การปลูกส้มโอ


 ส้มโอ
1. การเตรียมแปลงปลูกและดินสำหรับการปลูก

1.    หากที่ดินแปลงปลูกมีขนาดใหญ่ ควรเริ่มปรับพื้นที่หรือเตรียมดินในฤดูแล้ง และควรจัดพื้นที่ขุดบ่อน้ำ  สำหรับกักเก็บน้ำไว้ใช้ในฤดูแล้ง

2.    ไถดินเพื่อปรับสภาพแปลงปลูก รื้อสิ่งกรีดขวางออก เพื่อพื้นที่มีสภาพโล่ง

3.    วัดแนวเขตพื้นที่ (กว้าง-ยาว) และทำแผนที่ของดินแปลงที่ปลูก

4.    คำนวณจำนวนต้นส้มและเลือกระยะปลูก ตามความต้องการ โดยยึดหลักดังนี้

4.1 ควรวาง แถวของต้น อยู่ในแนวทิศเหนือ-ใต้
4.2 มาตรฐานของการปลูก ระยะต้น*ระยะแถว คือ พื้นราบ 5.5*5.5 6*6 ร่องน้ำ 5*8 6*9 เมตร
4.3 คำนวณจำนวนกิ่งพันธุ์หรือต้นพันธุ์ที่ต้องการใช้ในการปลูก (ควร + เพิ่ม 2%)
4.4 กำหนดจำนวนแถว วางแนวและตำแหน่งของต้นที่จะปลูกในพื้นที่จริง
5.    ไถพรวนดิน ยกแนวปลูกให้เป็นร่องลูกฟูกหรือฟันดินพูนเป็นโขด (กระทะคว่ำ)ร่องลูกฟูกหรือโขดควรสูงจากพื้นดินเดิมอย่างน้อยประมาณ 50-75 ซม.
6.    ย่อยดินตรงบริเวณที่จะปลูกให้ละเอียดเหมาะสมต่อการปลูกพืช
7.    ปรับปรุงสภาพดินของแนวรองปลูกหรือบริเวณโขดที่จะปลูกด้วยปุ๋ยหมักหรือปุ๋ยคอกเก่า
8.    ปักไม้รวก (ยาวประมาณ 50-60 ซม.) ตรงบริเวณจุดกำหนดหรือโขดที่จะปลูก ให้แต่ละจุดที่จะปลูกต้นในแต่ละแถวปลูก อยู่ในแนวที่ตรงกัน
9.    หากดินที่จะปลูกต้นส้มเป็นดินร่วนปนทราย ควรจัดเตรียมเศษพืชหรือฟางเพื่อการคลุมดิน รักษาความชื้น
10. เก็บตัวอย่างดินบริเวณที่จะปลูก ส่งหน่วยงานเพื่อวิเคราะห์ความเป็นกรดเป็นด่าง โครงสร้างของดิน ปริมาณอินทรีย์วัตถุและธาตุอาหารที่จำเป็น


หากเลือกใช้ต้นพันธุ์เป็นกิ่งตอน ควรพิจารณาดังนี้
1.1     เป็นกิ่งตอนจากแหล่งหรือผู้ขายที่เชื่อถือได้
1.2     ต้นแม่ต้องแข็งแรง ไม่เป็นโรคกรีนนิ่งและโรคทริสเตซ่า หรือโรคไวรัสอื่นๆ และมี ลักษณะที่ดีตรงตามสายพันธุ์
1.3     ต้นแม่ควรมีอายุมากกว่า 8-9 ปีขึ้นไป
1.4     กิ่งตอนควรเป็นกิ่งที่ตั้งหรือตั้งตรงทีมีอายุ 1-1.5 ปี กิ่งแข็งแรง กลม -ไม่มีหนาม สี เขียวอมน้ำตาลหรือสีน้ำตาลอมเขียว มีรากออกโดยรอบขวั้น
1.5     ความสูงของกิ่งตอน 45-55 ซม. (ไม่ควรเกิน 60 ซม.)
1.6     กิ่งตอนไม่ควรเพาะชำอยู่ในถุงนานเกิน 6 เดือน

หากเลือกใช้ต้นพันธุ์เป็นต้นตอที่ติดตาหรือเสียบยอด ควรเลือกที่มีลักษณะดังนี้
 2.1     ต้นพันธุ์ได้จากแหล่งหรือผู้เชื่อถือได้หรือได้ผ่านรับรอง การปลอดโรค
2.2     ต้นพันธุ์แข็งแรงไม่เป็นโรคกรีนนิ่งและทริสเตซ่าหรือโรคไวรัส อื่นๆ และมีลักษณะที่ดีตรงตามสายพันธุ์
2.3     ต้นพันธุ์ไม่ควรปลูกอยู่ในถุงเพาะชำ ภายหลังการติดตาหรือเสียบยอดเกินกว่า 1 ปี
2.4     เลือกใช้ชนิดของต้นตอให้เหมาะสมกับพันธุ์และสภาพของดินที่ปลูก
2.5     พื้นที่ที่จะปลูกต้นปลอดโรค ควรหากไกลจากแหล่งปลูกเดิม
2.6     ต้องระมัดระวังการติดโรคภายหลังจากการปลูก

