รายการอัพเดทล่าสุด

การปลูกข้าวโพดหวาน



เทคนิคการปลูกข้าวโพดหวาน
ให้ได้ผลผลิตสูงและคุณภาพฝักสดดี
นายไพศาล   หิรัญมาศสุวรรณ นักปรับปรุงพันธุ์พืช


พันธุ์ข้าวโพดหวาน
พันธุ์ข้าวโพดหวานที่ใช้ปลูกควรเป็นข้าวโพดหวานลูกผสม  ในตลาดมีหลายพันธุ์ผลิตจากหลายบริษัทให้เลือก แต่พันธุ์ที่แนะนำคือพันธุ์ข้าวโพดหวานลูกผสม ไฮ-บริกซ์ 10 และ ไฮ-บริกซ์ 3 ทั้งสองพันธุ์เป็นพันธุ์ข้าวโพดหวานลูกผสมที่ผลิตโดย บริษัท แปซิฟิคเมล็ดพันธุ์ จำกัด ซึ่งสามารถให้ผลผลิตสูง มีขนาดฝักใหญ่เป็นที่ต้องการของตลาด คุณภาพฝักสดดีมาก รสชาติดี กลิ่นหอม  นอกจากนี้ยังสามารถปลูกได้ในทุกสภาพแวดล้อมในประเทศไทย เพราะเป็นพันธุ์ที่ปรับปรุงขึ้นโดยใช้เชื้อพันธุกรรมที่มีในประเทศ  ทำให้สามารถปรับตัวได้อย่างกว้างขวาง

การเตรียมดิน
การเตรียมดินถือเป็นหัวใจของการปลูกข้าวโพดหวานให้ได้ผลผลิตสูง  เพราะถ้าดินมีสภาพดีเหมาะกับการงอกของเมล็ดจะทำให้มีจำนวนต้นต่อไร่สูง  ผลผลิตต่อไร่ก็จะสูงตามไปด้วยการเตรียมดินที่ดีควรมีการไถดะและทิ้งตากดินไว้ 3-5 วัน จากนั้นจึงไถแปรเพื่อย่อยดินให้ แตกละเอียดไม่เป็นก้อนใหญ่เหมาะกับการงอกของเมล็ด ควรมีการหว่านปุ๋ยคอกเช่นปุ๋ยขี้ไก่เป็นต้น อัตราประมาณ 1 ตันต่อไร่ก่อนการไถแปร เพื่อเป็นการปรับปรุงโครงสร้างของดินให้ดีขึ้นสามารถอุ้มน้ำได้นานขึ้น  และยังเป็นการเพิ่มธาตุอาหารให้กับข้าวโพดหวาน


การปลูก 
ควรปลูกเป็นแถวเป็นแนวซึ่งสามารถปลูกได้สองวิธี คือ
การปลูกแบบแถวเดี่ยว ระยะระหว่างแถว 75 เซนติเมตร ระยะระหว่างต้น 25-30 เซนติเมตร ปลูกหลุมละ 1 ต้น จำนวนต้นต่อไร่ประมาณ 7,000-8,500 ต้น จะใช้เมล็ดประมาณ 1.0-1.5 กิโลกรัมต่อไร่
การปลูกแบบแถวคู่ มีการยกร่องสูง  ระยะระหว่างร่อง 120 เซนติเมตร ปลูกเป็นสองแถวข้างร่อง ระยะห่างกัน 30 เซนติเมตร ระยะระหว่างต้น 25-30 เซนติเมตร1 ต้นต่อหลุม จะมีจำนวนต้นประมาณ 7,000-8,500 ต้นต่อไร่และใช้เมล็ดประมาณ 1.0-1.5 กิโลกรัมต่อไร่ การให้น้ำจะปล่อยน้ำตามร่องซึ่งเป็นวิธีที่สะดวกดี

การใส่ปุ๋ย
ปุ๋ยเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับการปลูกข้าวโพดหวาน เพราะปัจจุบันพื้นที่การเกษตรของประเทศไทยเป็นพื้นที่ที่มีการปลูกพืชติดต่อกันเป็นระยะเวลานาน ทำให้ความอุดมสมบูรณ์ของดินลดลง จึงควรใส่ธาตุอาหารพืช (ปุ๋ย) เพิ่มเติมลงในดิน การใส่ปุ๋ยในข้าวโพดหวานมีขั้นตอนดังนี้
การใส่ปุ๋ยรองพื้น สูตรปุ๋ยที่แนะนำคือ 15-15-15 หรือ 25-7-7 หรือ 16-16-8
อัตรา 50 กิโลกรัมต่อไร่  ใส่พร้อมปลูกหรือใส่ขณะเตรียมดิน

หมายเหตุ
ถ้าปลูกด้วยมือ ควรหยอดปุ๋ยที่ก้นหลุมแล้วกลบดินบาง ๆ ก่อนหยอดเมล็ด
ไม่ควรให้ปุ๋ยสัมผัสกับเมล็ดโดยตรงเพราะอาจทำให้เมล็ดเน่าได้
การใส่ปุ๋ยแต่งหน้าครั้งที่ 1      สูตรปุ๋ยที่แนะนำคือ 46-0-0 (ยูเรีย) อัตรา 25-30 กิโลกรัมต่อไร่ ใส่เมื่อข้าวโพดมีอายุ 20-25 วันหลังปลูก โรยข้างต้นในขณะดินมีความชื้นหรือให้น้ำตาม หรือพูนโคนกลบปุ๋ยก็จะเป็นการกำจัดวัชพืชไปในตัว
การใส่ปุ๋ยแต่งหน้าครั้งที่ 2 เมื่อข้าวโพดมีอายุ 40-45 วันหลังปลูก ถ้าแสดงอาการเหลืองหรือไม่สมบูรณ์ ให้ใส่ปุ๋ยยูเรีย (46-0-0) อัตรา 25 กิโลกรัมต่อไร่ โรยข้างต้นในขณะดินมีความชื้นหรือให้น้ำตาม

การกำจัดวัชพืช
ถ้าแปลงปลูกข้าวโพดหวานมีวัชพืชขึ้นมากจะทำให้ข้าวโพดไม่สมบูรณ์ ผลผลิตจะลดลงจึงควรมีการกำจัดวัชพืชในแปลงปลูก วิธีการกำจัดวัชพืชสามารถทำได้ดังนี้
การฉีดยาคุมวัชพืช    ใช้อลาคลอร์  ฉีดพ่นลงดินหลังจากปลูกก่อนที่วัชพืชจะงอกขณะฉีดพ่นดินควรมีความชื้นเพื่อทำให้ยามีประสิทธิภาพดีขึ้น
ใช้วิธีการเขตกรรม ถ้าหากจำเป็นต้องใช้สารเคมีควรได้รับคำแนะนำจากนักวิชาการที่เกี่ยวข้อง หรือเจ้าหน้าที่โรงงานผู้ส่งเสริมการปลูก

การให้น้ำ
ระยะที่ข้าวโพดหวานขาดน้ำไม่ได้คือระยะ 7 วันแรกหลังปลูก เป็นระยะที่ข้าวโพดกำลังงอก ถ้าข้าวโพดหวานขาดน้ำช่วงนี้จะทำให้การงอกไม่ดี จำนวนต้นต่อพื้นที่ก็จะน้อยลงจะทำให้ผลผลิตลดลงไปด้วย ระยะที่ขาดน้ำไม่ได้อีกช่วงหนึ่งคือระยะออกดอก การขาดน้ำในช่วงนี้จะมีผลทำให้การผสมเกสรไม่สมบูรณ์ การติดเมล็ดจะไม่ดี ติดเมล็ดไม่เต็มถึงปลายหรือติดเมล็ดเป็นบางส่วน ซึ่งฝักที่ได้จะขายได้ราคาต่ำ โดยปกติถ้าเป็นพื้นที่ที่สามารถให้น้ำได้ควรให้น้ำทุก 3-5 วัน ขึ้นกับสภาพต้นข้าวโพดและสภาพอากาศ แต่ช่วงที่ควรให้น้ำถี่ขึ้นคือช่วงที่ข้าวโพดกำลังงอกและช่วงออกดอก

การเก็บเกี่ยว
โดยปกติข้าวโพดหวานจะเก็บเกี่ยวเมื่อมีอายุประมาณ 70-75 วันหลังปลูก  แต่ระยะที่เหมาะสมสำหรับการเก็บเกี่ยวที่สุด คือ ระยะ 18-20 วันหลังข้าวโพดออกไหม 50%   (ข้าวโพด 100 ต้นมีไหม 50 ต้น)   ข้าวโพดหวานพันธุ์  ไฮ-บริกซ์ 10  จะเก็บเกี่ยวที่อายุประมาณ 68-70 วัน   และพันธุ์ไฮ-บริกซ์ 3  จะเก็บเกี่ยวที่อายุประมาณ 65-68 วันหลังปลูก แต่ถ้าปลูกในช่วงอากาศหนาวเย็นอายุการเก็บเกี่ยวอาจจะยืดออกไปอีก หลังจากเก็บเกี่ยวแล้วควรรีบส่งโรงงานหรือจำหน่ายโดยเร็ว    เพื่อป้องกันการสูญเสียน้ำ  หากขาดน้ำจะมีผลต่อเมล็ดและน้ำหนักของฝัก

ปัญหาและการแก้ไข  ที่พบเห็นบ่อย ๆ  มีดังนี้
ความงอก   ปกติเมล็ดพันธุ์ไฮ-บริกซ์ 10 และ ไฮ-บริกซ์ 3 ได้ผ่านการทดสอบความงอกมาแล้วจึงจำหน่ายสู่เกษตรกร  แต่บางครั้งเมล็ดพันธุ์อาจจะค้างอยู่ในร้านค้าเป็นเวลานานหรือเกษตรกรอาจจะซื้อเมล็ดพันธุ์มาเก็บไว้ที่บ้าน และสถานที่เก็บอาจจะไม่เหมาะสม  สิ่งเหล่านี้มีผลทำให้เมล็ดพันธุ์มีความงอกลดลง วิธีการแก้ไขที่ดีที่สุด คือ ก่อนปลูกทุกครั้งให้ทดสอบความงอกของเมล็ดที่จะปลูกก่อน โดยการสุ่มเมล็ดจากถุงประมาณ 100 เมล็ด แล้วปลูกลงในกระบะทรายหรือดินแล้วรดน้ำเพื่อทดสอบความงอก นับต้นที่โผล่พ้นดินในวันที่ 7 ถ้ามีจำนวนต้นเกิน 85 ต้น  ถือว่ามีอัตราความงอกที่ใช้ได้ก็สามารถนำเมล็ดพันธุ์ถุงนั้นไปปลูกได้

โรคราน้ำค้าง  ปัจจุบันพันธุ์ข้าวโพดหวานเกือบทุกพันธุ์ที่ขายในประเทศไทยเป็นพันธุ์ที่ไม่ต้านทานโรคราน้ำค้าง  ตั้งแต่พันธุ์ไฮ-บริกซ์ 10 และ  ไฮ-บริกซ์ 3 จนถึงพันธ์ล่าสุดไฮ-บริกซ์ 9 ซึ่งทุกพันธุ์ได้ผ่านการคลุกยาป้องกันโรคราน้ำค้าง (เมตาแลกซิล) ในอัตรายาที่เหมาะสม  เมื่อปลูกแล้วจะไม่พบว่าเป็นโรค แต่การปลูกที่ผิดวิธีก็อาจเป็นสาเหตุให้เป็นโรคราน้ำค้างได้ การปลูกที่ผิดวิธีที่พบเห็นบ่อยๆ มีดังนี้
แช่เมล็ดพันธุ์ในน้ำก่อนปลูก  เกษตรกรเชื่อว่าการแช่เมล็ดพันธุ์ในน้ำก่อนปลูกจะทำให้การงอกดีและมีความสม่ำเสมอ แต่การแช่เมล็ดพันธุ์ในน้ำก่อนปลูกจะทำให้ยาที่คลุกติดมากับเมล็ดพันธุ์ซึ่งเป็นยาป้องกันโรคราน้ำค้างละลายหลุดออกไป ทำให้ยาที่เคลือบเมล็ดมีน้อยลงหรือไม่มีเลย เมื่อนำเมล็ดพันธุ์ที่แช่น้ำไปปลูก  ต้นอ่อนที่งอกออกมาจึงเป็นโรค ราน้ำค้าง วิธีแก้ไข คือ ไม่แช่เมล็ดพันธุ์ในน้ำก่อนปลูกหรือคลุกสารเคมีอื่นเพิ่มเพราะมีผลต่อความต้านทานโรคราน้ำค้างและความงอกของเมล็ดพันธุ์
ปล่อยน้ำท่วมขังแปลงหลังปลูก  เกษตรกรบางรายเมื่อปลูกเสร็จจะปล่อยน้ำท่วมแปลงปลูกหรือปล่อยน้ำท่วมร่องปลูก ซึ่งน้ำจะท่วมขังอยู่เป็นเวลานานกว่าจะซึมลงดินหมด เมล็ดจะแช่อยู่ในน้ำเป็นเวลานาน ยาป้องกันโรคราน้ำค้างที่เคลือบเมล็ดอยู่จะละลายหายไปกับน้ำ ทำให้ต้นอ่อนที่งอกขึ้นมาไม่ได้รับยาป้องกันโรคราน้ำค้าง  จึงแสดงอาการเป็นโรคให้เห็น วิธีแก้ไข คือ ให้น้ำในแปลงก่อนการปลูกและรอให้ดินมีความชื้นเหมาะกับการงอกของเมล็ดจึงทำการปลูก ยาที่เคลือบเมล็ดจะไม่ละลายหลุดไปกับน้ำ ต้นอ่อนที่งอกออกมาจึงได้รับยาอย่างเต็มที่และไม่เป็นโรคราน้ำค้าง

