การปลูกชมพู่



การปลูกชมพู่
 พันธุ์ที่นิยมปลูก ชมพู่เพชรสุวรรณ , ชมพู่เพชรสายรุ้ง , ชมพู่เพชรน้ำผึ้ง , ชมพู่ทับทิมจันทร์ , ชมพู่ทูลเกล้า , ชมพู่น้ำดอกไม้ , และพันธุ์อื่น ๆ
ชื่อสามัญ Rosoe apple
ชื่อวิทยาศาสตร์ Eugenia javaniea lamk Family myrtaceae
ประวัติ ชมพู่เป็นไม้ผลที่มีคนนิยมปลูกมาก เพราะปลูกง่าย โตเร็ว รสชาติหวานกรอบ มีวิตามินซีสูง นิยมนำไปฝากญาติมิตร เพราะเป็นผลไม้ที่ปลอดภัยแก่ผู้บริโภคเนื่องจากการปลูกชมพู่ต้องห่อผล ระยะเวลาการห่อผล 20 – 25 วัน ฤทธิของสารเคมีต่าง ๆ หมดฤทธิแล้ว หลังจากซื้อมาแล้วนำมาล้างผลด้วยน้ำสะอาดนิดหน่อยรับประทานได้เลย ชมพู่จัดเป็นไม้ผลเมืองร้อนมีถิ่นกำเนิดแถบประเทศอินโดนีเซีย อินเดีย จัดเป็นพืชตระกูลเดียวกับหว้า และยูคาลิปตัส 


1.   การเตรียมแปลงปลูก
1.1  ในการปลูกชมพู่สามารถปลูกได้ทั้งแบบยกร่องในที่ราบลุ่มภาคกลาง ภาคตะวันออก และภาคตะวันตก ซึ่งการปลูกแบบยกร่องนี้ส่วนหลังร่องกว้างประมาณ 3 เมตร  ร่องน้ำกว้าง 1 - 1.50 เมตร
 มีแนวชายร่องข้างละ 0.50 เซนติเมตร ซึ่งหลังยกร่องแล้วควรตากดินไว้ 1 เดือน แล้วจึงพลิกหน้าดินให้ดินล่างลงไปอยู่ด้านล่างและดินบนซึ่งถูกทับขณะขุดร่องกลับมาอยู่ด้านบนตามเดิม
ช่วงพลิกดินนี้เองชาวสวนสามารถทำการปรับสภาพดินโดยใส่ปูนขาวและใส่ปุ๋ยคอกลงไปในดินได้เลย สำหรับพื้นที่ดอนควรไถพรวนพร้อมทำการปรับสภาพดินและใส่ปุ๋ยคอกไปเลย

2.   การกำหนดระยะปลูก
2.1 แบบยกร่องนั้น ส่วนใหญ่ใช้ระยะห่างระหว่างต้น 4 เมตร
2.2 บนพื้นที่ดอนใช้ระยะ 4 * 4 เมตร หรือ 6 * 6 เมตร แล้วแต่สภาพความอุดมสมบูรณ์ของดินด้วย ถ้าดินอุดมสมบูรณ์ควรปลูกระยะ 6 * 6 เมตร
3.   การเตรียมหลุมปลูก
โดยทั่ว ๆ ไปหลุมปลูกจะใช้ขนาด 50 * 50 * 50 กว้าง * ยาว * ลึก โดยแยกดินหน้าไว้ข้างหนึ่งและดินล่างไว้อีกข้างหนึ่ง แล้วเอาปุ๋ยอินทรีย์ ยักษ์เขียว สูตร 1 ประมาณ 0.5 กิโลกรัม
และปุ๋ยฟอสเฟต 0.5 กิโลกรัม กลบลงไปในหลุมจนพูน


