การเพาะเลี้ยงพันธุ์ปลากระพงขาว
ปลากะพงขาว Lates calcarifer ( Bloch )
ชื่อสามัญเรียก (Giant Perch)
ปลากะพงขาว เป็นปลาน้ำกร่อยขนาดใหญ่มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า Lates calcarifer (Bloch) ชื่อสามัญเรียกว่า Giant Perch หรือ Sea Bass สามารถอาศัยอยู่ได้ทั้งในน้ำจืด น้ำกร่อยและน้ำเค็ม ปลาชนิดนี้เลี้ยงกันแพร่หลายในเขตจังหวัดชายทะเลของประเทศไทย เนื่องจากเลี้ยงง่าย โตเร็ว เนื้อมีรสชาติดีและมีราคา ปัจจุบันประเทศไทยสามารถเพาะพันธุ์ปลากะพงขาวได้เป็นจำนวนมาก เพื่อเลี้ยงในประเทศและส่งขายต่างประเทศ ในปัจจุบันพบปลากระพงขาวแพร่กระจายอยู่ทุกจังหวัด ทั้งในอ่าวไทยและฝั่งทะเลอันดามันจะอาศัยอยู่ในแหล่งน้ำที่ไม่ห่างออกไปจากชายฝั่งมากนัก โดยอาศัยอยู่ชุกชุมตามปากแม่น้ำลำคลองและปากทะเลสาบ อย่างไรก็ตาม ปลากะพงขาว ยังสามารถขึ้นไปอาศัยและเจริญเติบโตยังแหล่งน้ำจืดได้อีกด้วย จึงจัดเป็นปลาประเภทสองน้ำอย่างแท้จริง
วิธีการเลี้ยงปลากะพงขาว
ปลากะพงขาวเป็นปลาที่นิยมเลี้ยงกันมาก เพราะพันธุ์ปลาหาได้ง่าย เนื่องจากสถานีประมงของทางราชการและฟาร์มเอกชนสามารถเพาะขยายพันธุ์ได้ปีละหลายสิบล้านตัว นอกจากนี้ปลากะพงขาวยังสามารถอยู่อาศัยได้ในน้ำจืดอีกด้วย จึงสามารถเลี้ยงได้ในแหล่งน้ำที่มีปริมาณน้ำจืดหลากลงมามาก ๆ ในฤดูฝนได้โดยไม่เป็นอันตราย
การเตรียมพันธุ์ปลา
ปลากะพงขาวที่จะปล่อยเลี้ยงในกะชังต้องมีขนาดความยาว 10 เซนติเมตร (4 นิ้ว) ขึ้นไป จึงจะเลี้ยงได้ผลดี มีอัตรารอดตายมากกว่า 90%
การจัดปลาลงเลี้ยงในกระชังและอัตราปล่อย
การจัดปลาลงเลี้ยงในกระชังนั้น จะต้องคัดปลาที่มีขนาดใกล้เคียงกันอยู่ในกระชังเดียวกัน เพราะถ้าปล่อยปลาขนาดต่างกันมาก ปลาใหญ่จะแย่งกินอาหารได้มากกว่าและปลาขนาดเล็กจะไม่กล้าเข้าไปแย่งอาหาร ทำให้ปลาเจริญเติบโตต่างกันมาก จากผลการทดลองของกองเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่งพบว่า สามารถปล่อยปลากะพงขาวขนาด 4 นิ้วลงไปเลี้ยงได้ในอัตราปล่อยตั้งแต่ 100-300 ตัวต่อตารางเมตร ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับสภาพแวดล้อมและทำเลของที่ตั้งกระชัง โดยในบริเวณริมฝั่งแม่น้ำลำคลองที่มีสภาพน้ำไม่ดีนัก น้ำไหลถ่ายเทไม่ดีพอ สามารถปล่อยเลี้ยงได้ในอัตรา 100 ตัวต่อตารางเมตร
