รายการอัพเดทล่าสุด

การปลูกกะหล่ำปลี




สายพันธุ์ของกะหล่ำปลีสามารถแยกได้เป็น 3 กลุ่มใหญ่ ๆ คือ
กะหล่ำปลีธรรมดา มีความสำคัญและปลูกมากที่สุดในแง่ผัก บริโภค มีลักษณะหัวหลายแบบ ตั้งแต่หัวกลม หัวแหลมเป็นรูปหัวใจ จนถึงกลมแบนราบ มีสีเขียวจนถึงเขียวอ่อน เป็นพันธุ์ที่ทนร้อน อายุการเก็บเกี่ยวสั้นประมาณ 50-60 วัน พันธุ์ที่นิยมปลูกได้แก่พันธุ์ลูกผสมต่างๆ นอกจากนี้ยังมีพันธุ์ผสมเปิดอื่น ๆ อีกเช่น พันธุ์โคเปนเฮเกนมาร์เก็ต พันธุ์โกเดนเอเลอร์  การปลูกกะหล่ำปลีกะหล่ำปลีแดง มีลักษณะหัวค่อนข้างกลม ใบสีแดงทับทิม ส่วนใหญ่มีอายุเก็บเกี่ยวประมาณ 90 วัน ต้องการอากาศหนาวเย็นพอสมควร เมื่อนำไปต้มน้ำจะมีสีแดงคล้ำ พันธุ์ที่นิยมปลูกได้แก่พันธุ์รูบี้บอล รูบี้เพอเฟคชั่น
กะหล่ำปลีใบย่น มีลักษณะผิวใบหยิกย่นและเป็นคลื่นมากต้องการอากาศหนาวเย็นในการปลูก

การเตรียมดินปลูกกะหล่ำปลี
การปลูกกะหล่ำปลีแปลงเพาะกล้า เตรียมดินโดยการขุดไถให้ลึกประมาณ 15-20 เซนติเมตร กว้าง 1 เมตร กว้าง 1 เมตร ยาวตามความต้องการ ตากดินไว้ประมาณ 5-7 วัน แล้วคลุกด้วยปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมัก ย่อยดินให้ละเอียดพอสมควร รดน้ำให้ชื้น แล้วทำการหว่านเมล็ดลงไป ควรพยายามหว่านเมล็ดให้กระจายบางๆ ถ้าต้องการปลูกเป็นแถวก็ควรจะทำร่องไว้ก่อนแล้วหว่านเมล็ดตามร่องที่เตรียม ไว้ คลุมด้วยฟางหรือหญ้าแห้งบาง ๆ เมื่อกล้าออกใบจริงประมาณ 1-2 ใบ ก็ทำการถอนแยกต้นที่แน่นหรืออ่อนแอทิ้ง

แปลงปลูก
กะหล่ำปลีที่นิยมปลูกในประเทศไทยเป็นพันธุ์เบา ระบบรากตื้น ควรเตรียมดินลึกประมาณ 18-20 เซนติเมตร ตากดิน 5-7 วัน ใส่ปุ๋ยอินทรีย์ เช่น ปุ๋ยคอก ปุ๋ยหมักให้มาก เพื่อปรับสภาพของดิน และเพิ่มความอุดมสมบูรณ์ของดินโดยเฉพาะในดินทรายและดินเหนียว จากนั้นย่อยผิวหน้าดินให้มีขนาดก้อนเล็กแต่ไม่ต้องละเอียดจนเกินไป ถ้าดินเป็นกรดควรใส่ปูนขาวเพื่อปรับสภาพดินให้มีความเหมาะสมต่อการปลูก
 
การปลูกกะหล่ำปลีและการดูแลรักษา
การปลูกกะหล่ำปลี- เมื่อกล้ามีอายุได้ประมาณ 25-30 วัน จึงย้ายปลูกในแปลงปลูกที่เตรียมไว้ โดยให้มีระยะปลูก 30-40 x 30-40 เซนติเมตร การปลูกอาจปลูกเป็นแบบแถวเดียว หรือแถวคู่ก็ได้ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับขนาดของสวน

1. การใส่ปุ๋ย กะหล่ำปลีเป็นพืชที่ต้องการธาตุไนโตรเจนและโปตัสเซียมสูง เพื่อใช้ในการสร้างความเจริญเติบโตให้แก่ต้นถืช ปุ๋ยที่แนะนำให้ใช้คือ ปุ๋ยสูตร 13-13-21 หรือ 14-14-21 โดยแบ่งใส่ 2 ครั้ง คือ ครั้งที่ 1 ใส่รองพื้นขณะปลูก แล้วพรวนกลบลงในดิน ครั้งที่ 2 ใส่หลังจากกะหล่ำปลีมีอายุได้ 7-14 วัน และควรใส่ปุ๋ยไนโตรเจน เช่น ปุ๋ยแอมโมเนียมซัลเฟต หรือยูเรียควบคู่ไปด้วย ซึ่งการใส่ปุ๋ยนี้ก็แบ่งใส่ 2 ครั้งเช่นกันคือใส่เมื่อกะหล่ำปลีมีอายุได้ 20 วัน และเมื่ออายุได้ 40 วัน โดยการโรยข้างๆ ต้น

2. การให้น้ำ ควรให้น้ำอย่างสม่ำเสมอ โดยปล่อยไปตามร่องระหว่างแปลงประมาณ 7-10 วัน/ครั้ง ในเขตร้อนและแห้งแล้งจำเป็นต้องให้น้ำมากขึ้นและเมื่อกะหล่ำปลีเข้าปลีเต็ม ที่แล้วควรลดปริมาณน้ำให้น้อยลง เพราะหากกะหล่ำปลีได้รับน้ำมากเกินไปจะทำให้ปลีแตกได้


3. การพรวนดินและกำจัดวัชพืช ในระยะแรก ๆ ควรปฏิบัติบ่อย ๆ เพราะวัชพืชจะเป็นตัวแย่งอาหารในดินรวมทั้งเป็นที่อาศัยของโรคและแมลงอีก ด้วย

การเก็บเกี่ยวกะหล่ำปลี
การปลูกกะหล่ำปลีอายุ การเก็บเกี่ยวของกะหล่ำปลีตั้งแต่ปลูกจนถึงวันเก็บเกี่ยวขึ้นอยู่กับลักษณะ ของแต่ละพันธุ์ สำหรับพันธุ์เบาที่นิยมปลูกจะมีอายุประมาณ 50-60 วัน แต่พันธุ์หนักมีอายุถึง 120 วัน การเก็บควรเลือกหัวที่ห่อหัวแน่นและมีขนาดพอเหมาะ กะหล่ำปลี 1หัวมีน้ำหนักประมาณ 2-3 กิโลกรัม หากปล่อยไว้นานหัวจะหลวมลง ทำให้คุณภาพของหัวกะหล่ำปลีลดลง การเก็บควรใช้มีดตัดให้ใบนอกที่หุ้มหัวติดมาด้วยเพราะจะทำให้สามารถเก็บ รักษาได้ตลอดวัน เมื่อตัดและขนออกนอกแปลงแล้วให้ตัดแต่งใบนอกออกเหลือเพียง 2-3 ใบ เพื่อป้องกันความเสียหายเนื่องจากการบรรจุและขนส่ง จากนั้นคัดแยกขนาด แล้วบรรจุถุง


ประโยชน์ของ การปลูกกะหล่ำปลี
1. ช่วยลดความอ้วน ล่าสุดมีงานวิจัยออกมาว่ากะหล่ำปลีมีกรด
ทาร์ทาริก ช่วยยับยั้งขัดขวางไม่ให้น้ำตาลและแป้งไปเป็นไขมันสะ
สมในร่างกาย จึงช่วยลดคอเลสเตอรอลได้

2. เสริมสร้างภุมิคุ้มกัน ในกะหล่ำปลีมีวิตามินซีสูง ทำให้หวัดหาย
เร็ว ฟันและเหงือกแข็งแรง ช่วยป้องกันโรคเลือดออกตามไรฟัน ซึ่ง
การนึ่ง อบ หรือผัด จะช่วยคงคุณค่าสารอาหารในกะหล่ำไว้ได้ดีที่สุด


3. บำรุงกระดูกและฟัน กะหล่ำปลีอุดมไปด้วยแคลเซียม และฟอส
ฟอรัส ซึ่งดีต่อรางกายในการเสริมสร้างกระดูกในเด็กและคนชรา

4. ลดความเสี่ยงจากมะเร็งลำไส้ การรับประทานกะหล่ำปลีใน
แบบสุก หรือแบบดิบก็ได้ประมาณ 2 ครั้งต่อสัปดาห์จะช่วยลดโอ
กาสการเป็นมะเร็งลำไส้ในผู้ชายลงถึงร้อยละ 66 และหากทานกำ
หล่ำปลีปรุงสุก วันละ 2 ช้อนโต๊ะ ก็จะช่วยป้องกันมะเร็งช่องท้องได้เช่นกัน


