การเลี้ยงปลากดเหลือง
ปลากดเหลืองเป็นปลาน้ำจืดชนิดหนึ่งที่มีคุณค่าทางเศรษฐกิจสูง มีราคาดี เนื้อมีรสชาติดีเป็นที่นิยมของผู้บริโภคทั้งในรูปสดและแปรรูป เช่น แกงเหลือง ฉู่ฉี่ และย่าง ฯลฯ มีชื่อสามัญ Green Catfish และมีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Mytus nemurus ได้รับการตั้งชื่อครั้งแรกโดย Cuvier และ Valencieness ในปี 2436 ปลากดเหลืองมีการเรียกชื่อแตกต่างกันไปตามท้องถิ่น ซึ่งชาวประมงแถบจังหวัดกาญจนบุรี เรียกว่า ปลากดกลางหรือปลากลาง แถบจังหวัดฉะเชิงเทราและชลบุรีเรียกว่า ปลากดนาหรือปลากดเหลืองแถบจังหวัดสุราษฎร์ธานีเรียกว่า ปลากดฉลอง แถบจังหวัดปัตตานีและนราธิวาสเรียกว่า อีแกบาวง แต่ปลาชนิดนี้ประชาชนส่วนใหญ่ในประเทศไทย เรียกว่า ปลากดเหลือง
การแพร่กระจาย ปลากดเหลืองพบแพร่กระจายในแหล่งน้ำจืดทั่วไปของทวีปเอเชียตั้งแต่เอเชียตะวันตก ได้แก่ อินเดีย เนปาล ปากีสถาน และบังกลาเทศ เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ได้แก่ เมียนมาร์ ไทย สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว กัมพูชา เวียดนาม มาเลเซีย และอินโดนีเซีย สำหรับในประเทศไทยพบแพร่กระจายในแหล่งน้ำธรรมชาติและอ่างเก็บน้ำทั่วทุกภาคของประเทศ เช่นภาคเหนือพบในลำน้ำกก ปิง วัง ยม น่าน กว๊านพะเยา บึงบอระเพ็ด เขื่อนภูมิพล เขื่อนสิริกิติ์ และเขื่อนกิ่วลม ภาคตะวันออกเฉียงเหนือพบในแม่น้ำมูล แม่น้ำโขงและสาขาในเขื่อนอุบลรัตน์ เขื่อนลำปาว เขื่อนลำตะคอง ภาคกลาง พบในแม่น้ำเจ้าพระยา แม่น้ำท่าจีน แม่น้ำแม่กลอง แม่น้ำปางปะกง แม่น้ำป่าสัก เขื่อนศรีนครินทร์ เขื่อนวชิราลงกรณ์และแก่งกระจาน ภาคใต้พบในแม่น้ำตาปี ปัตตานี สายบุรี บางนรา โก-ลกและสาขาบริเวณปากแม่น้ำย่านน้ำกร่อยบริเวณชายฝั่งก็สามารถพบปลากดเหลืองได้ นอกจากนี้พบในทะเลน้อย ทะเลสาบ สงขลาและพรุต่างๆ เช่น พรุโต๊ะแดง จังหวัดนราธิวาส พรุควนเคร็งในจังหวัดนครศรีธรรมราช
อุปนิสัย ปลากดเหลืองสามารถเจริญเติบโตและอยู่อาศัยได้ในสภาพแวดล้อมที่หลากหลาย แต่ชอบอาศัยอยู่ตามพื้นท้องน้ำที่เป็นแอ่งหินหรือพื้นดินแข็งน้ำค่อนใสมีกระแสน้ำไหลไม่แรงนักพบอยู่ในระดับความลึกตั้งแต่ 2-40 เมตร ทั้งยังชอบอาหารบริเวณที่น้ำจากต้นน้ำเหนือเขื่อนหรืออ่างเก็บน้ำไหลมาบรรจบกับบริเวณแนวน้ำนิ่ง โดยเฉพาะอย่างยิ่งบริเวณปากน้ำซึ่งมีน้ำจืดไหลปะทะกับแนวน้ำเค็ม มีกุ้ง ปลา ปู หอย ค่อนข้างสมบูรณ์ ชาวประมงมักจับปลากดเหลืองสามารถที่จะปรับตัวให้เจริญโตได้ดีในสภาพน้ำพรุที่มีความเป็นกรดสูงและมีปริมาณสารแขวนลอยมาก
รูปร่างลักษณะ ปลากดเหลืองเป็นปลาน้ำจืดที่ไม่มีเกล็ด ลำตัวกลมยาว หัวค่อนข้างแบนและเรียวเป็นรูปกรวย(conical) กระดูกท้ายทอยยาวถึงโคนครีบหลัง ตาไม่มีหนังปกคลุม ปากกว้าง ขากรรไกรแข็งแรง มีฟันซี่เล็กๆสั้นปลายแหลมเป็นกลุ่มหรือแผ่นบนขากรรไกรบน ขากรรไกรล่างและบนเพดานปากซี่กรองสั้นเล็กปลายแหลม มี 15 ซี่ มีหมวด 4 คู่คือที่บริเวณจมูก ริมฝีปากบน ริมฝีปากล่าง และใต้คางอย่างละ 1 คู่ ซึ่งหนวดคู่แรกและหนวดคู่สุดท้ายจะมีความยาวสั้นกว่าคู่ที่สองและคู่ที่สาม
ครีบหลังไม่สูงเป็นครีบเดี่ยวอยู่กลางหลัง มีก้านครีบแข็ง 1 ก้านและก้านครีบอ่อน 7 ก้าน ครีบไขมันเจริญดีอยู่บนหลังตามหลังตามส่วนท้ายของลำตัว และอยู่ตรงข้ามกับครีบก้น ครีบก้นมีก้านครีบอ่อน 10-11 ก้าน ครีบหูเป็นครีบคู่อยู่หลังบริเวณเหงือก มีเงี่ยงแข็งและแหลมคม 1 คู่ มีก้านครีบอ่อนข้างละ 9 ก้าน ครีบท้องมีก้านครีบอ่อน 6-7 ก้าน ครีบหางเว้าลึกแฉกบนยาวกว่าแฉกล่างประกอบด้วยก้านครีบอ่อน 16-17 ก้าน
ลักษณะสีของลำตัวจะเปลี่ยนไปตามอายุ ขนาด และแหล่งที่อยู่อาศัยปลากดเหลืองที่มีขนาดโตเต็มวัย ลำตัวบริเวณส่วนหลังมีสีน้ำตาลเข้มปนดำ บริเวณข้างลำตัวมีสีน้ำตาลปนเหลือง บริเวณท้องมีสีขาว ฐานครีบอก ครีบท้อง ครีบก้น มีสีเทาเจือชมพู ครีบหลัง ครีบหางมีสีเขียวซีดจาง ปลายครีบมีสีเทาปนดำ ดวงตามีขนาดปานกลาง
ปลากดเหลืองที่พบโดยทั่วไปมีขาด 20-25 เซนติเมตร แต่เคยพบขนาดใหญ่สุดกว่า 60 เซนติเมตร ปลาชนิดนี้มีกระเพาะลม ซึ่งมีลักษณะกระเพาะลมตอนเดียวคล้ายรูปหัวใจทำหน้าที่ช่วยในการทรงตัวใช้ปรับความถ่วงจำเพาะของตัวปลาให้เข้ากับสภาพแวดล้อมที่อยู่อาศัย เพื่อให้สามารถลอยตัวอยู่มนระดับต่างๆได้ตามความต้องการ
การสืบพันธุ์ 1. ลักษณะความแตกต่างระหว่างปลากดเหลืองเพศผู้กับเพศเมียมีดังนี้
ลักษณะตัวผู้
ลักษณะตัวเมีย
1. ลำตัวจะมีลักษณะเรียงยาว
1. ลำตัวจะมีลักษณะป้อมสั้น
2. อวัยวะเพศที่เรียกว่า genital papillae ยื่นออกมาประมาณ 1 เซนติเมตรจะมีลักษณะเป็นติ่งเรียวยาวและแหลมตอนปลาย
2. อวัยวะเพศมีลักษณะเป็นรูกลม
3. ในฤดูผสมพันธุ์ เมื่อรีดจากส่วนท้องจะมีน้ำเชื้อไหลออกมาลักษณะสีขาวขุ่น
3.ในฤดูผสมพันธุ์จะมีส่วนท้องบวมเป่งนูนออกมาทางด้านข้างทั้งสองข้างและช่องเพศมีสีชมพูเรื่อๆ
ปริมาณความดกของไข่ขึ้นกับขนาดของแม่ปลากดเหลือง ปลาเพศเมียที่พบเริ่มมีไข่แก่และสืบพันธุ์วางไข่ได้มีความยาวตั้งแต่ 18 เซนติเมตรขึ้นไป ความยาวเฉลี่ย 28.56 เซนติเมตร ส่วนปลาเพศผู้ความยาวเฉลี่ย 28.56 เซนติเมตร
แม่ปลาขนาดความยาว 18 เซนติเมตร มีไข่ประมาณ 12,500 ฟอง
แม่ปลาขนาดความยาว 30 เซนติเมตร มีไข่ประมาณ 40,000 ฟอง
อัตราการปล่อยพ่อแม่พันธุ์ อัตราส่วนการปล่อยพ่อแม่พันธุ์ปลากดเหลืองเท่ากับอัตรา 1 ตัว/1 ตารางเมตร โดยจะปล่อยแยกเพศหรือรวมเพศก็ได้
ฤดูกาลวางไข่ ปลากดเหลืองสามารถวางไข่ได้เกือบตลอดทั้งปี ส่วนใหญ่อยู่ระหว่างเดือนกุมภาพันธ์ถึงเดือนตุลาคมของทุกปีในแม่น้ำเจ้าพระยา สำหรับภาคใต้ตอนล่างฤดูผสมพันธุ์วางไข่อยู่ในช่วงเดือนพฤษภาคมถึงเดือนพฤศจิกายน เป็นที่น่าสังเกตว่า ฤดูกาลวางไข่ของปลากดเหลืองจะแตกต่างกันไปตามสภาพและที่ตั้งของพื้นที่ เช่น
· อ่างเก็บน้ำเขื่อนอุบลรัตน์ ช่วงเดือนกรกฎาคมถึงกันยายนของทุกปี
· แม่น้ำบางปะกงอยู่ระหว่างเดือนพฤศจิกายน
· เขื่อนศรีนครินทร์ ช่วงเดือนกรกฎาคมถึงกันยายน
· เขื่อนบางลาง จังหวัดยะลา ช่วงเดือนกรกฎาคมถึงตุลาคม
อนึ่ง ปัจจัยที่เป็นตัวควบคุมความสุกแก่ของรังไข่ ได้แก่ ปริมาณน้ำฝนที่ตกในแต่ละช่วงของรอบปี
การพัฒนาไข่ปลากดเหลือง ไข่ปลากดเหลืองเป็นไข่จมและติดกับวัตถุ เมื่อสัมผัสกับน้ำจะมีสารเมือกเหนียวที่รอบเปลือกไข่ ทำให้ไข่ปลาติดกับวัตถุหรือไข่ติดกันเป็นกลุ่มก้อนไข่แก่มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางเฉลี่ย 0.82 มิลลิเมตร ไข่ที่ได้รับการปฏิสนธิจะขยายขึ้นเป็นขนาดประมาณ 1 มิลลิเมตร มีลักษณะกลม สีเหลืองใสสด ส่วนไข่ที่ไม่ได้รับการผสมจะมีสีขาวขุ่นหรือบิดเบี้ยว การพัฒนาไข่ปลากดเหลืองเป็นตัว ที่อุณหภูมิ 26-28 องศาเซลเซียส ภายในเวลา 30 ชั่วโมง เมื่อมีอายุย่างเข้าวันที่4 ลักษณะลำตัวและครีบต่างๆเริ่มคล้ายกับปลาเต็มวัย ลูกปลามีขนาดประมาณ 0.8 เซนติเมตร ลูกปลาอายุ 10 วัน มีความยาวประมาณ 1.5 เซนติเมตร
นิสัยการกินอาหาร
ปลากดเหลืองมีกระเพาะอาหารที่มีลักษณะเป็นถุงตรงยาว ผนังหนาสีขาวขุ่น นิสัยการกินอาหารในธรรมชาติได้แก่ ปลาขาดเล็ก ตัวอ่อนแมลงหรือแมลงในน้ำ กุ้งน้ำจืด เศษพันธุ์ไม้น้ำ และหอยฝาเดียว เป็นต้น จากลักษณะรูปร่างที่ปราดเปรียวของปลากดเหลือง พบว่า จะโฉบจับเหยื่อที่อยู่ผิวน้ำหรือกลางน้ำได้อย่างว่องไว โดยจะหากินในช่วงกลางคืนได้ดีกว่าช่วงกลางวัน
การเพาะพันธุ์