การระบาดของหนู  พื้นที่ที่ปลูกข้าวโพดหวานติดต่อกันหลายรุ่นมักจะพบว่ามีหนูระบาดและมักจะเข้าทำลายข้าวโพดหวานในระยะงอกและระยะก่อนเก็บเกี่ยว เมื่อมีหนูระบาดจะทำให้ผลผลิตลดลง ฝักที่เก็บได้มีร่องรอยการทำลายของหนูทำให้ขายไม่ได้   แก้ไขโดยการวางยาเบื่อหนู ซึ่งทำได้โดยใช้ข้าวโพดหวานฝักสดฝานเอาแต่เนื้อผสมกับยาเบื่อหนูที่เป็นผงสีดำ (Zinc phosphide) คลุกเคล้าให้ทั่วแล้วหว่านให้ทั่วในแปลงหลังจากปลูกเสร็จ   (อาจจะหว่านในช่วงหลังปลูก คือ ข้าวโพดกำลังงอก ) และในช่วงก่อนการเก็บเกี่ยว ( ช่วงข้าวโพดกำลังเป็นน้ำนม ประมาณ 65-70 วันหลังปลูก )หว่านติดต่อกันสัก 3 ครั้ง แต่ละครั้งห่างกัน 2-3 วัน จะทำให้การระบาดของหนู   ลดลง

หนอนเจาะฝักข้าวโพด  บางฤดูจะพบว่ามีการระบาดของหนอนเจาะฝักเกิดขึ้นซึ่งจะทำให้ฝักที่เก็บเกี่ยวได้มีตำหนิขายไม่ได้ราคา ผลผลิตต่อไร่ลดลง สามารถป้องกันการระบาดได้โดยการหมั่นตรวจแปลงอยู่เสมอโดยเฉพาะในระยะเริ่มผสมเกสร  ถ้าพบว่าเริ่มมีหนอนเจาะฝักให้ใช้ยา ฟลูเฟนนอกซูรอน หรือ ฟิโบรนิล (ชื่อสามัญ) ในอัตรา 20 ซี.ซี. ต่อน้ำ 20 ลิตร ฉีดพ่นที่ฝัก 1-2 ครั้ง ห่างกัน 7 วัน

มวนเขียว  หลังจากข้าวโพดผสมเกสรแล้ว บางครั้งจะมีมวนเขียวระบาดโดยเฉพาะช่วงฝนทิ้งช่วงหรือในหน้าแล้ง มวนเขียวจะใช้ปากเจาะฝักข้าวโพดและดูดกินน้ำเลี้ยงจากเมล็ดที่ยังอ่อนอยู่ชึ่งจะไม่เห็นร่องรอยการทำลายจากภายนอก เมื่อเก็บเกี่ยวจะพบว่าเมล็ดมีรอยช้ำหรือรอยดำด่างทำให้ขายไม่ได้ราคา ป้องกันได้โดยการหมั่นเดินตรวจแปลงในระยะหลังจากผสมเกสรแล้วถ้าพบมวนเขียวให้ฉีดพ่นด้วยยา คาร์โบซัลแฟน (ชื่อสามัญ) อัตรา 40 ซี.ซี. ต่อน้ำ 20 ลิตร  ฉีดพ่นที่ฝักข้าวโพด

เพลี้ยไฟ  ถ้าข้าวโพดหวานออกดอกในช่วงฝนทิ้งช่วงหรือในหน้าแล้ง มักจะพบว่ามีเพลี้ยไฟ(แมลงตัวเล็กๆ สีดำ)  เกาะกินน้ำเลี้ยงที่ไหมของฝักข้าวโพดทำให้ไหมฝ่อ การผสมเกสรไม่สมบูรณ์ การติดเมล็ดจะไม่ดีตามไปด้วย ป้องกันได้โดยหมั่นตรวจแปลงในระยะออกดอก ถ้าพบว่ามีเพลี้ยไฟเกาะที่ไหม ให้ใช้ยาเอ็นโดซันแฟน (ชื่อสามัญ) หรือ วีฟอส (ชื่อการค้า) อัตรา 40 ซี.ซี.  ต่อน้ำ 20 ลิตร  ฉีดพ่นที่ฝัก
ข้าวโพดไม่หวาน ถ้าพบว่าข้าวโพดหวานฝักสดมีรสชาติไม่หวานแสดงว่าดินในแปลงที่ปลูกข้าวโพดขาดธาตุโปแตสเซี่ยม (K) ธาตุโปแตสเซี่ยมจะช่วยให้การสะสมน้ำตาลในเมล็ดดีขึ้น แก้ไขได้โดยการใส่ปุ๋ยรองพื้นที่มีธาตุโปแตสเซี่ยมร่วมด้วย เช่น ปุ๋ยสูตร 25-7-7 หรือ 16-16-8 หรือ 13-13-21 ขึ้นกับสภาพดิน  ถ้าดินขาดโปแตสเซี่ยมมากก็ควรใส่ปุ๋ยสูตรที่มีค่า K สูง

เปลือกหุ้มฝักเหลือง  การเก็บเกี่ยวที่อายุเกิน 20 วันหลังออกไหม 50% จะมีผลทำให้เปลือกหุ้มฝักมีสีเขียวอ่อนลงดูเหมือนฝักจะแก่  บางครั้งถึงแม้ว่าจะเก็บเกี่ยวที่อายุเหมาะสม เปลือกหุ้มฝักก็ยังมีสีออกเหลือง  การแก้ไขทำได้โดยการเพิ่มปุ๋ยยูเรีย (46-0-0) อัตรา 15-20 กิโลกรัมต่อไร่ โรยข้างต้นข้าวโพดในขณะดินมีความชื้นในระยะที่ข้าวโพดออกดอก  จะทำให้เปลือกหุ้มฝักมีสีเขียวอยู่ได้นานขึ้น
โรคราสนิม  ถ้ามีโรคราสนิมระบาดรุนแรงจะทำให้ฝักข้าวโพดไม่สมบูรณ์ การติดเมล็ดจะไม่เต็มถึงปลายขายไม่ได้ราคา ในพื้นที่ที่มีการระบาดของโรคราสนิมอยู่เป็นประจำควรฉีดพ่นด้วยยาไดฟีโนโคนาโซล (ชื่อสามัญ)หรือ สกอร์ (ชื่อการค้า) อัตรา 20 ซี.ซี. ต่อน้ำ 20 ลิตร  เมื่อเริ่มเป็นโรค

ข้อควรระมัดระวัง
การใช้สารเคมีป้องกันและกำจัดโรคและแมลง เกษตรกรควรขอคำแนะนำจากโรงงานผู้ส่งเสริม หรือนักวิชาการโดยตรง เพื่อหลีกเลี่ยงสารตกค้างที่อาจปนเปื้อนไปกับผลิตภัณฑ์


การเพาะเลี้ยงกุ้งก้ามกราม




หลักการเพาะเลี้ยงกุ้งก้ามกราม
โดย  ศูนย์พัฒนาการเพาะเลี้ยงกุ้งก้ามกราม


กุ้งก้ามกราม มีชื่อสามัญว่า   Giant Freshwater Prawn     Freshwater Prawn      Giant  River Prawn และ Malayan Prawn  และมีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Macrobrachium rosenbergii (De man, 1879)      กุ้งชนิดนี้มีถิ่นกำเนิดอยู่ในเอเชียใต้ ได้แก่ อินเดีย บังคลาเทศ ไปจนถึงเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ได้แก่ ไทย  พม่า  เวียตนาม  เขมร มาเลเซีย  อินโดนีเซีย  ฟิลิปปินส์ ตลอดจนบางส่วนของโอเชียเนียและหมู่เกาะแปซิฟิกบางแห่ง       แต่ในปัจจุบันได้ถูกนำไปเลี้ยงอย่างแพร่หลายในภูมิภาคอื่นที่มีภูมิอากาศแบบเขตร้อน เช่น ในทวีปอเมริกา เป็นต้น
    สำหรับในประเทศไทย กุ้งชนิดนี้มีชื่อท้องถิ่นซึ่งเป็นที่รู้จักกันหลายชื่อ เช่น กุ้งก้ามกราม  กุ้งนาง  กุ้งแห  กุ้งใหญ่  กุ้งหลวง และกุ้งก้ามเกลี้ยง    ในประเทศไทยพบกุ้งชนิดนี้ได้ทั่วไปในแหล่งน้ำจืดที่มีทางติดต่อกับทะเล  และแหล่งน้ำกร่อยในบริเวณปากแม่น้ำลำคลอง  ในภาคเหนือพบกุ้งชนิดนี้ในแม่น้ำเมยซึ่งเป็นสาขาของแม่น้ำสะละวินของพม่า ในภาคกลางและภาคตะวันออกพบในแม่น้ำเจ้าพระยา  แม่น้ำท่าจีน แม่น้ำแม่กลอง แม่น้ำบางปะกง แม่น้ำปราณบุรี แม่น้ำนครนายก  แม่น้ำจันทบุรี  แม่น้ำเวฬุ  แม่น้ำระยอง และแม่น้ำตราด      ภาคใต้พบในแม่น้ำหลังสวน แม่น้ำตาปี  แม่น้ำกระบุรี   แม่น้ำตรัง  แม่น้ำปัตตานี และในทะเลสาบสงขลา              แต่ในปัจจุบันกุ้งก้ามกรามในแหล่งน้ำธรรมชาติมีแนวโน้มลดลงอย่างมากเนื่องจากหลายสาเหตุ เช่น การสร้างเขื่อนกั้นน้ำทำให้กุ้งไม่สามารถอพยพไปวางไข่ในบริเวณปากแม่น้ำได้    การทำการประมงมากเกินกำลังผลิตตามธรรมชาติ    ปัญหามลภาวะเป็นพิษของสิ่งแวดล้อมเช่นการเน่าเสียของแม่น้ำลำคลอง และการทำการประมงอย่างไม่ถูกวิธีเป็นต้น    อย่างไรก็ตามปัจจุบันนี้หน่วยงานของกรมประมงและฟาร์มเอกชนสามารถเพาะพันธุ์กุ้งชนิดนี้ได้จึงทำให้มีผู้เลี้ยงกุ้งชนิดนี้กันอย่างแพร่หลาย โดยมีสถานีและศูนย์ฯ ที่ผลิตพันธุ์กุ้งก้ามกรามในปี พ.ศ. 2542 มีจำนวน 19 แห่ง  ผลผลิตพันธุ์กุ้งก้ามกรามของกรมประมงในปี พ.ศ. 2540 - 2542  ระหว่าง 113,422,000 - 351,016,500 ตัว/ปี (เฉพาะศูนย์พัฒนาการเพาะเลี้ยงกุ้งก้ามกรามมีผลผลิต  124,569,000 ตัวในปี พ.ศ. 2542  ) ส่วนฟาร์มเอกชนที่ผลิตพันธุ์กุ้งก้ามกรามในปี พ.ศ. 2542 มีจำนวน 109  ราย มีผลผลิตรวมกันประมาณ 1,200,000,000  ตัว  โดยฟาร์มส่วนมาก(กว่า 95 เปอร์เซ็นต์) อยู่ในจังหวัดสุพรรณบุรี

    สาเหตุที่เกษตรกรนิยมเพาะพันธุ์กุ้งชนิดนี้ เนื่องจากกุ้งชนิดนี้เป็นที่ต้องการของตลาด ทำให้มีราคาค่อนข้างสูงเมื่อเปรียบเทียบกับสัตว์น้ำจืดหลายชนิด และยังสามารถเพาะพันธุ์ได้ตลอดทั้งปี จึงเป็นอาชีพที่ทำรายได้ดีให้แก่เกษตรกร แต่การเพาะพันธุ์กุ้งก้ามกรามให้ประสบผลสำเร็จนั้นต้องอาศัยทักษะ ความรู้ ความเข้าใจและประสบการณ์ พร้อมทั้งการดูแลเอาใจใส่ให้ผลผลิตที่ได้มีคุณภาพดี    เทคนิคการเพาะพันธุ์ของฟาร์มแต่ละแห่งอาจแตกต่างกัน  ทำให้ต้นทุนการผลิตแตกต่างกัน  แต่พอสรุปได้ว่าต้นทุนกว่า 50 เปอร์เซ็นต์หมดไปกับอาหารที่ใช้อนุบาลลูกกุ้ง โดยเฉพาะอาร์ทีเมีย ซึ่งปัจจุบันไข่อาร์ทีเมียที่มีคุณภาพดีมีราคาสูงมาก (ประมาณ 2,000 บาท/  กระป๋อง)