4.   การปลูก
นำต้นพันธุ์ชมพู่ที่คัดเลือกไว้แล้ว นำมาถอดภาชนะเพาะชำออกแล้ว ตรวจดูว่ามีรากขดหรือไม่แล้วขยายรากออก หันทิศทางของกิ่งให้เหมาะสม แล้วฝังลงในดินในหลุมที่เตรียมไว้
โดยให้ระดับสูงกว่าระดับดินเดิมเล็กน้อย แล้วนำดินล้างมาเติมบนปากหลุมจนพูน แล้วอัดดินให้แน่นปักไม้และผูกเชือกยึดลำต้น พร้อมปักทางมะพร้าวพรางแสงในทิศทางตะวันออกและตะวันตก
 เสร็จแล้วรดน้ำให้ชุ่มทันที เพื่อป้องกันไม่ให้ต้นชมพู่ที่ปลูกใหม่เหี่ยวเฉาได้ หลังจากชมพูตั้งตัวได้แล้วจึงค่อยนำทางมะพร้าวออก

5.   การปฏิบัติดูแลรักษา
5.1 การให้น้ำ เนื่องจากชมพู่เป็นพืชชอบน้ำ ดังนั้นในการผลิตชมพู่จึงจำเป็นต้องมีการให้น้ำชมพู่อย่างสม่ำเสมอ วิธีการให้น้ำย่อมแตกต่างไปตามวิธีการปลูก และสภาพพื้นที่ซึ่งจำแนกออกเป็น 3 วิธี ใหญ่ ๆ ดังนี้
(1)  เรือพ่นน้ำ วิธีนี้เป็นวิธีที่เหมาะสมสำหรับการให้น้ำในร่องสวนในที่ราบลุ่มภาคกลาง ภาคตะวันตกและภาคตะวันออก วิธีนี้ต้องคำนึงถึงความแรงน้ำที่จะพ่นออกมา ถ้าแรงเกินไปจะทำให้หน้าดินแน่นและเกิดการชะล้างปุ๋ยไปจากหน้าดิน
(2)  สายยาง วิธีนี้เหมาะสำหรับการปลูกชมพู่ในที่ดอนและเป็นสวนขนาดเล็ก เป็นวิธีที่สะดวกแต่ต้องคอยเปลี่ยนตำแหน่ง และหลุมปลูกเป็นระยะ ๆ ไป ต้องคำนึงถึงแรงดันน้ำและปริมาณที่ให้ โดยต้องคำนึงถึงการชะล้างที่อาจจะเกิดที่บริเวณหน้าดินได้
(3)  แบบหัวพ่นฝอย แบบมินิสปริงเกอร์ (Mini springker) วิธีนี้นิยมกันมากวิธีหนึ่ง เพราะประหยัดแรงงานและเวลา และยังเป็นวิธีที่มีประสิทธิภาพสูง ลดการชะล้างของแรงน้ำที่มีต่อปุ๋ยในแปลง อีกทั้งสามารถควบคุมปริมาณน้ำได้ถูกต้อง
นอกจากนี้วิธีนี้ยังสามารถให้ปุ๋ยผสมไปกับน้ำได้เลย แต่อย่างไรก็ตาม ในการใช้ระบบน้ำต้องเสียค่าติดตั้งมากกว่าวิธีอื่น ๆ ในการผลิตชมพู่เป็นการค้าเพื่อให้ได้ชมพู่มีคุณภาพดีเป็นที่ต้องการของตลาด
5.2  การให้ปุ๋ย  เกษตรกรจำเป็นต้องมีการให้ปุ๋ยอย่างถูกต้อง และเหมาะสมกับความต้องการของต้นชมพู่ สามารถจำแนกเป็น 2 ประเภท