การอนุบาลลูกปลากะพงขาววัยอ่อน
ในการอนุบาลลูกปลากะพงขาววัยอ่อนสิ่งที่สำคัญและจำเป็นอย่างยิ่งคือการเตรียมอาหารสำหรับลูกปลาวัยอ่อนอาหารที่ให้ในระยะแรกที่ลูกปลาเริ่มกินอาหารเป็นแพลงก์ตอนสัตว์ (zooplankton) ที่มีขนาดเล็กมาก มีชื่อทั่วไปว่าโรติเฟอร์ (Rotifer) ชนิดที่ใช้เลี้ยงลูกปลากะพงขาวเป็นโรติเฟอร์น้ำกร่อย ที่มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Brachionus plicatilis ซึ่งลูกปลาวัยอ่อนชอบกินและทำให้ลูกปลาโตเร็วและแข็งแรงมีอัตรารอดสูง ดังนั้นการเตรียมเพาะโรติเฟอร์ไว้มาก ๆ จึงจำเป็นในการอนุบาลลูกปลาเป็นอย่างยิ่ง แต่ถ้าไม่มีโรติเฟอร์ก็จะไม่มีประโยชน์อันใดเลย เพราะอาหารลูกปลาวัยอ่อนเป็นปัจจัยที่สำคัญต่อการอยู่รอดของลูกปลามาก
น้ำที่ใช้ในการอนุบาลลูกปลา
น้ำที่ใช้อนุบาลลูกปลาควรเป็นน้ำสะอาด ก่อนใช้กรองด้วยผ้ากรองตาละเอียด เพื่อป้องกันสิ่งเจือปนอื่น ๆ โดยเฉพาะไข่ของสัตว์น้ำที่อาจติดมากับน้ำ ซึ่งถ้าติดลงไปในบ่ออนุบาลแล้ว จะกลับกลายเป็นศัตรูที่น่ากลัวของลูกปลาวัยอ่อน เช่น แมงกะพรุนตัวเล็ก ๆ สามารถกินลูกปลาเล็ก ๆ ได้ ถ้าไม่ระวังให้ดีจะกินลูกปลาหมดภายในเวลาไม่เกิน 7 วัน
ความเค็มของน้ำในตอนเริ่มปล่อยลูกปลาลงอนุบาลในตอนแรก ความเค็มจะอยู่ที่ระดับ 28-30 ppt. และเนื่องจากปลากะพงขาวเป็นปลาน้ำกร่อย โดยธรรมชาติแล้วเราจะพบลูกปลาเล็ก ๆ จะเข้าไปอาศัยเลี้ยงตัวอยู่ในแหล่งน้ำที่เกือบจะจืดสนิท ดังนั้นในการอนุบาลลูกปลาจึงทำการลดความเค็มลงเป็นประจำทุกวัน โดยลดแต่ละครั้งประมาณ 1 - 2 ppt.จนความเค็มได้ระดับ 10-15 ppt. จึงหยุดลดความเค็ม
อาหาร
อาหารที่ใช้อนุบาลลูกปลากะพงขาวอายุ 1-30 วัน ส่วนใหญ่เป็นพวกไรน้ำที่มีชีวิต เพราะลูกปลาวัยนี้ชอบกินอาหารที่มีชีวิตมาก ไรน้ำที่ให้มีหลายชนิดขึ้นอยู่กับอายุและขนาดของลูกปลา การให้ไรน้ำที่มีชีวิตมีผลเสียตอนที่เราไม่สามารถเตรียมอาหารให้ทันกับจำนวนลูกปลาที่ออกมา