2. การแพร่กระจาย
ถิ่นกำเนิดอยู่ใน เอเชียใต้  เช่น บังคลาเทศ  อินเดีย   ไปจนถึง เอเชียตะวันออกเฉียงใต้      เช่น  ไทย  พม่า  เวียตนาม  เขมร  มาเลเซีย   อินโดนีเซีย  ฟิลิปปินส์       และบางส่วนของหมู่เกาะแปซิฟิก         ในประเทศไทยพบทั่วไปในแหล่งน้ำจืดที่มีทางติดต่อกับทะเล ในภาคเหนือ พบใน ม. เมย ซึ่งเป็นสาขาของแม่น้ำสาละวิน     ภาคกลางและภาคตะวันออกพบใน  ม.เจ้าพระยา,  ม. ท่าจีน ,  ม. แม่กลอง,   ม. บางปะกง,  ม. ปราณบุรี,  ม. นครนายก,  ม. จันทบุรี,  ม. เวฬุ,  ม. ระยอง,  ม. ตราด  ส่วนภาคใต้พบใน ม. หลังสวน,  ม. ตาปี, ม. กระบุรี, ม. ตรัง,  ม. ปัตตานีและทะเลสาบสงขลา    

3. ฤดูผสมพันธุ์วางไข่
กุ้งก้ามกรามผสมพันธุ์วางไข่ได้ตลอดปี  ถ้าอุณหภูมิน้ำสูงกว่า 21 องศาเซลเซียส    โดยวางไข่ได้ปีละ 4 - 5 ครั้ง

4. วงจรชีวิตการสืบพันธุ์
เมื่อถึงฤดูผสมพันธุ์  แม่กุ้งที่ผสมพันธ์แล้วจะเดินทางมาสู่บริเวณปากแม่น้ำ หรือบริเวณน้ำกร่อย  หลังจากวางไข่แล้ว  ลูกกุ้งจะล่องลอยไปตามกระแสน้ำและใช้เวลา 15 - 40 วัน  จนวิวัฒนาการเป็นกุ้งวัยรุ่น (postlarva) แล้วจึงอพยพเข้าไปเจริญเติบโตในน้ำจืด  จนมีอายุประมาณ 5 เดือนจึงพร้อมจะผสมพันธุ์วางไข่ได้

5. การผสมพันธุ์วางไข่
การผสมพันธุ์วางไข่เกิดขึ้นเมื่อตัวเมียลอกคราบเสร็จใหม่ๆและเปลือกยังอ่อนอยู่  ตัวเมียจะรับน้ำเชื้อจากตัวผู้ซึ่งมีลักษณะเป็นสารเหนียวสีขาวติดอยู่ที่หน้าอกระหว่างขาเดินของตัวเมีย   หลังจากนั้น 2 - 3 ชั่วโมงไข่จะเคลื่อนออกมาผสมกับน้ำเชื้อแล้วถูกเก็บไว้บริเวณส่วนท้องระหว่างขาว่ายน้ำ      แม่กุ้งจะใช้ขาว่ายน้ำโบกพัดให้น้ำไหลผ่านเพื่อให้ออกซิเจนแก่ไข่    ไข่ที่ออกมาใหม่ๆมีสีเหลืองส้ม  ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 0.6-0.8 มม.  และจะมีวิวัฒนาการจนกระทั่งเปลี่ยนเป็นสี


น้ำตาลหรือสีเทาซึ่งพร้อมจะฟักเป็นตัวภายใน 2-3 วัน  ระยะเวลาที่ไข่ติดอยู่ที่ท้องจนฟักเป็นตัวประมาณ 17-21 วัน

6. ความดกของไข่
แม่กุ้งน้ำหนัก 10 - 50 กรัมมีไข่ประมาณ 11,000 - 70,000 ฟอง 
น้ำหนักกุ้ง(กรัม)    ความยาวTL(ซม.)    น้ำหนักไข่(กรัม)    จำนวนไข่(ฟอง)
10.53                               9.9                        1.40                     11,300
12.17                              10.5                       1.39                     13,700
14.32                              10.5                       2.08                     14,175
32.22                              13.9                       3.41                     35,317
37.65                              14.5                       4.60                     47,642
40.94                              15.1                       5.15                     53,338
41.73                              15.0                       5.94                     61,520
44.51                              15.3                       5.57                     57,688
46.19                              15.4                       6.30                     65,249
47.07                              15.9                       6.76                     70,013
49.57                              15.8                       6.61                     68,459
52.37                              16.4                       6.16                     63,799
53                                   16.3                       6.97                     72,188

7. วิวัฒนาการของลูกกุ้งวัยอ่อนตามวิธีของ  Uno and Soo (1969)
ระยะที่                ลักษณะ
1                ไม่มีก้านตา
2                มีก้านตา
3                ปลายหางแผ่กว้าง
4                กรีด้านบนมีฟัน 2 ซี่
5                ปลายหางแคบเรียวเข้า
6                ขาว่ายน้ำงอกเป็นปุ่ม
7                ปลายขาว่ายน้ำเป็น 2 แฉกไม่มีขน
8                แขนงนอกของขาว่ายน้ำมีขน
9                ปลายขาว่ายน้ำทั้ง 2 แขนงมีขน
10                ปลายกรีด้านบนมีฟัน 3-4 ซี่

11                กรีด้านบนมีฟันหลายซี่
12(กุ้งคว่ำ)            กรีมีฟันทั้งด้านบนและด้านล่าง
     
8. การเพาะและอนุบาล
8.1 การเลือกสถานที่
อยู่ใกล้ทะเลเนื่องจากต้องใช้น้ำเค็มในการเพาะและอนุบาล           อยู่ใกล้แหล่งน้ำจืดที่มีคุณภาพดี เนื่องจากต้องต้องใช้เจือจางน้ำเค็มให้ได้ระดับ 12-15 ppt        มีไฟฟ้าใช้ สำหรับเครื่องปั๊มลม    เครื่องสูบน้ำ    ตู้เย็น   ฯลฯ    อยู่ใกล้แหล่งที่หาแม่พันธุ์กุ้งได้สะดวก    ทางคมนาคมสะดวก



    8.2 อุปกรณ์การเพาะฟัก
- โรงเรือนพลาสติก
-  บ่อพักน้ำจืด   น้ำเค็ม   และบ่อผสมน้ำให้ได้ความเค็ม 12-15 ppt 
-  บ่อเพาะและอนุบาล (ใช้บ่อกลม เส้นผ่าศูนย์กลาง 1.5-3 ม.)
-  อุปกรณ์ให้อากาศ และระบบเตือนไฟฟ้าดับ
-  เครื่องมือวัดความเค็ม เช่น Salinometer
-  สารเคมีและยาฆ่าเชื้อโรค เช่น คลอรีน ฟูราซาน
-  อุปกรณ์อื่น ๆ เช่นตู้เย็น  หม้อนึ่ง   เครื่องปั่นน้ำผลไม้   สวิง    ฯลฯ

8.3  การเตรียมบ่อ
-  ใช้บ่อซีเมนต์กลมเส้นผ่าศูนย์กลาง  1.5 - 3  เมตร  ภายในมีท่อระบายน้ำทิ้ง  เส้นผ่าศูนย์กลาง  2  นิ้วอยู่กลางบ่อ
-   ทำความสะอาดบ่อโดยฆ่าเชื้อโรคด้วยฟอร์มาลิน  250  ppm สาดให้ทั่วตากบ่อทิ้งไว้ 1 วัน แล้วล้างให้สะอาด
-   เติมน้ำเค็ม 12-15 ppt  จนได้ระดับ ประมาณ  40  เซนติเมตร
-  ใส่หัวทราย (2 หัว/บ่อ เส้นผ่าศูนย์กลาง 1.5 ม. หรือ 5 หัว/บ่อ เส้นผ่าศูนย์กลาง 2 ม.)  เพื่อให้อากาศตลอดเวลา


8.4  การเตรียมน้ำเค็ม
-  นำน้ำเค็ม  70-100  ppt   ซึ่งซื้อจากนาเกลือ (น้ำเค็ม 60 - 70 ppt ราคา 2,800 บาท/คันรถ) มาเจือจางจนได้ 12-15 ppt
-  ใส่แคลเซียมไฮโปคลอไรท์  10  กรัม/น้ำ 1 ตัน  เพื่อฆ่าเชื้อโรคให้อากาศทิ้งไว้หนึ่งวัน
-  เติม EDTA  (ethylene  diamine tetra acetate)  2  กรัม/น้ำ  1  ตัน เพื่อตกตะกอนโลหะหนัก ทิ้งไว้  2  วัน ให้อากาศตลอดเวลา
-  นำน้ำที่เจือจางแล้วมาใช้โดยกรองผ่านผ้ากรอง แพลงค์ตอน  69 ไมครอน

8.5  การเตรียมพันธุ์กุ้งก้ามกราม
-  ซื้อแม่กุ้งก้ามกราม  ที่มีไข่สีน้ำตาลหรือสีเทา ติดอยู่ที่ท้อง  จากฟาร์มเลี้ยงกุ้ง ซึ่งมีมากในจังหวัดสุพรรณบุรี นครปฐม
-   ลำเลียงแม่กุ้งในภาชนะซึ่งมีการให้อากาศตลอดเวลา
-  นำแม่กุ้งไปใส่ในบ่อเพาะพันธุ์ซึ่งมีน้ำเค็ม  12-15 ppt  ในอัตรา  100 ตัว/ตารางเมตร ให้อากาศตลอดเวลา
-  วันรุ่งขึ้นจึงย้ายแม่กุ้งออกจากบ่อ  (แม่กุ้งที่ยังวางไข่ไม่หมดให้นำไปใส่ในบ่อใหม่)

8.6  การให้อาหาร
-  เริ่มให้อาร์ทีเมีย เมื่อลูกกุ้งอายุได้  2  วัน  โดยให้วันละประมาณ 2-3  ครั้ง (เช้า กลางวัน เย็น)  และตรวจสอบปริมาณอาร์ทีเมียให้ปริมาณเพียงพอตลอดเวลา
- เมื่อลูกกุ้งอายุได้ 9 - 10 วัน จึงเปลี่ยนมาให้ไข่ตุ๋นผสมนมผงวันละ 2- 3 ครั้งในช่วงเวลา เช้าถึงเย็น  และให้อาร์ทีเมียเวลาเย็นครั้งเดียว
8.6.1  การเตรียมไข่ตุ๋นผสมนมผง
อุปกรณ์และวัตถุดิบที่ใช้มีดังนี้
- เครื่องปั่นน้ำผลไม้ ขนาด 1-1.25 ลิตร
- ไข่เป็ด
- นมผง
- หม้อนึ่งพร้อมเตาแก๊ส
- ตะแกรงลวดขนาด 64 ช่องตา/ตารางเซนติเมตร
- ภาชนะสำหรับใส่ไข่ตุ๋น
- ตู้เย็น

วิธีการ
ผสมไข่เป็ด 12 ฟอง นมผง  1  ช้อน  (ประมาณ  5 กรัม)  เติมน้ำจืดจนได้ 1 ลิตร ผสมให้เข้ากันด้วยเครื่องปั่นน้ำผลไม้ นำไปนึ่งจนสุก แล้วทิ้งไว้ให้เย็น   ยีผ่านตะแกรงลวดแล้วล้างด้วยน้ำจืดจนน้ำล้างทิ้งค่อนข้างใส   เก็บไว้ในภาชนะที่มีฝาปิดในตู้เย็นช่องธรรมดาได้ 3 - 4  วัน
8.6.2  การฟักไข่อาร์ทีเมีย
-  เตรียมน้ำเค็มตามที่ระบุไว้สำหรับอาร์ทีเมียแต่ละยี่ห้อ (ส่วนใหญ่จะใช้ความเค็มประมาณ 25- 30 ppt)
-  ใส่ไข่อาร์ทีเมียในบ่อฟักไข่ โดยปกติจะใช้ในอัตรา  1.2-1.3 กรัม/น้ำ  1 ลิตร (1 กระป๋องน้ำหนัก 15 ออนซ์ หรือ 425 กรัม/บ่อ เส้นผ่าศูนย์กลาง  70  เซนติเมตร  ระดับน้ำ  45 ซม.  จำนวน  2  บ่อ)
-  ให้อากาศตลอดเวลาประมาณ  36  ชม.  จึงรวบรวมมาให้ลูกกุ้งกิน
-    การรวบรวมทำโดยหยุดให้อากาศปิดฝาบ่อด้านบนและเปิดวาล์วด้านล่าง เนื่องจากเปลือกไข่จะลอยอยู่ผิวน้ำ

8.7    อัตราปล่อย
หลังจากลูกกุ้งอายุประมาณ 7 วันจึงลดความหนาแน่นเหลือประมาณ  100 ตัว/ลิตร