5. ช่วยย่อยอาหารและล้างพิษ เนื่องจากในกำหล่ำปลีมีใยอา
หารอยู่ในปริมาณที่พอเหมาะ จึงช่วยย่อยอาหาร ลดระดับคอเลส
เตอรอลในเลือด กระตุ้นการทำงานของลำไส้ใหญ่ทำให้ระบบขับ
ถ่ายทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ

6. ทำให้นอนหลับสบาย สารซัลเฟอร์ในกำหล่ำปลีมีสรรพคุณ
ช่วยระงับประสาท ทำให้รุ้สึกผ่อนคลายความตึง
เครียด จึงทำให้
นอนหลับดีขึ้น วิธีรับประทานคือ การนำกะหล่ำปลีไปคั้นสด ๆ แล้ว
ดื่ม

7. รักษาแผลในกระเพาะอาหาร กะหล่ำปลีมีสารต้านการอักเสบ
ของแผลในกระเพาะและลำไส้ตามธรรมชาติ ช่วยกระตุ้นเซลล์เยื่อ
บุกระเพาะและลำไส้ให้สร้างน้ำคัดหลั่งเคลือบผิวทางเดินอาหาร จึง
ป้องกันไม่ให้เิกิดแผลจากกรดในกระเพาะอาหารได้

8. บรรเทาอาการปวดตึงคัดเต้านม การนำกะหล่ำปลีมาประคบ
เต้านมโดยลอกกะหล่ำปลีออกเป็นใบ แล้วนำมาประคบที่เต้านมข้าง
ละใบ ใช้ผ้าพันทิ้งไว้ 20 นาที โดยไม่ต้องนวดคลึงอาการปวดบวม
คัดตึงจะหายไป

การปลูกผักกวางตุ้ง





ผักกาดเขียวกวางตุ้ง
เนื่องจากผักกาดเขียวกวางตุ้งเป็นผักที่มีระบบรากตื้น ดังนั้นในการเตรียมดินควรขุดไถดินให้ลึกประมาณ 15-20 เซนติเมตร แล้วทำการตากดินทิ้งไว้ประมาณ 5-7 วัน ใส่ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมักที่ย่อยสลายตัวแล้วให้มาก คลุกเคล้าให้เข้ากันดี แล้วทำการไถพรวนให้ดินละเอียด ในกรณีที่ดินมีสภาพเป็นกรดก็ควรใส่ปูนขาวเพื่อปรับระดับ pH ของดินให้เหมาะสม ขนาดของแปลงปลูกกว้าง 1 เมตร ยาวประมาณ 10 เมตร หรือ ตามความเหมาะสม

การปลูก  ในการปลูกผักกาดเขียวกวางตุ้งนิยมทำกัน 2 วิธีด้วยกัน คือ
1. การปลูกแบบหว่านแมล็ดโดยตรง วิธีนี้นิยมใช้ในการปลูกแปลงที่ยกร่อง มีร่องน้ำกว้าง และพื้นที่ควรมีการเตรียมอย่างดี และเป็นดินที่มีความอุดมสมบูรณ์ เนื่องจากเมล็ดพันธุ์ผักกาดเขียวกวางตุ้งมีขนาดเล็กมาก ดังนั้นก่อนหว่านควรผสมกับทรายเสียก่อน โดยใช้เมล็ดพันธุ์ 1 ส่วนผสมกับทรายสะอาด 3 ส่วน แล้วหว่านให้กระจายทั่วแปลงสม่ำเสมอแล้วหว่านกลบด้วยปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมักหนาประมาณ 1/2-1 เซนติเมตร หลังจากนั้นคลุมด้วยฟางข้าวบางๆ เพื่อช่วยเก็บรักษาความชุ่มชื้นในดิน เสร็จแล้วรดน้ำให้ชุ่มหลังจากงอกได้ประมาณ 20 วัน ควรทำการถอนและจัดให้มีระยะระหว่างต้น 20-25 เซนติเมตร

2. การปลูกแบบโรยเมล็ดเป็นแถว การปลูกวิธีนี้หลังจากเตรียมดินแล้วจึงทำร่องลึกประมาณ 1.5-2 เซนติเมตร ให้เป็นแถวโดยให้ระยะระหว่างแถวห่างกัน 20-25 เซนติเมตร นำเมล็ดพันธุ์ผสมกับทราย แล้วทำการโรยหรือหยอดเมล็ดเป็นแถวตามร่อง แล้วกลบด้วยปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมักบางๆ คลุมด้วยฟางข้าวบางๆ รดน้ำให้ชุ่มด้วยสม่ำเสมอ หลังจากปลูกได้ประมาณ 20 วัน หรือต้นกล้ามีใบ 4-5 ใบ จึง่ทำการถอนแยกในแถว โดยพยายามจัดระยะระหว่างต้นให้ห่างกันประมาณ 20-25 เซนติเมตร ให้เหลือหลุมละ 1 ต้น

การดูแลรักษา
การให้น้ำ เนื่องจากผักกาดเขียวกวางตุ้งเป็นผักที่ต้องการน้ำมาก และมีการเจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว ดังนั้นเกษตรกรจะต้องให้น้ำอย่างพึงพอและสม่ำเสมอ อย่างน้อยวันละ 1 ครั้ง โดยใช้ระบบพ่นฝอยหรือใช้สายยางติดหัวฝักบัว อย่าให้ผักกาดเขียวกวางตุ้งขาดน้ำในระยะการเจริญเติบโต เพราะจะทำให้ผักกาดเขียวกวางตุ้งชะงักการเจริญเติบโตได้

การใส่ปุ๋ย เนื่องจากผักกาดเขียวกวางตุ้งเป็นผักกินใบและก้านใบ ดังนั้นการใส่ปุ๋ยควรใช้ปุ๋ยยูเรีย (46-0-0) หรือแอมโมเนียมซัลเฟต อัตรา 30 กิโลกรัมต่อไร่ เป็นการเร่งการเจริญเติบโตทางใบและก้านใบให้เร็วขึ้น หรือใช้ปุ๋ยสูตร 20-11-11 หรือสูตรใกล้เคียง ในอัตรา 30-50 กิโลกรัมต่อไร่ หลังจากใส่ปุ๋ยทุกครั้งควรมีการราดน้ำตามทันที อย่าให้ปุ๋ยตกค้างสำหรับการพรวนดินและกำจัดวัชพืช ควรทำให้ระยะแรกพร้อมกับการถอนแยก

การเก็บเกี่ยว
อายุการเก็บเกี่ยวของผักกาดเขียวกวางตุ้งค่อนข้างเร็ว คือ ประมาณ 35-45 วัน การเก็บเกี่ยวโดยเลือกต้นที่มีขนาดใหญ่ตามต้องการ แล้วใช้มีดคมดๆ ตัดที่โคนต้ แล้วทำการตัดแต่งใบนอกที่แก่หรือใบที่ถูกโรคหรือแมลงทำลายออก หลังจากตัดแต่งแล้วจึงบรรจุภาชนะเพื่อส่งจำหน่ายตลาดต่อไป

สำหรับการเก็บรักษา เนื่องจากผักกาดเขียวกวางตุ้งเป็นผักอวบน้ำ ดังนั้นการเก็บรักษาจึงควรเก็บไว้ในที่อุณหภูมิต่ำประมาณศูนย์องศาเซลเซียสที่ความชื้นสัมพัทธ์ 95 เปอร์เซ็นต์ จะสามารถเก็บรักษาไว้ได้นานถึง 3 สัปดาห์

โรคและแมลง
โรคและแมลงที่เข้าทำลายผักกาดเขียวกวางตุ้งส่วนใหญ่เป็นชนิดเดียวกับที่เข้าทำลายพวกผักกาดขาว คะน้า กะหล่ำปลี และผักกาดหอม ซึ่งมีดังนี้

โรคเน่าคอดิน สาเหตุเกิดจากเชื้อรา Pythium sp. หรือ Phytophthora sp. เป็นโรคที่เกิดขึ้นในแปลงปลูกผักกาดเขียวกวางตุ้งที่หว่านเมล็ดแน่นเกินไป อับลม และต้นเบียดกันแน่นแสงแดดส่องไม่ถึงโคนต้น ถ้าในแปลงมีเชื้อโรคอยู่แล้วต้นกล้า จะเกิดอาการเป็นแผลช้ำที่โคนต้นระดับดินเนื้อเยื่อตรงแผลจะเน่าและแห้งไปอย่างรวดเร็ว ถ้าถูกแสงแดดทำให้ต้นกล้าหักหรือพับ เพราะมีแผลช้ำที่โคนต้นระดับดิน ต้นจะเหี่ยวตายในเวลารวดเร็วบริเวณที่เป็นโรคจะค่อยๆ ขยายวงกว้างออกไปเป็นวงกลมกว้างขึ้น ภายในวงกลมที่ขยายออกไปจะไม่มีต้นกล้าเหลืออยู่เลย ส่วนต้นที่โตแล้วจะค่อยๆ เหี่ยวตายไป

