รายการอัพเดทล่าสุด

การปลูกมะละกอ



มะละกอฮอลแลนด์ (Holland Papaya)
ละกอ จัดเป็นไม้ผลที่เกษตรกรนิยมปลูกไม่น้อย ทั้งนี้เพราะเป็นพืชที่ให้ผลผลิตเร็ว ผู้ปลูกสามารถปลูกแซม ในพืชหลักก่อนให้ผลผลิต หรือปลูกเป็นพืชหลักเพื่อจำหน่าย ผลผลิตโดยตรง ในแง่ของผู้บริโภคแล้ว มะละกอเป็นผลไม้ ที่ได้รับความนิยมรับประทานกัน เพราะรับประทานแล้ว ไม่อ้วน แถมยังช่วยระบบขับถ่ายได้ดี สายพันธุ์มะละกอในบ้านเรา มีให้เลือกปลูกพอสมควร ที่โดดเด่นมาอย่างต่อเนื่อง เห็นจะได้แก่มะละกอแขกดำ ซึ่งแบ่งเป็นสายๆ ไป เช่น แขกดำท่าพระ แขกดำศรีสะเกษ หากเป็นเกษตรกรต้องยกให้แขกดำของ คุณปรุง ป้อมเกิด ที่อำเภอพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม สำหรับสายพันธุ์ใหม่ มาแรง ได้รับความนิยมอย่างมาก ได้แก่ มะละกอฮอลแลนด์ หรือชื่ออื่น คือ ปลักไม้ลาย และเรดมาลาดอล์
ลักษณะทั่วไปของมะละฮอลแลนด์
 มะละกอฮอลแลนด์ ลำต้นใหญ่สีเขียว ใบมี 11 แฉกใหญ่ กลางใบมีกระโดงใบ 1 ใบ ก้านใบมีสีเขียวตั้งขึ้น ดอกออก เป็นช่อ ติดผลดก รูปทรงกระบอกคล้ายลูกฟักอ่อน อายุ เก็บเกี่ยว 8 เดือน น้ำหนักผลประมาณ 800-2,000 กรัม ต่อผล เนื้อสีแดงอมส้ม ไม่เละ เนื้อหนา 2.5-3.0 เซนติเมตร ความหวานวัดได้ 11-13 องศาบริกซ์ ผลผลิตต่อต้น 60-80 กิโลกรัม จุดเด่นที่มองออกง่ายมาก ว่าผลมะละกอฮอลแลนด์เป็นอย่างไรนั้น ที่ปลายผลจะป้านคล้ายผลฟักอ่อน



ดอกและเพศของมะละกอ
 หลักการผลิตต้นพันธุ์มะละกอฮอลแลนด์นั้น คล้ายกับการผลิตสายพันธุ์อื่นคือ ต้องการให้ได้ต้นกระเทยเพราะคุณภาพดี มะละกอมี 3 เพศด้วยกัน คือ มะละกอเพศผู้ ได้จากต้นที่มีดอกตัวผู้  ช่อของดอกยาวอย่างชัดเจน พบไม่บ่อยนัก  หากพบส่วนใหญ่เขาตัดทิ้ง  อีกเพศหนึ่งคือมะละกอตัวเมีย  ลักษณะของดอกจะอ้วนป้อม ได้ผลอ้วนสั้น  เนื้อไม่หนา  เพศสุดท้ายคือ   เพศกระเทย ดอกออกยาว   ผลที่ได้จากเพศนี้  ผลจะยาว  เนื้อหนา ผู้ปลูกมะละกอต้องการแบบนี้  รวมทั้งเก็บไว้ทำเมล็ดพันธุ์ต่อไป

หลังปลูกมะละกอได้ 3 เดือน มะละกอจะออกดอก จะมีทั้งดอกตัวเมียและกระเทย ก่อนดอกบาน ผู้ปลูกจะต้องห่อดอกกระเทยด้วยมุ้งหรือผ้าขาวบางๆ  เพื่อให้มีการผสมเกสรตัวเอง และไม่ผสมข้ามพันธุ์กับต้นอื่นๆ เมื่อผลมะละกอสุกแก่ก็นำเมล็ดไปเพาะให้ได้ต้นใหม่   ซึ่งจะได้ผลกระเทย 70-80 เปอร์เซ็นต์


วิธีการปลูกมะละกอฮอลแลนด์
    สามารถปลูกได้ทุกสภาพพื้นที่ ยกเว้นพื้นที่น้ำขัง ดินที่ เหมาะสมมีความเป็นกรดเป็นด่าง 5.5-5.0 ระยะปลูก 2.5x3 เมตร ไร่หนึ่งปลูกได้ 224 ต้น หากปลูกแล้ว ให้น้ำสม่ำเสมอ มะละกอจะให้ผลผลิตที่ดีมาก ปุ๋ยที่ใส่ให้ เริ่มต้นที่ปุ๋ยหมัก ปุ๋ยคอก สำหรับปุ๋ยวิทยาศาสตร์ใช้ สูตร 15-15-15
ระยะที่ติดผลอ่อน ก่อนการเก็บเกี่ยวใส่ สูตร 13-13-21 ใส่รอบๆ ต้น จำนวน 1 ช้อนโต๊ะ ต่อต้น
เมื่อปลูกได้ 7-8 เดือน มะละกอฮอลแลนด์จะสุกแก่ เริ่มเก็บได้ ปริมาณผลผลิต หากดูแลปานกลาง จะได้ผลผลิตราว 5-8 ตัน ต่อไร่  วิธีการเก็บเกี่ยวนั้น เลือกเก็บเฉพาะผลที่สุก 5-10 เปอร์เซ็นต์ คือผิวมีแต้มสีเหลืองเล็กน้อย



ปริมาณน้ำตาลในผลไม้
ผลไม้ที่นำมาวิเคราะห์ชนิด และปริมาณน้ำตาลตามตารางข้างล่างนี้  มีความสุกพอเหมาะในการรับประทาน  ดังนั้น  ผลไม้ที่สุกมากขึ้นแป้งย่อมถูกเปลี่ยนเป็นน้ำตาลมากขึ้นด้วยไทยเป็นประเทศในเขตมรสุม  จึงอุดมไปด้วยพืชผัก ผลไม้  ผลไม้ไทยส่วนใหญ่มีรสหวาน ดังนั้นคุณค่าที่นอกเหนือจาก วิตามิน  เกลือแร่  และใยอาหารที่มีอยู่ในผลไม้  น้ำตาลเป็นอีกสิ่งหนึ่งที่เพิ่มรสชาติ  และราคาให้แก่ผลไม้  แต่เป็นสิ่งที่ต้องระวังของผู้เป็นโรคเบาหวานมิให้ได้น้ำตาลมาก  เนื่องจากน้ำตาลกลูโคส   ต้องใช้อินซูลินนำเข้าสู่เซลล์  ผลไม้มิได้มีแต่กลูโคส  หรือ ซูโครส ซึ่งร่างกายสามารถเปลี่ยนให้เป็นกลูโคสได้ ในเวลาที่รวดเร็ว  แต่ยังมีฟรุ๊กโตสที่มีความหวานและเข้าสู่เซลล์ให้พลังงานแก่ร่างกาย ได้โดยไม่ต้องใช้อินซูลิน แต่ข้อมูลของชนิด และปริมาณน้ำตาลในผลไม้มีอยู่น้อย  ห้องปฏิบัติการกองโภชนาการจึงทำการศึกษา และ เผยแพร่โดยหวังว่าจะเป็นประโยชน์ ต่อผู้ป่วยเบาหวาน  ผู้ที่มีระดับน้ำตาลในเลือดสูง  ในการเลือกรับประทานผลไม้เพื่อสุขภาพของตนเอง  และผู้ที่ควบคุมน้ำหนัก มิให้ได้รับน้ำตาลจากผลไม้มากเกินความต้องการ  จนถูกนำไปเปลี่ยนเป็นไขมันสะสมตามส่วนต่างๆ ของร่างกาย






การปลูกมะนาวพันธุ์นน้ำเพชร


ผู้อ่านไทยรัฐ จำนวนมากอยากทราบว่ากิ่งตอน “มะนาวน้ำเพชร” หาซื้อได้ที่ไหน  เนื่องจากไปตระเวนซื้อแล้วไม่มี และผู้ขายจะให้ซื้อพันธุ์อื่นที่มีแล้ว เป็นจังหวะพบว่ามีกิ่งตอนชุดใหม่ออกมาวางขายจึงรีบแจ้งให้แฟนคอลัมน์ได้รู้ทันที
มะนาวน้ำเพชร มีข้อโดดเด่นคือ ผลใหญ่ ติดผลดกไม่ขาดต้น เปลือกผลบาง ให้น้ำเยอะ น้ำมีกลิ่นหอม รสเปรี้ยวจัด เมื่อผ่าผลบีบหรือคั้นเอาน้ำสามารถบีบได้ง่าย เป็นมะนาวสายพันธุ์มีเมล็ดน้อยมาก บางผลไม่มีเมล็ดเลย ที่สำคัญ “มะนาวน้ำเพชร” ยังทนต่อโรคใบไหม้ โรคแมลงได้ดี สามารถปลูกลงกระถางขนาดใหญ่ตั้งในที่แจ้งสูงจากพื้นดินประมาณครึ่งเมตร รดน้ำบำรุงปุ๋ยพร้อมตัดแต่งกิ่งอย่างสม่ำเสมอ สามารถติดผลดก ผลมีขนาดใหญ่เหมือนกับปลูกลงดินกลางแจ้งทุกประการ จึงทำให้ “มะนาวน้ำเพชร” ครองใจผู้ปลูกมะนาวดีมาจนกระทั่งทุกวันนี้
มะนาวน้ำเพชร อยู่ในวงศ์ RUTACEAE มีลักษณะทางพฤกษศาสตร์เหมือนกับมะนาวทั่วไปทุกอย่าง แต่ขนาดของผลจะใหญ่กว่าเยอะ เมื่อผลโตเต็มที่ประมาณผลส้มเขียวหวาน เปลือกผลบางมาก มีเมล็ดน้อย ให้น้ำเยอะ รสเปรี้ยวจัด มีกลิ่นหอมเฉพาะตัวตามที่กล่าวข้างต้น เวลาติดผลจะเป็นพวง 1–3 ผล มีผลไม่ขาดต้น หรือ เรียกว่าตลอดปี ขยายพันธุ์ด้วยการ ตอนกิ่ง ทาบกิ่ง และเสียบยอด
ปัจจุบัน “มะนาวน้ำเพชร” มีกิ่งตอนขาย ที่ตลาดนัดไม้ดอกไม้ประดับ สวนจตุจักร ทุกวันพุธ-พฤหัสฯ บริเวณแผง “คุณตุ๊ก” หน้าตึกกองอำนวยการ หรือ ที่ งานฉลองชัยชนะ ท่านท้าวย่าโม หน้าลานอนุสาวรีย์ย่าโม จ.นครราชสีมา วันที่ 23 มี.ค.-3 เม.ย. ร้านตรงกันข้ามวัดพายัพ และที่ งานสงกรานต์ จ.ชลบุรี หน้าศาลากลาง จ.ชลบุรี จัดขึ้นระหว่างวันที่ 4-17 เม.ย. ราคาสอบถามกันเองครับ.
“นายเกษตร”
ไทยรัฐออนไลน์