(1)  ปุ๋ยอินทรีย์ ซึ่งนอกจากใส่เตรียมหลุมปลูกแล้ว หลังจากต้นอายุได้ 1 เดือนเกษตรกรควรใส่ปุ๋ยอินทรีย์ ยักษ์เขียว สูตร 1 (แถบทอง)อีกประมาณ 1 กิโลกรัม/ต้น เพื่อกระตุ้นการเจริญเติบโต
(2)  ปุ๋ยเคมี สำหรับการใส่ปุ๋ยเคมีนี้เกษตรกรควรพิจารณาตามระยะการเติบโต และอายุของต้นชมพู่และปริมาณผลผลิตที่ให้ในฤดูกาลที่ผ่านมาด้วย ก็จะช่วยให้สามารถคำนวณปริมาณได้อย่างเหมาะสมยิ่งขึ้น จึงแบ่งออกเป็น
สำหรับต้นชมพู่ที่ยังไม่ให้ผล  ช่วงนี้ชมพู่ต้องการปุ๋ยเพื่อการเจริญเติบโตทางด้านลำต้น กิ่ง ใบ เป็นหลัก ทางดิน  ควรใช้ปุ๋ยอินทรีย์ ยักษ์เขียว สูตร 1 (แถบทอง)  อัตรา 0.5 กิโลกรัม ทุก ๆ 45 วัน สลับกับปุ๋ยเคมี สูตร 25-7-7 
ชมพู่ที่ปลูกปีแรกควรให้ปุ๋ยเคมีประมาณ 500 กรัม โดยแบ่งใส่ 2 ครั้ง ในช่วงต้นฤดูฝน 1 ครั้ง และปลายฤดูฝนอีก 1 ครั้งทางใบ  ฉีดพ่นไบโอเฟอร์ทิล สูตรบำรุงต้น ไล่แมลง อัตรา 40 ซีซี / น้ำ 20 ลิตร ทุก 21-30 วัน
เพื่อกระตุ้นการเจริญเติบโต และไล่แมลง ซึ่งทำให้ในช่วงปีแรกนี้อาจไม่ต้องใช้สารเคมีกำจัดแมลงแต่อย่างใดในต้นที่ให้ผลแล้วอายุ 2 ปี ขึ้นไป

1.    ช่วงหลังเก็บผล  บำรุงต้น กิ่ง ก้าน ใบ (ทางดิน ใส่ ยักษ์เขียว เกรดAAA สูตรเข้มข้นพิเศษ(แถบทอง)ในอัตราประมาณ ½-1 กิโลกรัม / ต้น  ประมาณ 2-3 ครั้ง ห่างกัน 30 วัน ทางใบ  ฉีดพ่นไบโอเฟอร์ทิล สูตรบำรุงต้น ไล่แมลง อัตรา 40 ซีซี / น้ำ 20 ลิตร + อาหารเสริม “คีเลท” อัตรา 5-10 กรัม / น้ำ 20 ลิตร ทุก ๆ 7-10 วัน ประมาณ 5-6 ครั้ง)
2.    ช่วงก่อนบังคับดอก(ประมาณ 45 วัน) เพื่อบังคับไม่ให้ชมพู่แตกใบอ่อน(อั้นยอด) ทำให้ต้นสะสมอาหารพร้อมออกดอก (ทางดิน ใส่ปุ๋ยที่มีตัวกลางสูง เช่น 12 - 24 - 12 หรือ 8 - 24 - 24 ในอัตราส่วน 300 - 500 กรัม/ต้น ประมาณ 1 ครั้ง  ทางใบ ใช้ปุ๋ยสูตร 0-52-34 อัตรา 40 กรัม / น้ำ 20 ลิตร ฉีดพ่นห่างกัน 5-7 วัน ประมาณ 3-4 ครั้ง)
3.    ช่วงกระตุ้นช่อดอก  เพื่อให้ช่อดอกมาก ขั้วเหนียวไม่ร่วง และเปอร์เซ็นต์ติดผลสูง (ทางใบ ฉีดพ่นไบโอเฟอร์ทิล สูตรบำรุงต้น ไล่แมลง อัตรา 30-40 ซีซี / น้ำ 20 ลิตร ทุก 5-7 ประมาณ 5 ครั้ง) +อาหารเสริมรวม “คีเลท” อัตรา 10 กรัม / น้ำ 20 ลิตร
4.    ช่วงพัฒนาผล หลังจากชมพู่ติดผลแล้วนั้น ผลจะมีการพัฒนา
ในระยะแรก เมื่อดอกโรยและติดผลแล้ว  (ทางดิน ใส่ยักษ์เขียว เกรดAAA สูตรเข้มข้นพิเศษ(แถบทอง)อัตรา ½ - 1 กิโลกรัมทุก ๆ 20-30 วัน ทางใบ ใช้ไบโอเฟอร์ทิล สูตรเร่งขนาดผล อัตรา 30 ซีซี / น้ำ 20 ลิตร + “แคล-แม็ก” แคลเซียมโบรอน อัตรา 10-15 ซีซี / น้ำ 20 ลิตร + อาหารเสริมรวม “คีเลท” อัตรา 10 กรัม / น้ำ 20 ลิตร ฉีดพ่นทุก ๆ 10 วัน
ระยะหลังจากห่อผล จนถึงก่อนเก็บผลผลิต  (ทางดิน  ใส่ปุ๋ยตัวท้ายสูงเช่น สูตร 13 - 13 - 21 ปริมาณ 300 – 500 กรัม/ ต้นสลับกับยักษ์เขียว เกรดAAA สูตรเข้มข้นพิเศษ(แถบทอง) อัตรา ½ - 1 กิโลกรัม ประมาณ 1-2 ครั้ง  ทางใบ ใช้ไบโอเฟอร์ทิล สูตรเร่งขนาดผล อัตรา 50 ซีซี / น้ำ 20 ลิตร + แคลแม็ก(แคลเซียมโบรอน) อัตรา 10 ซีซี / น้ำ 20 ลิตร ฉีดพ่นทุก ๆ 10 วัน)


