รายการอัพเดทล่าสุด

การเพาะเห็ดหอม



การเพาะปลูก การปลูกเห็ดหอม

 เห็ดหอม เป็นเห็ดที่รู้จักและนิยมบริโภคกันมานานนับศตวรรษในหมู่ชาวจีนและญี่ปุ่น ทั้งนี้นอกจากมีรสชาติดีและกลิ่นหอมแล้ว ยังมีคุณค่าทางโภชนาการสูงและมีคุณสมบัติทางยาอีกด้วย ถือเป็น ยาอายุวัฒนะขนานหนึ่ง จากการศึกษาค้นคว้าระหว่างสถาบันมะเร็งแห่งชาติของญี่ปุ่น ร่วมกับมหาวิทยาลัยในรัฐเซาท์แคโรไลนาของสหรัฐอเมริกา พบว่าเห็ดหอมมีสารพิเศษที่เป็นประโยชน์ต่อมนุษย์หลายชนิด เช่น สารเลนติแนน (lentinan) สารอีรีทาดีนิน (eritadenin) และสารเอซี-ทูพี (AC-2P) ทำให้เห็ดหอมมีประสิทธิภาพในการต่อต้านมะเร็ง ลดไขมันในเส้นเลือดและต่อต้านเชื้อไวรัสบางชนิด เช่น ไข้หวัด จึงทำให้ผู้บริโภคหันมารับประทานเห็ดหอมกันอย่างแพร่หลายมากขึ้น

เนื่อง จากเห็ดหอมที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติจะออกดอกเฉพาะฤดูกาลและมีปริมาณไม่ เพียงพอกับความต้องการ จึงได้มีการศึกษาค้นคว้า หาวิธีการเพาะมาแต่โบราณ และพัฒนาเรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน ซึ่งมีกรรมวิธีการเพาะที่ง่าย ไม่สลับซับซ้อน และสามารถเพาะได้ตลอดทั้งปีคือเพาะบนท่อนไม้และเพาะในขี้เลื่อย

วิธี การเพาะบนท่อนไม้ ไม้ที่ใช้เพาะเห็ดหอมมีหลายชนิดทั้งไม้เนื้อแข็งและไม้เนื้ออ่อน ไม้ที่ให้ผลผลิตสูง ได้แก่ ไม้ในสกุลก่อ โอ๊ค ขั้นตอน การเพาะแบ่งออกได้ดังนี้

การเตรียมไม้ ตัดไม้เป็นท่อน ๆ ยาวประมาณท่อนละ 100 ซม. ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง ตั้งแต่ 5 ซม. ขึ้นไป ระวังอย่าให้เปลือกไม้ช้ำ ฉีก แตก หรือล่อน ถ้าไม้นั้นชุ่มน้ำก็ให้พักไม้ไว้ 15-30 วัน จึงจะใส่เชื้อ

การใส่ เชื้อ เจาะรูที่ท่อนไม้ด้วยตุ๊ดตู่หรือสว่านไฟฟ้าเป็นแถวตามความยาวของท่อนไม้ แต่ ละรูและแถวห่างกันประมาณ 7 ซม. ขนาดรูกว้าง ประมาณ 1 ซม. ลึก 2.5 ซม. นำเชื้อซึ่งทำจาก ขี้เลื่อยมาทำเป็นแท่งสี่เหลี่ยม ขนาดใกล้เคียงกับรู ที่เจาะไว้ ใส่เชื้อเกือบเต็มรู แล้วปิดด้วยฝาเปลือกไม้ (ที่เจาะด้วยตุ๊ดตู่ ซึ่งมีขนาดใหญ่กว่าเล็กน้อย) และตอกให้แน่นแนบสนิทกับเปลือกท่อนไม้ เมื่อใส่ เชื้อทั่วทุกรูแล้วนำท่อนไม้ไปกองไว้ใต้ร่มไม้หรือใน โรงเรือน


การ ดูแลรักษา ขณะกองพักไม้ไว้เพื่อให้เชื้อเจริญเติบโตทั่วท่อนไม้ ต้องหมั่นดูแลรักษาความชื้นในเนื้อไม้ไม่ให้แห้งด้วยการรดน้ำอย่างสม่ำเสมอ และดูแลเรื่องความสะอาด ระวังอย่าให้ปลวกหรือ แมลงทำลายท่อนไม้ และควรกลับกองไม้ประมาณเดือนละครั้ง โดยสลับเอาท่อนไม้ด้านบนลงไว้ ด้านล่าง ทั้งนี้เพื่อให้ท่อนไม้ได้รับความชื้นใกล้เคียงกัน และเป็นการช่วยกระตุ้นให้เชื้อเห็ดเจริญเต็มทั่วทั้งท่อน

การออกดอก เมื่อเชื้อเจริญเติบโตทั่วท่อนไม้ ใช้เวลา 3-6 เดือน เชื้อเห็ดก็จะเริ่มสร้างตุ่มดอกและออกดอกเป็นช่วง ๆ ตามความพอเหมาะของอุณหภูมิและความชื้นในอากาศ เพื่อให้มีผล ผลิตเห็ดออกตลอดทั้งปี จึงได้มีการคิดค้นวิธีบังคับให้เห็ดออกดอกได้ตามความต้องการ ด้วยการกระตุ้นหรือเปลี่ยนแปลงสภาพแวดล้อม เช่น การสั่นสะเทือน การทำให้เย็น และการเพิ่มความชื้นภาย ในท่อนไม้ให้มีมากกว่าปกติ ก็จะทำให้เชื้อเห็ดสร้างดอกได้