ระยะเวลาปลูกและวิธีการปลูกที่เหมาะสม
3.1     สามารถเลือกเวลาปลูกเมื่อใดก็ได้ ถ้าแปลงปลูกมีการติดตั้งระบบน้ำชลประทาน
3.2     ควรปลูกในเดือนกรกฎาคม ถึง เดือนตุลาคม หากอาศัยน้ำฝนโดยไม่มีแหล่งน้ำ
3.3     กิ่งหรือต้นพันธุ์ที่จะนำลงปลูกควรเป็นระยะใบแก่ (ไม่ควรมีใบอ่อน) หากเป็นกิ่งตอนควร ให้ปลายรากมีสีเหลืองหรือสีนวล
3.4     ต้นพันธุ์ติดตาหรือเสียบยอด ควรปลูกโดยการจัดระบบราก
3.5     ต้นพันธุ์ที่มีรากขดงอโดยเฉพาะรากใหญ่ หากไม่สามารถจัดระบบรากได้ ไม่ควรนำลงปลูก
3.6     อย่าปลูกต้นพันธุ์ลึก ควรปลูกและกลบหน้าดินให้เสมอขั้วบนของกิ่งตอน หรือเสมอระดับ หน้าดินเดิมของถุงเพาะชำ
3.7     ควรปลูกโดยจัดให้ลําต้นหลักของต้นพันธุ์ตั้งตรงระวังอย่าให้ต้นส้มโยกคลอน ปักหลักไม้รวกและผูกยึดต้นให้แน่น
3.8     ควรหาฟางข้าวหรือเศษพืชคลุมดินบริเวณโขดที่ปลูก โดยเฉพาะในดินร่วนหรือดินปนทราย

การดูแลและการทำงาน (หลังปลูก -ต้นอายุ 1 ปี)
4.1     ผูกยึดต้นให้แน่นกับหลักไม่รวกที่ปักไว้เพื่อป้องกันไม่ให้ต้นโยกคลอน
4.2     ต้องให้น้ำแก่ต้นที่ปลูกใหม่อย่างสม่ำเสมอและเพียงพอ ระวังอย่าให้ต้นขาดน้ำ
4.3     ให้ปุ๋ยทางดินแก่ต้น ใช้ปุ๋ยอินทรีย์เกรด AAA “ยักษ์เขียว”สูตรเข้มข้นพิเศษ(แถบทอง) อัตรา 0.5 กิโลกรัมต่อต้น  สลับกับปุ๋ยเคมีสูตร 46-0-0 หรือ 25-7-7 ปริมาณ ต้นละ 2-3 กำมือต่อครั้งต่อต้น โดยใส่สลับกันเที่ยวเว้นเที่ยว ทุก ๆ  30-40 วัน/ครั้ง ตั้งแต่ปลูก - 12 เดือนหลังปลูก
4.4     ทางใบ ควรให้ปุ๋ยไบโอเฟอร์ทิล(สูตรบำรุงต้น ไล่แมลง)อัตรา 30 ซีซี ร่วมกับ ธาตุอาหารเสริมรวม “คีเลท” อัตรา 5-10  กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร พ่นทางใบแก่ต้นส้มโอ เดือนละ 1-2 ครั้ง 
4.5     ระวังการทำลายของเพลี้ยไฟ เพลี้ยไก่แจ้และหนอนชอนใบในระยะยอดและใบอ่อน หากพบการระบาดให้ใช้ ชีวภัณฑ์กำจัดแมลงศัตรูพืช เมทา-แม็ก ฉีดพ่น อัตรา 50 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร 2 ครั้ง ห่างกัน 7-10 วัน  หรือหากต้องการใช้สารเคมี ให้ใช้ สารจำพวก อิมิดาโคลพริด,ไซเปอร์เมธริน,ฟิโปรนิล,คาร์โบซัลแฟน,อะบาเม็คติน,ฯลฯ โดยใช้เดี่ยวหรือผสมกัน ให้เลือกสลับการใช้อย่าให้ซ้ำกัน เพื่อป้องกันแมลงศัตรูพืชดื้อยา
4.6     ตั้งแต่ต้นอายุ 10-12 เดือนขึ้นไป ควรตัดแต่งกิ่งกระโดง กิ่งแห้งและกิ่งเป็นโรค
4.7     ห้ามฉีดพ่นสารป้องกันกำจัดวัชพืชใกล้บริเวณโคนต้นหรือทรงพุ่ม
4.8     ระวังการทำลายของโรคแคงเคอร์หรือโรคใบจุดที่ใบอ่อนในฤดูฝน
4.9     หากดินเป็นกรด หรือแน่นแข็ง ควรใช้สารปรับสภาพดิน “ไดนาไมท์” อัตรา 500 ซีซี/ไร่ ผสมไปกับระบบการจ่ายน้ำ(สปริงเกอร์) หรือผสมน้ำฉีดพ่นผิวดินรอบทรงพุ่มแล้วรดน้ำตามทันที(กรณีร่องสวน)
4.10   ปลูกซ่อมแซมต้นที่ตายหรือไม่แข็งแรง โดยใช้พันธุ์ที่สมบูรณ์แข็งแรง
4.11   หากแปลงปลูกอยู่ในสภาพที่โล่ง ใกล้นาข้าว ที่รกร้าง ให้วางแผนการปลูกพืชล้อมที่หรือพืชกำบังลมตามคันล้อมแนวเขตที่ดิน(กล้วย,มะพร้าว,มะม่วง,ฯลฯ)ก่อนการลงต้น และควรปักไม้ค้ำต้นเพื่อป้องกันต้นโดนลมโยก(รากขาด)
4.12   หากต้องการปลูกต้นไม้อื่นเป็นพืชเสริมรายได้ ให้เลือกชนิดที่เหมาะสมกับส้มโอที่ปลูก พืชที่เลือก ควรมีอายุการเก็บเกี่ยวไม่เกิน 3 ปี(กิ่งต้นส้มโอจะแผ่ชนกัน) เช่น มะละกอ,ฝรั่ง,ฯลฯ

