การปลูกแคนตาลูป



แคนตาลูป
สถานการณ์ทั่วไปแคนตาลูปหรือแตงเทศเป็นพืชตระกูลแตง ประเทศไทยมีโอกาสขยายตัวได้อีกมาก เนื่องจากกำลังเป็นที่นิยมในตลาดทั่วไปและตลาดซุปเปอร์มาเก็ต มีเนื้อหนา กลิ่นหอม และความหวานสูง สามารถเก็บรักษาผลสุกไว้ได้นาน ขนส่งได้ในระยะทางไกลได้โดยไม่เสียหายมากนัก มีราคาค่อนข้างแพง ทั้งนี้เพราะพื้นที่ปลูกภายในประเทศยังมีปลูกอยู่น้อย เนื่องจากเมล็ดพันธุ์ที่ใช้ปลูกอยู่เป็นพันธุ์ลูกผสมของต่างประเทศที่มีราคาแพง และหาซื้อได้ยาก
ลักษณะทั่วไปของพืช

แคนตาลูปมีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Cucumis melo มีถิ่นกำเนิดอยู่ในทวีปอัฟริกา เป็นพืชที่ต้องดูแลรักษาเป็นอย่างดี จึงจะได้คุณภาพของผลตามที่ตลาดต้องการ และได้ราคาดี สามารถปลูกได้ตลอดทั้งปี และช่วงหลังฤดูการทำนา ชนิดที่ปลูกกันมากและเป็นที่รู้จักกันดี แบ่งออกตามลักษณะการมีร่างแหหรือขึ้นลายที่ผิวของผลได้เป็น 2 ชนิด คือชนิดที่มีร่างแหที่ผิวของผล ( netted type ) และชนิดที่มีผิวเรียบ ( non – netted type )

พันธุ์ที่ส่งเสริม
พันธุ์เนื้อสีเขียวหรือขาว ได้แก่ พันธุ์ไข่มุกลาย, ฮันนี่ดิว ( Honey dew ), เจดดิว ( Jaed dew )
พันธุ์เนื้อสีส้ม ได้แก่ ซันเลดี้ , ทอปมารค์ , นิวเซนจูรี

พื้นที่ปลูก
พื้นที่ปลูกที่สำคัญ ได้แก่ จังหวัด เชียงใหม่ เชียงราย เพชรบุรี ปราจีนบุรี ประจวบคีรีขันธ์
การปลูกการเพาะกล้า เมื่อกล้ามีอายุ 12 – 15 วัน สามารถย้ายปลูกลงแปลง ซึ่งสามารถปลูกได้ 2 วิธี คือ
1. การปลูกแบบขึ้นค้าง สามารถควบคุมคุณภาพของผลได้ดีและสม่ำเสมอ ขนาดแปลงหน้ากว้าง 80 เซนติเมตร ระยะห่างระหว่างต้น 20 เซนติเมตร มีร่องทางเดินระหว่างแปลงประมาณ 60 เซนติเมตร จากนั้นรดน้ำบริเวณแปลงให้ชุ่มคลุมแปลงด้วยพลาสติก 2 หน้า ๆ หนึ่งมีสีดำและอีกหน้ามีสีเงินที่ใช้สำหรับคลุมแปลงปลูกแตงโดยเฉพาะ

2. การปลูกแบบปล่อยเลื้อยบนดิน แปลงปลูกจะกว้าง 3.5 เมตร ปลูกเป็นแถวเดี่ยวตรงขอบแปลงด้านในทั้งสองข้างของแปลงระยะห่างระหว่างหลุมประมาณ 50 เซนติเมตร จำนวนต้น /ไร่ 8,500 – 9,000 ต้น / ไร่

การให้น้ำ
แตงแคนตาลูปเป็นพืชที่ต้องการน้ำสม่ำเสมอ แต่ไม่มากเกินไป วิธีให้น้ำควรปฏิบัติคือ การปล่อยน้ำตามร่อง ในแนวกลางระหว่างแถวปลูกและทางเดิน ปล่อยน้ำ 3 – 5 วัน / ครั้งการปฏิบัติอื่นๆ
1. การเด็ดตาข้าง จะปล่อยให้แตงเลื้อยเฉพาะเถาหลัก จะเด็ดตั้งแต่ข้อที่ 1 – 7 สำหรับทุกพันธุ์ เพื่อไม่ให้แตกแขนง
2. การเด็ดยอด เมื่อเถายาวประมาณ 170 เซนติเมตร หรือมีใบประมาณ 25 – 26 ใบ