วิธีการเพาะเห็ดหอมในขี้เลื่อย มีวิธีการเพาะที่คล้ายคลึงกับการเพาะเห็ดชนิดอื่น ๆ โดยใช้ ขี้เลื่อยไม้เนื้ออ่อน เช่น ยางพารา เหียง ตึง และจามจุรี (ก้ามปู) เป็นต้น เพิ่มอาหารเสริม เช่น รำข้าว ข้าวฟ่าง น้ำตาล และดีเกลือ โดยมีขั้นตอนแบบการเพาะเห็ดถุงทั่วไป

การเตรียมขี้เลื่อยและบรรจุ ถุง ใช้ขี้เลื่อยผสมกับอาหารเสริมและน้ำ คลุกเคล้าให้เข้ากันดี ความชื้นประมาณ 65% บรรจุส่วนผสมใส่ถุงพลาสติก ทนร้อน แล้วอบฆ่าเชื้อ

การ ใส่เชื้อ ใช้เชื้อเห็ดที่เลี้ยงในเมล็ด ข้าวฟ่างหรือขี้เลื่อยใส่ลงไปในถุงขี้เลื่อยที่อบฆ่าเชื้อซึ่งเย็นแล้ว จากนั้นนำไปวางเรียงบนชั้นในโรงเรือน เพื่อให้เชื้อทวีการเจริญเติบโตจนทั่วถุง

การดูแล หมั่นดูแลโรงเรือนให้สะอาด และรักษาอุณหภูมิในโรงเรือนอย่าให้สูงเกินไป ไม่ ต้องรดน้ำถุงขี้เลื่อย

การ ออกดอก เมื่อเชื้อเจริญเติบโตได้ 3-6 เดือน ก็พร้อมจะออกดอก สังเกตได้จากก้อนเชื้อจะมีผิวเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลและมีตุ่มขึ้นมาจากผิวก้อน เชื้อ เห็ดจะออกเป็นช่วง ๆ และบังคับให้ออกดอกได้เช่นเดียวกันกับการเพาะบนท่อนไม้

ประโยชน์ของ การปลูกเห็ดหอม
บำรุงสมอง เพิ่มความสดชื่น คึกคัก ลดคอเลสเตอรอล ช่วยในระบบย่อยอาหาร ป้องกันหลอดเลือดแดง แข็งตัว ต้านมะเร็ง รักษาหอบหืด ลดความเครียด ต้านไวรัส บำรุงระบบประสาท ช่วยให้หลับง่าย บำรุงปอด บำรุงหลอดลม ชะลอความชรา ฯลฯ

ควรบำรุงสุขภาพด้วยการนำเห็ดหอมมาปรุงอาหารทุก ๆ สัปดาห์เป็นประจำ โดยนำมาปรุงเป็นอาหารจานผัด ๆ ต้ม ๆ แต่ไม่ควรรับประทานในปริมาณมากจนเกินไป

การเพาะเห็ดนางฟ้า



การเพาะเห็ดนางฟ้า ตอนที่ 1
วัสดุอุปกรณ์ในการเพาะเห็ดนางฟ้า

1.วัสดุเพาะ เช่น ขี้เลื่อยไม้ยางพารา อาหารเสริม
แม่เชื้อเห็ดชนิดที่ต้องการ
2.ถุงพลาสติกทนร้อนขนาด 6 3/4 x 12 1/2 หรือ 8x12 นิ้ว
3.คอขวดพลาสติกเส้นผ่าศูนย์กลาง 1 1/2 นิ้ว
4.สำลี ยางรัด
5.ถังนึ่งไม่อัดความดัน หรือหม้อนึ่งความดัน
6.โรงเรือนหรือที่บ่มเส้นใย
การเตรียมวัสดุเพาะจากขี้เลื่อยไม้ยางพารา

     ส่วนมากจะใช้ขี้เลื่อยไม้ยางพารา หรือขี้เลื่อยไม้เบญจพรรณ หรือใช้ฟางข้าวก็ได้  ตามฟาร์มเห็ดทั่วไปแล้วเพื่อความสะดวกในการหมักและผสมวัสดุจึงนิยมใช้ขี้เลื่อยไม้ยางพารา  ซึ่งเป็นขี้เลื่อยไม้เนื้ออ่อนและมีสารอาหารที่มีคุณค่าในการเพาะเห็ดมาก
อัตราส่วนในการผสมวัสดุอื่นๆ
ขี้เลื่อย          100    กิโลกรัม
รำละเอียด      6       กิโลกรัม
ปูนขาว          1       กิโลกรัม
ดีเกลือ           0.2    กิโลกรัม
ยิปซัม           0.2    กิโลกรัม
น้ำสะอาด       60-70 %

สูตรที่  2
 ขี้เลื่อยไม้ยางพาราแห้ง   100   กิโลกรัม
รำละเอียด                   5      กิโลกรัม
ยิปซัม                        0.2   กิโลกรัม
ปูนขาว                       1      กิโลกรัม
ดีเกลือ                        0.2   กิโลกรัม
ปรับความชื้นของวัสดุเพาะประมาณ  60-65 %

