ลักษณะ พริกหวาน
เป็นพืชข้ามปี แต่นิยมปลูกเป็นพืชฤดูเดียว ในระยะแรกพืชจะเจริญเป็นลําต้นเดี่ยว เมื่อติดดอกช่อแรก ตรงยอด ของลําต้นเดี่ยว จากนั้นจะแตกกิ่งแขนง ในแนวตั้งออกเป็นสองกิ่ง และเมื่อดอกเจริญที่ปลายกิ่ง ซึ่งกิ่งแขนง จะเจริญเป็นสองกิ่ง ทํ าให้จํานวนกิ่งเพิ่มขึ้น ตลอดฤดูการเจริญเติบโต ผลผลิตจะขึ้นอยู่กับ จํานวนกิ่ง และจํานวนผลต่อต้น ในระยะแรก ที่กิ่งเจริญจะเป็นกิ่งอ่อน ต่อจากนั้น จะเปลี่ยนเป็นกิ่ง ที่แข็งเมื่อแก่ เปราะและหักง่าย โดยทั่วไปจะสูง 0.5 - 1.5 เมตร ใบ จะเป็นใบเดี่ยว เจริญสลับกัน ใบของพริกหวาน จะมีขนาดใหญ่ เมื่อใบเจริญ 9-11 ใบ ดอกแรกจะเจริญ ราก จะเจริญในแนวดิ่งลึก 90 -120 เซ็นติเมตร รากแขนงจะแผ่กว้างออกด้านข้างประมาณ 90 เซ็นติเมตร และรากส่วนใหญ่ จะอยู่อย่างหนาแน่น ในระดับความลึก 50- 60 เซ็นติเมตร
ดอก จะเป็นดอกสมบูรณ์ เป็น ดอกเดี่ยว ประกอบด้วยกลีบดอก 5 กลีบ ส่วนใหญ่จะมีสีขาว แต่บางพันธุ์จะมีสีม่วง เกสรตัวผู้แยกกันมีจํ านวน 5 อัน อับละอองเกส รจะมีสีม่วง ยอดเกสรตัวเมียบางพันธุ์ จะอยู่สูงกว่า อับละอองเกสร ดอกสามารถเจริญ ได้ทั้งในสภาพ ช่วงแสงสั้น หรือช่วงแสงยาว โดยทั่วไปจะเจริญ หลังย้ายปลูก 1-2 เดือน
การผสมเกสร พริกหวานเป็นพืชที่ผสมตัวเอง แต่มีการผสมข้ามโดยธรรมชาติ ทําให้มีสายพันธุ์ใหม่จํานวนมาก อาจจะเนื่อง มาจากมีแมลง ช่วยผสมเกสรมากและ นอกจากนี้ อับละอองเกสร จะเปิดหรือพร้อม ที่จะผสมหลังจากดอกบาน 2-3 วัน ดังนั้น ก่อนที่เกสรตัวผู้ จะพร้อมที่จะผสม เกสรตัวเมียอาจจะได้รับ ละอองเกสรจากต้นอื่น ควรให้มีการผสมเกสร ภายในเวลา 24-30 ชั่วโมงหลังดอกบาน ในสภาพอากาศ ที่มีความชื้นในอากาศตํ่า จะทําให้อัตราการติดผลลดลง
ผล พริกหวาน Bell types ผลมีลักษณะกลมยาว ขนาดใหญ่ ผลประกอบด้วย capsaicin ในปริมาณที่ตํ่ามาก บางครั้งเรียกพริกหวาน (
sweet pepper) พริกหวานสีเขียว จะมีปริมาณความต้องการ ของตลาดสูง แต่เมื่อปล่อยให้แก่บนต้น จะเปลี่ยนเป็นสีแดง สายพันธุ์ที่ปรับปรุงพันธุ์ ขึ้นมาใหม่ อาจจะเปลี่ยนเป็นสีแดง เหลือง ส้มหรือม่วง การปลูกพริกสีเหล่านี้ นิยมปลูกในเรือนโรง เนื่องจากการอายุ การเก็บเกี่ยวนาน กว่าพริกสีเขียว ในบางครั้ง อาจมีสภาพแวดล้อมไม่เหมาะสม เป็นสาเหตุให้ผลถูกทําลาย โดยโรค แมลง แสดงอาการตายนึ่ง หรือผลแตกได้ง่าย พริกสีเขียวประกอบด้วย chlorophyll พริกสี
แดง/เหลืองเกิดจากเม็ดสี carotenoids พริกสีม่วงเกิดจากเม็ดสี anthocyanin ส่วนสีนํ้าตาล เกิดจากการผสมระหว่าง chlorophyll,? lycopene และ? beta-carotene ผลมีรูปทรงและขนาด แตกต่างกัน บางพันธุ์ อาจจะมีเปลือกผลหนา แต่บางพันธุ์จะบาง มีขนาดความยาว 1-30 เซนติเมตร และกว้าง 1-15 เซนติเมตร
คุณค่าและสารอาหาร
พริกหวาน 100 กรัม ให้พลังงาน 22 กิโลแคลอรี ประกอบด้วย โปรตีน 0.8 กรัม ไขมัน 0.3 กรัม คาร์โบไฮเดรต 4.0 กรัม แคลเซียม 9 มิลลิกรัม โพแทสเซียม 2.5 มิลลิกรัม ไทอะมิน 0.10 มิลลิกรัม ไรโบฟลาวิน 0.05 มิลลิกรัม วิตามินซี 65 มิลลิกรัม
