วิธีการใช้ปุ๋ยยูเรีย (46-0-0) แบบประหยัดสกัดกั้นข้าวเฝือใบ ปลอดภัยต่อหนอนและแมลง
โดยปรกติปุ๋ยยูเรีย
(46-0-0) ค่อนข้างเป็นที่นิยมในหมู่เกษตรกร ทั้งพืชไร่ไม้ผล ข้าว อ้อย มัน ปาล์ม
และยางพารา เพราะใช้แล้วเห็นผลได้ชัดเจน คือใบจะเขียวเข้ม ต้นเจริญเติบโต
สูงใหญ่แตกใบกิ่งก้านเบ่งบานแผ่สาขาอย่างรวดเร็ว
เมื่อเริ่มปลูกลงกล้าใหม่ๆ ปุ๋ยยูเรียจึงเป็นขวัญใจของพี่น้องเกษตรกรชาวนาเป็นอย่างมาก
โดยเฉพาะชาวนาเมื่อข้าวเริ่มได้อายุ 15 – 20 วันก็จะเริ่มหว่านปุ๋ยโดยเฉพาะปุ๋ยยูเรีย
จะได้รับความนิยมมากที่สุด เพื่อให้ข้าวเจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว
(ภาษาชาวบ้านเรียกว่ากระทุ้งปุ๋ย เพื่อเร่งให้ข้าวโตเร็วๆ เหมือนเป็นการแข่งขันกัน
สร้างความภาคภูมิใจแก่เจ้าของนา)
หลังจากที่ใส่ปุ๋ย
ข้าวจะเจริญเติบโตงอกงามจนใบโค้งงอง้อมลงจนคำนับพับเพียบเจ้าของหาเจ้าของ แลดูเขียวขจีสดใสไปทั่วแปลง
เป็นที่ถูกอกถูกใจเจ้าของนาเป็นอย่างยิ่ง แต่ต้นกล้าในแปลงนากลับไม่ชอบ
เพราะการที่หว่านปุ๋ยตั้งแต่ข้าวยังเล็กอยู่นั้น เปรียบเหมือนเป็นการยัดเยียดให้ข้าวกินปุ๋ยมากเกินไป
ทำให้ต้นอวบอ้วน ใบหนา ใหญ่ โค้งงอ อุ้ยอ้าย ต่างเป็นที่ถูกอกถูกใจของเหล่าหนอน แมลง
ที่มักอาศัยหลบซ่อนตัวเข้ามาทำลายลำต้นและใบข้าวในช่วงที่ข้าวอ่อนแอจากการใส่ปุ๋ยยูเรียนี้เอง
หลังจากใส่ปุ๋ยไปได้สองสามวัน ชาวนาจะต้องเตรียมสารเคมีกำจัดศัตรูพืช ทั้งยาฆ่าแมลง
ยาฆ่าหนอนและเพลี้ยไฟ ไรแดง ต่างๆ สารพัดเท่าที่จัดหามาได้
ความจริงในระยะนี้เกษตรกรชาวนาไม่จำเป็นต้องใส่ปุ๋ย
เพราะข้าวยังพอมีอาหารกินจากในเมล็ดและพื้นดินในแปลงนาตั้งแต่ทำเทือก
และต้องการดูดกินปุ๋ยมากจริงๆ ในช่วงระยะแตกกอ คือข้าวอายุประมาณ 30 วัน
ดังนั้นถ้าใส่ปุ๋ยในช่วงข้าวอายุ 29 – 30 วัน
ก็จะเป็นการใส่ปุ๋ยในช่วงเวลาที่เหมาะสม
เพราะหลังจากใส่ปุ๋ยเพียงวันหรือสองวันข้าวก็เริ่มแตกกอให้หน่อออกลูกออกหลานมาช่วยแบ่งเบากินปุ๋ยกระจายกันไปอย่างสมดุลย์ จะดีกว่าใส่ปุ๋ยตอนข้าวเป็นต้นเดียว (อายุ 15 -20
วัน) ที่ยังเป็นเม็ดเดียวต้นเดียวดูดกินปุ๋ยที่มีไนโตรเจนสูงเข้าไปเต็มๆ
นอกจากจะไม่เกิดประโยชน์อะไรมากแล้วยังเป็นการสิ้นเปลืองปุ๋ยและสิ้นเปลืองยาเคมีกำจัดศัตรูพืช
ทั้งทำให้ต้นข้าวอ่อนแอไม่ต้านทานต่อโรค แมลง รา ไรอีกต่างหาก
เทคนิคที่สำคัญอีกอย่างหนึ่ง
ที่จะเปลี่ยนปุ๋ยยูเรีย (46-0-0) ที่สูญเสียง่ายละลายเร็วให้กลายเป็นปุ๋ยละลายช้า
คล้ายๆกับที่ประเทศญี่ปุ่นเขานำมาจำหน่ายในบ้านเราตกกิโลกรัมละหลายสิบบาท
คิดเป็นกิโลก็หลายร้อยบาท คิดเป็นตันก็สองสามหมื่นบาทหรือมากกว่า
เราสามารถทำให้ปุ๋ยยูเรียกลายเป็นปุ๋ยละลายช้าแบบเมดอินไทยแลนด์ได้ง่ายเพียงนำปุ๋ยยูเรีย
5 ส่วน พรมน้ำพอชุ่มชื้นไม่เปียกแฉะคลุกผสมกับ “ซีโอ-พูมิช”
(หินแร่ภูเขาไฟเกรดพรีเมี่ยม) 1
ส่วน คลุกเคล้าให้เข้ากัน เท่านี้เราก็จะได้สูตรปุ๋ยละลายช้าแบบไทยๆ