จะทำให้ลูกปลาขาดอาหารโตช้าและไม่แข็งแรง ถ้าจำนวนมาก ๆ ลูกปลาจะเหลือรอดน้อยมาก และการเตรียมอาหารบางอย่างก็ต้องใช้เวลา ดังนั้น จึงต้องทราบแน่ชัดว่าจะใช้อาหารชนิดใด ตอนลูกปลาขนาดไหนอยู่กี่วัน ควรเริ่มทำการเตรียมอาหารตั้งแต่เมื่อไร เพื่อจะได้ใช้อาหารนั้น ๆ ทันเวลาและพียงพอกับปริมาณลูกปลาที่อนุบาลแล้ว
ชนิดและระยะการให้ไรน้ำต่าง ๆ เพื่อเป็นอาหารแก่ลูกปลามีดังนี้
โรติเฟอร์ เป็นไรน้ำที่มีขนาดเล็ก กินแพลงก์ตอนขนาดเล็กเป็นอาหาร เช่น Chlorella Bunaliella, Chlamydomonas, Cyclotella, Yeast หรือ Bread yeast ฯลฯ ดังนั้นในระยะที่ให้โรติเฟอร์แก่ลูกปลาจึงนิยมใส่ Chlorella ลงในบ่ออนุบาลด้วย เพื่อจะได้เป็นอาหารสำหรับโรติเฟอร์ที่เหลือจากลูกปลากิน ทำให้โรติเฟอร์ส่วนที่เหลือจะสามารถขยายพันธุ์ในบ่ออนุบาล เป็นอาหารลูกปลาคราวต่อไป นอกจากนั้นการใส่ Chlorella ลงในบ่อจะเป็นการช่วยบดบังแสงให้แก่ลูกปลา และช่วยดึงของเสียบางอย่างที่ละลายอยู่ในน้ำเป็นการช่วยปรับปรุงคุณภาพน้ำให้อยู่ในสภาพดีด้วย
อาธิเมีย เริ่มให้อาธิเมียแก่ลูกปลาเมื่อปลาอายุได้ 8 วัน เพราะมีลูกปลาตัวโตสามารถกินได้ ปกติแล้วจะให้อาธิเมียไปจนกว่าลูกปลาจะกินไรแดงได้ จึงหยุดให้อาธิเมียหรือเมื่อลูกปลามีอายุได้ 20 วัน
ไรแดง เป็นไรน้ำจืดที่สามารถเพาะเตรียมขึ้นได้ ดังนั้นในการให้ไรแดงเป็นอาหารแก่ลูกปลา จึงต้องคำนึงถึงความเค็มของน้ำในบ่ออนุบาล ปกติระยะที่ให้ไรแดงความเค็มของน้ำจะอยู่ที่ระดับ 10-15 ppt. ความเค็มระดับดังกล่าว ไรแดงจะตายภายใน 10-20 นาที ลูกปลาจะกินก่อนที่ไรแดงจะตาย เป็นการขจัดปัญหาเรื่องอาหารเหลือ อันจะก่อให้เกิดปัญหาน้ำเสียได้
ลูกกุ้งเคยและตัวอ่อนของแมลง ลูกกุ้งเคยตัวเล็ก ๆ และตัวอ่อนของแมลงเล็ก ๆ เช่น ลูกน้ำเหมาะกับการให้เป็นอาหารลูกปลาเมื่อลูกปลามีอายุ 21 วันขึ้นไป แต่ปัญหาก็มีเพราะบางครั้งลูกกุ้งเคยหายาก
เนื้อปลาสับละเอียด ลูกปลาที่มีอายุ 21 วันขึ้นไป เริ่มฝึกให้กินเนื้อปลาสับละเอียดได้ โดยในตอนแรก ๆ ลูกปลาซึ่งไม่เคยชินและยังไม่ยอมกิน ต้องพยายามฝึกเป็นประจำ โดยให้ทีละน้อย ๆ ให้หลาย ๆ ครั้ง ในวันหนึ่ง ๆ ส่วนเศษอาหารที่เหลือดูดออกในตอนเย็นไม่ควรปล่อยค้างคืนไว้ในบ่อ เมื่อปลาเคยชินกับเนื้อปลาที่ฝึกให้กิน ก็หยุดให้ไรน้ำ