บ่อเส้นผ่าศูนย์กลาง        ระดับน้ำในบ่อ        ปริมาตรน้ำ        อัตราปล่อย
        (เมตร)                (ซม.)               (ลิตร)                     (ตัว/บ่อ)
       1.5                40                                      700                                 70,000
    2.0                                        40                                   1,250                               12,5000
       3.0                                        40                                   2,800                               280,000     

8.8  การดูแลรักษา
-  ระยะที่ยังไม่ให้ไข่ตุ๋นผสมนม (ช่วง 9 วันแรก) ยังไม่มีการย้ายบ่อ (แต่มีการย้ายเพื่อลดความหนาแน่นให้เหมาะสม เมื่ออายุประมาณ 7 วัน)     ในช่วงนี้อาจถ่ายน้ำทุก  3 - 4 วัน
-  หลังจากเริ่มให้ไข่ตุ๋น จึงเริ่มดูดตะกอนถ่ายน้ำทุกวัน และย้ายบ่อทุก 3-4 วัน
-  เช็ดทำความสะอาดขอบบ่อและสายแอร์ปั๊มทุกวัน
-  ทุกครั้งที่ย้ายลูกกุ้งไปไว้บ่อใหม่ ให้ใส่ยา furazan  1  กรัม/น้ำ 1 ตัน  เพื่อป้องกันการติดเชื้อ

8.9  การแยกกุ้งคว่ำ
-   หลังจากอนุบาลประมาณ  25-30 วัน ลูกกุ้งส่วนใหญ่ (เกิน 70 เปอร์เซ็นต์ ขึ้นไป) จะพัฒนาเป็นกุ้งคว่ำซึ่งสังเกตข้อแตกต่างได้คือ กุ้งที่ยังไม่คว่ำ จะหงายท้องว่ายน้ำถอยหลัง และมีสีน้ำตาลเข้มปนแดง    ส่วนกุ้งที่คว่ำแล้วจะเกาะผนังบ่อและว่ายน้ำไปข้างหน้า  สีน้ำตาลจะซีดลง
- วิธีแยกกุ้งคว่ำทำโดยใช้สวิงช้อนกุ้งจากนั้นปล่อยให้กุ้งคว่ำเกาะพื้นก้นสวิง แล้วดึงสวิงในแนวขนานกับผิวน้ำ เพื่อให้กุ้งที่ยังไม่คว่ำหลุดออกไป ทำเช่นนี้  2-3 ครั้ง  จนแน่ใจว่าเหลือแต่กุ้ง
คว่ำจึงย้ายกุ้งคว่ำ ไปใส่บ่อใหม่ ที่มีความเค็ม  12-15  ppt  และปรับจนเป็นน้ำจืดภายใน  3 -4 วัน  ระยะนี้ให้ไข่ตุ๋นเพียงอย่างเดียว

8.10  ผลผลิต
              อัตรารอดของกุ้งก้ามกรามที่ได้จากการอนุบาลในบ่อซีเมนต์ในโรงเรือนพลาสติกประมาณ 50 - 60 เปอร์เซ็นต์ ดังนั้นจึงมีผลผลิตดังนี้
บ่อเส้นผ่าศูนย์กลาง        อัตราปล่อย            ผลผลิต
       (เมตร)                             (ตัว/บ่อ)            (ตัว/บ่อ)   
         1.5              70,000                       35,000 -  42,000
             2.0                                          125,000                                     56,250 -  75,000
         3.0                                          280,000                                   126,000 -  168,000   

9. การขนส่งพันธุ์กุ้งก้ามกราม
ในปัจจุบันนิยมใช้ ถุงพลาสติกขนาดกว้าง  14 นิ้ว ยาว 24 นิ้ว  บรรจุน้ำประมาณ 2.5 ลิตร อัดออกซิเจน 3 ส่วนต่อปริมาตรน้ำ 1 ส่วน บรรจุลูกกุ้งคว่ำ ประมาณ 2,000 ตัวต่อถุง
โดยนิยมขนส่งในช่วงเวลาเช้ามืดหรือเวลากลางคืนเนื่องจากอุณหภูมิอากาศไม่ร้อนจัดเกินไปซึ่งถ้าขนส่งในช่วงเวลาเช้ามืดหรือกลางคืนไม่จำเป็นต้องใช้รถห้องเย็นควบคุมอุณหภูมิก็ได้   แต่ต้องระมัดระวังความร้อนจากพื้นรถไม่สัมผัสกับถุงบรรจุลูกกุ้งโดยตรง     แต่ถ้าเป็นการขนส่งในเวลากลางวันเป็นเวลานานหลายชั่วโมง ควรใช้รถห้องเย็นที่ปรับอุณหภูมิภายในไว้ที่ 25 องศาเซลเซียส

10. โรคที่พบในกุ้งก้ามกรามวัยอ่อน
10.1 โรคตัวขาว หรือเนื้อตาย (  White muscle disease   or  Muscle necrosis   or   Idioparthic Muscle Necrosis- IMN)
อาการ  กล้ามเนื้อลำตัวและหางมีสีขาวขุ่น อาจจะเริ่มจากจุดเล็กๆแล้วลามออกไปเรื่อยๆ  และตายภายใน 2 - 3 วัน
สาเหตุ  สภาพแวดล้อมที่ทำให้เกิดความเครียด เช่นการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิและความเค็มอย่างรวดเร็ว  การขาดแคลนออกซิเจน และการอยู่อย่างแออัด
การรักษา  ไม่มียารักษานอกจากลดความเครียดให้เหลือน้อยที่สุด

อาการ  กุ้งอ่อนแอ  ไม่กินอาหาร เฉื่อยชา และถูกกินโดยกุ้งที่แข็งแรงกว่า กุ้งที่เป็นโรคมักจะมีสีน้ำเงินปนเทา และว่ายน้ำควงสว่าน    มักจะพบในกุ้งอายุ 12 - 24 วัน
สาเหตุ    ยังไม่ทราบแน่ชัด  อาจเกิดจากสารพิษเช่นโลหะหนัก ยากำจัดวัชพืช หรือขาดสารอาหาร หรือติดเชื้อแบคทีเรียในกลุ่ม Enterobacteraerogenes 
การรักษา ยังไม่มียารักษาที่ได้ผล วิธีที่ดีที่สุดคือ กำจัดกุ้งที่เป็นโรคทิ้งและฆ่าเชื้อและทำความสะอาดบ่อทุกครั้งที่อนุบาลเสร็จแต่ละชุด

10.3โรคเนื้อตายจากแบคทีเรีย ( Bacterial necrosis)
อาการ กุ้งมีสีออกน้ำเงินหรือซีด  กระเพาะอาหารว่างเปล่า และกุ้งที่อ่อนแอมักจะนอนก้นบ่อ และมีจุดสีน้ำตาลบนรยางค์และหนวด 
สาเหตุ ยังไม่ทราบแน่ชัด สันนิษฐานว่า เกิดจากแบคทีเรียหลายชนิดเช่น Leucothrix sp.  และแบคทีเรียในกลุ่ม bacilli  และ  cocci ปรากฏบน เหงือกและรยางค์  และอาจทำให้กุ้งตายหมดภายใน 2 วัน
การรักษา  ใช้ penicillin 2 ppm  หรือ  furanace  7  ppm

10.4 โรคเรืองแสง (Luminescence disease)
อาการ  มีการเรืองแสงบนตัวกุ้งที่เป็นโรคซึ่งเห็นได้ในเวลากลางคืน กุ้งว่ายน้ำเฉื่อยชา ลำตัวขุ่น  รวมกลุ่มกัน และอัตราการตายอาจสูงถึง 100 %
สาเหตุ เกิดจากแบคทีเรีย Vibrio harveyi ซึ่งพบได้ทั้งในน้ำจืด  น้ำทะเลและน้ำในนาเกลือ
การรักษา  ใช้ยา Chloramphenical  2 - 3 ppm  วิธีป้องกันที่ดีคือฆ่าเชื้อในน้ำด้วย แคลเซียมไฮโปคลอไรท์ 20 - 30 ppm หรือ ฟอร์มาลิน 50 ppm


10.5 โรคลอกคราบไม่ออก (Exuvia entrapment disease  -EED   or  Metamorphosis moult mortality syndrome)
อาการ  ลูกกุ้งที่ตายจะติดอยู่กับคราบตรงบริเวณขาว่ายน้ำ รยางค์และกรี    ส่วนกุ้งที่ลอกคราบได้จะมีรยางค์ผิดปกติและตายหลังจากลอกคราบ        แต่การตายจากโรคนี้มักไม่ร้ายแรง
สาเหตุ ยังไม่ทราบแน่ชัดแต่อาจเกิดจากคุณสมบัติของน้ำไม่ดีหรือขาดสารอาหาร
การป้องกันรักษา รักษาคุณสมบัติของน้ำให้ดี      และให้อาหารที่มีเลซิธิน

10.6 โรคจากโปรโตซัว
อาการ โปรโตชัวจะเกาะตามลำตัวกุ้ง  ถ้ามีน้อยอาจถูกกำจัดโดยการลอกคราบ ถ้ามีมากจะขัดขวางการลอกคราบ ยับยั้งการเจริญเติบโต และตายในที่สุด
สาเหตุ เกิดจากโปรโตซัวหลายชนิด เช่น Zoothamnium  sp.     Epistylis sp.     Vorticella sp.      Acineta sp. 
การรักษา  ปรับปรุงคุณสมบัติของน้ำ และใส่ฟอร์มาลิน 20 - 30 ppm แช่นาน 24 ชั่วโมง



ส้มสายน้ำผึ้ง




 ส้มสายน้ำผึ้ง หรือส้มโชกุน หรือ ส้มเพชรยะลา เป็นพันธุ์ส้มในกลุ่มส้มเขียวหวานชนิดหนึ่ง ที่ปัจจุบันกำลังได้รับความนิยมอย่างสูง เพราะผลส้มนี้มีคุณภาพและรสชาติที่ดีกว่าส้มเขียวหวานชนิดอื่นๆ ในหลายๆ ด้าน เนื้อแน่น สีส้นสวนงาม ชานมีลักษณะนิ่ม มีน้ำส้มในปริมาณมาก รสชาติหวานแหลม อมเปรี้ยวเล็กน้อย

ลักษณะประจำพันธุ์ของส้มสายน้ำผึ้ง
          ทรงพุ่ม ส้มสายน้ำผึ้งมีการเจริญไ้ด้ดีพอๆ กับส้มเขียวหวาน โดยจะมีทรงพุ่มแน่นกว่าส้มเขียวหวาน ลักษณะกิ่งและใบจะตั้งขึ้น (erect form) ในขณะที่ส้มเขียวหวานใบจะตก หรือห้อยลงมา (weeping form and willow leaf)
          ใบ ใบของส้มสายน้ำผึ้งเมื่อเทียบกับส้มเขียวหวาน จะมีขนาดเล็กและมีสีเขียวเข้มมากกว่า นอกจากนี้ใบยังมีกลิ่นหอมคล้ายส้มจีน และส้มพองแกน
          ผล ส้มสายน้ำผึ้งมีลักษณะผลคล้ายส้มเขียวหวานมาก ขณะที่ผลยังอ่อนจะมีสีคล้ายส้มเขียวหวาน เมื่อแก่จัดผิวจะเปลี่ยนเป็นสีเหลืองแดง ผกเว้นผลส้มที่ได้จากภาคใต้จะมีสีผิวหมือนกันส้มเขียวหวาน ปอกเปลือกง่าย เปลือกมีกลิ่นหอมคล้ายส้มจีน หรือส้มพองแกน ส้มพันธุ์นี้มีช่วงเวลาการเก็บเกี่ยว 8-8 เดือนครึ่ง ในการปลูกจากกิ่งตอนจะเก็บเกี่ยวผลผลิตได้ในปีที่ 3  กิ่งตอนส้มสายน้ำผึ้ง  ต้นส้มที่เจริญเต็มที่ ให้ผลผลิตมากถึง 80-200 กิโลกรัม/ต้น/ปี  แปลงปลูกส้มสายน้ำผึ้งขนาดใหญ่ในเขตภาคเหนือ


การเตรียมพื้นที่ปลูก

1. การเตรียมพื้นที่
ถ้าเป็นพื้นที่ดอน ให้ขุดตอไม้ออก ไถพรวนให้ลึก 30-40 เซนติเมตร ปรับพื้นที่ให้เรียบ แล้วขึ้นแปลงเป็นรูปลอนลูกฟูกขวางทางแสงอาทิตย์กว้าง 3 เมตร สูง 40 เซนติเมตร ไม่จำกัดความยาว โดยให้มีพื้นที่ว่างระหว่างแปลง 3 เมตร สำหรับให้เครื่องจักรเข้าทำงานได้โดยสะดวก ทำร่องน้ำ เพื่อระบายน้ำที่ไหลออกจากแปลงลงสู่แหล่งน้ำธรรมชาติ
          ถ้าเป็นพื้นที่ลุ่ม ขุดเป็นร่องหรือยกร่อง โดยมีสันร่องซึ่งจะใ่ช้ปลูกกว้างประมาณ 6 เมตร ร่องน้ำกว้าง 1.50 เมตร ลึก 1 เมตร ก้นร่องน้ำกว้าง 70 เซนติเมตร การยกร่องควรทำขวางแสงอาทิตย์ เพราะจะทำให้ร่องได้รับแสงสม่ำเสมอทั่วถึง กรณีที่ลุ่มมากต้องทำคันกั้นน้ำรอบสวนมีท่อระบายน้ำเข้า-ออกจากสวนได้