การดูแลและการทำงาน (ต้นอายุ 1-3 ปี)
5.1     ให้เริ่มสร้างทรงพุ่ม โดยมีลำต้นหลักเพียงลำต้นเดียวและมีกิ่งใหญ่ 4-7 กิ่ง
5.2     ควบคุมให้แตกยอดอ่อนเป็นรุ่นหรือเป็นชุดพร้อม ๆ กันตั้งแต่ต้นส้มอายุ 1 1/2  ปี (งดน้ำ,ขึ้นน้ำ)
5.3     บังคับการแตกยอดอ่อนให้มีการแตกตาข้างมากกว่าการแตกตายอด (โดยการตัดแต่ง)
5.4     การแตกยอดสามารถบังคับให้เกิดได้ ทุก ๆ 50-55 วันโดยอาศัยวิธีการให้น้ำเป็นระยะ ๆ และฉีดพ่นไบโอเฟอร์ทิล(สูตรบำรุงต้น ไล่แมลง)+ ธาตุอาหารรองและเสริม รวม “คีเลท”ตามที่แนะนำทุก ๆ 15-30 วัน
5.5     ขนาดของใบควรได้มาตรฐาน ใบหนา สีเขียวเข้ม ไม่แสดงอาการขาดธาตุอาหารหลัก หรืออาหารรอง
5.6     การให้ปุ๋ยทางดินควรเริ่มปรับเป็นการให้ 30-40 วัน/ครั้ง โดยใส่สลับกันเที่ยวเว้นเที่ยวระหว่างปุ๋ยเคมี และ ปุ๋ยอินทรีย์ “ยักษ์เขียว”สูตรเข้มข้นพิเศษ(แถบทอง)อัตรา 0.5-1 กิโลกรัมต่อต้น สลับกับการให้ปุ๋ยเคมีควรใช้สูตร 25-7-7 หรือ15-15-15 โดยให้ในปริมาณ 2-5 กำมือ ตามขนาดทรงพุ่ม
5.7     เริ่ม ไว้ผลเมื่อต้นอายุประมาณ 30-36 เดือน (ยกเว้นพันธ์ทองดีให้เริ่มที่อายุประมาณ 6 ปี) โดย "เว้นน้ำ" หรือ "กักน้ำ" ในช่วงฤดูหนาวประมาณปลายเดือนพฤศจิกายน เมื่อติดผลครั้งแรก ควรปลิดผลทิ้งกะประมาณให้เหลือไว้ถึงตอนเก็บผลแค่ 5-10  ผล/ต้น ครั้งต่อไป เพิ่มขึ้นตามลำดับเพื่อไม่ให้ต้นโทรมเร็ว
5.8     ในการบังคับการแตกยอดอ่อนพร้อมดอกรุ่นแรก ใช้วิธีการกักน้ำให้ต้นมีสภาพขาดน้ำในช่วงระยะเวลาสั้น ๆ(ประมาณ 7-20 วัน แล้วแต่สภาพดินเหนียวหรือดินทราย,อายุและขนาดของต้นส้มโอ)  จากนั้นจึง "ขึ้นน้ำ" โดยการค่อย ๆ เพิ่มการรดน้ำจนสู่ระดับปกติ  และรดน้ำอย่างเพียงพอเพื่อให้ต้นส้มผลิยอดอ่อนชุดใหม่
5.9     การบังคับการแตกยอดอ่อน(ใบหรือดอก)นั้น  แนะนำให้ฉีดพ่นไบโอเฟอร์ทิล(สูตรบำรุงต้น ไล่แมลง)ร่วมด้วยทุกครั้ง  เพื่อให้ใบหรือดอกที่ได้มีคุณภาพ และลดปัญหาเรื่องแมลงศัตรูพืช
5.10   ความสูงของต้นที่เริ่มการบังคับให้ออกดอกและติดผล คือ 2-2.5 เมตร หรือเริ่มเก็บผลได้เมื่อต้นมีทรงพุ่มประมาณ 2-2.5 เมตร