สภาพแวดล้อมอื่น ๆที่ต้องระมัดระวังในการอนุบาลลูกปลากะพงขาว
อุณหภูมิ ปกติอุณหภูมิในบ่ออนุบาลลูกปลาเฉลี่ย 27Co ถ้าอุณหภูมิสูงถึง 30Co หรือ 31Co ลูกปลาจะกินอาหารมาก ว่ายน้ำกระวนกระวาย ถ้าอุณหภูมิต่ำกว่า 24Co ลูกปลาจะไม่ค่อยกินอาหารและทำให้อ่อนแอเกิดโรคแทรกได้ง่าย
- แสงสว่าง ปกติลูกปลาจะเคลื่อนที่เข้าหาแสง แต่แสงสว่างถ้าจ้าเกินไปจะมีผลต่อระบบสายตา ของลูกปลา โดยเฉพาะลูกปลาอายุ 1-5 วัน ทำให้ลูกปลาไม่ค่อยจับอาหารกินและแสงไฟขนาด 200 แรงเทียนเมื่อส่องใกล้ ๆ ลูกปลาทำให้ลูกปลาเกิดอาหารผิดปกติเสียการทรงตัวในการว่ายน้ำ
โรค โรคที่เกิด เท่าที่ปรากฏมีโรคโปรโตซัว (Ciliated Protozoa) แต่ยังไม่ทราบชนิดแน่นอน โรคพวกนี้จะเกาะตามเหงือกปลา ทำให้ปลาเกิดอาการระคายเคืองและเกิดมีเมือกหุ้มเหงือกทำให้หายใจไม่สะดวก ปลาที่เป็นโรคนี้จะมีสีลำตัวคล้ำผิดปกติ จะรวมอยู่เป็นกลุ่มตามมุมบ่อ เป็นโรคที่เกิดและระบาดอย่างรวดเร็ว ทำให้ปลาตายหมดภายในไม่เกิน 5 วัน
การเจริญเติบโตและผลผลิต ปลากะพงขาวที่เลี้ยงในกระชังจะเจริญเติบโตได้ขนาดตลาด (500 - 800 กรัม) ในระยะเวลาการเลี้ยงประมาณ 6-7 เดือน จากการศึกษาของวิเชียร (2528) ซึ่งได้ทำการเลี้ยงปลากะพงขาวในกระชัง โดยปล่อยปลาที่มีขนาด 10-15 เซนติเมตร ในอัตรา 100 ตัวต่อตารางเมตร เมื่อเลี้ยงได้ 6 เดือน สามารถให้ผลผลิตสูงถึง 59 กิโลกรัมต่อพื้นที่กระชัง 1 ตารางเมตร
ข้อดีของปลากะพงขาว ที่เกษตรกรนิยมนำมาเลี้ยงคือ
เป็นปลาที่เลี้ยงง่าย โตเร็ว เนื้อมีรสชาติดี มีราคาดีพอสมควร
หาพันธุ์ปลาได้ง่าย มีทุกขนาด และสามารถหาได้ในปริมาณไม่จำกัด
สามารถเลี้ยงได้แพร่หลายทั้งในแหล่งน้ำจืด น้ำกร่อย หรือน้ำเค็มโดยเฉพาะอย่างยิ่ง บริเวณปากแม่น้ำที่มีความเค็มแปรเปลี่ยนได้ง่าย
ข้อเสียของการเลี้ยงปลากะพงขาว
มีปัญหาเรื่องตลาด เนื่องจากส่งไปขายต่างประเทศได้น้อยมาก ทั้งนี้เพราะต่างประเทศได้สั่งซื้อ
ลูกปลาจากประเทศไทยและประเทศเพื่อนบ้านไปเลี้ยง ทำให้มีปริมาณเนื้อปลาพอเพียง
