การปลูกไผ่ตรง
ไผ่ตงมีอยู่ 4 สายพันธุ์ ได้แก่ตงหม้อ ตงดำ ตงเขียว และตงหนู โดยลักษณะตามสายพันธุ์มีดังนี้
1. ไผ่ตงหม้อ หรือ ไผ่ตงใหญ่ หรือ ไผ่ตงหนัก ไผ่ตงสายพันธุ์นี้มีขนาดใหญ่ที่สุด จึงมีลำขนาดใหญ่ ลำยาวตั้งแต่ 10 เมตร ขึ้นไป ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางลำต้นประมาณ 12-18 เซนติเมตร ใบมีขนาดเล็กเมื่อเทียบกับสายพันธุ์อื่นๆ กอโปร่ง เพราะแตกกิ่งแขนงน้อย หน่อมีขนาดใหญ่มาก หนักประมาณ 5-10 กิโลกรัม (หน่อหนักประมาณ 20 กิโลกรัม ก็เคยมี แต่เมื่อสมัยก่อนที่ยังอุดมสมบูรณ์และอายุกอยังไม่มาก) หน่อมีสีน้ำตาลอมม่วงและน้ำตาลดำอมม่วง บนกาบหน่อมีขนค่อนข้างละเอียด เนื้อหน่อมีสีขาว แต่แข็งและหยาบกว่าตงดำ ช่วงออกหน่อจะอยู่กลางฤดูฝน (กรกฎาคม-สิงหาคม)
2. ไผ่ตงดำ หรือ ไผ่ตงกลาง สายพันธุ์นี้มีขนาดใหญ่รองลงมาจากไผ่ตงหม้อ คือเส้นผ่านศูนย์กลางลำประมาณ 6-12 เซนติเมตร หรือมีเส้นรอบวงประมาณ 30-40 เซนติเมตร ที่สำคัญลำต้นมีสีเขียวเข้มจนไปถึงอมดำ จึงเป็นที่มาของชื่อตงดำ ลำต้นเตี้ยกว่าและสั้นกว่าตงหม้อ ข้อค่อนข้างเรียบ และที่พิเศษอีกอย่างหนึ่งก็คือ จะมีแป้งสีขาวจับอยู่บริเวณปล้อง ใบมีสีเขียวเข้มขนาดใหญ่และหนากว่าไผ่ตงสายพันธุ์อื่นๆ หน่อไผ่ตงดำจัดเป็นสุดยอดหน่อไม้ที่มีคุณภาพดีมาก เนื่องจากมีรสหวาน กรอบ เนื้อขาวละเอียด ไม่มีเสี้ยน นิยมนำมาทำตงหมก หน่อจะมีน้ำหนักประมาณ 3-6 กิโลกรัม
3. ไผ่ตงเขียว นี้จะมีขนาดลำต้นเล็กและสั้นกว่าไผ่ตงดำ มีเส้นผ่าศูนย์กลางลำต้น 5-12 เซนติเมตร สีของลำต้น จะเป็นสีเขียว เนื้อไม้บาง ไม่ค่อยแข็งแรง ใบมีขนาดปานกลาง บางและสีเขียวเข้ม จับแล้วไม่สากมือ หน่อมีน้ำหนัก 1-4 กิโลกรัม หน่อไม้ไผ่ตงชนิดนี้จะมีรสหวานอมขื่นเล็กน้อย เนื้อเป็นสีขาวอมเหลือง ไผ่ตงเขียวมีความคงทนต่อสภาพแห้งแล้งได้ดี นอก จากนี้แล้วไผ่ตงเขียวยังมีความคงทนต่อสภาพแห้งแล้งได้ดี เหมาะที่จะปลูกใน ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จึงมีผู้นิยมปลูกกันมากไม่แพ้ไผ่ตงดำ