ที่ช่วยทำให้ข้าวไม่เฝือใบ ปลอดภัยต่อหนอนและแมลงที่จะเข้ามาทำลายได้เป็นอย่างดี
การทำปุ๋ยหมัก(Composting)
การทำปุ๋ยหมักเป็นการย่อยวัตถุอินทรีย์ให้เป็นฮิวมัส (humus) ด้วยจุลิทรีย์ จุลินทรีย์หลักๆ ได้แก่ เชื้อราและเชื้อแบคทีเรีย วัตถุอินทรีย์ได้แก่ เศษอาหาร เศษหญ้า กระดาษ เป็นต้น กระบวนการการหมักปุ๋ยสามารถทำได้ 2 แบบ คือ 1. แบบใช้อากาศ และ 2. แบบไม่ใช้อากศ
การทำปุ๋ยหมักแบบใช้อากาศ(aerobic compost) จะอาศัยจุลินทรีย์ที่ใช้ออกซิเจนช่วยในการย่อยวัตถุอินทรีย์ โดยจะต้องมีสภาวะที่เหมาะสมต่อการทำงานดังนี้ 1. อากาศมีออกซิเจน 2. วัตถุอินทรีย์จะต้องมีอัตราส่วนของไนโตรเจน 1 ส่วนต่อคาร์บอน 30-70 ส่วน 3. จะต้องมีน้ำอยู่ประมาณ 40-60 เปอร์เซ็นต์ 4. มีออกซิเจนให้จุนลินทรีย์ใช้เพียงพอ ถ้าขาดสิ่งใดสิ่งหนึ่งใน 4 สิ่งนี้การทำปุ๋ยหมักแบบใช้อากาศไม่เกิดขึ้น ผลผลิตที่ได้จากการทำปุ๋ยหมักแบบใช้อากาศ คือ ไอน้ำคาร์บอนไดออกไซต์ และวัตถุอินทรีย์ที่ย่อยสลายแล้วที่เรียกว่า ฮิวมัส(humus)
การทำปุ๋ยหมักแบบไม่ใช้อากาศ(anaerobic compost) จะอาศัยจุลทรีย์ที่ไม่ใช้ออกซิเจนย่อยวัตถุ จุลินทรีย์ที่ไม่ใช้ออกซิเจนสามารถอยู่ได้โดยไม่มีออกซิเจน และสามารถย่อยวัตถุอินทรีย์ที่มีอัตราส่วนไนโตรเจนสูงกว่า และอัตราส่วนคาร์บอนต่ำกว่าการทำปุ๋ยหมักแบบใช้การใช้อากาศและการย่อยสามารถเกิดขึ้นได้ที่ความชื้นสูงกว่า ผลผลิตของการย่อยสลายวัตถุอินทรีย์คือ แกสมีเทน (methane gas) และวัตถุอินทรีย์ที่ย่อยสลานแล้ว ถ้าต้องการนำแกสีมเทนมาใช้เป็นเชื้อเพลิงการทำปุ๋ยหมักต้องเป็นระบบปิดที่มีความดีน
การใช้ปุ๋ยหมัก (ฮิวมัส) กับดินจะช่วยปรับปรุงโครงสร้างดินและเนื้อดิน ช่วยเพื่มโพรงอากาศ ช่วยระบายน้ำและอากาศดีขึ้น และเพิ่มการอุ้มน้ำของดิน ลดการอัดตัวของดิน ช่วยให้ต้นไม้ต้านทานความแล้งดีขึ้น และเป็นอาหารให้จุลินทรีย์ที่ช่วยรักษาสภาพดินให้สมบรูณ์และสมดุล และธาตุไนโตรเจน โพแทสเซียม และฟอสฟอรัสยังผลิตขึ้นตามธรรมชาติด้วยการเลี้ยงจุลินทรีย์เหล่านี้
การทำปุ๋ยหมักแบบใช้อากาศ(Aerrobic Compost)
การทำปุ๋ยหมักเป็นการเลียนแบบระบบย่อยสลายที่เกิดขึ้นช้า ๆ ตามธรรมชาติในผืนป่าซึ่งมีอินทรีย์สารแตกต่างกันหลายร้อยชนิดรวมทั้งจุลินทรีย์ รา หนอน และแมลง แต่เราสามารถเร่งการย่อยสลายนี้ให้เร็วขึ้นได้ด้วยการควบคุมสภาวะแวดล้อมให้เหมาะสมที่สุด ปัจจัยหลักที่มีผลต่อการทำปุ๋ยหมักคือ อุณหภูมิ ความชื้น อากาศ และวัตถุอินทรีย์ วัตถุอินทรีย์เกือบทั้งหมดใช้ทำปุ๋ยหมักได้ ส่วนผสมของวัตถุอินทรีย์ที่ดีสำหรับการทำปุ๋ยหมักจะต้องประกอบด้วยอัตราส่วนผสมที่ถูกต้อระหว่างวัตถุอินทรีย์ที่มีคาร์บอนมาก(carbon-rich materrials) หรือเรียกว่า วัตถุสีน้ำตามได้แก่ (browns) และวัตถุอินทรีย์ที่มีไนโตรเจนมาก (notrogan-rich materials) ที่เรียกว่า วัตถุสีเขียว (greens) วัตถุสีน้ำตาลได้แก่ ใบไม้แห้ง ฟางข้าว เศษไม้ เป็นต้น ส่วนวัตถุสีเขียวได้แก่ เศษหญ้า เศษพืชผักจากครัว เป็นต้น อัตราส่วนผสมที่ดีจะทำให้การทำปุ๋ยหมักดสร็จเร็วและไม่มีกลิ่นเหม็น ถ้ามีส่วนของคาร์บอนมากเกินไปจะทให้ย่อยสลายช้ามาก และถ้ามีไนโตรเจนมากปะทำให้เกิดกลิ่นเหม็น คาร์บอนจะเป็นตัวให้พลังงานแก่จุลินทรีย์ ส่วนไนโตรเจนจะช่วยสังเคราะห์โปรตีน การผสมวัตถุอินทรีย์ที่แตกต่างกันหรือใช้อัตราส่วนผสมที่แตกต่างกันจะทำให้อัตราย่อยสลายแตกต่างกันไปด้วย
