หน่อไม้ฝรั่ง
หน่อไม้ฝรั่งมีแหล่งปลูกที่สำคัญอยู่ในภาคตะวันตกและภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศ ได้แก่ จังหวัดนครปฐม ราชบุรี กาญจนบุรี ประจวบคีรีขันธ์ นครราชสีมา อุดรธานี ขอนแก่น หนองคาย ร้อยเอ็ด กาฬสินธุ์ และมหาสารคาม
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Asparagus officinalis L.
วงศ์ : Liliaceae
* หน่อไม้ฝรั่งเป็นพืชผักที่มีลำต้นแบ่งเป็น 2 ส่วน คือ ลำต้นใต้ดิน และลำต้นเหนือดิน
ลำต้นใต้ดิน อาจถือเป็นส่วนหนึ่งของระบบรากรวมเรียกว่า rhizome หรือเหง้า อาหารของหน่อไม้ฝรั่งจะถูกส่งมาเก็บ ที่ส่วนนี้ ลำต้นใต้ดินมีลักษณะเป็นแท่งคล้ายแท่งดินสอ งอกกระจายออกเป็นรัศมี โดยรอบ เรียกอีกอย่างว่า crown ระบบราก แผ่ขยายออกไป ประมาณ 3-5 ฟุต หรือมากกว่านั้น
ยอดอ่อนหรือหน่ออ่อน (spear) เจริญมาจากเหง้าเป็นส่วนที่ใช้ รับประทาน ถ้าปล่อยให้หน่ออ่อนเจริญเติบโตจะกลายเป็นลำต้นเหนือดิน ซึ่งมีความสูง 1.5 - 2 เมตร
ลำต้นเหนือดิน มีใบเป็นเกล็ดบาง ๆ ติดอยู่ตามข้อ ส่วนที่เห็นเป็นลักษณะคล้ายเส้นขน (ที่เรียกกันว่าใบ) แท้จริง เป็นส่วนของกิ่งก้านที่เปลี่ยนไปทำหน้าที่ใบ เรียกว่า claode หรือ cladophyll
* ต้นเพศผู้และเพศเมียแยกกันอยู่คนละต้น (dioecious)
ดอก มีขนาดเล็ก มีจำนวนมากและเกิดตามกิ่งก้าน
ผล มีลักษณะกลม ขนาดเล็ก มีสีเขียวเมื่ออ่อนและสีแดงส้ม เมื่อสุก มีเมล็ดอยู่ภายในผลละ 2-3 เมล็ด เปลือกหุ้มเมล็ดสีดำ
พันธุ์
พันธุ์หน่อไม้ฝรั่งที่เกษตรกรใช้ปลูกเป็นการค้าหลักมีจำนวน 8 สายพันธุ์ ได้แก่
1. พันธุ์แมรี่วอชิงตัน
เป็นพันธุ์ผสมเปิด (open pollination) พันธุ์แรกที่นำเข้ามาปลูกในประเทศไทยให้ผลผลิตสูง ต้านทานโรคราสนิม สีของหน่อเป็นสีเขียว
2. พันธุ์แคลิฟอร์เนีย 309
เป็นพันธุ์ผสมเปิดที่ให้ผลผลิตสูง ต้านทานโรคสูง สีของหน่อ เป็นสีเขียว
3. พันธุ์แคลิฟอร์เนีย 500
เป็นพันธุ์ผสมเปิดที่ให้ผลผลิตสูง หน่อมีขนาดปานกลาง ส่วนปลาย หน่อจะมีกาบใบหุ้มแน่น สีของหน่อเป็นเขียว
4. พันธุ์ ยูซี 157
เป็นพันธุ์ลูกผสมมีทั้งรุ่นที่ 1 และรุ่นที่ 2 (F1 Hybrid และ F2 hybrd) ที่ให้ผลผลิตดีมาก หน่อมีขนาดใหญ่ ปลายหน่อและโคนหน่อ ยาวเรียวเสมอกัน ส่วนปลายจะมี กาบใบหุ้มแน่น สีของหน่อเป็นสีเขียวเข้ม ในแหล่งปลูกที่มีสภาพอุณหภูมิกลางคืนเย็น และมีปริมาณฝน ไม่ตกชุกมากเกินไป คุณภาพของหน่อไม้ฝรั่งพันธุ์นี้จะมีคุณภาพดีมาก ปลูกเป็นเชิงการค้าที่ จังหวัดขอนแก่น กาสินธุ์ อุดรธานี และสุพรรณบุรี
5. พันธุ์บร็อคอิมปรู๊พ
เป็นพันธุ์ลูกผสมที่ให้ผลผลิตดีมาก หน่อมีขนาดใหญ่ โดยเฉพาะ ส่วนโคนหน่อจะใหญ่ แต่ส่วนปลายยอดหน่อจะเรียวเล็กกว่า ส่วนโคน ส่วนปลายหน่อจะมีกาบใบหุ้มไม่ค่อยแน่น มีปลูกเชิงการค้าในจังหวัดต่าง ๆ ของภาคตะวันตก เช่น จังหวัดนครปฐม ราชบุรี กาญจนบุรี และสุพรรณบุรี
6. พันธุ์อพอลโล
เป็นพันธุ์ลูกผสมที่ให้ผลผลิตดี ลักษณะของหน่อยาวเรียว เสมอทั้งโคนหน่อและส่วนปลาย แต่โคนหน่อพันธุ์นี้จะมีลักษณะ เป็นสีเขียวอมม่วง ส่วนปลายจะมีกาบใบหุ้มไม่แน่ ค่อนข้างบานเร็วกว่าพันธุ์อื่น ถ้าปลูกในแหล่งที่มีปริมาณฝนตกชุกจะไม่ทนทานต่อโรค นิยมปลูกใน จังหวัดนครปฐม ราชบุรี กาญจนบุรี และมหาสารคาม
7. พันธุ์บร็อคอิมพีเรียล
เป็นพันธุ์ลูกผสมที่ให้ผลผลิตดี หน่อมีลักษณะของส่วนปลายหน่อ และโคนหน่อกลมมนสวย ส่วนปลายหน่อจะมีกาบใบหุ้มแน่น มีปลูกเชิงการค้าในจังหวัดนครปฐม ราชบุรี กาญจนบุรี
8. พันธุ์แอทลาส
เป็นพันธุ์ลูกผสมที่ให้ผลผลิตดี หน่อมีลักษณะยาวเรียวเสมอกัน กาบใบหุ้มแน่น มีปลูกเป็นเชิงการค้าเพียงเล็กน้อยในประเทศไทย
วิธีการคัดเลือกเมล็ดพันธุ์
เนื่องจากเมล็ดพันธุ์หน่อไม้ฝรั่งที่นำเข้ามาจากต่างประเทศ มี ราคาแพง เกษตรกรมักจะเก็บเมล็ดพันธุ์มาขยายเอง หลายรุ่น ดังนั้นจึงควรคัดต้นแม่พันธุ์ที่มีลักษณะดี โดยเป็นต้นที่ให้หน่อดี มีขนาดหน่อใหญ่ โดยปล่อยผลที่มี เมล็ดหน่อไม้ฝรั่งอยู่ภายใน ให้ผลแก่มีสีแดง นำไปขยี้ให้เปลือกหุ้มผลแตกออก นำมาล้างในน้ำสะอาด เปลือกหุ้มเมล็ดจะลอยขึ้นเหนือน้ำ ส่วนเมล็ดจะจมลง นำเมล็ดไว้ผึ่งลมไว้ 1-2 วัน ให้เมล็ดแห้ง คัดเมล็ดที่สมบูรณ์ทิ้ง เมล็ดพันธุ์ที่ได้ควรนำไปแช่ในน้ำอุ่นเพื่อกระตุ้นให้เมล็ดงอกได้ไวและสม่ำเสมอ โดยแช่น้ำอุ่น (ผสมน้ำร้อนกับ น้ำเย็น อัตราส่วน 1:1 ซึ่งมีอุณหภูมิเฉลี่ย 55 องศาเซลเซียส) นาน 30 นาที แล้วแช่น้ำเย็นทิ้งไว้ข้ามคืน เมื่อนำไปเพาะเมล็ดจะงอกได้ภายใน 10-14 วัน
เมล็ดพันธุ์หน่อไม้ฝรั่งที่นำเข้าจากต่างประเทศ ควรดูวันบรรจุ และวันหมดอายุ ที่ข้างกระป๋อง แต่ถ้าเก็บพันธุ์เอง ควรรีบนำมาเพาะภายใน 1 เดือน ถ้าเก็บไว้ต่อควรใส่ถุงพลาสติกวางเก็บไว้ในตู้เย็นชั้นล่าง (ช่องแช ่ผักผลไม้) แล้วจึงทยอยนำมาเพาะต่อ
การเพาะกล้า
วิธีการเพาะกล้าหน่อไม้ฝรั่ง :
การเพาะกล้าในถุง เตรียมวัสดุเพาะกล้า ซึ่งประกอบด้วย ดินร่วน : ใบไม้ผุ : ขี้เถ้าแกลบ : ปุ๋ยอินทรีย์ อัตราส่วน 1:1:1:1 ผสมให้ เข้ากันและกรอกใส่ถุงดำขนาดกลาง รดน้ำให้ชุ่ม แล้วจึงหยอดเมล็ดลงไป หลุมละ 1 เมล็ด รดน้ำทุกวัน ควรวางถุงกล้าหน่อไม้ฝรั่งไว้กลางแจ้งให้รับแสงสว่างเต็มที่ เพื่อให้ต้นตั้งตรง เลี้ยงไว้ประมาณ 90-120 วัน แล้วจึงขนย้ายกล้าไปปลูกลงแปลงได้ ้การเพาะกล้าโดยตรงในแปลงเพาะ
เตรียมดินเป็นร่องแปลงสูง 30 เซนติเมตร ขนาดแปลงกว้าง 1 เมตร ยาว 10 เมตร ถ้าต้องเพาะกล้าสำหรับปลูกในพื้นที่ 1 ไร่ ควรทำแปลงเพาะกล้า จำนวน 8 แปลง ควรขุดยกร่องแปลงและพรวนดินให้ละเอียด เก็บเอาวัชพืชและกอหญ้าออกให้หมด พร้อมทั้งใส่อินทรีย์วัตถุประเภท เถ้าแกลบ:ปุ๋ยคอก หรือปุ๋ยหมัก อย่างละ 10 บุ้งกี๋ ผสมกับ ปุ๋ยวิทยาศาสตร์ 15-15-15 หรือ 16-16-16 จำนวน 0.5 กิโลกรัม และปูนขาว หรือปูนโดโลไมท์ จำนวน 1-2 กิโลกรัม คลุกเคล้ากับดิน ในแปลงให้สม่ำเสมอ เกลี่ยผิวหน้าแปลงให้เรียบใช้ไม้ทำร่องลึก 2 เซนติเมตร ตามแนวขวางบนแปลง แต่ละร่องห่างกัน 15-20 เซนติเมตร แล้วหยอดเมล็ดลงในร่องให้เมล็ดห่างกัน 10 เซนติเมตร เพื่อไม่ให้ ต้นกล้าขึ้นแน่นและแย่งอาหารกัน ใช้ดินกลบบาง ๆ จากนั้นใช้ฟูราดาน 300 กรัม/แปลง หว่านกันแมลงมารบกวน ใช้ฟางหรือหญ้าแห้งสะอาดคลุมแปลง รดน้ำให้ชุ่มชื้นอยู่เสมอ เมล็ดจะงอกภายในเวลา 10-15 วัน เมื่อต้นกล้าเริ่มงอกยาว 2-3 เซนติเมตร ใช้ปุ๋ยเคมี เช่น ปุ๋ยยูเรีย หรือปุ๋ยแอมโมเนียซัลเฟต ผสมน้ำอัตรา 1 ช้อนแกงต่อน้ำ 1 บัว (10 ลิตร) รดทุก 7 วัน และหว่านปุ๋ยเคมีสูตร 15-15-15 จำนวน 0.5 กิโลกรัม เมื่อกล้าอายุ 30 วัน ในแปลงกล้าต้องหมั่น ถอนหญ้า กำจัดวัชพืชไม่ให้แย่งอาหาร รวมทั้งควรฉีดสารป้องกันเชื้อรา เช่น ไดเทนเอ็ม 45 หรือไดโฟลาเทน หรือแมนโคเซป รวมทั้ง ฉีดพ่นสารฆ่าแมลงป้องกันหนอนกระทู้หรือเพลี้ยไฟ เช่น แลนเนท หรือธูรีไซด์ พ่นทุก 15 วัน กล้าหน่อไม้ฝรั่งอายุ 45-60 วัน สามารถย้ายกล้าไป ปลูกในแปลงในแปลงปลูกต่อไปได้