ปฏิทินการปฏิบัติดูแลรักษา
อายุ
สูตรปุ๋ย
อัตรา
21 วัน หรือหลังย้ายปลูก 5-7วัน
46-0-0
2 ช้อนแกง / น้ำ 20 ลิตร
28 วัน
13-13-13 , 15-15-15
1 : 1 ครึ่งช้อนแกง / หลุม
45 วัน
46-0-0 , 13-13-21
1 : 1 ครึ่งช้อนแกง / หลุม
55 วัน
โปรแตสเซียมไนเตรท
ฉีดพ่นจนเก็บ
สูตร 13-0-46


โรคและแมลง

1. โรคราน้ำค้าง เริ่มเป็นจุดสีเหลืองบนใบ แผลจะขยายออกเป็นเหลี่ยมในระหว่างเส้นใบ และลามไปทั้งใบ ทำให้ใบแห้งตาย ใต้ใบตรงตำแหน่งของแผลมีเส้นใยสีขาวเกาะเป็นกลุ่มและมีสปอร์เป็นผงสีดำ ควรฉีดพ่นด้วยสารริโดมิลเอ็มแซด หรือ วามีเอส
2. โรคเหี่ยวที่เกิดจากเชื้อรา จะพบมากในตอนติดลูกและเกิดการขาดน้ำ อาการจะเริ่มเหี่ยวเพียงเถาเดียวจากนั้นจะเหี่ยวตายทั้งต้น ใช้เทอร์ราคลอละลายน้ำราดบริเวณหลุมที่เป็นโรคหรือใช้เชื้อจุลินทรีย์ราเขียว รองก้นหลุม คลุกเคล้าผสมกับดินปลูก
แมลง

1. เพลี้ยไฟ จะดูดน้ำเลี้ยงจากใบ ดอกอ่อนและยอดอ่อนทำให้ใบม้วนหงิกงอ ผิดปกติสีซีดสลับเขียวเป็นทาง ใช้ยาฟูราดาน 3 จี จำนวน 1 ช้อนชา / หลุม ใส่พร้อมกับหยอดเมล็ด
2. แมลงวันแตง ตัวเมียจะเจาะวางไข่ที่ผล ตั้งแต่ระยะที่เป็นดอกหรือวางไข่ที่ขั้วและกันของผล แล้วฟักออกมากัดกินเนื้ออยู่ภายในทำให้ผลเน่าเสีย การป้องกันโดยเก็บผลที่ร่วงฝังดิน เพื่อลดการระบาด หรือห่อผลด้วยกระดาษหนังสือพิมพ์

ศัตรูอื่นๆ
1. ปลวกและเสี้ยนดิน จะกัดกินเปลือกและเจาะผลในบริเวณที่ผลสัมผัสหรือติดดินทำให้ผลเป็นแผลป้องกันโดยการแขวนผลไม่ให้ผลสัมผัสดิน
ปัญหาและอุปสรรค
1. เมล็ดพันธุ์มีราคาแพง
2. การปลูกแตงแคนตาลูป จำเป็นต้องใช้วิธีการที่ซับซ้อน และยุ่งยากต้องดูแลรักษามาก จึงจะได้ผลผลิตที่มีคุณภาพดี
แนวทางการส่งเสริม
1. ไม่ควรปลูกซ้ำพื้นที่เดิม ที่เคยปลูกผักตระกูลแตงชนิดอื่นๆ
2. ช่วงเวลาที่ปลูก ควรเลือกช่วงที่ปลอดฝนในระยะเก็บเกี่ยว


Share this video :

บทความที่ได้รับความนิยม

 
Support : |
Copyright © 2011-2012 อาชีพพารวย - All Rights Reserved
เข้าสู่ปีที่ 2 อาชีพพารวย เพื่อนคู่คิดนักเกษตร พ.ศ. 2555
เว็บไซต์เพื่อนเกษตร