การปลูกมะนาวพิจิต1


ปลูกมะนาว "พิจิตร 1" ในท่อซีเมนต์

สมนึก บอกว่า ทุกปีในช่วงเดือนมีนาคม-พฤษภาคมของทุกปี ประชาชนจะประสบความเดือดร้อนเกี่ยวกับมะนาวราคาแพงและหายาก คุณภาพไม่ดี เพราะช่วงหน้าแล้งมะนาวจะออกผลผลิตน้อยมาก เขาจึงหาวิธีในการปลูกมะนาวในท่อซีเมนต์ เพื่อบังคับให้ออกผลผลิตนอกฤดูกาล โดยใช้ท่อซีเมนต์ขนาดกว้าง 80 ซม. สูง 50 ซม. ด้านล่างสุดใช้ฝาปิดท่อรอง เพื่อไม่ให้รากมะนาวทะลุได้ แต่ไม่โบกปูน เพราะต้องให้น้ำไหลซึมออกได้ โดยเลือกมะนาวพันธุ์ "พิจิตร 1" มีคุณสมบัติพิเศษคือ ผลผลิตโต ให้น้ำมะนาวมาก ออกผลผลิตเร็ว ผลดก และทนสภาพดินฟ้าอากาศ รวมถึงต่อโรคด้วย

การปลูกนั้น สมนึกบอกว่า ใช้หน้าดินร่วนซุยปนทราย 3 ส่วนผสมกับปุ๋ยคอก 1 ส่วน เทลงในท่อซีเมนต์ที่เตรียมไว้ให้ดินพูนปากท่อเล็กน้อย เผื่อไว้เวลารดน้ำสภาพดินจะยุบเสมอปากท่อพอดี จากนั้นขุดหลุมพอประมาณ นำต้นกล้ามะนาวพันธุ์พิจิตร 1 ที่มาจากการตอนกิ่งลงปลูก รดน้ำวันละ 1 ครั้ง หากใช้ระบบสปิงเกลอร์เปิดน้ำ 5-10 นาที หากปลูกแบบชาวบ้านให้รดน้ำให้พอดินชื้น


 หลังจากปลูกแล้วต้องให้ปุ๋ยทุก 1 เดือนโดยใส่ปุ๋ยคอกราว 1 กะลามะพร้าวผสมปุ๋ยเคมีสูตรเสมอ 15-15-15 จำนวน 1 ช้อนโต๊ะ กระทั่งมะนาวมีอายุราว 8-12 เดือน จะเริ่มให้ผลผลิตปีแรกที่ทดลองในศูนย์ฯ ได้ต้นละ 420 ผลต่อปี หรือประมาณ 25-30 กก. และจะให้ผลผลิตดกตอนอายุ 3 ปีขึ้นไป โดยทั่วไปมะนาวจะออกผลผลิตตลอดปี แต่จะให้ผลผลิตมากที่สุดช่วงเดือนสิงหาคมถึงกันยายน 

 สำหรับการบังคับให้มะนาวที่ปลูกในท่อซีเมนต์ออกผลผลิตนอกฤดูกาล คือช่วงที่มะนาวขาดแคลนและมีราคาแพงราวเดือนมีนาคม-พฤษภาคมนั้น สมนึก บอกว่าไม่มีเคล็ดลับอะไรมากมาย เพียงแต่ช่วงที่มะนาวเริ่มออกดอกมากราวเดือนมีนาคม-เมษายนนั้น ให้งดการรดน้ำประมาณ 10-15 วัน จนใบมะนาวจะเริ่มเฉา จากนั้นจึงรดน้ำ พอต้นมะนาวเริ่มฟื้น จัดการตัดแต่งกิ่ง รดน้ำปกติ ให้ปุ๋ยสูตรเดิม แต่ให้เพิ่มปุ๋ยทางใบบ้าง เป็นปุ๋ยเกล็ดสูตรเสมอ 15-15-15 เช่นกัน

 กระทั่งราวเดือนตุลาคมหรือพฤศจิกายน มะนาวจะเริ่มออกดอก และสามารถเก็บผลิตผลหลังจากออกดอกแล้วราว 5 เดือนคือราวเดือนมีนาคม-พฤษภาคม เป็นช่วงที่ผลผลิตมะนาวในท้องตลาดมีน้อย และราคาแพงถึงผลละ 5-8 บาท

 "ที่เราต้องปลูกในท่อสะดวกต่อการบังคับให้ออกนอกฤดูกาล  แต่ถ้าเราปลูกลงดินรากจะชอนไชไปถึงแหล่งน้ำ เมื่อต้นมะนาวได้น้ำใต้ดินก็ลำบากต่อการบังคับไม่ให้ดอกตามปกติ เราจึงใช้วิธีการปลูกในท่อซีเมนต์ หากปลูกกินเองปลูก 2-3 ต้นก็พอแล้วครับคือปล่อยให้ออกผลตามปกติ 1-2 ต้น บังคับให้ออกผลตอนที่มะนาวแพง 1 ต้น ผมเชื่อว่าการปลูกมะนาวในท่อซีเมนต์สามารถเก็บผลิตได้กว่า 10 ปีครับ" สมนึกกล่าว  นับเป็นวิธีง่ายๆ ที่สามารถจะแก้ปัญหามะนาวราคาแพงในอนาคตได้


การปลูกมะนาวตาฮิติ





ลูกมะนาวนอกฤดู พันธุ์ตาฮิติในวงบ่อซีเมนต์

เมื่อวันที่ 11 มีนาคม 53


ที่แปลงสาธิตการปลูกมะนาวนอกฤดูพันธุ์ตาฮิติ ของมูลนิธิสายใจไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ ซึ่งร่วมกับนิคมสหกรณ์สวรรคโลก จ.สุโขทัย และสหกรณ์หมู่บ้านสายใจไทยศรีนคร จำกัด ตลอดมามีผู้คนให้ความสนใจเดินทางเข้าไปศึกษาเรียนรู้เพื่อนำมาเพาะปลูกในพื้นที่ของตนเป็นจำนวนมากอย่างต่อเนื่องตลอดมา โดยเฉพาะในช่วงที่มะนาวมีราคาดี

มะนาวพันธุ์ตาฮิติ เป็นพืชที่ปลูกง่าย ต้านทานต่อโรคทุกชนิดที่เกิดกับมะนาวหรือพืชตระกูลส้ม ให้ผลผลิตทั้งปี โดยไม่ต้องบังคับโดยจะให้ผลผลิตมากที่สุดในช่วงฤดูฝน  ส่วนการดูแลรักษา เพียงแค่ใส่ปุ๋ยคอกมูลสัตว์ ปีละ 2 ครั้ง และถ้ามีแมลงศัตรูพืชรบกวน ก็จะใช้น้ำหมักที่สกัดจากสมุนไพร ฉีดพ่นโดยไม่ต้องใช้สารเคมีแม้แต่น้อย ไม่ชอบความแห้งแล้ง เมื่อเริ่มออกดอก อีก 5-6 เดือนนับจากนั้น ก็จะสามารถเก็บผลผลิตได้อายุ 5 ปีขึ้นไปต้นใหญ่ จะให้ผลผลิตมากถึง 500 ลูกต่อต้น น้ำหนักประมาณ 12 ลูกต่อ 1 กิโลกรัม


ส่วนการปลูกเพื่อให้มีผลผลิตนอกฤดูในวงบ่อซีเมนต์ ระยะปลูกระหว่างต้น 1.20 เมตร ระยะระหว่างแถว 1.50 เมตร ปลูกแบบแถวคู่แล้วเว้นทางเดิน 2 เมตร พื้นที่ปลูกปรับให้เรียบวางวงบ่อซีเมนต์เป็นเลขคู่เพื่อง่ายต่อการวางระบบ น้ำและคำนวณแรงดันน้ำ ขนาดของวงบ่อซีเมนต์ใช้ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 80 เซนติเมตร

ใช้วัสดุปลูกหลัก 3 ชนิด ประกอบด้วย หน้าดิน 3 ส่วน ขี้วัวเก่า 1 ส่วน และเปลือกถั่วเขียว 2 ส่วน ผสมคลุกเคล้ากัน ใส่วัสดุปลูกลงในวงบ่อซีเมนต์ให้พูน เหยียบวัสดุปลูกขอบ ๆ วงบ่อ บริเวณตรงกลางไม่ต้องเหยียบ

หลังจากที่ใส่วัสดุปลูกลงในบ่อซีเมนต์เรียบร้อยแล้ว ขุดเปิดปากหลุมให้มีขนาดเท่ากับขนาดของถุงที่ใช้ชำต้นมะนาว ถอดถุงดำปลูกต้นมะนาวให้พอดีกับระดับดินเดิม กลบดินแล้วใช้เท้าเหยียบรอบ ๆ ต้น เพื่อไม่ให้โยกคลอน ปักไม้เป็นหลักกันลมโยกและแนะนำให้ใช้ตอกมัดต้นมะนาวไว้กับหลัก ตอกจะผุเปื่อยหลังจากปลูกไปนานประมาณ 2 เดือนต้นมะนาวตั้งตัวได้แล้วปลูกมะนาวในวงบ่อซีเมนต์ได้ตลอดทั้งปี

การบังคับให้มะนาวออกฤดูแล้งในรุ่นแรกให้ปลูกต้นมะนาวในช่วงเดือนมกราคม ในช่วงเดือนกันยายน-ตุลาคม ในปีเดียวกันบังคับต้นให้ออกดอกได้โดยใช้หลักการเหมือนกับที่ปลูกลงดิน ผลผลิตมะนาวฤดูแล้งจะไปแก่และเก็บผลผลิตขายได้ในช่วงเดือนมีนาคม-เมษายนของ ปีถัดไป เท่ากับว่าการปลูกมะนาวในวงบ่อซีเมนต์ใช้เวลาปลูกเพียงปีเศษเท่านั้น เกษตรกรสามารถเก็บมะนาวฤดูแล้งขายได้แล้ว

ตัดแต่งกิ่งมะนาวในวงบ่อซีเมนต์ ทุก ๆ 3 ปี โดยจะเริ่มตัดแต่งกิ่งและปลิดผลทิ้งทั้งหมดในเดือนพฤษภาคม ในช่วงปีที่ 1-2 จะตัดแต่งบ้างแต่ไม่มากนัก ช่วงระหว่างเดือนมิถุนายน-กรกฎาคม บำรุงต้นและสะสมอาหารเพื่อจะกระตุ้นการออกดอกรุ่นแรกในเดือน

สิงหาคมต่อไป.