การปลูก
การเตรียมแปลงปลูก เนื่องจากหน่อไม้ฝรั่งเป็นพืชอายุยาว ปลูกครั้งเดียวสามารถทยอยเก็บเกี่ยวได้นาน 3-5 ปี ดังนั้นควรไถพรวนย่อยดินให้ดี โดยเฉพาะแหล่งปลูกที่มีชั้นดินดานตื้น ต้องไถระเบิดชั้นดินดาน ปัจจุบันภาคเอกชนเริ่มมีแนวทางปฏิบัติในการเตรียมแปลงแบบใหม่ โดยมีการหว่านแกลบดิบบาง ๆ ทั่วทั้งผิวหน้าของแปลง ในอัตรา 10 ตัน/ไร่
และใช้รถขุด(แม็คโคร) ตักดินเดิมขึ้นมามีความลึก 1 เมตร เปรียบเหมือนกับการกลับดินชั้นล่างขึ้นมา ปรับปรุงให้มีคุณภาพดี เหมือนดินชั้นบน ใช้แทรกเตอร์ปาดผิวหน้าดินให้เรียบ และหว่านปุ๋ยอินทรีย์ เช่น ขี้ไก่แกลบ อัตรา 15 ตันต่อไร่ ผสมกับขี้เถ้าแกลบ 5 ต้นต่อไร่ และใช้รถแทรกเตอร์ ผาน 3 พรวนย่อยดินและตากดินไว้นาน 2 เดือน หลังจากนั้นใช้รถไถพรวนดินและยกร่องแปลงปลูก
ในพื้นที่จังหวัดราชบุรี แถบอำเภอดำเนินสะดวก และอำเภอบางแพ เกษตรกรยกร่องสวนขนาดกว้างบนแปลง 4-5 เมตร มีทางเดินของ แปลงข้างละ 0.5 เมตร ความยาวแปลง 50 - 100 เมตร และมีร่องน้ำ ด้านข้างกั้นแต่ละร่องแปลง ขนาดความกว้างร่องน้ำ 1.0-1.5 เมตร ไถดินให้ลึก 30-40 เซนติเมตร เก็บเศษหญ้า และวัชพืชออกให้หมด หว่านปูนเปลือกหอยไร่ละ 200 กิโลกรัม ตากดินไว้ 10-15 วัน และหว่านปุ๋ยคอกประเภทขี้ไก่ แกลบ หรือขี้เป็ด ไร่ละ 2 ตัน และย่อยดินให้ละเอียดโดยใช้รถไถดินตามขนาดเล็ก หรือใช้แรงงานคน จังหวัดอื่น ๆ เช่น จังหวัดนครปฐม กาญจนบุรี ราชบุรี (ยกเว้นอำเภอดำเนินสะดวก) รวมทั้งจังหวัดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ได้แก่ นครราชสีมา ขอนแก่น กาสินธุ์ ฯลฯ ใช้วิธีปลูกแบบไร่ใช้รถแทรกเตอร์ชักร่องเป็นแถวปลูกคล้ายแถวปลูกอ้อย และอาศัยวิธีการให้น้ำผ่านข้างระหว่างแถวปลูกหน่อไม้ฝรั่ง โดยวิธีปล่อย ให้น้ำไหลผ่านตามร่องน้ำข้างแถวปลูก หรือเกษตรกรใช้ วิธีการให้น้ำแบบระบบสปริงเกอร์ บริเวณพื้นที่ด้านข้างที่ทำเป็นแถวปลูก ทำการพูนยกโคนขึ้นมาสูงจากร่องน้ำประมาณ 20-30 เซนติเมตร มีการใส่ปุ๋ยอินทรีย์ ชนิดขี้ไก่แกลบ หรือขี้เป็ด ไร่ละ 2 ตัน หว่านปูนขาวเพื่อปรับสภาพความเป็นกรดในดิน อัตรา 200 กิโลกรัม/ไร่
การจัดระยะปลูก
ควรปลูกแบบแถวเดี่ยว ใช้ระยะปลูกระหว่างต้น 0.5 เมตร และระยะระหว่างแถว 1.0 - 1.5เมตร
การเตรียมหลุมปลูก
ใช้จอบขุดทำหลุมปลูกในแปลงที่เตรียมไว้ โดยขุดหลุมลึก 15-25 เซนติเมตร หลุมกว้าง 20 เซนติเมตร รองกันหลุมด้วยฟูราดาน เพื่อป้องกัน
แมลงในดิน ใช้อัตรา 1 ช้อนชาต่อหลุม และปุ๋ยเคมีสูตร 15-15-15 หรือ 16-16-16 อัตรา 1 ช้อนชาต่อหลุม รวมทั้งใส่ปุ๋ยคอก หรือขี้เถ้าแกลบผุ
อัตรา 2 กำมือต่อหลุม คลุกเคล้ารองกันหลุม
การปลูก
ปลูกหลุมละ 1 ต้นโดยพยายามแผ่รากของต้นกล้า ไม่ให้ขดอยู่เป็นกระจุก แล้วกลบดินรอบโคนต้นหนา 3-4 เซนติเมตร หรือพยายามพูนดิน
รอบโคนต้นให้เหนือระดับดินบนแปลงเล็กน้อย จึงกดดินรอบ ๆ โคนต้นกล้าให้แน่น รดน้ำให้พอชื้น
การย้ายต้นกล้าหน่อไม้ฝรั่งลงปลูกในแปลง
เลือกต้นกล้าอายุ 3-4 เดือนมีความแข็งแรง สมบูรณ์ ต้นใหญ่ มีรากมาก ถ้าเป็นต้นกล้าที่ย้ายปลูกอยู่ในถึงพลาสติกอยู่แล้ว สามารถย้ายปลูกได้ทันที
ตัดยอดด้านบนของต้นกล้าหน่อไม้ฝรั่งให้เหลือความสูงของต้น 15 เซนติเมตร แช่ส่วนรากและโคนของต้นหน่อไม้ฝรั่ง ในน้ำสะอาด ผสมสารป้องกันกำจัดเชื้อรา เช่น เบนเลท หรือไดโฟลาแทน อัตรา 1 ช้อนชาต่อน้ำ 20 ลิตร นาน 15 นาที เวลาที่เหมาะสมที่จะย้ายกล้าควรเป็นช่วงที่มีแดดอ่อน ๆ เวลาบ่ายใกล้เย็น
การดูแลรักษา
การให้น้ำ
-ใช้เรือรดน้ำติดเครื่องยนต์วิ่งไปตามร่องน้ำ
-ใช้ระบบติดสปริงเกอร์พ่นน้ำเป็นละอองฝอย
-ใช้วิธีเปิดน้ำเข้าทางท่อให้ไหลเข้ามาในร่องระบายน้ำข้างแถวปลูก
หลักการให้น้ำ
ควรให้ผิวหน้าดินชื้น แต่อย่าให้จนดินเฉอะแฉะ เพราะถ้าแปลงปลูก เป็นดินเหนียว จะทำให้ปริมาณผลผลิตของหน่อไม้ฝรั่งลดลง
หน่อไม้ฝรั่งเป็นพืชที่ต้องการน้ำอย่างสม่ำเสมอ เพื่อให้ได้ผลผลิตดี
หน่อไม้ฝรั่งที่ได้รับน้ำไม่สม่ำเสมอ จะมีคุณภาพของหน่อไม่ดี โดยจะมีเส้นใย (ไฟเบอร์) มาก หน่อจะเหนียวทำให้คุณภาพในการบริโภคจะด้อยลง
การใส่ปุ๋ย
ปุ๋ยอินทรีย์ ถึงแม้ว่าเกษตรกรจะใส่ไปแล้วในตอนเตรียมดิน แต่เนื่องจากหน่อไม้ฝรั่งเป็นพืชอายุยาว และเก็บผลผลิตไปทุก 2 เดือน สภาพดินในแปลงปลูกจะยุบตัวลง ทำให้รากตื้นไม่มีประสิทธิภาพใน การหาอาหาร ทำให้ลำต้นล้มง่าย เกษตรกรจำเป็นต้องใส่ ปุ๋ยอินทรีย์กลบโคนต้นให้สูงในระดับที่ช่วยให้ทรงต้นแข็งแรง ได้แก่ ปุ๋ยขี้ไก่แกลบ ปุ๋ยขี้เป็ด ขี้หมู หรือปุ๋ยอินทรีย์หมักจากเศษพืช อัตรา 0.5 -1 ตัน/ไร่
ปุ๋ยเคมี แบ่งใส่ตามระยะเวลาการเจริญเติบโต ดังนี้
* หลังย้ายกล้า 10-15 วัน ใส่ปุ๋ยเคมีแอมโมเนียซัลเฟต (21-0-0) อัตรา 15 กรัม/หลุม หรือ 30 กิโลกรัม/ไร่ เมื่ออายุครบ 1 เดือน ใส่ปุ๋ยเคมี สูตร 15-15-15 หรือ 16-16-16 อัตรา 15 กรัม/หลุม
หรือ 30 กิโลกรัม/ไร่ และใส่ซ้ำทุกเดือน
* ในช่วงที่เกษตรกรพักต้นแม่ โดยการบำรุงต้นหน่อไม้ฝรั่งด้วยปุ๋ยอินทรีย์ และปุ๋ยเคมีแล้ว ควรงดการเก็บเกี่ยวหน่อไม้ฝรั่งในช่วงดังกล่าวด้วย เพื่อป้องกันไม้ให้ต้นแม่โทรมเร็วเกินไป
* ในช่วงเตรียมแปลง ควรใช้สารควบคุมวัชพืช เพื่อป้องกันไม่ให้เมล็ดหญ้า งอก เมื่อต้นหน่อไม้ฝรั่งเจริญเติบโตขึ้นมาแล้ว ควรใช้แรงงานกำจัดวัชพืช แทนการใช้สารเคมี เนื่องจากกอของหน่อไม้ฝรั่งที่โตแล้วทรงพุ่มมักจะชนกัน การใช้สารเคมีจะทำให้ชะงักการเจริญเติบโต เกษตรกรมักนิยมกำจัดวัชพืช โดยการใช้เสียมมือเล็ก ๆ ขุดเพื่อเก็บเศษหญ้าและวัชพืชไปพร้อม ๆ กับการแต่งต้น
* ในช่วงที่พักต้นแม่(ทุก 2 เดือน) ควรงดการให้น้ำ รอให้ดินหมาด ก่อนจึงกำจัดวัชพืช เพราะทำให้ขุดรากและลำต้นใต้ดินขึ้นมาได้หมด
เทคนิคที่ควรทราบ
การพักต้น
เนื่องจากต้นหน่อไม้ฝรั่งมีการเจริญเติบโต แตกหน่อและกิ่งก้านเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ถ้าต้นเหนือดินแน่นเกินไป จะแย่งน้ำและอาหารกันเอง และทำให้เกิดร่มเงามากเกินไป แสงสว่างส่องไม่ถึงผิวหน้าดิน ทำให้หน่อที่เกิดใหม่มีขนาดเล็ก ผอมยาว และมีสีขาวมากกว่าสีเขียว ถ้ามีจำนวนต้นแม่ต่อกอน้อยเกินไป จะสร้างอาหารสะสมไม่เพียงพอ จะมีผลทำให้หน่อมีขนาดเล็กเช่นกัน เมื่อเก็บเกี่ยวหน่อไม้ฝรั่งไปแล้วนาน 2 เดือน ต้นหน่อไม้ฝรั่งเริ่มโทรม ผลผลิตจะเริ่มลดลง และหน่อมีขนาดเล็กลงไปเรื่อย ๆ จึงจำเป็น ต้องตัดแต่งต้น และพักต้นไว้ โดยการถอนแยกต้นที่เหลือง และโทรมเป็นโรค หรือถูกแมลงรบกวนทิ้ง คัดเลือกต้นที่แข็งแรงต่อกอไว้ 4-5 ต้น เลี้ยงไว้เป็นต้นแม่ ระยะเวลาการพักต้นแต่ละครั้งอยู่ระหว่าง 20-30 วัน
