจุลินทรีย์ เชื้อไวรัส เชื้อรา และสารเคมีต่างๆ ตลอดจนการต่อต้านโรคภูมิแพ้ หรือโรคที่เกิดจากภูมิคุ้มกันบกพร่องชนิดต่างๆ ช่วยเร่งฟื้นฟูสมรรถภาพของผู้ป่วย จากการศึกษาวิจัยและผลทางคลีนิกพบว่าโสมสามารถต่อต้านโรคและอันตรายจากรังสีรวมถึงสารพิษต่างๆ อย่างมีประสิทธิภาพเพิ่มภูมิคุ้มกันของร่างกายต่อโรคแทรกซ้อนบางชนิด ช่วยร่างกายสร้างเม็ดเลือดแดง และเพิ่มสมรรถภาพในการต้านความเครียดซึ่งส่งผลให้สุขภาพโดยรวมดีขึ้น จึงทำให้ผู้ป่วยฟื้นตัวหายเป็นปกติจากอาการป่วยได้เร็วขึ้นช่วยให้ระบบย่อยทำงานได้ดีขึ้น ช่วยเจริญอาหารช่วยให้ร่างกายเผาผลาญอาหารได้ดีขึ้น
ผลต่อระบบประสาทส่วนกลาง
ในขนาดต่ำจะออกฤทธิ์กระตุ้นประสาทส่วนกลาง ช่วยให้ตื่นไม่ง่วง ในขนาดสูงออกฤทธิ์กดประสาท ทำให้หลับสนิท ใช้รักษาโรคนอนไม่หลับ สารจินซีโนไซด์ Rg1 จากโสมหรือในสารสกัดโสมจะกระตุ้นระบบประสาทส่วนกลางให้ตื่นตัว แต่จะเป็นการออกฤทธิ์ที่แตกต่างจากยากระตุ้นประสาทจำพวกแอมเฟตามีนหรือโคเคน จึงไม่ทำให้กระทบกระเทือนต่อการนอนหลับตามปกติ ส่วนจินซีโนไซด์ Rb และ Rc จะออกฤทธิ์ระงับประสาท ช่วยผ่อนคลายความตึงเครียด สารสกัดจากโสมจึงมีผลต่อระบบประสาทส่วนกลาง โดยเป็นทั้งตัวช่วยให้ประสาทตื่นตัวและระงับผ่อนคลายประสาทช่วยการเรียนรู้และความจำ ใช้รักษาโรคความจำเสื่อมช่วยลดความเครียด ช่วยลดภาวะซึมเศร้าในผู้สูงอายุ เพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน และความเหนื่อยล้าของสมองโสมมีผลต่อการทำงานของระบบประสาทที่เกี่ยวข้องกับการมองเห็นและการได้ยิน
ฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ
สารต้านอนุมูลอิสระในโสมช่วยชะลอความเสื่อมของเซลล์ต่างๆ ชะลอความชราภาพของเซลล์และอวัยวะต่างๆ กระบวนการเผาผลาญไขมันของร่างกายเพื่อให้เกิดพลังงาน เป็นสาเหตุทำให้เกิดอนุมูลอิสระที่สลายตัวจากออกซิเจน อนุมูลอิสระจะทำลายเนื้อเยื่อของอวัยวะต่างให้เสื่อมสลายลงตามกระบวนการของความชรา โสมและสารสกัดมาตรฐานโสม สามารถทำลายอนุมูลอิสระของออกซิเจนช่วยให้เนื่อเยื่อเสื่อมสภาพช้าลง ประกอบกับคุณสมบัติเป็นตัวปรับสภาพ "adaptogenic agent” ของโสม ทำให้ร่างกายและจิตใจมีความทนทานต่อความกดดัน ส่งผลในการชะลอกระบวนการเสื่อมชราให้ช้าลง และทำให้ร่างกายคงความสดใสเยาว์วัยอยู่ต่อไปได้เนิ่นนานขึ้น ช่วยลดอาการผิวหนังแห้งและเหี่ยวย่น ช่วยให้ผิวชุ่มชื่นผลต่อระบบไหลเวียนเลือดและระบบหายใจ
รักษาความดันโลหิตสูง ลดภาวะเส้นเลือดแข็งตัว และลดการจับตัวของเกล็ดเลือดในหลอดเลือดโสมมีสรรพคุณในการช่วยบำรุงหัวใจโดยออกฤทธิ์คล้ายกับยา digoxin ป้องกันโรคหัวใจขาดเลือด ป้องกันภาวะเส้นเลือดอุดตัน กระตุ้นการไหลเวียนเลือด ทำให้อัตราการเต้นของหัวใจเป็นปกติ ชีพจรเต้นเป็นปกติโสมมีสรรพคุณช่วยในเรื่องโรคปอดเรื้อรัง ชนิดที่พบบ่อยที่สุดคือโรคถุงลมโป่งพอง ซึ่งเป็นโรคที่พบได้บ่อยมาก
ผลต่อมะเร็ง
ป้องกันการกลายพันธุ์ของเซลล์ปกติไปเป็นเซลล์มะเร็ง หรือเนื้องอก โดยเฉพาะบริเวณกระเพาะอาหารและรังไข่ สารไบโอแอกทีฟในโสมช่วยยับยั้งการเจริญของเนื้องอกการรับประทานโสมเกาหลีเป็นเวลานานสามารถลดอุบัติการณ์ของมะเร็งตับลงได้ ด้วยฤทธิ์ต้านสารอัลฟาท็อกซินบีและยูรีเทน ซึ่งเป็นสาเหตุสำคัญในโรคมะเร็งตับ แต่ก็ยังไม่สามารถลดอุบัติการณ์ของโรคมะเร็งตับจากการดื่มสุราหรือสาเหตุอื่นได้โสมช่วยลดอุบัติการณ์หรือโอกาสเป็นมะเร็งบางชนิด ได้แก่ มะเร็งริมฝีปาก ช่องปากและคอ มะเร็งกล่องเสียง มะเร็งปอด มะเร็งหลอดอาหาร มะเร็งกระเพาะอาหาร มะเร็งตับ มะเร็งตับอ่อน มะเร็งรังไข่ และมะเร็งลำไส้ใหญ่ลดอัตราการแพร่กระจายของเซลล์มะเร็งลดอาการข้างเคียงจากการฉายรังสี
ผลข้างเคียงของโสม
1. ในบางรายอาจมีอาการปวดศีรษะ กระวนกระวาย นอนไม่หลับ ท้องเดิน ผื่นคันและบวม ประจำเดือนขาด หรือเจ็บเต้านม หากเกิดอาการดังกล่าวควรหยุดรับประทานให้ปรึกษาแพทย์ทันที
2. ผู้ที่รับประทานโสมมานานและปริมาณมากอาจจะเกิดกลุ่มอาการที่ประกอบไปด้วยความดันโลหิตสูง นอนไม่หลับ มีผื่นและท้องร่วงที่เรียกว่า ginseng abuse syndrome