พริกหวานมีเบตาแคโรทีนสูง มีไวตามินซี เหล็ก และโพแทสเซียม ซึ่งพริกหวานสีเหลืองจะมีไวตามินมากกว่าพริกหวานสีส้มถึง 4 เท่า ในพริกสีเขียว 100 กรัมก็จะมีไวตามินซี 100 กรัมเช่นกัน
ประโยชน์
พริกหวาน มีรูปทรงเป็นสี่เหลี่ยมถึงหกเหลี่ยม เนื้อหนา มีหลายสีทั้งเขียว แดง เหลือง ส้ม และสีช็อคโกแลค มีรสชาติหวาน ไม่เผ็ด สามารถรับประทานสดในสลัด หรือนำมาผัดกับผักชนิดต่างๆ ให้สีสันน่ารับประทาน มีคุณค่าทางวิตามิน A, B1, B2 และ C มีสารแคบไซซิน ช่วยยับยั้งอนุมูลอิสระ ลดความเสี่ยงของการเป็นโรคหลอดเลือด โรคต้อกระจก และโรคมะเร็ง
สรรพคุณทางยา
ช่วยกระตุ้นทางการทำงานของกระเพาะอาหารทำให้ระบบการย่อยอาหารดีขั้น ช่วยเจริญอาหารบำรุงธาตุ ขับเหงื่อ ขับลม ขับเสมหะ แก้อาเจียน แก้หิด กลากเกลื้อน และสามารถลดความด้นโลหิตได้ เพราะทำให้หลอดเลือดอ่อนตัว และช่วยให้ระบบการไหลเวียนของเลือดเป็นไปได้ดี
พริกหวาน
พริกเม็ดโตสีสันสดใส มีลักษณะกลมยาว หลายครัวเรือนนิยมนำมาผัดเพราะไม่มีรสเผ็ด เนื่องจากมีสารแคปไซซินในปริมาณที่ตํ่ามากจนถูกเรียกว่าพริกหวาน
ประโยชน์ของพริกหวาน
พริกหวานมีเบตาแคโรทีนสูง มีวิตามินซี เหล็ก และโพแทสเซียม ซึ่งพริกหวานสีเหลืองจะมีไวตามินมากกว่าพริกหวานสีส้มถึง 4 เท่า ในพริกสีเขียว 100 กรัมก็จะมีไวตามินซี 100 กรัมเช่นกัน นอกจากนี้ยังมีสาร แคบไซซิน ช่วยยับยั้งอนุมูลอิสระ ลดความเสี่ยงของการเป็นโรคหลอดเลือด โรคต้อกระจก และโรคมะเร็ง
ในหนึ่งเมนูของวัน ถ้ามีพริกหวานเป็นส่วนประกอบก็จะช่วยกระตุ้นทางการทำงานของกระเพาะอาหาร ทำให้ระบบการย่อยอาหารดีขั้น ช่วยเจริญอาหารบำรุงธาตุ ขับเหงื่อ ขับลม ขับเสมหะ แก้อาเจียน แก้หิด กลากเกลื้อน และสามารถลดความด้นโลหิตได้ เพราะทำให้หลอดเลือดอ่อนตัว และช่วยให้ระบบการไหลเวียนของเลือดเป็นไปได้ดี
สภาพแวดล้อมการปลูก พริกหวาน (Sweet Pepper)
พริกหวาน ชอบสภาพที่มีความชื้นต่ำ จะทำให้อัตราการติดผลลดลง อุณหภูมิที่เหมาะสมสำหรับการผสมเกสรอยู่ระหว่าง 20-25 องศา มีความชื้นสัมพัทธ์สูง ใสสภาพอุณหภูมิต่ำกว่า 18 องศา หรือสูงกว่า 32 องศา จะจำกัดการผสมเกสร อัตราการติดผลต่ำ พริกหวานสามารถเจริญเติบโตได้ดี ในดินร่วนปนทราย ระบายน้ำได้ดี และมีค่าความเป็นกรดด่างอยู่ระหว่าง 6.0-6.8
การปฏิบัติดูแลรักษา พริกหวาน ระยะต่างๆ ของการเจริญเติบโต
การเตรียมกล้า ทำการยกแปลงขนาด 1 ม. ย่อยดินให้ละเอียด แปลงห่างกัน 70 ซม. ร่องลึกประมาณ 10 ซม. ทำขวางแปลงความห่างระหว่างร่อง 10 ซม. รองพื้นด้วยไตรโคเดอร์ม่า หว่านเมล็ดแล้วกลบดิน รดน้ำให้ชุ่ม หรือคลุมด้วยตาข่ายพลาสติก หลังจาก 7-10 วัน ย้ายกล้าลงในหลุม
การเตรียมดิน ขุดดินทิ้งไว้ประมาณ 1 สัปดาห์ เก็บวัชพืชออกให้หมด ย่อยดิน แล้วใส่ปูนขาวคลุกเคล้าร่วมกับปุ๋ยคอก และปุ๋ยสูตร 0-4-0 ผสมคลุกเคล้าให้เข้ากัน ควรใส่โดโลไมด์อัตรา 100-150 กรัม/ตร.ม.