การพักต้นนี้เกษตรกรต้องงดการเก็บเกี่ยวผลผลิตด้วย จึงต้อง วางแผนในการพักต้น โดยต้องไม่พักต้นพร้อม ๆ กัน เพื่อจะได้มีบางแปลงเก็บผลผลิตขายได้ และบางแปลงพักต้น เพื่อจะได้มีรายได้หมุนเวียนได้ตลอดปี
การพูนดินกลบโคนต้น
เป็นวิธีการที่จำเป็นในการปลูกหน่อไม้ฝรั่งหน่อเขียว เพราะสภาพดิน ที่ยุบตัวลงจากการเข้าไปทำงานของเกษตรกรในแปลง ระหว่างการถอน เก็บเกี่ยวผลผลิต การพูนโคนต้นหน่อไม้ฝรั่ง ควรทำควบคู่ไป กับการใส่ปุ๋ยทุกครั้ง เพื่อเป็นการประหยัดแรงงาน และทำให้หน่อ ที่เกิดใหม่มีความสมบูรณ์ และมีคุณภาพหน่อที่ดี
โรคที่สำคัญของหน่อไม้ฝรั่ง
โรคใบเทียมร่วง (Cercospora blight Branches spot)
โรคต้นไหม้ (Stem blight)
โรคแอนแทรกโนส (Anthracnose)
โรคเน่าเปียก (Wet rot)
โรคใบเทียมร่วง
ลักษณะอาการ
แผลสีม่วงอมน้ำตาลหรือม่วงแดงกลม ตรงกลางสีเทา ต่อมาแผล จะขยายใหญ่เป็นสีน้ำตาล อาการดังกล่าวพบเกิดขึ้นที่ปลายกิ่ง ทำให้ใบแห้งร่วง กิ่งแห้ง ยืนต้นตาย
เชื้อสาเหตุ
เกิดจากเชื้อรา (Cercospora asparagi Sacc)
การแพร่ระบาด
เกิดระบาดมากในไดูฝน สปอร์แพร่กระจายโดยน้ำฝน ลม มักเกิด ระบาดพร้อมหรือร่วมกับโรคต้นไหม้
การป้องกันกำจัดด้วยสารเคมี
* ชื่อสามัญ Benomyl ชื่อการค้า Benlate-OD 50 % wp อัตราการใช้ 15 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร พ่นทุก 7 วัน
* ชื่อสามัญ Copper oxychloride ชื่อการค้า Cupravit Forte 50 wp Cuprox 87 % wp อัตราการใช้ 40 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร พ่นทุก 7 วัน
โรคต้นไหม้
ลักษณะอาการ
ลำต้นเป็นแผลสีน้ำตาล รูปรียาวเป็นเคียว ลำต้นเมื่อแผล กระจายกว้างขึ้นจะทำให้ลำต้นใหม่แห้งเป็นทางยาว อาจพบโรคนี้ทั้งที่โคนต้น กิ่ง ก้าน และใบ ทำให้ใบร่วง ต้นแห้งตายในที่สุด
เชื้อสาเหตุ
เกิดจากเชื้อรา Phomopsis sp.
การแพร่ระบาด
สปอร์ของเชื้อราแพร่กระจายในช่วงไดูฝน อากาศมีความชื้นสูง สปอร์ ถูกน้ำฝนชะและลมพาจากต้นเป็นโรคไปยังต้นปกติ
การป้องกันกำจัด
* ชื่อสามัญ Cabendazim ชื่อการค้า Bentox 50%wp,
Derrosan 60%wp,Bavistin 50%wp
Bavisan 50%wp อัตราการใช้ 20 กรัมต่อนำ้ 20 ลิตร พ่นทุก 7 วัน
* ชื่อสามัญ Copper oxhlorideชื่อการค้า Cupravit
Cuprox อัตราการใช้ 40 กรัมต่อนำ้ 20 ลิตรพ่นทุก 7 วัน
โรคแอนแทรกโนส
ลักษณะอาการ
แผลมีสีน้ำตาลเป็นวงกลมซ้อนกัน ขอบแผลรอบนอกช้ำสีเขียวเข้ม แผลยุบลงตามความยาวของลำต้น เชื้อราเจริญออกมาเป็นตุ่มสีดำ ตามแนววงกลมที่ซ้อน ๆ กัน ต้นเป็นโรคจะแห้งตาย
เชื้อสาเหตุ
เกิดจากเชื้อรา (Colletotrichum sp.)
การแพร่ระบาด
ระบาดรุนแรงในฤดูฝน ความชื้นในอากาศสูง สปอร์ถูกชะโดยน้ำฝนหรือลม พาไปยังต้นปกติที่อยู่ข้างเคียง
การป้องกันกำจัด
*ชื่อสามัญ Benomyl ชื่อการค้า Benlate-OD 50%wp อัตราการใช้ 15 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร พ่นทุก 7 วัน
*ชื่อสามัญ Copper oxychloride ชื่อการค้า Cupravit Forte 50 wp, Cuprox 87% wp อัตราการใช้ 40 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร พ่นทุก 7 วัน
โรคเน่าเปียก
ลักษณะอาการ
มีแผลฉ่ำน้ำสีเขียวเกิดที่ปลายยอดของต้นอ่อน เชื้อราสร้างเส้นใย สีเทาอ่อนยื่นออกมาเป็นก้าน ที่ปลายก้านมีสีดำเล็ก ๆ
เชื้อสาเหตุ
เกิดจากเชื้อรา (Choanephora sp.)
การแพร่ระบาด
ระบาดรุนแรงกับต้นอ่อนของหน่อไม้ฝรั่งในช่วงที่มีฝนตกชุก ที่ ี่สภาพอากาศมีความชื้นสูง จะทำให้หน่อมีอาการเน่าลุกลามรวดเร็ว โดยเฉพาะเมื่อมีแดดออกสลับกับฝนตก
การป้องกันกำจัด
*ชื่อสามัญ Triforin ชื่อการค้า Saprol 20%EC อัตราการใช้ 20 ซีซี ต่อน้ำ 20 ลิตรพ่นทุก 5-7 วัน
*ชื่อสามัญ Thiabendazole ชื่อการค้า Pronto 45% wp อัตราการใช้ 40 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตรพ่นทุก 5-7 วัน
แมลงที่สำคัญและการป้องกันกำจัด
หนอนกระทู้หอม
ชื่ออื่น ๆ หนอนหลอดหอม หนอนหนังเหนียว, Beet armyworm, Lessew armyworm
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Spodopter exigua (Hiibner)
วงศ์ : Noctuidae
อันดับ : Lepidoptera
รูปร่างลักษณะและชีวประวัติ
หนอนกระทู้หอมมีลำตัวอ้วน ผนังลำตัวเรียบ มีหลายสี เช่น เขียวอ่อน เทาปนดำ น้ำตาลดำ น้ำตาลอ่อน ด้านข้างจะมีแถบสีขาวพาดตามลำตัว หนอนมีการเจริญเติบโต 6 ระยะ โตเต็มที่ขนาด 2.5 เซนติเมตร
การแพร่กระจายและฤดูกาลระบาด
พบระบาดตามแหล่งปลูกผัก เช่น จังหวัดราชบุรี และระบาดในจังหวัดใกล้เคียง เช่น กรุงเทพฯ นนทบุรี สมุทรสาคร สมุทรสงคราม ปทุมธานี กาญจนบุรี และประจวบคีรีขันธ์ แหล่งปลูกผักดังกล่าวมีการระบาดของหนอนกระทู้หอมเป็นประจำ และมักระบาดรุนแรงในช่วง ฤดูร้อน
พืชอาหาร
หนอนกระทู้หอมทำลายพืชที่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจมากมายหลายชนิด ไม้ผล พืชไร่ และไม้ดอก ได้แก่ พืชตระกูลกะหล่ำ หอมใหญ่ หน่อไม้ฝรั่ง มันเทศ กระเจี๊ยบเขียว ฯลฯ
การป้องกันกำจัด
1. การใช้เชื้อจุลินทรีย์ ที่แนะนำให้ใช้ในการป้องกันกำจัด 2 ชนิด คือ
1.1 ไวรัส (NPV) ของหนอนกระทู้หอมของกรมวิชาการเกษตร อัตรา 30 มิลลิลิตร/น้ำ 20 ลิตร สะปอต-เอ็กซ์ อัตรา 6-10 มิลลิลิตร/น้ำ 20 ลิตร ผสมกับสารจับใบในอัตราตามฉลาก พ่นในช่วงเวลาเย็นทุก 5 วันต่อครั้ง
1.2 เชื้อแบคทีเรีย Bt. เช่น เซนทารี เดลฟิน แบคโทสปิน เอ็ซพี ฟลอร์แบค ดับบลิวดีจี ได้เม่ลดีเอฟ อัตรา 60-80 กรัม/น้ำ 20 ลิตร พ่นช่วงเวลาเย็นทุก 5 วันต่อครั้ง
2. สารสกัดสะเดา อัตรา 100 มิลลิลิตร/น้ำ 20 ลิตร พ่นเมื่อพบหนอนกระทู้หอมระบาด
3. สารฆ่าแมลง ที่แนะนำให้ใช้กับหนอนกระทู้หอม ได้แก่ ไดอะเฟน ไทยูรอน
(โปโล 25% SC) เทบูฟิโนไซด์ (มินิค 20%F) คลอร์ฟินาเพอร์ (แรมเพจ 10%EC) ฟลูเฟนนอน ซูรอน (แคสเคด 5%SC)
หนอนเจาะสมอฝ้าย
ชื่ออื่น ๆ หนอนเจาะสมออเมริกัน หนอนเจาะฝักข้าวโพด หนอนเจาะผลมะเขือเทศ
Cotton Bollworm, American bollworm, Corn earworm
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Helicoverpa armigera (HiiBner)
วงศ์ : Noctuidae
อันดับ : Lepidoptera
การแพร่กระจายและฤดูกาลระบาด
หนอนเจาะสมอฝ้ายพบระบาดในอัฟริกาและเอเซีย ในเมืองไทย หนอนชนิดนี้ระบาดรุนแรงทั่วทุกแห่ง เนื่องจากหนอนเจาะสมอฝ้ายมีพืชอาหารมากมาย ที่สำคัญทางเศรษฐกิจ จึงทำให้พบการทำลายเสมอในแปลงพืชดังกล่าว
พืชอาหาร
หนอนเจาะสมอฝ้ายมีพืชอาหารมากมายทั้งพืชผัก ไม้ผล ไม้ดอก และพืชไร่ ได้แก่ ถั่วลันเตา ถั่วฝักยาว พริก มะเขือเทศ หน่อไม้ฝรั่ง กระเจี๊ยบเขียว ฯลฯ