การป้องกันกำจัด บนแปลงปลูกควรมีการระบายน้ำที่ดี ไม่ควรหว่านเมล็ดผักแน่นเกินไป ใช้ยาป้องกันกำจัดเชื้อราละลายน้ำในอัตราความเข้มข้นน้อยๆ ราดลงไปบนผิวดินบนแปลงให้ทั่วสัก 1-2 ครั้ง เช่น เทอราคลอเบนฟอร์ด ซึ่งเป็นยาป้องกันกำจัดเชื้อราในดินโดยตรงจะได้ผลยิ่งขึ้น หรือจะใช้ริคโดมิล เอ็มแซด 72 ละลายน้ำรดก็ได้ผลดี

โรคใบจุดของผักกวางตุ้ง สาเหตุเกิดจากเชื้อรา Alternaria brasaiciala อาการจะปรากฎที่ใบล่างของลำต้น โดยเริ่มแรกพบเป็นจุดสีเหลืองซีดขนาดเล็ก ต่อมาแผลจะขยายใหญ่ขึ้น และแห้งเป็นสีน้ำตาลอ่อน มีลักษณะค่อนข้างกลม ที่บริเวณแผลจะพบเชื้อขึ้นเป็นวงสีดำซ้อนกันอยู่ แผลเหล่านี้เมื่อรวมกันก่อให้เกิดอาการใบไหม้

การป้องกันกำจัด คลุกเมล็ดพันธุ์ด้วยสารเคมี ไธแรม, มาเน็บ 2-3 กรัมต่อเมล็ด 1 กิโลกรัม เก็บใบล่างที่แสดงอาการไปเผาทำลาย หรือฉีดพ่นด้วยสารเคมีแมนโคเซปหรือไปโปรไดโอน ในอัตรา 20-30 กรัม ต่อน้ำ 20 ลิตร เมื่อพบอาการ โดยฉีดพ่นทุก 15 วัน

โรคราน้ำค้างของผักกวางตุ้ง สาเหตุเกิดจากเชื้อรา Peronospora parasitica อาการจะปรากฏเป็นจัดสีขาวซีดบนใบ ต่อมาแผลขนาดใหญ่ขึ้นแผลซีดสีฟางข้าว ยุบตัวลง แผลมีขนาดรูปร่างไม่แน่นอน เมื่อพลิกดูใต้ใบ ในตอนเช้าที่มีอากาศชื้นจะพบส่วนของเชื้อเจริญเป็นขุยสีขาวฟูขึ้นบริเวณใต้แผลอาการมักเริ่มแสดงที่ใบล่างๆ ก่อนแล้วจึงลุกลามสู่ใบที่อยู่ถัดขึ้นมา หากเป็นรุนแรงใบจะแห้งตายไป

การป้องกันกำจัด คลุกเมล็ดด้วยสารเมทาแลคซิลในอัตรา 7 กรัมต่อเมล็ด 1 กิโลกรัม เก็บใบล่างที่แสดงอาการของโรคใส่ถุงพลาสติกแล้วนำไปเผาทำลาย หรือฉีดพ่นด้วยสารเคมีซีเน็บหรือแคปแทน ในอัตรา 30 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร เมื่อตรวจพบอาการ

เพลี้ยอ่อน มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Lipaphis erysimi ตัวอ่อนของเพลี้ยวอ่อนออกจากท้องแม่ได้โดยไม่ต้องได้รับการผสมพันธุ์ ตัวอ่อนเมื่อออกจากแม่ใหม่ๆ จะพบว่ามีลำตัวขนาดเล็กมาก ต้องส่องดูด้วยกล้องจุลทรรศน์ ลำตัวมีสีเหลืองอ่อน นัยน์ตาสีดำ ขาทั้ง 3 คู่มีสีเดียวกับลำตัว หนวดสั้น รูปร่างคล้ายตัวเต็มวัย ระยะเป็นตัวอ่อนจะมีการลอกคราบ 4 ครั้ง ตัวอ่อนมีอายุประมาณ 5-6 วัน หลังจากนั้นก็จะเป็นตัวเต็มวัย ตัวเต็มวัยมีทั้งพวกที่มีปีกและไม่มีปีก ระยะตัวเต็มวัยมีชีวิตอยู่ได้ประมาณ 6-18 วัน ตัวเต็มวัยตัวหนึ่งสามารถออกลูกได้ตลอดชีวิตประมาณ 75 ตัว

ลักษณะการทำลาย
เพลี้ยอ่อนสามารถเข้าทำลายได้ทั้งในระยะตัวอ่อนและตัวเต็มวัย โดยการดูดกินน้ำเลี้ยงจากพืชทั้งส่วนยอด ใบอ่อนและใบแก่ ลักษณะอาการที่เห็นได้ชัดคือ ส่วนยอดและใบจะหงิกงอ เมื่อจำนวนเพลี้ยอ่อนเพิ่มมากขึ้นพืชจะเหี่ยว ใบที่ถูกทำลายจะค่อยๆ มีสีเหลือง นอกจากนี้เพลี้ยอ่อนยังอยู่ตามซอกใบซึ่งเป็นที่รังเกียจของผู้บริโภค

การป้องกันกำจัด เมื่อพบเพลี้ยอ่อนเข้าทำลายควรใช้สารเคมีกลุ่มมาลาไธออน เช่น มาลาเทน, มาลาไธออน 83% ในอัตรา 30-55 ซีซี ต่อน้ำ 20 ลิตร พ่น 2 ครั้ง แต่ละครั้งห่างกัน 7 วัน นอกจากนี้อาจใช้ในอัตรา 5 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร ทำการพ่นเป็นครั้งคราว

หนอนใยผัก มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Plutella xylostella ตัวหนอนเกิดจากไข่ที่แม่ผีเสื้อวางไว้ใต้ใบ ไข่มีสีเหลือง ค่อนข้างกลม วางติดกัน 2-5 ฟอง อายุไข่ฟักประมาณ 3 วัน จึงเป็นตัวหนอน ตัวหนอนมีขนาดค่อนข้างเล็กมองเห็นยาก มีการเจริญรวดเร็วกว่าหนอนอื่นๆ ระยะเวลาเพียง 1 สัปดาห์ ก็จะโตเต็มที่มีขนาด 1 เซนติเมตร ส่วนท้ายมีปุ่มยื่นออกมา 2 แฉก เมื่อถูกตัวจะดิ้นอย่างแรงและทิ้งตัวลงในดินโดยการสร้างใย ดักแด้มีขนาด 1 เซนติเมตร อยู่ภายในใยบางๆ ติดใต้ใบ อายุดักแด้ 3-4 วัน ตัวเต็มวัยมีสีเหลืองเทา ตรงส่วนหลังมีแถบสีเหลือง อายุเต็มวัย 1 สัปดาห์ มักพบตัวเต็มวัยตามใบ โดยเกาะอยู่ในลักษณะยกหัวขึ้น

ลักษณะการทำลาย การวางไข่ของแม่ผีเสื้อค่อนข้างหนาแน่น ในต้นหนึ่งจะพบหนอนมากกว่า 10 ตัว หนอนใยผักจะกัดกินผิวด้านล่างใบจนเกิดรูพรุน รอยที่เห็นจะแตกต่างกับหนอนชนิดอื่นและมักจะเข้าไปกัดกินยอดที่กำลังเจริญเติบโต ทำให้ยอดผักเสีย ทำให้เสียคุณภาพ

การป้องกันกำจัด สามารถทำได้หลายวิธี เช่น การใช้สารเคมีกำจัดตัวหนอนโดยตรง การใช้เชื้อแบคทีเรียบาซิลลัสทรูรินเจนซิสทำลาย และหมั่นตรวจดูแปลงปลูกอยู่เสมอเมื่อพบตัวหนอนควรรีบทำลายทันที

ด้วงหมัดผัก มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Phyllotreta sinuata ตัวเต็มวัยเป็นแมลงปีกแข็งขนาดเล็ก ยาว 1 1/2 มิลลิเมตร ตัวเต็มวัยจะวางไข่ในดินบริเวณใกล้ๆ ต้นพืช ตัวอ่อนมีขนาดเล็กสีขาวใส โตเต็มวัยจะกัดกินใบจนเป็นรูพรุน ทำความเสียหายได้ในระยะที่ผักกำลังเจริญเติบโต สำหรับตัวอ่อนที่เป็นหนอนชอบกัดกินราก บางครั้งอาจเกิดการระบาดในระยะที่ยังเป็นต้นกล้า

การป้องกันกำจัด
การไถตากดินในฤดูแล้งจะช่วยทำลายตัวอ่อนหรือดักแด้ที่อยู่ในดินได้ กำจัดวัชพืชในบริเวณแปลงผักเพื่อตัดวงจรอาหารของตัวหนอน หรือฉีดพ่นด้วยเซฟวิน 85 หรือแลนเนท

ประโยชน์ของ การปลูกกวางตุ้ง
ผักกวางตุ้งมีถิ่นกำเนิดในเอเชียตะวันออกปลูกกันมากที่จีนและญี่ปุ่น นิยมนำมาปรุงเป็นแกงจืด ต้มจับฉ่ายหรือนำไปผัด ซึ่งไม่ควรตั้งไฟนานเพราะความร้อนทำลาย วิตามินในผัก โดยเฉพาะวิตามินซี แต่เบตาแคโรทีนนั้นทนร้อนมากกว่า หากให้โดนความร้อนแค่ 1-2 นาทีจะมีเบตาแคโรทีนสูงกว่าครึ่งพอที่ร่างกายนำไปใช้บำรุงสุขภาพดวงตาและ เสริมสร้างภูมิคุ้มกัน ผักกวางตุ้งสามารถรับประทานสดได้แต่จะมีกลิ่นเหม็นเขียว