ตารางวัตถุอินทรีย์ที่สามารถใช้ทำปุ๋ยหมัก
ชนิด | ประเภทคาร์บอน (C)/ไนโตรเจน(N) | รายละเอียด |
สาหร่ายทะเลมอสทะเลสาบ | N | แหล่งสารอาหารที่ดี |
เครื่องดื่ม น้ำล้างในครัว | เป็นกลาง | ใช้ให้ความชื้นแก่กองปุ๋ย |
กระดาษแข็ง | C | ตัดเป็นชิ้นเล็กๆ ก่อนใช้ ถ้ามีมากควรนำไปรีไซเคิล |
กาแฟบดและที่กรอง | N | หนอนชอบ |
ต้นข้าวโพด ซังข้าวโพด | C | ตัดเป็นช้นเล็กๆ |
ผ้าสำลี | C | ทำให้ชื้น |
เปลือกไข่ | N | บดให้ละเอียด |
เส้นผม | N | กระจายอย่าให้จับตัวเป็นก้อน |
มูลสัตว์กินพืช | N | เป็นแห่งไนโตรเจน |
หนังสือพิมพ์ | C | อย่าใช้กระดาษมันหน้าสี ถ้ามีกมากให้นำไปรีไซเคิล |
ใบโอ๊ก | C | ตัดเป็นชิ้นเล็กๆ เป็นกรด |
ขี้เลื่อย เศษไม้ (ที่ไม่ผ่านกระบวนการทางเคมี) | C | อย่าใช้มาก |
ใบสนและผลของต้นสน | C | อย่าใช้มาก ย่อยสลายช้า เป็นกรด |
ตารางวัตถุอินทรีย์ที่ต้องใช้อย่างระวัง
ชนิดของวัตถุ | ประเภทคาร์บอน (C)/ไนโตรเจน(N) | รายละเอียด |
ขี้เถ้าจากไม้ | เป็นกลาง | ใช้ในปริมาณที่พอเหมาเท่านั้น |
ขี้นก | N | มีเมล็ดวัชพืชและเชื้อโรค |
ต้นไม้ที่เป็นโรคตาย | N | อย่าใช้ปุ๋ยหมักใกล้กับต้นไม้ชนิดเดียวกับที่เป็นโรคตาย |
นม ชีส โยเกิร์ต | เป็นกลาง | จะดึงดูดสัตว์เข้ามาในกองปุ๋ยหมัก |
วัชพืช | N | ทำให้แห้งก่อนใช้ |
หญ้า | N | ต้องแน่ใจว่ากองปุ๋ยหมักร้อนพอที่จะหยุดการเจริญเติบโตของหญ้า |
ตารางวัตถุอินทรีย์ที่ห้ามใช้
ชนิดของวัตถุ | ประเภทคาร์บอน (C)/ไนโตรเจน(N) | รายละเอียด |
ขี้เถ้าจากถ่านหินหรือถ่านโค้ก | - | อาจมีวัสดุที่ไม่ดีต่อพืช |
ขี้หมา ขี้แมว | - | อาจมีเชื้อโรค |
เศษปลา | - | ดึงดูดพวกหนู ทำให้กองปุ๋ยหมักมีกลิ่นเหม็น |
มะนาว | - | สามารถหยุดกระบวนการหมักปุ๋ย |
เนื้อ ไขมัน จารบี น้ำมัน กระดูก | - | หลีกเลี่ยง |
กระดาษมันจากวารสาร | - | หลีกเลี่ย |
ปัจจัยต่างๆ ที่มีผลกระทบต่อการทำปุ๋ยหมัก
การทำปุ๋ยหมักให้ได้คุณภาพที่ดีขึ้นอยู่กับปัจจัยต่างๆ ดังนี้
1. อุณหภูมิ : อุณหภูมิในกองปุ๋ยหมักมีผลโดยตรงกับกิจกรรมย่อยสลายทางชีวภาพของจุลทรีย์ ยิ่งอัตราการเผาผลาญอาหาร (metabolic rate) ของจุลินทรีย์มากขึ้น (เจริญเติบโตมากขึ้น) อุณหภูมิภายในระบบหมักปุ๋ยก็จะสูงขึ้นในทางกลับกันถ้าอัตราการเผาผลาญอาหารลดลง อุณหภูมิของระบบก็ลดลง จุลินทรีย์ที่ย่อยสลายวัตถุอินทรีย์และก่อให้เกิดความร้อนในกองปุ๋ยหมักมี 2 ประเภท คือ 1. แบคมีเรียชนิดเมโซฟิลิก (mesophilic bacteria) ซึ่งจะมีชีวิตเจริญเติบโตและแพร่พันธุ์ได้ที่อุณหภูมิระหว่าง