การป้องกันกำจัด
1. เชื้อจุลินทรีย์ไวรัส NPV ของหนอนเจาะสมอฝ้าย อัตรา 30 มิลลิลิตร/น้ำ 20 ลิตร พ่นทุก 5 วัน เมื่อพบแมลงระบาดในช่วงเวลาเย็น โดยผสมกับสารจับใบเป็นวิธีที่พบว่าให้ผลดีในการป้องกันกำจัด
2. สารฆ่าแมลงประเภทกลุ่มไพรีทรอยด์ เช่น แลมบ์ดาไซฮาโลทริน (คาราเต้ 2.5%EC) ไซเพอร์เมทริน (ริมคอร์ด 25%EC) ไซฟลูทริน (ไบทรอยด์ 10%EC) หรือสารระงับการลอกคราบคลอร์ฟลูอาซูรอน (อาทาบรอน 5%EC) และสารกลุ่มอื่น ๆ คือ ไซเพอร์เมทริน/ฟอสซาโลน (พาร์ซอน 6.25%/22.5%EC) อย่างใดอย่างหนึ่งโดยใช้อัตราตามคำแนะนำการป้องกันกำจัดแมลงและสัตว์ศัตรู พืช พ่นทุก 5 วัน จนกว่าการระบาดลดลง
หนอนกระทู้ผัก
ชื่ออื่น ๆ หนอนกระทู้ยาสูบ หนะนกระทู้ฝ้าย หนอนรัง, Common cutworm, Tobacco cutworm, Cotton worm, Cotton leaf worm, Fall armyworm
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Spodoptera litura(Fabricius)
วงศ์ : Noctuidae
อันดับ : Lepidoptera
การแพร่กระจายและไดูกาลระบาด
หนอนกระทู้ผักพบทั่วทุกภาคของประเทศไทย มักพบระบาดทั่ว ๆ ไปตลอดปีไม่จำกัดไดูกาล
พืชอาหาร
แมลงชนิดนี้มีพืชอาศัยกว้างมาก เช่นเดียวกับหนอนกระทู้หอม
การป้องกันกำจัด
1. วิธีกลโดยเก็บกลุ่มไข่และหนอนทำลายวิธีนี้พบว่าได้ผลดี และลดการระบาดลดลงได้อย่างมีประสิทธิภาพ
2. การใช้เชื้อจุลินทรีย์ ได้แก่ ไวรัส NPV ของหนอนกระทู้ผัก อัตรา 30 มล./น้ำ 20 ลิตร ผสมสารจับใบอัตราตามฉลาก ฉีดพ่นในช่วงเวลาเย็นทุก 5 วัน เมื่อพบหนอนระบาด
3. สารฆ่าแมลง ดูตามคำแนะนำที่ใช้ในหนอนกระทู้หอม
หนอนคืบ
ชื่ออื่น ๆ หนอนเขียว หนอนคืบ หนอนเขียวคืบ Cabbage looper, Cabbage Semi-looper
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Trichoplusia ni Hiibner
วงศ์ : Noctuidae
อันดับ : Lepidoptera
การแพร่กระจายและฤดูกาลระบาด
หนอนคืบเป็นแมลงศัตรูที่พบตามแหล่งปลูกทั่ว ๆ ไปในประเทศไทย เช่น จังหวัดราชบุรี นครปฐม กรุงเทพฯ เพชรบุรี นนทบุรี กาญจนบุรี สุพรรณบุรี สิงห์บุรี นครนายก ชัยนาท ประจวบคีรีขันธ์ ฉะเชิงเทรา ส่วนใหญ่จะระบาดในช่วงเดือนกุมภาพันธ์-มีนาคม
พืชอาหาร
หนอนคืบสามารถทำลายในพืชผักและพืชอื่น ๆ ได้หลายชนิดที่สำคัญ ได้แก่ กะหล่ำปลี หน่อไม้ฝรั่ง คื่นช่าย คะน้า ผักกาดขาว ฯลฯ
การป้องกันกำจัด
การใช้สารฆ่าแมลง หากพบหนอนคืบผักระบาด พ่นด้วย อะบาเม็กติน (เวอร์ทิเม็ค 1.8%EC แบคทีเรีย(Bt.) เดอะเฟนไทยูรอน (โฟโล 25%SC) คลอร์ฟินาเมอร์ (แรมเพจ 10%SC) ฟิโปรนิล (แอสเซนด์ 5%SC) เป็นต้น โดยแนะนำให้มีการฉีดพ่นสลับ
เพลี้ยไฟฝ้าย
ชื่ออื่น ๆ Cotton thrips
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Thrips palmi karny
การแพร่กระจายและฤดูกาลระบาด
เพลี้ยไฟฝ้ายพบครั้งแรกในฝ้ายและยาสูบที่เกาะสุมาตรา ชวา และอินเดีย มีเขตแพร่กระจายทั่วไปในแถวเอเซียใต้ และตะวันออกเฉียงใต้มานานแล้ว
เพลี้ยไฟฝ้ายพบทำลายพืชได้เกือบตลอดปี และพบต่ำในช่วงไดูฝน การระบาดมักพบเสมอในช่วงไดูร้อนหรือช่วงที่มีอากาศแห้งแล้วฝนทิ้งช่วงเป็น เวลานาน
พืชอาหาร
เพลี้ยไฟฝ้ายเป็นแมลงศัตรูที่มีพืชอาหารที่สำคัญทางเศรษฐกิจมากมายหลายชนิด ได้แก่ ในพืชผัก เช่น มะเขือเปราะ แตงโม แตงกวา หน่อไม้ฝรั่ง ในไม้ผล เช่น มะม่วง ส้มโอ องุ่น ฯลฯ
การป้องกันกำจัด
1. รองก้นหลุมเวลาหยอดเมล็ดหรือย้าย อัตรา 5 กรัม/หลุม สามารถป้องกันเพลี้ยไฟและแมลงปากดูดอื่น ๆ ได้ประมาณ 20 วัน
2. การป้องกันกำจัดวิธีกล โดยการติดกับดักกาวเหนียวสีฟ้า จำนวน 80 กับดักต่อไร่ พบว่ามีประสิทธิภาพในการดักจับเพลี้ยไฟชนิดนี้ ได้เป็นอย่างดีและสามารถลดการระบาดลงได้
3. หากมีการระบาดของเพลี้ยไฟพ่นด้วยสารฆ่าแมลงคาร์โบซัลแฟน (ฟอสซ์ 20%EC) เมทิโอคาร์พ (เมซูโรล 50%wp) โปรธิโอฟอส (ไตกุไธออน 50%EC) เพนโปรพาทริน (คาริตอล 10%EC) ฟอร์โมไทออน (แอนธิโอ 33%EC) อิมิดาคลอพริด (คอนฟิดอร์ 10%SL) เบนฟูราคารีพ (ออนคอล 20%EC) อีโทเฟนพรอกซ์ (เพอร์มิท 5%EC) หรือฟิโปรฟิล (แอสเซนด์ 5%SC) อย่างใดอย่างหนึ่งโดยวิธีการพ่นสลับด้วยช่วงพ่น 5 วัน ต่อครั้งจนกว่าการระบาดลดลง
เพลี้ยไฟหอม
ชื่ออื่น ๆ เพลี้ยไฟมันฝรั่ง Potato thrips, Onion thrips
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Thrips tabaciLindeman
การแพร่กระจายและฤดูกาลระบาด
สำหรับในประเทศไทยพบทุกแหล่งที่มีการปลูกหน่อไม้ฝรั่ง ส่วนในต่างประเทศพบในที่มีภูมิอากาศคล้ายคลึงกับประเทศไทย ได้แก่ ประเทศในแถวเอเซีย ปัจจัยที่สำคัญต่อการระบาดของเพลี้ยไฟ ได้แก่ ฝน และอุณหภูมิที่ต่ำกว่า 15 องศาเซลเซียส ซึ่งจะลดการเคลื่อนย้าย และการระบาดของเพลี้ยไฟลงได้มากในช่วงเดือนที่มีการ ระบาดมากสุด ระหว่างเดือนกุมภาพันธ์-พไษภาคม
พืชอาหาร
หน่อไม้ฝรั่ง หอม กระเทียม ฝ้าย ทานตะวัน บวบ น้ำเต้า ปอ มะเขือ ฯลฯ
การป้องกันกำจัด
1. กับดักกาวเหนียวสีเหลือง อัตรา 80 กับดัก/ไร่ ติดตั้งในแปลงหน่อไม้ฝรั่งสูง 1 เมตร จะช่วยในการทำนายการะบาดและลดจำนวนประชากรของเพลี้ยไฟได้ดี
2. สารสกัดสะเดา 0.1% อัตรา 100 มล./น้ำ 20 ลิตร พ่นเมื่อพบการระบาดทุก 5 วัน จนกว่าการระบาดจะลดลง
3. สารฆ่าแมลง คาร์โบซัลแฟน (มอสซ์ 20%EC) ฟิโพรฟิล (แอสเซนด์ 5%SC) หรือ อิมิดาคลอพริด (คอนฟิดอร์ 10%SL) พ่นเมื่อพบการระบาดทุก 5 วัน จนกว่าการระบาดจะลดลง
การคัดเกรด
เกรดที่บริษัทกำหนดขึ้นเพื่อใช้เป็นเกณฑ์ในการรับซื้อ ได้แก่
* เกรด A ตูม ราคารับซื้อกิโลกรัมละ 52.61 บาท
* เกรด A บาน ราคารับซื้อกิโลกรัมละ 42-48 บาท
* เกรด B ราคารับซื้อกิโลกรัมละ 30-35 บาท
และตกเกรด ซึ่งบริษัทไม่รับซื้อ แต่จะมีพ่อค้าในท้องถิ่นเป็นผู้รับซื้อ ราคากิโลกรัมละ 7-27 บาท ทั้งนี้มีการแบ่งเกรดย่อยของหน่อตกเกรดเหล่านี้ โดยพ่อค้าในท้องถิ่นอีกครั้งหนึ่ง หลังจากคัดเกรดแล้ว บริษัทรับซื้อหน่อไม้ฝรั่งจะนำผลผลิตเข้าไปเก็บในรถห้องเย็น ซึ่งจะจอดรับผลผลิตตามจุดต่าง ๆ ในแหล่งปลูก โดยเก็บรักษาผลผลิตที่อุณหภูมิ 10-12 องศาเซลเซียส จนกว่าจะถึงโรงงานบรรจุกระป๋องเพื่อส่งออกต่อไป
การแปรรูป
ผลิตภัณฑ์ที่แปรรูปจากผลผลิตหน่อไม้ฝรั่ง ได้แก่
1. หน่อไม้ฝรั่งบรรจุกระป๋อง
2. น้ำหน่อไม้ฝรั่ง
3. หน่อไม้ฝรั่งแช่แข็ง
4. ซุปหน่อไม้ฝรั่ง
5. หน่อไม้ฝรั่งดอง
หน่อไม้ฝรั่งมีแหล่งปลูกที่สำคัญอยู่ในภาคตะวันตกและภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศ ได้แก่ จังหวัดนครปฐม ราชบุรี กาญจนบุรี ประจวบคีรีขันธ์ นครราชสีมา อุดรธานี ขอนแก่น หนองคาย ร้อยเอ็ด กาฬสินธุ์ และมหาสารคาม
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Asparagus officinalis L.