 วัสดุทั้งหมดนี้สามารถปรับเปลี่ยนเพื่อความเหมาะสมได้เมื่อชั่งหรือตวงวัสดุทั้งหมดแล้วคลุกเคล้าให้เข้ากัน และหมั่นตรวจดูความชื้นบ่อยๆ เพื่อไม่ให้วัสดุเปียกแฉะจนเกินไป  ซึ่งจะทำให้มีผลในการทำให้เชื้อเห็ดไม่เดิน

 วิธีการเตรียมวัสดุเพาะ
     นำส่วนผสมดังกล่าวข้างต้น  ผสมให้เข้ากันด้วยมือหรือเครื่องผสมแล้วปรับความชื้น 60-65 % โดยเติมน้ำพอประมาณ ใช้มือกำขี้เลื่อยบีบให้แน่น ถ้ามีน้ำซึมที่ง่ามมือแสดงว่าเปียกเกินไป (ให้เติมขี้เลื่อยแห้งเพิ่ม) ถ้าไม่มีน้ำซึมให้แบมือออก ขี้เลื่อยจะรวมกันเป็นก้อนแล้วแตกออก 2-3 ส่วน ถือว่าใช้ได้แต่ถ้าแบมือแล้วขี้เลื่อยไม่รวมตัวเป็นก้อน แสดงว่าแห้งไป ให้เติมน้ำเล็กน้อย

1.บรรจุขี้เลื่อยใส่ถุงพลาสติกทนร้อน  น้ำหนัก 8-10 ขีด
2.กระแทกกับพื้นพอประมาณ และทุบให้แน่นพอประมาณ 2 ใน 3 ของถุง หรือใช้เครื่องอัดก้อนเห็ด ใส่คอขวด ปิดฝาด้วยฝาจุกแบบประหยัด
3.นำไปนึ่งฆ่าเชื้อที่ 100 องศาเซลเซียส  3 ชั่วโมง  แล้วนำมาพักให้เย็นในที่สะอาด
4.การใส่หัวเชื้อ

ลักษณะเชื้อเห็ดที่ดี
      จะต้องไม่มีเชื้อราอื่นๆ เจือปน เช่น ราดำ ราเขียว ราส้ม ปนเปื้อน อยู่ในขวดเชื้อนั้น เพราะจะทำให้ถุงเพาะเชื้อเห็ดติดโรคราอื่นได้  โดยสังเกตเส้นใยของเชื้อเห็ดจะต้องมีเส้นใย สีขาวบริสุทธิ์และดินเต็มขวด หัวเชื้อควรเลือกหัวเชื้อที่เจริญเต็มเมล็ดธัญพืชใหม่ๆเพราะเชื้อในระยะนี้กำลังแข็งแรงและเจริญเติบโตรวดเร็วสถานที่เขี่ยเชื้อเห็ด  ควรเขี่ยในห้องที่สะอาดและสามารถป้องกันลมได้เพื่อช่วยลดเชื้อปลอมปน ทำให้เปอร์เซ็นต์ของก้อนเชื้อที่เสียต่ำลงในการเขี่ยเชื้อเห็ด ควรใช้ลวดแข็งๆ เผาไฟให้ร้อน ในถึงก้อนเชื้อประมาณ 15-20 เมล็ดแล้วปิดด้วยจุกสำลี เพื่อฆ่าเชื้อ  แล้วกวนตีเมล็ดข้าวฟ่างให้ร่วน เพื่อสะดวกในการเทเมล็ดข้าวฟ่างลงในถึงก้อนเชื้อใส่หัวเชื้อเห็ดที่เลี้ยงบนเมล็ดข้าวฟ่างลงและปิดจุกไว้ตามเดิม
การทำให้เกิดดอกดูแลรักษาเห็ดนางฟ้า
                ก่อนการเปิดดอกควรนำก้อนเชื้อเห็ดมาวางไว้ประมาณ 3-4 วัน เห็ดนางฟ้าจะเปิดถุง  โดยเอาจุกสำลีออก นำก้อนไปเรียงซ้อนกัน  จะใช้ชั้นไม่ไผ่ตัว A หรือชั้นแขวนพลาสติกก็ได้ รดน้ำ   รักษาความชื้นให้มากในโรงเรือนให้มากกว่า 70 %  วันละ 2-6ครั้ง ขึ้นอยู่กับ สภาพอากาศ  โดยสเปรย์น้ำเป็นฝอย ระวังอย่ารดน้ำเข้าในถุง  เพราะถุงจะเน่าและเสียเร็ว หลังจากบ่มเชื้อครบ 30-35  วัน  นำก้อนเชื้อเข้าสู่โรงเรือนเปิดดอก โดยแกะกระดาษเขี่ยข้าวฟ่างและสำลีออกให้หมด  ทำความสะอาดพื้นโรงเรือนรดน้ำให้ชุ่ม  วันละ  3  เวลา  คือ  เช้า  เที่ยง  เย็น เห็ดจะออกดอก  ได้ดี   ตัดแต่งตีนเห็ดก่อนนำไปจำหน่ายให้แม่ค้าในชุมชน