3. โสมแดงอาจจะเสริมฤทธิ์กับกาแฟ หรือสารที่กระตุ้น
4. แม่ที่รับประทานโสมขณะตั้งครรภ์ เมื่อคลอดลูกอาจจะมีขนมาก
5. โสมมีฮอร์โมนซึ่งทำให้เกิดอาการคัดเต้านม
6. มีรายงานการตรวจพบยาฆ่าแมลงบางชนิดในโสมที่วางจำหน่าย และบางตัวอย่างพบว่ามีปริมาณโสมน้อยกว่าที่ระบุในฉลาก
พิษวิทยา
การวิจัยทางพิษวิทยาทั้งในเชิงเฉียบพลันและเรื้อรัง ยังไม่ปรากฏรายงานเกี่ยวกับผลข้างเคียงหรือพิษที่เกิดจากการใช้สารสกัดมาตรฐานโสม แม้จะมีการใช้ติดต่อกันเป็นเวลานาน ถือว่าการรับประทานโสมหรือสารสกัดมาตรฐาน มีความปลอดภัยสูงยาที่ไม่ควรทานร่วมกับโสม ได้แก่ ยาต้านการแข็งตัวของเลือดชื่อ warfarin ยากระตุ้นหัวใจชื่อ digoxin ยาต้านซึมเศร้าชื่อ phenelzine และสุรา อาจมีการรบกวนประจำเดือน อาการเจ็บหน้าอกขณะมีประจำเดือนไม่ควรทานโสมกับยาแอสไพริน รวมถึงไม่ควรทานอย่างยิ่งในสตรีตั้งครรภ์และเด็ก คนที่ตับอักเสบพบเอนไซม์ของตับสูงแล้ว หรือตับอักเสบจนตัวเหลืองตาเหลือง หรือตับโต ไม่ควรทานโสมโสมเป็นของร้อน บางคนทานแล้วก็หงุดหงิด จึงมีคำแนะนำให้ทานร่วมกับใบบัวบก ซึ่งเป็นของเย็น ผู้สูงอายุหลายคนทานโสมกับใบบัวบกเป็นประจำรากโสม เป็นส่วนของต้นพืชโสมที่นำมาใช้ในการบำบัดรักษา รากโสมมีรูปร่างคล้ายคน มีส่วนหัว ลำตัว แขน และขา จึงมีชื่อเรียกในภาษาไทยว่า "โสมคน" หรือที่ชาวจีนเรียกว่า "ยิ่นเซียม" ผลิตภัณฑ์จากรากโสมอาจแบ่งออกเป็น 2 ชนิดใหญ่ๆ
โสมชนิดสีขาว ได้มาจากรากโสมที่เก็บเกี่ยวมาสดๆ ล้างทำความสะอาดและตากแดดให้แห้ง รากโสมที่แห้งแล้วจะมีสีเหลืองปนขาว
โสมชนิดสีแดง ทำจากรากชนิดเดียวกับชนิดโสมสีขาว แต่ต่างกันที่วิธีการผลิต คือจะนำเอารากโสมสดที่ล้างทำความสะอาดแล้วมาทำการฆ่าเชื้อโรค โดยการนึ่งด้วยไอน้ำที่อุณหภูมิ 120–130 องศาเซลเซียส เป็นเวลานาน 2-3 ชั่วโมง ทำให้รากโสมเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลปนแดง จากนั้นจึงนำไปตากแดดให้แห้งสนิท
สารออกฤทธิ์
สารสำคัญในโสมที่พบในรากเป็นสาร saponin ซึ่งแบ่งเป็น 3 กลุ่ม คือ กลุ่มจินซีโนไซด์ ginsenoside กลุ่ม panaxoside และกลุ่ม chikusetsusaponin ส่วนประกอบที่สำคัญของโสมคือสารจินซีโนไซด์ ซึ่งจะมีในโสมประมาณร้อยละ 1-2 โดยน้ำหนัก ทั้งนี้ขึ้นกับชนิดของโสม แหล่งที่ปลูก รวมทั้งกระบวนการผลิต พบว่าโสมที่ขายในท้องตลาดบางชนิดแทบจะไม่มีสารจินซีโนไซด์เลย เวลาหาซื้อโสมมาบำรุงร่างกายจึงควรดูส่วนประกอบของโสมคือจินซีโนไซด์เป็นสำคัญ
รากโสมจะได้รับการยอมรับว่ามีประสิทธิผลในการบำบัดรักษา โดยไม่มีข้อโต้แย้งเป็นเวลานาน โดยเฉพาะอย่างยิ่งผลของโสมในด้านการบำรุงรักษาสุขภาพ ในปัจจุบันความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์ทำให้สามารถววิเคราะห์และพิสูจน์โสมในเชิงวิทยาการและเทคโนโลยีได้ เมื่อมีผลการวิเคราะห์และพิสูจน์ ทำให้โสมได้รับความนิยมแพร่หลายและเชื่อถือกันมากยิ่งขึ้นทั่วโลก โดยเฉพาะในด้านประสิทธิภาพและประสิทธิผลในการป้องกันและบำบัดรักษาโรคของโสม โดยไม่มีผลข้างเคียงที่เป็นอันตรายหรือมีความเสี่ยงต่อการเสพติดเหมือนสารเคมีสังเคราะห์อื่นๆ
เมื่อนำเอารากโสมและสารสกัดจากรากโสมมาทำการวิเคราะห์และตรวจพิสุจน์ พบว่าสารสำคัญที่มีฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาเป็นสารจำพวก interpene saponins ชนิดต่างๆ ที่มีชื่อเรียกว่าจินซีโนไซด์ “Ginsenosides" การวิเคราะห์และตรวจพิสูจน์ทั้งเชิงคุณภาพและปริมาณด้วยเทคนิคต่างๆ เช่น High Performance Liquid Chromatography (HPLC), Mass Spectrometry (MS), Nuclear Magnetic Resonance Spectrometry (NMR) เป็นต้น ช่วยให้สามารถแยกและจำแนกสารจินซีโนไซด์จากรากโสมและสารสกัดจากรากโสมได้อย่างน้อย 22 ชนิด ซึ่งแต่ละชนิดมีคุณสมบัติในการออกฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาแตกต่างกัน เมื่อนำจินซีโนไซด์ทั้งหมดมาใช้รวมกัน จะมีฤทธิ์เป็นตัวปรับสภาพร่างกายให้มีความสมดุลย์ตามธรรมชาติตามที่ร่างกายต้องการ เรียกว่า adaptogenic agent