วงศ์ : Liliaceae
* หน่อไม้ฝรั่งเป็นพืชผักที่มีลำต้นแบ่งเป็น 2 ส่วน คือ ลำต้นใต้ดิน และลำต้นเหนือดิน
ลำต้นใต้ดิน อาจถือเป็นส่วนหนึ่งของระบบรากรวมเรียกว่า rhizome หรือเหง้า อาหารของหน่อไม้ฝรั่งจะถูกส่งมาเก็บ ที่ส่วนนี้ ลำต้นใต้ดินมีลักษณะเป็นแท่งคล้ายแท่งดินสอ งอกกระจายออกเป็นรัศมี โดยรอบ เรียกอีกอย่างว่า crown ระบบราก แผ่ขยายออกไป ประมาณ 3-5 ฟุต หรือมากกว่านั้น
ยอดอ่อนหรือหน่ออ่อน (spear) เจริญมาจากเหง้าเป็นส่วนที่ใช้ รับประทาน ถ้าปล่อยให้หน่ออ่อนเจริญเติบโตจะกลายเป็นลำต้นเหนือดิน ซึ่งมีความสูง 1.5 - 2 เมตร
ลำต้นเหนือดิน มีใบเป็นเกล็ดบาง ๆ ติดอยู่ตามข้อ ส่วนที่เห็นเป็นลักษณะคล้ายเส้นขน (ที่เรียกกันว่าใบ) แท้จริง เป็นส่วนของกิ่งก้านที่เปลี่ยนไปทำหน้าที่ใบ เรียกว่า claode หรือ cladophyll
* ต้นเพศผู้และเพศเมียแยกกันอยู่คนละต้น (dioecious)
ดอก มีขนาดเล็ก มีจำนวนมากและเกิดตามกิ่งก้าน
ผล มีลักษณะกลม ขนาดเล็ก มีสีเขียวเมื่ออ่อนและสีแดงส้ม เมื่อสุก มีเมล็ดอยู่ภายในผลละ 2-3 เมล็ด เปลือกหุ้มเมล็ดสีดำ
พันธุ์
พันธุ์หน่อไม้ฝรั่งที่เกษตรกรใช้ปลูกเป็นการค้าหลักมีจำนวน 8 สายพันธุ์ ได้แก่
1. พันธุ์แมรี่วอชิงตัน
เป็นพันธุ์ผสมเปิด (open pollination) พันธุ์แรกที่นำเข้ามาปลูกในประเทศไทยให้ผลผลิตสูง ต้านทานโรคราสนิม สีของหน่อเป็นสีเขียว
2. พันธุ์แคลิฟอร์เนีย 309
เป็นพันธุ์ผสมเปิดที่ให้ผลผลิตสูง ต้านทานโรคสูง สีของหน่อ เป็นสีเขียว
3. พันธุ์แคลิฟอร์เนีย 500
เป็นพันธุ์ผสมเปิดที่ให้ผลผลิตสูง หน่อมีขนาดปานกลาง ส่วนปลาย หน่อจะมีกาบใบหุ้มแน่น สีของหน่อเป็นเขียว
4. พันธุ์ ยูซี 157
เป็นพันธุ์ลูกผสมมีทั้งรุ่นที่ 1 และรุ่นที่ 2 (F1 Hybrid และ F2 hybrd) ที่ให้ผลผลิตดีมาก หน่อมีขนาดใหญ่ ปลายหน่อและโคนหน่อ ยาวเรียวเสมอกัน ส่วนปลายจะมี กาบใบหุ้มแน่น สีของหน่อเป็นสีเขียวเข้ม ในแหล่งปลูกที่มีสภาพอุณหภูมิกลางคืนเย็น และมีปริมาณฝน ไม่ตกชุกมากเกินไป คุณภาพของหน่อไม้ฝรั่งพันธุ์นี้จะมีคุณภาพดีมาก ปลูกเป็นเชิงการค้าที่ จังหวัดขอนแก่น กาสินธุ์ อุดรธานี และสุพรรณบุรี
5. พันธุ์บร็อคอิมปรู๊พ
เป็นพันธุ์ลูกผสมที่ให้ผลผลิตดีมาก หน่อมีขนาดใหญ่ โดยเฉพาะ ส่วนโคนหน่อจะใหญ่ แต่ส่วนปลายยอดหน่อจะเรียวเล็กกว่า ส่วนโคน ส่วนปลายหน่อจะมีกาบใบหุ้มไม่ค่อยแน่น มีปลูกเชิงการค้าในจังหวัดต่าง ๆ ของภาคตะวันตก เช่น จังหวัดนครปฐม ราชบุรี กาญจนบุรี และสุพรรณบุรี
6. พันธุ์อพอลโล
เป็นพันธุ์ลูกผสมที่ให้ผลผลิตดี ลักษณะของหน่อยาวเรียว เสมอทั้งโคนหน่อและส่วนปลาย แต่โคนหน่อพันธุ์นี้จะมีลักษณะ เป็นสีเขียวอมม่วง ส่วนปลายจะมีกาบใบหุ้มไม่แน่ ค่อนข้างบานเร็วกว่าพันธุ์อื่น ถ้าปลูกในแหล่งที่มีปริมาณฝนตกชุกจะไม่ทนทานต่อโรค นิยมปลูกใน จังหวัดนครปฐม ราชบุรี กาญจนบุรี และมหาสารคาม
7. พันธุ์บร็อคอิมพีเรียล
เป็นพันธุ์ลูกผสมที่ให้ผลผลิตดี หน่อมีลักษณะของส่วนปลายหน่อ และโคนหน่อกลมมนสวย ส่วนปลายหน่อจะมีกาบใบหุ้มแน่น มีปลูกเชิงการค้าในจังหวัดนครปฐม ราชบุรี กาญจนบุรี
8. พันธุ์แอทลาส
เป็นพันธุ์ลูกผสมที่ให้ผลผลิตดี หน่อมีลักษณะยาวเรียวเสมอกัน กาบใบหุ้มแน่น มีปลูกเป็นเชิงการค้าเพียงเล็กน้อยในประเทศไทย
วิธีการคัดเลือกเมล็ดพันธุ์
เนื่องจากเมล็ดพันธุ์หน่อไม้ฝรั่งที่นำเข้ามาจากต่างประเทศ มี ราคาแพง เกษตรกรมักจะเก็บเมล็ดพันธุ์มาขยายเอง หลายรุ่น ดังนั้นจึงควรคัดต้นแม่พันธุ์ที่มีลักษณะดี โดยเป็นต้นที่ให้หน่อดี มีขนาดหน่อใหญ่ โดยปล่อยผลที่มี เมล็ดหน่อไม้ฝรั่งอยู่ภายใน ให้ผลแก่มีสีแดง นำไปขยี้ให้เปลือกหุ้มผลแตกออก นำมาล้างในน้ำสะอาด เปลือกหุ้มเมล็ดจะลอยขึ้นเหนือน้ำ ส่วนเมล็ดจะจมลง นำเมล็ดไว้ผึ่งลมไว้ 1-2 วัน ให้เมล็ดแห้ง คัดเมล็ดที่สมบูรณ์ทิ้ง เมล็ดพันธุ์ที่ได้ควรนำไปแช่ในน้ำอุ่นเพื่อกระตุ้นให้เมล็ดงอกได้ไวและสม่ำเสมอ โดยแช่น้ำอุ่น (ผสมน้ำร้อนกับ น้ำเย็น อัตราส่วน 1:1 ซึ่งมีอุณหภูมิเฉลี่ย 55 องศาเซลเซียส) นาน 30 นาที แล้วแช่น้ำเย็นทิ้งไว้ข้ามคืน เมื่อนำไปเพาะเมล็ดจะงอกได้ภายใน 10-14 วัน
เมล็ดพันธุ์หน่อไม้ฝรั่งที่นำเข้าจากต่างประเทศ ควรดูวันบรรจุ และวันหมดอายุ ที่ข้างกระป๋อง แต่ถ้าเก็บพันธุ์เอง ควรรีบนำมาเพาะภายใน 1 เดือน ถ้าเก็บไว้ต่อควรใส่ถุงพลาสติกวางเก็บไว้ในตู้เย็นชั้นล่าง (ช่องแช ่ผักผลไม้) แล้วจึงทยอยนำมาเพาะต่อ
การเพาะกล้า
วิธีการเพาะกล้าหน่อไม้ฝรั่ง :
การเพาะกล้าในถุง เตรียมวัสดุเพาะกล้า ซึ่งประกอบด้วย ดินร่วน : ใบไม้ผุ : ขี้เถ้าแกลบ : ปุ๋ยอินทรีย์ อัตราส่วน 1:1:1:1 ผสมให้ เข้ากันและกรอกใส่ถุงดำขนาดกลาง รดน้ำให้ชุ่ม แล้วจึงหยอดเมล็ดลงไป หลุมละ 1 เมล็ด รดน้ำทุกวัน ควรวางถุงกล้าหน่อไม้ฝรั่งไว้กลางแจ้งให้รับแสงสว่างเต็มที่ เพื่อให้ต้นตั้งตรง เลี้ยงไว้ประมาณ 90-120 วัน แล้วจึงขนย้ายกล้าไปปลูกลงแปลงได้ ้การเพาะกล้าโดยตรงในแปลงเพาะ
เตรียมดินเป็นร่องแปลงสูง 30 เซนติเมตร ขนาดแปลงกว้าง 1 เมตร ยาว 10 เมตร ถ้าต้องเพาะกล้าสำหรับปลูกในพื้นที่ 1 ไร่ ควรทำแปลงเพาะกล้า จำนวน 8 แปลง ควรขุดยกร่องแปลงและพรวนดินให้ละเอียด เก็บเอาวัชพืชและกอหญ้าออกให้หมด พร้อมทั้งใส่อินทรีย์วัตถุประเภท เถ้าแกลบ:ปุ๋ยคอก หรือปุ๋ยหมัก อย่างละ 10 บุ้งกี๋ ผสมกับ ปุ๋ยวิทยาศาสตร์ 15-15-15 หรือ 16-16-16 จำนวน 0.5 กิโลกรัม และปูนขาว หรือปูนโดโลไมท์ จำนวน 1-2 กิโลกรัม คลุกเคล้ากับดิน ในแปลงให้สม่ำเสมอ เกลี่ยผิวหน้าแปลงให้เรียบใช้ไม้ทำร่องลึก 2 เซนติเมตร ตามแนวขวางบนแปลง แต่ละร่องห่างกัน 15-20 เซนติเมตร แล้วหยอดเมล็ดลงในร่องให้เมล็ดห่างกัน 10 เซนติเมตร เพื่อไม่ให้ ต้นกล้าขึ้นแน่นและแย่งอาหารกัน ใช้ดินกลบบาง ๆ จากนั้นใช้ฟูราดาน 300 กรัม/แปลง หว่านกันแมลงมารบกวน ใช้ฟางหรือหญ้าแห้งสะอาดคลุมแปลง รดน้ำให้ชุ่มชื้นอยู่เสมอ เมล็ดจะงอกภายในเวลา 10-15 วัน เมื่อต้นกล้าเริ่มงอกยาว 2-3 เซนติเมตร ใช้ปุ๋ยเคมี เช่น ปุ๋ยยูเรีย หรือปุ๋ยแอมโมเนียซัลเฟต ผสมน้ำอัตรา 1 ช้อนแกงต่อน้ำ 1 บัว (10 ลิตร) รดทุก 7 วัน และหว่านปุ๋ยเคมีสูตร 15-15-15 จำนวน 0.5 กิโลกรัม เมื่อกล้าอายุ 30 วัน ในแปลงกล้าต้องหมั่น ถอนหญ้า กำจัดวัชพืชไม่ให้แย่งอาหาร รวมทั้งควรฉีดสารป้องกันเชื้อรา เช่น ไดเทนเอ็ม 45 หรือไดโฟลาเทน หรือแมนโคเซป รวมทั้ง ฉีดพ่นสารฆ่าแมลงป้องกันหนอนกระทู้หรือเพลี้ยไฟ เช่น แลนเนท หรือธูรีไซด์ พ่นทุก 15 วัน กล้าหน่อไม้ฝรั่งอายุ 45-60 วัน สามารถย้ายกล้าไป ปลูกในแปลงในแปลงปลูกต่อไปได้