การเพาะเห็ดฟาง

การเพาะเห็ดฟาง เพาะเชื้อเห็ด
ลักษณะของการเพาะเห็ดฟางในปัจจุบันนี้มีอยู่หลายวิธี คือ การเพาะเห็ดฟางแบบกองสูง, การเพาะเห็ดฟางแบบกองเตี้ย, การเพาะเห็ดฟางจากเปลือกฝักถั่ว, การเพาะเห็ดฟางแบบ โรงเรือน หรืออุตสาหกรรม เป็นต้น การเพาะเห็ดฟางแบบกองสูงนั้น ในปัจจุบันไม่เป็นที่นิยมทำกันนักเพราะใช้เวลาการเพาะนาน อีกทั้งต้องเสียเวลา ในการดูแลรักษานานอีกด้วย ส่วนวิธีการเพาะเห็ดฟางแบบกองเตี้ยนั้น กำลังเป็นที่นิยมมากเพราะมีวิธีการทำที่ง่าย ทั้งวัสดุที่ใช้เพาะก็หาได้ง่าย และผลผลิตที่ได้อยู่ในเกณฑ์ที่น่าพอใจ ในที่นี้จะกล่าวรายละเอียดเฉพาะการเพาะแบบกองเตี้ยเท่านั้น

ชื้อเห็ดฟางที่จะใช้เพาะ การเลือกซื้อเชื้อเห็ดฟางเพื่อให้ได้เชื้อเห็ดที่มีคุณภาพดีและเหมาะสมกับราคามีหลักเกณฑการพิจารณาดังนี้ คือ
- เมื่อจับดูที่ถุงเชื้อเห็ด ควรจะต้องมีลักษณะเป็นก้อนแน่นมีเส้นใยของเชื้อเห็ดเดินเต็มก้อนแล้ว
- ไม่มีเชื้อราชนิดอื่น ๆ หรือเป็นพวกแมลง หนอน หรือตัวไร เหล่านี้เจือปน และไม่ควรจะมีน้ำอยู่ก้นถุง ซึ่งแสดงว่าชื้นเกินไป ความงอกจะไม่ดี
- ไม่มีดอกเห็ดอยู่ในถุงเชื้อเห็ดนั้น เพราะนั่นหมายความว่าเชื้อเริ่มแก่เกินไปแล้ว
ขั้นตอนในการเพาะเห็ดฟางแบบกองเตี้ย
1. เตรียมดินให้เรียบ พลิกหน้าดินตากแดดไว้ 3-4 วัน เพื่อฆ่าเชื้อโรค
2. การเพาะเห็ดฟางแบบกองเตี้ยใช้ได้ทั้งตอซังและปลายฟางถ้าเป็นตอซังแช่น้ำพออ่อนตัวก็นำมาเพาะได้ ปกติประมาณ 1 ชั่วโมง แต่ถ้าเป็นปลายฟางแข็ง ๆ ควรแช่น้ำประมาณ 1-2 วัน หรือจุ่มน้ำแล้วนำมากองสุมกันไว้ประมาณ 1 คืน ให้อิ่มตัวนิ่มดีเสียก่อนจึงจะใช้ได้ดี ถ้าเป็นผักตบชวาหรือต้นกล้วยจะสับหรือไม่สับก็ได้ แต่ต้องแช่น้ำพอนิ่ม ปกติแช่น้ำประมาณ 1-2 ชั่วโมง แล้วนำมาใช้กองได้เลย
3. หลังจากแช่น้ำวัสดุที่จะใช้เพาะได้ที่แล้ว ให้นำวัสดุที่ใช้เพาะนั้น ใส่ลงในกะบะไม้ที่วางเอาด้านกว้างซึ่งมี ลักษณะป้านลงสัมผัสพื้น ให้ด้านแคบอยู่ข้างบนใส่ให้สูงประมาณ 4-6 นิ้ว ถ้าเป็นตอซังให้วางโคนตอซังหันออกด้านนอก ส่วนปลายอยู่ด้านในใช้มือกดฟางให้แน่นพอสมควร แต่ถ้าเป็นปลายฟางควรขึ้นไปย่ำพร้อมทั้งรดน้ำให้ชุ่ม ข้อควรระวังอย่าให้แฉะหรือแห้งจนเกินไป
4. นำอาหารเสริมที่ชุบน้ำแล้วโรยเป็นแถบกว้างประมาณ 2 นิ้ว รอบ ๆ ด้านทั้งสี่ด้านหนาประมาณ 1 นิ้ว
5. แบ่งเชื้อเห็ดฟางจากถุงซึ่งปกติเชื้อเห็ดฟาง 1 ถุง หนักประมาณ 200 กรัม ออกเป็น 3-4 ส่วน เท่า ๆ กัน
จากนั้นโรยเชื้อเห็ดฟาง 1 ส่วน โดยโรยลงบนอาหารเสริมให้ทั่วและชิดกับขอบของแบบไม้ทั้งสี่ด้านก็เป็นการเสร็จชั้นที่ 1
6. ทำชั้นที่ 2 และ 3 หรือ 4 ต่อไปก็ทำเช่นเดียวกับชั้นที่ 1 ทุกอย่าง เมื่อทำมาถึงขั้นสุดท้าย ให้โรยอาหาร
เสริมและเชื้อเห็ดให้เต็มทั่วหลังแปลง
7. นำฟางที่แช่น้ำมาปิดทับให้หนา 1-2 นิ้ว แล้วเอาแบบไม้ออกโดยใช้มือข้างหนึ่งกดกองฟางไว้และทำกองอื่น ต่อ ๆ ไป
8. ทำกองอื่น ๆ ต่อไปให้ขนานกบกองแรก โดยเว้นระยะห่างประมาณ 6-12 นิ้ว
9. ช่องว่างระหว่างกองแต่ละกองสามารถใช้ให้เกิดประโยชน์ในการเพิ่มผลผลิตได้อีก โดยอาจจะโรยเชื้อ
เห็ดฟางลงไปบนช่องว่างระหว่างกอง เพราะบริเวณนี้ก็สามารถทำให้เกิดดอกเห็ดได้ จากนั้น รดน้ำดินรอบ ๆ กองให้เปียกชื้น
10. คลุมกองฟางด้วยผ้าพลาสติก โดยใช้ 2 ผืนเกยทับกันตรงกลางคลุมให้สูงกว่ากองฟางเล็กน้อยโดยคลุม เป็นแถว ๆ ถ้าอากาศร้อน ให้คลุมห่าง อากาศเย็นให้คลุมชิดหรืออาจคลุมติดกองเลย ในกรณี อากาศเย็นจัด การ คลุมพลาสติกเป็นเรื่องสำคัญที่แต่ละแห่งในแต่ละ ฤดูจะต้องดัดแปลงไปตามความต้องการของเห็ด คือ ช่วงระยะแรก ราววันที่ 1-2 เชื้อเห็ดต้องการอุณหภูมิประมาณ 35-38 ํซ. และ ในวันต่อ ๆ มาต้องการอุณหภูมต่ำลงเรื่อย ๆ จนราว วันที่ 8-10 ซึ่ง เป็นวันที่เก็บผลผลิตนั้นต้องการอุณหภูมิราว 30 องศาเซลเซียส
11. นำฟางแห้งมาคลุม ทับผ้าพลาสติกอีกครั้งหนึ่งจนมิดเพื่อป้องกันแสงแดด แล้วใช้ของหนัก ๆ ทับปลายผ้า ให้ติดพื้นกันลมตี