การดูแลการทำงานส้มโอที่เริ่มให้ผลผลิตแล้ว (พันธ์ส้มโอตระกูลขาวน้ำผึ้ง,ขาวหอม,ขาวใหญ่ ต้นอายุ 3-3 ½  ปีขึ้นไปหรือ พันธ์ทองดี ต้นอายุ 6 ปีขึ้นไป)
6.1     การตัดแต่งกิ่งให้ตัดแต่งกิ่งกระโดงที่ยาวและมีหนาม กิ่งแห้ง กิ่งบิดไขว้ กิ่งเป็นโรคหรือถูกแมลงทำลาย ควรเริ่มตัดแต่งได้เมื่อหมดฤดูฝนหรือหลังเก็บเกี่ยวส้มโอรุ่นในฤดู ช่วงเดือนตุลาคม
6.2     หากต้นส้มแสดงอาการขาดธาตุอาหารรอง โดยเฉพาะธาตุแมกนีเซียมและธาตุสังกะสี(ยอดจะตื้อ,ใบจะมีแถบด่างเหลือง) ให้รีบแก้ไขโดยใช้ธาตุอาหารรองและเสริม รวม “คีเลท” อัตรา 50 กรัม/ถัง(น้ำ 200 ลิตร) ฉีดพ่นทางใบ 1-2 ครั้ง หรือฉีดในช่วงแตกใบอ่อนทุกครั้ง
6.3     ก่อนการบังคับการออกดอก (ก่อนการเว้นให้น้ำหรือการกักน้ำประมาณ ½-1 เดือน) ให้ฉีดพ่นปุ๋ยทางใบสูตร 0-52-34 อัตรา 30-50 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร ทุก ๆ 7 วันประมาณ 2-3 ครั้ง
6.4     บังคับให้ต้นแตกยอดอ่อน(ดอก)เป็นชุดพร้อม ๆกัน โดยการไม่ให้น้ำแก่ต้น "เว้นน้ำ" หรือ "กักน้ำ" ในช่วงเดือน พฤศจิกายน หรือเดือนธันวาคม(ส่วนใหญ่จะเว้นน้ำประมาณ 2-3 อาทิตย์ ขึ้นอยู่กับขนาดและความสมบูรณ์ของต้น) จากนั้นจึง "ขึ้นน้ำ" โดย การเริ่มค่อย ๆ รดน้ำให้แก่ต้นส้มโอ จนถึงเกณฑ์ปกติ(ประมาณ 3-4 วัน) และฉีดพ่นด้วยไบโอเฟอร์ทิล(สูตรบำรุงต้น ไล่แมลง) ทุกๆ 7-10 วัน ประมาณ 4 ครั้ง เพื่อกระตุ้นการติดช่อดอก ทำให้ดอกติดมากและขั้วเหนียว
6.5     การให้ปุ๋ยทางดินแก่ต้น ควรพิจารณาความสมบูรณ์ของต้น ขนาดของใบ และผลของการวิเคราะห์ดินเป็นสำคัญ ในสภาพทั่ว ๆ ไป สำหรับพื้นดินที่มีไนโตรเจนไม่สูง สังเกตจากส้มโอที่เก็บเกี่ยวได้จะมีเปลือกบาง ผิวเนียน มัน ผิวไม่เห่อ เช่น ในเขตปทุมธานี,นครปฐม หรือนครนายกบางส่วน ฯลฯ เมื่อติดผลช่วงแรก(ลูกเล็ก)ประมาณเดือนกุมภาพันธ์ ถึงเมษายน ใส่ปุ๋ยอินทรีย์ “ยักษ์เขียว”สูตรเข้มข้นพิเศษ(แถบทอง) อัตรา 1-1.5 กิโลกรัมต่อต้น  ทุก ๆ 30 วัน (ประมาณ 3 ครั้ง)สลับปุ๋ยเคมีสูตร 25-7-7 อัตรา 1 กิโลกรัมต่อต้น( 1 ครั้ง) หลังจากนั้นให้ใช้ปุ๋ยเคมีสูตรที่เน้นตัวหน้าและหลัง เช่น 24-4-24 หรือ 13-13-21 สลับกับ ปุ๋ยอินทรีย์ “ยักษ์เขียว”สูตรเข้มข้นพิเศษ(แถบทอง)อัตรา 1-1.5 กิโลกรัมต่อต้น  ทุก ๆ 30-45 วัน (ประมาณ 2-3 ครั้ง)
6.6     สำหรับในพื้นที่ดินที่มีไนโตรเจนสูง สังเกตได้ว่าต้นจะมีการเจริญเติบโตทางใบสูง ใบใหญ่ ผิวส้มโอจะหนา เช่นในเขตเชียงราย พิจิตร ราชบุรี ปราจีนบุรีฯลฯ ช่วงติดผลให้เปลี่ยนจากการเน้นปุ๋ยไนโตรเจน โดยใส่ปุ๋ยเคมีสูตรอื่นแทน ได้แก่ 15-15-15 หรือ 13-13-21 หรือ 0-0-50 แทน
6.7     ช่วงติดผลแล้ว การให้ปุ๋ยทางใบ ให้ใช้ไบโอเฟอร์ทิล  สูตรเร่งขนาดผล ฉีดพ่นทุกๆ  10-14 วันจนถึงเก็บเกี่ยว เมื่อใช้เป็นประจำ ปัญหาการหลุดร่วงของผลเนื่องจากสภาวะอากาศหรือโรคจะลดลงมาก ผลส้มโอที่ได้จะมีขนาดใหญ่สม่ำเสมอ(เป็นเบอร์เดียว) และผิวจะเนียนสวยกว่าแปลงที่ใช้ยาฆ่าแมลงควบคุมเพียงอย่างเดียว
6.8  ในช่วงติดผล หากมีการเตรียมต้นไม่ดี(ปุ๋ยไม่พอ) หรือ สภาพอากาศแปรปรวน ส้มโอจะมีปัญหาลูกเบาและผลร่วงมาก แนะนำให้ฉีดพ่นเสริมด้วย คีเลท อัตรา 10 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร ทุก ๆ 15-20 วัน
6.9     ในแปลงที่มีการระบาดของแมลงศัตรูพืชมาก  แนะนำให้ใช้ไบโอเฟอร์ทิล(สูตรบำรุงต้น ไล่แมลง)ร่วมกับชีวภัณฑ์กำจัดแมลง เมทา-แม็ก  หรือสารเคมีควบคุมแมลง โดยอาจฉีดพ่นร่วมกันหรือสลับกัน จะช่วยป้องกันแมลงศัตรูพืชเข้าทำลายและสามารถยืดอายุการใช้สารเคมี ทำให้ลดต้นทุนการใช้สารเคมีลงกว่า 50 %
6.10     ในกรณีติดผลดกและต้นแสดงอาการขาดธาตุอาหารรองและเสริม ให้เสริมด้วยธาตุอาหารรองและเสริม “คีเลท” เดือนละ 1-2 ครั้ง