ปลากะพงขาว Lates calcarifer ( Bloch )
ชื่อสามัญเรียก (Giant Perch)
ปลากะพงขาว เป็นปลาน้ำกร่อยขนาดใหญ่มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า Lates calcarifer (Bloch) ชื่อสามัญเรียกว่า Giant Perch หรือ Sea Bass สามารถอาศัยอยู่ได้ทั้งในน้ำจืด น้ำกร่อยและน้ำเค็ม ปลาชนิดนี้เลี้ยงกันแพร่หลายในเขตจังหวัดชายทะเลของประเทศไทย เนื่องจากเลี้ยงง่าย โตเร็ว เนื้อมีรสชาติดีและมีราคา ปัจจุบันประเทศไทยสามารถเพาะพันธุ์ปลากะพงขาวได้เป็นจำนวนมาก เพื่อเลี้ยงในประเทศและส่งขายต่างประเทศ ในปัจจุบันพบปลากระพงขาวแพร่กระจายอยู่ทุกจังหวัด ทั้งในอ่าวไทยและฝั่งทะเลอันดามันจะอาศัยอยู่ในแหล่งน้ำที่ไม่ห่างออกไปจากชายฝั่งมากนัก โดยอาศัยอยู่ชุกชุมตามปากแม่น้ำลำคลองและปากทะเลสาบ อย่างไรก็ตาม ปลากะพงขาว ยังสามารถขึ้นไปอาศัยและเจริญเติบโตยังแหล่งน้ำจืดได้อีกด้วย จึงจัดเป็นปลาประเภทสองน้ำอย่างแท้จริง
วิธีการเลี้ยงปลากะพงขาว
ปลากะพงขาวเป็นปลาที่นิยมเลี้ยงกันมาก เพราะพันธุ์ปลาหาได้ง่าย เนื่องจากสถานีประมงของทางราชการและฟาร์มเอกชนสามารถเพาะขยายพันธุ์ได้ปีละหลายสิบล้านตัว นอกจากนี้ปลากะพงขาวยังสามารถอยู่อาศัยได้ในน้ำจืดอีกด้วย จึงสามารถเลี้ยงได้ในแหล่งน้ำที่มีปริมาณน้ำจืดหลากลงมามาก ๆ ในฤดูฝนได้โดยไม่เป็นอันตราย
การเตรียมพันธุ์ปลา
ปลากะพงขาวที่จะปล่อยเลี้ยงในกะชังต้องมีขนาดความยาว 10 เซนติเมตร (4 นิ้ว) ขึ้นไป จึงจะเลี้ยงได้ผลดี มีอัตรารอดตายมากกว่า 90%
การจัดปลาลงเลี้ยงในกระชังและอัตราปล่อย
การจัดปลาลงเลี้ยงในกระชังนั้น จะต้องคัดปลาที่มีขนาดใกล้เคียงกันอยู่ในกระชังเดียวกัน เพราะถ้าปล่อยปลาขนาดต่างกันมาก ปลาใหญ่จะแย่งกินอาหารได้มากกว่าและปลาขนาดเล็กจะไม่กล้าเข้าไปแย่งอาหาร ทำให้ปลาเจริญเติบโตต่างกันมาก จากผลการทดลองของกองเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่งพบว่า สามารถปล่อยปลากะพงขาวขนาด 4 นิ้วลงไปเลี้ยงได้ในอัตราปล่อยตั้งแต่ 100-300 ตัวต่อตารางเมตร ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับสภาพแวดล้อมและทำเลของที่ตั้งกระชัง โดยในบริเวณริมฝั่งแม่น้ำลำคลองที่มีสภาพน้ำไม่ดีนัก น้ำไหลถ่ายเทไม่ดีพอ สามารถปล่อยเลี้ยงได้ในอัตรา 100 ตัวต่อตารางเมตร