และ 2. แบคทีเรียชนิดเทอร์โมฟิลิก(thermophilic bacteria) ซึ่งเจริญเติบโตดีที่อุณหภูมิระหว่าง การรักษาอุณหภูมิของระบบไว้เกินกว่า เป็นเวลา 3-4 วัน จะช่วยทำลายเมล็ดวัชพืช ตัวอ่อนแมลงวัน และโรคพืชได้ ถ้าอุณหภูมิของระบบสูงถึง การย่อยสลายจะเร็วขึ้นเป็นสองเท่าของที่อุณหภูมิ ถ้าอุณหภูมิเกิน ประชากรของจุลินทรีย์จะทำลายบางส่วน ทำให้อุณหภูมิของระบบลดลง อุณหภูมิของระบบจะเพิ่มขึ้นอีกครั้งเมื่อประชากรของจุลินทรีย์เพอ่มขึ้น ปริมาณความชื้น ออกซิเจนที่มีอยู่ และกิจกรรมของจุลินทรีย์มีอิทธิพลของจุลินทรีย์ที่เกิดขึ้น เมื่อมีการปฏิบัติที่ถูกต้อง อุณหภูมิของกองปุ๋ยหมักจะเพิ่มขึ้นและควรปล่อยทิ้งไว้เฉยๆ จนกระทั่งอุณหภูมิถึงจุดสูงสุดและเริ่มลดลง จึงควรกลับกองปุ๋ยหมักเพื่อให้ออกซิเจนสามารถเข้าถึงทั่วกองปุ๋ยหมัก อุณหภูมิของกองปุ๋ยหมักจะกลับสูงขึ้นอีกครั้ง ทำเช่นนี้จนกว่าอุณหภูมิไม่เปลี่ยนแปลงแสดงว่าการทำปุ๋ยหมักเสร็จสิ้นสมบรูณ์ ขนาดของกองปุ๋ยหมักก็มีผลต่อุณหภูมิสูงสุดท่ะทำได้ โดยทั่วไปสำหรับกองปุ๋ยหมักที่เปิดโล่งควรมีขนาดของกองปุ๋ยหมักไม่น้อยกว่า 3 ฟุต x 3 ฟุต x 3 ฟุต
2. การเติมอากาศ (aeration) : ออกซิเจนเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับจุลินทรีย์เพื่อใช้ในการย่อยสลายวัตถุอินทรีย์ การย่อยสลายของอินทรีย์ที่ไม่ใช้ออกซิเจนจะเป็นกระบวนการย่อยสลายที่ช้าแลพทำให้เกิดกลิ่นเหม็น ดังนั้นจึงควรกลับกองปุ๋ยหมักเป็นระยะเพื่อให้จุลินทรีย์ได้รับออกซิเจนอย่างเพียงพอ ซึ่งจะช่วยเร่งกระบวนการหมักปุ๋ยให้เร็วขึ้น กองปุ๋ยหมักที่ไม่ได้กลับ จะใช้เวลาย่อยสลสายนานกว่า 3-4 เท่า การกลับกองปุ๋ยหมักจะทำให้อุณหภูมิสูงมากกว่า ซึ่งจะช่วยทำลายเมล็ดวัชพืชและโรคพืชได้ กองปุ๋ยหมักเมื่อเริ่มต้นควรมีช่องว่างอากาศประมาณ 30-35 เปอร์เซ็นต์ เพื่อให้สภาวะหารหมักที่ดีที่สุดเกิดขึ้น และควรรักษาระดับออกซิเจนให้เกิน 5 เปอร์เซ็นต์ ทั่งทั้งกองปุ๋ยหมัก โดยทั่วไปรับออกซิเจนในกองปุ๋ยหมักจะอยู่ในช่วง 6-16 เปอร์เซ็นต์และ 20 เปอร์เซ็นต์ รอบผิวกองปุ๋ยหมัก ถ้าระดับออกซิเจนต่ำกว่า 50 เปอร์เซ็นต์ การย่อยสลายจะเปลี่ยนไปเป็นแบบไม่ใช้ออกซิเจน ซึ่งจะก่อให้เกิดกลิ่นเหม็นตามมา ดังนั้นออกซิเจนยิ่งมาก การย่อสลายยิ่งเกิดมาก
3. ความชื้น (moisture) : ความชื้นที่เพียงพอมีความจำเป็นต่อการเจริญเติบโตของจุลินทรีย์ กองปุ๋ยหมักควรมีความชื้นที่เหมาะสมที 45 เปอร์เซ็นต์ ถ้ากองปุ๋ยหมักแห้งเกินไปการย่อยสลายจะไม่มีประสิทธิภาพเนื่องจากจุลินทรีย์ไม่สามารถขยายพันธุ์ได้ ถ้ากองปุ๋ยหมักมีน้ำมากเกินไปการย่อยสลายการใช้อากาศอยู่ระหว่าง 40-70 เปอร์เซ็นต์ การทดสอบความชื้นที่เหมาะสมในกองปุ๋ย สามารถทำได้โดยใช้มือกำวัตถุอินทรีย์ในกองปุ๋ยแล้วบีบ จะมีหยดน้ำเพีย 1-2 หยดเท่านั้น หรือมีความรู้สึกชื้นเหมือนฟองน้ำที่บีบน้ำออกแล้ว