การปลูก
การเตรียมแปลงปลูก เนื่องจากหน่อไม้ฝรั่งเป็นพืชอายุยาว ปลูกครั้งเดียวสามารถทยอยเก็บเกี่ยวได้นาน 3-5 ปี ดังนั้นควรไถพรวนย่อยดินให้ดี โดยเฉพาะแหล่งปลูกที่มีชั้นดินดานตื้น ต้องไถระเบิดชั้นดินดาน ปัจจุบันภาคเอกชนเริ่มมีแนวทางปฏิบัติในการเตรียมแปลงแบบใหม่ โดยมีการหว่านแกลบดิบบาง ๆ ทั่วทั้งผิวหน้าของแปลง ในอัตรา 10 ตัน/ไร่
และใช้รถขุด(แม็คโคร) ตักดินเดิมขึ้นมามีความลึก 1 เมตร เปรียบเหมือนกับการกลับดินชั้นล่างขึ้นมา ปรับปรุงให้มีคุณภาพดี เหมือนดินชั้นบน ใช้แทรกเตอร์ปาดผิวหน้าดินให้เรียบ และหว่านปุ๋ยอินทรีย์ เช่น ขี้ไก่แกลบ อัตรา 15 ตันต่อไร่ ผสมกับขี้เถ้าแกลบ 5 ต้นต่อไร่ และใช้รถแทรกเตอร์ ผาน 3 พรวนย่อยดินและตากดินไว้นาน 2 เดือน หลังจากนั้นใช้รถไถพรวนดินและยกร่องแปลงปลูก
ในพื้นที่จังหวัดราชบุรี แถบอำเภอดำเนินสะดวก และอำเภอบางแพ เกษตรกรยกร่องสวนขนาดกว้างบนแปลง 4-5 เมตร มีทางเดินของ แปลงข้างละ 0.5 เมตร ความยาวแปลง 50 - 100 เมตร และมีร่องน้ำ ด้านข้างกั้นแต่ละร่องแปลง ขนาดความกว้างร่องน้ำ 1.0-1.5 เมตร ไถดินให้ลึก 30-40 เซนติเมตร เก็บเศษหญ้า และวัชพืชออกให้หมด หว่านปูนเปลือกหอยไร่ละ 200 กิโลกรัม ตากดินไว้ 10-15 วัน และหว่านปุ๋ยคอกประเภทขี้ไก่ แกลบ หรือขี้เป็ด ไร่ละ 2 ตัน และย่อยดินให้ละเอียดโดยใช้รถไถดินตามขนาดเล็ก หรือใช้แรงงานคน จังหวัดอื่น ๆ เช่น จังหวัดนครปฐม กาญจนบุรี ราชบุรี (ยกเว้นอำเภอดำเนินสะดวก) รวมทั้งจังหวัดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ได้แก่ นครราชสีมา ขอนแก่น กาสินธุ์ ฯลฯ ใช้วิธีปลูกแบบไร่ใช้รถแทรกเตอร์ชักร่องเป็นแถวปลูกคล้ายแถวปลูกอ้อย และอาศัยวิธีการให้น้ำผ่านข้างระหว่างแถวปลูกหน่อไม้ฝรั่ง โดยวิธีปล่อย ให้น้ำไหลผ่านตามร่องน้ำข้างแถวปลูก หรือเกษตรกรใช้ วิธีการให้น้ำแบบระบบสปริงเกอร์ บริเวณพื้นที่ด้านข้างที่ทำเป็นแถวปลูก ทำการพูนยกโคนขึ้นมาสูงจากร่องน้ำประมาณ 20-30 เซนติเมตร มีการใส่ปุ๋ยอินทรีย์ ชนิดขี้ไก่แกลบ หรือขี้เป็ด ไร่ละ 2 ตัน หว่านปูนขาวเพื่อปรับสภาพความเป็นกรดในดิน อัตรา 200 กิโลกรัม/ไร่
การจัดระยะปลูก
ควรปลูกแบบแถวเดี่ยว ใช้ระยะปลูกระหว่างต้น 0.5 เมตร และระยะระหว่างแถว 1.0 - 1.5เมตร
การเตรียมหลุมปลูก
ใช้จอบขุดทำหลุมปลูกในแปลงที่เตรียมไว้ โดยขุดหลุมลึก 15-25 เซนติเมตร หลุมกว้าง 20 เซนติเมตร รองกันหลุมด้วยฟูราดาน เพื่อป้องกัน
แมลงในดิน ใช้อัตรา 1 ช้อนชาต่อหลุม และปุ๋ยเคมีสูตร 15-15-15 หรือ 16-16-16 อัตรา 1 ช้อนชาต่อหลุม รวมทั้งใส่ปุ๋ยคอก หรือขี้เถ้าแกลบผุ
อัตรา 2 กำมือต่อหลุม คลุกเคล้ารองกันหลุม
การปลูก
ปลูกหลุมละ 1 ต้นโดยพยายามแผ่รากของต้นกล้า ไม่ให้ขดอยู่เป็นกระจุก แล้วกลบดินรอบโคนต้นหนา 3-4 เซนติเมตร หรือพยายามพูนดิน
รอบโคนต้นให้เหนือระดับดินบนแปลงเล็กน้อย จึงกดดินรอบ ๆ โคนต้นกล้าให้แน่น รดน้ำให้พอชื้น
การย้ายต้นกล้าหน่อไม้ฝรั่งลงปลูกในแปลง
เลือกต้นกล้าอายุ 3-4 เดือนมีความแข็งแรง สมบูรณ์ ต้นใหญ่ มีรากมาก ถ้าเป็นต้นกล้าที่ย้ายปลูกอยู่ในถึงพลาสติกอยู่แล้ว สามารถย้ายปลูกได้ทันที
ตัดยอดด้านบนของต้นกล้าหน่อไม้ฝรั่งให้เหลือความสูงของต้น 15 เซนติเมตร แช่ส่วนรากและโคนของต้นหน่อไม้ฝรั่ง ในน้ำสะอาด ผสมสารป้องกันกำจัดเชื้อรา เช่น เบนเลท หรือไดโฟลาแทน อัตรา 1 ช้อนชาต่อน้ำ 20 ลิตร นาน 15 นาที เวลาที่เหมาะสมที่จะย้ายกล้าควรเป็นช่วงที่มีแดดอ่อน ๆ เวลาบ่ายใกล้เย็น
การดูแลรักษา
การให้น้ำ
-ใช้เรือรดน้ำติดเครื่องยนต์วิ่งไปตามร่องน้ำ
-ใช้ระบบติดสปริงเกอร์พ่นน้ำเป็นละอองฝอย
-ใช้วิธีเปิดน้ำเข้าทางท่อให้ไหลเข้ามาในร่องระบายน้ำข้างแถวปลูก
หลักการให้น้ำ
ควรให้ผิวหน้าดินชื้น แต่อย่าให้จนดินเฉอะแฉะ เพราะถ้าแปลงปลูก เป็นดินเหนียว จะทำให้ปริมาณผลผลิตของหน่อไม้ฝรั่งลดลง
หน่อไม้ฝรั่งเป็นพืชที่ต้องการน้ำอย่างสม่ำเสมอ เพื่อให้ได้ผลผลิตดี
หน่อไม้ฝรั่งที่ได้รับน้ำไม่สม่ำเสมอ จะมีคุณภาพของหน่อไม่ดี โดยจะมีเส้นใย (ไฟเบอร์) มาก หน่อจะเหนียวทำให้คุณภาพในการบริโภคจะด้อยลง
การใส่ปุ๋ย
ปุ๋ยอินทรีย์ ถึงแม้ว่าเกษตรกรจะใส่ไปแล้วในตอนเตรียมดิน แต่เนื่องจากหน่อไม้ฝรั่งเป็นพืชอายุยาว และเก็บผลผลิตไปทุก 2 เดือน สภาพดินในแปลงปลูกจะยุบตัวลง ทำให้รากตื้นไม่มีประสิทธิภาพใน การหาอาหาร ทำให้ลำต้นล้มง่าย เกษตรกรจำเป็นต้องใส่ ปุ๋ยอินทรีย์กลบโคนต้นให้สูงในระดับที่ช่วยให้ทรงต้นแข็งแรง ได้แก่ ปุ๋ยขี้ไก่แกลบ ปุ๋ยขี้เป็ด ขี้หมู หรือปุ๋ยอินทรีย์หมักจากเศษพืช อัตรา 0.5 -1 ตัน/ไร่
ปุ๋ยเคมี แบ่งใส่ตามระยะเวลาการเจริญเติบโต ดังนี้
* หลังย้ายกล้า 10-15 วัน ใส่ปุ๋ยเคมีแอมโมเนียซัลเฟต (21-0-0) อัตรา 15 กรัม/หลุม หรือ 30 กิโลกรัม/ไร่ เมื่ออายุครบ 1 เดือน ใส่ปุ๋ยเคมี สูตร 15-15-15 หรือ 16-16-16 อัตรา 15 กรัม/หลุม
หรือ 30 กิโลกรัม/ไร่ และใส่ซ้ำทุกเดือน
* ในช่วงที่เกษตรกรพักต้นแม่ โดยการบำรุงต้นหน่อไม้ฝรั่งด้วยปุ๋ยอินทรีย์ และปุ๋ยเคมีแล้ว ควรงดการเก็บเกี่ยวหน่อไม้ฝรั่งในช่วงดังกล่าวด้วย เพื่อป้องกันไม้ให้ต้นแม่โทรมเร็วเกินไป
* ในช่วงเตรียมแปลง ควรใช้สารควบคุมวัชพืช เพื่อป้องกันไม่ให้เมล็ดหญ้า งอก เมื่อต้นหน่อไม้ฝรั่งเจริญเติบโตขึ้นมาแล้ว ควรใช้แรงงานกำจัดวัชพืช แทนการใช้สารเคมี เนื่องจากกอของหน่อไม้ฝรั่งที่โตแล้วทรงพุ่มมักจะชนกัน การใช้สารเคมีจะทำให้ชะงักการเจริญเติบโต เกษตรกรมักนิยมกำจัดวัชพืช โดยการใช้เสียมมือเล็ก ๆ ขุดเพื่อเก็บเศษหญ้าและวัชพืชไปพร้อม ๆ กับการแต่งต้น
* ในช่วงที่พักต้นแม่(ทุก 2 เดือน) ควรงดการให้น้ำ รอให้ดินหมาด ก่อนจึงกำจัดวัชพืช เพราะทำให้ขุดรากและลำต้นใต้ดินขึ้นมาได้หมด
เทคนิคที่ควรทราบ
การพักต้น
เนื่องจากต้นหน่อไม้ฝรั่งมีการเจริญเติบโต แตกหน่อและกิ่งก้านเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ถ้าต้นเหนือดินแน่นเกินไป จะแย่งน้ำและอาหารกันเอง และทำให้เกิดร่มเงามากเกินไป แสงสว่างส่องไม่ถึงผิวหน้าดิน ทำให้หน่อที่เกิดใหม่มีขนาดเล็ก ผอมยาว และมีสีขาวมากกว่าสีเขียว ถ้ามีจำนวนต้นแม่ต่อกอน้อยเกินไป จะสร้างอาหารสะสมไม่เพียงพอ จะมีผลทำให้หน่อมีขนาดเล็กเช่นกัน เมื่อเก็บเกี่ยวหน่อไม้ฝรั่งไปแล้วนาน 2 เดือน ต้นหน่อไม้ฝรั่งเริ่มโทรม ผลผลิตจะเริ่มลดลง และหน่อมีขนาดเล็กลงไปเรื่อย ๆ จึงจำเป็น ต้องตัดแต่งต้น และพักต้นไว้ โดยการถอนแยกต้นที่เหลือง และโทรมเป็นโรค หรือถูกแมลงรบกวนทิ้ง คัดเลือกต้นที่แข็งแรงต่อกอไว้ 4-5 ต้น เลี้ยงไว้เป็นต้นแม่ ระยะเวลาการพักต้นแต่ละครั้งอยู่ระหว่าง 20-30 วัน