6.  การกำจัดวัชพืช ไม่แนะนำให้ใช้สารเคมีกำจัด เพราะจะทำให้รากชมพู่เสียหาย ต้นชมพู่โทรม มีผลทำให้การราดสารบังคับให้ออกดอกทำได้ยากและเมื่อติดดอกติดผลแล้ว จะร่วงง่าย
7.   การตัดแต่งกิ่ง การตัดแต่งกิ่งนอกจากทำให้ได้ทรงพุ่มตามต้องการแล้ว ยังช่วยลดปริมาณโรคแมลง อีกทั้งทำให้ชมพู่ออกดอกติดผลดีมีคุณภาพอีกด้วย สามารถแบ่งออกเป็น 2 ลักษณะ ดังนี้
7.1  การตัดแต่งเพื่อบังคับทรงพุ่ม ควรเริ่มทำเมื่อชมพู่มีขนาดเล็กหลังจากปลูกใหม่ โดยการเลี้ยงลำต้นประธานเพียงต้นเดียว และที่ความสูงจากพื้นดิน 50 เซนติเมตรให้ตัดยอดชมพู่จะทำให้กิ่งที่แตกแขนงมาใหม่ 2 กิ่ง ที่ระยะ 6 - 12 นิ้ว
ให้ตัดกิ่งทั้ง 2 แล้ว ให้แตกเพิ่มเป็น 4 กิ่ง ทำอย่างนี้ไปจะได้กิ่งแขนง 8 ตามลำดับ ซึ่งจะทำให้ต้นชมพู่มีโครงสร้างแข็งแรง และไปรอแสงส่องผ่านกิ่งโคนต้นได้ การปฏิบัติงานใต้ทรงพุ่มสะดวก
7.2  การตัดแต่งเพื่อการออกดอกและติดผลที่มีคุณภาพ การตัดแต่งแบบนี้จะใช้ในชมพู่ที่ให้ผลแล้ว ซึ่งควรทำปีละ 2 ครั้ง โดยเลือกตัดแต่งกิ่ง ดังนี้
2.1  กิ่งแก่ที่เคยให้ผลแล้ว และไม่สามารถให้ผลอีกต่อไป
2.2  กิ่งแซมในทรงพุ่มขนาดเล็ก
2.3  กิ่งไขว้ หรือกิ่งซ้อนทับกัน ให้เลือกกิ่งที่เป็นโครงสร้างหลักไว้
2.4  กิ่งที่โรคแมลงหรือกาฝากอาศัย
2.5  กิ่งฉีกหัก หรือกิ่งแห้ง
2.6  กิ่งน้ำค้างหรือกิ่งกระโดงที่เจริญเติบโตจากในทรงพุ่มทะลุออกเหนือทรงพุ่ม
2.7  ส่วนยอดที่สูงจากพื้นดินเกิน 2 เมตร