สารจินซีโนไซด์ ชนิดต่างๆที่พบในปัจจุบันนั้น มีสารสำคัญหลักอยู่ด้วยกัน 6 ชนิด คือ Rb1, Rb2, Rc, Rd, Re และ Rg ส่วนที่เหลือเป็นสารฤทธิ์รองคือ Rb3, Ra, Ra1, Ra3, RO, Rg1,Rg2, Rg3, Rh1นอกจากสารจินซีโนไซด์ชนิดต่างๆ แล้วยังพบว่ารากโสมมีสารประกอบที่มีคุณประโยชน์ต่อร่างกายอีกมากกว่าสองร้อยชนิด ที่สำคัญได้แก่ สเตอรอล น้ำมันหอมระเหย แป้ง น้ำตาล วิตามินชนิดต่างๆ กรดอะมิโน และเป็ปไทด์ สารจินซีโนไซด์เป็นตัวกำหนดคุณค่าของโสม ในโสมต่างพันธุ์หรือแม้แต่ในโสมพันธุ์เดียวกัน แต่ปลูกต่างถิ่น และรากโสมมีอายุไม่เท่ากันจะมีส่วนประกอบของจินซีโนไซด์ต่างกัน และปริมาณจินซีโนไซด์ในแต่ละชนิดก็ไม่เท่ากัน จินซีโนไซด์ที่สะสมอยู่ต่ามส่วนต่างๆ ของรากโสมมีจำนวนและปริมาณไม่เท่ากัน ในส่วนรากโสมใหญ่หรือส่วนลำตัว มีจินซีโนไซด์รวมทั้งหมดเพียง 1.5% ขณะที่ส่วนรากแขนงและรากฝอย หรือส่วนที่เป็นแขนขา มีอยู่ 3-4% และส่วนหัวมีมากถึง 5-9% คุณค่าของโสมจึงไม่ได้อยู่ที่รูปร่างลักษณะของรากโสม แต่ขึ้นอยู่กับจำนวนและปริมาณของจินซีโนไซด์ที่มีอยู่ในรากโสม โดยสรรพคุณจะขึ้นอยู่กับจำนวนปริมาณจินซีโนไซด์ ความครบถ้วนของจินซีโนไซด์แต่ละชนิดในอัตราส่วนที่เหมาะสม
การเพาะปลูก
การเพาะปลูกโสมมีกระบวนการที่ยุ่งยากและซับซ้อน โสมสามารถขยายพันธุ์ได้เฉพาะจากเมล็ดเท่านั้น ต้นโสมต้องการอุณหภูมิต่ำ สภาพดินฟ้าอากาศที่เหมาะสมและอุดมสมบูรณ์ การปลูกโสมใช้เวลายาวนานนับจากการเพาะเมล็ด ซึ่งจะต้องเป็นเมล็ดสุกและแก่เต็มที่จากต้นโสมที่มีอายุประมาณ 5 ปีเท่านั้น โสมที่จะเก็บเกี่ยวเป็นผลผลิตได้จะต้องมีอายุประมาณ 4-6 ปี ฤดูกาลที่เหมาะสมของการเก็บเกี่ยวโสมที่มีคุณภาพดีที่สุดคือระหว่างเดือนกันยายนถึงเดือนตุลาคมในแต่ละปี
วิธีการปลูกคร่าว ๆ ดังนี้
1.ปีที่หนึ่ง ราวกลางเดือนกรกฎาคมเป็นการรวบรวมเมล็ดพันธุ์ ปลายกรกฎาคม–ต้นสิงหาคม เป็นช่วงคัดเมล็ดพันธุ์ ปลายตุลาคม-ต้นพฤศจิกายน เริ่มหว่านเมล็ด จนผ่านหน้าหนาวไปจนถึงกลางเดือนเมษายน
2.ปีที่สอง เมล็ดเริ่มเพาะตัว ในกลางเดือนเมษายนทำหลังคาคลุมด้วยฟาง ตุลาคมจนผ่านหน้าหนาวไปจนถึงปลายเดือนมีนาคม
3.ปีที่สาม ย้ายต้นอ่อนมาไว้ที่เรือนปลูก ปลายมีนาคม–ต้นเมษายน คลุมด้วยฟาง ตุลาคมจนผ่านหน้าหนาวไปจนถึงเดือนมีนาคม
4.ปีที่สี่ เอาฟางที่คลุมออก มีนาคมเริ่มพรวนดินใหม่ พฤษภาคม–กันยายน คลุมด้วยฟาง ตุลาคมจนผ่านหน้าหนาวตั้งแต่ปีที่สี่ จะวนซ้ำตามขั้นตอนนี้ จนกระทั่งครบ 6 ปี
การเก็บโสม
ส่วนที่เก็บคือราก การเก็บรากโสมต้องทำให้แห้งโดยเร็ว เพื่อป้องกันมิให้เอนไซม์ออกมาทำลายสาร saponin ในประเทศเกาหลีจะมีการคัดโสมคุณภาพดีจำนวนหนึ่งอบไอน้ำเพื่อทำลายเอนไซม์ให้หมดก่อนอบแห้ง เรียกโสมที่ผ่านกรรมวิธีนี้ว่า โสมแดง จัดเป็นโสมที่มีคุณภาพสูงสุด ราคาสูง ส่วนโสมที่นำไปตากแดดหรือทำให้แห้งโดยวิธีอื่น เรียกว่าโสมขาว คุณภาพและราคาต่ำกว่าชนิดแรก
โสมที่นิยมรับประทานควรมีอายุอย่างน้อย 6 ปี เมื่อปลูกครบ 6 ปีแล้วก็จะขุดหัวได้ ขุดลงไปประมาณ 5-10 เซ็นติเมตร จึงเห็นรากโสม โสมต้นหนึ่งจะมีหัวเดียว ความสูงของหัวโสมประมาณ 7-10 เซ็นติเมตร ส่วนหัวโสมสดหัวเล็ก ๆ ที่มีอายุน้อยกว่า 6 ปีชาวเกาหลีนิยมนำมาตุ๋นกับซุปไก่ตัวเล็ก ๆ ยัดไส้ข้าวเหนียว รับประทานเป็นอาหาร ที่ขึ้นชื่อคือซุปไก่ตุ๋นโสม ถ้าไม่ได้ชิมก็เหมือนกับไปไม่ถึงเกาหลี มีการปลูกโสมกันอย่างกว้างขวางในประเทศเกาหลี ซึ่งมีสภาพภูมิอากาศและคุณภาพของดินเหมาะสมต่อการเจริญเติบโต โสมควรปลูกในที่ร่มและมีการเจริญเติบโตช้าเมื่อเทียบกับพันธุ์ไม้ชนิดอื่น และยังค่อนข้างเปราะบาง ได้เคยมีการนำสารเคมีมาสังเคราะห์ขึ้นเพื่อขยายการเจริญเติบโตของมันให้รวดเร็วขึ้น โดยการปรับปรุงดิน ผลปรากฏว่า รากของโสมมักจะเน่าและตายลงเสมอ ดังนั้นโสมจะเจริญเติบโตได้ดีเฉพาะในดินธรรมชาติเท่านั้นและดูดซึมเอาแร่ธาตุที่มีประโยชน์มาเก็บไว้ในรากของโสมซึ่งต้องใช้เวลาอย่างน้อย 10-15 ปีถึงจะได้ลำต้นที่มีลักษณะที่สมบูรณ์อีกครั้ง เมื่อปลูกครบ 6 ปีแล้วที่ดินตรงนั้นจะใช้ปลูกโสมไม่ได้เลยเป็นเวลา 15 ปีเพื่อรอให้ดินบริเวณนั้นมีแร่ธาตุที่อุดมสมบูรณ์พร้อมที่จะปลูกโสมในครั้งต่อไป