การเลี้ยงหอยนางรม



ประวัติความเป็นมาของ หอยนางรม
การศึกษาค้นคว้าเกี่ยวกับการเพาะพันธุ์หอย ได้ริเริ่มขึ้นมาเป็นเวลานานกว่าร้อยปีมาแล้ว เท่าที่มีรายงานไว้ เช่นในปี ค.ศ. 1883 J.A. Ryder ได้เสนอรายงาน เกี่ยวกับการอนุบาลลูกหอยนางรมที่ไดจาการผสมเทียม และปี 1884 ก็ได้มีรายงานผลการทดลองเพาะผสมเทียมของหอยนางรม โดย F. Winslow ซึ่งทำการ ทดลองตั้งแต่ปี 1882 ได้มีผู้พยายามค้นคว้าทดลองเกี่ยวการเพาะและอนุบาลลูกหอยชนิดต่างๆ ต่อมาอีกเป็นจำนวนมาก แต่ผลการทดลองในระยะแรกๆ นั้นยังไม่ประสบความสำเร็จเท่าใดนัก มีเพียงไม่กี่รายที่สามารถเลี้ยงลูกหอยจนกระทั่งพัฒนาการถึงระยะ metamorphosis ได้ แม้จะมีบางรายที่อาจนับได้ว่าประสบผลสำเร็จ เช่น ในปี ค.ศ. 1924 H.F. Prytherch สามารถเลี้ยงลูกหอยนางรมอเมริกัน (Crassostrea virginica) จากการผสมเทียมไดเป็นจำนวนมาก และในปี 1927 W.F. Wells ก็สามารถเลี้ยงลูกหอยชนิดเดียวกันนี้ และลูกหอยชนิด Mercenaria mercenaria จนพัฒนาถึงระยะเกาะวัสดุได้ก็ตาม แต่วิธีการและผลที่ได้ก็ยังไม่แน่นอน คือไม่สามารถจะทำซ้ำให้ได้ผลเช่นเดียวกันอีกได้ (Loosanoff and Davis, 1963) อย่างไรก็ตามงานทดลองในระยะแรกนี้ ก็ได้เป็นพื้นฐานในการศึกษาค้นคว้า จนกระทั่งประสบผลสำเร็จก้าวหน้ายิ่งขึ้นได้ในที่สุด ในจำนวนบุคคลที่นับได้ว่าเป็นผู้บุกเบิกงานด้านการเพาะพันธุ์หอยที่มีชื่อเสียงมากได้แก่ Victor Loosanoff และ Harry Davis ซึ่งรายงานฉบับสำคัญของเขาเมื่อปี 1963 คือ ?Rearing of Bivalve Mollusks? นั้น อาจถือได้ว่าเป็นตำราฉบับแรกเกี่ยวกับการเพาะพันธุ์หอยสองฝา และเป็นแนวทางสำหรับผู้สนใจงานด้านนี้ได้เป็นอย่างดี เป็นที่ยอมรับกันมาจนถึงปัจจุบันนี้ เทคนิควิธีการต่างๆ ในการเพาะพันธุ์หอย ได้รับการพัฒนาปรับปรุงขึ้นเรื่อยมาในหลายประเทศ จากอดีตมาจนถึงปัจจุบันได้ประสบความสำเร็จในการเพาะและ อนุบาลลูกหอยหลายชนิด ทั้งพวกหอยฝาเดียว (Gastropods) ในสกุล (genus) เดียวกัน เพื่อกาหนทางในการคัดและปรับปรุงพันธุ์ต่อไปในอนาคตอันใกล้นี้ด้วย

สำหรับการเพาะพันธุ์หอยในประเทศไทยได้เริ่มขึ้นในปี พ.ศ. 2522 โดยเผดิมศักดิ์ (2522) ได้ทำการผสมเทียมหอยนางรมพันธุ์ใหญ่ (Crassostrea lugubris) โดยวิธี Sacrification สามารถเลี้ยงลูกหอยได้จนถึงวัยลงเกาะแต่ยังมีอัตรารอดตายค่อนข้างต่ำ ต่อมา สุวราภรณ์ จึงแย้มปิ่น, ยอดยิ่ง เทพธรานนท์ และ สุทธิชัย เตมียวณิชย์ (2526) ประสบความสำเร็จในการเพาะฟักหอยนางรมปากจีบหรือหอยนางรมพันธุ์เล็กสามารถ เลี้ยงลูกหอยจนเข้าสู่ระยะวัยเกล็ด ขณะเดียวกันกฤษณะ (2526) ก็ได้เริ่มทำการทดลองเพาะฟักหอยตะโกรมขึ้นที่สถานีประมงน้ำกร่อยจังหวัดสุราษฎร์ธานี ในปี พ.ศ.2526 เช่นกัน สามารถเลี้ยงลูกหอยไดถึงอายุ 15 วัน ถัดมาในปี พ.ศ. 2527 กรมประมงได้มอบหมายให้สถานีประมงน้ำกร่อยจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ (ปัจจุบันคือ ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่งประจวบคีรีขันธ์) รับผิดชอบโครงการเพิ่มผลผลิตทางการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่ง โดยเน้นที่หอยสองฝาที่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจเป็นหลัก ที่สำคัญได้แก่หอยตะโกรม หอยมุก เป็นต้น โรงเพาะฟักเต็มรูปแบบแห่งแรกของประเทศจึงได้ถูกจัดตั้งขึ้น และเริ่มผลิตพันนธุ์หอยเพื่อป้อนสู่เกษตรกรและหน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้อง นับแต่นั้นเป็นต้นมา

หอยนางรมเป็นหอยสองฝาที่มีคุณค่าทางโภชนาการสูง จึงมีผู้บริโภค หอยนางรมกันมากโดยเฉพาะหอยนางรมพันธุ์ใหญ่หรือหอยตะโกรม เนื่องจากการตลาดหอยนางรม นั้น มีแนวโน้มขยายตัวได้อีกมากเพราะผลผลิตในปัจจุบันยังไม่เพียงพอต่อการบริโภค ภายในประเทศ ทำให้หอยนางรมมีราคาสูงมากเมื่อเทียบกับหอยชนิดอื่น ๆ หอยนางรมที่นำมาบริโภคเกือบทั้งหมดเป็นหอยที่ได้จากการเพาะเลี้ยง โดยอาศัยธรรมชาติ หอยจะกรองกินพืชน้ำขนาดเล็กที่แขวนลอยในแหล่งน้ำเค็มเป็นอาหารหลัก ในประเทศไทยมีพันธุ์หอยนางรมตามธรรมชาติอยู่หลายชนิด แต่ชนิดที่นิยมเพาะเลี้ยงเพื่อนำมาบริโภคเป็นอาหารนั้น พอจำแนกได้เป็น 2 พวก คือ หอยนางรมพันธุ์เล็ก ซึ่งมีชื่อเรียกตามพื้นบ้านว่าหอยปากจีบ หอยเจาะ หรือหอยอีรม เป็นต้น ส่วนหอยนางรมอีกพวกหนึ่งคือ หอยนางรมพันธุ์ใหญ่ ได้แก่ หอยตะโกรมกรามขาว และหอยตะโกรมกรามดำ นั่นเอง การเลี้ยงหอยนางรมได้มีการเลี้ยงมานานกว่า 50 ปี ส่วนมากเป็นการเลี้ยงแบบดั้งเดิม พบว่า แถบ ชายฝั่งทะเลของประเทศไทยทางภาคตะวันออกได้แก่ ชลบุรี ระยอง จันทบุรี และตราดมีการเลี้ยงหอยนางรมขนาดเล็กกันมาก สำหรับฝั่งอ่าวไทยได้แก่ จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ชุมพร สุราษฏร์ธานี สงขลา ปัตตานีและทะเลอันดามันจะมีการเลี้ยงหอยตะโกรมกรามดำและหอยตะโกรมกรามขาวกัน มากในเขตพื้นที่โดยเฉพาะจังหวัดระนองและพังงา

ชนิดของหอยนางรม
ชนิดพันธุ์หอยนางรมที่ทำการเลี้ยงกันอยู่โดยทั่วไป สามารถแบ่งได้เป็น 3 ชนิด
1. หอยยนางรมพันธุ์เล็กหรือหอยนางรมปากจีบมีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Saccostrea commercialis (บางรายงานเสนอว่าชื่อวิทยาศาสตร์ควรเป็น S. cucullata) หอยนางรมพันธุ์นี้มีการเลี้ยงกันมากทางภาคตะวันออกของประเทศ

2. นางรมที่ค่อนข้างมีขนาดใหญ่ เรียกว่าหอยตะโกรม (Crassostrea belcheri)

3.หอยตะโกรมกรามดำ (C. lugubris) แม้ว่าจะมีการเลี้ยงกันบ้างในภาคตะวันออก แต่การเลี้ยงส่วนใหญ่จะอยู่ในเขตจังหวัดภาคใต้