4. ขนาดวัตถุอินทรีย์ (particle size) : ขนาดวัตถุอินทรีย์ยิ่งเล็กจะทำให้กระบวนการย่อยสลายยิ่งเร็วขึ้น เนื่องจากพื้นที่ให้จุลินทรีย์เข้าย่อยสลายมากขึ้น บางครั้งวัตถุดิบมีความหนาแน่นมากหรือมีความชื้นมากเช่นเศษหญ้าที่ตัดจากสนาม ทำให้อากาศไม่สามารถผ่านเข้าไปในกองปุ๋ยหมักได้ จึงควรผสมด้วยวัตถุที่เบาแต่มีปริมาณมากเช่น ฟางข้าว ใบไม้แห้ง กระดาษ เพื่อให้อากาศไหลหมุนเวียนได้ถูกต้อง หรือจะผสมวัตถุที่มีขนาดต่างกันและมีเนื้อต่างกันก็ได้ ขนาดของวัตถุอินทรีย์ที่เหมาะสมไม่ควรเกิน 2 นิ้ว แต่บางครั้งขนาดวัตถุอินทรีย์ที่ใหญ่กว่านี้ก็จำเป็นต้องใช้บ้างเพื่อช่วยให้การระบายอากาศดีขึ้น
5. การกลับกอง (turning) : ในระหว่างกระบวนการหมักปุ๋ย จุลินทรีย์จะใช้ออกซิเจนในการเผาผลาญวัตถุอินทรีย์ ขณะที่ออกวิเจนถูกใช้หมดกระบวนการหมักปุ๋ยจะช้างลงและอุณหภูมิในกองปุ๋ยหมักลดลง จึงควรกลับกองปุ๋ยหมักเพื่อให้อากาศหมุนเวียนในกองปุ๋ยหมัก เป็นการเพิ่มออกซิเจนให้กลับจุลิทรีย์ และเป็นการกลับวัสดุที่อยู่ด้านนอกเข้าข้างใน ซึ่งช่วยในการย่อยสลายเร็วขึ้น ระยะเวลาในการกลับกอง สังเกตได้จากเมื่ออุณหภูมิในกองปุ๋ยหมักขึ้นสูงสุดและเริ่มลดลงแสดงว่าได้เวลาในการกลับกองเพื่อให้อากาศถ่ายเท
6. อัตราส่วนคาร์บอนต่อไนโตรเจน (carbon to nitrogen ratio) : จุลินทรีย์ใช้คาร์บอนสำหรับพลังงานและไปนโตรเจนสำหรับการสังเคราะห์โปรตีน จุลินทรีย์ต้องการใช้คาร์บอน 30 ส่วนต่อไนโตรเจน 1 ส่วน (C:N=30:1โดยน้ำหมักแห้ง) ในการย่อยสลายวัตถุอินทรีย์ อัตราส่วนนี้จะช่วยในการควบคุมความเร็วในการย่อยจุลินทรีย์ ถ้ากองปุ๋ยหมักมีส่วนผสมที่มีคาร์บอนต่อไนโตรเจนสูงมาก (มีคาร์บอนมาก) การย่อยสลายจะช้า ถ้ากองปุ๋ยหมักมีส่วนผสมที่มีคาร์บอนต่อไนโตรเจนต่ำมาก (ไนโตรเจนสูง) จะเกิดการสูญเสียไนโตรเจนในรูปแบบของแอมโมเนียสู่บรรยากาศและจะเกิดกลิ่นเหม็น วัตถุอินทรีย์ส่วนมากไม่ได้มีอัตราส่วน C:N = 30:1 จึงต้องทำการผสมวัตถุอินทรีย์เพื่อให้ได้อัตราส่วนที่ถูกต้องคือใกล้เคียงเช่น การผสมมูลวัวที่มี C:N = 20:1 จำนวน 2 ถุง เข้ากับลำต้นข้าวโพดที่มี C:N =60:1 จำนวน 1 ถุง จะได้กองปุ๋ยหมักที่มี C:N =(20:1+10:1+60:1)/3=33:1 ตารางข้างล่างแสดงค่า C:N ของวัตถุอินทรีย์ต่างๆ ปุ๋ยที่หมักเสร็จแล้วจะต้องมีค่า C:N ไม่เกิน 20:1 เพื่อป้องกันการดึงไนโตรเจนจากดินเมื่อนำปุ๋ยหมักไปใช้งาน
ตารางแสดงค่าอัตราส่วน C:N ของวัตถุอินทรีย์ทั่วไป
วัตถุอินทรีย์ | อัตราส่วน C:N |
เศษผัก | 12-20:1 |
เศษอาหาร | 18:1 |
พืชตะกูลถั่ว | 13:1 |
มูลวัว | 20:1 |
กากแอปเปิ้ล | 21:1 |
ใบไม้ | 40-80:1 |
ฟางข้าวโพด | 60:1 |
ฟางข้าวสาลี | 74:1 |
กระดาษ | 80:1 |
ขี้เลื่อย | 150-200:1 |
เศษหญ้า | 100-150:1 |
กาแฟบด | 12-25:1 |
เปลือกไม้ | 20:1 |
ขยะผลไม้ | 100-130:1 |
มูลสัตว์ปีกสด | 10:1 |
มูลม้า | 25:1 |
หนังสือพิมพ์ | 50-200:1 |
ใบสน | 60-110:1 |
มูลที่เน่าเปื่อย | 20:1 |
วิธีทำปุ๋ยหมัก (Composting Method)