การพักต้นนี้เกษตรกรต้องงดการเก็บเกี่ยวผลผลิตด้วย จึงต้อง วางแผนในการพักต้น โดยต้องไม่พักต้นพร้อม ๆ กัน เพื่อจะได้มีบางแปลงเก็บผลผลิตขายได้ และบางแปลงพักต้น เพื่อจะได้มีรายได้หมุนเวียนได้ตลอดปี
การพูนดินกลบโคนต้น
เป็นวิธีการที่จำเป็นในการปลูกหน่อไม้ฝรั่งหน่อเขียว เพราะสภาพดิน ที่ยุบตัวลงจากการเข้าไปทำงานของเกษตรกรในแปลง ระหว่างการถอน เก็บเกี่ยวผลผลิต การพูนโคนต้นหน่อไม้ฝรั่ง ควรทำควบคู่ไป กับการใส่ปุ๋ยทุกครั้ง เพื่อเป็นการประหยัดแรงงาน และทำให้หน่อ ที่เกิดใหม่มีความสมบูรณ์ และมีคุณภาพหน่อที่ดี
โรคที่สำคัญของหน่อไม้ฝรั่ง
โรคใบเทียมร่วง (Cercospora blight Branches spot)
โรคต้นไหม้ (Stem blight)
โรคแอนแทรกโนส (Anthracnose)
โรคเน่าเปียก (Wet rot)
โรคใบเทียมร่วง
ลักษณะอาการ
แผลสีม่วงอมน้ำตาลหรือม่วงแดงกลม ตรงกลางสีเทา ต่อมาแผล จะขยายใหญ่เป็นสีน้ำตาล อาการดังกล่าวพบเกิดขึ้นที่ปลายกิ่ง ทำให้ใบแห้งร่วง กิ่งแห้ง ยืนต้นตาย
เชื้อสาเหตุ
เกิดจากเชื้อรา (Cercospora asparagi Sacc)
การแพร่ระบาด
เกิดระบาดมากในไดูฝน สปอร์แพร่กระจายโดยน้ำฝน ลม มักเกิด ระบาดพร้อมหรือร่วมกับโรคต้นไหม้
การป้องกันกำจัดด้วยสารเคมี
* ชื่อสามัญ Benomyl ชื่อการค้า Benlate-OD 50 % wp อัตราการใช้ 15 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร พ่นทุก 7 วัน
* ชื่อสามัญ Copper oxychloride ชื่อการค้า Cupravit Forte 50 wp Cuprox 87 % wp อัตราการใช้ 40 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร พ่นทุก 7 วัน
โรคต้นไหม้
ลักษณะอาการ
ลำต้นเป็นแผลสีน้ำตาล รูปรียาวเป็นเคียว ลำต้นเมื่อแผล กระจายกว้างขึ้นจะทำให้ลำต้นใหม่แห้งเป็นทางยาว อาจพบโรคนี้ทั้งที่โคนต้น กิ่ง ก้าน และใบ ทำให้ใบร่วง ต้นแห้งตายในที่สุด
เชื้อสาเหตุ
เกิดจากเชื้อรา Phomopsis sp.
การแพร่ระบาด
สปอร์ของเชื้อราแพร่กระจายในช่วงไดูฝน อากาศมีความชื้นสูง สปอร์ ถูกน้ำฝนชะและลมพาจากต้นเป็นโรคไปยังต้นปกติ
การป้องกันกำจัด
* ชื่อสามัญ Cabendazim ชื่อการค้า Bentox 50%wp,
Derrosan 60%wp,Bavistin 50%wp
Bavisan 50%wp อัตราการใช้ 20 กรัมต่อนำ้ 20 ลิตร พ่นทุก 7 วัน
* ชื่อสามัญ Copper oxhlorideชื่อการค้า Cupravit
Cuprox อัตราการใช้ 40 กรัมต่อนำ้ 20 ลิตรพ่นทุก 7 วัน
โรคแอนแทรกโนส
ลักษณะอาการ
แผลมีสีน้ำตาลเป็นวงกลมซ้อนกัน ขอบแผลรอบนอกช้ำสีเขียวเข้ม แผลยุบลงตามความยาวของลำต้น เชื้อราเจริญออกมาเป็นตุ่มสีดำ ตามแนววงกลมที่ซ้อน ๆ กัน ต้นเป็นโรคจะแห้งตาย
เชื้อสาเหตุ
เกิดจากเชื้อรา (Colletotrichum sp.)
การแพร่ระบาด
ระบาดรุนแรงในฤดูฝน ความชื้นในอากาศสูง สปอร์ถูกชะโดยน้ำฝนหรือลม พาไปยังต้นปกติที่อยู่ข้างเคียง
การป้องกันกำจัด
*ชื่อสามัญ Benomyl ชื่อการค้า Benlate-OD 50%wp อัตราการใช้ 15 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร พ่นทุก 7 วัน
*ชื่อสามัญ Copper oxychloride ชื่อการค้า Cupravit Forte 50 wp, Cuprox 87% wp อัตราการใช้ 40 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร พ่นทุก 7 วัน
โรคเน่าเปียก
ลักษณะอาการ
มีแผลฉ่ำน้ำสีเขียวเกิดที่ปลายยอดของต้นอ่อน เชื้อราสร้างเส้นใย สีเทาอ่อนยื่นออกมาเป็นก้าน ที่ปลายก้านมีสีดำเล็ก ๆ
เชื้อสาเหตุ
เกิดจากเชื้อรา (Choanephora sp.)
การแพร่ระบาด
ระบาดรุนแรงกับต้นอ่อนของหน่อไม้ฝรั่งในช่วงที่มีฝนตกชุก ที่ ี่สภาพอากาศมีความชื้นสูง จะทำให้หน่อมีอาการเน่าลุกลามรวดเร็ว โดยเฉพาะเมื่อมีแดดออกสลับกับฝนตก
การป้องกันกำจัด
*ชื่อสามัญ Triforin ชื่อการค้า Saprol 20%EC อัตราการใช้ 20 ซีซี ต่อน้ำ 20 ลิตรพ่นทุก 5-7 วัน
*ชื่อสามัญ Thiabendazole ชื่อการค้า Pronto 45% wp อัตราการใช้ 40 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตรพ่นทุก 5-7 วัน
แมลงที่สำคัญและการป้องกันกำจัด
หนอนกระทู้หอม
ชื่ออื่น ๆ หนอนหลอดหอม หนอนหนังเหนียว, Beet armyworm, Lessew armyworm
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Spodopter exigua (Hiibner)
วงศ์ : Noctuidae
อันดับ : Lepidoptera
รูปร่างลักษณะและชีวประวัติ
หนอนกระทู้หอมมีลำตัวอ้วน ผนังลำตัวเรียบ มีหลายสี เช่น เขียวอ่อน เทาปนดำ น้ำตาลดำ น้ำตาลอ่อน ด้านข้างจะมีแถบสีขาวพาดตามลำตัว หนอนมีการเจริญเติบโต 6 ระยะ โตเต็มที่ขนาด 2.5 เซนติเมตร
การแพร่กระจายและฤดูกาลระบาด
พบระบาดตามแหล่งปลูกผัก เช่น จังหวัดราชบุรี และระบาดในจังหวัดใกล้เคียง เช่น กรุงเทพฯ นนทบุรี สมุทรสาคร สมุทรสงคราม ปทุมธานี กาญจนบุรี และประจวบคีรีขันธ์ แหล่งปลูกผักดังกล่าวมีการระบาดของหนอนกระทู้หอมเป็นประจำ และมักระบาดรุนแรงในช่วง ฤดูร้อน
พืชอาหาร
หนอนกระทู้หอมทำลายพืชที่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจมากมายหลายชนิด ไม้ผล พืชไร่ และไม้ดอก ได้แก่ พืชตระกูลกะหล่ำ หอมใหญ่ หน่อไม้ฝรั่ง มันเทศ กระเจี๊ยบเขียว ฯลฯ
การป้องกันกำจัด
1. การใช้เชื้อจุลินทรีย์ ที่แนะนำให้ใช้ในการป้องกันกำจัด 2 ชนิด คือ
1.1 ไวรัส (NPV) ของหนอนกระทู้หอมของกรมวิชาการเกษตร อัตรา 30 มิลลิลิตร/น้ำ 20 ลิตร สะปอต-เอ็กซ์ อัตรา 6-10 มิลลิลิตร/น้ำ 20 ลิตร ผสมกับสารจับใบในอัตราตามฉลาก พ่นในช่วงเวลาเย็นทุก 5 วันต่อครั้ง
1.2 เชื้อแบคทีเรีย Bt. เช่น เซนทารี เดลฟิน แบคโทสปิน เอ็ซพี ฟลอร์แบค ดับบลิวดีจี ได้เม่ลดีเอฟ อัตรา 60-80 กรัม/น้ำ 20 ลิตร พ่นช่วงเวลาเย็นทุก 5 วันต่อครั้ง
2. สารสกัดสะเดา อัตรา 100 มิลลิลิตร/น้ำ 20 ลิตร พ่นเมื่อพบหนอนกระทู้หอมระบาด
3. สารฆ่าแมลง ที่แนะนำให้ใช้กับหนอนกระทู้หอม ได้แก่ ไดอะเฟน ไทยูรอน
(โปโล 25% SC) เทบูฟิโนไซด์ (มินิค 20%F) คลอร์ฟินาเพอร์ (แรมเพจ 10%EC) ฟลูเฟนนอน ซูรอน (แคสเคด 5%SC)
หนอนเจาะสมอฝ้าย
ชื่ออื่น ๆ หนอนเจาะสมออเมริกัน หนอนเจาะฝักข้าวโพด หนอนเจาะผลมะเขือเทศ
Cotton Bollworm, American bollworm, Corn earworm
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Helicoverpa armigera (HiiBner)
วงศ์ : Noctuidae
อันดับ : Lepidoptera
การแพร่กระจายและฤดูกาลระบาด
หนอนเจาะสมอฝ้ายพบระบาดในอัฟริกาและเอเซีย ในเมืองไทย หนอนชนิดนี้ระบาดรุนแรงทั่วทุกแห่ง เนื่องจากหนอนเจาะสมอฝ้ายมีพืชอาหารมากมาย ที่สำคัญทางเศรษฐกิจ จึงทำให้พบการทำลายเสมอในแปลงพืชดังกล่าว