การแพร่กระจายตามธรรมชาติของหอยนางรมทั้งสามชนิด พบทั่วไปทั้งฝั่งทะเลภาคตะวันออกอ่าวไทย และฝั่งทะเลอันดามัน อย่างไรก็ตามการเพาะเลี้ยงหอยนางรม และหอยตะโกรมพบว่ามีการเลี้ยงกันใน 12 จังหวัด ชายฝั่งทะเลของไทย ประกอบด้วยภาคตะวันออก 4 จังหวัด ได้แก่ ชลบุรี ระยอง จันทบุรี และตราด การเลี้ยงส่วนใหญ่เป็นหอยนางรมพันธุ์เล็กในภาคใต้การเลี้ยงหอยนางรมพบ 6 จังหวัดในฝั่งอ่าวไทย ได้แก่ ประจวบคีรีขันธ์ ชุมพร สุราษฎร์ธานี สงขลา ปัตตานี และนราธิวาส ซึ่งพบทั้งการเลี้ยงหอยนางรมพันธุ์เล็กและหอยตะโกรม ทั้งชนิดกรามขาวและกรามดำ ในภาคใต้ฝั่งอันดามันมีการเลี้ยงหอยตะโกรมกรามขาวและกรามดำ ในเขตจังหวัดระนองและพังงา พื้นที่การเลี้ยงหอยนางรมรวมทั้งหมดของประเทศในปี พ.ศ.2528 คิดเป็น 6,053 ไร่ ให้ผลผลิตทั้งสิ้น 5,241 ตัน คิดเป็นมูลค่าถึง 53,135,000 บาท อย่างไรก็ ตามผลการประเมินในปี พ.ศ. 2526 คาดว่าพื้นที่การเลี้ยงหอยนางรมของประเทศไทยยังคงศักยภาพที่จะขยายออกไปได้ อีกไม่ต่ำกว่า 35,000 ไร่ หรือเพิ่มขึ้นอีก ไม่น้อยกว่า 15.16% (ฝ่ายสถิติกรมประมง, 2531)

การเพาะเลี้ยงหอยนางรม
ชีววิทยา
เป็นหอยสองฝา (Bivalves) มีการผสมพันธุ์ภายนอก แล้วพัฒนาเป็นลูกหอยวัยอ่อน ซึ่งสามารถว่ายน้ำได้ ดำรงชีวิตเป็นพวกแพลงค์ตอน จนกระทั่งถึงวัยเกาะวัสดุ (Setting) ลูกหอยเมื่อเกาะวัสดุแล้วจะเกาะอยู่กับที่ตลอดชีวิต โดยใช้เปลือกซีกซ้ายยึดติดกับวัสดุในน้ำ การกินอาหารโดยการกรอง ขบวนการกรองของหอย 2 ฝา จะมีประสิทธิภาพก็ต่อเมื่อปริมาณน้ำที่ไหลผ่าน เข้า Mantle Cavity มากพอ และตัวหอยยู่ในน้ำตลอดเวลา ดังจะพบว่าหอยที่เลี้ยงอยู่ในน้ำตลอดเวลาจะมีการเจริญเติบโตดีกว่าหอยที่อยู่ระดับน้ำขึ้น -น้ำลง

โรงเพาะเลี้ยงและอุปกรณ์
ปัจจัยสำคัญที่ต้องพิจารณาสำหรับการสร้างโรงเพาะพันธ์หอย ประการแรกก็คือสถานที่ที่จะสร้างต้องเป็นแหล่งที่มีน้ำทะเลใสสะอาด มีระดับความเค็มค่อนข้างคงที่ตลอดปี ห่างจากแหล่งอุตสาหกรรม ปลอดจากสารมลพิษต่างๆ นอกจากนี้ควรจะเป็นแหล่งที่การคมนาคมสะดวก รวมทั้งมีสาธารณูปโภค ได้แก่ น้ำประปา ไฟฟ้าบริบูรณ์ เพื่อความสะดวกในการปฏิบัติงานต่างๆ

โรงเพาะพันธุ์หอยประกอบด้วนส่วนต่างๆ ที่สำคัญดังนี้
1. ระบบน้ำ (Seawater system) ต้องการน้ำทะเลที่สะอาด ผ่านการกรองและฆ่าเชื้อ โดยการสูบน้ำทะเลผ่านเครื่องกรอง (sand filter) แล้วเก็บสต๊อกไว้ในถังเก็บน้ำ ในกรณีที่น้ำมีตะกอนขุ่นมากต้องสูบน้ำไปพักไว้ในถัง ปล่อยให้ตกตะกอน ก่อนที่จะนำไปผ่านเครื่องกรอง ท่อน้ำหรือวาล์วปิดเปิดน้ำต้องใช้วัสดุที่ไม่เป็นสนิมหรือมีส่วนประกอบของโลหะหนักที่จะกอ่ให้เกิดอันตรายแก่ลูกหอย วัสดุที่เหมาะสมได้แก่ PVC อุปกรณ์จำเป็นสำหรับฆ่าเชื้อในน้ำ ได้แก่ เครื่องฉายรังสีอัลตราไวโอเลต (UV) ซึ่งใช้ได้สะดวก ปลอดภัยและมีประสิทธิภาพสูง น้ำที่จะนำมาใช้ก่อนผ่านเครื่อง UV จะต้องกรองผ่านเครื่องกรองละเอียด ขนาดไม่เกิน 5 ไมครอน เสียก่อน เพื่อให้แสง UV มีประสิทธิภาพในการฆ่าเชื้อได้ดี

2. ระบบลม (Aeration system) ใช้เครื่องเป่าอากาศ (air blower) ที่มีกำลังแรงอย่างเพียงพอโดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับใช้ในการเพาะสาหร่าย หรือแพลงก์ตอนพืชที่ใช้เป็นอาหารลูกหอย ซึ่งต้องการระบบการให้อากาศที่แรงมากพอ นอกจากนี้ยังมีระบบกรองลม เพื่อกำจัดฝุ่นละออง และละอองน้ำมันหล่อลื่น ที่จะปะปนออกมากับลมก่อนที่จะนำไปใช้ด้วย ท่อลมควรใช้ท่อ PVC เช่นกัน

3.หน่วยผลิตอาหาร (Phytoplankton unit) เป็นหน่วยสำคัญของโรงเพาะพันธุ์หอย เนื่องจากหอยเป็นสัตว์ประเภท filter feeder คือ กินอาหารโดยการกรองอาหารจากน้ำตลอดเวลา อาหารที่สำคัญได้แก่ พวกสาหร่ายหรือแพลงก์ตอนพืชขนาดเล็ก งานเพาะขยายพันธุ์แพลงก์ตอนพืชจึงเป็นส่วนประกอบที่สำคัญ และจำเป็นอย่างยิ่งในโรงเพาะพันธุ์หอย ซึ่งระบบการผลิตแพลงก์ตอนพืชนี้จะประกอบไปด้วยส่วนต่างๆ คือ

3.1 ห้องเก็บหัวเชื้อ (Stock culture room) สำหรับเก็บรักษา ตลอดจนคัดแยกหัวเชื้อบริสุทธิ์ของแพลงก์ตอนพืช เพื่อใช้เป็นพันธุ์ในการขยายพันธุ์ต่อไป ห้องนี้ควรสามารถควบคุมอุณหภูมิได้ ไม่ควรให้อุณหภูมิสูงเกิน 25 องศาเซลเซียส

3.2 ห้องขยายพันธุ์ (Inoculation room) สำหรับขยายพันธุ์จากหัวเชื้อให้มีปริมาณมากขึ้นในภาชนะขนาด 2-5 ลิตร

3.3 ห้องเพาะลี้ยง (Carboy culture room) สำหรับเพาะเลี้ยงปริมาณมากในขวดคาร์บอนขนาด 20 ลิตร ซึ่งผลผลิตจากห้องนี้ อาจนำไปใช้เลี้ยงลูกหอยโดยตรง หรือนำไปขยายต่อในถึงขนาดใหญ่นอกห้องปฏิบัติการต่อไป

3.4 ถังและบ่อเพาะขนาดใหญ่ (Massculture หรือ Large tank area) ประกอบด้วยถึงไฟเบอร์กลาสขนาด 100 ลิตร ขึ้นไปจนถึงบ่อขนาดปริมาตรหลายตัน เพื่อเพาะขยายเพิ่มปริมาณแพลงก์ตอนพืชจำนวนมาก ใช้เลี้ยงลูกหอยวัยเกล็ด (spat) หรือหอยขนาดใหญ่รวมทั้งในขุนเลี้ยงพ่อแม่พันธุ์หอยด้วย อุปกรณ์ต่างๆ ที่ใช้ในระบบผลิตแพลงก์ตอนพืชนี้ ต้องทำความสะอาดได้สะดวกและแยกใช้ ไม่ปะปนกับหน่วยอื่นๆ ภาชนะเครื่องแก้วที่ใช้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งที่ใช้ในห้องเก็บหัวเชื้อ และห้องขยายพันธุ์ ต้องอบหรือนึ่งฆ่าเชื้อได้ ถังไฟเบอร์กาสควรเป็นชนิดใสเพื่อให้แสงผ่านได้ดีเพราะปัจจัยสำหรับการเจริญ ของแพลงก์ตอนพืชประการหนึ่งคือ แสง

