ดอกรัก (ชื่อวิทยาศาสตร์: Calotropis gigantea (Linn.) R.Br.ex Ait.) เป็นไม้พุ่มขนาดเล็กในวงศ์ Apocynaceae วงศ์ย่อย Asclepiadoideae
ลำต้นสูง 1.5–3 เมตร ดอกมีสีขาวหรือม่วง มีรยางค์เป็นคล้ายมงกุฎรักเป็นพืชพื้นเมืองของอินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ ไทย ศรีลังกา
อินเดีย และจีน ดอกของพืชชนิดนี้เรียกว่า ดอกรัก
สรรพคุณ
ดอก รักษาอาการไอ หอบหืด และหวัด ช่วยให้เจริญอาหารเปลือกและราก ใช้รักษาโรคบิด ขับเหงื่อ ขับเสมหะ ขับน้ำเหลืองเสีย และทำให้อาเจียน ยางถ้าถูกผิวหนังจะทำให้เกิดอาการระคายเคือง แต่ก็มีฤทธิ์เป็นยาถ่าย สามารถอาการปวดฟัน ปวดหู ขับพยาธิ รักษากลากเกลื้อน และใช้เป็นยาขับเลือด
ลักษณะทางพฤษศาสตร์
สูง 1.5–3 เมตร ทุกส่วนมียางขาวเหมือนน้ำนม ตามกิ่งมีขน
ใบเป็นใบเดี่ยวออกตรงกันข้าม รูปรีแกมขอบขนาน ปลายแหลมโคนเว้า
กว้าง 6–8 เซนติเมตร ยาว 10–14 เซนติเมตร เนื้อใบหนา ใต้ใบมีขนนุ่ม ก้านสั้น
ดอกสีขาวหรือสีม่วง ออกเป็นช่อตามซอกใบหรือปลายกิ่ง กลีบเลี้ยง 5 กลีบ
โคนเชื่อมติดกัน เมื่อบานเส้นผ่าศูนย์กลาง 2–3 เซนติเมตร
มีรยางค์เป็นคล้ายมงกุฎ 5 สัน มีเกสรตัวผู้ 5 อัน ผลเป็นฝักคู่ กว้าง 3–4 เซนติเมตร ยาว 6–8 เซนติเมตร
เมื่อแก่แตกได้เมล็ดแบนสีน้ำตาลจำนวนมาก มีขนสีขาวเป็นกระจุกอยู่ที่ปลายด้านหนึ่งอยู่ตรงกลาง
ส่วนนี้เองที่นำมาใช้ร้อยมาลัย ผลรักเป็นฝักรูปรีปลายแหลมยาว 5-7 ซม.
เมื่อแก่จะแตกและปล่อยเมล็ดเล็กๆ ที่มีขนเป็นพู่ ปลิวไปตามลม
“ดอกรัก” หรือในบางท้องถิ่นเรียกปอเถื่อน , ปั๋นเถื่อน ที่มักพบตามที่ว่างริมทางหรือหัวไร่ปลายนาที่มีแดดจัด พบทั้งดอกสีขาวและสีม่วง โดยการใช้ประโยชน์จากดอกรักนั้น มีความผูกพันกับขนบธรรมเนียมประเพณีของไทยมานานเช่นเดียวกับชื่อที่เป็นไม้ นามมงคลมีความหมายถึงความรัก ดังจะพบว่าดอกรักจะถูกนำมาใช้ในงานมงคลต่าง ๆ เช่น มาร้อยทำอุบะมาลัย หรือ ร้อยมาลัยทำเครื่องมงคลถวายพระ หรือสักการะสิ่งศักดิ์สิทธิ์ในพิธีสำคัญ แม้กระทั่งใบต้นรักเองยังถูกมารองในขันสินสอด และขันเงินในพิธีแต่งงาน