การอนุบาลลูกปลากะพงขาววัยอ่อน
ในการอนุบาลลูกปลากะพงขาววัยอ่อนสิ่งที่สำคัญและจำเป็นอย่างยิ่งคือการเตรียมอาหารสำหรับลูกปลาวัยอ่อนอาหารที่ให้ในระยะแรกที่ลูกปลาเริ่มกินอาหารเป็นแพลงก์ตอนสัตว์ (zooplankton) ที่มีขนาดเล็กมาก มีชื่อทั่วไปว่าโรติเฟอร์ (Rotifer) ชนิดที่ใช้เลี้ยงลูกปลากะพงขาวเป็นโรติเฟอร์น้ำกร่อย ที่มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Brachionus plicatilis ซึ่งลูกปลาวัยอ่อนชอบกินและทำให้ลูกปลาโตเร็วและแข็งแรงมีอัตรารอดสูง ดังนั้นการเตรียมเพาะโรติเฟอร์ไว้มาก ๆ จึงจำเป็นในการอนุบาลลูกปลาเป็นอย่างยิ่ง แต่ถ้าไม่มีโรติเฟอร์ก็จะไม่มีประโยชน์อันใดเลย เพราะอาหารลูกปลาวัยอ่อนเป็นปัจจัยที่สำคัญต่อการอยู่รอดของลูกปลามาก
น้ำที่ใช้ในการอนุบาลลูกปลา
น้ำที่ใช้อนุบาลลูกปลาควรเป็นน้ำสะอาด ก่อนใช้กรองด้วยผ้ากรองตาละเอียด เพื่อป้องกันสิ่งเจือปนอื่น ๆ โดยเฉพาะไข่ของสัตว์น้ำที่อาจติดมากับน้ำ ซึ่งถ้าติดลงไปในบ่ออนุบาลแล้ว จะกลับกลายเป็นศัตรูที่น่ากลัวของลูกปลาวัยอ่อน เช่น แมงกะพรุนตัวเล็ก ๆ สามารถกินลูกปลาเล็ก ๆ ได้ ถ้าไม่ระวังให้ดีจะกินลูกปลาหมดภายในเวลาไม่เกิน 7 วัน
ความเค็มของน้ำในตอนเริ่มปล่อยลูกปลาลงอนุบาลในตอนแรก ความเค็มจะอยู่ที่ระดับ 28-30 ppt. และเนื่องจากปลากะพงขาวเป็นปลาน้ำกร่อย โดยธรรมชาติแล้วเราจะพบลูกปลาเล็ก ๆ จะเข้าไปอาศัยเลี้ยงตัวอยู่ในแหล่งน้ำที่เกือบจะจืดสนิท ดังนั้นในการอนุบาลลูกปลาจึงทำการลดความเค็มลงเป็นประจำทุกวัน โดยลดแต่ละครั้งประมาณ 1 - 2 ppt.จนความเค็มได้ระดับ 10-15 ppt. จึงหยุดลดความเค็ม
อาหาร
อาหารที่ใช้อนุบาลลูกปลากะพงขาวอายุ 1-30 วัน ส่วนใหญ่เป็นพวกไรน้ำที่มีชีวิต เพราะลูกปลาวัยนี้ชอบกินอาหารที่มีชีวิตมาก ไรน้ำที่ให้มีหลายชนิดขึ้นอยู่กับอายุและขนาดของลูกปลา การให้ไรน้ำที่มีชีวิตมีผลเสียตอนที่เราไม่สามารถเตรียมอาหารให้ทันกับจำนวนลูกปลาที่ออกมา จะทำให้ลูกปลาขาดอาหารโตช้าและไม่แข็งแรง