4. หน่วยอนุบาล (Nursery unit) ประกอบด้วยถังอนุบาล ได้แก่ ถังไฟเบอร์กลาส ซึ่งอาจมีขนาดตั้งแต่ 500 ถึง 2,000 ลิตร นอกจากนี้อุปกรณ์ที่จำเป็น ได้แก่ ตระแกรงสำหรับถ่ายน้ำหรือกรองลูกหอย ท่อยางสำหรับถ่ายน้ำ เครื่องมือในการสุ่มตัวอย่างเพื่อตรวจสอบสภาพของลูกหอย เป็นต้น บริเวณหน่วยอนุบาลจะประกอบด้วยระบบท่อน้ำ ท่อลม ระบบกรองและทำความสะอาดน้ำรวมอยู่เพื่อให้สะดวกในการปฏิบัติงาน นอกจากส่วนที่ใช้สำหรับอนุบาลลูกหอยวัยอ่อน ซึ่งหมายถึงระยะที่ว่ายน้ำแล้วหน่วยอนุบาลยังต้องประกอบด้วย ส่วนที่ใช้สำหรับอนุบาลลูกหอยระยะหลังจากการลงเกาะวัสดุ หรือหลังการ metamorphosis หรือที่เรียกว่าลูกหอยวัยเกล็ด (spat) เพื่อเตรียมให้มีสภาพแลขนาดเหมาะสมที่จะนำไปเลี้ยงต่อไปในทะเลได้ การอนุบาลลูกหอยวัยเกล็ดนี้จะประกอบด้วยระบบ downflow และ upwelling (หรือ upflow) ซึ่งระบบ downflow ใช้อนุบาลลูกหอยวัยเกล็ดขนาดเล็ก ทั้งนี้เนื่องจากน้ำหนักตัวลูกหอยยังน้อย เมื่อลูกหอยโตขึ้นจะปลี่ยนวิธีการอนุบาลลูกหอยวัยเกล็ดด้วยระบบ up welling แทน โดยทั้งสองแบบเป็นระบบการใช้น้ำไหลเวียนผ่านลูกหอยที่สำคัญมากระบบหนึ่ง

5. หน่วยจัดการพ่อแม่พันธุ์และการเพาะ (broodstock maintenance and spawning induction unit) ประกอบด้วยบ่อเก็บพ่อแม่พันธุ์หรือระบบขุนเลี้ยงพ่อแม่พันธุ์ และอุปกรณ์การเพาะพันธุ์

6. ห้องปฏิบัติการ (Laboratory) ใช้สำหรับวิเคราะห์คุณภาพน้ำ ตรวจสอบการเจริญเติบโตของลูกหอย คุณภาพลูกหอย คุณภาพของแพลงก์ตอนพืช เป็นต้น อุปกรณ์สำคัญ ได้แก่ กล้องจุลทรรศน์ เครื่องมือวิเคราะห์คุณภาพเครื่องชั่ง ฯลฯ การจัดระบบต่างๆ รวมทั้งการจัดแบ่งพื้นที่ใช้สอยองแต่ละหน่วยในโรงเพาะพันธุ์หอย นอกจากจะคำนึงถึงรายละเอียดเฉพาะหน่วยแล้ว ยังต้องพิจารณาถึงความเหมาะสม ตลอดจนความสัมพันธ์ระหว่างหน่วย เพื่อความสะดวกในการปฏิบัติงานให้เอื้อผลดีที่สุดด้วย

การคัดเลือกพ่อแม่พันธ์หอยนางรม
หอยที่จะนำมาเพาะพันธุ์หรือกระตุ้นให้สืบพันธุ์ได้นั้น จะต้องมีความสมบูรณ์เพศกล่าวคือ มีไข่หรือน้ำเชื้อเจริญแก่จัด (mature gonads) ซึ่งโดยทั่วไปแล้วหอยส่วนใหญ่นั้นเราไม่สามารถจะสังเกตเพศได้จากการดูลักษณะภายนอก ในฤดูวางไข่ หรือช่วงที่อวัยวะเพศสมบูรณ์นั้น หอยบางชนิดจะสามารถสังเกตเพศได้จากสีของส่วนที่เป็นอวัยวะเพศ เช่น หอยแมลงภู่ และหอยแครงตัวเมียจะมีสีส้ม ส่วนตัวผู้เป็นสีครีมหรือสีเหลืองอ่อน แต่ในหอยบางชนิด เช่น หอยนางรม นั้นไม่สามารถจะบอกความแตกต่างจากสีของอวัยวะเพศได้ชัดเจน นอกจากจะเขี่ยออกมาดูด้วยกล้องจุลทรรศน์

ก่อนที่จะนำหอยมาทำการเพาะพันธุ์นั้น ควรจะต้องตรวจดูความสมบูรณ์ของไข่และน้ำเชื้อเสียก่อน โดยทั่วไปจะใช้วิธีสุ่มตัวอย่างหอยมาผ่าดูอวัยวะเพศ หรือตรวจสอบ เซลล์สืบพันธุ์โดยใช้กล้องจุลทรรศน์ แล้วแต่กรณี ไข่ที่เจริญเต็มที่ โดยทั่วไปจะมีลักษณะกลมหรือค่อนข้างกลม ส่วนน้ำเชื้อนั้นจะว่ายน้ำได้อย่างแข็งแรง หากตรวจพบว่า ไข่และน้ำเชื้อยังไม่สมบูรณ์ ก็ไม่ควรทำการเพาะพันธุ์ในขณะนั้น แต่จะต้องทำการขุนเลี้ยงพ่อแม่พันธุ์ให้สมบูรณ์เสียก่อน

ในสภาพธรรมชาตินั้น หอยส่วนใหญ่มักจะมีการสืบพันธุ์เป็นฤดูกาล ทั้งนี้เนื่องมาจากปัจจัยสิ่งแวดล้อม ซึ่งมีการเปลี่ยนแปลงไปตามฤดูกาล ส่งผลมาถึงการเจริญเติบโต ตลอดจนการพัฒนาการของอวัยวะสืบพันธุ์ พ่อแม่หอยที่นำมาเพาะพันธุ์ จึงอาจได้จากการเก็บรวบรวมหอยที่มีไข่หรือน้ำเชื้อสมบูรณ์ในช่วงฤดูการสืบพันธุ์ตามธรรมชาติมาเพาะ หรืออาจใช้พ่อแม่พันธุ์ได้จากการขุนเลี้ยง โดยควบคุมสภาวะแวดล้อมบางประการเพื่อกระตุ้นให้มีการพัฒนาการของอวัยวะสืบพันธุ์ จนสมบูรณ์พร้อมสำหรับผสมพันธุ์ได้โดยไม่จำกัดฤดูกาล

สำหรับหอยตะโกรม สามารถนำมาเลี้ยงเก็บไว้ในกระบะไม้กรุด้วยอวน ผูกแขวนไว้ในบ่อดิน หรือคลองส่งน้ำ ที่มีการถ่ายเทน้ำเป็นประจำ เช่น บ่อเลี้ยงปลา ดังเช่น วิธีการที่ใช้เลี้ยงศูนย์พัฒนาการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่งประจวบคีรีขันธ์ สามารถเลี้ยงพ่อแม่พันธุ์ให้มีไข่และน้ำเชื้อสมบูรณ์ใช้เพาะพันธุ์ได้ตลอดทั้งปี ความสมบูรณ์ของพ่อแม่พันธุ์หอยเป็นปัจจัยสำคัญที่สุดประการหนึ่งที่จะต้องคำนึงถึง เพราะพ่อแม่พันธุ์ที่สมบูรณ์เต็มที่จะให้เซลล์สืบพันธุ์ที่มีคุณภาพดี เป็นผลให้ได้ลูกหอยที่มีความเจริญเติบโตได้ดี มีอัตรารอดตายสูงด้วยการขุนเลี้ยงพ่อแม่พันธุ์หอยให้สมบูรณ์ที่สุดก่อนนำมาเพาะจึงเป็นเรื่องสำคัญโดยอาจจะนำพ่อแม่พันธุ์หอยมาทำการขุนเลี้ยงในถัง หรือกระบะ และให้อาหารเสริม ได้แก่ แพลงก์ตอนพืชต่างๆ ในปริมาณที่เพียงพอเป็นเวลาประมาณ 1-3 สัปดาห์ก่อนการเพาะพันธุ์