การปลูกชะอม



วิธีปลูกชะอม
     ชะอม เป็นไม้ที่ปลูกง่าย ปลูกโดยวิธีการปักชำ การเพาะเมล็ด การตอนกิ่งและการโน้มกิ่งที่มีข้อปักดินเพื่อให้ได้ต้นใหม่ แต่วิธีที่นิยมและได้ผลดีคือการเพาะเมล็ด การปลูกชะอมมักปลูกในฤดูฝนเพราะไม่ต้องดูแลมากนัก การเพาะเมล็ดทำได้โดยเอาเมล็ดใส่ถุงพลาสติกแล้วรดน้ำวันละ 1 ครั้ง เมื่อเมล็ดงอกแล้ว จึงย้ายไปปลูกยังแปลงที่เตรียมไว้ ควรปลูกห่างกันประมาณ 5-5 เมล็ด เนื้อที่1 ไร่ จะปลูกได้ประมาณ 60 ต้น ปุ๋ยที่ ใช้ดูแลรักษามักใช้ปุ๋ยสดหรือมูลสัตว์ ถ้าต้องการดูแลและควรรดน้ำให้สม่ำเสมอและเพียงพอเมื่อเก็บยอดชะอมควรเหลือ ไว้ที่ยอด 3-4 ยอด เพื่อให้ชะอมได้ปรุงอาหารและหายใจ มิฉะนั้นชะอมจะตาย ชะอมเป็นรายได้เสริมให้กับเกษตรกรได้ดีมีการบันทึกถึงรายได้จาการขายยอดชะอม ของชาวบ้านที่ จ. สุรินทร์ พบว่ามีรายได้ 2,000-7,000 ต่อเดือน ขึ้นกับฤดูกาลและขนาดของพื้นที่ที่ปลูก นอกจากนี้ยัง เป็นไม้ที่ปลูกเพียงครั้งเดียวและเจริญเติบโตให้ยอดอ่อนได้นานหลายปี

วิธีการปลูก ใช้กิ่งพันธุ์ที่ได้จากการตอนปลูกระยะ 1 x 1 เมตร ควรปลูกในฤดูร้อนช่วยรดน้ำเจริญดีกว่าปลูกในฤดูฝนหากปลูกในฤดูฝนชะอมจะตายมาก 
คลิกดูรูป

การบำรุงรักษา กำจัดวัชพืชโดยใช้จอบถากกลบโคนด้วยหญ้าและใบไม้ใส่ปุ๋ยคอกปีละครั้ง

โรคและแมลงศัตรู ชะอมไม่ค่อยมีโรคและแมลงมารบกวนหากพบโรคป้องกันโดยใช้ ปูนขาวโรยรอบโคนต้นหรือจุ่มท่อนพันธุ์ในน้ำปูนขาวก่อนปลูก ส่วนแมลงมีหนอนกินยอดชะอม ใช้ยาฆ่าแมลงฉีดทุก ๆ 8 วัน ควรเก็บยอดชะอมหลังฉีดยาแล้วไม่น้อยกว่า 7 วัน

    อายุการเก็บเกี่ยว หลังจากปลูกกิ่งตอนได้ประมาณ 10 -15 วัน สามารถตัดยอดขายได้ หากบำรุงรักษาดี สามารถตัดยอดชะอมได้ทุก ๆ 2 วัน


ประโยชน์ทางยา
   รากของชะอม สรรพคุณแก้ท้องเฟ้อ ขับลมในลำไส้ แก้อาการปวดเสียวในท้องได้ดี

ประโยชน์ทางอาหาร
   ส่วนที่เป็นผัก/ฤดูกาล ยอดอ่อนใบอ่อน เป็นไม้ที่ออกทั้งปี แต่จะออกมากในฤดูฝน ชาวเหนือนิยมรับประทานยอดชะอม หน้าฝนจะมีรสเปรี้ยวกลิ่นฉุนบางครั้งทำให้ปวดท้อง

รสและประโยชน์ต่อสุขภาพ
        ยอดชะอม ใบอ่อน มีรสจืดกลิ่นฉุน (กลิ่นหอมสุขุม) ช่วยลดความร้อนของร่างกาย ยอดชะอม 100 กรัม ให้พลังงานกับสุขภาพ 57 กิโลแคลอรี่ ประกอบด้วยเส้นใย 5.7 กรัม แคเซียม 58 มิลลิกรัม ฟอสฟอรัส 80 มิลลิกรัม เหล็ก 4.1 มิลลิกรัม วิตามินเอ 10,066 IU วิตามินบีหนึ่ง 0.05 มิลลิกรัม วิตามินบีสอง 0.24 มิลลิกรัม ไนอาซิน 1.5 มิลลิกรัม วิตามินซี 58 มิลลิกรัม 



การปลูกชะอมสูตรที่2

ต้นชะอมเป็นไม้ยืนต้น และเป็นไม้พื้นเมืองของไทยที่คนไทยนิยมปลูกชะอมเป็นรั้วบ้าน ซึ่งสามารถเด็ดยอดไปบริโภคเป็นผักได้ทุก ๆ 3 วัน ต้นชะอมหากถูกเด็ดยอดจะแตกกิ่งข้าง ต้นหนาแน่น ชะอมมีหนามตามกิ่งจึงใช้เป็นรั้วบ้านได้ดี
ลักษณะโดยทั่วไป
ต้นชะอมเป็นไม้ยืนต้น ตระกูลถั่วที่มีอายุยืนนาน กิ่งอ่อน ยอดอ่อน ใบอ่อน มีกลิ่นหอมฉุนและมีวิตามินเอสูงถึง 32,000 อินเตอร์เนชันแนลยูนิต ซึ่งสูงกว่าหัวแครอทที่ฝรั่งเชื่อว่ามีวิตามินสูงที่สุด ในบรรดาผักทั้งหลายอีกด้วย ยอดชะอมจัดเป็นอาหารประเภทผักที่มีคุณค่าอาหารสูงยิ่งทั้งวิตามินเอ โปรตีน และเยื่อใยที่ร่างกายต้องการ
พันธุ์ชะอม


ชะอมมีอยู่ 2 พันธุ์ด้วยกันคือ
1. ชะอมพันธุ์เบา ลำต้นจะมีขนาดเล็ก ใบเล็ก และยอดขนาดเล็ก
2. ชะอมพันธุ์หนัก ลำต้นมีขนาดใหญ่ ใบใหญ่ ยอดมีขนาดใหญ่ แต่ชาวสวนนิยมปลูกชะอมพันธุ์หนักกันมากกว่าเพราะสามารถเก็บยอดได้ตลอดทั้งปี


การขยายพันธุ์ชะอมมีอยู่ 2 วิธี คือ
1. การใช้กิ่งตอนหรือกิ่งปักชำ
2. การใช้เมล็ด


เกษตรกรส่วนใหญ่นิยมขยายพันธุ์โดยการใช้กิ่งปักชำเพราะสะดวก และรวดเร็วกว่าใช้เมล็ด การเลือกกิ่งพันธุ์ชะอมที่จะนำมาขยายพันธุ์นั้นจะต้องเป็นกิ่งที่ไม่แก่หรืออ่อนจนเกินไป ควรตัดกิ่งพันธุ์ให้มีความยาวประมาณ 1 คืบ หรือประมาณ 20 เซนติเมตร และควรให้มีตาติดประมาณ 3-4 ตา หลังจากที่เลือกกิ่งพันธุ์ได้แล้วก็นำไปปักชำลงในถุงดินที่มีส่วนผสมของขี้เถ้าแกลบ และปุ๋ยคอก อัตราส่วนอาจจะใช้ 3:3:1 หรือตามความเหมาะสม หลังจากนั้นก็รดน้ำให้ชุ่มประมาณ 50-60 วัน ชะอมก็จะแตกรากออกมา หรือถ้าเราไม่ใช้ปักชำลงในถุง เราอาจจะปักชำลงในแปลงเพาะก่อนได้ โดยการเตรียมดินที่ดีมีส่วนผสมของขี้เถ้าแกลบ แล้วนำกิ่งพันธุ์มาปักให้ทั่วแปลงเพาะ รดน้ำให้ชุ่มประมาณ 10-15 วัน จะแตกช่อก่อน และประมาณ 50 วัน ก็จะแตกราก ต่อจากนั้นก็ทำการถอนมาใส่ถุงที่ผสมดินไว้เรียบร้อยแล้ว เลี้ยงต่อไว้อีกประมาณ 60 วัน เพื่อให้ระบบรากแข็งแรงสมบูรณ์ ต่อจากนั้นก็สามารถไปปลูกได้

การเตรียมดิน
ทำการยกร่องเหมือนกับแปลงผักทั่ว ๆ ไป แต่ไม่ต้องยกร่องให้สูงมากนักและไม่ต้องย่อยดินให้ละเอียดเหมือนกับปลูกผัก การเตรียมดินปลูกชะอมก็เหมือนกับการเตรียมดินปลูกมันสำปะหลัง ควรให้แปลงมีความกว้างประมาณ 1-1.50 เมตร และระหว่างแปลงจำเป็นต้องมีร่องขังน้ำไว้ด้วย