การปลูก ทำแปลงกว้าง 1 ม. เว้นร่องน้ำ 70 ซม. ระยะห่างระหว่างหลุม 40-50 ซม. เวลาปลูกรองพื้นด้วยปุ๋ยสูตร 15-15-15 ผสมคลุกเคล้ากัน ควรใส่โดโลไมด์ อัตรา 100-150 กรัม/ตร.ม.
การให้น้ำและปุ๋ย ควรให้ปุ๋ยพร้อมน้ำระบบ Fertigation ในอัตราดังนี้
ระยะที่ 1 ปุ๋ย 46-0-0 1 ส่วนน้ำหนัก
ปุ๋ย 20-20-20 1.2 ส่วนน้ำหนัก
หรือ สูตรใกล้เคียง อัตราใช้ 0.25-1 กรัม/ตร.ม./วัน
ระยะที่ 2 ปุ๋ย 46-0-0 1 ส่วนน้ำหนัก
ปุ๋ย 20-20-20 1.2 ส่วนน้ำหนัก
หรือ ปุ๋ย 20-10-30 หรือ ปุ๋ยสูตรใกล้เคียง อัตรา 1-3 กรัม/ตร.ม./วัน หรือมากกว่า
ระยะที่ 3 ปุ๋ย 0-0-51 1 ส่วนน้ำหนัก
ปุ๋ย 20-10-30 5 ส่วนน้ำหนัก
หรือ ปุ๋ย 20-10-30 หรือ ปุ๋ยสูตรใกล้เคียง อัตรา 3 กรัม/ตร.ม./วัน หรือมากกว่า
การเก็บเกี่ยวพริกหวาน
พันธุ์สีเขียวเก็บเกี่ยวเมื่อผลผลิตผิวเรียบ และแห้ง ใช้กรรไกรตัดตรงขั้ว พันธุ์สีแดงและเหลือง เก็บเกี่ยววิธีเดียวกับพันธุ์สีเขียว แต่เก็บเกี่ยวเมื่อผลเริ่มมีสีได้มากกว่า 70-80 เปอร์เซ็นต์
โรคแมลงศัตรูที่สำคัญ
พริกหวาน Sweet Pepper, Bell Pepper, Capcicum, ในระยะต่างๆ ของการเจริญเติบโต
ระยะกล้า 18-21 วัน โรคที่พบ เช่น
โรคเหี่ยว, โรคใบจุด, โรคไวรัส, โรครากปม,
ระยะย้ายปลูก-ตั้งตัว 21-28 วัน โรคที่พบ เช่น
แอนแทรคโนส, โรคเหี่ยว, โรคราแป้ง, โรคใบจุด, โรคเน่าเปียก, โรคไวรัส, โรคใบไหม้, โรครากปม, ไรขาว,
ระยะเจริญเติบโต 50-60 วัน โรคที่พบ เช่น
แอนแทรคโนส, โรคเหี่ยว, โรคราแป้ง, โรคใบจุด, โรคเน่าเปียก, โรคไวรัส, โรคใบไหม้, โรครากปม, ไรขาว,
ระยะเก็บเกี่ยว 90-100 วัน โรคที่พบ เช่น
แอนแทรคโนส, โรคเหี่ยว, โรคราแป้ง, โรคใบจุด, โรคเน่าเปียก, โรคไวรัส, โรคใบไหม้, โรครากปม, ไรขาว, แมลงวันแตง,