2. การจัดระยะปลูก
          การจัดวางแนวปลูกควรทำให้เหมาะสมโดยอาจใช้ระยะปลูก 2 x 6, 3 x 6, 3 x 7 หรือ 4 x 6 และควรจัดแถวในแนวขวางแสงอาทิตย์ เพื่อไม่ให้ต้นส้มบังแสงกัน การเลือกระยะปลูกมีความสำคัญ ระยะปลูกใกล้จะมีข้อดคือให้ผลผลิตมาก เช่น ในช่วงปีที่ 3-5 การปลูกในระยะ 2 x 6 จะให้ผลผลิตในปริมาณมากกว่าการปลูกที่ระยะ 4 x 6 ถึง 1 เท่าตัว แต่อาจจะเกิดปัญหาเรื่องการสะสมของโรคและแมลงเนื่องจากเบียดชิดกันของทรงพุ่ม

3. การเตรียมดิน
          ก่อนที่จะลงมือปลูกส้ม สิ่งที่ขาดไม่ได้เลยคือการวิเคราะห์สภาพของดิน แล้วปรับปรุงดินไปตามคุณสมบัติของดิน เช่น การเติมอินทรีวัตถุ ปูน โคโลไมท์หรือยิปซั่ม สำหรับปริมาณที่ใส่นั้นก็ขึ้นอยู่กับผลการตรวจวิเคราะห์สภาพของดินนั่นเอง วิธีการใส่ควรใส่ในแนวของแถวปลูกที่กำหนดไว้โดยให้กว้างประมาณ 2 เมตร ยาวไปตามแปลงปลูกแล้วไถกลบให้เข้ากัน แล้วทิ้งไว้ 1 ฤดูฝนก่อนปลูก ตัวอย่างดินที่เก็บมาวิเคราะห์สามารถส่งไปตรวจได้ที่ สำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตร (สวพ.) ทั้ง 8 เขต
           คลิกที่นี่ เพื่อเข้าสู่เวบไซด์ของสำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตรเขตต่างๆ

4. การเตรียมระบบน้ำ
          การติดตั้งระบบให้น้ำควรใช้หัวสเปรย์ขณะที่ต้นส้มยังเล็ก เมื่อส้มมีขนาดทรงพุ่มที่ใหญ่ขึ้นก็อาจเปลี่ยนเป็น มินิเสปรย์ หรือมินิสปริงเกอร์ที่มีอัตราการจ่ายน้ำ 150-250 ลิตรต่อชั่วโมง หรือใช้ท่อฉีดน้ำแบบบิ๊กกัน  ท่อฉีดน้ำแบบมินิสปริงเกอร์   ท่อฉีดน้ำแบบบิ๊กกัน


การเลือกต้นพันธุ์
          การปลูกต้นส้มในปัจจุบันนิยมใช้ 2 วิธีคือ การปลูกจากกิ่งตอนและใช้วิธีการติดตากับต้นตอ การปลูกจากกิ่งตอน อาจทำให้เกิดปัญหาเรื่องโรคที่ติดมากับต้นพันธุ์ ต้นโทรม อายุสั้น ผลร่วง ผลด้อยคุณภาพ ดังนั้นในการเลือกต้นพันธุ์ ควรใช้ความพิถีพิถันในการเลือกโดยซื้อต้นพันธุ์จากแหล่งที่เชื่อถือได้

ต้นส้มที่เจริญจากกิ่งตอน
          อีกทางเลือกหนี่งคือการใช้ต้นติดตาโดยนำตาปลอดโรคมาจากต้นที่แข็งแรง เจริญเติบโตดี ให้ผลผลิตสูง สม่ำเสมอนำมาติดตาบนต้นตอที่ทนทางต่อโรครากเน่าโคนเน่า ต้นตอที่นิยมใช้มี 3 ชนิดคือ คลีโอพัตรา ทรอยเยอร์ และ สวิงเกิล แต่ละชนิดมึคุณสมบัติแตกต่างกันออกไปควรเลือกใช้ต้นตอให้เหมาะกับพื้นที่ ดังนี้
            1. ต้นตอคลีโอพัตรา ให้ต้นใหญ่ ผลขนาดเล็ก คุณภาพผลสูง โตช้าในระยะแรก ทนทานต่อเกลือได้ดี ทนโรคทริสเตซ่าและความหนาว ได้ผลดีกับสภาพดินเหนียวภาคกลางแต่อาจอ่อนแอต่อโรคโคนแน่าและรากเน่า ปรับตัวได้ดีกับดินหลายประเภท และต้องการน้ำมาก
          2. ต้นตอทรอยเยอร์ ให้ต้นขนาดมาตรฐาน ผลผลิตสูง ผลใหญ่ ผลมีคุณภาพดี ทนทานต่อโรคโคนเน่าและทริสเตซา แต่ไม่ทนต่อโรคกรีนนิง ไม่ทนดินเค็ม อ่อนแอต่อไส้เดือนฝอย ทนหนาวได้ปานกลาง อ่อนแอต่อเอ็กโซคอร์ทิส ปรับตัวเข้ากับชนิดของดินได้หลายประเภทยกเว้น ดินด่าง ดินเค็มและดินเหนียว
          3. ทนต่อโรครากเน่าโคนเน่า ไส้เดิอนฝอย ทนเค็มได้ระดับดี ให้ผลผลิตสูงและคุณภาพดี ทนสภาพดินน้ำขังได้ดี เป็นต้นตอที่ดีของส้มหลายชนิด แต่อาจจะมีปัญหาการเข้ากันได้ไม่ดีกับส้มเขียวหวานบางชนิด เช่น อิมพีเรียล ไม่ชอบดินด่าง
          ขนาดของต้นติดตาโตได้มาตรฐานพร้อมลงปลูกในแปลง คือ มีขนาดเส้นรอบวงที่โคนต้นไม่ต่ำกว่า 1.50 เซนติเมตร และมีความสูงจากโคนต้นถึงเรือนยอดไม่น้อยกว่า 60 เซนติเมตร
 กลับด้านบน
ขั้นตอนการปลูก
          1. วัดระยะปลูกและกำหนดจุดปลูก โดยแถวปลูกควรอยู่บริเวณกึ่งกลางแปลงแต่ละแปลง
          2. ขุดหลุมขนาด 50 x 50 x 50 เซนติเมตร ผสมปุ๋ยหมักหรือปุ๋ยคอกกับดินที่ขุดขึ้นมา อัตราต้นละ 10 กิโลกรัม พร้อมกับปุ๋ยรอกฟอตเฟต 0.5 กิโลกรัม และปุ๋ยเคมีสูตรเสมอ เช่น 15-15-15 ประมาณ 10 กรัม
          3. แหวกดินทำหลุมให้มีขนาดโดกว่าถุงหรือกระถางที่เลี้ยงต้นพันธุ์
          4. ฉีกถุงออก โดยก่อนฉีกถุงให้ใช้มือบีบดินในถุงให้แยกออกจากกัน
          5. เขย่าวัสดุปลูกที่ติดอยู่กับรากออกให้หมด ใช้กรรไกรตัดรากแก้วส่วนที่ขดงอออก พร้อมทั้งตัดส่วนยอดและใบออกบ้าง เพื่อให้เกิดการสมดุลย์กับรากที่เหลือ
          6. วางต้นพันธุ์ลงในหลุม จัดรากฝอยที่มีอยู่เป็นชั้นๆ แล้วแผ่รากในแต่ละชั้นออกรอบข้าง
          7. ใช้ดินกลบรากไล่ขึ้นมาเป็นชั้น โดยให้รากฝอยชั้นบนสุดอยู่ต่ำกว่าระดับดินบนประมาณ 1 เซนติเมตร
          8. ใช้ดินผสมปุ๋ยหมักอัตราส่วน 1 : 1 กลบโคนเป็นรูปกระทะคว่ำกว้างประมาณ 1 เมตร และสูงประมาณ 20 เซนติเมตร
          9. ผูกต้นติดกับหลักป้องกันการโยกคลอนแล้วรดน้ำให้ชุ่ม

การใส่ปุ๋ย
การใส่ปุ๋ยมีข้อควรคำนึงถึงดังต่อไปนี้
          1. ดินเป็นกรดจัด (pH ต่ำกว่า 5.0) ควรใส่ปูนขาวหรือปูนมาร์ล หรือเปลือกหอยเผาหรือโดโลไมท์ 1-2 กิโลกรัมต่อต้น หรือตามผลการวิเคราะห์ดิน โดยหว่านให้สม่ำเสมอรอบบริเวณทรงพุ่ม
          2. การใส่ปุ๋ยในปีแรก ควรใช้ปุ๋ยที่มีไนโตรเจนสูง เช่น สูตร 20-10-10 หรือ 25-7-7 หรือ 15-15-15 ผสมกับ 46-0-0 อัตรา 1: 1 ปริมาณ 0.5-1 กิโลกรัมต่อต้น โดยแบ่งใส่ 4-6 เดือนต่อครั้ง และปุ๋ยอินทรีย์ 10-20 กิโลกรัมต่อต้น ใ่ส่ครั้งเดียวช่วงปลายฤดูฝน
          3. ในปีที่ 2-4 ใส่ปุ๋ยสูตร 20-10-10 หรือ 25-7-7 หรือ 15-15-15 ผสมกับ 46-0-0 ปริมาณ 1-3 กิโลกรัมต่อต้น โดยใส่ 3-4 เดือนต่อครั้ง และปุ๋ยอินทรีย์ 10-20 กิโลกรัมต่อต้น ใ่ส่ครั้งเดียวช่วงปลายฤดูฝน
          4. เมือส้มอายุ 4 ปีขึ้นไป ซึ่งส้มจะเริ่มให้ผลผลิต การใส่ปุ๋ยควรปฏิบัติดังนี้
             4.1 ช่วงก่อนออกดอก ใส่ปุ๋ยสูตร 12-24-12 ปริมาณ 1 กิโลกรัมต่อต้น และพ่นปุ๋ยทางใบเพื่อเพิ่มธาตุอาหารรองและอาหารเสริม
             4.2 ในระยะติดผล อาจมีการให้ปุ๋ยธาตุอาหารรอง ธาตุอาหารเสริม เช่น แคลเซียม แมกนีเซียม เหล็ก สังกะสี ทองแดง โบรอน และแมงกานีส เป็นต้น โดยพ่นให้ทางใบ
             4.3 ช่วงใกล้เก็บเกี่ยวผลผลิต ใส่ปุ๋ยสูตร 13-13-21 ปริมาณ 1-2 กิโลกรัมต่อต้น
             4.4 หลังเก็บเกี่ยวผลผลิตให้ปุ๋ยสูตร 25-7-7 หรือ 15-15-15 ผสมกับ 46-0-0 อัตรา 1:1 ปริมาณ 1-3 กิโลกรัมต่อต้น พร้อมพ่นปุ๋ยทางใบที่มีธาตุอาหารรอง และธาตุอาหารเสริมพร้อมปุ๋ยอินทรีย์ 20-50 กิโลกรัมต่อต้น

การให้น้ำ
การให้น้ำในสวนส้มมีหลักการดังนี้
          1. ควรให้น้ำทันทีประมาณ 5-10 แกลลอน เมื่อปลูกเสร็จ และให้น้ำอีกครั้งภายใน 2-3 วันหลังจากครั้งแรก
          2. หลังจากนั้นให้น้ำทุกๆ 2-5 วัน จนกว่าส้มจะตั้งตัวได้ ข้อสำคัญอย่าปล่อยให้ต้นส้มอดน้ำจนต้นเฉา
          3. วิธีการให้น้ำ อาจใช้สายยางระบบน้ำหยด มินิสปริเกอร์ หรือเรือพ่นน้ำ หรือบิ๊กกัน ตามความเหมาะสม

การตัดแต่งกิ่ง
          การตัดแต่งกิ่งควรทำอย่างสม่ำเสมอตั้งแต่เริ่มปลูกไปจนกระทั่งให้ผล และโดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงหลังเก็บเกี่ยวผลแล้ว ลักษณะของกิ่งที่ควรแต่งออกคือ
          1. กิ่งแขนงที่รกทึบด้านล่างและกลางลำต้น
          2. กิ่งปลายยอดที่ห้อยลงชิดดิน
          3. กิ่งอ่อนแอ ไม่สมบูรณ์ มีใบน้อย
          4. กิ่งน้ำค้าง หรือกิ่งกระโดง
          5. กิ่งที่มีลักษณะคดงอไขว้หรือพันกัน
          6. กิ่งที่เป็นโรค หรือถูกแมลงวันทำลาย ตลอดจนกิ่งแห้งตาย
          ภายหลังจากการตัดแต่งกิ่งแล้ว ควรทาแผลด้วยคอปเปอร์อ๊อกซีคลอไรด์ หรือปูนแดง หรือปูนขาว เพื่อป้องกันเชื้อรา