อย่างการปลูกต้นรักเพื่อเก็บดอกรักจำหน่ายเป็นการค้านั้น หลายท่านอาจจะเข้าใจว่า “ดอกรัก” ที่นำมาร้อยมาลัยนั้นเป็นสายพันธุ์ที่เราเห็นขึ้นตามริมถนน ซึ่งชาวบ้านเรียกกันว่า “รักแก้ว” ดอกจะมีลักษณะอ้วน ป้อม ดอกเล็ก และมีน้ำหนักน้อย ไม่เป็นที่นิยมของตลาดร้อยมาลัย เช่นเดียวกับดอกรักสีม่วง แต่ตลาดจะมีความนิยมใช้ดอกรักสีขาวพันธุ์ “จิ้งจก” ซึ่งลักษณะของดอกตูมจะดูคล้ายกับปากจิ้งจก ดอกจะมีสีขาวใส มันวาว ทรงดอกยาวใหญ่ และมีน้ำหนักคล้ายกับดอกรักที่ทำมาจากพลาสติก เกษตรกรเก็บดอกรักจำหน่ายในราคากิโลกรัมละ 10-300 บาท ซึ่งราคาจะแพงในช่วงเทศกาลสำคัญ เช่น วันพ่อ วันแม่ วันเข้าพรรษา วันมาฆบูชา แล้วราคาจะสูงมากในช่วงฤดูหนาวราวเดือนตุลาคม – มกราคมของทุกปี ดอกรักจะมีราคาสูงมาก เพราะเป็นช่วงต้นรักจะให้ดอกน้อย การขยายพันธุ์ต้นรักที่นิยม คือ การปักชำด้วยกิ่ง โดยตัดกิ่งต้นรักให้มีความยาวราว 30-40 เซนติเมตร ขุดหลุมปลูกกว้าง ยาวและลึก 30 เซนติเมตร จากนั้นวางท่อนพันธุ์ให้เฉียง 45 องศา ราว 3-5 กิ่ง โดยจะปลูกระยะ 3×3 เมตร ควรปลูกในช่วงฤดูฝนราว 2-3 เดือน ต้นรักก็จะสามารถเก็บดอกจำหน่ายได้ เกษตรกรที่มีความชำนาญในช่วงเช้าในแต่ละวันจะสามารถเก็บดอกรักได้ราว 3-5 กิโลกรัม
การเก็บดอกรัก ควรระวังยาง เนื่องจากยางของต้นรักเป็นเอนไซม์ประเภทหนึ่งจะค่อนข้างเป็นอันตรายมีฤทธิ์ กัดกร่อน หากถูกผิวหนังหรือเข้าปากก็จะทำให้ระคายเคือง แสบคัน มีพิษต่อระบบทางเดินอาหาร ทำให้อาเจียนและถ่ายอย่างแรง หากถูกศีรษะก็จะทำให้ผมร่วงได้ หรือหากยางกระเด็นเข้าตา จะทำให้ตาพร่ามัวหรือตาบอดได้จึงต้องระวังอย่างยิ่ง หากโดนยางของต้นรักบริเวณผิวหนังต้องรีบล้างด้วยน้ำสะอาดโดยทันที หากยางเข้าตาหลังจากล้างน้ำแล้วให้รีบไปพบแพทย์ ในการป้องกันยางต้นรักสำหรับเกษตรกรนั้นจะต้องแต่งกายให้มิดชิด ใส่แว่นตา สวมหมวก ใส่ถุงมือ เช่น อาจจะใช้ถุงหิ้วพลาสติกแทนถุงมือ และอาจจะนำลูกโป่งมาใส่นิ้วมือแทนปลอกนิ้ว เป็นต้น เพื่อให้ปลอดภัยจากยางต้นรัก
ในทางประโยชน์ด้านสมุนไพรนั้น ตำรายาแผนโบราณจะใช้ ดอก แก้ไอ แก้หืด เปลือกต้น ทำให้อาเจียน เปลือกราก แก้บิด ขับเหงื่อ ขับเสมหะ ทำให้อาเจียน ยาง ยาถ่ายอย่างแรง แก้ปวดฟัน ปวดหู ขับพยาธิ แก้กลากเกลื้อน แต่อย่างไรก็ตามควรศึกษาวิธีการใช้จากผู้รู้ให้ดีเสียก่อน.