การปลิดผล
การออกดอกชมพู่จะออกบริเวณกิ่ง ในทรงพุ่มหลังจากดอกได้รับการผสมแล้วก็จะติดเป็นผล ที่มีขนาดเล็กมีลักษณะคล้ายถ้วย หลังจากนั้นผลจะขยายใหญ่มีสีเข้มขึ้น เกษตรกรควรทำการปลิดผลที่ถูกโรคแมลงทำลาย ผลที่มีขนาดเล็กหรือรูปร่างผิดปกติออก
โดยเหลือไว้ช่อละ 3 - 4 ผลเท่านั้น กรณีที่ช่อผลอยู่ติดกันมากไม่ควรเก็บไว้ ให้เลือกปลิดช่อที่มากเกินไปออกเสียบ้าง เพื่อไม่ให้เกิดการแย่งอาหารกันเองทำให้ผลมีขนาดเล็ก
การห่อผล การห่อนี้ควรจะทำควบคู่กับการปลิดเลยในเวลาเดียวกัน ในการห่อผลนี้เกษตรกรจะเลือกถุงพลาสติกกรอบแกรบสีขาวขุ่นเจาะ 2 รู เพื่อให้น้ำออก แล้วจึงห่อด้วยถุงพลาสติกดังกล่าว โดยผูกปากถุงด้วยเงื่อนชั้นเดียว ขนาดถุงควรเป็นขนาด 6 * 11 นิ้ว
ในบางกิ่งที่ผลชมพู่อาจได้รับอันตราย จากแสงแดดเผาให้ผิวเสียหาย ควรห่อด้วยกระดาษหนังสือพิมพ์ด้านนอกอีกชั้นหนึ่งด้วย


เทคนิคเพิ่มเติมช่วยให้ชมพู่มีคุณภาพดี
1.    ตัดแต่งช่อผลตั้งแต่เริ่มติดผล โดยไว้ผลประมาณ 3 - 4 ผลต่อช่อ และจำนวนช่อดอกไม่ควรมากเกินไป โดยให้สัมพันธ์กับทรงพุ่มและความสมบูรณ์ของต้น
2.    การใช้จีเอพ่นประมาณ 1 - 3 ช่วง คือช่วงเริ่มออกดอก ดอกเริ่มบาน และหลังดอกบานแล้ว 2 สัปดาห์ เพื่อทำให้ทรงผลยาวและขยายขนาดขึ้น
3.    เน้นการให้ปุ๋ยอินทรีย์ทั้งทางดินและปุ๋ยทางใบอย่างเพียงพอ มิฉะนั้นอาจทำให้ผลร่วงได้ง่าย
4.    การห่อผลทำให้ผิวสวยป้องกันการทำลายของแมลงอื่น ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งคือแมลงวันทอง
5.    ควรงดการให้น้ำช่วงก่อนการเก็บเกี่ยว 3 - 5 วัน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับสภาพดิน ถ้าดินเหนียวควรงดการให้น้ำนานกว่านี้อาจเป็น 5 - 7 วัน การเก็บเกี่ยวและการจัดการผลชมพู่หลังการเก็บเกี่ยว หลังจากชมพู่อายุพร้อมที่จะเก็บเกี่ยว
คือ มีอายุ วันผลเต่งอวบ สีซีด ในบางพันธุ์มีสีขาว บางพันธุ์มีสีแดงหรือชมพู ผิวเป็นมันเงา มีความหวานสูง เกษตรกรควรทำการเก็บ หากทิ้งไว้เกินอายุการเก็บเกี่ยว จะทำให้ผลชมพู่แตกหรือร่วงเสียหายได้