ปลากดเหลืองที่ใช้ในการเพาะพันธุ์ส่วนใหญ่ได้จากการรวบรวมพันธุ์จากแหล่งน้ำธรรมชาติ เช่น แม่น้ำ ลำคลอง หรืออ่างเก็บน้ำต่างๆ โดยคัดเลือกพันธุ์ปลาที่แข็งแรง อวัยวะทุกอย่างครบสมบูรณ์ ขนาดไม่ต่ำกว่า 400 กรัม นำมาเลี้ยงเป็นพ่อแม่ปลาได้ทั้งในบ่อดินและกระชัง แต่ควรแยกเพศปลาตัวผู้และตัวเมียออกจากกัน
บ่อดิน ควรมีขนาด 800-1,600 ตารางเมตร อัตราการปล่อยปลา 1-2 ตัวต่อตารางเมตร
กระชัง ควรเป็นกระชังอวนโพลี ขนาดตา 2-3 เซนติเมตร ขนาดกระชังกว้าง 5 เมตร ยาว 5 เมตร ลึก 2.5 เมตร อัตราการปล่อยปลา 50-100 ตัว ต่อกระชัง
การขุนเลี้ยงพ่อแม่พันธุ์ ให้อาหารจำพวก ปลาสดสับผสมหัวอาหารและเสริมด้วยอาหารเม็ดปลาดุก หรือให้อาหารต้มสุกจำพวกปลายข้าว 2 ส่วน รำละเอียด 3 ส่วน ปลาป่น 1 ส่วน วิตามินและแร่ธาตุประมาณ 1 เปอร์เซ็นต์ โดยน้ำหนัก เสริมด้วยอาหารเม็ดปลาดุกเล็ก 1 ครั้ง ต่อสัปดาห์ ปริมาณอาหารที่ให้ในแต่ละวันประมาณ 2-3 เปอร์เซ็นต์ของน้ำหนักปลา ควรมีการเปลี่ยนถ่ายน้ำใหม่ในบ่อประมาณ 1-2 ครั้ง ต่อเดือนปริมาณ 1 ใน 3 ของบ่อ
การคัดเลือกพ่อแม่ปลา
การตรวจสอบพ่อแม่ปลาที่มีความสมบูรณ์ควรทำด้วยความระมัดระวังอาจใช้ผ้าขนหนูปิดหัวปลา โดยเฉพาะบริเวณตาของพ่อแม่ปลา แล้วหงายท้องตรวจความพร้อมของปลา จะป้องกันการบอบช้ำ และลดความเครียดได้ ปลาเพศเมียที่มีไข่แก่ สังเกตจากส่วนท้องจะบวมเป่งและนิ่ม ช่องเพศมีสีชมพูเรื่อๆปลาเพศผู้ อวัยวะเป็นติ่งแหลมยื่นยาวออกมาไม่ต่ำกว่า 1 เซนติเมตร
พ่อแม่ปลาที่ใช้ควรมีน้ำหนักตั้งแต่ 450 กรัม หรือเป็นปลาที่มีอายุไม่ต่ำกว่า 18 เดือนขึ้นไป โดยปกติแล้วแม่พันธุ์ปลาจะมีน้ำหนักมากกว่าพ่อแม่พันธุ์ปลา
การฉีดฮอร์โมนผสมเทียม
ฮอร์โมนที่ใช้ในการฉีดเร่งให้แม่ปลามีไข่แก่ และพ่อปลามีน้ำเชื้อสมบูรณ์ปัจจุบันนิยมใช้ฮอร์โมนสังเคราะห์ (synthetic hormore, LHR Ha) ซึ่งมีชื่อทางการค้าว่า ซูพรีแฟค (Suprefact) ร่วมกับสารระงับการทำงานของระบบหลั่งฮอร์โมนคือ โดมเพอริโดน (Domperidone) หรือมีชื่อทางการค้าว่าโมทีเลียม (Motilium)
โดยฉีดกระตุ้นทั้งเพศผู้และเพศเมียในเพศเมียฉีดเข็มแรกในอัตรา 5-7 ไมโครกรัมและยาเสริมฤทธิ์ 5 มิลลิกรัมต่อแม่ปลาน้ำหนัก 1 กิโลกรัม เข็มที่สอง ห่างจากเข็มแรก 6 ชั่วโมง ในอัตรา 15-20 ไมโครกรัม และยาเสริมฤทธิ์ 5 มิลลิกรัมต่อแม่ปลาน้ำหนัก 1 กิโลกรัม ส่วนปลาเพศผู้ฉีดในอัตรา 5 ไมโครกรัม และยาเสริมฤทธิ์ 5 มิลลิกรัม ต่อพ่อปลาน้ำหนัก 1 กิโลกรัม
ทั้งนี้แม่ปลาพร้อมที่จะรีดไข่ผสมน้ำเชื้อหลังจากฉีดน้ำยาเข็มที่ 2 ประมาณ 6-8 ชั่วโมง ถ้าหากปลาเพศผู้อยู่ในสภาวะสมบูรณ์เพศเต็มที่ก็ไม่จำเป็นต้องฉีดฮอร์โมนกระตุ้นก็ได้
ตำแหน่งที่ฉีดฮอร์โมน
การฉีดฮอร์โมนปลากดเหลืองนั้น ตำแหน่งที่เหมาะสมที่สุดคือ บริเวณกล้ามเนื้อใต้ครีบหลังส่วนต้นเหนือเส้นข้างตัว โดยใช้เข็มเบอร์ 24 แทงเข็มเอียงทำมุมกับลำตัวประมาณ 30 องศา แทงลึกประมาณ 1 นิ้ว ( 2 เซนติเมตร )
การรีดไข่ผสมน้ำเชื้อ
ก่อนการรีดไข่ปลากดเหลืองเพื่อผสมกับน้ำเชื้อจะต้องเตรียมวัสดุและอุปกรณ์ต่างๆ ในการฟักไข่ให้พร้อม ได้แก่ กะละมังเคลือบที่เช็ดแห้งสนิท คีมคีบผ้าขาวบาง ขนไก่ และอวนมุ้งไนลอนตาถี่สีฟ้า หรือ กระชังผ้าโอลอนแก้วสำหรับฟักไข่ ฯลฯ
การรีดไข่โดยจับแม่ปลาให้แน่นพร้อมทั้งเช็ดลำตัวให้แห้ง รีดไข่ใส่กะละมังพร้อมกันนี้ผ่าเอาถุงน้ำเชื้อจากพ่อปลา ใช้คีมคีบถุงน้ำเชื้อออกมาขยี้ในผ้าขาวบางให้น้ำเชื้อไหลลงไปผสมกับไข่ ใช้ขนไก่คนให้ไข่กับน้ำเชื้อผสมเข้ากันอย่างทั่วถึงในขั้นตอนนี้ต้องทำอย่างรวดเร็ว และรีบนำไข่ที่ผสมแล้วไปฟัก โดยโรยบนอวนมุ้งไนลอนตาถี่สีฟ้า หรือบนกระชังผ้าโอลอนแก้ว ในระดับน้ำลึกประมาณ 20-30 เซนติเมตร การโรยไข่ปลาพยายามให้ไข่กระจายอย่าทับซ้อนกันเป็นก้อนเปิดน้ำไหลผ่านตลอดเวลาและมีเครื่องเพิ่มอากาศใส่ไว้ในบ่อฟักไข่ปลาด้วย
การฟักไข่
ไข่ปลากดเหลืองเป็นไข่ติด ไข่ที่ดีซึ่งได้รับการผสมควรมีลักษณะกลมมีสีเหลืองสดใสและพัฒนาฟักออกเป็นตัว โดยใช้เวลาประมาณ 27-30 ชั่วโมง ที่อุณหภูมิของน้ำ 26-28 องศาเซลเซียส ถุงอาหาร (yolk sac) จะยุบตัวหมดในเวลา 3 วัน หลังจากนั้นลูกปลาจะเริ่มกินอาหาร
บ่อเพาะฟักลูกปลากดเหลืองควรมีหลังคาคลุมบังป้องกันแสงแดดและน้ำฝนได้
การอนุบาลลูกปลาวัยอ่อน
นำลูกปลาวัยอ่อนที่ฟักออกเป็นตัวใหม่ๆ ไปอนุบาลในบ่อซีเมนต์ขนาด 50 ตารางเมตร ระดับน้ำลึก 20-30 เซนติเมตร สามารถอนุบาลลูกปลาได้ 50,000-100,000 ตัว หรือ 1,000-2,000 ตัว/ตารางเมตร ให้ออกซิเจนตลอดเวลา
อาหารลูกปลา ในสัปดาห์แรกเป็นอาหารที่มีชีวิต ได้แก่ ไรแดงหรือ อาร์ทีเมีย จนกระทั่งลูกปลามีอายุ 8-10 วัน จึงเริ่มฝึกให้กินอาหารสมทบ ได้แก่ เนื้อปลาบดผสมวิตามินและแร่ธาตุ ส่วนปริมาณการให้อาหารจะให้น้อยๆแต่บ่อยครั้ง ในระยะนี้อาจผสมยาปฎิชีวนะกับอาหารในอัตรา 3 กรัม/อาหาร 1 กิโลกรัม เพื่อป้องกันโรคพวกแบคทีเรีย โดยให้วันละ 1 ครั้ง ติดต่อกัน 5-7 วัน
ระดับน้ำ ในบ่ออนุบาลลูกปลาวัยอ่อนระยะแรกประมาณ 20-30 เซนติเมตรและค่อยๆ เพิ่มปริมาณน้ำเป็น 50 เซนติเมตร เมื่อเริ่มให้อาหารสมทบจำพวกเนื้อปลาบด และส่วนผสม ทั้งนี้ การทำความสะอาดพื้นบ่อเป็นสิ่งจำเป็นมาก โดยดูดตะกอนพื้นบ่อ เปลี่ยนถ่ายน้ำประมาณ 1 ใน 3 ของบ่อ และเพิ่มประมาณน้ำให้เท่าเดิมในช่วงนี้
การป้องกันโรค ควรใส่ฟอร์มาลินในความเข้มข้น 40 พีพีเอ็ม แช่ตลอด 24 ชั่วโมง สัปดาห์ละ 1 ครั้ง
การคัดขนาด เมื่ออนุบาลลูกปลามีอายุ 8-10 วัน จะเริ่มขนาดต่างกันจึงต้องหมั่นคัดขนาดลูกปลาเพื่อช่วยลดการกินกันเอง และระยะเวลา 45 วัน จะได้ลูกปลาขนาด 1.5-2.0 นิ้ว
การอนุบาลลูกปลาในบ่อซีเมนต์
จากการอนุบาลปลากดเหลืองขนาดความยาว 3-4 เซนติเมตร อัตราการปล่อย 50 ตัว/ตารางเมตร ในบ่อซีเมนต์
พบว่า ลูกปลาที่ได้รับอาหารกุ้งเบอร์ 2 มีอัตราการเจริญเติบโตและอัตรารอดตายดีที่สุด เมื่อเทียบกับอาหารปลาดุก (โปรตีน 31 เปอร์เซ็นต์) และเนื้อปลาสับ (โปรตีน 10 เปอร์เซ็นต์) คือลูกปลามีขนาดความยาว 5-8 เซนติเมตร ภายใน 7 สัปดาห์
การอนุบาลลูกปลาในบ่อดิน
บ่อดินที่ใช้อนุบาลลูกปลา ต้องมีการกำจัดศัตรูของลูกปลาก่อน และพื้นบ่อควรเรียบสะอาด ปราศจากพืชพรรณไม้น้ำต่างๆ ควรมีร่องขนาดกว้าง 0.5-1.0 เมตร ยาวจากหัวบ่อจรดท้ายบ่อ และลึกจากพื้นบ่อประมาณ 20 เซนติเมตร
เพื่อความสะดวกในการรวบรวมลูกปลาตรงปลายร่องมีแอ่งลึก พื้นที่ประมาณ 2-4 ตารางเมตรเป็นแหล่งรวบรวมลูกปลา ลูกปลากดเหลืองอายุ 12-15 วัน ขนาด 1-1.5 เซนติเมตร บ่อขนาด 800 ตารางเมตร ระดับน้ำลึก 0.50-0.80 เมตร อัตราการปล่อยอนุบาลบ่อละ 50,000-70,000 ตัว ให้อาหารผสมได้แก่ เนื้อปลาบด 80 เปอร์เซ็นต์ อาหารผง (powder food) 19.6 เปอร์เซ็นต์ วิตามินและแร่ธาตุ 0.4 เปอร์เซ็นต์ ปั้นเป็นก้อนเล็กๆโยนให้ลูกปลาในบ่อกินวันละ 2 ครั้ง เช้าและเย็น โดยปรับปริมาณอาหารที่ให้ทุกสัปดาห์เพื่อให้เพียงพอกับจำนวนลูกปลา นอกจากนี้อาจผสมน้ำมันปลาหมึกในอาหารจะช่วยดึงดูดลูกปลาให้กินอาหารได้ดีขึ้น เมื่อลูกปลาอายุประมาณ 15 วัน จะมีขนาด 4.5-5.0 เซนติเมตร
การเลี้ยงปลาขนาดตลาด
การเลี้ยงปลากดเหลืองให้ได้ขนาดตามที่ตลาดต้องการนั้นสามารถเลี้ยงได้ทั้งในบ่อดินและกระชัง
1. การเลี้ยงในบ่อดิน ควรปรับสภาพบ่อโดยใช้หลักการเตรียมบ่อเลี้ยงปลาทั่วๆไปดังนี้
1.1 ตากพื้นบ่อให้แห้งพร้อมทั้งปรับสภาพก้นบ่อให้สะอาด
1.2 ใส่ปูนขาวเพื่อปรับสภาพของดินโดยใส่ปูนขาวในอัตราประมาณ 60-100 กิโลกรัม/ไร่