ให้ปุ๋ยหรือธาตุอาหารแก่ต้นส้มโอและผล ในทุกระยะตั้งแต่เริ่มผลิยอดถึงก่อนการเก็บเกี่ยว ดังนี้
7.1     หลังเก็บเกี่ยวและตัดแต่งกิ่ง เมื่อเริ่มผลิยอดอ่อน
ทางดิน (ครั้งแรก)ใส่ปุ๋ยอินทรีย์ ตรา“ยักษ์เขียว”สูตรเข้มข้นพิเศษ(แถบทอง) อัตรา 1-1.5 กิโลกรัมต่อต้น (ครั้งที่ 2) ใส่ปุ๋ยเคมีสูตร 25-7-7 อัตรา 0.5 กิโลกรัมต่อต้น
ทางใบ  ไบโอเฟอร์ทิล  สูตรบำรุงต้น ไล่แมลง อัตรา 30-50 ซีซี/น้ำ 20 ลิตร + ธาตุอาหารรองและเสริม รวม “คีเลท” อัตรา 5-10  กรัมทุกๆ 10-14 วัน ประมาณ 4-5 ครั้ง
7.2     ก่อนเว้นน้ำ 15-30 วัน
       ทางใบ ปุ๋ยสูตร 0-52-34 อัตรา 30-50 กรัม/น้ำ 20 ลิตรทุกๆ 7 วันประมาณ 2 ครั้ง เพื่อเร่งให้ใบแก่ และอั้นใบ
7.3     กระตุ้นดอกเมื่อเริ่มขึ้นน้ำได้ 3-4 วัน
       ทางใบ  ไบโอเฟอร์ทิล  สูตรบำรุงต้น ไล่แมลง อัตรา 30-50 ซีซี/น้ำ 20 ลิตร + ธาตุอาหารรองและเสริม รวม “คีเลท” อัตรา 5-10  กรัม ทุกๆ 5-7 วัน ประมาณ 5 ครั้ง
7.4     ติดผลอายุ 1-4 เดือน
       ทางดิน  (ครั้งแรก) ใส่ปุ๋ยอินทรีย์ ตรา“ยักษ์เขียว”สูตรเข้มข้นพิเศษ(แถบทอง) อัตรา 1-1.5 กิโลกรัมต่อต้น  (ห่างกัน 30 วัน ใส่ครั้งที่ 2)ใส่ปุ๋ยเคมีสูตร 25-7-7 หรือ 24-8-8 หรือ 15-15-15 อัตรา 1 กิโลกรัมต่อต้น (ห่างกัน 30 วัน ใส่ครั้งที่ 3) ใส่ปุ๋ยอินทรีย์ ตรา“ยักษ์เขียว”สูตรเข้มข้นพิเศษ(แถบทอง) อัตรา 1-1.5 กิโลกรัมต่อต้น
ทางใบ  ไบโอเฟอร์ทิล  สูตรเร่งขนาดผลสลับกับสูตรไล่แมลง อัตรา 50 ซีซี/น้ำ 20 ลิตร ทุกๆ 10-14 วัน)
7.5     ผลอายุ 4-8 เดือน
ทางดิน (ห่างกัน 30 วัน ใส่ครั้งที่ 4) ใส่ปุ๋ยอินทรีย์ ตรา“ยักษ์เขียว”สูตรเข้มข้นพิเศษ(แถบทอง) อัตรา 1-1.5 กิโลกรัมต่อต้น (ห่างกันอีก 30 วัน ใส่ครั้งที่ 5) ใส่ปุ๋ยเคมีสูตร 13-13-21หรือ 24-4-24  อัตรา 1 กิโลกรัม/ต้น