การกระตุ้นพ่อแม่พันธุ์ให้ปล่อยน้ำเชื้อและวางไข่
นำพ่อแม่พันธุ์หอยมาทำความสะอาด ขัดล้างสิ่งมีชีวิตอื่น ๆ ตามเปลือกออก นำมาใส่ในกระบะทิ้งไว้ 12-15 ชม. (1 คืน) โดยไม่ใส่น้ำ เช้าวันรุ่งขึ้นทำการเพาะโดยเปิดน้ำทะเลที่อุณหภูมิ 34-35 ํC ไหลผ่านกระบะ 1-2 ชม. สลับกับน้ำอุณหภูมิปกติ ทำประมาณ 3 ครั้ง จนกระทั่งหอยปล่อยน้ำเชื้อซึ่งมีลักษณะเป็นน้ำสีขุ่นขาว เป็นสาย และปล่อยไข่ซึ่งมีลักษณะเป็นเม็ดเล็ก ๆ ปล่อยออกมาเป็นจังหวะ จึงแยกตัวผู้และตัวเมียออกจากกัน ในภาชนะคนละใบ เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดภาวะ Polyspermy คือ ไข่ 1 ใบถูกผสมโดยน้ำเชื้อหลายๆ ตัว ซึ่งจะทำให้ไข่มีการเจริญเติบโตผิดปกติ จากนั้นกรองสิ่งสกปรกออกโดยใช้ตะแกรงขนาด 70-90 ไมครอน ไข่มีขนาด 50 ไมครอน จะลอดผ่านได้ ส่วนน้ำเชื้อมีขนาดเล็กมากให้ใช้ตะแกรง 30 ไมครอนกรองสิ่งสกปรกออก สุ่มนับน้ำเชื้อและจำนวนไข่แล้วจึงผสมไข่กับน้ำเชื้อเข้าด้วยกัน ในถังขนาด 20-25 ลิตร ทิ้งไว้ 5-10 นาที จากนั้นแบ่งลงในถังเลี้ยงให้มีความหนาแน่นประมาณ 10-15 ใบต่อมิลลิลิตร ให้อากาศเบาๆ ไข่ที่ได้รับการผสมจะพัฒนาเป็นตัวอ่อนต่อไป

การอนุบาลลูกหอยตะโกรม
ถังอนุบาลควรมีขนาด 500 ลิตรขึ้นไป วันรุ่งขึ้นหลังจากทำการผสมพันธุ์ ลูกหอยจะเข้าสู่ระยะ D shape ควรทำการเปลี่ยนน้ำในถังอนุบาลและเปลี่ยนทุก ๆ 2-3 วัน จนกว่าลูกหอยจะเข้าสู่ระยะเกาะวัสดุ การเปลี่ยนน้ำจะดูดน้ำออกผ่านผ้ากรอง ขนาดตั้งแต่ 35 ไมครอนขึ้นไป สังเกตลูกหอยที่สมบูรณ์ดี เมื่อถ่ายน้ำจะสังเกตลูกหอยจะติดค้างอยู่บนตะแกรงมีสีเข้ม ส่องกล้องจะเห็นกระเพาะอาหารสีเหลือง หรือน้ำตาลเข้ม อาจใช้ยาปฏิชีวนะ ซัลฟาเมท 33 ppm ป้องกันและรักษาโรคจากเชื้อแบคทีเรีย ควรใช้เฉพาะเวลาจำเป็น นอกจากนี้ยังอาศัยเทคนิค อื่น ๆ เช่น การคัดขนาด กำหนดความหนาแน่น ชนิดและปริมาณอาหาร ความเค็ม

การอนุบาลทำได้หลายลักษณะ ได้แก่
1. ใช้ระบบ Upwelling และ Downwelling นิยมใช้กับลูกหอยที่เกาะเป็นตัวเดี่ยว ๆ น้ำทะเลที่ใช้อนุบาลลูกหอยในระบบนี้จะมีการไหลเวียนตลอดเวลาโดยเมื่อลูกหอย มีขนาดเล็กมากจะให้น้ำไหลเวียนในลักษณะ Downwelling เมื่อหอยมีขนาดประมาณ 1 mm. จะเปลี่ยนทิศการไหลเวียนของน้ำเป็น Upwelling ซึ่งระบบดังกล่าวจะช่วยลดการสะสมของเสีย

2. วิธีแขวนลอย จะใช้กับหอยที่เกาะวัสดุล่อในลักษณะต่าง ๆ โดยพยายามไม่ให้ลูกหอยกองอยู่บนพื้นถัง ซึ่งเป็นบริเวณสะสมของเสีย

การนำลูกหอยขนาดเล็กเกินไปออกจากโรงเพาะฟักสู่แหล่งเลี้ยง ลูกหอยจะมีอัตรารอดต่ำมาก แต่การอนุบาลในโรงเพาะฟักนานเกินไปมักพบปัญหา เช่น เป็นการเพิ่มค่าใช้จ่าย ยุ่งยากในการเตรียมอาหาร เป็นต้น

อาหารของหอยนางรม
อาหารของหอยนางรม ได้แก่ แพลงก์ตอนพืชเซลล์เดียวที่มีขนาดเล็กชนิดต่างๆ ที่สำคัญ คือ Isochrysis galbana ซึ่งเป็นสาหร่ายสีน้ำตาลแกมทองที่สามารถใช้เลี้ยงลูกหอยสองฝาทุกชนิดที่มีการเพาะลี้ยงกันในปัจจุบันทั่วโลก รวมทั้งในประเทศไทยด้วย นอกจากนี้ยังมีสาหร่ายเซลล์เดียว สีเขียวเช่น Tetraselmis, Dunaliella, Chlamydomonas และไดอะตอมพวก Chaetoceros calcitrans, Thalassiosira (Cyclotella) pseudonana (3 H strain) เป็นต้น ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นอาหารสมทบหลังจากหอยมีขนาดโตเกิน 100 ไมครอนขึ้นไปแล้ว

แพลงก์ตอนพืชที่ใช้เป็นอาหารหอยเหล่านี้ จะต้องทำการเพาะเลี้ยงให้ได้ปริมาณมากพอและมีคุณภาพดี คือ มีแบคทีเรียหรือสิ่งมีชีวิตชนิดอื่นๆ เจือปนน้อยที่สุด ปริมาณอาหารที่ใช้ ขึ้นอยู่กับจำนวนหอยและความต้องการของหอย ซึ่งจะเปลี่ยนแปลงไปตามอายุและขนาดที่โตขึ้นด้วย และอาหารต้องมีปริมาณพอเหมาะไม่มากหรือน้อยเกินไป ถ้าน้อยเกินไปก็จะไม่เพียงพอแก่การเจริญเติบโตของหอย ขณะเดียวกันถ้าให้มากเกินไปจะมีผลยับยั้งอัตราการกรองกินอาหารของหอย ทำให้การเจริญเติบโตต้องชะงักเช่นกัน ดังนั้นการให้อาหารจึงต้องคำนวณปริมาณ ความหนาแน่นของเซลล์ต่อปริมาณน้ำที่ใช้อนุบาลหอยด้วย

โดยทั่วไปหลักการให้อาหารแก่หอย จะทำโดยให้ปริมาณทีละน้อย เมื่อหอยกรองกินไปส่วนหนึ่งแล้ว จึงค่อยเพิ่มให้อีกเป็นระยะๆ การให้อาหารจะกระทำทุกวันวันละ อย่างน้อย 2 ครั้ง เช้า-เย็น

สูตรอาหาร (Culture media)
อาหารที่ใช้ในการเพาะเลี้ยงแพลงก์ตอนพืชก็คือ แร่ธาตุหรือสารเคมีต่างๆ ซึ่งโดยทั่วไปนั้น การเตรียมสูตรอาหารสำหรับเลี้ยงในห้องปฏิบัติการ ควรใช้สารเคมีที่มีความบริสุทธิ์อยู่ในระดับ Reagent grade ส่วนที่ใช้ในการเพาะเลี้ยงปริมาณมากๆ อาจใช้ Commercial grade ซึ่งมีความบริสุทธิ์น้อยลงและราคาถูก หรืออาจใช้ปุ๋ยเคมีเพื่อลดค่าใช้จ่ายลง

การเลือกพื้นสำหรับเลี้ยงหอยนางรม
ทำเลพื้นที่ที่เหมาะสมเป็นปัจจัยสำคัญอย่างยิ่งในการเลี้ยงหอยนางรม หลักเกณฑ์เบื้องต้นที่จะต้องพิจารณาซึ่งมีเหตุผลและความเหมาะสมดังนี้ คือ

1. ควรเป็นแหล่งน้ำกร่อยหรือน้ำทะเลท่วมถึง อย่างน้อยเป็นเวลานาน 7-8 เดือน/ปี ไม่อยู่ในอิทธิพลของน้ำจืดไหลท่วม ในฤดูฝน จนมีผลให้แหล่งเลี้ยงมีความเค็มต่ำมากเป็นเวลานาน ซึ่งจะมีผลให้มีอัตราการตายสูง

2. ควรเป็นแหล่งน้ำที่มีหอยเกิดตามธรรมชาติ สะดวกต่อการจัดหาพันธุ์หอย เพื่อความสะดวกและลดต้นทุนการเลี้ยง

3. แหล่งน้ำที่ใช้เลี้ยงควรปลอดภัยจากกระแสน้ำและคลื่นลมแรง ที่อาจทำให้วัสดุและส่วนประกอบต่างๆ ตลอดจนหอยที่เลี้ยงถูกทำลายเสียหายได้