1.3 ใส่ปุ๋ยคอกเพื่อให้เกิดอาหารธรรมชาติสำหรับลูกปลาควรใส่ปุ๋ยคอกในอัตราประมาณ 60-100 กิโลกรัม/ไร่
1.4 นำน้ำเข้าบ่อโดยกรองไม่ให้ศัตรูของลูกปลา ติดเข้ามากับน้ำระดับน้ำลึก 30-40 เซนติเมตร วันรุ่งขึ้นจึงปล่อยปลาและเพื่อให้ลูกปลามีอาหารกิน ควรเติมไรแดงในอัตราประมาณ 5 กิโลกรัม/ไร่ หลังจากนั้นจึงให้อาหารผสมแก่ลูกปลา ก่อนที่จะนำลูกปลามาเลี้ยงควรตรวจดูด้วยว่าเป็นลูกปลาที่มีสุขภาพดีและแข็งแรง
การปล่อยลูกปลา ลงบ่อเลี้ยงจะต้องปรับสภาพอุณหภูมิของน้ำ ในถุงและน้ำในบ่อให้เท่าๆกันก่อน โดยแช่ถุงบรรจุลูกปลาในน้ำประมาณ 30 นาทีจึงปล่อยลูกปลา เวลาที่เหมาะสมในการปล่อยลูกปลาควรเป็นเวลาตอนเย็นหรือตอนเช้า
การเลี้ยงปลากดเหลืองในบ่อดินขนาด 2 ไร่จำนวน 2 บ่อ ของเกษตรกรกิ่งอำเภอคลองหอยโข่ง จังหวัดสงขลา ในอัตราการปล่อยปลาขนาดความยาว 15.0-17.0 เซนติเมตร น้ำหนักระหว่าง 22-42 กรัม ตารางเมตรละ 1 ตัวหรือ ไร่ละ 1,600 ตัว โดยให้อาหารจำพวกปลาเป็ดสับผสมวิตามินและแร่ธาตุ ใช้ระยะเวลาในการเลี้ยงประมาณ 7 เดือน จึงจับปลาจำหน่าย ได้น้ำหนักปลาทังสิ้น 2,125 กิโลกรัม เป็นผลผลิตไร่ละ 1,062.5 กิโลกรัม น้ำหนักตัวระหว่าง 400-500 กรัม (ประมาณ 2.40 ตัว/กิโลกรัม) ได้ปลา 5,110 ตัว อัตราการรอดตาย 79.82 เปอร์เซ็นต์ โดยใช้ปริมาณอาหารทั้งหมด 9,562 กิโลกรัม มีอัตราแลกเนื้อ (FCR) เท่ากับ 2 : 4.5 ดังตารางต่อไปนี้
ตารางที่ 1 การเลี้ยงปลากดเหลืองในบ่อดินของเกษตรกรจังหวัดสงขลา
บ่อ
จำนวนที่ปล่อย (ตัว)
น้ำหนักเริ่มปล่อย(ตัว)
จำนวนปลาที่เหลือ(ตัว)
อัตราการรอด(%)
น้ำหนักเฉลี่ย(กรัม)
น้ำหนักรวม(กิโลกรัม)
3,200
3,200
15.41
15.80
2,548
2,760
73.38
86.25
419.50
413.00
985
1,140
เฉลี่ย
3,200
15.60
2,654
76.80
416.25
1,062.5
ที่มา : สถานีประมงน้ำจืดจังหวัดสงขลา ,2537
2. การเลี้ยงปลารุ่นในกระชัง สถานีประมงน้ำจืดจังหวัดสงขลาได้ทำการเลี้ยงปลากดเหลืองให้เป็นปลารุ่นในกระชังตาข่ายพลาสติก ขนาด 2 ´3 ´1.5 เมตร ปลาความยาวเฉลี่ย 7.17 เซนติเมตร น้ำหนักเฉลี่ย 3.14 กรัม อัตราการปล่อย 300 ตัว/กระชัง
เปรียบเทียบอาหารเนื้อปลาสดสับกับอาหารเม็ดปลากินเนื้อในระยะเวลา 6 เดือน พบว่า ปลาที่เลี้ยงด้วยเนื้อปลาสดสับ มีอัตราการเจริญเติบโตดีมาก คือ มีน้ำหนักเฉลี่ย 83.87 กรัม อัตราการรอดตาย 73.79 เปอร์เซ็นต์ อัตราแลกเนื้อ 4.98 คิดเป็นต้นทุนอาหาร 24.90 บาท/กิโลกรัม (ปลาสดราคากิโลกรัมละ 5 บาท)
ในขณะที่การเลี้ยงด้วยอาหารเม็ดปลากินเนื้อ ปลาที่เลี้ยงมีน้ำหนักเฉลี่ย 72.61 กรัม อัตราการรอดตาย 59.29 เปอร์เซ็นต์ อัตราแลกเนื้อ 2.76 คิดเป็นต้นทุนอาหาร 33.12 บาท/กิโลกรัม (อาหารเม็ดปลากินเนื้อราคากิโลกรัมละ 12 บาท)
3. การเลี้ยงปลาในกระชัง การเลี้ยงปลากดเหลืองในกระชังโดยที่ตัวกระชังทำด้วยตาข่ายพลาสติกขนาดกระชัง 3 ´4 ´1.8 เมตร ปล่อยปลาขนาด 200-250 กรัม จนถึงขนาดตลาด อัตราปล่อย 1,000ตัว/กระชัง ให้ปลาเป็ดและส่วนผสมอื่นๆเป็นอาหารวันละ 1 ครั้ง ใช้เวลาเลี้ยง 4 เดือน ผลปรากฏว่าปลาเจริญเติบโตมีน้ำหนักเฉลี่ย 540 กรัม/ตัว อัตรารอดตาย 82.0 เปอร์เซ็นต์ ผลผลิต 462.38 กิโลกรัม/กระชัง
ข้อควรคำนึงในการเลี้ยงปลากดเหลืองให้ได้ขนาดที่ตลาดต้องการนั้น ถ้าเลี้ยงในบ่อดิน พันธุ์ปลาที่ปล่อยควรเริ่มที่ขนาด 5-7 เซนติเมตร อัตราการปล่อยตารางเมตรละ 1-2 ตัว ส่วนการเลี้ยงในกระชังควรปล่อยปลาตารางเมตรละ 50-70 ตัว และควรหมั่นคัดขนาดปลาให้สม่ำเสมอกันด้วย
ต้นทุนและผลตอบแทน
การเลี้ยงปลากดเหลืองในบ่อดิน จากปลาขนาดความยาวระหว่าง 15 –17 เซนติเมตร หรือน้ำหนักเฉลี่ย 32 กรัม/ตัว โดยให้ปลาเป็ด ไส้ไก่ วิตามินและแร่ธาตุเป็นอาหาร พบว่าในระยะเวลา 7 เดือน ได้ผลผลิตปลาขนาดเฉลี่ย 2.4 ตัว/กิโลกรัม ไร่ละประมาณ 1,062.50 กิโลกรัม คิดเป็นรายได้ 63,750 บาท โดยมีต้นทุนที่เป็นเงินสด 32,377.50 บาท/ไร่ ต้นทุนรวมทั้งสิ้นไร่ละ 49,125.02 บาท รายได้เหนือต้นทุนที่เป็นเงินสด 32,377.50 บาท/ไร่ มีกำไรสุทธิไร่ละ 14,625 บาท และคิดเป็นผลตอบแทนต่อการลงทุนประมาณ 29.77 เปอร์เซ็นต์ ดังตารางที่ 2
ตารางที่ 2 รายได้และต้นทุนการเลี้ยงปลากดเหลืองในบ่อดิน จังหวัดสงขลา ปี 2536
รายการ
เงินสด
ไม่เป็นเงินสด
รวม
รายได้(บาท,1,062.5 กก.´ 60 บ./กก.)
-
63,750.00
ต้นทุนผันแปร(บาท/ไร่)
31,372.50
15,328.03
46,700.53
- ค่าพันธุ์ปลา
4,800.00
-
4,800.00
- ค่าอาหารปลา
24,562.50
2,230.00
26,792.50
- ค่าปุ๋ยและปูนขาว
1,120.00
100.00
1,220.00
- ค่ายาป้องกันรักษาโรค
320.00
-
320.00
- ค่าน้ำมันเชื้อเพลิง
350.00
-
350.00
- ค่าขนส่ง
220.00
-
220.00
- ค่าแรงงาน
-
12,000.00
12,000.00
- ค่าเสียโอกาสการลงทุน
-
1,098.03
1,098.03
- ค่าเสื่อมบ่อปลา
-
2,424.99
2,424.49
- ค่าเสื่อมอุปกรณ์ฟาร์ม
-
470.00
470.00
- ค่าเสียโอกาสเงินลงทุน สร้างบ่อ/อุปกรณ์
-
81.99
81.99
ต้นทุนทั้งหมด
31,372.50
17,753.02
49,125.02
รายได้สุทธิ
+17,049.47
กำไร(บาท/ไร่)
+14,624.98
ที่มา : สุขาวดี และศราวุธ, 2537
ขนาดกระชัง 3 ´4 ´ 1.8 เมตร ปล่อยปลารุ่นอายุ 4 เดือน ในระยะเวลา 120 วัน ได้ผลผลิต 462.38 กิโลกรัม คิดเป็นรายได้ 16,402.63 บาท รายได้สุทธิ 12,322.78 บาท รายได้เหนือต้นทุนที่เป็นเงินสด 13,919.25 บาท กำไรสุทธิ 11,340.17 บาท คิดเป็นผลตอบแทนต่อการลงทุน 69.14 เปอร์เซ็นต์ ดังตารางที่ 3
ตารางที่ 3 รายได้และต้นทุนการเลี้ยงปลากดเหลืองในกระชัง จังหวัดสงขลา ปี 2536
รายการ
เงินสด
ไม่เป็นเงินสด
รวม
รายได้(บาท)
27,742.80
ต้นทุนผันแปร(บาท/กระชัง)
13,823.55
1,596.47
15,420.02
- ค่าพันธุ์ปลา
3,000.00
-
3,000.00
- ค่าอาหารปลา
10,283.55
120.00
10,403.55
- ค่ายาป้องกันรักษาโรค
420.00
-
420.00
- ค่าน้ำมันเชื้อเพลิง/ขนส่ง
120.00
-
120.00
- ค่าแรงงาน
-
1,200.00
1,200.00
- ค่าเสียโอกาสลงทุน
-
276.47
276.47
- ต้นทุนคงที่(บาท/กระชัง)
-
982.61
982.61
- ค่าเสื่อมกระชัง
-
833.34
833.34
- ค่าเสื่อมอุปกรณ์ฟาร์ม
-
130.00
130.00
- ค่าเสียโอกาสเงินลงทุนสร้างกระชัง/อุปกรณ์
-
19.27
19.27
ต้นทุนทั้งหมด
13,823.55
2,579.08
16,402.63
รายได้สุทธิ(บาท/กระชัง)
+12,322.78
รายได้เหนือต้นทุน
ที่เป็นเงินสด(บาท/กระชัง)
+13,919.25
กำไร(บาท/กระชัง)
+11,340.17
ที่มา : สุขาวดี และศราวุธ, 2537
โรคและการป้องกัน
โรคปลาที่พบได้ในปลากดเหลืองเกิดจากสาเหตุหลายปัจจัย เช่น การติดเชื้อพยาธิภายนอก การติดเชื้อพยาธิภายใน การติดเชื้อแบคทีเรีย การติดเชื้อราและน้ำที่เลี้ยงเป็นพิษ เป็นต้น การดำเนินการรักษาและป้องกันจึงเป็นวิธีการแก้ไขที่สามารถทำได้ด้วยตนเอง แต่ต้องใส่สารเคมี หรือยารักษาให้ถูกต้องกับชนิดของโรคดังนี้
โรคที่เกิดจากพยาธิภายนอก
1. โรคจุดขาว (Ichthyopthirius : “ Ich”) ปลาที่เป็นโรคนี้จะมีจุดสีขาวขุ่นเท่าหัวเข็มหมุดเล็กๆกระจายอยู่ที่ลำตัวและครีบ
สาเหตุ ของโรคจุดขาว คือ โปรโตซัว ชนิดที่กินเซลล์ผิวหนังเป็นอาหาร เมื่อพยาธิโตเต็มที่จะออกจากตัวปลาโดยจมตัวลงสู่บริเวณก้นบ่อปลาและสร้างเกราะหุ้มตัว ต่อจากนั้นจะมีการแบ่งเซลล์เป็นตัวอ่อนจำนวนมากภายในเกราะนั้น เมื่อสภาวะแวดล้อมภายนอกเหมาะสม เกราะหุ้มตัวจะแตกแยกและตัวอ่อนของพยาธิจะว่ายน้ำเข้าตามผิวหนังของปลาต่อไป
การป้องกันและการรักษา ยังไม่มีวิธีกำจัดปรสิตที่ยังอยู่ใต้ผิวหนังที่ได้ผลเต็มที่ แต่วิธีการที่ควรทำ คือ การทำลายตัวอ่อนในน้ำหรือทำลายตัวแก่ขณะว่ายน้ำอิสระ โดยการใช้สารเคมีดังต่อไปนี้