การดูแลรักษาหลังการติดผล
          ภายหลังจากส้มเขียวหวานติดผลแล้ว ควรปฏิบัติดังนี้
          1. ปลิดผลออกบ้าง ในกิ่งที่ติดผลมากๆ
          2. ตัดแต่งผลที่เป็นโรคออกแล้วนำไปฝังกลบหรือเผาเสีย
          3. ค้ำยันกิ่ง เพื่อป้องกันกิ่งฉีกหักเนื่องจากการรับน้ำหนัก หรือลมแรง

สุขลักษณะและความสะอาด
          ควรรักษาแปลงปลูกให้ถูกสุขลักษณะและสะอาดอยู่เสมอ
          1. กำจัดวัชพืช ควรกำจัดขณะวัชพืชยังเล็ก เพื่อไม่ให้แข่งขันกับพืชหลัก หรือเป็นแหล่งเพาะศัตรูพืช หรือติดไปกับผลผลิต
          2. ควรเก็บวัชพืช เศษพืชโดยเฉพาะที่เป็นโรคไปทำลายนอกแปลงปลูก
          3. อุปกรณ์ เช่น กรรไกร เครื่องพ่นสารเคมี ภาชนะที่ใช้เก็บผลผลิต ฯลฯ หลังจากใช้งานแล้วต้องทำความสะอาด และเก็บให้อยู่ในสภาพพร้อมใช้งานอยู่เสมอ
          4. ภาชนะบรรจุสารเคมีที่ใช้หมดแล้ว ให้ล้างทำความสะอาด นำน้ำที่ล้างไปพ่นป้องกันกำจัดศัตรูพืช สำหรับภาชนะบรรจุให้ทำลายอย่างเหมาะสม เช่น ฝังดิน ไม่ควรนำกลับมาใช้อีก

การปลูกส้มโอ


 ส้มโอ
1. การเตรียมแปลงปลูกและดินสำหรับการปลูก

1.    หากที่ดินแปลงปลูกมีขนาดใหญ่ ควรเริ่มปรับพื้นที่หรือเตรียมดินในฤดูแล้ง และควรจัดพื้นที่ขุดบ่อน้ำ  สำหรับกักเก็บน้ำไว้ใช้ในฤดูแล้ง

2.    ไถดินเพื่อปรับสภาพแปลงปลูก รื้อสิ่งกรีดขวางออก เพื่อพื้นที่มีสภาพโล่ง

3.    วัดแนวเขตพื้นที่ (กว้าง-ยาว) และทำแผนที่ของดินแปลงที่ปลูก

4.    คำนวณจำนวนต้นส้มและเลือกระยะปลูก ตามความต้องการ โดยยึดหลักดังนี้

4.1 ควรวาง แถวของต้น อยู่ในแนวทิศเหนือ-ใต้
4.2 มาตรฐานของการปลูก ระยะต้น*ระยะแถว คือ พื้นราบ 5.5*5.5 6*6 ร่องน้ำ 5*8 6*9 เมตร
4.3 คำนวณจำนวนกิ่งพันธุ์หรือต้นพันธุ์ที่ต้องการใช้ในการปลูก (ควร + เพิ่ม 2%)
4.4 กำหนดจำนวนแถว วางแนวและตำแหน่งของต้นที่จะปลูกในพื้นที่จริง
5.    ไถพรวนดิน ยกแนวปลูกให้เป็นร่องลูกฟูกหรือฟันดินพูนเป็นโขด (กระทะคว่ำ)ร่องลูกฟูกหรือโขดควรสูงจากพื้นดินเดิมอย่างน้อยประมาณ 50-75 ซม.
6.    ย่อยดินตรงบริเวณที่จะปลูกให้ละเอียดเหมาะสมต่อการปลูกพืช
7.    ปรับปรุงสภาพดินของแนวรองปลูกหรือบริเวณโขดที่จะปลูกด้วยปุ๋ยหมักหรือปุ๋ยคอกเก่า
8.    ปักไม้รวก (ยาวประมาณ 50-60 ซม.) ตรงบริเวณจุดกำหนดหรือโขดที่จะปลูก ให้แต่ละจุดที่จะปลูกต้นในแต่ละแถวปลูก อยู่ในแนวที่ตรงกัน
9.    หากดินที่จะปลูกต้นส้มเป็นดินร่วนปนทราย ควรจัดเตรียมเศษพืชหรือฟางเพื่อการคลุมดิน รักษาความชื้น
10. เก็บตัวอย่างดินบริเวณที่จะปลูก ส่งหน่วยงานเพื่อวิเคราะห์ความเป็นกรดเป็นด่าง โครงสร้างของดิน ปริมาณอินทรีย์วัตถุและธาตุอาหารที่จำเป็น


หากเลือกใช้ต้นพันธุ์เป็นกิ่งตอน ควรพิจารณาดังนี้
1.1     เป็นกิ่งตอนจากแหล่งหรือผู้ขายที่เชื่อถือได้
1.2     ต้นแม่ต้องแข็งแรง ไม่เป็นโรคกรีนนิ่งและโรคทริสเตซ่า หรือโรคไวรัสอื่นๆ และมี ลักษณะที่ดีตรงตามสายพันธุ์
1.3     ต้นแม่ควรมีอายุมากกว่า 8-9 ปีขึ้นไป
1.4     กิ่งตอนควรเป็นกิ่งที่ตั้งหรือตั้งตรงทีมีอายุ 1-1.5 ปี กิ่งแข็งแรง กลม -ไม่มีหนาม สี เขียวอมน้ำตาลหรือสีน้ำตาลอมเขียว มีรากออกโดยรอบขวั้น
1.5     ความสูงของกิ่งตอน 45-55 ซม. (ไม่ควรเกิน 60 ซม.)
1.6     กิ่งตอนไม่ควรเพาะชำอยู่ในถุงนานเกิน 6 เดือน

หากเลือกใช้ต้นพันธุ์เป็นต้นตอที่ติดตาหรือเสียบยอด ควรเลือกที่มีลักษณะดังนี้
 2.1     ต้นพันธุ์ได้จากแหล่งหรือผู้เชื่อถือได้หรือได้ผ่านรับรอง การปลอดโรค
2.2     ต้นพันธุ์แข็งแรงไม่เป็นโรคกรีนนิ่งและทริสเตซ่าหรือโรคไวรัส อื่นๆ และมีลักษณะที่ดีตรงตามสายพันธุ์
2.3     ต้นพันธุ์ไม่ควรปลูกอยู่ในถุงเพาะชำ ภายหลังการติดตาหรือเสียบยอดเกินกว่า 1 ปี
2.4     เลือกใช้ชนิดของต้นตอให้เหมาะสมกับพันธุ์และสภาพของดินที่ปลูก
2.5     พื้นที่ที่จะปลูกต้นปลอดโรค ควรหากไกลจากแหล่งปลูกเดิม
2.6     ต้องระมัดระวังการติดโรคภายหลังจากการปลูก

ระยะเวลาปลูกและวิธีการปลูกที่เหมาะสม
3.1     สามารถเลือกเวลาปลูกเมื่อใดก็ได้ ถ้าแปลงปลูกมีการติดตั้งระบบน้ำชลประทาน
3.2     ควรปลูกในเดือนกรกฎาคม ถึง เดือนตุลาคม หากอาศัยน้ำฝนโดยไม่มีแหล่งน้ำ
3.3     กิ่งหรือต้นพันธุ์ที่จะนำลงปลูกควรเป็นระยะใบแก่ (ไม่ควรมีใบอ่อน) หากเป็นกิ่งตอนควร ให้ปลายรากมีสีเหลืองหรือสีนวล
3.4     ต้นพันธุ์ติดตาหรือเสียบยอด ควรปลูกโดยการจัดระบบราก
3.5     ต้นพันธุ์ที่มีรากขดงอโดยเฉพาะรากใหญ่ หากไม่สามารถจัดระบบรากได้ ไม่ควรนำลงปลูก
3.6     อย่าปลูกต้นพันธุ์ลึก ควรปลูกและกลบหน้าดินให้เสมอขั้วบนของกิ่งตอน หรือเสมอระดับ หน้าดินเดิมของถุงเพาะชำ
3.7     ควรปลูกโดยจัดให้ลําต้นหลักของต้นพันธุ์ตั้งตรงระวังอย่าให้ต้นส้มโยกคลอน ปักหลักไม้รวกและผูกยึดต้นให้แน่น
3.8     ควรหาฟางข้าวหรือเศษพืชคลุมดินบริเวณโขดที่ปลูก โดยเฉพาะในดินร่วนหรือดินปนทราย

การดูแลและการทำงาน (หลังปลูก -ต้นอายุ 1 ปี)
4.1     ผูกยึดต้นให้แน่นกับหลักไม่รวกที่ปักไว้เพื่อป้องกันไม่ให้ต้นโยกคลอน
4.2     ต้องให้น้ำแก่ต้นที่ปลูกใหม่อย่างสม่ำเสมอและเพียงพอ ระวังอย่าให้ต้นขาดน้ำ
4.3     ให้ปุ๋ยทางดินแก่ต้น ใช้ปุ๋ยอินทรีย์เกรด AAA “ยักษ์เขียว”สูตรเข้มข้นพิเศษ(แถบทอง) อัตรา 0.5 กิโลกรัมต่อต้น  สลับกับปุ๋ยเคมีสูตร 46-0-0 หรือ 25-7-7 ปริมาณ ต้นละ 2-3 กำมือต่อครั้งต่อต้น โดยใส่สลับกันเที่ยวเว้นเที่ยว ทุก ๆ  30-40 วัน/ครั้ง ตั้งแต่ปลูก - 12 เดือนหลังปลูก
4.4     ทางใบ ควรให้ปุ๋ยไบโอเฟอร์ทิล(สูตรบำรุงต้น ไล่แมลง)อัตรา 30 ซีซี ร่วมกับ ธาตุอาหารเสริมรวม “คีเลท” อัตรา 5-10  กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร พ่นทางใบแก่ต้นส้มโอ เดือนละ 1-2 ครั้ง 
4.5     ระวังการทำลายของเพลี้ยไฟ เพลี้ยไก่แจ้และหนอนชอนใบในระยะยอดและใบอ่อน หากพบการระบาดให้ใช้ ชีวภัณฑ์กำจัดแมลงศัตรูพืช เมทา-แม็ก ฉีดพ่น อัตรา 50 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร 2 ครั้ง ห่างกัน 7-10 วัน  หรือหากต้องการใช้สารเคมี ให้ใช้ สารจำพวก อิมิดาโคลพริด,ไซเปอร์เมธริน,ฟิโปรนิล,คาร์โบซัลแฟน,อะบาเม็คติน,ฯลฯ โดยใช้เดี่ยวหรือผสมกัน ให้เลือกสลับการใช้อย่าให้ซ้ำกัน เพื่อป้องกันแมลงศัตรูพืชดื้อยา
4.6     ตั้งแต่ต้นอายุ 10-12 เดือนขึ้นไป ควรตัดแต่งกิ่งกระโดง กิ่งแห้งและกิ่งเป็นโรค
4.7     ห้ามฉีดพ่นสารป้องกันกำจัดวัชพืชใกล้บริเวณโคนต้นหรือทรงพุ่ม
4.8     ระวังการทำลายของโรคแคงเคอร์หรือโรคใบจุดที่ใบอ่อนในฤดูฝน
4.9     หากดินเป็นกรด หรือแน่นแข็ง ควรใช้สารปรับสภาพดิน “ไดนาไมท์” อัตรา 500 ซีซี/ไร่ ผสมไปกับระบบการจ่ายน้ำ(สปริงเกอร์) หรือผสมน้ำฉีดพ่นผิวดินรอบทรงพุ่มแล้วรดน้ำตามทันที(กรณีร่องสวน)
4.10   ปลูกซ่อมแซมต้นที่ตายหรือไม่แข็งแรง โดยใช้พันธุ์ที่สมบูรณ์แข็งแรง
4.11   หากแปลงปลูกอยู่ในสภาพที่โล่ง ใกล้นาข้าว ที่รกร้าง ให้วางแผนการปลูกพืชล้อมที่หรือพืชกำบังลมตามคันล้อมแนวเขตที่ดิน(กล้วย,มะพร้าว,มะม่วง,ฯลฯ)ก่อนการลงต้น และควรปักไม้ค้ำต้นเพื่อป้องกันต้นโดนลมโยก(รากขาด)
4.12   หากต้องการปลูกต้นไม้อื่นเป็นพืชเสริมรายได้ ให้เลือกชนิดที่เหมาะสมกับส้มโอที่ปลูก พืชที่เลือก ควรมีอายุการเก็บเกี่ยวไม่เกิน 3 ปี(กิ่งต้นส้มโอจะแผ่ชนกัน) เช่น มะละกอ,ฝรั่ง,ฯลฯ