ทางใบ  ไบโอเฟอร์ทิล  สูตรเร่งขนาดผลสลับกับสูตรไล่แมลง อัตรา 50 ซีซี ทุกๆ 10-14 วัน + ธาตุอาหารรองและเสริม รวม “คีเลท” อัตรา 5 กรัม + แคลแม็ก (แคลเซียมโบรอน) อัตรา 20 ซีซี ผสมน้ำ 20 ลิตร ฉีดพ่นเพื่อป้องกันผลแตก

* ในพื้นที่ดินที่มีไนโตรเจนสูง ให้คำนึงถึงการให้ปุ๋ยตัวหน้าอย่างระมัดระวัง (ไนโตรเจนสูง สังเกตได้จาก ต้นมีการเจริญเติบโตทางใบมาก หรือเปลือกส้มโอหนา แม้ไม่ได้ใส่ปุ๋ยตัวหน้า) โดยให้ลดการใช้ปุ๋ยเคมีตัวหน้าลง โดยให้ใช้ปุ๋ยเคมีสูตรที่ตัวหน้าต่ำลงจากที่แนะนำ ประมาณ 50 % เพื่อลดการเห่อของผิวส้มโอและความหนาของเปลือก ซึ่งจะทำให้ผลผลิตเป็นที่ต้องการของตลาดมากขึ้น*

หมายเหตุ
              การใส่ปุ๋ยเคมีและ ยักษ์เขียว สามารถผสมร่วมกันแล้วนำไปใส่เพื่อความสะดวกได้ ในสัดส่วน ยักษ์เขียว 2 ส่วน : ปุ๋ยเคมี 1 ส่วน  ใส่ตามช่วงที่แนะนำในอัตราครั้งละ 1-1.5 กิโลกรัมต่อต้น(มากน้อยตามขนาดทรงพุ่มและปริมาณผลผลิตบนต้น)


การป้องกันกำจัดโรคและแมลงศัตรูพืช
มีช่วงที่สำคัญควรดูแลเฝ้าระวังเป็นพิเศษในแต่ละช่วงดังนี้

              1. ช่วงแตกใบอ่อน(ช่วงบำรุงต้นทำใช),แทงช่อดอก(ช่วงกระตุ้นดอก ให้ระวัง เพลี้ยไฟ,ไรแดง เข้าทำลายเมื่อเริ่มแทงยอด สังเกตโดยเอากระดาษขาวมารองและเคาะที่ช่อใบ หากพบตั้งแต่ 2 ตัวต่อช่อ ให้ใช้ ชีวภัณฑ์กำจัดแมลงศัตรูพืช(ปลอดสารพิษ) เมทา-แม็ก อัตรา 50-100 กรัม ฉีดพ่น ทุก ๆ 5 วัน หรือใช้สารเคมี จำพวก อิมิดาโคลพริด,ฟิโปรนิล,ไซเปอร์เมธริน,ฯลฯ