โสมที่เป็นรูปแบบมาตรฐาน
โสมที่เพาะปลูกตามธรรมชาติจะมีจำนวนจินซีโนไซด์ไม่เท่ากัน และมีปริมาณของจินซีโนไซด์แต่ละชนิดในอัตราส่วนไม่แน่นอน โดยอาจมีการขาดจินซีโนไซด์บางชนิด หรืออาจมีอยู่บ้างในปริมาณที่ไม่เหมาะสม จนไม่สามารถออกฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาได้ครบถ้วน ปัจจุบันสามารถแยกสารประกอบสำคัญของโสมได้จนครบถ้วนและมากขึ้น การทดลองนำจินซีโนไซด์ทั้ง 22 ชนิดมารวมกันในปริมาณและอัตราส่วนต่างๆกันเพื่อทำการศึกษาและวิจัยเพื่อหาอัตราส่วนที่เหมาะสมและคงที่ เพื่อให้ได้คุณค่าและประโยชน์แก่ร่างกายมากที่สุด ตลอดจนทำการทดสอบสารออกฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาและทดสอบความเป็นพิษ จนปรากฏว่าใช้ได้ผล มีประสิทธิภาพและปลอดภัย จึงได้กำหนดเป็นมาตรฐานเดียวกัน ซึ่งกรรมวิธีนี้เรียกว่าการจัดทำเป็นมาตรฐาน และเรียกผลิตภัณฑ์ที่ผลิตโดยกระบวนการนี้ว่า “สารสกัดมาตรฐานโสม”
โสมมีทั้งโสมที่ขึ้นอยู่ในป่าตามธรรมชาติ และโสมที่มนุษย์ปลูกขึ้น รากโสมนั้นมีลักษณะคล้ายร่างกายมนุษย์ ตามตำรายาของสมัยโบราณกล่าวว่า ยิ่งโสมมีลักษณะใกล้เคียงมนุษย์มากเท่าไร ก็แสดงว่าโสมนั้นมีคุณค่ามากและมีราคาแพง โสมป่าจะมีคุณประโยชน์มากกว่าโสมปลูก ชาวบ้านพูดกันว่าโสมป่าที่ขึ้นตามธรรมชาตินั้นมีค่าดังทองคำ ในสมัยโบราณจึงมีการออกป่าเพื่อหาโสมกันมาก ก่อนที่จะออกป่าหาโสมนั้นจะต้องมีการทำพิธีต่างๆ เพื่อให้ร่างกายของพรานโสมมีความบริสุทธิ์ เช่น ชำระล้างร่างกายในธารน้ำเย็นก่อนเข้าป่า ไหว้ขอพรจากสิ่งศักดิ์สิทธิ์เพื่อให้คุ้มครองจากสัตว์ร้ายในป่า และขอให้ได้พบโสมตามที่ต้องการ ในปัจจุบันโสมป่านั้นหายากเต็มที หรืออาจจะสูญพันธุ์ไปหมดแล้ว ชาวเกาหลีจึงนิยมทำแปลงปลูกโสมเองบริเวณเชิงเขา เวลานั่งรถไปตามชนบทจะเห็นแปลงโสมอยู่มากมาย ซึ่งเป็นทัศนียภาพที่สวยงามอีกแบบหนึ่ง เกษตรกรจะนำเอาพลาสติกมาขึงแล้วคลุมด้วยหญ้าฟางเป็นหลังคา
เพิ่มสมรรถภาพการทำงานของร่างกาย
โสมมีคุณสมบัติต่อต้านความเมื่อยล้า ทำให้ร่างกายปลดปล่อยพลังงานมาใช้อย่างมีประสิทธิภาพ ขณะทำงานหรือออกกำลังกาย สารพลังงานเอทีพีและกลัยโคเจนที่มีอยู่ในกล้ามเนื้อจะถูกใช้หมดอย่างรวดเร็ว และเกิดกรดแลคติกเพิ่มขึ้นอย่างมาก ทำให้กล้ามเนื้อเมื่อยล้า สารสกัดจากโสมช่วยให้เซลล์ดูดซึมออกซิเจนเพิ่มขึ้น มีผลทำให้กระบวนการเผาผลาญภายในร่างกายเพิ่มมากขึ้น ร่างกายปลดปล่อยพลังงานได้มากขึ้น ขณะเดียวกับอัตราการเกิดกรดแลคติกก็จะน้อยลง เนื่องจากได้รับการการสังเคราะห์ให้กลับเป็นกลัยโคเจนใหม่ และมีการสะสมสารเอทีพีรวดเร็วขึ้น อัตราการเกิดความเมื่อยล้าของกล้ามเนื้อจึงลดน้อยลงด้วย
สารสกัดจากโสมช่วยปรับอัตราการเต้นของหัวใจให้กลับคืนสู่สภาพปกติรวดเร็วยิ่งขึ้น ร่างกายจึงเหน็ดเหนื่อยช้าลง มีความอดทนต่อการทำงานได้ดีขึ้น โสมเป็นพืชสมุนไพรที่มีสรรพคุณในการรักษาโรคต่าง ๆ มากมายจึงได้รับการพิจารณาให้เป็นสมุนไพรรักษาโรคที่ได้รับความนิยมมากที่สุดชนิดหนึ่งของโลก ด้วยคุณสมบัติหลายประการ รวมถึงการช่วยให้อวัยวะต่างๆ ทำงานได้ตามปกติ และโดยเฉพาะ คุณสมบัติที่โดดเด่น คือ การเพิ่มประสิทธิภาพร่างกายภายใต้สภาวะที่อ่อนเพลีย โสมมีคุณสมบัติลดความเครียด ช่วยปรับสภาพร่างกายและจิตใจให้ทนต่อภาวะต่างๆ ได้มากขึ้น และยังช่วยลดความเมื่อยล้า โดยกระตุ้นให้เซลล์ในร่างกายสร้างพลังงานเพิ่มขึ้น นอกจากนี้ยังช่วยให้ร่างกายรู้สึกสดชื่น กระปรี้กระเปร่า และกระตุ้นระบบภูมิคุ้มกันในร่างกายให้แข็งแรงมากขึ้น โสมมีส่วนช่วยเพิ่มอัตราการสร้างและเผาผลาญพลังงานของร่างกาย ทำให้นักกีฬามีความทนทานต่อการออกกำลังหนักได้ดีขึ้น และช่วยให้ร่างกายสามารถนำพาออกซิเจนไปใช้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
ผลต่อความเครียด