วิธีการปลูกชะอม
การปลูกชะอมเป็นวิธีที่ง่ายมาก ปลูกวิธีเดียวกับการปลูกมันสำปะหลัง คือ ขุดหลุมตรงกลางแปลงให้เป็นแถวระยะระหว่างแถวและระหว่างต้นประมาณ 1 x 1 เมตร แต่ละหลุมลึกประมาณ 10 เซนติเมตร การที่ปลูกตรงกลางแปลงก็เพราะว่าชะอมเป็นไม้พุ่มที่แตกกิ่งก้านสาขารอบต้น เมื่อเจริญเติบโตขึ้น ทรงพุ่มก็จะเต็มแปลงพอดี เมื่อเตรียมหลุมเรียบร้อยแล้วนำกิ่งชะอมปักชำลงในหลุม ตามแนวนอนขนานไปทางเดียวกัน หลุมหนึ่งอาจจะใช้กิ่งพันธุ์ประมาณ 5 กิ่ง ซึ่งกำลังเหมาะเพราะถ้ามากกว่านั้นจะทำให้ทรงพุ่มแน่นทึบเกินไป หลังจากปักชำแล้ว ใช้ทางมะพร้าวมาทำร่มบังแดดให้


การปฏิบัติดูแลรักษาชะอม
ชะอมเป็นพืชที่ทนนานต่อดินฟ้าอากาศพอสมควร ในระยะแรกที่เริ่มปลูกนั้น ควรให้น้ำวันละ 1 ครั้งก็เพียงพอแล้วหรือจะรดน้ำในเวลาเช้าเย็นก็ได้ การกำจัดวัชพืชควรกระทำปีละ 2 ครั้ง กลบโคนด้วยหญ้าและใบไม้ สำหรับการให้ปุ๋ยนั้นในระยะแรกที่ปลูกไม่จำเป็นต้องให้ปุ๋ยเลย จะให้ปุ๋ยก็ต่อเมื่อเริ่มเก็บยอดชะอมแล้ว ปุ๋ยที่ให้คือ ปุ๋ยคอก ละปุ๋ยวิทยาศาสตร์ที่มีธาตุตัวต้นสูง คือ ธาตุไนโตรเจน ซึ่งเป็นธาตุที่บำรุงใบหรือจะใช้ปุ๋ยสูตร 15-15-15 หรือ 16-16-16 ก็ได้ เป็นปุ๋ยสูตรครอบจักรวาลที่มีอาหารของพืชครบถ้วน คือธาตุไนโตรเจน ช่วยบำรุงใบ ธาตุฟอสฟอรัส ช่วยบำรุงรากและผล และธาตุโปแตสเซียมเป็นธาตุที่บำรุงรสชาติ ชาวสวนชะอมจะนำปุ๋ยคอก และปุ๋ยวิทยาศาสตร์มาผสมคลุกเคล้าให้เข้ากันแล้วโรยรอบโคนต้น หลังจากนั้นก็รดน้ำตามลงไปเพื่อให้ปุ๋ยละลาย การที่ต้องการใช้ปุ๋ยคอกผสมกับปุ๋ยวิทยาศาสตร์ก็เพราะว่า ปุ๋ยคอกจะไปช่วยส่งเสริมให้ปุ๋ยวิทยาศาสตร์ ซึ่งให้ประโยชน์แก่พืชอย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น แต่ถ้าให้ปุ๋ยวิทยาศาสตร์ล้วน ๆ เพียงอย่างเดียว ให้แค่ 1 ช้อนแกงก็เพียงพอแล้ว การให้ปุ๋ยนิยมให้ในระยะที่ชะอมจะโทรม เพราะจะช่วยเร่งให้ชะอมแตกยอดได้รวดเร็วขึ้น

โรคและแมลงศัตรูของชะอม
แมลงศัตรูที่ร้อยแรงของชะอมมีน้อยมาก แมลงศัตรูเท่าที่ทำความเสียหายให้กับชาวสวนชะอมในปัจจุบัน ได้แก่ หนอนกัดกินยอดชะอม เพราะชะอมเป็นพืชที่ตัดยอดขาย วิธีป้องกันกำจัด คือ ฉีดพ่นสารเคมีฆ่าแมลงทุก ๆ 8 วันต่อ 1 ครั้ง สารเคมีที่ใช้ได้แก่ คาบาริล และสารโปรไธโอฟอส สำหรับโรคของชะอมยังไม่ปรากฏว่ามีโรคร้ายแรงอะไร ส่วนเหตุร้ายแรงที่ทำให้ชะอมตาย คือ น้ำท่วม


การตัดแต่งกิ่งชะอม
ชะอมเป็นไม้ที่มีทรงพุ่มหนาแน่นเราจำเป็นต้องมีการตัดแต่งกิ่งบ้างเพราะถ้าไม่ตัดแต่งกิ่งเลยจะทำให้ชะอมมีทรงพุ่มแน่นทึบ และจะไม่ค่อยแตกยอดการตัดแต่งกิ่งชะอมจึงมีความสำคัญ นอกจากจะลดปัญหาการแน่นทึบของทรงพุ่มแล้วยังเป็นการลดที่อยู่อาศัยของโรคและแมลงอีกด้วย และที่สำคัญคือจะทำให้ชะอมมีการแตกยอดอ่อนมากขึ้น

การเก็บเกี่ยว
ชะอมเป็นพืชที่ให้ผลเร็วนับแต่เริ่มปลูกจนตัดยอดขายได้กินเวลาเพียง 3-4 เดือนเท่านั้น วิธีตัดยอดขายจะต้องเหลือเอาใบรองยอดไว้จะช่วยให้ชะอมแตกยอดใหม่อีก การเก็บชะอมเก็บได้ทุก 4 วัน เมื่อเก็บแล้วนำมากำเป็นแพ ๆ ละ 14 ยอด แล้วใช้ใบมะพร้าว ตัดกลัดเป็นแพ ๆ ชะอม 25 แพ จะถูกมัดรวมเป็นมัด ๆ ขายราคามัดละ 15-35 บาท แล้วแต่ฤดูกาล


การปลูกชะอมแซมพืชอื่นเพื่อเสริมรายได้
การทำให้ชะอมมียอดในหน้าแล้งนั้นเริ่มแรกเราต้องทำการปลูกชะอมตอนต้นฤดูฝน ก็เริ่มขุดหลุมลึกประมาณ 1 หน้าจอบ หรือประมาณ 30 เซนติเมตร กว้างประมาณ 25 เซนติเมตร แต่ละหลุมห่างกัน 30 เซนติเมตร ต่อจากนั้นใช้ขุยมะพร้าว และปุ๋ยคอกอย่างละ 1 กำมือ คลุกกับดินในหลุม จากนั้นจึงเลือกกิ่งชะอม การเลือกกิ่งควรเลือกกิ่งที่ไม่อ่อนหรือแก่จนเกินไป ตัดกิ่งเฉียงเป็นปากฉลาม ให้กิ่งมีความยาวประมาณ 20 เซนติเมตร หรือมีส่วนของตาที่จะทำให้เกิดยอดประมาณ 3-4 ตา
เมื่อเราเตรียมหลุมและกิ่งพันธุ์ที่เตรียมไว้แล้ว ก็รดน้ำลงในหลุม นำกิ่งพันธุ์ที่เราเตรียมไว้แล้วมาจุ่มลงในฮอร์โมนเร่งราก โดยการใช้เซราดิกซ์ เบอร์ 2 จากนั้นจึงนำมาปักในหลุมปักเฉียง 45 องศา ปักลึกประมาณ 5 ซม. หรือ 1 ตา หลุมละ 3-4 กิ่ง ปักในลักษณะที่เป็นวงกลม เมื่อปักชำเสร็จแล้วก็ใช้วัสดุคลุมจะเป็นใบมะพร้าวหรือใบกล้วยก็ได้ คลุมไว้จนกว่ากิ่งพันธุ์จะแตกยอด ในช่วงนี้ถ้ามีฝนตกก็ไม่ต้องรดน้ำ แต่ถ้าฝนทิ้งช่วงควรรดน้ำ เช้า เย็น หลังปักชำไปแล้ว 7-10 วัน ชะอมจะเริ่มแตกใบอ่อน เมื่อชะอมมีอายุได้ 1 เดือน ก็ใส่ปุ๋ยแอมโมเนียมซัลเฟต ในอัตรา 10 ช้อนแกงต่อหลุม ใส่โดยการพรวนดินรอบ ๆ หลุมใส่ปุ๋ยแล้วก็พรวนดินกลบ และรดน้ำตามใส่ปุ๋ยชนิดนี้เดือนละครั้ง เพื่อให้กิ่งของชะอมยาว ถ้ามีใบมากก็ให้ตัดออกบ้าง ชะอมที่เราจะบังคับให้ออกยอดในฤดูแล้งนั้นต้องมีอายุไม่ต่ำกว่า 1 ปี เพื่อที่ชะอมจะได้มีความทนต่อสภาพแวดล้อม เมื่อเราได้ชะอมที่จะใช้บังคับให้ออกยอดตามที่ต้องการแล้ว ก็บังคับได้เลยคือจะเริ่มทำในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ และเดือนเมษายน ก่อนกระทำต้องกำจัดวัชพืชรอบ ๆ โคนชะอมให้หมดก่อนแล้วจึงใช้มีดคม ๆ ตัดชะอมให้มีใบเหลือน้อยและกิ่งเสมอกัน จากนั้นใช้หญ้าแห้ง หรือฟางแห้งวางให้ห่างจากโตนต้นชะอมประมาณ 15 ซม. แล้วจึงใช้หญ้าสดหรือฟางที่มีความชื้นวางทับอีกครั้งหนึ่งแล้วจุดๆ พยายามให้มีควันและความร้อนแต่อย่างให้มีเปลวไฟมากนัก หลังจากไฟดับแล้วทิ้งไว้ประมาณ 2 วัน พอสังเกตเห็นว่าใบชะอมเหลืองและทิ้งใบบ้างแล้ว ก็ให้น้ำชะอมโดยรดที่โคนต้นให้ชุ่ม และใช้เครื่องพ่นสารเคมี พ่นน้ำเปล่าตามบริเวณกิ่งและยอดด้วย รดน้ำวันละครั้งเช้าหรือเย็นก็ได้ ประมาณ 3 วัน ชะอมจะเริ่มแตกตายอด ช่วงนี้ควรให้อาหารเสริมบ้าง คือ ใช้ยูเรีย 2 ช้อนแกงต่อน้ำหนึ่งปี๊บ ฉีดพ่นเพื่อให้ยอดชะอมยาวและสวย เห็นว่ายอดชะอมพร้อมที่จะตัดจำหน่ายได้เราก็ตัดไปจำหน่ายได้เลย ชะอมสามารถนำไปประกอบอาหารได้หลายอย่าง เช่น ใช้รับประทานเป็นผักสดจิ้มน้ำพริก ใช้ชุบไข่ทอด แกงแค เป็นต้น