              2. ช่วงแตกใบอ่อน(ตลอดทั้งปี)ระมัดระวังหนอนประกบใบ,หนอนกัดกินใบต่าง ๆ ซึ่งจะสังเกตเห็นไข่ได้ตั้งแต่ช่วงแตกใบอ่อน หากพบให้ใช้ชีวภัณฑ์กำจัดหนอน(ปลอดสารพิษ) บาร์ท๊อป อัตรา 50-100 กรัม(กำจัดหนอน,แมลง) + พี-แม็ก อัตรา 50 กรัม(กำจัดไข่แมลง) ฉีดพ่น ทุก ๆ 5 วัน หรือใช้สารเคมี จำพวก อิมิดาโคลพริด,คาร์โบซัลแฟน,ไซเปอร์เมธริน,อะบาเม็คติน,ฯลฯ

              3. สำหรับส้มโอ(ส่งออก) ช่วงติดลูก ให้ระมัดระวังเพลี้ยไฟ,ไรแดง จะทำลายเปลือกส้มโอ ทำให้เป็นรอย,ด่างเป็นแนวหรือแถบ และหนอนเจาะผล,แมลงวันทอง  ให้หมั่นควบคุมด้วยสารกำจัดตามที่แนะนำในข้างต้น

              4. ช่วงฤดูฝน ระมัดระวังโรครากเน่า โคนเน่า  ป้องกันโดยก่อนปลูกควรทำโขดหรือโคก ยกพื้นดินขึ้นมาประมาณ 50 เซนติเมตรเพื่อให้ระบายน้ำได้สะดวก และให้ใช้ ชีวภัณฑ์ป้องกันกำจัดโรค ไตรโคแม็ก อัตรา 50 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร ฉีดพ่นผิวดินรอบทรงพุ่มและโคนต้น ปีละ 2 ครั้ง ในช่วงต้นฝนและปลายฝน

              5. หมั่นควบคุมและกำจัดแมลงพาหะเพลี้ยไก่แจ้ ไม่ให้มีการระบาด เพราะจะทำให้ ต้นส้มโอ เป็นโรคกรีนนิ่งได้

              6. การตัดแต่งกิ่งหลังการเก็บเกี่ยวและการดูแลควบคุมวัชพืช ที่ดี จะช่วยลดการระบาดของแมลงศัตรูพืชและโรคเชื้อรา ทำให้ต้นทุนลดลงได้ส่วนหนึ่ง

ข้อเปรียบเทียบหลังจากใช้ผลิตภัณฑ์ภควัตเพื่อนเกษตร ตามคำแนะนำเป็นประจำ
1.    ส้มโอจะบังคับดอกง่าย ขั้วดอก,ผล เหนียว ต้นไม่โทรมแม้แบกผลผลิตมาก อายุการให้ผลผลิตจะมากกว่าแปลงที่ไม่ได้ใช้อย่างเห็นได้ชัด เมื่อใช้ไบโอเฟอร์ทิล(สูตรไล่แมลง)เป็นประจำ (3-4 ครั้งขึ้นไป) จะสังเกตได้ว่าแมลงศัตรูพืชที่เข้ามารบกวนลดลงอย่างเห็นได้ชัด โดยเฉพาะจำพวกผีเสื้อกลางคืนซึ่งเป็นตัวแม่ของหนอนชนิดต่าง ๆ รวมถึงแมลงวันทอง และด้วงกัดกินใบ  ทำให้ประหยัดต้นทุนยากำจัดศัตรูพืช และลดความเสียหายได้ดีกว่า  (ในพื้นที่ที่มีการระบาดมาก หากใช้ไบโอเฟอร์ทิล ฉีดร่วมกับยากำจัดศัตรูพืช ก็จะทำให้สามารถคุมและป้องกันการเข้าทำลาย ได้นานขึ้น)

2.    ใบพืชเงาเป็นมัน อายุใบนานขึ้นทำให้ต้นไม่สูญเสียอาหารในการสร้างใบใหม่ (ไบโอเฟอร์ทิล เป็นสารธรรมชาติ ไม่กัดผิวใบทำให้ใบด้านเหมือนการใช้เคมีอย่างเดียว)

3.    ผิวส้มโอเนียนเป็นมันกว่าแปลงที่ไม่ได้ใช้  เป็นที่ต้องการของผู้ซื้อ

4.    เมื่อใช้ผลิตภัณฑ์ตามคำแนะนำ  เนื้อผลมีรสชาติหวานเข้มข้นดีกว่าแปลงที่ใช้เคมีอย่างเดียว