1. ฟอร์มาลิน 150-200 ซีซี. ต่อน้ำ 1,000 ลิตร แช่ไว้นาน 1 ชั่วโมง สำหรับปลาขนาดใหญ่
2. มาลาไค้ท์กรีน 1.0-1.25 กรัมต่อน้ำ 1,000 ลิตร แช่ไว้นานครึ่งชั่วโมงสำหรับปลาขนาดใหญ่หรือ 0.15 กรัมต่อน้ำ 1,000 ลิตร แช่ไว้นาน 24 ชั่วโมง หรือเมทธิลีนบูล 1-3 กรัมต่อน้ำ 1,000 ลิตร แช่ติดต่อกัน 7 วัน
3. มาลาไค้ท์กรีนและฟอร์มาลิน ในอัตราส่วน 0.15 กรัมและ 25 ซีซี. ต่อน้ำ 1,000 ลิตร นาน 24 ชั่วโมง แช่ติดต่อกันประมาณ 7 วัน ควรเปลี่ยนน้ำใหม่ทุกวันและแช่ยาวันเว้นวันจนกระทั่งปลามีอาการดีขึ้น วิธีนี้จะได้ผลดีมาก
2. โรคพยาธิปลิงใส (Gyrodactylus) ปลาที่มีพยาธิปลิงใสเกาะจะมีอาการว่ายน้ำทุรนทุรายลอยตัวตามผิวน้ำ ผอม กระพุ้งแก้ม เปิดปิดกว่าปกติ อาจมีแผลขนาดเล็กเท่าปลายเข็มหมุดกระจายอยู่ทั่วลำตัว ถ้าเป็นการติดโรคในขั้นรุนแรง อาจมองเห็นเหมือนกับว่า ปลามีขนสั้นๆ สีขาวกระจายอยู่ตามลำตัว ซึ่งอาจทำให้ปลาตายได้ โดยเฉพาะลูกปลาที่เริ่มปล่อยลงบ่อดินใหม่ๆควรระมัดระวังโรคนี้ให้มาก
การป้องกันและรักษา
1. ใช้ฟอร์มาลินจำนวน 25-40 ซีซีต่อน้ำ 1,000 ลิตร แช่นาน 24 ชั่วโมง
2. ใช้ดิพเทอร์เร็กซ์จำนวน 0.25-0.5 กรัมต่อน้ำ 1,000 ลิตร แช่นาน 24 ชั่วโมง
โรคที่เกิดจากพยาธิภายใน
1. โรคพยาธิใบไม้(pleurogenoides)
พยาธิใบไม้ที่ทำให้เกิดโรคปลานั้นพบทั้งขณะที่เป็นตัวเต็มวัยแล้วและตัวอ่อน ตัวเต็มวัยของพยาธิใบไม้พบได้ในทางเดินอาหารภายในช่องท้องไม่ค่อยทำอันตรายต่อปลาเท่าใดนัก ต่างกับตัวอ่อนซึ่งฝังตัวอยู่บริเวณเหงือกและอวัยวะภายในต่างๆ ทำให้เกิดความเสียหายกับเนื้อเยื่อของเหงือกเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในลูกปลาที่เป็นโรคนี้จะมีอาการกระพุ้งแก้มเปิดอ้าอยู่ตลอดเวลา ว่ายน้ำทุรนทุรายลอยตัวที่ผิวน้ำ ผอม เหงือกบวม อาจมองเห็นจุดขาวๆ คล้ายเม็ดสาคู ขนาดเล็กเป็นไตแข็งบริเวณเหงือกและปลาจะทยอยตายเรื่อยๆ ปลาหลายชนิดในแหล่งน้ำธรรมชาติอาจพบพยาธิใบไม้เต็มวัยได้
การป้องกันและรักษา
1. ควรหลีกเลี่ยงการใช้ปุ๋ยคอก เพราะอาจจะมีไข่ของพยาธิใบไม้ติดมา ถ้าหากจำเป็นต้องใช้ปุ๋ยคอก ควรตากให้แห้งเป็นอย่างดีก่อนจึงจะนำมาใช้พร้อมทั้งกำจัดหอย ซึ่งเป็นตัวช่วยเสริมการระบาดของพยาธิชนิดนี้อย่างครบวงจร โดยการตากบ่อให้แห้งและโรยปูนขาวให้ทั่วในอัตรา 30-50 กิโลกรัมต่อไร่ หลังจากจับปลาขึ้นแล้วทุกครั้ง
2. ยังไม่มีวิธีรักษาหรือจำกัดตัวอ่อนของพยาธิใบไม้ที่เกาะบนตัวปลา
2. โรคจากเชื้อแบคทีเรีย
1. โรคตัวด่าง เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย “ คอลัมนาริส” ปลาที่เป็นโรคนี้จะมีแผลด่างขาวตามตัว และเมื่อเกิดการติดเชื้อเป็นเวลานาน แผลด่างขาวนี้จะกลายเป็นแผลลึกได้ โรคนี้มักเกิดกับปลาหลังการลำเลียงเนื่องจากอุณหภูมิของอากาศที่สูงทำให้ปลามีความต้านทานลดลง เชื้อแบคทีเรียนี้ก็จะเจริญเติบโตอย่างรวดเร็วและทำอันตรายต่อปลา ปลาที่เป็นโรคดังกล่าวจะตายเป็นจำนวนมาก
การป้องกันและรักษา
1. แช่ปลาในยาเหลือง อัตราส่วน 2 มิลลิกรัมต่อน้ำ 5 ลิตร นานประมาณครึ่งชั่วโมง
2.ในขณะขนส่งลำเลียงปลาควรใส่เกลือเม็ดในน้ำที่ใช้สำหรับการขนส่งปลาปริมาณ 1 ช้อนชา ต่อน้ำ 1 ลิตร
3. ใช้ด่างดับทิมเข้มข้น 2 พีพีเอ็ม แช่ตลอด
4. ใช้ฟอร์มาลินจำนวน 40-50 พีพีเอ็ม แช่นาน 24 ชั่วโมง
5. ในกรณีที่เชื้ออยู่ในกระแสเลือดใช้เทอร์รามัยซิน 5 กรัมต่อ น้ำหนักปลา 100 กิโลกรัมต่อวัน ติดต่อกันเป็นเวลา 10-12 วัน
2. โรคแผลตามตัว เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย Aeromonas และ Pseudomonas ปลาจะมีลักษณะผิวหนังบวมแดงและเริ่มเปื่อยเป็นแผลลึกลงไปจะเห็นกล้ามเนื้อส่วนในปลาขนาดเล็กมักจะทำให้เกิดอาการครีบกร่อน ทั้งครีบตามลำตัวและครีบหาง
การป้องกันและรักษา
1. ใช้ยาปฏิชีวนะจำพวกไนไตรฟูราโซนในอัตราส่วน 1-2 มิลลิกรัม ต่อน้ำ 1 ลิตร แช่ปลานานประมาณ 2-3 วัน
2. แช่ปลาที่เป็นโรคในสารละลายออกซีเตตร้าซัยคลิน หรือ เตตร้าไคลินในอัตราส่วน 60-70 มิลลิกรัม ต่อน้ำ 1 ลิตร นาน 1-2 วัน ติดต่อกัน 3-4 ครั้ง
3. ถ้าปลาเริ่มมีอาการของโรคอาจผสมยาปฏิชีวนะดังข้อ 1 หรือ 2 ในอัตราส่วน 60-70 มิลลิกรัม ต่อน้ำหนักปลา 1 กิโลกรัม หรือ 2-3 กรัม ต่ออาหาร 1 กิโลกรัม นานติดต่อกัน 3-5 วัน
3. โรคท้องบวม อาการของโรคจะเห็นส่วนท้องบวมมากและบางตัวผิวหนังจะเป็นรอยช้ำตกเลือด
การป้องกันและรักษา
ให้แช่ปลาในยาปฏิชีวนะออกซีเตตร้าไซคลินในอัตราส่วน 10-20 พีพีเอ็ม ส่วนการฆ่าเชื้อในบ่อเลี้ยงปลาควรใช้ปูนขาวในอัตราส่วน 10-20 พีพีเอ็ม ส่วนการฆ่าเชื้อในบ่อเลี้ยงปลาควรใช้ปูนขาวในอัตราส่วน 50-60 กิโลกรัม/ไร่
เกี่ยวกับสาเหตุของเชื้อโรคชนิดต่างๆซึ่งทำให้เกิดโรคในปลากดเหลืองแล้ว สภาพแวดล้อมที่ปลาอาศัยอยู่ทั้งด้านกายภาพหรือองค์ประกอบด้านเคมีจะเป็นปัจจัยสำคัญซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นให้ปลาอ่อนแอและส่งผลต่อการติดเชื้อโรคดังกล่าวข้างต้น ปัจจัยเหล่านี้ได้แก่ ปริมาณออกซิเจนในน้ำความเป็นกรดด่างน้ำ สารพิษในน้ำปริมาณคลอรีนหรือโลหะหนักในน้ำรวมถึงสภาวะอุณหภูมิที่เปลี่ยนแปลงอย่างกะทันหัน
ดังนั้นผู้เลี้ยงปลาจึงควรที่จะศึกษาวิธีการป้องกันและแก้ไขสภาพแวดล้อม ให้เหมาะสมกับการอยู่อาศัยของปลาหรือหลีกเลี่ยงสาเหตุที่ทำให้การเลี้ยงปลากดเหลืองมีผลผลิตลดต่ำในที่สุด
ด้านการตลาด
ปลากดเหลืองขนาด 3-5 ตัว/กิโลกรัม (ขนาดเฉลี่ย 250 กรัม/ตัว) จำหน่ายให้ผู้รวบรวมหรือบริโภคในท้องถิ่นทางภาคใต้ราคา 40 บาท/กิโลกรัม ในขณะที่ราคาจำหน่ายปลีกแก่ผู้บริโภคในเขตเมืองระดับราคา 60-80 บาท/กิโลกรัม สำหรับราคาขายส่งไปยังตลาดต่างประเทศในราคา 100-120 บาท/กิโลกรัม ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับขนาดของปลา ปริมาณและความสดของปลาเป็นสำคัญ ปัจจุบันผลผลิตเกือบทั้งหมดมาจากการจับในแหล่งน้ำธรรมชาติ หากมีการเลี้ยงเพิ่มขึ้นก็จะช่วยเสริมสร้างความมั่นใจให้แก่ผู้จำหน่าย และผู้บริโภคปลากดเหลือง
การกำจัดกลิ่นโคลนในเนื้อปลา
การเลี้ยงปลากดเหลืองในบ่อดินสร้างป้องกันการเกิดกลิ่นสาปในเนื้อปลาได้โดยก่อนจับปลาขึ้นจำหน่าย ควรจะย้ายปลามาเลี้ยงในกระชังในแหล่งน้ำที่มีการถ่ายเทดีประมาณ 15 วัน จะป้องกันการเกิดกลิ่นสาบได้เพราะกลิ่นโคลนไม่ใช่เป็นกลิ่นถาวรที่ติดอยู่กับตัวปลาตลอดไป กลิ่นนี้จะหายได้เมื่อนำปลาไปใส่ไว้ในน้ำสะอาด และงดให้อาหารเป็นเวลา 7 วัน ที่อุณหภูมิน้ำ 24 องศาเซลเซียส ถ้าอุณหภูมิสูงกว่านี้จะทำให้กลิ่นโคลนหมดไปจากตัวปลาเร็วขึ้น
การเกิดกลิ่นโคลน(off-flavors)ในเนื้อปลากลุ่ม catfish อาจเกิดจากหลายสาเหตุ ได้แก่
1. เกิดจากแหล่งน้ำมีปริมาณของสาหร่ายสีน้ำเงินแกมเขียว (blue green) ซึ่งจะเจริญเติบโตอย่างรวดเร็วในแหล่งน้ำที่มีปุ๋ยและแร่ธาตุปริมาณสูงวิธีแก้ไขโดยการเปลี่ยนถ่ายน้ำและเพิ่มปริมาณน้ำในบ่อเพื่อลดจำนวนของสาหร่ายและตายในที่สุด
2. เกิดจากการให้อาหารปลามากเกินไป ทำให้อาหารเน่าตกอยู่พื้นก้นบ่อซึ่งจะดูดซึมเข้าสู่ตัวปลาได้และทำให้เกิดการ bloom ของสาหร่ายสีน้ำเงินแกมเขียว ซึ่งทำให้เกิดกลิ่นสาบได้
3. เกิดจากซากพืชหรือซากสัตว์ที่ตกค้างอยู่ในบริเวณ ซึ่งเป็นสาเหตุให้เกิดกลิ่นสาบได้ดังนั้นจะต้องทำความสะอาดบ่อกำจัดเศษซากพืช ใบไม้ ออกให้หมด
4. ชนิดหรือส่วนผสมของอาหาร อาหารที่มีส่วนผสมของจำพวกไขมันหรือสารละลายในไขมันทำให้เกิดกลิ่นสาบในเนื้อปลาได้