การทำปุ๋ยหมักสามารถทำได้หลายวิธีดังต่อไปนี้
1. การทำปุ๋ยหมักแบบร้อน(hot composting) เป็นวิธีที่มีประสิทธิภาพมากที่สุดในการผลิตฮิวมัสที่มีคุณภาพโดยใช้เวลาน้อยกว่าวิธีอื่นๆ นอกจากนี้ยังช่วยทำหลายเมล็ดวัชพืช ตัวอ่อนแมลงวันและโรคพืช การทำปุ๋ยหมักแบบใช้ถัง (bin) หรือแบบกองบนลาน (windrow) จะต้องอาศัยการจัดการในระดับสูง ส่วนแบบ in-vessel จะใช้การจัดการน้อยกว่า
2. การทำปุ๋ยหมักแบบเย็น (cold composting) เป็นวิธีที่เหมาะสำหรับการเพิ่มอินทรีย์วัตถุที่โคนต้นไม้ แปลงสวนเล็กๆ และพื้นที่ที่มีการกัดกร่อน เวลาในการทำปุ๋ยหมักถูกควบคุมด้วยสภาวะสิ่งแวดล้อม ซึ่งอาจจะใช้เวลา 2 ปีหรือมากกว่า
3. การทำปุ๋ยหมักแบบผืนแผ่น (sheet composting) เป็นการนำอินทรีย์วัตถุมาโปรยกระจายตามผิวหน้าดินที่ราบเรียบและปล่อยให้ย่อยสลายเองตามธรรมชาติ เมื่อเวลาผ่านไปสิ่งที่ได้ย่อยสลายจะซึมผ่านลงในดิน วิธีนี้เหมาะสมสำหรับผืนดินที่ใช้เป็นแหล่งอาหารสัตว์ ภูมิประเทศข้างทางหรือใช้ควบคุมการกัดกร่อน วิธีนี้ไม่สามารถกำจัดเมล็ดวัชพืช ตัวอ่อนแมลงวัน และโรคพืช ดังนั้นจึงไม่ควรใช้ซากพืชและมูลสัตว์ ระยะเวลาการย่อยสลายถูกควบคุมด้วยสภาวะสิ่งแวดล้อมซึ่งอาจจะใช้เวลานาน
4. การทำปุ๋ยหมักแบสนามเพาะ (trench composting) เป็นวิธีที่ค่อนข้างง่ายเพียงแต่ขุดหลุมลึก 6-8 นิ้ว แล้วใส่วัตถุอินทรีย์ลงไปให้หนา 3-4 นิ้ว แล้วกลบด้วยดิน รอประมาณ 2-3 อาทิตย์ ก็สามารถปลูกต้นไม้ตรงหลุมได้เลยวิธีนี้ไม่สามารถทำลายเม็ลดวัชพืช ตัวอ่อนแมลงวัน และโรคพืชได้ กระบวนการย่อยสลายค่อนข้างช้า
ขันตอนการทำปุ๋ยหมัก
การทำปุ๋ยหมักแบบใช้ถัง (bin) และแบบกองบนลาน(windrow) จะวางวัตถุดิบเป็นชั้นๆ โดนใช้หลักการสมดุลระหว่างวัตถุที่มีคาร์บอนสูง(ชื้น) และคาร์บอนต่ำ(แห้ง)และมีขั้นตอนการทำดังนี้
ขั้นตอนที่ 1 ใส่วัตถุหยาบลงที่ก้นถังหรือบนพื้นดินให้หนา 4-6 นิ้ว
ขั้นตอนที่ 2 เติมวัตถุที่มีคาร์บอนต่ำลงให้หนา 3-4 นิ้ว
ขั้นตอนที่ 3 เติมวัตถุที่มีคาร์บอนสูงให้หนา 4-6 นิ้ว
ขั้นตอนที่ 4 เติมดินทำสวนหรือฮิวมัสหนา 1 นิ้ว
ขั้นตอนที่ 5 ผสมให้เข้ากัน
ขั้นตอนที่ 6 ทำซ้ำขั้นตอนที่ 2-5 จนเต็มถังหรือสูงไม่เกิน 4 ฟุต แล้วปกคลุมด้วยวัตถุแห้ง
การเติมวัตถุดิบระหว่างการหมักปุ๋ย
การเติมวัตถุดิบใหม่ระหว่างการหมักปุ๋ยจะทำในช่วงเวลาที่มีการกลับกองปุ๋ยหมักและคลุกเคล้าผสมโดยทั่วไปการเติมวัตถุดิบที่มีความชื้นเข้าไป จะช่วยเร่งกระบวนการย่อยสลาย แต่ถ้าเติมวัตถุดิบที่แห้งไปกระบวนการย่อยสลายจะช้าลง
การทำถังหมักปุ๋ยสวนหลังบ้าน
การทำถังหมักปุ๋ยสำหรับสวนหลังบ้านสามารถทำได้หลายวิธีโดยแบ่งตามขนาดที่ต้องการใช้ปุ๋ยหมัก วิธีแรกเหมาะสำหรับสวนขนาดเล็กโดยนำถังขนาด 200 ลิตร มาเจาะรูด้านข้างถังขนาด 0.5 นิ้ว 6-9 แถวดังรูปที่ 1 แล้ววางถังบนอิฐบล็อกเพื่อให้อากาศหมุนเวียนก้นถัง เติมวัตถุอินทรีย์ลงไปประมาณ 3 ส่วน 4 ของถังแล้วเติมปุ๋ยที่มีไนโตรเจนสูง (ประมาณ 30%N)1/4 ถ้วยลงไปพร้อมเติมน้ำให้มีความชื้นพอเหมาะแต่ไม่ถึงกับเปียกโชก ทุกๆ 2-3 วัน ให้กลิ้งถังกับพื้นรอบสวนเพื่อให้มีการผสมและระบายอากาศภายในถัง เมื่อกลิ้งถังเสร็จแล้วสามารถเปิดฝาถังเพื่อให้อากาศซึมผ่านเข้าถัง การทำวิธีนี้จะใช้เวลาในการย่อยสลาย 2-4 เดือน