ทวีศักดิ์ ชัยเรืองยศ
ลำต้นสูง 1.5–3 เมตร ดอกมีสีขาวหรือม่วง มีรยางค์เป็นคล้ายมงกุฎรักเป็นพืชพื้นเมืองของอินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ ไทย ศรีลังกา
อินเดีย และจีน ดอกของพืชชนิดนี้เรียกว่า ดอกรัก
สรรพคุณ
ดอก รักษาอาการไอ หอบหืด และหวัด ช่วยให้เจริญอาหารเปลือกและราก ใช้รักษาโรคบิด ขับเหงื่อ ขับเสมหะ ขับน้ำเหลืองเสีย และทำให้อาเจียน ยางถ้าถูกผิวหนังจะทำให้เกิดอาการระคายเคือง แต่ก็มีฤทธิ์เป็นยาถ่าย สามารถอาการปวดฟัน ปวดหู ขับพยาธิ รักษากลากเกลื้อน และใช้เป็นยาขับเลือด
ลักษณะทางพฤษศาสตร์
สูง 1.5–3 เมตร ทุกส่วนมียางขาวเหมือนน้ำนม ตามกิ่งมีขน
ใบเป็นใบเดี่ยวออกตรงกันข้าม รูปรีแกมขอบขนาน ปลายแหลมโคนเว้า
กว้าง 6–8 เซนติเมตร ยาว 10–14 เซนติเมตร เนื้อใบหนา ใต้ใบมีขนนุ่ม ก้านสั้น
ดอกสีขาวหรือสีม่วง ออกเป็นช่อตามซอกใบหรือปลายกิ่ง กลีบเลี้ยง 5 กลีบ
โคนเชื่อมติดกัน เมื่อบานเส้นผ่าศูนย์กลาง 2–3 เซนติเมตร
มีรยางค์เป็นคล้ายมงกุฎ 5 สัน มีเกสรตัวผู้ 5 อัน ผลเป็นฝักคู่ กว้าง 3–4 เซนติเมตร ยาว 6–8 เซนติเมตร
เมื่อแก่แตกได้เมล็ดแบนสีน้ำตาลจำนวนมาก มีขนสีขาวเป็นกระจุกอยู่ที่ปลายด้านหนึ่งอยู่ตรงกลาง
ส่วนนี้เองที่นำมาใช้ร้อยมาลัย ผลรักเป็นฝักรูปรีปลายแหลมยาว 5-7 ซม.
เมื่อแก่จะแตกและปล่อยเมล็ดเล็กๆ ที่มีขนเป็นพู่ ปลิวไปตามลม
“ดอกรัก” หรือในบางท้องถิ่นเรียกปอเถื่อน , ปั๋นเถื่อน ที่มักพบตามที่ว่างริมทางหรือหัวไร่ปลายนาที่มีแดดจัด พบทั้งดอกสีขาวและสีม่วง โดยการใช้ประโยชน์จากดอกรักนั้น มีความผูกพันกับขนบธรรมเนียมประเพณีของไทยมานานเช่นเดียวกับชื่อที่เป็นไม้ นามมงคลมีความหมายถึงความรัก ดังจะพบว่าดอกรักจะถูกนำมาใช้ในงานมงคลต่าง ๆ เช่น มาร้อยทำอุบะมาลัย หรือ ร้อยมาลัยทำเครื่องมงคลถวายพระ หรือสักการะสิ่งศักดิ์สิทธิ์ในพิธีสำคัญ แม้กระทั่งใบต้นรักเองยังถูกมารองในขันสินสอด และขันเงินในพิธีแต่งงาน