ปลากดเหลืองเป็นปลาน้ำจืดชนิดหนึ่งที่มีคุณค่าทางเศรษฐกิจสูง มีราคาดี เนื้อมีรสชาติดีเป็นที่นิยมของผู้บริโภคทั้งในรูปสดและแปรรูป เช่น แกงเหลือง ฉู่ฉี่ และย่าง ฯลฯ มีชื่อสามัญ Green Catfish และมีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Mytus nemurus ได้รับการตั้งชื่อครั้งแรกโดย Cuvier และ Valencieness ในปี 2436 ปลากดเหลืองมีการเรียกชื่อแตกต่างกันไปตามท้องถิ่น ซึ่งชาวประมงแถบจังหวัดกาญจนบุรี เรียกว่า ปลากดกลางหรือปลากลาง แถบจังหวัดฉะเชิงเทราและชลบุรีเรียกว่า ปลากดนาหรือปลากดเหลืองแถบจังหวัดสุราษฎร์ธานีเรียกว่า ปลากดฉลอง แถบจังหวัดปัตตานีและนราธิวาสเรียกว่า อีแกบาวง แต่ปลาชนิดนี้ประชาชนส่วนใหญ่ในประเทศไทย เรียกว่า ปลากดเหลือง
การแพร่กระจาย ปลากดเหลืองพบแพร่กระจายในแหล่งน้ำจืดทั่วไปของทวีปเอเชียตั้งแต่เอเชียตะวันตก ได้แก่ อินเดีย เนปาล ปากีสถาน และบังกลาเทศ เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ได้แก่ เมียนมาร์ ไทย สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว กัมพูชา เวียดนาม มาเลเซีย และอินโดนีเซีย สำหรับในประเทศไทยพบแพร่กระจายในแหล่งน้ำธรรมชาติและอ่างเก็บน้ำทั่วทุกภาคของประเทศ เช่นภาคเหนือพบในลำน้ำกก ปิง วัง ยม น่าน กว๊านพะเยา บึงบอระเพ็ด เขื่อนภูมิพล เขื่อนสิริกิติ์ และเขื่อนกิ่วลม ภาคตะวันออกเฉียงเหนือพบในแม่น้ำมูล แม่น้ำโขงและสาขาในเขื่อนอุบลรัตน์ เขื่อนลำปาว เขื่อนลำตะคอง ภาคกลาง พบในแม่น้ำเจ้าพระยา แม่น้ำท่าจีน แม่น้ำแม่กลอง แม่น้ำปางปะกง แม่น้ำป่าสัก เขื่อนศรีนครินทร์ เขื่อนวชิราลงกรณ์และแก่งกระจาน ภาคใต้พบในแม่น้ำตาปี ปัตตานี สายบุรี บางนรา โก-ลกและสาขาบริเวณปากแม่น้ำย่านน้ำกร่อยบริเวณชายฝั่งก็สามารถพบปลากดเหลืองได้ นอกจากนี้พบในทะเลน้อย ทะเลสาบ สงขลาและพรุต่างๆ เช่น พรุโต๊ะแดง จังหวัดนราธิวาส พรุควนเคร็งในจังหวัดนครศรีธรรมราช
อุปนิสัย ปลากดเหลืองสามารถเจริญเติบโตและอยู่อาศัยได้ในสภาพแวดล้อมที่หลากหลาย แต่ชอบอาศัยอยู่ตามพื้นท้องน้ำที่เป็นแอ่งหินหรือพื้นดินแข็งน้ำค่อนใสมีกระแสน้ำไหลไม่แรงนักพบอยู่ในระดับความลึกตั้งแต่ 2-40 เมตร ทั้งยังชอบอาหารบริเวณที่น้ำจากต้นน้ำเหนือเขื่อนหรืออ่างเก็บน้ำไหลมาบรรจบกับบริเวณแนวน้ำนิ่ง โดยเฉพาะอย่างยิ่งบริเวณปากน้ำซึ่งมีน้ำจืดไหลปะทะกับแนวน้ำเค็ม มีกุ้ง ปลา ปู หอย ค่อนข้างสมบูรณ์ ชาวประมงมักจับปลากดเหลืองสามารถที่จะปรับตัวให้เจริญโตได้ดีในสภาพน้ำพรุที่มีความเป็นกรดสูงและมีปริมาณสารแขวนลอยมาก
รูปร่างลักษณะ ปลากดเหลืองเป็นปลาน้ำจืดที่ไม่มีเกล็ด ลำตัวกลมยาว หัวค่อนข้างแบนและเรียวเป็นรูปกรวย(conical) กระดูกท้ายทอยยาวถึงโคนครีบหลัง ตาไม่มีหนังปกคลุม ปากกว้าง ขากรรไกรแข็งแรง มีฟันซี่เล็กๆสั้นปลายแหลมเป็นกลุ่มหรือแผ่นบนขากรรไกรบน ขากรรไกรล่างและบนเพดานปากซี่กรองสั้นเล็กปลายแหลม มี 15 ซี่ มีหมวด 4 คู่คือที่บริเวณจมูก ริมฝีปากบน ริมฝีปากล่าง และใต้คางอย่างละ 1 คู่ ซึ่งหนวดคู่แรกและหนวดคู่สุดท้ายจะมีความยาวสั้นกว่าคู่ที่สองและคู่ที่สาม
ครีบหลังไม่สูงเป็นครีบเดี่ยวอยู่กลางหลัง มีก้านครีบแข็ง 1 ก้านและก้านครีบอ่อน 7 ก้าน ครีบไขมันเจริญดีอยู่บนหลังตามหลังตามส่วนท้ายของลำตัว และอยู่ตรงข้ามกับครีบก้น ครีบก้นมีก้านครีบอ่อน 10-11 ก้าน ครีบหูเป็นครีบคู่อยู่หลังบริเวณเหงือก มีเงี่ยงแข็งและแหลมคม 1 คู่ มีก้านครีบอ่อนข้างละ 9 ก้าน ครีบท้องมีก้านครีบอ่อน 6-7 ก้าน ครีบหางเว้าลึกแฉกบนยาวกว่าแฉกล่างประกอบด้วยก้านครีบอ่อน 16-17 ก้าน
ลักษณะสีของลำตัวจะเปลี่ยนไปตามอายุ ขนาด และแหล่งที่อยู่อาศัยปลากดเหลืองที่มีขนาดโตเต็มวัย ลำตัวบริเวณส่วนหลังมีสีน้ำตาลเข้มปนดำ บริเวณข้างลำตัวมีสีน้ำตาลปนเหลือง บริเวณท้องมีสีขาว ฐานครีบอก ครีบท้อง ครีบก้น มีสีเทาเจือชมพู ครีบหลัง ครีบหางมีสีเขียวซีดจาง ปลายครีบมีสีเทาปนดำ ดวงตามีขนาดปานกลาง
ปลากดเหลืองที่พบโดยทั่วไปมีขาด 20-25 เซนติเมตร แต่เคยพบขนาดใหญ่สุดกว่า 60 เซนติเมตร ปลาชนิดนี้มีกระเพาะลม ซึ่งมีลักษณะกระเพาะลมตอนเดียวคล้ายรูปหัวใจทำหน้าที่ช่วยในการทรงตัวใช้ปรับความถ่วงจำเพาะของตัวปลาให้เข้ากับสภาพแวดล้อมที่อยู่อาศัย เพื่อให้สามารถลอยตัวอยู่มนระดับต่างๆได้ตามความต้องการ
การสืบพันธุ์ 1. ลักษณะความแตกต่างระหว่างปลากดเหลืองเพศผู้กับเพศเมียมีดังนี้
ลักษณะตัวผู้
ลักษณะตัวเมีย
1. ลำตัวจะมีลักษณะเรียงยาว
1. ลำตัวจะมีลักษณะป้อมสั้น
2. อวัยวะเพศที่เรียกว่า genital papillae ยื่นออกมาประมาณ 1 เซนติเมตรจะมีลักษณะเป็นติ่งเรียวยาวและแหลมตอนปลาย
2. อวัยวะเพศมีลักษณะเป็นรูกลม
3. ในฤดูผสมพันธุ์ เมื่อรีดจากส่วนท้องจะมีน้ำเชื้อไหลออกมาลักษณะสีขาวขุ่น
3.ในฤดูผสมพันธุ์จะมีส่วนท้องบวมเป่งนูนออกมาทางด้านข้างทั้งสองข้างและช่องเพศมีสีชมพูเรื่อๆ
ปริมาณความดกของไข่ขึ้นกับขนาดของแม่ปลากดเหลือง ปลาเพศเมียที่พบเริ่มมีไข่แก่และสืบพันธุ์วางไข่ได้มีความยาวตั้งแต่ 18 เซนติเมตรขึ้นไป ความยาวเฉลี่ย 28.56 เซนติเมตร ส่วนปลาเพศผู้ความยาวเฉลี่ย 28.56 เซนติเมตร
แม่ปลาขนาดความยาว 18 เซนติเมตร มีไข่ประมาณ 12,500 ฟอง
แม่ปลาขนาดความยาว 30 เซนติเมตร มีไข่ประมาณ 40,000 ฟอง
อัตราการปล่อยพ่อแม่พันธุ์ อัตราส่วนการปล่อยพ่อแม่พันธุ์ปลากดเหลืองเท่ากับอัตรา 1 ตัว/1 ตารางเมตร โดยจะปล่อยแยกเพศหรือรวมเพศก็ได้
ฤดูกาลวางไข่ ปลากดเหลืองสามารถวางไข่ได้เกือบตลอดทั้งปี ส่วนใหญ่อยู่ระหว่างเดือนกุมภาพันธ์ถึงเดือนตุลาคมของทุกปีในแม่น้ำเจ้าพระยา สำหรับภาคใต้ตอนล่างฤดูผสมพันธุ์วางไข่อยู่ในช่วงเดือนพฤษภาคมถึงเดือนพฤศจิกายน เป็นที่น่าสังเกตว่า ฤดูกาลวางไข่ของปลากดเหลืองจะแตกต่างกันไปตามสภาพและที่ตั้งของพื้นที่ เช่น
· อ่างเก็บน้ำเขื่อนอุบลรัตน์ ช่วงเดือนกรกฎาคมถึงกันยายนของทุกปี
· แม่น้ำบางปะกงอยู่ระหว่างเดือนพฤศจิกายน
· เขื่อนศรีนครินทร์ ช่วงเดือนกรกฎาคมถึงกันยายน
· เขื่อนบางลาง จังหวัดยะลา ช่วงเดือนกรกฎาคมถึงตุลาคม
อนึ่ง ปัจจัยที่เป็นตัวควบคุมความสุกแก่ของรังไข่ ได้แก่ ปริมาณน้ำฝนที่ตกในแต่ละช่วงของรอบปี
การพัฒนาไข่ปลากดเหลือง ไข่ปลากดเหลืองเป็นไข่จมและติดกับวัตถุ เมื่อสัมผัสกับน้ำจะมีสารเมือกเหนียวที่รอบเปลือกไข่ ทำให้ไข่ปลาติดกับวัตถุหรือไข่ติดกันเป็นกลุ่มก้อนไข่แก่มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางเฉลี่ย 0.82 มิลลิเมตร ไข่ที่ได้รับการปฏิสนธิจะขยายขึ้นเป็นขนาดประมาณ 1 มิลลิเมตร มีลักษณะกลม สีเหลืองใสสด ส่วนไข่ที่ไม่ได้รับการผสมจะมีสีขาวขุ่นหรือบิดเบี้ยว การพัฒนาไข่ปลากดเหลืองเป็นตัว ที่อุณหภูมิ 26-28 องศาเซลเซียส ภายในเวลา 30 ชั่วโมง เมื่อมีอายุย่างเข้าวันที่4 ลักษณะลำตัวและครีบต่างๆเริ่มคล้ายกับปลาเต็มวัย ลูกปลามีขนาดประมาณ 0.8 เซนติเมตร ลูกปลาอายุ 10 วัน มีความยาวประมาณ 1.5 เซนติเมตร
นิสัยการกินอาหาร
ปลากดเหลืองมีกระเพาะอาหารที่มีลักษณะเป็นถุงตรงยาว ผนังหนาสีขาวขุ่น นิสัยการกินอาหารในธรรมชาติได้แก่ ปลาขาดเล็ก ตัวอ่อนแมลงหรือแมลงในน้ำ กุ้งน้ำจืด เศษพันธุ์ไม้น้ำ และหอยฝาเดียว เป็นต้น จากลักษณะรูปร่างที่ปราดเปรียวของปลากดเหลือง พบว่า จะโฉบจับเหยื่อที่อยู่ผิวน้ำหรือกลางน้ำได้อย่างว่องไว โดยจะหากินในช่วงกลางคืนได้ดีกว่าช่วงกลางวัน
การเพาะพันธุ์