สารสกัดจากโสมมีคุณสมบัติต้านความเครียด โดยฮอร์โมน ACTH จากต่อมใต้สมองจะเป็นตัวควบคุมการหลั่งของฮอร์โมนจากต่อมหมวกไต ซึ่งทำหน้าที่ป้องกันและต่อต้านความเครียด โดยเร่งกระบวนการเมตาบอลิสซึมต่างๆ เพื่อปลดปล่อยพลังงานและสารออกมาต้านความเครียด
ช่วยปรับสภาพร่างกายและจิตใจ ให้ทนต่อความกดดันจากภายนอก โสมเร่งขบวนการเผาผลาญอาหารต่างๆ เพื่อปลดปล่อยพลังงานออกมาต่อต้านความเครียดลดการหลั่งฮอร์โมนที่ทำให้เกิดความเครียดจากต่อมหมวกไตช่วยบรรเทาอาการร้อนวูบวาบในหญิงวัยหมดประจำเดือน
ผลต่อสมรรถภาพทางเพศ
เชื่อกันว่าโสมมีฤทธิ์เป็นตัวกระตุ้นกำหนัดทางเพศ แต่การวิจัยค้นความด้วยวิทยาศาสตร์การแพทย์สมัยใหม่พิสูจน์ว่าโสมไม่ได้มีฤทธิ์ต่อฮอร์โมนเพศ หากการบำรุงด้วยโสมทำให้สมรรถภาพร่างกายและจิตใจสมบูรณ์แข็งแรง จึงส่งผลให้สมรรถภาพทางเพศมีความสมบูรณ์ขึ้นไปด้วย
เสริมประสิทธิภาพทางเพศในชาย มีงานวิจัยในผู้ป่วยที่มีปัญหาองคชาติไม่แข็งตัว ( Erectile dysfunction ) 45 รายโดยรับประทานโสมเกาหลี ปริมาณ 900 ม.ก. 3 ครั้งต่อวันเป็นเวลาสองเดือน พบว่าสามารถเพิ่มประสิทธิภาพได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ในการประเมินอย่างละเอียดทุกด้าน โสมจึงช่วยเสริม
สมรรถภาพทางเพศในผู้ชาย
รักษาโรคสมรรถภาพทางเพศเสื่อม ผลต่อสมรรถภาพทางเพศ ในสมัยโบราณเชื่อกันว่าโสมเป็นตัวกระตุ้นกำหนัดทางเพศ แต่การวิจัยทางวิทยาศาสตร์พิสูจน์ได้ว่า โสมไม่ได้ทำให้ฮอร์โมนทางเพศเปลี่ยนแปลงเลย การที่โสมช่วยให้สมรรถภาพทางเพศดีขึ้น เป็นผลจากคุณสมบัติที่ทำให้สุขภาพจิต และสมรรถภาพทางร่างกายดีขึ้นช่วยฟื้นฟูสมรรถภาพทางเพศ
ผลต่อระดับน้ำตาลในเลือด
สารสกัดจากโสมทำให้ตับอ่อนหลั่งอินซูลินออกมาควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ดีขึ้น ช่วยป้องกันการเกิดอาการชาตามนิ้วมือและปลายเท้า การเกิดแผลเน่าเปื่อย นอกจากนี้สารจินซีโนไซด์ Rb1 และ Re ยังมีฤทธิ์คล้ายอินซูลิน ช่วยลดขนาดการใช้อินซูลินในการรักษาผู้ป่วยเบาหวานได้ สารไบโอแอกทีฟในโสมช่วยรักษาเบาหวาน ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้อยู่ในระดับปกติ เสริมฤทธิ์ฮอร์โมนอินซูลินในการกำจัดน้ำตาลส่วนเกินออกจากร่างกาย
ลต่อระบบภูมิคุ้มกัน
โสมช่วยเพิ่มประสิทธิภาพของระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย ผลการทดลองพบว่าสารสกัดโสมช่วยให้ร่างกายมีภูมิคุ้มกันสูงขึ้น ปฏิกริยาตอบสนองของเม็ดเลือดขาวชนิดต่างๆ ดีขึ้นกระตุ้นระบบภูมิคุ้มกันในร่างกายให้ทำงานอย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น โดยการสร้างสารอินเทอเฟียรอน ซึ่งเป็นสารที่มีฤทธิ์ต้านไวรัส และกระตุ้นการสร้างอินเทอลิวคิน-1 อัตราการทำลายจุลินทรีย์หรืออนุภาคแปลกปลอมต่างๆของเซลล์เม็ดเลือดขาวเพิ่มขึ้น จำนวนเม็ดเลือดขาวเพิ่มสูงขึ้น เป็นผลทำให้ร่างกายสามารถเพิ่มภูมิคุ้มกันต่อโรค ที่มีสาเหตุจากเชื้อจุลินทรีย์ เชื้อไวรัส เชื้อรา และสารเคมีต่างๆ ตลอดจนการต่อต้านโรคภูมิแพ้ หรือโรคที่เกิดจากภูมิคุ้มกันบกพร่องชนิดต่างๆ ช่วยเร่งฟื้นฟูสมรรถภาพของผู้ป่วย จากการศึกษาวิจัยและผลทางคลีนิกพบว่าโสมสามารถต่อต้านโรคและอันตรายจากรังสีรวมถึงสารพิษต่างๆ อย่างมีประสิทธิภาพเพิ่มภูมิคุ้มกันของร่างกายต่อโรคแทรกซ้อนบางชนิด ช่วยร่างกายสร้างเม็ดเลือดแดง และเพิ่มสมรรถภาพในการต้านความเครียดซึ่งส่งผลให้สุขภาพโดยรวมดีขึ้น จึงทำให้ผู้ป่วยฟื้นตัวหายเป็นปกติจากอาการป่วยได้เร็วขึ้นช่วยให้ระบบย่อยทำงานได้ดีขึ้น ช่วยเจริญอาหารช่วยให้ร่างกายเผาผลาญอาหารได้ดีขึ้น
ผลต่อระบบประสาทส่วนกลาง
ในขนาดต่ำจะออกฤทธิ์กระตุ้นประสาทส่วนกลาง ช่วยให้ตื่นไม่ง่วง ในขนาดสูงออกฤทธิ์กดประสาท ทำให้หลับสนิท ใช้รักษาโรคนอนไม่หลับ สารจินซีโนไซด์ Rg1 จากโสมหรือในสารสกัดโสมจะกระตุ้นระบบประสาทส่วนกลางให้ตื่นตัว แต่จะเป็นการออกฤทธิ์ที่แตกต่างจากยากระตุ้นประสาทจำพวกแอมเฟตามีนหรือโคเคน จึงไม่ทำให้กระทบกระเทือนต่อการนอนหลับตามปกติ ส่วนจินซีโนไซด์ Rb และ Rc จะออกฤทธิ์ระงับประสาท ช่วยผ่อนคลายความตึงเครียด สารสกัดจากโสมจึงมีผลต่อระบบประสาทส่วนกลาง โดยเป็นทั้งตัวช่วยให้ประสาทตื่นตัวและระงับผ่อนคลายประสาทช่วยการเรียนรู้และความจำ ใช้รักษาโรคความจำเสื่อมช่วยลดความเครียด ช่วยลดภาวะซึมเศร้าในผู้สูงอายุ เพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน และความเหนื่อยล้าของสมองโสมมีผลต่อการทำงานของระบบประสาทที่เกี่ยวข้องกับการมองเห็นและการได้ยิน
ฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ
สารต้านอนุมูลอิสระในโสมช่วยชะลอความเสื่อมของเซลล์ต่างๆ ชะลอความชราภาพของเซลล์และอวัยวะต่างๆ กระบวนการเผาผลาญไขมันของร่างกายเพื่อให้เกิดพลังงาน เป็นสาเหตุทำให้เกิดอนุมูลอิสระที่สลายตัวจากออกซิเจน อนุมูลอิสระจะทำลายเนื้อเยื่อของอวัยวะต่างให้เสื่อมสลายลงตามกระบวนการของความชรา โสมและสารสกัดมาตรฐานโสม สามารถทำลายอนุมูลอิสระของออกซิเจนช่วยให้เนื่อเยื่อเสื่อมสภาพช้าลง ประกอบกับคุณสมบัติเป็นตัวปรับสภาพ "adaptogenic agent” ของโสม ทำให้ร่างกายและจิตใจมีความทนทานต่อความกดดัน ส่งผลในการชะลอกระบวนการเสื่อมชราให้ช้าลง และทำให้ร่างกายคงความสดใสเยาว์วัยอยู่ต่อไปได้เนิ่นนานขึ้น ช่วยลดอาการผิวหนังแห้งและเหี่ยวย่น ช่วยให้ผิวชุ่มชื่นผลต่อระบบไหลเวียนเลือดและระบบหายใจ
รักษาความดันโลหิตสูง ลดภาวะเส้นเลือดแข็งตัว และลดการจับตัวของเกล็ดเลือดในหลอดเลือดโสมมีสรรพคุณในการช่วยบำรุงหัวใจโดยออกฤทธิ์คล้ายกับยา digoxin ป้องกันโรคหัวใจขาดเลือด ป้องกันภาวะเส้นเลือดอุดตัน กระตุ้นการไหลเวียนเลือด ทำให้อัตราการเต้นของหัวใจเป็นปกติ ชีพจรเต้นเป็นปกติโสมมีสรรพคุณช่วยในเรื่องโรคปอดเรื้อรัง ชนิดที่พบบ่อยที่สุดคือโรคถุงลมโป่งพอง ซึ่งเป็นโรคที่พบได้บ่อยมาก
ผลต่อมะเร็ง
ป้องกันการกลายพันธุ์ของเซลล์ปกติไปเป็นเซลล์มะเร็ง หรือเนื้องอก โดยเฉพาะบริเวณกระเพาะอาหารและรังไข่ สารไบโอแอกทีฟในโสมช่วยยับยั้งการเจริญของเนื้องอกการรับประทานโสมเกาหลีเป็นเวลานานสามารถลดอุบัติการณ์ของมะเร็งตับลงได้ ด้วยฤทธิ์ต้านสารอัลฟาท็อกซินบีและยูรีเทน ซึ่งเป็นสาเหตุสำคัญในโรคมะเร็งตับ แต่ก็ยังไม่สามารถลดอุบัติการณ์ของโรคมะเร็งตับจากการดื่มสุราหรือสาเหตุอื่นได้โสมช่วยลดอุบัติการณ์หรือโอกาสเป็นมะเร็งบางชนิด ได้แก่ มะเร็งริมฝีปาก ช่องปากและคอ มะเร็งกล่องเสียง มะเร็งปอด มะเร็งหลอดอาหาร มะเร็งกระเพาะอาหาร มะเร็งตับ มะเร็งตับอ่อน มะเร็งรังไข่ และมะเร็งลำไส้ใหญ่ลดอัตราการแพร่กระจายของเซลล์มะเร็งลดอาการข้างเคียงจากการฉายรังสี
ผลข้างเคียงของโสม
1. ในบางรายอาจมีอาการปวดศีรษะ กระวนกระวาย นอนไม่หลับ ท้องเดิน ผื่นคันและบวม ประจำเดือนขาด หรือเจ็บเต้านม หากเกิดอาการดังกล่าวควรหยุดรับประทานให้ปรึกษาแพทย์ทันที
2. ผู้ที่รับประทานโสมมานานและปริมาณมากอาจจะเกิดกลุ่มอาการที่ประกอบไปด้วยความดันโลหิตสูง นอนไม่หลับ มีผื่นและท้องร่วงที่เรียกว่า ginseng abuse syndrome
3. โสมแดงอาจจะเสริมฤทธิ์กับกาแฟ หรือสารที่กระตุ้น
4. แม่ที่รับประทานโสมขณะตั้งครรภ์ เมื่อคลอดลูกอาจจะมีขนมาก
5. โสมมีฮอร์โมนซึ่งทำให้เกิดอาการคัดเต้านม
6. มีรายงานการตรวจพบยาฆ่าแมลงบางชนิดในโสมที่วางจำหน่าย และบางตัวอย่างพบว่ามีปริมาณโสมน้อยกว่าที่ระบุในฉลาก
พิษวิทยา
การวิจัยทางพิษวิทยาทั้งในเชิงเฉียบพลันและเรื้อรัง ยังไม่ปรากฏรายงานเกี่ยวกับผลข้างเคียงหรือพิษที่เกิดจากการใช้สารสกัดมาตรฐานโสม แม้จะมีการใช้ติดต่อกันเป็นเวลานาน ถือว่าการรับประทานโสมหรือสารสกัดมาตรฐาน มีความปลอดภัยสูงยาที่ไม่ควรทานร่วมกับโสม ได้แก่ ยาต้านการแข็งตัวของเลือดชื่อ warfarin ยากระตุ้นหัวใจชื่อ digoxin ยาต้านซึมเศร้าชื่อ phenelzine และสุรา อาจมีการรบกวนประจำเดือน อาการเจ็บหน้าอกขณะมีประจำเดือนไม่ควรทานโสมกับยาแอสไพริน รวมถึงไม่ควรทานอย่างยิ่งในสตรีตั้งครรภ์และเด็ก คนที่ตับอักเสบพบเอนไซม์ของตับสูงแล้ว หรือตับอักเสบจนตัวเหลืองตาเหลือง หรือตับโต ไม่ควรทานโสมโสมเป็นของร้อน บางคนทานแล้วก็หงุดหงิด จึงมีคำแนะนำให้ทานร่วมกับใบบัวบก ซึ่งเป็นของเย็น ผู้สูงอายุหลายคนทานโสมกับใบบัวบกเป็นประจำรากโสม เป็นส่วนของต้นพืชโสมที่นำมาใช้ในการบำบัดรักษา รากโสมมีรูปร่างคล้ายคน มีส่วนหัว ลำตัว แขน และขา จึงมีชื่อเรียกในภาษาไทยว่า "โสมคน" หรือที่ชาวจีนเรียกว่า "ยิ่นเซียม" ผลิตภัณฑ์จากรากโสมอาจแบ่งออกเป็น 2 ชนิดใหญ่ๆ