5.    สุขภาพผู้ปลูกดีขึ้น เนื่องจาก สัมผัสหรือจับต้องสารเคมีน้อยลง

6.    การใช้ ปุ๋ยอินทรีย์ “ยักษ์เขียว”  ร่วมด้วยเป็นประจำ  จะทำให้ต้นทุนปุ๋ยและสารทางดินต่อชุดการผลิต ลดลงได้ประมาณ 30-50 % โดยที่ผลผลิตที่ได้ยังเป็นปกติหรือดีกว่าเดิม และสังเกตได้ว่าสารอินทรีย์ในเนื้อปุ๋ยทำให้สภาพดินดีขึ้น  ดินโปร่ง อุ้มน้ำได้ดี  ต้นทนแล้งได้ดีขึ้น  และพืชตอบสนองต่อการให้ปุ๋ยทางดินดีกว่าเดิม ในระยะยาวปัญหาเรื่องโรคทางดินน้อยกว่าแปลงข้างเคียงที่ไม่ได้ใช้ ผลในทางอ้อม  เนื่องจาก ยักษ์เขียว เป็นสารอินทรีย์แท้ จึงกระตุ้นจุลินทรีย์ที่เป็นประโยชน์ให้ย่อยปุ๋ย(เคมี)ที่ตกค้างในดินทำให้รากพืชสามารถดูดซึมกลับไปใช้ได้ ธาตุอาหารในดินจะสมดุลมากกว่า

7.  ปัญหาการดื้อยาของแมลงศัตรูพืชจะหมดไป เมื่อใช้ เมทา-แม็ก และ พี-แม็ก ฉีดพ่นเพื่อตัดวงจรเจริญพันธุ์ของแมลงศัตรูพืชเป็นประจำ

ทราบหรือไม่ว่า ส้มโอสามารถช่วยล้างสารพิษในร่างกายได้ด้วย การล้างสารพิษด้วยส้มโอนั้นเป็นวิธีตามธรรมชาติที่ใคร ๆ อาจจะไม่ค่อยคุ้นเคยกันสักเท่าไร วันนี้เราจึงมาพูดถึงเรื่องการล้างสารพิษด้วยส้มโอกัน เพราะร่างกายเราต้องเจอกับสารพิษเป็นประจำไม่ว่าจะกินหมู กินผัก ก็ต้องเจอกับสารพิษ เรามาดูกันเลยดีกว่าว่าส้มโอสามารถล้างสารพิษได้อย่างไร

ส้มโอ
ส้ม โอเป็นผลไม้ในตระกูลเดียวกันกับพวกส้ม ส้มโอมีวิตามินและเกลือแร่มากมายเช่น วิตามินซี ฟอสฟอรัส แคลเซียม กรดอินทรีย์ โมโนเทอร์ปีน และในส้มโอมีสารที่ช่วยต้านมะเร็งได้ด้วย
ประโยชน์ของส้มโอ : สรรพคุณของส้มโอ

ล้างสารพิษด้วยส้มโอ
วิธีทำ ให้ทานส้มโอแทนข้าวเย็นประมาณ 7 วัน ขอเน้นว่าทานแทนข้าวเย็นนะ ส้มโอจะช่วยล้างสารพิษในร่างกายได้

ส้มโอสามารถช่วยแก้อาการท้องอืดท้องเฟ้อ แน่นหน้าอก
วิธีทำ ให้ทานส้มโอจิ้มกับยาหอม อาจจะทานยากนิดนึ่งแต่การทานส้มโอแบบนี้จะช่วยลดอาการท้องอืดท้องเฟ้อ แน่นหน้าอกได้

เปลือกส้มโอแก้โรคผิวหนัง
คุณ เคยเป็นโรคผิวหนังใหม โรคผิวหนังแก้ไม่ยาก แค่เอาเปลือกส้มโอหั่นเป็นชิ้นเล็กๆ ต้มกันน้ำจนมันงวด แล้วเอาน้ำที่ได้มาทาตรงที่เป็นโรคผิวหนัง แค่นี้อาการก็จะดีขึ้น แต่ถ้าเพื่อนๆ รู้สึกว่าหายช้าไปก็ต้มน้ำกับเปลือกส้มโอกินด้วยก็ได้

- ประโยชน์ของผักผลไม้มีมากมาย

Share this video :

บทความที่ได้รับความนิยม

 
Support : |
Copyright © 2011-2012 อาชีพพารวย - All Rights Reserved
เข้าสู่ปีที่ 2 อาชีพพารวย เพื่อนคู่คิดนักเกษตร พ.ศ. 2555
เว็บไซต์เพื่อนเกษตร