ปลากดเหลืองที่ใช้ในการเพาะพันธุ์ส่วนใหญ่ได้จากการรวบรวมพันธุ์จากแหล่งน้ำธรรมชาติ เช่น แม่น้ำ ลำคลอง หรืออ่างเก็บน้ำต่างๆ โดยคัดเลือกพันธุ์ปลาที่แข็งแรง อวัยวะทุกอย่างครบสมบูรณ์ ขนาดไม่ต่ำกว่า 400 กรัม นำมาเลี้ยงเป็นพ่อแม่ปลาได้ทั้งในบ่อดินและกระชัง แต่ควรแยกเพศปลาตัวผู้และตัวเมียออกจากกัน
บ่อดิน ควรมีขนาด 800-1,600 ตารางเมตร อัตราการปล่อยปลา 1-2 ตัวต่อตารางเมตร
กระชัง ควรเป็นกระชังอวนโพลี ขนาดตา 2-3 เซนติเมตร ขนาดกระชังกว้าง 5 เมตร ยาว 5 เมตร ลึก 2.5 เมตร อัตราการปล่อยปลา 50-100 ตัว ต่อกระชัง
การขุนเลี้ยงพ่อแม่พันธุ์ ให้อาหารจำพวก ปลาสดสับผสมหัวอาหารและเสริมด้วยอาหารเม็ดปลาดุก หรือให้อาหารต้มสุกจำพวกปลายข้าว 2 ส่วน รำละเอียด 3 ส่วน ปลาป่น 1 ส่วน วิตามินและแร่ธาตุประมาณ 1 เปอร์เซ็นต์ โดยน้ำหนัก เสริมด้วยอาหารเม็ดปลาดุกเล็ก 1 ครั้ง ต่อสัปดาห์ ปริมาณอาหารที่ให้ในแต่ละวันประมาณ 2-3 เปอร์เซ็นต์ของน้ำหนักปลา ควรมีการเปลี่ยนถ่ายน้ำใหม่ในบ่อประมาณ 1-2 ครั้ง ต่อเดือนปริมาณ 1 ใน 3 ของบ่อ
การคัดเลือกพ่อแม่ปลา
การตรวจสอบพ่อแม่ปลาที่มีความสมบูรณ์ควรทำด้วยความระมัดระวังอาจใช้ผ้าขนหนูปิดหัวปลา โดยเฉพาะบริเวณตาของพ่อแม่ปลา แล้วหงายท้องตรวจความพร้อมของปลา จะป้องกันการบอบช้ำ และลดความเครียดได้ ปลาเพศเมียที่มีไข่แก่ สังเกตจากส่วนท้องจะบวมเป่งและนิ่ม ช่องเพศมีสีชมพูเรื่อๆปลาเพศผู้ อวัยวะเป็นติ่งแหลมยื่นยาวออกมาไม่ต่ำกว่า 1 เซนติเมตร
พ่อแม่ปลาที่ใช้ควรมีน้ำหนักตั้งแต่ 450 กรัม หรือเป็นปลาที่มีอายุไม่ต่ำกว่า 18 เดือนขึ้นไป โดยปกติแล้วแม่พันธุ์ปลาจะมีน้ำหนักมากกว่าพ่อแม่พันธุ์ปลา
การฉีดฮอร์โมนผสมเทียม
ฮอร์โมนที่ใช้ในการฉีดเร่งให้แม่ปลามีไข่แก่ และพ่อปลามีน้ำเชื้อสมบูรณ์ปัจจุบันนิยมใช้ฮอร์โมนสังเคราะห์ (synthetic hormore, LHR Ha) ซึ่งมีชื่อทางการค้าว่า ซูพรีแฟค (Suprefact) ร่วมกับสารระงับการทำงานของระบบหลั่งฮอร์โมนคือ โดมเพอริโดน (Domperidone) หรือมีชื่อทางการค้าว่าโมทีเลียม (Motilium)
โดยฉีดกระตุ้นทั้งเพศผู้และเพศเมียในเพศเมียฉีดเข็มแรกในอัตรา 5-7 ไมโครกรัมและยาเสริมฤทธิ์ 5 มิลลิกรัมต่อแม่ปลาน้ำหนัก 1 กิโลกรัม เข็มที่สอง ห่างจากเข็มแรก 6 ชั่วโมง ในอัตรา 15-20 ไมโครกรัม และยาเสริมฤทธิ์ 5 มิลลิกรัมต่อแม่ปลาน้ำหนัก 1 กิโลกรัม ส่วนปลาเพศผู้ฉีดในอัตรา 5 ไมโครกรัม และยาเสริมฤทธิ์ 5 มิลลิกรัม ต่อพ่อปลาน้ำหนัก 1 กิโลกรัม
ทั้งนี้แม่ปลาพร้อมที่จะรีดไข่ผสมน้ำเชื้อหลังจากฉีดน้ำยาเข็มที่ 2 ประมาณ 6-8 ชั่วโมง ถ้าหากปลาเพศผู้อยู่ในสภาวะสมบูรณ์เพศเต็มที่ก็ไม่จำเป็นต้องฉีดฮอร์โมนกระตุ้นก็ได้
ตำแหน่งที่ฉีดฮอร์โมน
การฉีดฮอร์โมนปลากดเหลืองนั้น ตำแหน่งที่เหมาะสมที่สุดคือ บริเวณกล้ามเนื้อใต้ครีบหลังส่วนต้นเหนือเส้นข้างตัว โดยใช้เข็มเบอร์ 24 แทงเข็มเอียงทำมุมกับลำตัวประมาณ 30 องศา แทงลึกประมาณ 1 นิ้ว ( 2 เซนติเมตร )
การรีดไข่ผสมน้ำเชื้อ
ก่อนการรีดไข่ปลากดเหลืองเพื่อผสมกับน้ำเชื้อจะต้องเตรียมวัสดุและอุปกรณ์ต่างๆ ในการฟักไข่ให้พร้อม ได้แก่ กะละมังเคลือบที่เช็ดแห้งสนิท คีมคีบผ้าขาวบาง ขนไก่ และอวนมุ้งไนลอนตาถี่สีฟ้า หรือ กระชังผ้าโอลอนแก้วสำหรับฟักไข่ ฯลฯ
การรีดไข่โดยจับแม่ปลาให้แน่นพร้อมทั้งเช็ดลำตัวให้แห้ง รีดไข่ใส่กะละมังพร้อมกันนี้ผ่าเอาถุงน้ำเชื้อจากพ่อปลา ใช้คีมคีบถุงน้ำเชื้อออกมาขยี้ในผ้าขาวบางให้น้ำเชื้อไหลลงไปผสมกับไข่ ใช้ขนไก่คนให้ไข่กับน้ำเชื้อผสมเข้ากันอย่างทั่วถึงในขั้นตอนนี้ต้องทำอย่างรวดเร็ว และรีบนำไข่ที่ผสมแล้วไปฟัก โดยโรยบนอวนมุ้งไนลอนตาถี่สีฟ้า หรือบนกระชังผ้าโอลอนแก้ว ในระดับน้ำลึกประมาณ 20-30 เซนติเมตร การโรยไข่ปลาพยายามให้ไข่กระจายอย่าทับซ้อนกันเป็นก้อนเปิดน้ำไหลผ่านตลอดเวลาและมีเครื่องเพิ่มอากาศใส่ไว้ในบ่อฟักไข่ปลาด้วย
การฟักไข่
ไข่ปลากดเหลืองเป็นไข่ติด ไข่ที่ดีซึ่งได้รับการผสมควรมีลักษณะกลมมีสีเหลืองสดใสและพัฒนาฟักออกเป็นตัว โดยใช้เวลาประมาณ 27-30 ชั่วโมง ที่อุณหภูมิของน้ำ 26-28 องศาเซลเซียส ถุงอาหาร (yolk sac) จะยุบตัวหมดในเวลา 3 วัน หลังจากนั้นลูกปลาจะเริ่มกินอาหาร
บ่อเพาะฟักลูกปลากดเหลืองควรมีหลังคาคลุมบังป้องกันแสงแดดและน้ำฝนได้
การอนุบาลลูกปลาวัยอ่อน
นำลูกปลาวัยอ่อนที่ฟักออกเป็นตัวใหม่ๆ ไปอนุบาลในบ่อซีเมนต์ขนาด 50 ตารางเมตร ระดับน้ำลึก 20-30 เซนติเมตร สามารถอนุบาลลูกปลาได้ 50,000-100,000 ตัว หรือ 1,000-2,000 ตัว/ตารางเมตร ให้ออกซิเจนตลอดเวลา
อาหารลูกปลา ในสัปดาห์แรกเป็นอาหารที่มีชีวิต ได้แก่ ไรแดงหรือ อาร์ทีเมีย จนกระทั่งลูกปลามีอายุ 8-10 วัน จึงเริ่มฝึกให้กินอาหารสมทบ ได้แก่ เนื้อปลาบดผสมวิตามินและแร่ธาตุ ส่วนปริมาณการให้อาหารจะให้น้อยๆแต่บ่อยครั้ง ในระยะนี้อาจผสมยาปฎิชีวนะกับอาหารในอัตรา 3 กรัม/อาหาร 1 กิโลกรัม เพื่อป้องกันโรคพวกแบคทีเรีย โดยให้วันละ 1 ครั้ง ติดต่อกัน 5-7 วัน
ระดับน้ำ ในบ่ออนุบาลลูกปลาวัยอ่อนระยะแรกประมาณ 20-30 เซนติเมตรและค่อยๆ เพิ่มปริมาณน้ำเป็น 50 เซนติเมตร เมื่อเริ่มให้อาหารสมทบจำพวกเนื้อปลาบด และส่วนผสม ทั้งนี้ การทำความสะอาดพื้นบ่อเป็นสิ่งจำเป็นมาก โดยดูดตะกอนพื้นบ่อ เปลี่ยนถ่ายน้ำประมาณ 1 ใน 3 ของบ่อ และเพิ่มประมาณน้ำให้เท่าเดิมในช่วงนี้
การป้องกันโรค ควรใส่ฟอร์มาลินในความเข้มข้น 40 พีพีเอ็ม แช่ตลอด 24 ชั่วโมง สัปดาห์ละ 1 ครั้ง
การคัดขนาด เมื่ออนุบาลลูกปลามีอายุ 8-10 วัน จะเริ่มขนาดต่างกันจึงต้องหมั่นคัดขนาดลูกปลาเพื่อช่วยลดการกินกันเอง และระยะเวลา 45 วัน จะได้ลูกปลาขนาด 1.5-2.0 นิ้ว
การอนุบาลลูกปลาในบ่อซีเมนต์
จากการอนุบาลปลากดเหลืองขนาดความยาว 3-4 เซนติเมตร อัตราการปล่อย 50 ตัว/ตารางเมตร ในบ่อซีเมนต์
พบว่า ลูกปลาที่ได้รับอาหารกุ้งเบอร์ 2 มีอัตราการเจริญเติบโตและอัตรารอดตายดีที่สุด เมื่อเทียบกับอาหารปลาดุก (โปรตีน 31 เปอร์เซ็นต์) และเนื้อปลาสับ (โปรตีน 10 เปอร์เซ็นต์) คือลูกปลามีขนาดความยาว 5-8 เซนติเมตร ภายใน 7 สัปดาห์
การอนุบาลลูกปลาในบ่อดิน
บ่อดินที่ใช้อนุบาลลูกปลา ต้องมีการกำจัดศัตรูของลูกปลาก่อน และพื้นบ่อควรเรียบสะอาด ปราศจากพืชพรรณไม้น้ำต่างๆ ควรมีร่องขนาดกว้าง 0.5-1.0 เมตร ยาวจากหัวบ่อจรดท้ายบ่อ และลึกจากพื้นบ่อประมาณ 20 เซนติเมตร
เพื่อความสะดวกในการรวบรวมลูกปลาตรงปลายร่องมีแอ่งลึก พื้นที่ประมาณ 2-4 ตารางเมตรเป็นแหล่งรวบรวมลูกปลา ลูกปลากดเหลืองอายุ 12-15 วัน ขนาด 1-1.5 เซนติเมตร บ่อขนาด 800 ตารางเมตร ระดับน้ำลึก 0.50-0.80 เมตร อัตราการปล่อยอนุบาลบ่อละ 50,000-70,000 ตัว ให้อาหารผสมได้แก่ เนื้อปลาบด 80 เปอร์เซ็นต์ อาหารผง (powder food) 19.6 เปอร์เซ็นต์ วิตามินและแร่ธาตุ 0.4 เปอร์เซ็นต์ ปั้นเป็นก้อนเล็กๆโยนให้ลูกปลาในบ่อกินวันละ 2 ครั้ง เช้าและเย็น โดยปรับปริมาณอาหารที่ให้ทุกสัปดาห์เพื่อให้เพียงพอกับจำนวนลูกปลา นอกจากนี้อาจผสมน้ำมันปลาหมึกในอาหารจะช่วยดึงดูดลูกปลาให้กินอาหารได้ดีขึ้น เมื่อลูกปลาอายุประมาณ 15 วัน จะมีขนาด 4.5-5.0 เซนติเมตร
การเลี้ยงปลาขนาดตลาด
การเลี้ยงปลากดเหลืองให้ได้ขนาดตามที่ตลาดต้องการนั้นสามารถเลี้ยงได้ทั้งในบ่อดินและกระชัง
1. การเลี้ยงในบ่อดิน ควรปรับสภาพบ่อโดยใช้หลักการเตรียมบ่อเลี้ยงปลาทั่วๆไปดังนี้
1.1 ตากพื้นบ่อให้แห้งพร้อมทั้งปรับสภาพก้นบ่อให้สะอาด
1.2 ใส่ปูนขาวเพื่อปรับสภาพของดินโดยใส่ปูนขาวในอัตราประมาณ 60-100 กิโลกรัม/ไร่