โสมชนิดสีขาว ได้มาจากรากโสมที่เก็บเกี่ยวมาสดๆ ล้างทำความสะอาดและตากแดดให้แห้ง รากโสมที่แห้งแล้วจะมีสีเหลืองปนขาว
โสมชนิดสีแดง ทำจากรากชนิดเดียวกับชนิดโสมสีขาว แต่ต่างกันที่วิธีการผลิต คือจะนำเอารากโสมสดที่ล้างทำความสะอาดแล้วมาทำการฆ่าเชื้อโรค โดยการนึ่งด้วยไอน้ำที่อุณหภูมิ 120–130 องศาเซลเซียส เป็นเวลานาน 2-3 ชั่วโมง ทำให้รากโสมเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลปนแดง จากนั้นจึงนำไปตากแดดให้แห้งสนิท
สารออกฤทธิ์
สารสำคัญในโสมที่พบในรากเป็นสาร saponin ซึ่งแบ่งเป็น 3 กลุ่ม คือ กลุ่มจินซีโนไซด์ ginsenoside กลุ่ม panaxoside และกลุ่ม chikusetsusaponin ส่วนประกอบที่สำคัญของโสมคือสารจินซีโนไซด์ ซึ่งจะมีในโสมประมาณร้อยละ 1-2 โดยน้ำหนัก ทั้งนี้ขึ้นกับชนิดของโสม แหล่งที่ปลูก รวมทั้งกระบวนการผลิต พบว่าโสมที่ขายในท้องตลาดบางชนิดแทบจะไม่มีสารจินซีโนไซด์เลย เวลาหาซื้อโสมมาบำรุงร่างกายจึงควรดูส่วนประกอบของโสมคือจินซีโนไซด์เป็นสำคัญ
รากโสมจะได้รับการยอมรับว่ามีประสิทธิผลในการบำบัดรักษา โดยไม่มีข้อโต้แย้งเป็นเวลานาน โดยเฉพาะอย่างยิ่งผลของโสมในด้านการบำรุงรักษาสุขภาพ ในปัจจุบันความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์ทำให้สามารถววิเคราะห์และพิสูจน์โสมในเชิงวิทยาการและเทคโนโลยีได้ เมื่อมีผลการวิเคราะห์และพิสูจน์ ทำให้โสมได้รับความนิยมแพร่หลายและเชื่อถือกันมากยิ่งขึ้นทั่วโลก โดยเฉพาะในด้านประสิทธิภาพและประสิทธิผลในการป้องกันและบำบัดรักษาโรคของโสม โดยไม่มีผลข้างเคียงที่เป็นอันตรายหรือมีความเสี่ยงต่อการเสพติดเหมือนสารเคมีสังเคราะห์อื่นๆ
เมื่อนำเอารากโสมและสารสกัดจากรากโสมมาทำการวิเคราะห์และตรวจพิสุจน์ พบว่าสารสำคัญที่มีฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาเป็นสารจำพวก interpene saponins ชนิดต่างๆ ที่มีชื่อเรียกว่าจินซีโนไซด์ “Ginsenosides" การวิเคราะห์และตรวจพิสูจน์ทั้งเชิงคุณภาพและปริมาณด้วยเทคนิคต่างๆ เช่น High Performance Liquid Chromatography (HPLC), Mass Spectrometry (MS), Nuclear Magnetic Resonance Spectrometry (NMR) เป็นต้น ช่วยให้สามารถแยกและจำแนกสารจินซีโนไซด์จากรากโสมและสารสกัดจากรากโสมได้อย่างน้อย 22 ชนิด ซึ่งแต่ละชนิดมีคุณสมบัติในการออกฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาแตกต่างกัน เมื่อนำจินซีโนไซด์ทั้งหมดมาใช้รวมกัน จะมีฤทธิ์เป็นตัวปรับสภาพร่างกายให้มีความสมดุลย์ตามธรรมชาติตามที่ร่างกายต้องการ เรียกว่า adaptogenic agent
สารจินซีโนไซด์ ชนิดต่างๆที่พบในปัจจุบันนั้น มีสารสำคัญหลักอยู่ด้วยกัน 6 ชนิด คือ Rb1, Rb2, Rc, Rd, Re และ Rg ส่วนที่เหลือเป็นสารฤทธิ์รองคือ Rb3, Ra, Ra1, Ra3, RO, Rg1,Rg2, Rg3, Rh1นอกจากสารจินซีโนไซด์ชนิดต่างๆ แล้วยังพบว่ารากโสมมีสารประกอบที่มีคุณประโยชน์ต่อร่างกายอีกมากกว่าสองร้อยชนิด ที่สำคัญได้แก่ สเตอรอล น้ำมันหอมระเหย แป้ง น้ำตาล วิตามินชนิดต่างๆ กรดอะมิโน และเป็ปไทด์ สารจินซีโนไซด์เป็นตัวกำหนดคุณค่าของโสม ในโสมต่างพันธุ์หรือแม้แต่ในโสมพันธุ์เดียวกัน แต่ปลูกต่างถิ่น และรากโสมมีอายุไม่เท่ากันจะมีส่วนประกอบของจินซีโนไซด์ต่างกัน และปริมาณจินซีโนไซด์ในแต่ละชนิดก็ไม่เท่ากัน จินซีโนไซด์ที่สะสมอยู่ต่ามส่วนต่างๆ ของรากโสมมีจำนวนและปริมาณไม่เท่ากัน ในส่วนรากโสมใหญ่หรือส่วนลำตัว มีจินซีโนไซด์รวมทั้งหมดเพียง 1.5% ขณะที่ส่วนรากแขนงและรากฝอย หรือส่วนที่เป็นแขนขา มีอยู่ 3-4% และส่วนหัวมีมากถึง 5-9% คุณค่าของโสมจึงไม่ได้อยู่ที่รูปร่างลักษณะของรากโสม แต่ขึ้นอยู่กับจำนวนและปริมาณของจินซีโนไซด์ที่มีอยู่ในรากโสม โดยสรรพคุณจะขึ้นอยู่กับจำนวนปริมาณจินซีโนไซด์ ความครบถ้วนของจินซีโนไซด์แต่ละชนิดในอัตราส่วนที่เหมาะสม