รูปที่ 1[5]
วิธีที่สองใช้ถังกลมแบบหมุนได้ ตามรูปที่ 2 การหมักทำโดยการเติมวัตถุสีเขียว และสีน้ำตาลเข้าถังประมาณ ¾ ส่วนของถัง ผสมให้เข้ากันและทำให้ชื้นพอเหมาะ หมุนถังหนึ่งครั้งทุกวันเพื่อให้อากศหมุนเวียนและคลุกเคล้าส่วนผสมให้ทั่ว วิธีนี้สามารถหมักปุ๋ยได้เสร็จภายใน 3 สัปดาห์ ไม่ควีเติมวัสดุจนเต็มถังเพราะจะไม่สามารถคลุกเคล้าส่วนผสมให้เข้ากันได้และการระบายอากาศไม่ดี การหมักแบบนี้ทำได้ทีละครั้ง (batch size)
รูปที่ 2[9]
สำหรับสวนที่มีขนาดใหญ่ การสร้างถังหมักปุ๋ยอย่างง่ายสามารถทำได้โดยการใช้ลวดตาข่ายเล็ก ๆ มาล้อมเป็นวงกลมมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 3-5 ฟุต และสูงอย่างน้อย 4 ฟุต พร้อมกับมีที่เกี่ยวติกกันดังรูปที่ 3 ควรจะมีเสาปักตรงกลางถังก่อนใส่วตถุอินทรีย์เพื่อรักษารูปร่างของกองปุ๋ยหมักและช่วยอำนวยความสะดวกในการเติมน้ำ การกลับกองปุ๋ยหมักสามารถทำได้ง่ายดายโดยการแกะลวดตาข่ายออกแล้วย้ายไปตั้งที่ใหม่ข้างๆ จากนั้นตักกองปุ๋ยหมักใส่กลับเข้าไป
รูปที่ 3[5]
อีกวิธีที่มีประสิทธิภาพในการทำปุ๋ยหมักอย่างเร็วและมีโครงสร้างที่ทนทานคือการสร้างถังสี่เหลี่ยมแบบ 3 ช่อง (three-chambered bin) ดังรูปที่ 4 ซึ่งสามารถทำปุ๋ยหมักได้มากและมีการหมุนเวียนอากาศที่ดี โดยแต่ละช่องจะทำการย่อยสลายวัสดุในช่วงเวลาที่ต่างกัน การทำปุ๋ยหมักเริ่มจากการใส่วัตถุดิบลงไปในช่องแรกและปล่อยให้ย่อยสลาย (อุณหภูมิสูงขึ้น)เป็นเวลา 3-5 วัน จากนั้นตักไปใส่ในช่องที่สองและปล่อยทิ้งไว้ 4-7 วัน (ในส่วนช่องแรกก็เริ่มใส่วัตถุดิบลงไปใหม่) แล้วตักใส่ในช่องที่สามต่อไปซึ่งการหมักปุ๋ยใกล้จะเสร็จสมบรูณ์ การทำวิธีนี้สามารถทำได้อย่างต่อเนื่อง
รูปที่ 4[5]
การหาทำเลสำหรับการตั้งปุ๋ยหมัก ไม่ควรจะตั้งใกล้บ่อน้ำหรือที่ลาดชันไปสู่แหล่งน้ำบนดินเช่น ธารน้ำหรือสระน้ำควรตั้งในที่ไม่มีลมและโดนแสงแดดบางส่วนเพื่อช่วยให้ความร้อนแก่กองปุ๋ยหมัก การตั้งถังหมักปุ๋ยใกล้ต้นไม้อาจทำให้รากต้นไม้ชอนไชเข้าถังได้ ทำให้ลำบากในการตักได้ ปริมาตรของปุ๋ยหมักที่เสร็จแล้วจะลดลงเหลือ 30-40 เปอร์เซ็นต์ปริมาตรเริ่มต้น
ปัญหาที่เกิดระหว่างการทำปุ๋ยหมัก
ปัญหาที่สามารถกเกิดขึ้นได้ระหว่างกระบวนการหมักปุ๋ยได้แก่ การเกิดกลิ่นเหม็น แมลงวันและสัตว์รบกวน กองปุ๋ยไม่ร้อน ปัญหาเหล่านี้เกิดจากหลายสาเหตุและมีวิธีแก้ไขดังนี้
กลิ่นเหม็นเกิดจากการหมักแบบใช้อากาศเปลี่ยนเป้นการหมักแบบไม่ใช้อากาศเนื่องจากขาดออกซิเจนในกองปุ๋ยซึ่งมีสาเหตุจากกองปุ๋ยมีความชื้นมากเกนไปและอัดตัวกันแน่น ทำให้อากาศไม่สามารถผ่านเข้าไปได้ การแก้ไขทำได้โดยการกลับกองปุ๋ยเพื่อเติมอากาศและเติมวัตถุสีน้ำตาลประเภทฟางข้าว กิ่งไม้แห้ง เพื่อลดความแน่นของกองปุ๋ยและให้อากาศผ่านเข้าไปในกองปุ๋ยได้