การดูแลรักษา
1. การดูแลรักษากองเห็ด ให้ใช้ผ้าพลาสติกใสหรือสีก็ได้ ถ้า เป็นผ้าพลาสติกยิ่งเก่าก็ยิ่งดีคลุม แล้วใช้ฟางแห้งคลุมกันแดดกันลม ให้อีกชั้นหนึ่ง ควรระวังในช่วงวันที่ 1-3 หลังการกองเพาะเห็ด ถ้า ภายในกองร้อนเกินไปให้เปิดผ้าพลาสติกเพื่อระบายความร้อนที่ร้อน จัดจนเกินไป และให้อากาศถ่ายเทได้สะดวกขึ้น ดูแลให้ดีก็จะเก็บ ดอกเห็ดได้ประมาณในวันที่ 8-10 โดยไม่ต้องรดน้ำเลย ผลผลิต โดยเฉลี่ยจะได้ดอกเห็ดประมาณ 1-2 กิโลกรัมต่อกอง 

2. การตรวจดูความร้อนในกองเห็ด โดยปกติเราจะรักษา อุณหภูมิในกองเห็ดโดยเปิดตากลม 5-10 นาที แล้วปิดตามเดิม ทุกวันเช้าเย็น ถ้าวันไหนแดดจัดอุณหภูมิสูงความร้อนในกองเห็ดมาก ก็ควรเปิดชายผ้าพลาสติกให้นานหน่อย เพื่อระบายความร้อนใน กองเห็ด วิธีตรวจสอบความชื้นทำได้ไดยดึงฟางออกจากกองเพาะ แล้วลองบิดดู ถ้าน้ำไหลออกมาเป็นสายแสดงว่าแฉะไป แต่ถ้ากองฟาง แห้งไปเวลาบิดจะไม่มีน้ำซึมออกมาเลย ถ้าพบว่ากองเห็ดแห้งเกินไปก็ควรเพิ่มความชื้นโดยใช้บัวรดน้ำเป็นฝอยเพียงเบา ๆ ให้ชื้น หลังจากทำการเพาะเห็ดประมาณ 1 อาทิตย์ จะเริ่มมีตุ่มดอกเห็ดสีขาว เล็ก ๆ ในช่วงนี้ต้องงดการให้น้ำโดยตรงกับดอกเห็ด ถ้าดอกเห็ด ถูกน้ำในช่วงนี้ดอกเห็ดจะฝ่อและเน่าเสียหาย ให้รดน้ำที่ดินรอบกอง
การเก็บเห็ดฟาง เมื่อกองฟางเพาะเห็ดไปแล้ว 5-7 วัน จะเริ่มเห็นตุ่มสีขาวเล็ก ๆ เกิดขึ้น ตุ่มสีขาวเหล่านี้จะเจริญเติบโตเป็นเห็ดต่อไป เกษตรกรจะเริ่มเก็บเห็ดได้เมื่อเพาะไปแล้วประมาณ 7-10 วัน แล้วแต่ความร้อน และการที่จะเก็บเห็ดได้เร็วหรือช้าขึ้นอยู่กับวิธีการเพาะและฤดูกาล คือ ฤดูร้อนและฤดูฝนจะเก็บเห็ดได้เร็วกว่าฤดูหนาว เพราะความร้อน ช่วยเร่งการเจรญเติบโตของเห็ด นอกจากนั้นถ้าใส่อาหารเสริมด้วยแล้ว จะทำให้เกิดดอกเห็ดเร็วกว่าไม่ใส่อีกด้วย ดอกเห็ดที่ขึ้นเป็นกระจุก มีทั้งอ่อนและแก่ ถ้ามีดอกเล็ก ๆ มากกว่าดอกใหญ่ ควรรอเก็บเมื่อดอกเล็กโตหรือรอเก็บชุดหลัง เก็บดอกเห็ดขึ้นทั้งกระจุกโดยใช้มือจับ ทั้งกระจุกอย่างเบาๆ แล้วหมุนซ้ายและขวาเล็กน้อย ดึงขึ้นมาพยายามอย่าให้เส้นใยกระทบกระเทือน


