การทำปุ๋ยหมัก


วิธีการทำปุ๋ยหมักโดยใช้สารตัวเร่ง
1. ปุ๋ยหมัก คืออะไร

               ปุ๋ยหมัก คือ ปุ๋ยอินทรีย์ หรือปุ๋ยธรรมชาติชนิดหนึ่งที่ได้มาจากการนำเอาเศษซากพืช
เช่น ฟางข้าว ซังข้าวโพด ต้นถั่วต่างๆ หญ้าแห้ง ผักตบชวา ของเหลือทิ้งจากโรงงานอุตสาหกรรม ตลอดจนขยะมูลฝอยตามบ้านเรือนมาหมักร่วมกับมูลสัตว์ ปุ๋ยเคมีหรือสารเร่งจุลินทรีย์เมื่อหมัก โดยใช้
ระยะเวลาหนึ่งแล้ว เศษพืชจะเปลี่ยนสภาพจากของเดิมเป็นผงเปื่อยยุ่ยสีน้ำตาลปนดำนำไปใส่ในไร่นาหรือ
พืชสวน เช่น ไม้ผล พืชผัก หรือไม้ดอกไม้ประดับได้

2. ประโยชน์ของปุ๋ยหมัก


1. ช่วยเพิ่มปริมาณอินทรีย์วัตถุให้แก่ดิน ทำให้ดินอุดมสมบูรณ์
2. ช่วยเปลี่ยนสภาพของดินจากดินเหนียวหรือดินทรายให้เป็นดินร่วน ทำให้สะดวกในการไถพรวน
3. ช่วยสงวนรักษาความชุ่มชื้นในดินได้ดีขึ้น
4. ทำให้การถ่ายเทอากาศในดินได้ดี
5. ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการใช้ปุ๋ยเคมีและสามารถลดการใช้ปุ๋ยเคมีลงได้
6. ช่วยกระตุ้นให้ธาตุอาหารพืชบางอย่างในดินที่ละลายน้ำยากให้ละลายน้ำง่ายเป็นอาหารแก่พืชได้ดีขึ้น
7. ไม่เป็นอันตรายต่อดินแม้จะใช้ในปริมาณมากๆ ติดต่อกันนานๆ
8. ช่วยปรับสภาพแวดล้อม เช่น กำจัดขยะมูลฝอยและวัชพืชน้ำทั้งหลายให้หมดไป

3. วัสดุอุปกรณ์ที่ใช้ในการทำปุ๋ยหมัก (ขนาดกว้าง X ยาว X สูง = 2 X 4 X 1.2 เมตร)
1. เศษพืช 1,000 กก.
2. มูลสัตว์ 200 กก.
3. ปุ๋ยยูเรีย 2 กก.
4. สารเร่งจุลินทรีย์ 1 ชุด
5. หน้าดิน 150 - 200 กก.
6. เครื่องมือการเกษตร เช่น จอบ พลั่ว บัวรดน้ำ ส้อมสำหรับกลับกองปุ๋ย ฯลฯ


วิธีการทำปุ๋ยหมัก
1. นำเศษพืชมาเรียงให้ได้ขนาดขนาด กว้าง X ยาว X สูง = 2 X 4 X 0.3 เมตร
2. ขึ้นย่ำพร้อมรดน้ำให้ชุ่ม
3. ใส่มูลสัตว์ 50 กก. แล้วตามด้วยปุ๋ยยูเรีย 1/2กก.
4. ราดสารเร่งจุลินทรีย์ 50 ลิตร (เตรียมสารเร่งทั้งหมด 200 ลิตร แบ่งใส่ 4 ชั้น)
5. ทำชั้นที่ 2 - 4 เหมือนชั้นแรก
6. ชั้นบนสุดใช้หน้าดินหรือปุ๋ยคอกโรยให้หนา 1 - 2 นิ้ว
7. เอาทางมะพร้าวหรือผ้าพลาสติกคลุมเพื่อรักษาความชื้นและกันสัตว์มาคุ้ยเขี่ย


5. การดูแลรักษาหลังกองปุ๋ยหมักเสร็จแล้ว
1. ดูความชื้นในกอง ถ้าแห้งไปให้รดน้ำกองปุ๋ย ถ้าแฉะไปให้กลับกองปุ๋ย
2. กลับกองปุ๋ยหมัก เพื่อให้ระบายความชื้นและถ่ายเทอากาศดี จะทำให้จุลินทรีย์ทำงานได้ดีขึ้น
   และเศษพืชกลายเป็นปุ๋ยหมักได้เร็วขึ้น ควรกลับกองทุก 7 - 14 วัน

6. การพิจารณาดูว่ากองปุ๋ยหมักใช้ได้แล้วหรือยัง
1. สีของเศษพืชจะเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลเข้มหรือสีดำ
2. อุณหภูมิภายในกองปุ๋ยและภายนอกกองใกล้เคียงกัน
3. เศษพืชมีลักษณะอ่อนนุ่มยุ่ยไม่แข็งกระด้าง
4. ต้นพืชที่มีระบบรากลึกเกิดขึ้นในกองปุ๋ยหมัก
5. ดมดูจะมีกลิ่นคล้ายกลิ่นดินไม่เหม็นฉุน
6. ส่งวิเคราะห์ในห้องปฏิบัติการเพื่อดูอัตราส่วนระหว่างคาร์บอนต่อไนโตรเจน ถ้ามีค่า
   เท่ากับ 20:1หรือน้อยกว่าแสดงว่ากองปุ๋ยหมักใช้ได้แล้ว
7. ขอรับการสนับสนุนสารตัวเร่งปุ๋ยหมักได้ที่สถานีพัฒนาที่ดินเชียงราย หรือสำนักงานเกษตร
    อำเภอทุกอำเภอ
Share this video :

บทความที่ได้รับความนิยม

 
Support : |
Copyright © 2011-2012 อาชีพพารวย - All Rights Reserved
เข้าสู่ปีที่ 2 อาชีพพารวย เพื่อนคู่คิดนักเกษตร พ.ศ. 2555
เว็บไซต์เพื่อนเกษตร