พืชอาหาร
หนอนเจาะสมอฝ้ายมีพืชอาหารมากมายทั้งพืชผัก ไม้ผล ไม้ดอก และพืชไร่ ได้แก่ ถั่วลันเตา ถั่วฝักยาว พริก มะเขือเทศ หน่อไม้ฝรั่ง กระเจี๊ยบเขียว ฯลฯ
การป้องกันกำจัด
1. เชื้อจุลินทรีย์ไวรัส NPV ของหนอนเจาะสมอฝ้าย อัตรา 30 มิลลิลิตร/น้ำ 20 ลิตร พ่นทุก 5 วัน เมื่อพบแมลงระบาดในช่วงเวลาเย็น โดยผสมกับสารจับใบเป็นวิธีที่พบว่าให้ผลดีในการป้องกันกำจัด
2. สารฆ่าแมลงประเภทกลุ่มไพรีทรอยด์ เช่น แลมบ์ดาไซฮาโลทริน (คาราเต้ 2.5%EC) ไซเพอร์เมทริน (ริมคอร์ด 25%EC) ไซฟลูทริน (ไบทรอยด์ 10%EC) หรือสารระงับการลอกคราบคลอร์ฟลูอาซูรอน (อาทาบรอน 5%EC) และสารกลุ่มอื่น ๆ คือ ไซเพอร์เมทริน/ฟอสซาโลน (พาร์ซอน 6.25%/22.5%EC) อย่างใดอย่างหนึ่งโดยใช้อัตราตามคำแนะนำการป้องกันกำจัดแมลงและสัตว์ศัตรู พืช พ่นทุก 5 วัน จนกว่าการระบาดลดลง
หนอนกระทู้ผัก
ชื่ออื่น ๆ หนอนกระทู้ยาสูบ หนะนกระทู้ฝ้าย หนอนรัง, Common cutworm, Tobacco cutworm, Cotton worm, Cotton leaf worm, Fall armyworm
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Spodoptera litura(Fabricius)
วงศ์ : Noctuidae
อันดับ : Lepidoptera
การแพร่กระจายและไดูกาลระบาด
หนอนกระทู้ผักพบทั่วทุกภาคของประเทศไทย มักพบระบาดทั่ว ๆ ไปตลอดปีไม่จำกัดไดูกาล
พืชอาหาร
แมลงชนิดนี้มีพืชอาศัยกว้างมาก เช่นเดียวกับหนอนกระทู้หอม
การป้องกันกำจัด
1. วิธีกลโดยเก็บกลุ่มไข่และหนอนทำลายวิธีนี้พบว่าได้ผลดี และลดการระบาดลดลงได้อย่างมีประสิทธิภาพ
2. การใช้เชื้อจุลินทรีย์ ได้แก่ ไวรัส NPV ของหนอนกระทู้ผัก อัตรา 30 มล./น้ำ 20 ลิตร ผสมสารจับใบอัตราตามฉลาก ฉีดพ่นในช่วงเวลาเย็นทุก 5 วัน เมื่อพบหนอนระบาด
3. สารฆ่าแมลง ดูตามคำแนะนำที่ใช้ในหนอนกระทู้หอม
หนอนคืบ
ชื่ออื่น ๆ หนอนเขียว หนอนคืบ หนอนเขียวคืบ Cabbage looper, Cabbage Semi-looper
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Trichoplusia ni Hiibner
วงศ์ : Noctuidae
อันดับ : Lepidoptera
การแพร่กระจายและฤดูกาลระบาด
หนอนคืบเป็นแมลงศัตรูที่พบตามแหล่งปลูกทั่ว ๆ ไปในประเทศไทย เช่น จังหวัดราชบุรี นครปฐม กรุงเทพฯ เพชรบุรี นนทบุรี กาญจนบุรี สุพรรณบุรี สิงห์บุรี นครนายก ชัยนาท ประจวบคีรีขันธ์ ฉะเชิงเทรา ส่วนใหญ่จะระบาดในช่วงเดือนกุมภาพันธ์-มีนาคม
พืชอาหาร
หนอนคืบสามารถทำลายในพืชผักและพืชอื่น ๆ ได้หลายชนิดที่สำคัญ ได้แก่ กะหล่ำปลี หน่อไม้ฝรั่ง คื่นช่าย คะน้า ผักกาดขาว ฯลฯ
การป้องกันกำจัด
การใช้สารฆ่าแมลง หากพบหนอนคืบผักระบาด พ่นด้วย อะบาเม็กติน (เวอร์ทิเม็ค 1.8%EC แบคทีเรีย(Bt.) เดอะเฟนไทยูรอน (โฟโล 25%SC) คลอร์ฟินาเมอร์ (แรมเพจ 10%SC) ฟิโปรนิล (แอสเซนด์ 5%SC) เป็นต้น โดยแนะนำให้มีการฉีดพ่นสลับ
เพลี้ยไฟฝ้าย
ชื่ออื่น ๆ Cotton thrips
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Thrips palmi karny
การแพร่กระจายและฤดูกาลระบาด
เพลี้ยไฟฝ้ายพบครั้งแรกในฝ้ายและยาสูบที่เกาะสุมาตรา ชวา และอินเดีย มีเขตแพร่กระจายทั่วไปในแถวเอเซียใต้ และตะวันออกเฉียงใต้มานานแล้ว
เพลี้ยไฟฝ้ายพบทำลายพืชได้เกือบตลอดปี และพบต่ำในช่วงไดูฝน การระบาดมักพบเสมอในช่วงไดูร้อนหรือช่วงที่มีอากาศแห้งแล้วฝนทิ้งช่วงเป็น เวลานาน
พืชอาหาร
เพลี้ยไฟฝ้ายเป็นแมลงศัตรูที่มีพืชอาหารที่สำคัญทางเศรษฐกิจมากมายหลายชนิด ได้แก่ ในพืชผัก เช่น มะเขือเปราะ แตงโม แตงกวา หน่อไม้ฝรั่ง ในไม้ผล เช่น มะม่วง ส้มโอ องุ่น ฯลฯ
การป้องกันกำจัด
1. รองก้นหลุมเวลาหยอดเมล็ดหรือย้าย อัตรา 5 กรัม/หลุม สามารถป้องกันเพลี้ยไฟและแมลงปากดูดอื่น ๆ ได้ประมาณ 20 วัน
2. การป้องกันกำจัดวิธีกล โดยการติดกับดักกาวเหนียวสีฟ้า จำนวน 80 กับดักต่อไร่ พบว่ามีประสิทธิภาพในการดักจับเพลี้ยไฟชนิดนี้ ได้เป็นอย่างดีและสามารถลดการระบาดลงได้
3. หากมีการระบาดของเพลี้ยไฟพ่นด้วยสารฆ่าแมลงคาร์โบซัลแฟน (ฟอสซ์ 20%EC) เมทิโอคาร์พ (เมซูโรล 50%wp) โปรธิโอฟอส (ไตกุไธออน 50%EC) เพนโปรพาทริน (คาริตอล 10%EC) ฟอร์โมไทออน (แอนธิโอ 33%EC) อิมิดาคลอพริด (คอนฟิดอร์ 10%SL) เบนฟูราคารีพ (ออนคอล 20%EC) อีโทเฟนพรอกซ์ (เพอร์มิท 5%EC) หรือฟิโปรฟิล (แอสเซนด์ 5%SC) อย่างใดอย่างหนึ่งโดยวิธีการพ่นสลับด้วยช่วงพ่น 5 วัน ต่อครั้งจนกว่าการระบาดลดลง
เพลี้ยไฟหอม
ชื่ออื่น ๆ เพลี้ยไฟมันฝรั่ง Potato thrips, Onion thrips
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Thrips tabaciLindeman
การแพร่กระจายและฤดูกาลระบาด
สำหรับในประเทศไทยพบทุกแหล่งที่มีการปลูกหน่อไม้ฝรั่ง ส่วนในต่างประเทศพบในที่มีภูมิอากาศคล้ายคลึงกับประเทศไทย ได้แก่ ประเทศในแถวเอเซีย ปัจจัยที่สำคัญต่อการระบาดของเพลี้ยไฟ ได้แก่ ฝน และอุณหภูมิที่ต่ำกว่า 15 องศาเซลเซียส ซึ่งจะลดการเคลื่อนย้าย และการระบาดของเพลี้ยไฟลงได้มากในช่วงเดือนที่มีการ ระบาดมากสุด ระหว่างเดือนกุมภาพันธ์-พไษภาคม
พืชอาหาร
หน่อไม้ฝรั่ง หอม กระเทียม ฝ้าย ทานตะวัน บวบ น้ำเต้า ปอ มะเขือ ฯลฯ
การป้องกันกำจัด
1. กับดักกาวเหนียวสีเหลือง อัตรา 80 กับดัก/ไร่ ติดตั้งในแปลงหน่อไม้ฝรั่งสูง 1 เมตร จะช่วยในการทำนายการะบาดและลดจำนวนประชากรของเพลี้ยไฟได้ดี
2. สารสกัดสะเดา 0.1% อัตรา 100 มล./น้ำ 20 ลิตร พ่นเมื่อพบการระบาดทุก 5 วัน จนกว่าการระบาดจะลดลง
3. สารฆ่าแมลง คาร์โบซัลแฟน (มอสซ์ 20%EC) ฟิโพรฟิล (แอสเซนด์ 5%SC) หรือ อิมิดาคลอพริด (คอนฟิดอร์ 10%SL) พ่นเมื่อพบการระบาดทุก 5 วัน จนกว่าการระบาดจะลดลง
การคัดเกรด
เกรดที่บริษัทกำหนดขึ้นเพื่อใช้เป็นเกณฑ์ในการรับซื้อ ได้แก่
* เกรด A ตูม ราคารับซื้อกิโลกรัมละ 52.61 บาท
* เกรด A บาน ราคารับซื้อกิโลกรัมละ 42-48 บาท
* เกรด B ราคารับซื้อกิโลกรัมละ 30-35 บาท
และตกเกรด ซึ่งบริษัทไม่รับซื้อ แต่จะมีพ่อค้าในท้องถิ่นเป็นผู้รับซื้อ ราคากิโลกรัมละ 7-27 บาท ทั้งนี้มีการแบ่งเกรดย่อยของหน่อตกเกรดเหล่านี้ โดยพ่อค้าในท้องถิ่นอีกครั้งหนึ่ง หลังจากคัดเกรดแล้ว บริษัทรับซื้อหน่อไม้ฝรั่งจะนำผลผลิตเข้าไปเก็บในรถห้องเย็น ซึ่งจะจอดรับผลผลิตตามจุดต่าง ๆ ในแหล่งปลูก โดยเก็บรักษาผลผลิตที่อุณหภูมิ 10-12 องศาเซลเซียส จนกว่าจะถึงโรงงานบรรจุกระป๋องเพื่อส่งออกต่อไป
การแปรรูป
ผลิตภัณฑ์ที่แปรรูปจากผลผลิตหน่อไม้ฝรั่ง ได้แก่
1. หน่อไม้ฝรั่งบรรจุกระป๋อง
2. น้ำหน่อไม้ฝรั่ง
3. หน่อไม้ฝรั่งแช่แข็ง
4. ซุปหน่อไม้ฝรั่ง
5. หน่อไม้ฝรั่งดอง