ศัตรูและการป้องกันกำจัด
1. แมลง เช่น มด ปลวก ไรเห็ด วิธีแก้ไขโดยใช้สารเคมีพวก เซฟวินโรยรอบๆ กอง ห่างประมาณ 1 ศอก
อย่าโรยในกองทำประมาณ 1 สัปดาห์ ก่อนเริ่มกองเห็ดและควรจะโรยสารเคมีนี้ประมาณ 1 สัปดาห์ ก่อนที่จะเริ่มกองเห็ด แต่อย่าโรยภายในกอง เพราะจะมีผลต่อการ ออกดอก ทั้งยังมีสารพิษตกค้างในดอกเห็ดซึ่งเกิดอันตรายต่อผู้กิน
2. เห็ดคู่แข่ง คือเห็ดที่เราไม่ได้เพาะแต่ขึ้นมาด้วย หรือเชื้อโรค อื่นๆ ที่เป็นศัตรูของเห็ดฟาง เช่น พวกราต่าง ๆ วิธีแก้คือการเก็บ ฟางไม่ควรให้ถูกฝน และถ้ามีราขึ้นให้หยิบฟางขยุ้มนั้นทิ้งให้ไกลกองเพาะ

ข้อแนะนำเพิ่มเติม
1. ในการเพาะเห็ดฟางแบบกองเตี้ยนั้น หากมีการเพาะหลาย ๆ กองเรียงกันแล้ว จะสามารถใช้ประโยชน์จากเนื้อที่ระหว่างกองแต่ละกองได้อีกด้วย เนื่องจากขณะรดน้ำก็จะมีธาตุอาหาร อาหารเสริม เส้นใยเห็ดที่ถูกน้ำชะไหลลงไปรวมอยู่บริเวณพื้นที่ระหว่างกอง จึง ทำให้บริเวณนั้นมีอาหารครบถ้วนต่อการเกิดดอกเห็ด และยิ่งถ้าให้ ความเอาใจใส่ดูแลอย่างดี หมั่นตรวจดูความชื้น อุณหภูมิ ให้เหมาะสม ต่อการเกิดดอกด้วยแล้ว พื้นที่ระหว่างกองนั้นก็จะให้ดอกเห็ดได้ อีกด้วย
2. ฟางที่จะใช้สำหรับการเพาะนั้นจะใช้ตอซัง หรือจะใช้ฟางที่ ได้จากเครื่องนวดข้าวก็ได้
3. หลังจากเก็บดอกเห็ดหมดแล้ว ควรเอากองเห็ดหลาย ๆ กอง มาสุมรวมกันเป็นกองใหม่ให้กว้างประมาณ80 ซม. ทำแบบการเพาะ เห็ดกองสูง แล้วรดน้ำพอชุ่มคลุมฟางได้สัก 6-8 วัน ก็จะเกิดดอกเห็ด ได้อีกมากพอสมควรเก็บได้ประมาณ 10-15 วันจึงจะหมด วัสดุที่ใช้นี้ หลังจากเพาะเห็ดฟางแล้วสามารถนำไปเพาะเห็ดอย่างอื่นได้อีกด้วยโดยแทบไม่ต้องผสมอาหารเสริมอื่น ๆ ลงไปอีกเลย หรือจะใช้เป็น ปุ๋ยหมักสำหรับต้นไม้ก็ได้ มีคุณสมบัติใกล้เคียงกับปุ๋ยอินทรีย์ที่ กทม. ขายอยู่นั้นมาก
4. เมื่อเก็บดอกเห็ดหมดแล้ว นำฟางจากกองเห็ดเก่านี้ไปหมักเป็นปุ๋ยหมักใช้กับพืชอื่น ๆ ต่อไป หรือนำฟาง
ที่ได้จากการเพาะเห็ด ไปเพาะเห็ดนางรม เป๋าฮื้อ ก็ได้ 
5. การขุดดินตากแดด 1 สัปดาห์ ย่อยให้ดินร่วนละเอียด จะทำให้ผลผลิตเห็ดได้มากกว่าเดิมอีก 10-20%
เพราะเห็ดเกิดบนดิน รอบ ๆ ฟางได้
6. การเปลี่ยนวิธีคลุมกองเห็ดตั้งแต่วันที่ 4 นับจากการเพาะ เป็นต้นไป ให้เป็นแบบหลังคาประทุนเรือจะทำ
ให้ได้เห็ดเพิ่มขึ้น 