การเพาะปลูก
การเพาะปลูกโสมมีกระบวนการที่ยุ่งยากและซับซ้อน โสมสามารถขยายพันธุ์ได้เฉพาะจากเมล็ดเท่านั้น ต้นโสมต้องการอุณหภูมิต่ำ สภาพดินฟ้าอากาศที่เหมาะสมและอุดมสมบูรณ์ การปลูกโสมใช้เวลายาวนานนับจากการเพาะเมล็ด ซึ่งจะต้องเป็นเมล็ดสุกและแก่เต็มที่จากต้นโสมที่มีอายุประมาณ 5 ปีเท่านั้น โสมที่จะเก็บเกี่ยวเป็นผลผลิตได้จะต้องมีอายุประมาณ 4-6 ปี ฤดูกาลที่เหมาะสมของการเก็บเกี่ยวโสมที่มีคุณภาพดีที่สุดคือระหว่างเดือนกันยายนถึงเดือนตุลาคมในแต่ละปี
วิธีการปลูกคร่าว ๆ ดังนี้
1.ปีที่หนึ่ง ราวกลางเดือนกรกฎาคมเป็นการรวบรวมเมล็ดพันธุ์ ปลายกรกฎาคม–ต้นสิงหาคม เป็นช่วงคัดเมล็ดพันธุ์ ปลายตุลาคม-ต้นพฤศจิกายน เริ่มหว่านเมล็ด จนผ่านหน้าหนาวไปจนถึงกลางเดือนเมษายน
2.ปีที่สอง เมล็ดเริ่มเพาะตัว ในกลางเดือนเมษายนทำหลังคาคลุมด้วยฟาง ตุลาคมจนผ่านหน้าหนาวไปจนถึงปลายเดือนมีนาคม
3.ปีที่สาม ย้ายต้นอ่อนมาไว้ที่เรือนปลูก ปลายมีนาคม–ต้นเมษายน คลุมด้วยฟาง ตุลาคมจนผ่านหน้าหนาวไปจนถึงเดือนมีนาคม
4.ปีที่สี่ เอาฟางที่คลุมออก มีนาคมเริ่มพรวนดินใหม่ พฤษภาคม–กันยายน คลุมด้วยฟาง ตุลาคมจนผ่านหน้าหนาวตั้งแต่ปีที่สี่ จะวนซ้ำตามขั้นตอนนี้ จนกระทั่งครบ 6 ปี
การเก็บโสม
ส่วนที่เก็บคือราก การเก็บรากโสมต้องทำให้แห้งโดยเร็ว เพื่อป้องกันมิให้เอนไซม์ออกมาทำลายสาร saponin ในประเทศเกาหลีจะมีการคัดโสมคุณภาพดีจำนวนหนึ่งอบไอน้ำเพื่อทำลายเอนไซม์ให้หมดก่อนอบแห้ง เรียกโสมที่ผ่านกรรมวิธีนี้ว่า โสมแดง จัดเป็นโสมที่มีคุณภาพสูงสุด ราคาสูง ส่วนโสมที่นำไปตากแดดหรือทำให้แห้งโดยวิธีอื่น เรียกว่าโสมขาว คุณภาพและราคาต่ำกว่าชนิดแรก
โสมที่นิยมรับประทานควรมีอายุอย่างน้อย 6 ปี เมื่อปลูกครบ 6 ปีแล้วก็จะขุดหัวได้ ขุดลงไปประมาณ 5-10 เซ็นติเมตร จึงเห็นรากโสม โสมต้นหนึ่งจะมีหัวเดียว ความสูงของหัวโสมประมาณ 7-10 เซ็นติเมตร ส่วนหัวโสมสดหัวเล็ก ๆ ที่มีอายุน้อยกว่า 6 ปีชาวเกาหลีนิยมนำมาตุ๋นกับซุปไก่ตัวเล็ก ๆ ยัดไส้ข้าวเหนียว รับประทานเป็นอาหาร ที่ขึ้นชื่อคือซุปไก่ตุ๋นโสม ถ้าไม่ได้ชิมก็เหมือนกับไปไม่ถึงเกาหลี มีการปลูกโสมกันอย่างกว้างขวางในประเทศเกาหลี ซึ่งมีสภาพภูมิอากาศและคุณภาพของดินเหมาะสมต่อการเจริญเติบโต โสมควรปลูกในที่ร่มและมีการเจริญเติบโตช้าเมื่อเทียบกับพันธุ์ไม้ชนิดอื่น และยังค่อนข้างเปราะบาง ได้เคยมีการนำสารเคมีมาสังเคราะห์ขึ้นเพื่อขยายการเจริญเติบโตของมันให้รวดเร็วขึ้น โดยการปรับปรุงดิน ผลปรากฏว่า รากของโสมมักจะเน่าและตายลงเสมอ ดังนั้นโสมจะเจริญเติบโตได้ดีเฉพาะในดินธรรมชาติเท่านั้นและดูดซึมเอาแร่ธาตุที่มีประโยชน์มาเก็บไว้ในรากของโสมซึ่งต้องใช้เวลาอย่างน้อย 10-15 ปีถึงจะได้ลำต้นที่มีลักษณะที่สมบูรณ์อีกครั้ง เมื่อปลูกครบ 6 ปีแล้วที่ดินตรงนั้นจะใช้ปลูกโสมไม่ได้เลยเป็นเวลา 15 ปีเพื่อรอให้ดินบริเวณนั้นมีแร่ธาตุที่อุดมสมบูรณ์พร้อมที่จะปลูกโสมในครั้งต่อไป
โสมที่เป็นรูปแบบมาตรฐาน
โสมที่เพาะปลูกตามธรรมชาติจะมีจำนวนจินซีโนไซด์ไม่เท่ากัน และมีปริมาณของจินซีโนไซด์แต่ละชนิดในอัตราส่วนไม่แน่นอน โดยอาจมีการขาดจินซีโนไซด์บางชนิด หรืออาจมีอยู่บ้างในปริมาณที่ไม่เหมาะสม จนไม่สามารถออกฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาได้ครบถ้วน ปัจจุบันสามารถแยกสารประกอบสำคัญของโสมได้จนครบถ้วนและมากขึ้น การทดลองนำจินซีโนไซด์ทั้ง 22 ชนิดมารวมกันในปริมาณและอัตราส่วนต่างๆกันเพื่อทำการศึกษาและวิจัยเพื่อหาอัตราส่วนที่เหมาะสมและคงที่ เพื่อให้ได้คุณค่าและประโยชน์แก่ร่างกายมากที่สุด ตลอดจนทำการทดสอบสารออกฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาและทดสอบความเป็นพิษ จนปรากฏว่าใช้ได้ผล มีประสิทธิภาพและปลอดภัย จึงได้กำหนดเป็นมาตรฐานเดียวกัน ซึ่งกรรมวิธีนี้เรียกว่าการจัดทำเป็นมาตรฐาน และเรียกผลิตภัณฑ์ที่ผลิตโดยกระบวนการนี้ว่า “สารสกัดมาตรฐานโสม”