ถ้าจำนวนมาก ๆ ลูกปลาจะเหลือรอดน้อยมาก และการเตรียมอาหารบางอย่างก็ต้องใช้เวลา ดังนั้น จึงต้องทราบแน่ชัดว่าจะใช้อาหารชนิดใด ตอนลูกปลาขนาดไหนอยู่กี่วัน ควรเริ่มทำการเตรียมอาหารตั้งแต่เมื่อไร เพื่อจะได้ใช้อาหารนั้น ๆ ทันเวลาและพียงพอกับปริมาณลูกปลาที่อนุบาลแล้ว
ชนิดและระยะการให้ไรน้ำต่าง ๆ เพื่อเป็นอาหารแก่ลูกปลามีดังนี้
โรติเฟอร์ เป็นไรน้ำที่มีขนาดเล็ก กินแพลงก์ตอนขนาดเล็กเป็นอาหาร เช่น Chlorella Bunaliella, Chlamydomonas, Cyclotella, Yeast หรือ Bread yeast ฯลฯ ดังนั้นในระยะที่ให้โรติเฟอร์แก่ลูกปลาจึงนิยมใส่ Chlorella ลงในบ่ออนุบาลด้วย เพื่อจะได้เป็นอาหารสำหรับโรติเฟอร์ที่เหลือจากลูกปลากิน ทำให้โรติเฟอร์ส่วนที่เหลือจะสามารถขยายพันธุ์ในบ่ออนุบาล เป็นอาหารลูกปลาคราวต่อไป นอกจากนั้นการใส่ Chlorella ลงในบ่อจะเป็นการช่วยบดบังแสงให้แก่ลูกปลา และช่วยดึงของเสียบางอย่างที่ละลายอยู่ในน้ำเป็นการช่วยปรับปรุงคุณภาพน้ำให้อยู่ในสภาพดีด้วย
อาธิเมีย เริ่มให้อาธิเมียแก่ลูกปลาเมื่อปลาอายุได้ 8 วัน เพราะมีลูกปลาตัวโตสามารถกินได้ ปกติแล้วจะให้อาธิเมียไปจนกว่าลูกปลาจะกินไรแดงได้ จึงหยุดให้อาธิเมียหรือเมื่อลูกปลามีอายุได้ 20 วัน
ไรแดง เป็นไรน้ำจืดที่สามารถเพาะเตรียมขึ้นได้ ดังนั้นในการให้ไรแดงเป็นอาหารแก่ลูกปลา จึงต้องคำนึงถึงความเค็มของน้ำในบ่ออนุบาล ปกติระยะที่ให้ไรแดงความเค็มของน้ำจะอยู่ที่ระดับ 10-15 ppt. ความเค็มระดับดังกล่าว ไรแดงจะตายภายใน 10-20 นาที ลูกปลาจะกินก่อนที่ไรแดงจะตาย เป็นการขจัดปัญหาเรื่องอาหารเหลือ อันจะก่อให้เกิดปัญหาน้ำเสียได้
ลูกกุ้งเคยและตัวอ่อนของแมลง ลูกกุ้งเคยตัวเล็ก ๆ และตัวอ่อนของแมลงเล็ก ๆ เช่น ลูกน้ำเหมาะกับการให้เป็นอาหารลูกปลาเมื่อลูกปลามีอายุ 21 วันขึ้นไป แต่ปัญหาก็มีเพราะบางครั้งลูกกุ้งเคยหายาก
เนื้อปลาสับละเอียด ลูกปลาที่มีอายุ 21 วันขึ้นไป เริ่มฝึกให้กินเนื้อปลาสับละเอียดได้ โดยในตอนแรก ๆ ลูกปลาซึ่งไม่เคยชินและยังไม่ยอมกิน ต้องพยายามฝึกเป็นประจำ โดยให้ทีละน้อย ๆ ให้หลาย ๆ ครั้ง ในวันหนึ่ง ๆ ส่วนเศษอาหารที่เหลือดูดออกในตอนเย็นไม่ควรปล่อยค้างคืนไว้ในบ่อ เมื่อปลาเคยชินกับเนื้อปลาที่ฝึกให้กิน ก็หยุดให้ไรน้ำ