4. ไผ่ตงหนู หรือ ตงเล็ก เป็นพันธุ์ขนาดเล็ก มีเส้นผ่านศูนย์กลางของลำไผ่เพียง 3-6 เซนติเมตร ไผ่ตงชนิดนี้ยังปลูกกันน้อย เนื่องจากให้ผลผลิตต่ำกว่าไผ่ตงอื่น ๆ แหล่งปลูกภาคเหนือที่ได้ผลดีคือ ที่จังหวัดลำปาง และเชียงใหม่ ส่วนจังหวัดอื่น ๆ ยังมีปลูกกันไม่มาก ไผ่ตงที่ขายกันส่วนมากแล้วก็จะมีตงหม้อและตงเขียวศรีปราจีนที่ขายกัน และกิ่งพันธุ์ไผ่มักนิยมขยายด้วยวิธีตอนกิ่งซะเป็นส่วนใหญ่ เพราะไผ่ ตงออกรากง่าย ลำหนึ่งตอนได้ทีเป็นสิบกิ่ง และกิ่งพันธุ์มีโอกาสรอดร้อยเปอร์เซ็นต์ แต่การขยายพันธุ์ด้วยวิธีชำกิ่งแขนง และชำลำที่มีแขนงติดมาด้วยก็นิยมเช่นกัน เพราะสะดวกรวดเร็ว และได้จำนวนมาก ส่วนวิธีดูว่ากิ่งพันธุ์ที่ขายนั้นเป็นไผ่ตงจริงหรือไม่นั้น มีลักษณะดูง่ายๆ คือ ที่ลำแม่ที่เขาตัดมาชำนั้น ที่หัวเขาจะตัดให้เป็นหัวแหลมหรือเฉียงนั่นเอง ส่วนไผ่เลี้ยงจะตัดตรงๆ สังเกตลักษณะการตัดได้ที่ลำแม่ที่ชำเช่นกัน
ไผ่ตง เราจะเน้นบริโภคหน่อเป็นหลัก แต่ลำก็ใช้ติดตรงที่เนื้อไม้บางลำกลวงมีช่องว่างมาก เหมาะกับการทำของที่ระลึก ของใช้ ของชำร่วยที่ไม่มีการกดทับมากนัก เฟอร์นิเจอร์ก็ทำได้แต่ต้องพิถีพิถันตั้งแต่ขั้นตอนการตัด การรักษาเนื้อไม้ และการประกอบ
ไผ่ตงมีอยู่ 4 สายพันธุ์ ได้แก่ตงหม้อ ตงดำ ตงเขียว และตงหนู โดยลักษณะตามสายพันธุ์มีดังนี้
1. ไผ่ตงหม้อ หรือ ไผ่ตงใหญ่ หรือ ไผ่ตงหนัก ไผ่ตงสายพันธุ์นี้มีขนาดใหญ่ที่สุด จึงมีลำขนาดใหญ่ ลำยาวตั้งแต่ 10 เมตร ขึ้นไป ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางลำต้นประมาณ 12-18 เซนติเมตร ใบมีขนาดเล็กเมื่อเทียบกับสายพันธุ์อื่นๆ กอโปร่ง เพราะแตกกิ่งแขนงน้อย หน่อมีขนาดใหญ่มาก หนักประมาณ 5-10 กิโลกรัม (หน่อหนักประมาณ 20 กิโลกรัม ก็เคยมี แต่เมื่อสมัยก่อนที่ยังอุดมสมบูรณ์และอายุกอยังไม่มาก) หน่อมีสีน้ำตาลอมม่วงและน้ำตาลดำอมม่วง บนกาบหน่อมีขนค่อนข้างละเอียด เนื้อหน่อมีสีขาว แต่แข็งและหยาบกว่าตงดำ ช่วงออกหน่อจะอยู่กลางฤดูฝน (กรกฎาคม-สิงหาคม)