การดูแลและการทำงาน (ต้นอายุ 1-3 ปี)
5.1     ให้เริ่มสร้างทรงพุ่ม โดยมีลำต้นหลักเพียงลำต้นเดียวและมีกิ่งใหญ่ 4-7 กิ่ง
5.2     ควบคุมให้แตกยอดอ่อนเป็นรุ่นหรือเป็นชุดพร้อม ๆ กันตั้งแต่ต้นส้มอายุ 1 1/2  ปี (งดน้ำ,ขึ้นน้ำ)
5.3     บังคับการแตกยอดอ่อนให้มีการแตกตาข้างมากกว่าการแตกตายอด (โดยการตัดแต่ง)
5.4     การแตกยอดสามารถบังคับให้เกิดได้ ทุก ๆ 50-55 วันโดยอาศัยวิธีการให้น้ำเป็นระยะ ๆ และฉีดพ่นไบโอเฟอร์ทิล(สูตรบำรุงต้น ไล่แมลง)+ ธาตุอาหารรองและเสริม รวม “คีเลท”ตามที่แนะนำทุก ๆ 15-30 วัน
5.5     ขนาดของใบควรได้มาตรฐาน ใบหนา สีเขียวเข้ม ไม่แสดงอาการขาดธาตุอาหารหลัก หรืออาหารรอง
5.6     การให้ปุ๋ยทางดินควรเริ่มปรับเป็นการให้ 30-40 วัน/ครั้ง โดยใส่สลับกันเที่ยวเว้นเที่ยวระหว่างปุ๋ยเคมี และ ปุ๋ยอินทรีย์ “ยักษ์เขียว”สูตรเข้มข้นพิเศษ(แถบทอง)อัตรา 0.5-1 กิโลกรัมต่อต้น สลับกับการให้ปุ๋ยเคมีควรใช้สูตร 25-7-7 หรือ15-15-15 โดยให้ในปริมาณ 2-5 กำมือ ตามขนาดทรงพุ่ม
5.7     เริ่ม ไว้ผลเมื่อต้นอายุประมาณ 30-36 เดือน (ยกเว้นพันธ์ทองดีให้เริ่มที่อายุประมาณ 6 ปี) โดย "เว้นน้ำ" หรือ "กักน้ำ" ในช่วงฤดูหนาวประมาณปลายเดือนพฤศจิกายน เมื่อติดผลครั้งแรก ควรปลิดผลทิ้งกะประมาณให้เหลือไว้ถึงตอนเก็บผลแค่ 5-10  ผล/ต้น ครั้งต่อไป เพิ่มขึ้นตามลำดับเพื่อไม่ให้ต้นโทรมเร็ว
5.8     ในการบังคับการแตกยอดอ่อนพร้อมดอกรุ่นแรก ใช้วิธีการกักน้ำให้ต้นมีสภาพขาดน้ำในช่วงระยะเวลาสั้น ๆ(ประมาณ 7-20 วัน แล้วแต่สภาพดินเหนียวหรือดินทราย,อายุและขนาดของต้นส้มโอ)  จากนั้นจึง "ขึ้นน้ำ" โดยการค่อย ๆ เพิ่มการรดน้ำจนสู่ระดับปกติ  และรดน้ำอย่างเพียงพอเพื่อให้ต้นส้มผลิยอดอ่อนชุดใหม่
5.9     การบังคับการแตกยอดอ่อน(ใบหรือดอก)นั้น  แนะนำให้ฉีดพ่นไบโอเฟอร์ทิล(สูตรบำรุงต้น ไล่แมลง)ร่วมด้วยทุกครั้ง  เพื่อให้ใบหรือดอกที่ได้มีคุณภาพ และลดปัญหาเรื่องแมลงศัตรูพืช
5.10   ความสูงของต้นที่เริ่มการบังคับให้ออกดอกและติดผล คือ 2-2.5 เมตร หรือเริ่มเก็บผลได้เมื่อต้นมีทรงพุ่มประมาณ 2-2.5 เมตร

การดูแลการทำงานส้มโอที่เริ่มให้ผลผลิตแล้ว (พันธ์ส้มโอตระกูลขาวน้ำผึ้ง,ขาวหอม,ขาวใหญ่ ต้นอายุ 3-3 ½  ปีขึ้นไปหรือ พันธ์ทองดี ต้นอายุ 6 ปีขึ้นไป)
6.1     การตัดแต่งกิ่งให้ตัดแต่งกิ่งกระโดงที่ยาวและมีหนาม กิ่งแห้ง กิ่งบิดไขว้ กิ่งเป็นโรคหรือถูกแมลงทำลาย ควรเริ่มตัดแต่งได้เมื่อหมดฤดูฝนหรือหลังเก็บเกี่ยวส้มโอรุ่นในฤดู ช่วงเดือนตุลาคม
6.2     หากต้นส้มแสดงอาการขาดธาตุอาหารรอง โดยเฉพาะธาตุแมกนีเซียมและธาตุสังกะสี(ยอดจะตื้อ,ใบจะมีแถบด่างเหลือง) ให้รีบแก้ไขโดยใช้ธาตุอาหารรองและเสริม รวม “คีเลท” อัตรา 50 กรัม/ถัง(น้ำ 200 ลิตร) ฉีดพ่นทางใบ 1-2 ครั้ง หรือฉีดในช่วงแตกใบอ่อนทุกครั้ง
6.3     ก่อนการบังคับการออกดอก (ก่อนการเว้นให้น้ำหรือการกักน้ำประมาณ ½-1 เดือน) ให้ฉีดพ่นปุ๋ยทางใบสูตร 0-52-34 อัตรา 30-50 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร ทุก ๆ 7 วันประมาณ 2-3 ครั้ง
6.4     บังคับให้ต้นแตกยอดอ่อน(ดอก)เป็นชุดพร้อม ๆกัน โดยการไม่ให้น้ำแก่ต้น "เว้นน้ำ" หรือ "กักน้ำ" ในช่วงเดือน พฤศจิกายน หรือเดือนธันวาคม(ส่วนใหญ่จะเว้นน้ำประมาณ 2-3 อาทิตย์ ขึ้นอยู่กับขนาดและความสมบูรณ์ของต้น) จากนั้นจึง "ขึ้นน้ำ" โดย การเริ่มค่อย ๆ รดน้ำให้แก่ต้นส้มโอ จนถึงเกณฑ์ปกติ(ประมาณ 3-4 วัน) และฉีดพ่นด้วยไบโอเฟอร์ทิล(สูตรบำรุงต้น ไล่แมลง) ทุกๆ 7-10 วัน ประมาณ 4 ครั้ง เพื่อกระตุ้นการติดช่อดอก ทำให้ดอกติดมากและขั้วเหนียว
6.5     การให้ปุ๋ยทางดินแก่ต้น ควรพิจารณาความสมบูรณ์ของต้น ขนาดของใบ และผลของการวิเคราะห์ดินเป็นสำคัญ ในสภาพทั่ว ๆ ไป สำหรับพื้นดินที่มีไนโตรเจนไม่สูง สังเกตจากส้มโอที่เก็บเกี่ยวได้จะมีเปลือกบาง ผิวเนียน มัน ผิวไม่เห่อ เช่น ในเขตปทุมธานี,นครปฐม หรือนครนายกบางส่วน ฯลฯ เมื่อติดผลช่วงแรก(ลูกเล็ก)ประมาณเดือนกุมภาพันธ์ ถึงเมษายน ใส่ปุ๋ยอินทรีย์ “ยักษ์เขียว”สูตรเข้มข้นพิเศษ(แถบทอง) อัตรา 1-1.5 กิโลกรัมต่อต้น  ทุก ๆ 30 วัน (ประมาณ 3 ครั้ง)สลับปุ๋ยเคมีสูตร 25-7-7 อัตรา 1 กิโลกรัมต่อต้น( 1 ครั้ง) หลังจากนั้นให้ใช้ปุ๋ยเคมีสูตรที่เน้นตัวหน้าและหลัง เช่น 24-4-24 หรือ 13-13-21 สลับกับ ปุ๋ยอินทรีย์ “ยักษ์เขียว”สูตรเข้มข้นพิเศษ(แถบทอง)อัตรา 1-1.5 กิโลกรัมต่อต้น  ทุก ๆ 30-45 วัน (ประมาณ 2-3 ครั้ง)
6.6     สำหรับในพื้นที่ดินที่มีไนโตรเจนสูง สังเกตได้ว่าต้นจะมีการเจริญเติบโตทางใบสูง ใบใหญ่ ผิวส้มโอจะหนา เช่นในเขตเชียงราย พิจิตร ราชบุรี ปราจีนบุรีฯลฯ ช่วงติดผลให้เปลี่ยนจากการเน้นปุ๋ยไนโตรเจน โดยใส่ปุ๋ยเคมีสูตรอื่นแทน ได้แก่ 15-15-15 หรือ 13-13-21 หรือ 0-0-50 แทน
6.7     ช่วงติดผลแล้ว การให้ปุ๋ยทางใบ ให้ใช้ไบโอเฟอร์ทิล  สูตรเร่งขนาดผล ฉีดพ่นทุกๆ  10-14 วันจนถึงเก็บเกี่ยว เมื่อใช้เป็นประจำ ปัญหาการหลุดร่วงของผลเนื่องจากสภาวะอากาศหรือโรคจะลดลงมาก ผลส้มโอที่ได้จะมีขนาดใหญ่สม่ำเสมอ(เป็นเบอร์เดียว) และผิวจะเนียนสวยกว่าแปลงที่ใช้ยาฆ่าแมลงควบคุมเพียงอย่างเดียว
6.8  ในช่วงติดผล หากมีการเตรียมต้นไม่ดี(ปุ๋ยไม่พอ) หรือ สภาพอากาศแปรปรวน ส้มโอจะมีปัญหาลูกเบาและผลร่วงมาก แนะนำให้ฉีดพ่นเสริมด้วย คีเลท อัตรา 10 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร ทุก ๆ 15-20 วัน
6.9     ในแปลงที่มีการระบาดของแมลงศัตรูพืชมาก  แนะนำให้ใช้ไบโอเฟอร์ทิล(สูตรบำรุงต้น ไล่แมลง)ร่วมกับชีวภัณฑ์กำจัดแมลง เมทา-แม็ก  หรือสารเคมีควบคุมแมลง โดยอาจฉีดพ่นร่วมกันหรือสลับกัน จะช่วยป้องกันแมลงศัตรูพืชเข้าทำลายและสามารถยืดอายุการใช้สารเคมี ทำให้ลดต้นทุนการใช้สารเคมีลงกว่า 50 %
6.10     ในกรณีติดผลดกและต้นแสดงอาการขาดธาตุอาหารรองและเสริม ให้เสริมด้วยธาตุอาหารรองและเสริม “คีเลท” เดือนละ 1-2 ครั้ง

ให้ปุ๋ยหรือธาตุอาหารแก่ต้นส้มโอและผล ในทุกระยะตั้งแต่เริ่มผลิยอดถึงก่อนการเก็บเกี่ยว ดังนี้
7.1     หลังเก็บเกี่ยวและตัดแต่งกิ่ง เมื่อเริ่มผลิยอดอ่อน
ทางดิน (ครั้งแรก)ใส่ปุ๋ยอินทรีย์ ตรา“ยักษ์เขียว”สูตรเข้มข้นพิเศษ(แถบทอง) อัตรา 1-1.5 กิโลกรัมต่อต้น (ครั้งที่ 2) ใส่ปุ๋ยเคมีสูตร 25-7-7 อัตรา 0.5 กิโลกรัมต่อต้น
ทางใบ  ไบโอเฟอร์ทิล  สูตรบำรุงต้น ไล่แมลง อัตรา 30-50 ซีซี/น้ำ 20 ลิตร + ธาตุอาหารรองและเสริม รวม “คีเลท” อัตรา 5-10  กรัมทุกๆ 10-14 วัน ประมาณ 4-5 ครั้ง
7.2     ก่อนเว้นน้ำ 15-30 วัน
       ทางใบ ปุ๋ยสูตร 0-52-34 อัตรา 30-50 กรัม/น้ำ 20 ลิตรทุกๆ 7 วันประมาณ 2 ครั้ง เพื่อเร่งให้ใบแก่ และอั้นใบ
7.3     กระตุ้นดอกเมื่อเริ่มขึ้นน้ำได้ 3-4 วัน
       ทางใบ  ไบโอเฟอร์ทิล  สูตรบำรุงต้น ไล่แมลง อัตรา 30-50 ซีซี/น้ำ 20 ลิตร + ธาตุอาหารรองและเสริม รวม “คีเลท” อัตรา 5-10  กรัม ทุกๆ 5-7 วัน ประมาณ 5 ครั้ง
7.4     ติดผลอายุ 1-4 เดือน
       ทางดิน  (ครั้งแรก) ใส่ปุ๋ยอินทรีย์ ตรา“ยักษ์เขียว”สูตรเข้มข้นพิเศษ(แถบทอง) อัตรา 1-1.5 กิโลกรัมต่อต้น  (ห่างกัน 30 วัน ใส่ครั้งที่ 2)ใส่ปุ๋ยเคมีสูตร 25-7-7 หรือ 24-8-8 หรือ 15-15-15 อัตรา 1 กิโลกรัมต่อต้น (ห่างกัน 30 วัน ใส่ครั้งที่ 3) ใส่ปุ๋ยอินทรีย์ ตรา“ยักษ์เขียว”สูตรเข้มข้นพิเศษ(แถบทอง) อัตรา 1-1.5 กิโลกรัมต่อต้น
ทางใบ  ไบโอเฟอร์ทิล  สูตรเร่งขนาดผลสลับกับสูตรไล่แมลง อัตรา 50 ซีซี/น้ำ 20 ลิตร ทุกๆ 10-14 วัน)
7.5     ผลอายุ 4-8 เดือน
ทางดิน (ห่างกัน 30 วัน ใส่ครั้งที่ 4) ใส่ปุ๋ยอินทรีย์ ตรา“ยักษ์เขียว”สูตรเข้มข้นพิเศษ(แถบทอง) อัตรา 1-1.5 กิโลกรัมต่อต้น (ห่างกันอีก 30 วัน ใส่ครั้งที่ 5) ใส่ปุ๋ยเคมีสูตร 13-13-21หรือ 24-4-24  อัตรา 1 กิโลกรัม/ต้น