ข้อเปรียบเทียบหลังจากใช้ไบโอเฟอร์ทิล ตามคำแนะนำเป็นประจำ
1.    ชมพู่จะราดสารบังคับดอกง่าย ขั้วดอก,ผล เหนียว ต้นไม่โทรมสามารถราดสารได้ติดต่อกันทุกปี
2.    แมลงศัตรูพืชที่เข้ามารบกวนลดลงอย่างเห็นได้ชัด โดยเฉพาะจำพวกผีเสื้อกลางคืนซึ่งเป็นตัวแม่ของหนอนชนิดต่าง ๆ รวมถึงแมลงวันทอง และด้วงกัดกินใบ  ทำให้ประหยัดต้นทุนยากำจัดศัตรูพืช และลดความเสียหายได้ดีกว่า
(ในพื้นที่ที่มีการระบาดมาก หากใช้ไบโอเฟอร์ทิล ฉีดร่วมกับยากำจัดศัตรูพืช ก็จะทำให้สามารถคลุมและป้องกันการเข้าทำลาย ได้นานขึ้น
3.    ผลชมพู่มีรสชาติดี สีสวย โดยไม่จำเป็นต้องใช้ตัวเร่งสี หรือใส่ปุ๋ยเม็ดเพื่อแต่งรสหวานก่อนเก็บเกี่ยว
4.    ผลชมพู่ไม่ช้ำง่าย สามารถเก็บไว้ได้นานกว่า
5.    สุขภาพผู้ปลูกดีขึ้น เนื่องจาก สัมผัสหรือจับต้องสารเคมีน้อยลง
6.    การใช้ ยักษ์เขียว เกรดAAA สูตรเข้มข้นพิเศษ(แถบทอง)  ร่วมด้วยเป็นประจำ  จะทำให้ต้นทุนปุ๋ยและสารทางดินต่อชุดการผลิต ลดลงได้ประมาณ 30-50 % โดยที่ผลผลิตที่ได้ยังเป็นปกติหรือดีกว่าเดิม
 และสังเกตได้ว่าสารอินทรีย์ในเนื้อปุ๋ยทำให้สภาพดินดีขึ้น  ดินโปร่ง อุ้มน้ำได้ดี  ต้นทนแล้งได้ดีขึ้น  และพืชตอบสนองต่อการให้ปุ๋ยทางดินดีกว่าเดิม ในระยะยาวปัญหาเรื่องโรคทางดินน้อยกว่าแปลงข้างเคียงที่ไม่ได้ใช้
 ผลในทางอ้อม  เนื่องจาก ยักษ์เขียว เป็นสารอินทรีย์แท้ จึงกระตุ้นจุลินทรีย์ที่เป็นประโยชน์ให้ย่อยปุ๋ย(เคมี)ที่ตกค้างในดินทำให้รากพืชสามารถดูดซึมกลับไปใช้ได้ ธาตุอาหารในดินจะสมดุลมากกว่า
Share this video :

บทความที่ได้รับความนิยม

 
Support : |
Copyright © 2011-2012 อาชีพพารวย - All Rights Reserved
เข้าสู่ปีที่ 2 อาชีพพารวย เพื่อนคู่คิดนักเกษตร พ.ศ. 2555
เว็บไซต์เพื่อนเกษตร