อย่างการปลูกต้นรักเพื่อเก็บดอกรักจำหน่ายเป็นการค้านั้น หลายท่านอาจจะเข้าใจว่า “ดอกรัก” ที่นำมาร้อยมาลัยนั้นเป็นสายพันธุ์ที่เราเห็นขึ้นตามริมถนน ซึ่งชาวบ้านเรียกกันว่า “รักแก้ว” ดอกจะมีลักษณะอ้วน ป้อม ดอกเล็ก และมีน้ำหนักน้อย ไม่เป็นที่นิยมของตลาดร้อยมาลัย เช่นเดียวกับดอกรักสีม่วง แต่ตลาดจะมีความนิยมใช้ดอกรักสีขาวพันธุ์ “จิ้งจก” ซึ่งลักษณะของดอกตูมจะดูคล้ายกับปากจิ้งจก ดอกจะมีสีขาวใส มันวาว ทรงดอกยาวใหญ่ และมีน้ำหนักคล้ายกับดอกรักที่ทำมาจากพลาสติก เกษตรกรเก็บดอกรักจำหน่ายในราคากิโลกรัมละ 10-300 บาท ซึ่งราคาจะแพงในช่วงเทศกาลสำคัญ เช่น วันพ่อ วันแม่ วันเข้าพรรษา วันมาฆบูชา แล้วราคาจะสูงมากในช่วงฤดูหนาวราวเดือนตุลาคม – มกราคมของทุกปี ดอกรักจะมีราคาสูงมาก เพราะเป็นช่วงต้นรักจะให้ดอกน้อย การขยายพันธุ์ต้นรักที่นิยม คือ การปักชำด้วยกิ่ง โดยตัดกิ่งต้นรักให้มีความยาวราว 30-40 เซนติเมตร ขุดหลุมปลูกกว้าง ยาวและลึก 30 เซนติเมตร จากนั้นวางท่อนพันธุ์ให้เฉียง 45 องศา ราว 3-5 กิ่ง โดยจะปลูกระยะ 3×3 เมตร ควรปลูกในช่วงฤดูฝนราว 2-3 เดือน ต้นรักก็จะสามารถเก็บดอกจำหน่ายได้ เกษตรกรที่มีความชำนาญในช่วงเช้าในแต่ละวันจะสามารถเก็บดอกรักได้ราว 3-5 กิโลกรัม
การเก็บดอกรัก ควรระวังยาง เนื่องจากยางของต้นรักเป็นเอนไซม์ประเภทหนึ่งจะค่อนข้างเป็นอันตรายมีฤทธิ์ กัดกร่อน หากถูกผิวหนังหรือเข้าปากก็จะทำให้ระคายเคือง แสบคัน มีพิษต่อระบบทางเดินอาหาร ทำให้อาเจียนและถ่ายอย่างแรง หากถูกศีรษะก็จะทำให้ผมร่วงได้ หรือหากยางกระเด็นเข้าตา จะทำให้ตาพร่ามัวหรือตาบอดได้จึงต้องระวังอย่างยิ่ง หากโดนยางของต้นรักบริเวณผิวหนังต้องรีบล้างด้วยน้ำสะอาดโดยทันที หากยางเข้าตาหลังจากล้างน้ำแล้วให้รีบไปพบแพทย์ ในการป้องกันยางต้นรักสำหรับเกษตรกรนั้นจะต้องแต่งกายให้มิดชิด ใส่แว่นตา สวมหมวก ใส่ถุงมือ เช่น อาจจะใช้ถุงหิ้วพลาสติกแทนถุงมือ และอาจจะนำลูกโป่งมาใส่นิ้วมือแทนปลอกนิ้ว เป็นต้น เพื่อให้ปลอดภัยจากยางต้นรัก
ในทางประโยชน์ด้านสมุนไพรนั้น ตำรายาแผนโบราณจะใช้ ดอก แก้ไอ แก้หืด เปลือกต้น ทำให้อาเจียน เปลือกราก แก้บิด ขับเหงื่อ ขับเสมหะ ทำให้อาเจียน ยาง ยาถ่ายอย่างแรง แก้ปวดฟัน ปวดหู ขับพยาธิ แก้กลากเกลื้อน แต่อย่างไรก็ตามควรศึกษาวิธีการใช้จากผู้รู้ให้ดีเสียก่อน.
ทวีศักดิ์ ชัยเรืองยศ