การเพาะเห็ดขอนขาว


"ลิขิตฟ้า หรือจะสู้ มานะคน"
วันนี้ workdeena จะแนะนำ "การเพาะเห็ดขอนขาว" เป็นอาชีพซึ่งเป็นเห็ดที่ได้รับความนิยม และมีราคาดีพอสมควรสำหรับตลาดรับซื้อ ถ้ารับซื้อที่หน้าโรงเพาะ ราคาขายส่งจะตกกิโลกรัมละ 55-60 บาท ถ้านำไปขายปลีก จะตกกิโลกรัมละ 80-100 บาท ถ้าหากในช่วงฤดูหนาวจะมีราคาถึงกิโลกรัมละ 120-130 บาท เพราะเห็ดจะออกน้อยมาก ราคาจึงสูง สามารถสร้างรายได้ให้ครอบครัวของคุณได้ ไม่ต่ำกว่า 1 -2 หมื่นบาท / เดือน

การเพาะเห็ดขอนขาว
การใช้ขอนไม้ เช่น ไม้มะม่วง ในการเพาะเห็ดขอนขาว การเพาะเห็ดด้วยวิธีนี้ เราต้องใช้ท่อนไม่มะม่วง แล้วเจาะรู เพื่อนำเชื้อเห็ดอัดลงไปในรูที่เราเจาะ เรามาดูวิธีการทำกันเลย

วิธีการและขั้นตอนการเพาะเห็ด
  • เตรียมท่อนไม้ ขนาดเส้นผ่าศูนย์ 4 – 6 นิ้ว ความยาว 1 เมตร
  • ใช้สว่านไฟฟ้าขนาด 5 - 6 หุน เจาะขอนไม้ที่เตรียมไว้เป็นรูให้มีความลึกประมาณ 5 เซนติเมตร โดยทำเป็นแถวๆ ตามความยาวของไม้ และให้แต่ละแถวให้ห่างกันประมาณ 10 – 15 เซนติเมตร
  • นำเชื้อเห็ดที่ซื้อมา ส่วนใหญ่เขาใช้ทำมาจากเมล็ดธัญพืชคือเมล็ดข้าวฟ่าง ใส่เชื้อเห็ดลงไปในรูไม้ที่เจาะแล้วประมาณ 10 เมล็ด แล้วนำขี้เลื่อยของไม้ที่เจาะแล้วใส่ลงไปใส่จนแน่น
  • หลังจากนั้นใช้ปูนซีเมนต์ผสมทรายอัตราส่วน 1 : 1 คลุกน้ำหมาด ๆ ปิดรูที่ใส่เชื้อเห็ดแล้ว หรือปูนยาแนวกระเบื้อก็ได้
  • จากนั้นนำขอนเห็ดไปเก็บพักไว้ในที่ร่ม หรือใต้ต้นไม้เพื่อเป็นการบ่มเชื้อเห็ด และควรรดน้ำให้ขอนเห็ดประมาณ 5 – 10 วัน รดสักครั้ง หรือถ้าเห็นว่าขอนแห้งเกินไป ก็สามารถรดน้ำได้เลย
การบ่มเชื้อ
  • การวางขอนเห็ด โดยวางขอนไม้ให้เป็นซ้อนกันเป็นสี่ด้าน ไม่ให้ถูกแสงแดด เพราะจะทำให้ขอนไม้แห้งเร็วเกินไป เชื้อเห็ดจะเจริญขยายเส้นใยไม่ได้เต็มที่ การบ่มพักเชื้อจะใช้เวลานาน 2 - 3 เดือน หรืออาจนานกว่านี้ ขึ้นอยู่กับขนาดของขอนไม้ ถ้าขอนไม้ใหญ่ใช้เวลานานขึ้น เพราะเชื้อเห็ดจะอาศัยน้ำเลี้ยงจากเปลือกไม้เป็นอาหาร ดังนั้นถ้าขอนไม้แห้งเร็วเกินไปควรรดน้ำช่วยบ้าง
การเปิดดอก หรือการทำให้เห็ดเกิดดอก
  • เมื่อเชื้อเห็ดเจริญได้ที่และเปลือกไม้เริ่มผุจนย่างเข้าถึงฤดูฝน เห็ดก็จะออกดอกขึ้นมาเอง โดยไม่ต้องรดน้ำ ปล่อยให้เห็ดเกิดดอกตามธรรมชาติ ซึ่งผลปรากฏว่า เห็ดออกดอกได้ปีละ 3 - 5 ครั้ง และผลผลิตต่อขอนก็เพิ่มจำนวนมากขึ้นกว่าเดิมมาก โดยช่วงเวลาที่เห็ดออกดอกได้ดีเป็นช่วงเวลากลางคืน ถึงเช้ามืด

- แต่ปัจจุบันนี้ การเพาะเห็ดขอนขาว เขามีการเพาะเห็ดขอนโดยใช้ก้อนเชื้อ เหมือนเห็ดนางฟ้ากันแล้ว แต่ต้องทำโรงเรือนนะ แล้วการเพาะโดยใช้ก้อนเชื้อ จะให้ผลผลิตที่ดีกว่า การเพาะแบบใช้ขอนไม้