การตลาดของชะอม
ตลาดของชะอมที่วางขายตามตลาดใหญ่ ๆ และตลาดเล็กในกรุงเทพ ส่วนมากมาจากจังหวัดนครปฐม เพราะแหล่งปลูกชะอมแหล่งใหญ่อยู่ที่ตำบลวังตะคู ตำบลบ้านนาสร้าง อ. เมือง จังหวัดนครปฐม และจังหวัดอื่น ๆ ที่ใกล้เคียง บางสวนก็จะมีพ่อค้ามารับซื้อถึงบ้าน แล้วนำไปขายต่ออีกทอดหนึ่ง หรือบางสวนก็นำไปส่งให้กับขาประจำที่ตลาด แล้วเขาก็จะส่งต่อเข้ากรุงเทพฯ อีกทอดหนึ่ง หรือก็ชาวสวนเก็บแล้วนำไปขายแถวตามตลาดท้องถิ่นนั้น ๆ

การปลูกผักหวานป่า






ผักหวานป่า เป็นพืชในวงศ์ Opiliaceae มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Melientha suavis Pierre ชาวบ้านแถวจังหวัดสุรินทร์เรียก ผักหวานชื่อที่เรียกกันทั่วไป คือ ผักหวาน ซึ่งอาจสับสนกับผักหวานบ้านที่จะกล่าวถึงในตอนท้าย ผักหวานป่า เป็นไม้ยืนต้นขนาดกลาง ต้นที่โตเต็มที่อาจสูงถึง 13 เมดร แค่ที่พบโดยทั่วไปมักมีลักษะเป็นไม้ยืนต้นขนาดเล็ก หรือเป็นไม้พุ่ม เนื่องจากมีการหักกิ่ง เด็ดยอด เพื่อกระตุ้นให้เกิดกิ่งและยอดอ่อนซึ่งเป็นส่วนที่ใช้บริโภค ใบของผักหวานป่าเป็นใบเดี่ยวเรียงสลับกัน ใบอ่อนรูปร่างแคบรี ปลายใบแหลม สีเขียวอมเหลือง ใบแก่เต็มที่รูปร่างรีกว้าง ถึงรูปไข่หรือรูปไข่กลับ ใบสีเขียวเข้ม เนื้อใบกรอบ ขอบใบเรียบ ปลายใบมน ขนาดของใบประมาณ 2.5-5 ซม. x 6- 12 ซม. ก้านใบสั้น ช่อดอกแตกกิ่งก้านคล้ายช่อดอกมะม่วงหรือลำใย และเกิดตามกิ่งแก่ หรือตามลำต้นที่ใบร่วงแล้ว ดอกมีขนาดเล็กเป็นตุ่มสีเขียวอัดกันแน่นเป็นกระจุก ขณะที่ยังอ่อนอยู่ ผลเป็นผลเดี่ยว ติดกันเป็นพวง เหมือนช่อผลของมะไฟหรือลางสาด แต่ละผลมีขนาดประมาณ 1.5 x 2.5 ซม. ผลอ่อนสีเขียวมีนวลเคลือบ และเปลี่ยนเป็นสีเหลืองถึงหลืองอมส้ม เมื่อผลสุกแต่ละผลมีเมล็ดเดียว

การขยายพันธุ์ผักหวานป่า
การขยายพันธุ์ผักหวานป่าที่ได้ผลดีที่สุดในปัจจุบันคือ วิธีการเพาะเมล็ด เนื่องจากวิธีการอื่น ๆ เช่น การตอน การตัดชำ มีเปอร์เซ็นต์การออกรากด่ำมาก และใช้เวลานานไม่น้อยกว่า 4 เดือน จึงจะออกราก รวมทั้งจำนวนกิ่งที่ได้น้อย เนื่องจากต้นแม่พันธุ์หายาก การขยายพันธุ์ด้วยเมล็ดจึงเป็นวิธีที่ง่ายและได้ผลมากที่สุด โดยมีเงื่อนไขและวิธีปฎิบัติดังนี้   คัดเฉพาะผลผักหวานป่าที่สุดและสดใหม่เท่านั้นแยกเนื้อหุ้มเมล็ดทิ้ง และขัดล้างเมล็ดให้สะอาดด้วยตะแกรง หรือภาชนะที่มีผิวหยาบ เช่นในกระดังหรือเข่งไม้ไผ่ ควรใส่ถุงมือยางขณะทำงานเนื่องจากเนื้อหุ้มเมล็ดมีสารที่ระคายเคืองต่อผิวหนังนำเมล็ดที่ขัดสะอาดแล้วแช่น้ำ แยกเมล็ดที่ลอยน้ำออกนำเมล็ดที่จมน้ำขื้นผื่งพอสะเด็ดน้ำ คลุกด้วยยากันราให้ทั่ว แล้วนำขึ้นเกลี่ยในกระด้งหรือตะแกรงให้เป็นชั้น หนาไม่เกิน 1 นิ้ว คลุมตะแกรงด้วยกระสอบป่าน ที่ชุบน้ำหมาด ๆ เก็บไว์ในที่ร่ม 2-3 วันดรวจดูเมล็ด ถ้าเปลือกเมล็ดเริ่มแตกร้าว ให้นำไปเพาะในถุงพลาสติกที่มีความลึกไม่น้อยกว่า 8 นิ้ววัสดุที่ใช้เพาะได้ผลดีควรใช้ดินลูกรัง ทรายหยาบ และปุ๋ยคอกเก่า หรือใบไม้ผุ ร่อนด้วยดะแกรงตาถี่ครื่งเซนดิเมตร ผสมกันในอัตราส่วน 1:1:1 โดยปริมาตร

วิธีเพาะ  ให้กดเมล็ดด้วยนิ้วมือพอให้เมล็ดจมเสมอผิวดิน หรือโผล่พ้นผิวดินเพาะเล็กน้อยนำไปไว้ไตัร่มเงาที่มีความเข้มแสง ประมาณ 40-50 %ดูแลรดน้ำให้พอวัสดุเพาะชื้น ระวังอย่าใหัแฉะในช่วงเดือนแรกผักหวานป่าจะมีการพัฒนาของระบบรากอย่างรวดเร็ว เมื่อเข้าเดือนที่สองจึงเริ่มทะยอยแทงยอดขึ้นพ้นดินให้เห็นบ้าง หลังจากเพาะได้ 2 เดือนครึ่ง ต้นผักหวานป่าจะสูงประมาณ 5 -10 ซม.หลังจากนี้อาจใช้ปุ๋ยเกร็ดสูตร 15-15-15 ผสมน้ำฉีดพ่นกล้าทุก 2 สัปดาห์ การเจริญเติบโตของลำต้นเหนือดินในปีแรกจะช้ามาก

การปลูกและบำรงรักษาผักหวานป่า ควรเริ่มเตรียมหลุมปลูกในช่วงหลังสงกรานต์ โดยขุดหลุมขนาด 50X50 ซม.รองก้นหลุมด้วยปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมักประมาณครึ่งปี๊บ คลุกเคล้าผสมกับหน้าดิน โดยลงหลุมทิ้งไว้ 2-3 อาทิตย์ในขณะเดียวกันก็เริ่มสร้าง ความแข็งแรงให้ต้นกล้าก่อนย้ายปลูกลงหลุม จริงด้วยการรดน้ำให้น้อยลง ให้ต้นกล้าได้รับ แสงแดดเพิ่มขี้นทีละน้อย ละลายปุ๋ยโปแตสเซียมในเตรท ความเข้มขันไม่เกิน 2 % (1 กรัมต่อน้ำ 50 ลิดร) รดต้นกล้าก่อนย้ายปลูก ประมาณ 2 อาทิตย์และงดให้น้ำ 1 วัน ล่วงหน้าก่อนย้ายปลูกในการถอดถุงพลาสติกเพื่อนำกล้าลงปลูกในหลุม ต้องระวังอย่าให้กระเปาะดินแตกหักหรือรากขาด เพราะจะทำให้ต้นกล้าชะงักการเจริญเดิบโตเป็นเวลานาน การปลูกควรให้ต้นกล้าสูงกว่าปากหลุมประมาณ 5 ซม. แล้วพูนดินกลบโคนขึ้นโดยรอบ เพื่อป้องกันไม่ให้มีน้ำขังในหลุมปลูกเมื่อมีการให้น้ำหรือฝนตก จากนั้นหว่านเมล็ดถั่วเขียวเป็นวงรอบหลุมให้ห่างจากต้นกล้าประมาณ 15-20 ซม. เพื่อให้ต้นถั่วเป็นพี่เลี้ยงในระยะแรก ก่อนสิ้นฤดูฝนประมาณเดือนกันยายน ให้หว่านถั่วมะแฮะ หรือพืชตระกูลถั่วที่มีลำต้นสูงและไม่ทิ้งใบช่วงฤดูแล้ง โดยหว่านเป็นวงรอบห่างจากต้นผักหวานป่า รัศมี 70-100 ซม. เพื่อให้เป็นไม้บังร่มในช่วงฤดูแล้ง ระยะปลูกผักหวานป่าควรใช้ระยะ 2-3 X 2-3 เมตร โดยเลือกสภาพที่ดินที่ลาดเอียงเล็กน้อย หรืออาจปลูกแซมในส่วนที่ค่อนข้างแห้งแล้งได้ เช่นในสวนป่าสัก ผักหวานป่าจะใช้เวลาไม่ต่ำกว่า 3 ปี จึงเจริญเติบโตถึงระยะเริ่มเก็บผลผลิตได้ การใส่ปุ๋ยกระตุ้นการเจริญเติบโต ควรใส่ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยที่หมักจนสลายตัวดีแล้ว หว่านกระจายโดยรอบโคนต้นในรัศมี 50 ซม. ต้นละ 1 ปี๊บในช่วงฤดูฝนปีละครั้ง ห้ามใช้จอบขุดพรวนรอบโคนต้น หากต้องการกำจัดวัชพืชให้ใช้ วิธีถอนหรือใช้มีดฟันให้ราบ เพื่อป้องกันรากผักหวานไม่ให้กระทบกระเทือน