1.3 ใส่ปุ๋ยคอกเพื่อให้เกิดอาหารธรรมชาติสำหรับลูกปลาควรใส่ปุ๋ยคอกในอัตราประมาณ 60-100 กิโลกรัม/ไร่
1.4 นำน้ำเข้าบ่อโดยกรองไม่ให้ศัตรูของลูกปลา ติดเข้ามากับน้ำระดับน้ำลึก 30-40 เซนติเมตร วันรุ่งขึ้นจึงปล่อยปลาและเพื่อให้ลูกปลามีอาหารกิน ควรเติมไรแดงในอัตราประมาณ 5 กิโลกรัม/ไร่ หลังจากนั้นจึงให้อาหารผสมแก่ลูกปลา ก่อนที่จะนำลูกปลามาเลี้ยงควรตรวจดูด้วยว่าเป็นลูกปลาที่มีสุขภาพดีและแข็งแรง
การปล่อยลูกปลา ลงบ่อเลี้ยงจะต้องปรับสภาพอุณหภูมิของน้ำ ในถุงและน้ำในบ่อให้เท่าๆกันก่อน โดยแช่ถุงบรรจุลูกปลาในน้ำประมาณ 30 นาทีจึงปล่อยลูกปลา เวลาที่เหมาะสมในการปล่อยลูกปลาควรเป็นเวลาตอนเย็นหรือตอนเช้า
การเลี้ยงปลากดเหลืองในบ่อดินขนาด 2 ไร่จำนวน 2 บ่อ ของเกษตรกรกิ่งอำเภอคลองหอยโข่ง จังหวัดสงขลา ในอัตราการปล่อยปลาขนาดความยาว 15.0-17.0 เซนติเมตร น้ำหนักระหว่าง 22-42 กรัม ตารางเมตรละ 1 ตัวหรือ ไร่ละ 1,600 ตัว โดยให้อาหารจำพวกปลาเป็ดสับผสมวิตามินและแร่ธาตุ ใช้ระยะเวลาในการเลี้ยงประมาณ 7 เดือน จึงจับปลาจำหน่าย ได้น้ำหนักปลาทังสิ้น 2,125 กิโลกรัม เป็นผลผลิตไร่ละ 1,062.5 กิโลกรัม น้ำหนักตัวระหว่าง 400-500 กรัม (ประมาณ 2.40 ตัว/กิโลกรัม) ได้ปลา 5,110 ตัว อัตราการรอดตาย 79.82 เปอร์เซ็นต์ โดยใช้ปริมาณอาหารทั้งหมด 9,562 กิโลกรัม มีอัตราแลกเนื้อ (FCR) เท่ากับ 2 : 4.5 ดังตารางต่อไปนี้
ตารางที่ 1 การเลี้ยงปลากดเหลืองในบ่อดินของเกษตรกรจังหวัดสงขลา
บ่อ
จำนวนที่ปล่อย (ตัว)
น้ำหนักเริ่มปล่อย(ตัว)
จำนวนปลาที่เหลือ(ตัว)
อัตราการรอด(%)
น้ำหนักเฉลี่ย(กรัม)
น้ำหนักรวม(กิโลกรัม)
3,200
3,200
15.41
15.80
2,548
2,760
73.38
86.25
419.50
413.00
985
1,140
เฉลี่ย
3,200
15.60
2,654
76.80
416.25
1,062.5
ที่มา : สถานีประมงน้ำจืดจังหวัดสงขลา ,2537
2. การเลี้ยงปลารุ่นในกระชัง สถานีประมงน้ำจืดจังหวัดสงขลาได้ทำการเลี้ยงปลากดเหลืองให้เป็นปลารุ่นในกระชังตาข่ายพลาสติก ขนาด 2 ´3 ´1.5 เมตร ปลาความยาวเฉลี่ย 7.17 เซนติเมตร น้ำหนักเฉลี่ย 3.14 กรัม อัตราการปล่อย 300 ตัว/กระชัง
เปรียบเทียบอาหารเนื้อปลาสดสับกับอาหารเม็ดปลากินเนื้อในระยะเวลา 6 เดือน พบว่า ปลาที่เลี้ยงด้วยเนื้อปลาสดสับ มีอัตราการเจริญเติบโตดีมาก คือ มีน้ำหนักเฉลี่ย 83.87 กรัม อัตราการรอดตาย 73.79 เปอร์เซ็นต์ อัตราแลกเนื้อ 4.98 คิดเป็นต้นทุนอาหาร 24.90 บาท/กิโลกรัม (ปลาสดราคากิโลกรัมละ 5 บาท)
ในขณะที่การเลี้ยงด้วยอาหารเม็ดปลากินเนื้อ ปลาที่เลี้ยงมีน้ำหนักเฉลี่ย 72.61 กรัม อัตราการรอดตาย 59.29 เปอร์เซ็นต์ อัตราแลกเนื้อ 2.76 คิดเป็นต้นทุนอาหาร 33.12 บาท/กิโลกรัม (อาหารเม็ดปลากินเนื้อราคากิโลกรัมละ 12 บาท)
3. การเลี้ยงปลาในกระชัง การเลี้ยงปลากดเหลืองในกระชังโดยที่ตัวกระชังทำด้วยตาข่ายพลาสติกขนาดกระชัง 3 ´4 ´1.8 เมตร ปล่อยปลาขนาด 200-250 กรัม จนถึงขนาดตลาด อัตราปล่อย 1,000ตัว/กระชัง ให้ปลาเป็ดและส่วนผสมอื่นๆเป็นอาหารวันละ 1 ครั้ง ใช้เวลาเลี้ยง 4 เดือน ผลปรากฏว่าปลาเจริญเติบโตมีน้ำหนักเฉลี่ย 540 กรัม/ตัว อัตรารอดตาย 82.0 เปอร์เซ็นต์ ผลผลิต 462.38 กิโลกรัม/กระชัง
ข้อควรคำนึงในการเลี้ยงปลากดเหลืองให้ได้ขนาดที่ตลาดต้องการนั้น ถ้าเลี้ยงในบ่อดิน พันธุ์ปลาที่ปล่อยควรเริ่มที่ขนาด 5-7 เซนติเมตร อัตราการปล่อยตารางเมตรละ 1-2 ตัว ส่วนการเลี้ยงในกระชังควรปล่อยปลาตารางเมตรละ 50-70 ตัว และควรหมั่นคัดขนาดปลาให้สม่ำเสมอกันด้วย
ต้นทุนและผลตอบแทน
การเลี้ยงปลากดเหลืองในบ่อดิน จากปลาขนาดความยาวระหว่าง 15 –17 เซนติเมตร หรือน้ำหนักเฉลี่ย 32 กรัม/ตัว โดยให้ปลาเป็ด ไส้ไก่ วิตามินและแร่ธาตุเป็นอาหาร พบว่าในระยะเวลา 7 เดือน ได้ผลผลิตปลาขนาดเฉลี่ย 2.4 ตัว/กิโลกรัม ไร่ละประมาณ 1,062.50 กิโลกรัม คิดเป็นรายได้ 63,750 บาท โดยมีต้นทุนที่เป็นเงินสด 32,377.50 บาท/ไร่ ต้นทุนรวมทั้งสิ้นไร่ละ 49,125.02 บาท รายได้เหนือต้นทุนที่เป็นเงินสด 32,377.50 บาท/ไร่ มีกำไรสุทธิไร่ละ 14,625 บาท และคิดเป็นผลตอบแทนต่อการลงทุนประมาณ 29.77 เปอร์เซ็นต์ ดังตารางที่ 2
ตารางที่ 2 รายได้และต้นทุนการเลี้ยงปลากดเหลืองในบ่อดิน จังหวัดสงขลา ปี 2536
รายการ
เงินสด
ไม่เป็นเงินสด
รวม
รายได้(บาท,1,062.5 กก.´ 60 บ./กก.)
-
63,750.00
ต้นทุนผันแปร(บาท/ไร่)
31,372.50
15,328.03
46,700.53
- ค่าพันธุ์ปลา
4,800.00
-
4,800.00
- ค่าอาหารปลา
24,562.50
2,230.00
26,792.50
- ค่าปุ๋ยและปูนขาว
1,120.00
100.00
1,220.00
- ค่ายาป้องกันรักษาโรค
320.00
-
320.00
- ค่าน้ำมันเชื้อเพลิง
350.00
-
350.00
- ค่าขนส่ง
220.00
-
220.00
- ค่าแรงงาน
-
12,000.00
12,000.00
- ค่าเสียโอกาสการลงทุน
-
1,098.03
1,098.03
- ค่าเสื่อมบ่อปลา
-
2,424.99
2,424.49
- ค่าเสื่อมอุปกรณ์ฟาร์ม
-
470.00
470.00
- ค่าเสียโอกาสเงินลงทุน สร้างบ่อ/อุปกรณ์
-
81.99
81.99
ต้นทุนทั้งหมด
31,372.50
17,753.02
49,125.02
รายได้สุทธิ
+17,049.47
กำไร(บาท/ไร่)
+14,624.98
ที่มา : สุขาวดี และศราวุธ, 2537
ขนาดกระชัง 3 ´4 ´ 1.8 เมตร ปล่อยปลารุ่นอายุ 4 เดือน ในระยะเวลา 120 วัน ได้ผลผลิต 462.38 กิโลกรัม คิดเป็นรายได้ 16,402.63 บาท รายได้สุทธิ 12,322.78 บาท รายได้เหนือต้นทุนที่เป็นเงินสด 13,919.25 บาท กำไรสุทธิ 11,340.17 บาท คิดเป็นผลตอบแทนต่อการลงทุน 69.14 เปอร์เซ็นต์ ดังตารางที่ 3
ตารางที่ 3 รายได้และต้นทุนการเลี้ยงปลากดเหลืองในกระชัง จังหวัดสงขลา ปี 2536
รายการ
เงินสด
ไม่เป็นเงินสด
รวม
รายได้(บาท)
27,742.80
ต้นทุนผันแปร(บาท/กระชัง)
13,823.55
1,596.47
15,420.02
- ค่าพันธุ์ปลา
3,000.00
-
3,000.00
- ค่าอาหารปลา
10,283.55
120.00
10,403.55
- ค่ายาป้องกันรักษาโรค
420.00
-
420.00
- ค่าน้ำมันเชื้อเพลิง/ขนส่ง
120.00
-
120.00
- ค่าแรงงาน
-
1,200.00
1,200.00
- ค่าเสียโอกาสลงทุน
-
276.47
276.47
- ต้นทุนคงที่(บาท/กระชัง)
-
982.61
982.61
- ค่าเสื่อมกระชัง
-
833.34
833.34
- ค่าเสื่อมอุปกรณ์ฟาร์ม
-
130.00
130.00
- ค่าเสียโอกาสเงินลงทุนสร้างกระชัง/อุปกรณ์
-
19.27
19.27
ต้นทุนทั้งหมด
13,823.55
2,579.08
16,402.63
รายได้สุทธิ(บาท/กระชัง)
+12,322.78
รายได้เหนือต้นทุน
ที่เป็นเงินสด(บาท/กระชัง)
+13,919.25
กำไร(บาท/กระชัง)
+11,340.17
ที่มา : สุขาวดี และศราวุธ, 2537
โรคและการป้องกัน
โรคปลาที่พบได้ในปลากดเหลืองเกิดจากสาเหตุหลายปัจจัย เช่น การติดเชื้อพยาธิภายนอก การติดเชื้อพยาธิภายใน การติดเชื้อแบคทีเรีย การติดเชื้อราและน้ำที่เลี้ยงเป็นพิษ เป็นต้น การดำเนินการรักษาและป้องกันจึงเป็นวิธีการแก้ไขที่สามารถทำได้ด้วยตนเอง แต่ต้องใส่สารเคมี หรือยารักษาให้ถูกต้องกับชนิดของโรคดังนี้
โรคที่เกิดจากพยาธิภายนอก
1. โรคจุดขาว (Ichthyopthirius : “ Ich”) ปลาที่เป็นโรคนี้จะมีจุดสีขาวขุ่นเท่าหัวเข็มหมุดเล็กๆกระจายอยู่ที่ลำตัวและครีบ
สาเหตุ ของโรคจุดขาว คือ โปรโตซัว ชนิดที่กินเซลล์ผิวหนังเป็นอาหาร เมื่อพยาธิโตเต็มที่จะออกจากตัวปลาโดยจมตัวลงสู่บริเวณก้นบ่อปลาและสร้างเกราะหุ้มตัว ต่อจากนั้นจะมีการแบ่งเซลล์เป็นตัวอ่อนจำนวนมากภายในเกราะนั้น เมื่อสภาวะแวดล้อมภายนอกเหมาะสม เกราะหุ้มตัวจะแตกแยกและตัวอ่อนของพยาธิจะว่ายน้ำเข้าตามผิวหนังของปลาต่อไป
การป้องกันและการรักษา ยังไม่มีวิธีกำจัดปรสิตที่ยังอยู่ใต้ผิวหนังที่ได้ผลเต็มที่ แต่วิธีการที่ควรทำ คือ การทำลายตัวอ่อนในน้ำหรือทำลายตัวแก่ขณะว่ายน้ำอิสระ โดยการใช้สารเคมีดังต่อไปนี้