ตลาดรับซื้อ เห็ดขอนขาว คือ ตลาดสี่มุมเมือง - ตลาดไท ลองติดต่อฝ่ายตลาด ของตลาดเขาดูนะ เพราะตลาดทั้งสองแห่งนี้พ่อค้าแม่ค้าจะรับซื้อเป็นจำนวนมาก ประมาณเจ้าละ 100 - 200 โล ก่อนคุณลงมือทำ workdeena แนะนำให้หาตลาดส่งก่อน หรือถ้าคุณมีผลผลิตน้อย ก็ส่งแม่ค้าในตลาดสดใกล้บ้าน หรือตลาดสดของจังหวัดนั้นๆ ถ้าเพื่อนๆ ทำตลาดดีๆ คุณเพาะเห็ดไม่พอส่งแน่ๆ ตัวอย่างราคาเห็ด ณ ตอนนี้
- ราคาเห็ดเข็มทอง100กกขึ้นราคา110บาท
- เห็ดหอมสด50กก.ขึ้น 170บาท
- นางรมหลวง 170บาท

การเพาะเห็ดขอนดำ


 
 เห็ดขอนดำ ชื่อนี้นักเลงเห็ดคงจะคุ้นหูกันดี เนื่องจากเป็นเห็ดอีกชนิดหนึ่งที่เป็นที่นิยมในการเพาะเพื่อจำหน่าย ทั้งนี้ด้วยเหตุผลหลายประการ ได้แก่
1. ภูมิอากาศบ้านเรา (ประเทศไทย) เหมาะสมที่สุด 2. เพาะง่าย ดูแลง่ายไม่ยุ่งยาก 3. ราคาขายน่าพอใจ 4. เป็นที่นิยมของตลาด 5. อายุของก้อนเชื้อยาวนาน (ประมาณ 6 เดือน)  

วัสดุและอุปกรณ์ในการเพาะ 1. อาหารเพาะ 2. หัวเชื้อเห็ดขอนดำ 3. ถุงพลาสติกทนร้อนขนาด 7 x 13 หรือ 8 x 13 หรือ 6.5 x 12 นิ้ว หรือเท่าไรก็ตามใจ 4. คอขวดพลาสติก ฝาปิด(จุกประหยัด) 5. เตานึ่งแบบลูกทุ่ง แบบสตีม อะไรก็ได้ที่สามารถนึ่งฆ่าเชื้อได้ 6. โรงเรือนบ่มเส้นใย และโรงเรือนเปิดดอก

อาหารเพาะ  สูตรที่ 1
1. ขี้เลื่อยไม้ยางพารา(ดีที่สุด)  100   กิโลกรัม
2. รำละเอียด                            3 - 5 กิโลกรัม
3. ปูนขาว หรือ ยิปซั่ม              0.5 - 1 กิโลกรัม
4. น้ำตาลทราย                        2 - 3 กิโลกรัม
5. น้ำสะอาด                             50 - 60 %

 อาหารเพาะ  สูตรที่ 2
1. ขี้เลื่อยไม้ยางพารา(ดีที่สุด)                   100   กิโลกรัม
2. แอมโมเนียมซัลเฟต                               1     กิโลกรัม
3. ปูนขาว                                                 1     กิโลกรัม  
4. ส่วนผสม 3 ชนิดนี้ หมักกับน้ำประมาณ 2 - 3 เดือน กลับกอง 3 - 4 ครั้ง แล้วนำไปผสมกับ
5. รำละเอียด                                             3     กิโลกรัม  
6. น้ำตาลทราย                                         2     กิโลกรัม  
7. ปรับความชื้นด้วยน้ำสะอาด                  50 - 60 %  

วิธีการเพาะเห็ด 1. บรรจุอาหารเพาะลงในถุงพลาสติกทนร้อน กดให้แน่นน้ำหนักประมาณ 800 กรัม - 1000 กรัม  2. รวบปากถุง สวมคอขวด พับปากถุง ดึงให้ตึง อุดด้วยสำลี ปิดด้วยจุกประหยัด 3. นำไปนึ่งฆ่าเชื้อ อุณหภูมิไม่ต่ำกว่า 90 องศาเซลเซียสนานอย่างน้อย 3 ชั่วโมง 4. ปล่อยให้เย็น ประมาณ 24 ชั่วโมง 5.เติมเชื้อข้าวฟ่างประมาณ 20 - 25 เมล็ด 6. ปิดด้วยสำลีก้อนเดิม ปิดด้วยกระดาษรัดด้วยยาง 7. นำไปบ่มเชื้อในห้องอุณหูมิไม่เกิน 30 องศาเซลเซียส ประมาณ 20 -30 วันจนเส้นใยเดินเต็มก้อน 8. นำเข้าโรงเรือนเปิดดอก 9. โรงเรือนเปิดดอกควรให้แสงผ่านเข้าภายในโรงเรือนได้ประมาณ 60 - 70 % อากาศถ่ายเทได้ หลังคากันฝนได้ 10.สภาพภายในโรงเรือนเปิดดอกต้องร้อน ชื้น (เหมาะกับอากาศบ้านเรา) ฤดูหนาวไม่ดีแน่ ๆ 11. ความชื้นสัมพัทธ์ 70 - 80 % อุณหภูมิ 33 - 36 องศาเซลเซียส 12. ขนาดของดอกขณะเก็บต้องมีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 3 เซ็นติเมตร 13. ตัดดอกให้เหลือก้านดอกน้อยที่สุด

บทความที่ได้รับความนิยม

 
Support : |
Copyright © 2011-2012 อาชีพพารวย - All Rights Reserved
เข้าสู่ปีที่ 2 อาชีพพารวย เพื่อนคู่คิดนักเกษตร พ.ศ. 2555
เว็บไซต์เพื่อนเกษตร