การกระตุ้นยอดอ่อนเพื่อเก็บจำหน่าย
เมื่อผักหวานป่าเจริญเติบโตเต็มที่ ก็เริ่มทำการตัดแต่งกิ่ง โดยหักปลายกิ่งแขนงทิ้งให้เหลือยาว 15-20 ซม. รูดใบแก่บางส่วนทิ้งให้เหลือติดกิ่งละ 3-4 ใบ พร้อม ๆ กับการให้น้ำพอดินชื้น เมื่อยอดแตกออกมายาวประมาณ 15-25 ซม. ก็ตัดออกและมัดเป็นกำส่งจำหน่ายได้ หลังจากตัดยอดออกจำหน่ายแต่ละครั้ง ให้ใส่ปุ๋ยคอกต้นละ 1-2 ปี๊บหว่านรอบโคนต้นพร้อมกับให้น้ำ เพื่อบำรุงต้นให้สมบูรณ์ไดยเร็วต่อไปการย้ายต้นกล้าผักหวานป่าแบบล้างราก เนื่องจากในปัจจุบันพบว่า มีการจำหน่ายต้นกล้าเพาะเมล็ดจำนวนมาก ซึ่งมีปัญหาในการขนส่ง เนื่องจากน้ำหนักมากและเปลืองพื้นที่ จากผลการทดลองหาแนวทางส่งกล้าให้ได้จำนวนมากขึ้น และมีอัดราการชำรอดสูงอาจทำไต้ ดังนี้เพาะต้นกล้าในแปลงที่ทำด้วยอิฐก่อขนาด 1 x 5 เมตร ลึก 60 ซม. ใช้วัสดุเพาะดินลูกรัง ทรายหยาบ และปุ๋ยหมักอัตราส่วน 1:1:1 หรือ 1:1:2 โดยปริมาตร ร่อนด้วยตะแกรงตาถี่ครึ่งเซนติเมตรผสมกัน คลุมแปลงเพาะให้ได้รับแสงประมาณ 40-50%เมื่อกล้าผักหวานป่า งอกสูงประมาณ 5-10 ซม. หรือก่อนการส่งกล้าให้ลูกค้าประมาณ 2 อาทิตย์ ให้เริ่มกระตุ้นให้ต้นกล้าแข็งแรงเช่นเดียวกับก่อนการย้ายปลูกลงหลุมเมื่อครบกำหนดให้ขุดต้นกล้าออกจากแปลง ระวังอย่าให้รากขาด ล้างดินออกจากรากให้สะอาด โดยใช้สายยางฉีดน้ำพร้อมกับตัด ส่วนเหนือดินทิ้งให้เหลือตอสูงประมาณ 5 ซม.นำต้นกล้าที่ล้างรากและตัดต้นทิ้งแล้วไปแช่ในน้ำยากันรา ประมาณ 15-20 นาที

นำขึ้นผึ่งพอหมาดนำกระดาษหนังสือพิมพ์ที่ซึมซับน้ำได้ดี มาแบ่งเป็นคู่ ๆ ซ้อนกัน 2 ชั้น โรยด้วยขุยมะพร้ามชื้นหรือแกลบดำที่ปราศจากเชื้อโรค (อาจเตรียมได้โดยการอบหรือนึ่ง หรือราดด้วยยากันราก่อนนำมาใช้) ให้เป็นแถบยาวบาง ๆ ความกว้างของแถบเท่ากับ ความยาวของรากต้นกล้า ต้องระวังวัสดุที่ใช้อย่าให้แฉะนำกล้าผักหวานป่าประมาณ 50 กล้า วางเรียบบนแถบวัสดุรักษาความชื้น อย่าให้กล้าซ้อนกันม้วนกระดาาหนังสือพิมพ์ห่อต้นกล้าให้เป็นแท่งกลมพอหลวม ๆ เหมือนห่อโรตี ปิดหัวท้ายห่อ ฉีดด้วยยากันราให้กระดาษเปียกพอหมาด ๆบรรจุในถุงพลาสติกที่เจาะรูระบายอากาศ ปิดปากหลวม ๆ แล้วบรรจุลงกล่องกระดาษลูกฟูกซึ่งเจาะรูด้านข้างและกั้นเป็นช่อง ๆ ภายในด้วยกระดาษลูกฟูก โดยวางในแนวตั้งพอหลวม ๆผนึกภายนอกลังตรงรอยต่อด้วยเทปกระดาษ โดยเว้นช่องระบายอากาศไว้แล้วนำไปส่งไปรษณีย์การส่งแบบล้างรากเช่นนี้ ต้นกล้าจะทนทานได้นานประมาณ 8-10 วัน โดยมีอัตราการรอดตายสูง 80% ทั้งนี้เมื่อได้รับต้นกล้าแล้วต้องรีบชำทันที และเลี้ยงในสภาพแสง 40-50% พร้อมกับให้ชื้นอย่างสม่ำเสมอในระยะแรกๆ


หลังย้ายชำแล้วอาจราดด้วยสารสตาร์ทเตอร์ ซึ่งมีขายทั่วไปในท้องตลาดตามอัตราที่แนะนำในฉลากข้อพึงระวังในการส่งกล้าแบบนี้ จะต้องระวังเรื่องความสะอาดเป็นพิเศษ และรากต้องไม่ขาด การห่อและการบรรจุลังต้องไม่แน่นเกินไปและต้องเจาะช่องระบายอากาศคุณค่าทางโภชนาการของผักหวานป่า ผักหวานป่าจัดเป็นผักที่มีคุณค่าทางโภชนาการสูงชนิดหนึ่ง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในด้านแหล่งโปรตีน วิตามินซี และพลังงาน นอกจากนี้ยังมีปริมาณเยื่อใยพอสมควร ช่วยในการขับถ่ายให้ดีขึ้น ในยอดและใบสดที่รับประทานได้ 100 กรัม ประกอบด้วยน้ำ 76.6 กรัม โปรตีน 8.2 กรัม คาร์โบไฮเดท 10 กรัม เยื่อใย 3.4 กรัม เถ้า 1.8 กรัม แคโรทีน 1.6 มก. วิตามินซี 115 มก. และค่าพลังงาน 300 กิโลจูล (KJ)อย่างไรก็ตามการบริโภคผักหวานป่าควรปรุงให้สุกเสียก่อน เนื่องจากการบริโภคสด ๆ ในปริมาณมากอาจทำให้เกิดการเบื่อเมาเป็นไข้ และอาเจียนได้การนำผักหวานป่ามาปรุงอาหารนั้นใช้ได้ทั้งส่วนที่เป็นยอดและใบอ่อน นำช่อผลอ่อน ๆ สำหรับผลแก่อาจลอกเนื้อทิ้งนำเมล็ดไปต้มรับประทานได้เช่นเดียวกับเมล็ดขนุน มีรสหวานมัน การปรุงอาหารจากผักหวานป่า นอกจากต้ม ลวก เป็นผักจิ้มน้ำพริกแล้ว อาจนำไปทำแกง แกงเลียง หรือต้มจืดได้ เช่นกันอาหารที่ปรุงด้วยผักหวานป่า
-แกงผักหวานป่าใส่ไข่มดแดง
-แกงเลียงผักหวานป่า
-ต้มจืดผักหวานป่า

การปลูกผักหวานบ้าน

การปลูกผักหวานบ้าน
ผักหวานบ้านเป็นพืชผักสวนครัวที่อยู่คู่คนไทยมานานมากแล้วมีเกษตรกรหลายรายที่ปลูกผักหวานบ้านไว้เป็นอาชีพเสริม โดยการปลูกและดูแลรักษาผักหวานบ้านมีวิธีการดังต่อไปนี้
การขยายพันธุ์ผักหวานบ้าน
 ขยายพันธุ์โดยการปักชำโดยตัดกิ่งจากต้นพันธุ์ที่ไม่แก่และอ่อนเกินไป ยาวกิ่งละ นิ้ว ประมาณ 3-4 ตาปักชำในถุงใส่ขี้เถ้าแกลบตำไว้ในเรือนเพาะชำ รดน้ำเช้า-เย็น ประมาณ 
เดือนก็สามารถนำไปปลูกได้ ขุดหลุมปลูกใช้ระยะห่างระหว่างต้น 30 ซม.ระหว่างแถว เมตร (เพื่อสะดวกในการเดินเก็บ)ใส่ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมักรองก้นหลุมนำต้นพันธุ์ที่เพาะไว้มาลงปลูกในหลุมกลบดินให้แน่น
การดูแลรักษาผักหวานบ้านการใส่ปุ๋ยให้ใส่ปุ๋ยคอกปีละประมาณ ครั้งต่อปีการรดน้ำผักหวานบ้านเป็นพืชที่ต้องการน้ำมากแต่ไม่ควรให้น้ำท่วมขังที่โคนต้นเพราะฉะนั้นควรรดน้ำทุกวันใช้ขุยมะพร้าวมาคลุมโคนต้นเพื่อช่วยรักษาความชื้นควรมีการกำจัดวัชพืชโดยการตัด (ไม่ควรใช้สารเคมีในการกำจัดวัชพืชในแปลงผักหวานเนื่องจากอาจจะทำให้ต้นผักหวานตายได้ )ต้องมีการตัดแต่งกิ่งทุกครั้งที่ตัดยอดถ้าหากว่ามีเพลี้ยแป้งก็ให้ใช้น้ำผงซักฟอกฉีดพ่นให้ทั่วเพลี้ยก็จะตายไปเอง การเก็บผักหวานบ้านการเก็บผลผลิตผักหวานบ้านควรเก็บยอดผักหวานในช่วงเช้าจะได้ยอดผักหวานบ้านที่สดและกรอบวิธีเก็บให้ใช้มีดหรือกรรไกรตัดกิ่ง (ห้ามเด็ด) เพราะจะทำให้ยอดสวยและไม่ช้ำให้เก็บยอดที่ไม่อ่อนหรือแก่จนเกินไปต้องตัดยอดให้ถึงโคนกิ่งที่แตกออกมา
ต้องมีการเก็บแบบสลับกันเพื่อที่จะเก็บได้ทุกวันซึ่งผักหวานที่เก็บยอดแล้วจะสามารถเก็บได้อีกครั้งประมาณ 14 วัน
จากนั้นก็นำมาตัดแต่งให้ยอดมีความยาวประมาณ 25 ซม.แล้วมัดเป็นกำๆ (กำละประมาณ ขีด)
จะขายได้ในราคากำละประมาณ 6-7 บาท
เทคนิคที่สำคัญในการปลูกผักหวานคือเร่งให้ผักหวานออกยอดเร็วคือการตัดแต่งกิ่งทุกครั้งที่เก็บยอดหลังจากนั้นให้ฉีดพ่นปุ๋ยน้ำชีวภาพหรือปุ๋ยเกล็ดก็ได้จะทำให้ได้ยอดผักหวานที่สวย ยอดยาว ยอดอวบใบสวย
ข้อดีของการปลูกผักหวานบ้าน
                                                                                                          