สภาพแวดล้อมอื่น ๆที่ต้องระมัดระวังในการอนุบาลลูกปลากะพงขาว
อุณหภูมิ ปกติอุณหภูมิในบ่ออนุบาลลูกปลาเฉลี่ย 27Co ถ้าอุณหภูมิสูงถึง 30Co หรือ 31Co ลูกปลาจะกินอาหารมาก ว่ายน้ำกระวนกระวาย ถ้าอุณหภูมิต่ำกว่า 24Co ลูกปลาจะไม่ค่อยกินอาหารและทำให้อ่อนแอเกิดโรคแทรกได้ง่าย
- แสงสว่าง ปกติลูกปลาจะเคลื่อนที่เข้าหาแสง แต่แสงสว่างถ้าจ้าเกินไปจะมีผลต่อระบบสายตา ของลูกปลา โดยเฉพาะลูกปลาอายุ 1-5 วัน ทำให้ลูกปลาไม่ค่อยจับอาหารกินและแสงไฟขนาด 200 แรงเทียนเมื่อส่องใกล้ ๆ ลูกปลาทำให้ลูกปลาเกิดอาหารผิดปกติเสียการทรงตัวในการว่ายน้ำ
โรค โรคที่เกิด เท่าที่ปรากฏมีโรคโปรโตซัว (Ciliated Protozoa) แต่ยังไม่ทราบชนิดแน่นอน โรคพวกนี้จะเกาะตามเหงือกปลา ทำให้ปลาเกิดอาการระคายเคืองและเกิดมีเมือกหุ้มเหงือกทำให้หายใจไม่สะดวก ปลาที่เป็นโรคนี้จะมีสีลำตัวคล้ำผิดปกติ จะรวมอยู่เป็นกลุ่มตามมุมบ่อ เป็นโรคที่เกิดและระบาดอย่างรวดเร็ว ทำให้ปลาตายหมดภายในไม่เกิน 5 วัน
การเจริญเติบโตและผลผลิต ปลากะพงขาวที่เลี้ยงในกระชังจะเจริญเติบโตได้ขนาดตลาด (500 - 800 กรัม) ในระยะเวลาการเลี้ยงประมาณ 6-7 เดือน จากการศึกษาของวิเชียร (2528) ซึ่งได้ทำการเลี้ยงปลากะพงขาวในกระชัง โดยปล่อยปลาที่มีขนาด 10-15 เซนติเมตร ในอัตรา 100 ตัวต่อตารางเมตร เมื่อเลี้ยงได้ 6 เดือน สามารถให้ผลผลิตสูงถึง 59 กิโลกรัมต่อพื้นที่กระชัง 1 ตารางเมตร
ข้อดีของปลากะพงขาว ที่เกษตรกรนิยมนำมาเลี้ยงคือ
เป็นปลาที่เลี้ยงง่าย โตเร็ว เนื้อมีรสชาติดี มีราคาดีพอสมควร
หาพันธุ์ปลาได้ง่าย มีทุกขนาด และสามารถหาได้ในปริมาณไม่จำกัด
สามารถเลี้ยงได้แพร่หลายทั้งในแหล่งน้ำจืด น้ำกร่อย หรือน้ำเค็มโดยเฉพาะอย่างยิ่ง บริเวณปากแม่น้ำที่มีความเค็มแปรเปลี่ยนได้ง่าย
ข้อเสียของการเลี้ยงปลากะพงขาว
มีปัญหาเรื่องตลาด เนื่องจากส่งไปขายต่างประเทศได้น้อยมาก ทั้งนี้เพราะต่างประเทศได้สั่งซื้อ
ลูกปลาจากประเทศไทยและประเทศเพื่อนบ้านไปเลี้ยง ทำให้มีปริมาณเนื้อปลาพอเพียง