1. ฟอร์มาลิน 150-200 ซีซี. ต่อน้ำ 1,000 ลิตร แช่ไว้นาน 1 ชั่วโมง สำหรับปลาขนาดใหญ่
2. มาลาไค้ท์กรีน 1.0-1.25 กรัมต่อน้ำ 1,000 ลิตร แช่ไว้นานครึ่งชั่วโมงสำหรับปลาขนาดใหญ่หรือ 0.15 กรัมต่อน้ำ 1,000 ลิตร แช่ไว้นาน 24 ชั่วโมง หรือเมทธิลีนบูล 1-3 กรัมต่อน้ำ 1,000 ลิตร แช่ติดต่อกัน 7 วัน
3. มาลาไค้ท์กรีนและฟอร์มาลิน ในอัตราส่วน 0.15 กรัมและ 25 ซีซี. ต่อน้ำ 1,000 ลิตร นาน 24 ชั่วโมง แช่ติดต่อกันประมาณ 7 วัน ควรเปลี่ยนน้ำใหม่ทุกวันและแช่ยาวันเว้นวันจนกระทั่งปลามีอาการดีขึ้น วิธีนี้จะได้ผลดีมาก
2. โรคพยาธิปลิงใส (Gyrodactylus) ปลาที่มีพยาธิปลิงใสเกาะจะมีอาการว่ายน้ำทุรนทุรายลอยตัวตามผิวน้ำ ผอม กระพุ้งแก้ม เปิดปิดกว่าปกติ อาจมีแผลขนาดเล็กเท่าปลายเข็มหมุดกระจายอยู่ทั่วลำตัว ถ้าเป็นการติดโรคในขั้นรุนแรง อาจมองเห็นเหมือนกับว่า ปลามีขนสั้นๆ สีขาวกระจายอยู่ตามลำตัว ซึ่งอาจทำให้ปลาตายได้ โดยเฉพาะลูกปลาที่เริ่มปล่อยลงบ่อดินใหม่ๆควรระมัดระวังโรคนี้ให้มาก
การป้องกันและรักษา
1. ใช้ฟอร์มาลินจำนวน 25-40 ซีซีต่อน้ำ 1,000 ลิตร แช่นาน 24 ชั่วโมง
2. ใช้ดิพเทอร์เร็กซ์จำนวน 0.25-0.5 กรัมต่อน้ำ 1,000 ลิตร แช่นาน 24 ชั่วโมง
โรคที่เกิดจากพยาธิภายใน
1. โรคพยาธิใบไม้(pleurogenoides)
พยาธิใบไม้ที่ทำให้เกิดโรคปลานั้นพบทั้งขณะที่เป็นตัวเต็มวัยแล้วและตัวอ่อน ตัวเต็มวัยของพยาธิใบไม้พบได้ในทางเดินอาหารภายในช่องท้องไม่ค่อยทำอันตรายต่อปลาเท่าใดนัก ต่างกับตัวอ่อนซึ่งฝังตัวอยู่บริเวณเหงือกและอวัยวะภายในต่างๆ ทำให้เกิดความเสียหายกับเนื้อเยื่อของเหงือกเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในลูกปลาที่เป็นโรคนี้จะมีอาการกระพุ้งแก้มเปิดอ้าอยู่ตลอดเวลา ว่ายน้ำทุรนทุรายลอยตัวที่ผิวน้ำ ผอม เหงือกบวม อาจมองเห็นจุดขาวๆ คล้ายเม็ดสาคู ขนาดเล็กเป็นไตแข็งบริเวณเหงือกและปลาจะทยอยตายเรื่อยๆ ปลาหลายชนิดในแหล่งน้ำธรรมชาติอาจพบพยาธิใบไม้เต็มวัยได้
การป้องกันและรักษา
1. ควรหลีกเลี่ยงการใช้ปุ๋ยคอก เพราะอาจจะมีไข่ของพยาธิใบไม้ติดมา ถ้าหากจำเป็นต้องใช้ปุ๋ยคอก ควรตากให้แห้งเป็นอย่างดีก่อนจึงจะนำมาใช้พร้อมทั้งกำจัดหอย ซึ่งเป็นตัวช่วยเสริมการระบาดของพยาธิชนิดนี้อย่างครบวงจร โดยการตากบ่อให้แห้งและโรยปูนขาวให้ทั่วในอัตรา 30-50 กิโลกรัมต่อไร่ หลังจากจับปลาขึ้นแล้วทุกครั้ง
2. ยังไม่มีวิธีรักษาหรือจำกัดตัวอ่อนของพยาธิใบไม้ที่เกาะบนตัวปลา
2. โรคจากเชื้อแบคทีเรีย
1. โรคตัวด่าง เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย “ คอลัมนาริส” ปลาที่เป็นโรคนี้จะมีแผลด่างขาวตามตัว และเมื่อเกิดการติดเชื้อเป็นเวลานาน แผลด่างขาวนี้จะกลายเป็นแผลลึกได้ โรคนี้มักเกิดกับปลาหลังการลำเลียงเนื่องจากอุณหภูมิของอากาศที่สูงทำให้ปลามีความต้านทานลดลง เชื้อแบคทีเรียนี้ก็จะเจริญเติบโตอย่างรวดเร็วและทำอันตรายต่อปลา ปลาที่เป็นโรคดังกล่าวจะตายเป็นจำนวนมาก
การป้องกันและรักษา
1. แช่ปลาในยาเหลือง อัตราส่วน 2 มิลลิกรัมต่อน้ำ 5 ลิตร นานประมาณครึ่งชั่วโมง
2.ในขณะขนส่งลำเลียงปลาควรใส่เกลือเม็ดในน้ำที่ใช้สำหรับการขนส่งปลาปริมาณ 1 ช้อนชา ต่อน้ำ 1 ลิตร
3. ใช้ด่างดับทิมเข้มข้น 2 พีพีเอ็ม แช่ตลอด
4. ใช้ฟอร์มาลินจำนวน 40-50 พีพีเอ็ม แช่นาน 24 ชั่วโมง
5. ในกรณีที่เชื้ออยู่ในกระแสเลือดใช้เทอร์รามัยซิน 5 กรัมต่อ น้ำหนักปลา 100 กิโลกรัมต่อวัน ติดต่อกันเป็นเวลา 10-12 วัน
2. โรคแผลตามตัว เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย Aeromonas และ Pseudomonas ปลาจะมีลักษณะผิวหนังบวมแดงและเริ่มเปื่อยเป็นแผลลึกลงไปจะเห็นกล้ามเนื้อส่วนในปลาขนาดเล็กมักจะทำให้เกิดอาการครีบกร่อน ทั้งครีบตามลำตัวและครีบหาง
การป้องกันและรักษา
1. ใช้ยาปฏิชีวนะจำพวกไนไตรฟูราโซนในอัตราส่วน 1-2 มิลลิกรัม ต่อน้ำ 1 ลิตร แช่ปลานานประมาณ 2-3 วัน
2. แช่ปลาที่เป็นโรคในสารละลายออกซีเตตร้าซัยคลิน หรือ เตตร้าไคลินในอัตราส่วน 60-70 มิลลิกรัม ต่อน้ำ 1 ลิตร นาน 1-2 วัน ติดต่อกัน 3-4 ครั้ง
3. ถ้าปลาเริ่มมีอาการของโรคอาจผสมยาปฏิชีวนะดังข้อ 1 หรือ 2 ในอัตราส่วน 60-70 มิลลิกรัม ต่อน้ำหนักปลา 1 กิโลกรัม หรือ 2-3 กรัม ต่ออาหาร 1 กิโลกรัม นานติดต่อกัน 3-5 วัน
3. โรคท้องบวม อาการของโรคจะเห็นส่วนท้องบวมมากและบางตัวผิวหนังจะเป็นรอยช้ำตกเลือด
การป้องกันและรักษา
ให้แช่ปลาในยาปฏิชีวนะออกซีเตตร้าไซคลินในอัตราส่วน 10-20 พีพีเอ็ม ส่วนการฆ่าเชื้อในบ่อเลี้ยงปลาควรใช้ปูนขาวในอัตราส่วน 10-20 พีพีเอ็ม ส่วนการฆ่าเชื้อในบ่อเลี้ยงปลาควรใช้ปูนขาวในอัตราส่วน 50-60 กิโลกรัม/ไร่
เกี่ยวกับสาเหตุของเชื้อโรคชนิดต่างๆซึ่งทำให้เกิดโรคในปลากดเหลืองแล้ว สภาพแวดล้อมที่ปลาอาศัยอยู่ทั้งด้านกายภาพหรือองค์ประกอบด้านเคมีจะเป็นปัจจัยสำคัญซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นให้ปลาอ่อนแอและส่งผลต่อการติดเชื้อโรคดังกล่าวข้างต้น ปัจจัยเหล่านี้ได้แก่ ปริมาณออกซิเจนในน้ำความเป็นกรดด่างน้ำ สารพิษในน้ำปริมาณคลอรีนหรือโลหะหนักในน้ำรวมถึงสภาวะอุณหภูมิที่เปลี่ยนแปลงอย่างกะทันหัน
ดังนั้นผู้เลี้ยงปลาจึงควรที่จะศึกษาวิธีการป้องกันและแก้ไขสภาพแวดล้อม ให้เหมาะสมกับการอยู่อาศัยของปลาหรือหลีกเลี่ยงสาเหตุที่ทำให้การเลี้ยงปลากดเหลืองมีผลผลิตลดต่ำในที่สุด
ด้านการตลาด
ปลากดเหลืองขนาด 3-5 ตัว/กิโลกรัม (ขนาดเฉลี่ย 250 กรัม/ตัว) จำหน่ายให้ผู้รวบรวมหรือบริโภคในท้องถิ่นทางภาคใต้ราคา 40 บาท/กิโลกรัม ในขณะที่ราคาจำหน่ายปลีกแก่ผู้บริโภคในเขตเมืองระดับราคา 60-80 บาท/กิโลกรัม สำหรับราคาขายส่งไปยังตลาดต่างประเทศในราคา 100-120 บาท/กิโลกรัม ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับขนาดของปลา ปริมาณและความสดของปลาเป็นสำคัญ ปัจจุบันผลผลิตเกือบทั้งหมดมาจากการจับในแหล่งน้ำธรรมชาติ หากมีการเลี้ยงเพิ่มขึ้นก็จะช่วยเสริมสร้างความมั่นใจให้แก่ผู้จำหน่าย และผู้บริโภคปลากดเหลือง
การกำจัดกลิ่นโคลนในเนื้อปลา
การเลี้ยงปลากดเหลืองในบ่อดินสร้างป้องกันการเกิดกลิ่นสาปในเนื้อปลาได้โดยก่อนจับปลาขึ้นจำหน่าย ควรจะย้ายปลามาเลี้ยงในกระชังในแหล่งน้ำที่มีการถ่ายเทดีประมาณ 15 วัน จะป้องกันการเกิดกลิ่นสาบได้เพราะกลิ่นโคลนไม่ใช่เป็นกลิ่นถาวรที่ติดอยู่กับตัวปลาตลอดไป กลิ่นนี้จะหายได้เมื่อนำปลาไปใส่ไว้ในน้ำสะอาด และงดให้อาหารเป็นเวลา 7 วัน ที่อุณหภูมิน้ำ 24 องศาเซลเซียส ถ้าอุณหภูมิสูงกว่านี้จะทำให้กลิ่นโคลนหมดไปจากตัวปลาเร็วขึ้น
การเกิดกลิ่นโคลน(off-flavors)ในเนื้อปลากลุ่ม catfish อาจเกิดจากหลายสาเหตุ ได้แก่
1. เกิดจากแหล่งน้ำมีปริมาณของสาหร่ายสีน้ำเงินแกมเขียว (blue green) ซึ่งจะเจริญเติบโตอย่างรวดเร็วในแหล่งน้ำที่มีปุ๋ยและแร่ธาตุปริมาณสูงวิธีแก้ไขโดยการเปลี่ยนถ่ายน้ำและเพิ่มปริมาณน้ำในบ่อเพื่อลดจำนวนของสาหร่ายและตายในที่สุด
2. เกิดจากการให้อาหารปลามากเกินไป ทำให้อาหารเน่าตกอยู่พื้นก้นบ่อซึ่งจะดูดซึมเข้าสู่ตัวปลาได้และทำให้เกิดการ bloom ของสาหร่ายสีน้ำเงินแกมเขียว ซึ่งทำให้เกิดกลิ่นสาบได้
3. เกิดจากซากพืชหรือซากสัตว์ที่ตกค้างอยู่ในบริเวณ ซึ่งเป็นสาเหตุให้เกิดกลิ่นสาบได้ดังนั้นจะต้องทำความสะอาดบ่อกำจัดเศษซากพืช ใบไม้ ออกให้หมด
4. ชนิดหรือส่วนผสมของอาหาร อาหารที่มีส่วนผสมของจำพวกไขมันหรือสารละลายในไขมันทำให้เกิดกลิ่นสาบในเนื้อปลาได้