ผักหวานปลูกครั้งเดียวก็สามารถเก็บเกี่ยวได้นานหลายปีถ้ามีการดูแลรักษาที่ดี
ผักหวานบ้านเป็นพืชที่ปลูกง่าย ทนต่อโรคทำให้ง่ายต่อการดูแลรักษา
ตลาดมีความต้องการสูงมีเท่าไหร่ก็ขายได้หมด
ราคาดีมีความคงที่ 
ให้ยอดทั้งปีไม่มีการทิ้งช่วงหรือรอฤดูกาล

ผักหวานบ้าน  มีคุณค่าทางโภชนาการมากมายมีสารอาหารหลายชนิด ที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย ได้แก่โปรตีน คาร์โบไฮเดรต ไขมัน และแร่ธาตุที่มีประโยชน์ ต่อร่างกาย โดยเฉพาะวิตามินซี มีเบต้า-แคโรทีน สารต้านมะเร็งเป็นตัวนำ ตามด้วยแคลเซียม ฟอสฟอรัสเพื่อกระดูกแข็งแรง ต่อด้วยแมกนีเซียมช่วยในการยืดหดของกล้ามเนื้อ


ส่วนของผักหวานบ้านที่นำมาใช้กินเป็นผัก ก็คือ ใบและยอดอ่อน โดยใช้เป็นผักจิ้ม ซึ่งนิยมลวกให้สุกเสียก่อน หรือนำไปแกง เช่น แกงเลียง หรือแกงจืด นอกจากนั้นยังนำไปผัด เช่น ผัดน้ำมันหอย เป็นต้น น่าสังเกตว่า ชนิดอาหารที่ปรุงจากผักหวานบ้าน ไม่ว่าจะเป็นผักจิ้ม แกงเลียง แกงจืด หรือผัดน้ำมันหอย ล้วนแล้วแต่มีเครื่องปรุงแต่งน้อย เพต้องการให้ได้รสชาติของผักหวานบ้านมากเป็นพิเศษ เพราะถือว่ามีรสชาติดีกว่าผักทั่วไป หากสมาชิกครูบ้านบอกได้ผ่านมาทางยโสธร  ตอนเย็นที่ตลาดสดบ้านตาดทอง  มีผักหวานบ้านสดๆ ใหม่ๆ  มากมาย (ชาวบ้านแถวนี้เขาปลูกผักขาย)  ราคาก็แสนถูก  ถาดละ  10  บาท  (กองใหญ่)  ถ้าคุณนำไปทำอาหารร่วมกับไข่มดแดง (ที่ตลาดตาดทองมีเยอะแยะ สด ๆ จากรังเช่นกัน) แซบอย่าบอกใครเชียว
 
ประโยชน์ด้านอื่นๆของผักหวานบ้าน
นอกจากด้านอาหารแล้วผักหวานบ้านยังมีสรรพคุณด้านยาหลายประการ เช่น ในตำราสรรพคุณสมุนไพร ระบุว่า
 
ราก : เป็นยาถอนพิษร้อน  พิษไข้ พิษทราง ถอนพิษสำแดง กินของแสลงเป็นพิษ แก้ขัดเบา แก้ไอ  แก้คางทูม คอพอก แผลฝีใบ : ปรุงเป็นยาเขียวกระทุ้งพิษ เป็นยาประสะน้ำนม ช่วยมดลูกเข้าอู่เร็วขึ้น แก้แผลฝี 

ดอก  :   ใช้ขับโลหิต
น่าสังเกตว่าในผักหวานบ้าน มีวิตามินเอมากเป็นพิเศษ คือ ใน ๑๐๐ กรัม มีวิตามินเออยู่สูงถึง ๑๖,๕๙๐ หน่วยสากล (I.U.) และวิตามินเอมีผลเกี่ยวกับสายตามาก การกินใบผักหวานบ้าน หรือใช้น้ำจากใบผักหวานบ้านหยอดตา คงมีผลจากวิตามินเอบ้างเป็นแน่ ทรงพุ่มของผักหวานบ้าน ต่างจากผักชนิดอื่นๆ (ที่เป็นพุ่มยืนต้น) ตรงที่ผักหวานบ้านสามารถแตกหน่อขึ้นเป็นต้นใหม่รอบๆต้นเดิมได้เช่นเดียวกับต้นไผ่ ทำให้ทรงพุ่มแผ่กว้างออกไปด้านข้างได้ดี และทำให้ลำต้นอ่อนอยู่เสมอ ทั้งเมื่อเด็ดยอดแล้วก็สามารถแตกยอดออกมาใหม่ได้อีกด้วย จึงเป็นผักที่เหมาะสำหรับปลูกเอาไว้กินในสวนครัว เพราะทั้งปลูกง่าย แข็งแรงทนทาน มียอดและใบอ่อนอยู่เสมอ รสชาติดี ประกอบอาหารง่าย และคุณค่าทางอาหารก็สูงด้วย ฯลฯ

เห็ดนางรม-ฮังการี




 ธรรมชาติของเห็ดนางรม
เห็ดนางรมในธรรมชาติจะเจริญบนไม้ที่มีชีวิตและเมื่อต้นไม้ตายเห็ดนางรมก็สามารถเจริญเติบโตต่อไปได้อีกเห็ดนางรมจะเป็นเห็ดที่เจริญเติบโตได้ดี ในสภาพแวดล้อมที่เป็นกรดเล็กน้อยหรือมี pH 6.5-6.8 ฉะนั้น ในการผสมขี้เลื่อยหรือวัสดุที่ใช้ เพาะจึงไม่จำเป็นต้องใส่ปูนขาวลงไปอุณหภูมิที่เหมาะสมต่อการเจริญเติบโต ของเส้นใยเห็ดนางรมประมาณ 30-32องศาเซลเซียส และอุณหภูมิที่เหมาะต่อการออกดอกของเห็ดประมาณ 25 องศาเซลเซียส

ส่วนประกอบของเห็ดนางรม

หมวกดอกมีลักษณะคล้ายหอยนางรมหมวกดอกมีลักษณะแบนราบไม่เหมือนเห็ดฟาง กลางหมวกดอกมีลักษณะเป็นแอ่งหมวกดอกอาจมีสีขาวหรือสีเทาก็ได้ขึ้นอยู่กับสายพันธุ์และลักษณะของหมวกดอกอาจเป็นเนื้อเดียวกับก้านดอก ก้านดอกเป็นส่วนที่ใช้ชูดอกขึ้นไปในอากาศ ก้านดอกค่อนข้างจะสั้นและเจริญเข้าหาแสงสว่าง ครีบดอก มีลักษณะเป็นแผ่นบางๆสีขาวหรือสีเทาที่บริเวณครีบดอกเป็นแหล่งสร้างสปอร์

ปัจจัยที่มีผลต่อการเจริญเติบโตของเห็ดนางรม

1.แสงสว่าง มีผลต่อการพัฒนาและเจริญเติบโตของดอกเห็ดมากเพราะแสงจะช่วยกระตุ้นในการรวมตัวของเส้น ใยและการพัฒนาเป็นดอกเห็ดที่สมบูรณ์ ถ้าได้รับแสงน้อยจะทำให้หมวกดอกมีขนาดเล็กลงและก้านดอกยาวขึ้นและถ้าแสงน้อยมากๆจะทำให้ดอกเห็ดมีลักษณะผิดปกติไปดังนั้นในการเพาะเห็ดนางรมควรให้เห็ดได้รับแสงอย่างน้อย 15-20 นาทีต่อวัน

2. ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ตามปกติจะมีผลในการเร่งการเจริญเติบโตของเส้นใยเห็ดนางรมแต่ในระยะที่เห็ดพัฒนาเป็นดอกถ้ามีปริมาณก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์สูงก็จะทำให้ดอกเห็ดผิดปกติได้ดังนั้นควรทำให้โรงเรือนมีอากาศถ่ายเทได้บ้าง

3. ความชื้นของอากาศมีผลต่อการเจริญเติบโตของเห็ดนางรมอย่างมากโดยเฉพาะ ระยะเปิดดอกเห็ดนางรมต้องการความชื้นค่อนข้างสูงประมาณ 70-80 %จึงควรรดน้ำ 2-3 ครั้งต่อวัน

4. อุณหภูมิ อุณหภูมิมีผลต่อการเจริญเติบโตและผลผลิตของเห็ดนางรมอย่างมากเห็ดนางรมจะให้ผลผลิตสูงในช่วงอุณหภูมิ 24-33 องศาเซลเซียสจากการศึกษาพบว่าถ้าก้อนเชื้อได้ผ่านอุณหภูมิต่ำประมาณ 20 องศาเซลเซียสเป็นเวลา 18-21 วัน ก่อนนำมาเปิดดอกที่อุณหภูมิ 26-30 องศาเซลเซียสจะช่วยเพิ่มผลผลิตได้เป็นอย่างดี

การผลิตก้อนเชื้อเห็ดนางรม

ในการเพาะเห็ดนางรมในถุงพลาสติกนั้น ผู้ผลิตสามารถนำเอาวัสดุเหลือ ใช้ในท้องถิ่นมาใช้ในการเพาะเห็ดได้ เช่น  ฟางข้าวสับ ซังข้าวโพด ขี้เลื่อยไม้ยางพารา เป็นต้น โดยทั่วไปนิยมใช้ขี้เลื่อยไม้ยางพาราเป็นวัสดุเพาะ เพราะสามารถหาได้ง่ายสะดวกในการบรรจุ และสามารถนำมาใช้ได้เลย โดยไม่ต้องผ่านกระบวนการหมักสำหรับสูตรอาหารที่ใช้ในการเพาะเห็ดนางรมนั้นมีหลายสูตร คือ