ทางใบ  ไบโอเฟอร์ทิล  สูตรเร่งขนาดผลสลับกับสูตรไล่แมลง อัตรา 50 ซีซี ทุกๆ 10-14 วัน + ธาตุอาหารรองและเสริม รวม “คีเลท” อัตรา 5 กรัม + แคลแม็ก (แคลเซียมโบรอน) อัตรา 20 ซีซี ผสมน้ำ 20 ลิตร ฉีดพ่นเพื่อป้องกันผลแตก

* ในพื้นที่ดินที่มีไนโตรเจนสูง ให้คำนึงถึงการให้ปุ๋ยตัวหน้าอย่างระมัดระวัง (ไนโตรเจนสูง สังเกตได้จาก ต้นมีการเจริญเติบโตทางใบมาก หรือเปลือกส้มโอหนา แม้ไม่ได้ใส่ปุ๋ยตัวหน้า) โดยให้ลดการใช้ปุ๋ยเคมีตัวหน้าลง โดยให้ใช้ปุ๋ยเคมีสูตรที่ตัวหน้าต่ำลงจากที่แนะนำ ประมาณ 50 % เพื่อลดการเห่อของผิวส้มโอและความหนาของเปลือก ซึ่งจะทำให้ผลผลิตเป็นที่ต้องการของตลาดมากขึ้น*

หมายเหตุ
              การใส่ปุ๋ยเคมีและ ยักษ์เขียว สามารถผสมร่วมกันแล้วนำไปใส่เพื่อความสะดวกได้ ในสัดส่วน ยักษ์เขียว 2 ส่วน : ปุ๋ยเคมี 1 ส่วน  ใส่ตามช่วงที่แนะนำในอัตราครั้งละ 1-1.5 กิโลกรัมต่อต้น(มากน้อยตามขนาดทรงพุ่มและปริมาณผลผลิตบนต้น)


การป้องกันกำจัดโรคและแมลงศัตรูพืช
มีช่วงที่สำคัญควรดูแลเฝ้าระวังเป็นพิเศษในแต่ละช่วงดังนี้

              1. ช่วงแตกใบอ่อน(ช่วงบำรุงต้นทำใช),แทงช่อดอก(ช่วงกระตุ้นดอก ให้ระวัง เพลี้ยไฟ,ไรแดง เข้าทำลายเมื่อเริ่มแทงยอด สังเกตโดยเอากระดาษขาวมารองและเคาะที่ช่อใบ หากพบตั้งแต่ 2 ตัวต่อช่อ ให้ใช้ ชีวภัณฑ์กำจัดแมลงศัตรูพืช(ปลอดสารพิษ) เมทา-แม็ก อัตรา 50-100 กรัม ฉีดพ่น ทุก ๆ 5 วัน หรือใช้สารเคมี จำพวก อิมิดาโคลพริด,ฟิโปรนิล,ไซเปอร์เมธริน,ฯลฯ

              2. ช่วงแตกใบอ่อน(ตลอดทั้งปี)ระมัดระวังหนอนประกบใบ,หนอนกัดกินใบต่าง ๆ ซึ่งจะสังเกตเห็นไข่ได้ตั้งแต่ช่วงแตกใบอ่อน หากพบให้ใช้ชีวภัณฑ์กำจัดหนอน(ปลอดสารพิษ) บาร์ท๊อป อัตรา 50-100 กรัม(กำจัดหนอน,แมลง) + พี-แม็ก อัตรา 50 กรัม(กำจัดไข่แมลง) ฉีดพ่น ทุก ๆ 5 วัน หรือใช้สารเคมี จำพวก อิมิดาโคลพริด,คาร์โบซัลแฟน,ไซเปอร์เมธริน,อะบาเม็คติน,ฯลฯ

              3. สำหรับส้มโอ(ส่งออก) ช่วงติดลูก ให้ระมัดระวังเพลี้ยไฟ,ไรแดง จะทำลายเปลือกส้มโอ ทำให้เป็นรอย,ด่างเป็นแนวหรือแถบ และหนอนเจาะผล,แมลงวันทอง  ให้หมั่นควบคุมด้วยสารกำจัดตามที่แนะนำในข้างต้น

              4. ช่วงฤดูฝน ระมัดระวังโรครากเน่า โคนเน่า  ป้องกันโดยก่อนปลูกควรทำโขดหรือโคก ยกพื้นดินขึ้นมาประมาณ 50 เซนติเมตรเพื่อให้ระบายน้ำได้สะดวก และให้ใช้ ชีวภัณฑ์ป้องกันกำจัดโรค ไตรโคแม็ก อัตรา 50 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร ฉีดพ่นผิวดินรอบทรงพุ่มและโคนต้น ปีละ 2 ครั้ง ในช่วงต้นฝนและปลายฝน

              5. หมั่นควบคุมและกำจัดแมลงพาหะเพลี้ยไก่แจ้ ไม่ให้มีการระบาด เพราะจะทำให้ ต้นส้มโอ เป็นโรคกรีนนิ่งได้

              6. การตัดแต่งกิ่งหลังการเก็บเกี่ยวและการดูแลควบคุมวัชพืช ที่ดี จะช่วยลดการระบาดของแมลงศัตรูพืชและโรคเชื้อรา ทำให้ต้นทุนลดลงได้ส่วนหนึ่ง

ข้อเปรียบเทียบหลังจากใช้ผลิตภัณฑ์ภควัตเพื่อนเกษตร ตามคำแนะนำเป็นประจำ
1.    ส้มโอจะบังคับดอกง่าย ขั้วดอก,ผล เหนียว ต้นไม่โทรมแม้แบกผลผลิตมาก อายุการให้ผลผลิตจะมากกว่าแปลงที่ไม่ได้ใช้อย่างเห็นได้ชัด เมื่อใช้ไบโอเฟอร์ทิล(สูตรไล่แมลง)เป็นประจำ (3-4 ครั้งขึ้นไป) จะสังเกตได้ว่าแมลงศัตรูพืชที่เข้ามารบกวนลดลงอย่างเห็นได้ชัด โดยเฉพาะจำพวกผีเสื้อกลางคืนซึ่งเป็นตัวแม่ของหนอนชนิดต่าง ๆ รวมถึงแมลงวันทอง และด้วงกัดกินใบ  ทำให้ประหยัดต้นทุนยากำจัดศัตรูพืช และลดความเสียหายได้ดีกว่า  (ในพื้นที่ที่มีการระบาดมาก หากใช้ไบโอเฟอร์ทิล ฉีดร่วมกับยากำจัดศัตรูพืช ก็จะทำให้สามารถคุมและป้องกันการเข้าทำลาย ได้นานขึ้น)

2.    ใบพืชเงาเป็นมัน อายุใบนานขึ้นทำให้ต้นไม่สูญเสียอาหารในการสร้างใบใหม่ (ไบโอเฟอร์ทิล เป็นสารธรรมชาติ ไม่กัดผิวใบทำให้ใบด้านเหมือนการใช้เคมีอย่างเดียว)

3.    ผิวส้มโอเนียนเป็นมันกว่าแปลงที่ไม่ได้ใช้  เป็นที่ต้องการของผู้ซื้อ

4.    เมื่อใช้ผลิตภัณฑ์ตามคำแนะนำ  เนื้อผลมีรสชาติหวานเข้มข้นดีกว่าแปลงที่ใช้เคมีอย่างเดียว

5.    สุขภาพผู้ปลูกดีขึ้น เนื่องจาก สัมผัสหรือจับต้องสารเคมีน้อยลง

6.    การใช้ ปุ๋ยอินทรีย์ “ยักษ์เขียว”  ร่วมด้วยเป็นประจำ  จะทำให้ต้นทุนปุ๋ยและสารทางดินต่อชุดการผลิต ลดลงได้ประมาณ 30-50 % โดยที่ผลผลิตที่ได้ยังเป็นปกติหรือดีกว่าเดิม และสังเกตได้ว่าสารอินทรีย์ในเนื้อปุ๋ยทำให้สภาพดินดีขึ้น  ดินโปร่ง อุ้มน้ำได้ดี  ต้นทนแล้งได้ดีขึ้น  และพืชตอบสนองต่อการให้ปุ๋ยทางดินดีกว่าเดิม ในระยะยาวปัญหาเรื่องโรคทางดินน้อยกว่าแปลงข้างเคียงที่ไม่ได้ใช้ ผลในทางอ้อม  เนื่องจาก ยักษ์เขียว เป็นสารอินทรีย์แท้ จึงกระตุ้นจุลินทรีย์ที่เป็นประโยชน์ให้ย่อยปุ๋ย(เคมี)ที่ตกค้างในดินทำให้รากพืชสามารถดูดซึมกลับไปใช้ได้ ธาตุอาหารในดินจะสมดุลมากกว่า

7.  ปัญหาการดื้อยาของแมลงศัตรูพืชจะหมดไป เมื่อใช้ เมทา-แม็ก และ พี-แม็ก ฉีดพ่นเพื่อตัดวงจรเจริญพันธุ์ของแมลงศัตรูพืชเป็นประจำ

ทราบหรือไม่ว่า ส้มโอสามารถช่วยล้างสารพิษในร่างกายได้ด้วย การล้างสารพิษด้วยส้มโอนั้นเป็นวิธีตามธรรมชาติที่ใคร ๆ อาจจะไม่ค่อยคุ้นเคยกันสักเท่าไร วันนี้เราจึงมาพูดถึงเรื่องการล้างสารพิษด้วยส้มโอกัน เพราะร่างกายเราต้องเจอกับสารพิษเป็นประจำไม่ว่าจะกินหมู กินผัก ก็ต้องเจอกับสารพิษ เรามาดูกันเลยดีกว่าว่าส้มโอสามารถล้างสารพิษได้อย่างไร

ส้มโอ
ส้ม โอเป็นผลไม้ในตระกูลเดียวกันกับพวกส้ม ส้มโอมีวิตามินและเกลือแร่มากมายเช่น วิตามินซี ฟอสฟอรัส แคลเซียม กรดอินทรีย์ โมโนเทอร์ปีน และในส้มโอมีสารที่ช่วยต้านมะเร็งได้ด้วย
ประโยชน์ของส้มโอ : สรรพคุณของส้มโอ

ล้างสารพิษด้วยส้มโอ
วิธีทำ ให้ทานส้มโอแทนข้าวเย็นประมาณ 7 วัน ขอเน้นว่าทานแทนข้าวเย็นนะ ส้มโอจะช่วยล้างสารพิษในร่างกายได้

ส้มโอสามารถช่วยแก้อาการท้องอืดท้องเฟ้อ แน่นหน้าอก
วิธีทำ ให้ทานส้มโอจิ้มกับยาหอม อาจจะทานยากนิดนึ่งแต่การทานส้มโอแบบนี้จะช่วยลดอาการท้องอืดท้องเฟ้อ แน่นหน้าอกได้

เปลือกส้มโอแก้โรคผิวหนัง
คุณ เคยเป็นโรคผิวหนังใหม โรคผิวหนังแก้ไม่ยาก แค่เอาเปลือกส้มโอหั่นเป็นชิ้นเล็กๆ ต้มกันน้ำจนมันงวด แล้วเอาน้ำที่ได้มาทาตรงที่เป็นโรคผิวหนัง แค่นี้อาการก็จะดีขึ้น แต่ถ้าเพื่อนๆ รู้สึกว่าหายช้าไปก็ต้มน้ำกับเปลือกส้มโอกินด้วยก็ได้

- ประโยชน์ของผักผลไม้มีมากมาย

บทความที่ได้รับความนิยม

 
Support : |
Copyright © 2011-2012 อาชีพพารวย - All Rights Reserved
เข้าสู่ปีที่ 2 อาชีพพารวย เพื่อนคู่คิดนักเกษตร พ.ศ. 2555
เว็บไซต์เพื่อนเกษตร