2. ไผ่ตงดำ หรือ ไผ่ตงกลาง สายพันธุ์นี้มีขนาดใหญ่รองลงมาจากไผ่ตงหม้อ คือเส้นผ่านศูนย์กลางลำประมาณ 6-12 เซนติเมตร หรือมีเส้นรอบวงประมาณ 30-40 เซนติเมตร ที่สำคัญลำต้นมีสีเขียวเข้มจนไปถึงอมดำ จึงเป็นที่มาของชื่อตงดำ ลำต้นเตี้ยกว่าและสั้นกว่าตงหม้อ ข้อค่อนข้างเรียบ และที่พิเศษอีกอย่างหนึ่งก็คือ จะมีแป้งสีขาวจับอยู่บริเวณปล้อง ใบมีสีเขียวเข้มขนาดใหญ่และหนากว่าไผ่ตงสายพันธุ์อื่นๆ หน่อไผ่ตงดำจัดเป็นสุดยอดหน่อไม้ที่มีคุณภาพดีมาก เนื่องจากมีรสหวาน กรอบ เนื้อขาวละเอียด ไม่มีเสี้ยน นิยมนำมาทำตงหมก หน่อจะมีน้ำหนักประมาณ 3-6 กิโลกรัม
3. ไผ่ตงเขียว นี้จะมีขนาดลำต้นเล็กและสั้นกว่าไผ่ตงดำ มีเส้นผ่าศูนย์กลางลำต้น 5-12 เซนติเมตร สีของลำต้น จะเป็นสีเขียว เนื้อไม้บาง ไม่ค่อยแข็งแรง ใบมีขนาดปานกลาง บางและสีเขียวเข้ม จับแล้วไม่สากมือ หน่อมีน้ำหนัก 1-4 กิโลกรัม หน่อไม้ไผ่ตงชนิดนี้จะมีรสหวานอมขื่นเล็กน้อย เนื้อเป็นสีขาวอมเหลือง ไผ่ตงเขียวมีความคงทนต่อสภาพแห้งแล้งได้ดี นอก จากนี้แล้วไผ่ตงเขียวยังมีความคงทนต่อสภาพแห้งแล้งได้ดี เหมาะที่จะปลูกใน ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จึงมีผู้นิยมปลูกกันมากไม่แพ้ไผ่ตงดำ
4. ไผ่ตงหนู หรือ ตงเล็ก เป็นพันธุ์ขนาดเล็ก มีเส้นผ่านศูนย์กลางของลำไผ่เพียง 3-6 เซนติเมตร ไผ่ตงชนิดนี้ยังปลูกกันน้อย เนื่องจากให้ผลผลิตต่ำกว่าไผ่ตงอื่น ๆ แหล่งปลูกภาคเหนือที่ได้ผลดีคือ ที่จังหวัดลำปาง และเชียงใหม่ ส่วนจังหวัดอื่น ๆ ยังมีปลูกกันไม่มาก ไผ่ตงที่ขายกันส่วนมากแล้วก็จะมีตงหม้อและตงเขียวศรีปราจีนที่ขายกัน และกิ่งพันธุ์ไผ่มักนิยมขยายด้วยวิธีตอนกิ่งซะเป็นส่วนใหญ่ เพราะไผ่ ตงออกรากง่าย ลำหนึ่งตอนได้ทีเป็นสิบกิ่ง และกิ่งพันธุ์มีโอกาสรอดร้อยเปอร์เซ็นต์ แต่การขยายพันธุ์ด้วยวิธีชำกิ่งแขนง และชำลำที่มีแขนงติดมาด้วยก็นิยมเช่นกัน เพราะสะดวกรวดเร็ว และได้จำนวนมาก ส่วนวิธีดูว่ากิ่งพันธุ์ที่ขายนั้นเป็นไผ่ตงจริงหรือไม่นั้น มีลักษณะดูง่ายๆ คือ ที่ลำแม่ที่เขาตัดมาชำนั้น ที่หัวเขาจะตัดให้เป็นหัวแหลมหรือเฉียงนั่นเอง ส่วนไผ่เลี้ยงจะตัดตรงๆ สังเกตลักษณะการตัดได้ที่ลำแม่ที่ชำเช่นกัน
ไผ่ตง เราจะเน้นบริโภคหน่อเป็นหลัก แต่ลำก็ใช้ติดตรงที่เนื้อไม้บางลำกลวงมีช่องว่างมาก เหมาะกับการทำของที่ระลึก ของใช้ ของชำร่วยที่ไม่มีการกดทับมากนัก เฟอร์นิเจอร์ก็ทำได้แต่ต้องพิถีพิถันตั้งแต่ขั้นตอนการตัด การรักษาเนื้อไม้ และการประกอบ