สูตร 1 ขี้เลื่อยไม้ยางพารา 100 กิโลกรัม รำละเอียด 5 กิโลกรัม น้ำสะอาด 65-70 %

สูตร 2 ขี้เลื่อยไม้ยางพารา 100 กิโลกรัม รำละเอียด 3-5 กิโลกรัม แป้งข้าวเจ้าหรือน้ำตาลทราย 3-5 กิโลกรัม ดีเกลือ 0.5 กิโลกรัม น้ำสะอาด 65-70 %

สูตร 3 ขี้เลื่อยไม้ยางพารา 100 ส่วนโดยปริมาตร รำละเอียด 8 ส่วนโดยปริมาตร แป้งข้าวเจ้าหรือน้ำตาลทราย 2-3 ส่วนโดยปริมาตร กากถั่ว 2 ส่วนโดยปริมาตร หินปูน 2-3 ส่วนโดยปริมาตร น้ำสะอาด 70-75 %

หมายเหตุ ในการเลือกใช้สูตรต่างๆนั้นต้องคำนึงถึงต้นทุนในการผลิตด้วย การเพิ่มปริมาณของอาหารเสริมมากๆนั้น ถึงแม้จะเป็นการเพิ่มผลผลิตก็ตาม แต่โอกาสที่ก้อนเชื้อจะเสียหายหรือ ถูกทำลายจากจุลินทรีย์ชนิดอื่นก็มีมากเช่นกัน

ขั้นตอนการเตรียมก้อนเชื้อ

1. นำส่วนผสมต่างๆมาคลุกเคล้าให้เข้ากัน

2. เติมน้ำลงไปผสม ควรผสมให้ความชื้นกระจายให้ทั่วสม่ำเสมอ ทดสอบให้ได้ความชื้นประมาณ 65-75 % โดยใช้มือกำส่วนผสมขึ้นมาแล้วบีบดู ถ้ามีน้ำซึมออกมาแสดงว่าชื้นเกินไปให้เติมขี้เลื่อยลงไป

ถ้าไม่มีน้ำซึมออกมาให้แบมือออก ส่วนผสมจะจับกันเป็นก้อนและแตกออก 2-3 ส่วนแสดงว่าใช้ได้

3. บรรจุใส่ถุงพลาสติกทนร้อนที่ใช้เพาะเห็ด ถุงละประมาณ 8-10 ขีด อัดให้แน่นพอประมาณใส่คอขวดพลาสติก หุ้มด้วยสำลีและกระดาษ

4. นำไปนึ่งด้วยหม้อนึ่งลูกทุ่งที่อุณหภูมิ 100 องศาเซลเซียส (น้ำเดือด)นาน 3-4 ชั่วโมง

5. หลังจากนึ่งทิ้งไว้ให้เย็นแล้วใส่เชื้อลงไป นำก้อนเชื้อไปบ่มในที่มืดและอุณหภูมิสูงประมาณ 28-35 องศาเซลเซียส เพื่อเร่งการเจริญเติบโตของเส้นใย เส้นใยเห็ดจะเจริญเต็มถุงประมาณ 3-4 สัปดาห์

6. เมื่อเส้นใยเดินเต็มถุงแล้วให้พักก้อนเชื้อระยะหนึ่ง เพื่อให้เส้นใยสะสมอาหารและพร้อมจะ เจริญเป็นดอกเห็ดแล้วนำไปเปิดดอกในโรงเรือนต่อไป ดูรายละเอียด การเพาะเห็ดในถุงพลาสติก

การเปิดถุงก้อนเชื้อเห็ดนางรม

ทำได้ 4 วิธี คือ

1. การเปิดปากถุงโดยการม้วนปากถุงลง โดยการดึงคอขวดออก พร้อมกับม้วนปากถุงลงไปจนถึงก้อนเชื้อ แล้วนำไปวางบนชั้นภายในโรงเรือน ข้อเสียของการเปิดถุงโดยวิธีนี้คือ โอกาสที่น้ำจะขังในถุงและทำให้ก้อนเชื้อเสียมีมาก

2. การเปิดปากถุงโดยใช้มีดปาดปากถุงบริเวณคอขวดออก แล้วนำไปวางบนชั้นเพาะเห็ด วิธีนี้มีข้อเสียคล้ายกับวิธีแรก

3. การกรีดปากถุงโดยใช้มีดคมๆ กรีดข้างถุงเป็น 4 แนว แล้วนำไปวางตั้งหรือแขวนในแนวตั้ง ข้อเสีย คือ เปลืองเนื้อที่ในการวางก้อนเชื้อ

4. ดึงจุกสำลีออกแล้วนำก้อนเชื้อมาวางเรียงซ้อนกันภายในโรงเรือน ให้เห็ดเจริญออกมาทางปากถุงทางเดียว เป็นวิธีที่นิยมใช้กันมากเพราะประหยัดเนื้อที่ภายในโรงเรือนและน้ำไม่ขังในก้อนเชื้อ ดูรายละเอียด การเปิดดอกเห็ดนางรม-ฮังการี

ปัญหาที่พบในการเพาะเห็ดนางรม

1. เส้นใยไม่เดินลงถุงก้อนขี้เลื่อย ซึ่งอาจเกิดจากสาเหตุ คือ

-หัวเชื้อเห็ดเป็นเชื้ออ่อน หรือเชื้อเห็ดนั้นผ่านการแต่งเชื้อมาหลายครั้งแล้ว ทำให้เส้นใยอ่อนแอ

- หัวเชื้อเห็ดมีเชื้อจุลินทรีย์อื่นปลอมปน และเจริญแข่งกับเส้นใยเห็ด

- วัสดุที่ใช้เพาะมีสารเคมีที่เป็น อันตรายต่อเห็ดโดยเฉพาะยาฆ่าเชื้อรา ผู้เพาะควรเลือกวัสดุเพาะที่ปราศจาสารเคมีดังกล่าว

- สภาพความเป็นกรด-ด่าง(pH) ควรปรับให้อยู่ระหว่าง 6.5-6.8 จะช่วยให้เส้นใยเห็ดนางรมเจริญดีขึ้น

- ส่วนผสมมีความชื้นมากเกินไป ทำให้เส้นใยเห็ดชะงักการเจริญเติบโต ในขณะที่สภาพดังกล่าวจะเหมาะต่อการเจริญของเชื้อแบคทีเรีย

2. เส้นใยเดินบางมาก และเมื่อนำไปเพาะจะไม่ค่อยเกิดดอกหรือให้ผลผลิตน้อยมาก อาจมีสาเหตุจาก

- วัสดุที่ใช้เพาะสลายตัวเกือบหมดแล้ว ทำให้อาหารเหลืออยู่น้อย ไม่เพียงพอต่อการเจริญเติบโตของเส้นใย หรือใส่อาหารเสริมน้อยเกินไป ดังนั้นจึงควรใส่อาหารเสริมในอัตราส่วนที่เหมาะสม

- การนึ่งฆ่าเชื้อไม่ดีพอ ทำให้จุลินทรีย์อื่นๆเจริญเติบโตแข่งกับเห็ดได้ ดังนั้นการนึ่งก้อนเชื้อควรใช้เวลาอย่างน้อย 2-3 ชั่วโมง นับจากน้ำเดือด

3. เส้นใยเห็ดเดินแล้วหยุด อาจเกิดจากสาเหตุดังต่อไปนี้

- ถุงก้อนเชื้อมีความชื้นมากเกินไป ทำให้เชื้อแบคทีเรียเจริญได้ดี แล้วเชื้อเห็ดไม่สามารถเจริญเติบโตได้

- เชื้อเห็ดอ่อนแอ เมื่อเจริญได้ระยะหนึ่งแล้วก็ชะงักการเจริญเติบโต ดังนั้นควรเลือกเชื้อที่แข็งแรง

4. เห็ดออกดอกช้าหลังจากเปิดถุงแล้ว อาจเกิดจากสาเหตุต่างๆ ดังนี้

- เกิดจากการเปิดปากถุงเร็วเกินไป หลังจากเส้นใยเดินเต็มแล้ว ควรปล่อยให้เส้นใยรัดตัวและมีการสะสมอาหารก่อนเปิดถุงประมาณ 8-10 วัน

- การถ่ายเทอากาศในโรงเรือนไม่ดี ทำให้มีการสะสมก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์สูง

- อุณหภูมิภายในโรงเรือนสูงหรือต่ำเกินไปหรือความชื้นไม่เพียงพอทำให้การพัฒนาของเส้นใยไปเป็นดอกเห็ดช้า

5. ดอกเห็ดไม่พัฒนาเจริญเป็นดอกเห็ด ในการเพาะเห็ดบางครั้งมีดอกเห็ด เจริญเป็นดอกเล็กๆบนก้อนเชื้อเต็มไปหมด ดอกเห็ดพวกนี้มีขนาดเล็กและไม่เจริญ ต่อไปแต่ดอกเห็ดจะเหี่ยวและแห้งตายในที่สุด

เกิดจาก

- หัวเชื้อเห็ดอ่อนแอทำให้ดอกเห็ดไม่สมบูรณ์

-การเปิดปากถุงกว้างเกินไปทำให้เส้นใยเจริญไปเป็น ดอกเห็ดจำนวนมากและ อาหารภายในก้อนเชื้อไม่เพียงพอ ทำให้ดอกที่งอกออกมาแคระแกร็น และแห้งดังนั้นการเปิดปากถุงไม่ควรเปิดกว้างมากนัก

- ความชื้นไม่เพียงพอทำให้ดอกที่กำลังเติบโตแห้งได้

- รดน้ำมากเกินไป และรดไม่ถูกวิธี ทำให้น้ำขังในถุงพลาสติก ทำให้เห็ดภายในถุงพลาสติกเน่าเสียได้

- เชื้อจุลินทรีย์เข้าทำลายก้อนเชื้อหลังเปิดถุง เนื่องจากโรงเรือนสกปรก

- อาจมีแมลงเข้าไปกัด
และทำลายก้อนเชื้อ

บทความที่ได้รับความนิยม

 
Support : |
Copyright © 2011-2012 อาชีพพารวย - All Rights Reserved
เข้าสู่ปีที่ 2 อาชีพพารวย เพื่อนคู่คิดนักเกษตร พ.ศ. 2555
เว็บไซต์เพื่อนเกษตร