แมลงวันและสัตว์ เช่น หนู รบกวน มีสาเหตุมาจากการใส่เศษอาหารลงในกองปุ๋ย ซึ่งเศษอาหารเหล่านี้ล่อแมลงวันและหนูให้เข้ามา วิธีแก้ปัญหาคือให้ฝังเศษอาหารลงในกองปุ๋ยและกลบด้วยดินหรือใบไม้แห้ง หรือทำระบบปิดป้องกันแมลงวันและหนู
กองปุ๋ยไม่ร้อน มีสาเหตุได้แก่ 1. มีไนโตรเจนไม่เพียงพอ 2 มีออกซิเจนไม่เพียงพอ 3. ความชื้นไม่เพียงพอ และ 4. การหมักเสร็จสมบรูณ์แล้ว สาเหตุแรกแก้ไขได้โดยการเติมวัตถุสีเขียวซึ่งมีไนโตรเจนสูง เช่น เศษหญ้าสด เศษอาหาร สาเหตุที่สองแก้ไขโดยกลับกองปุ๋ยเพื่อเติมอากาศ ส่วนสาเหตุที่สามให้กลับกองและเติมนในกองปุ๋ยชื้น
มาตรฐานปุ๋ยหมักหรืออินทรีย์ในประเทศไทย
ปุ๋ยหมักที่ได้จากการหมักอินทรีย์วัตถุมีปริมาณธาตุอาหารหลักไม่สมบรูณ์ครบถ้วนที่จะเป็นปุ๋ยให้กับต้นไม้ได้ร้อยเปอร์เซ็นต์ แต่ประโยชน์ของปุ๋ยหมักในด้านอื่นมีมากมายเช่น ปุ๋ยหมักที่อยู่ในรูปของฮิวมัสช่วยปรับปรุงสภาพของดินให้ดีขึ้น ช่วยอุ้มน้ำได้มากช่วยป้องกันความแห้งแล้ง ป้องกันการสึกกร่อนของหน้าดิน ช่วยกัดเก็บธาตุต่างๆ ในดิน เช่น โพแทสเซียม โซเดียม แคลเซียม แมกนีเซียม เหล็ก และทองแดง ช่วยทำให้สารพิษในดินเป็นกลาง ช่วยให้ต้นไม้ดูดซึมวิตามินและออกซิเจนดีขึ้น
ปุ๋ยที่หมักเสร็จแล้วจะต้องมีค่าของธาตุต่างๆ เป็นไปได้ตามมาตรฐานของปุ๋ยหมัก ถ้าปุ๋ยหมักไม่ได้มาตรฐานนี้อาจจะเป็นพิษต่อต้นไม้และสิ่งแวดล้อมได้ สำหรับมาตรฐานของปุ๋ยหมักในประเทศเป็นไปตามประกาศของกรมวิชาการเกษตร เรื่อง มาตรฐานปุ๋ยอินทรีย์ พ.ศ. 2548 ดังนี้
ลำดับที่ | คุณลักษณะ | เกณฑ์กำหนด |
1 | ขนาดของปุ๋ย | ไม่เกิน 12.5x12.5 มิลลิเมตร |
2 | ปริมาณความชื้นและสิ่งที่ระเหยได้ | ไม่เกิน 35 เปอร์เซ็นต์ โดยน้ำหนัก |
3 | ปริมาณหินและกรวด | ขนาดใหญ่กว่า 5 มิลลิเมตร ไม่เกิน 5 เปอร์เซ็นต์ โดยน้ำหนัก |
4 | พลาสติก แก้ว วัสดุมีคม และโลหะอื่นๆ | ต้องไม่มี |
5 | ปริมาณอินทรีย์วัตถุ | ไม่น้อยกว่า 30 เปอร์เซ็นต์ โดยน้ำหนัก |
6 | ค่าความเป็นกรด-ด่าง (pH) | 5.5-8.5 |
7 | อัตราค่าคาร์บอนต่อไนโตรเจน(C/N) | ไม่เกิน 20:1 |
8 | ค่าการนำไฟฟ้า (EC:Electrical Conductivity) | ไม่เกิน 6 เดซิซีเมน/เมตร |
9 | ปริมาณธาตุอาหารหลัก | -ไนโตรเจน(total N) ไม่น้อยกว่า 1.0 เปอร์เซ็นต์ โดยน้ำหนัก-ฟอสฟอรัส() ไม่น้อยกว่า 0.5 เปอร์เซ็นต์ โดยน้ำหนัก -โพแทสเซียม () ไม่น้อยกว่า 0.5 เปอร์เซ็นต์ โดยน้ำหนัก |
10 | การย่อยสลายที่สมบรูณ์ | มากกว่า 80 เปอร์เซ็นต์ |
11 | สารหนู(Arsenic)แคดเมียม(Cadmium) โครเมียม(Chromium) ทองแดง(Copper) ตะกั่ว(Lead) ปรอท(Mercury) | ไม่เกิน 50 มิลลิกรัม/กิโลกรัม ไม่เกิน 5 มิลลิกรัม/กิโลกรัม ไม่เกิน 300 มิลลิกรัม/กิโลกรัม ไม่เกิน 500 มิลลิกรัม/กิโลกรัม ไม่เกิน 500 มิลลิกรัม/กิโลกรัม ไม่เกิน 2 มิลลิกรัม/กิโลกรัม |