4. แหล่งเลี้ยงควรอยู่ห่างไกลโรงงานอุตสาหกรรมเหมืองแร่ อันก่อให้เกิดมลพิษที่เป็นอันตรายกับหอยและผู้ที่บริโภคหอย

5. ควรเป็นแหล่งน้ำที่มีกระแสน้ำไหลผ่านและเป็นน้ำที่อุดมด้วยอาหารธรรมชาติ กระแสน้ำควรมีความเร็วโดยทั่วไป ประมาณ 1 เมตร/วินาที

6. ควรเป็นแหล่งน้ำตื้น สภาพเป็นดินโคลนหรือโคลนปนทราย ความลึกของหน้าดินไม่มากนัก

7. ควรเป็นพื้นที่ที่สะดวกต่อการจัดหาวัสดุในการเลี้ยงหอยได้โดยง่าย

8. ควรเป็นพื้นทีที่มีการคมนาคมสะดวก ใกล้ตลาด ง่ายต่อการจำหน่ายผลผลิต

การรวบรวมพันธุ์หอยสำหรับการเลี้ยง
การเลี้ยงหอยนางรมในประเทศไทยยังต้องพึ่งพาลูกหอยจากธรรมชาติ เนื่องจากลูกหอยที่ได้จากการเพาะพันธุ์ยังไม่เพียงพอ การล่อลูกหอยในแต่ละแหล่งเลี้ยงต้องขึ้นอยู่กับความเหมาะสมของสภาพภูมิอากาศในพื้นที่ ความสะดวกในการจัดหาวัสดุและการจัดการแปลงเลี้ยงเป็นตัวกำหนด วัสดุที่นิยมใช้ ได้แก่ ไม้ไผ่ ไม้เป้ง ก้อนหิน หลอดซีเมนต์ เปลือกหอยนางรม ยางรถยนต์ แผ่นกระเบื้อง ฯลฯ นอกจากการใช้วัสดุชนิดต่าง ๆ แล้วการลงเกาะของลูกหอยนางรม ยังขึ้นอยู่กับอุณหภูมิของน้ำทะเล ความเค็ม ปริมาณแสง การขึ้น-ลงและความเร็วของกระแสน้ำ อิทธิพลของดวงจันทร์ ความลึกของน้ำและตัวของวัสดุล่อ ซึ่งวัสดุที่ใช้ในการล่อนั้นลักษณะของผิว สี และความสะอาดเป็นอย่างไร นอกจากนี้ลูกหอยนางรมยังมีพฤติกรรมในการรวมตัว ลูกหอยมักลงเกาะวัสดุล่อที่มีลูกหอยตัวอื่น ๆ เกาะอยู่ก่อนแล้ว

ลูกหอยนางรมมักจะเกิดตลอดทั้งปี แต่ส่วนใหญ่ช่วงที่เกิดลูกหอยวัยเกล็ด จะแตกต่างกันในแต่ละท้องถิ่น และลักษณะภูมิประเทศแต่ละแห่ง เช่น จังหวัดสุราษฏร์ธานีเกิดมากในเดือนกุมภาพันธ์ - มีนาคม จังหวัดตรังในช่วงเดือนมิถุนายน - ตุลาคม จังหวัดชลบุรีในช่วงเดือนเมษายน - พฤษภาคม และตุลาคม - พฤศจิกายน ของทุก ๆ ปี

วิธีการเลี้ยงหอยนางรม
วิธีการเลี้ยงหอยนางรมมีอยู่หลายวิธีมีความเหมาะสมที่จะใช้ตามลักษณะภูมิประเทศ และดินฟ้าอากาศของแต่ละท้องที่  ฉะนั้นการที่จะใช้วิธีใดในท้องที่ใดนั้น จึงเป็นเรื่อง ที่จะต้องพิจารณาเลือดคัดตามความเหมาะสม

1. การเลี้ยงบนก้อนหิน เป็นวิธีการใช้ก้อนหินวางใช้ลูกหอยนางรมเกาะเลี้ยงตัวจนได้ขนาดตามความต้อง การเป็นวิธีที่ง่ายและเก่าแก่ ทำกันมาแต่โบราณ นิยมทำกันแพร่หลายมากจนปัจจุบันนี้ โดยเฉพาะท้องที่ที่สามารถหาก้อนหินจากธรรมชาติได้สะดวก โดยทำการวางก้อนหินเป็นกองๆ กองหนึ่งๆ มีก้อนหิน 5-10 ก้อน ทำการวางให้ก้อนหินพิงเกยกันโดยพิจารณาว่าจะวางให้อยู่ในลักษณะใดจึงช่วยให้ก้อนหินมีพื้นที่ให้ลูกหอยเกาะมากที่สุด หินแต่ละกองอยู่ห่างกันประมาณ 50 ซม. เรียงกันเป็นแถว วิธีการนี้มักทำการเลี้ยงหอยในขอบเขตระหว่างแนวระดับน้ำสูงสุดถึงระดับน้ำต่ำสุด (Intertidal area) ตามชายฝั่งทะเลที่มีสภาพเป็นอ่าวเปิดพื้นดินเป็นโคลนแข็ง ทรายปนโคลนแข็ง หรือบริเวณที่เป็นหิน ทั้งนี้เพื่อป้องกันไม่ให้ก้อนหินที่วางจมลึกลงไปหรือถูกทับถม ในกรณีที่สภาพดินเป็นโคลนค่อนข้างอ่อนก็ใช้ไม้ไผ่วางเป็นฐานรองรับก้อนหิน เพื่อกันมิให้หินจมโคลน หรือบางรายก็ทำเป็นฟาก โดยใช้ไม้ไผ่ผ่าซีกประกอบเข้าเป็นร้าน สำหรับวางหินบนคานเตี้ยๆ ในแหล่งเลี้ยง แล้วใช้ก้อนหินที่มีลูกหอยเกาะวางเลี้ยงต่อไปเพื่อกันโคลนทับถม มักพบเห็นตามบริเวณอ่าวเปิดและปากแม่น้ำลำคลองทั่วๆ ไป รูปแบบการเลี้ยงหอยนางรมวิธีนี้ สามารถพบได้ในการเลี้ยงหอยนางรมพันธุ์เล็กที่จังหวัดชลบุรี และที่อ่าวสวี จังหวัดชุมพร

2. การเลี้ยงในกระบะไม้ การเลี้ยงแบบนี้เหมาะสมกับท้องที่ที่เป็นอ่าวเปิดตามบริเวณปากแม่น้ำหรือ ตามบริเวณชายฝั่งของปากแม่น้ำลำคลองที่มีน้ำกร่อยน้ำเค็มท่วมถึงเป็นประจำ กระบะไม้ทีใช้เป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้ามีขนาดตามต้องการ แต่ที่นิยมใช้มีความกว้าง 80 ซม. ยาว 200 ซม. สูง 25 ซม. ขอบทั้งสี่ด้านทำด้วยไม้ตะเคียน หรือไม้เนื้อแข็งอื่นๆ พื้นเป็นไม้ ชนิดเดียวกัน ฟากทำด้วยเฝือกไม้ไผ่ทั้งนี้เพื่อให้น้ำถ่ายเทได้สะดวก กระบะวางอยู่บนคานสูงจากพื้นดินที่น้ำท่วมถึงประมาณ 30 ซม. และยึดติดกับคานอย่างมั่นคง พันธุ์หอยนางรมที่นำมาใส่เลี้ยงในกระบะสำหรับหอยพันธุ์เล็กควรมีอายุประมาณ 6-7 เดือน หรือมีขนาด 3.5-4.5 ซม. ซึ่งกะเทาะจากก้อนหิน หากเป็นหอยนางรมที่เกาะติดกับเปลือกหอยอื่นก็นำมาใส่กระบะเลี้ยงได้เลย ทำการเลี้ยงไว้จนมีอายุประมาณปีครึ่งหอยจะโตขึ้นถึงขนาดส่งตลาดได้ สำหรับหอยตะโกรม รวบรวมมาปล่อยเลี้ยงในกระบะเมื่ออายุประมาณ 3-4 เดือน หรือขนาด 3-4 ซม. เลี้ยงไว้จนอายุ 7-8 เดือน จะได้ขนาดที่ส่งตลาดได้ วิธีการเลี้ยงบนกระบะไม้พบได้กับการเลี้ยงหอยนางรมที่จังหวัดประจวบคีรีขันธ์

3. การเลี้ยงแบบใช้แท่งซีเมนต์ การเลี้ยงด้วยวิธีนี้อาจเลี้ยงได้ดีในที่ที่มีสภาพเช่นเดียวกับการใช้ก้อนหิน ตามข้อ 1. หรือจะใช้ทั้งสองแบบรวมกันในบริเวณเดียวกันก็ได้ โดยใช้แท่งซีเมนต์ตามที่ว่าง ระหว่างแถวของกองหิน แต่เว้นที่ว่างเป็นทางเดินไว้พอสมควร เหมาะสำหรับท้องที่ที่มีสภาพพื้นดินโคลน แท่งซีเมนต์ที่ใช้นั้นจัดทำขึ้นเป็นพิเศษเพื่อการเลี้ยงหอยนางรม และเพื่อให้ต้านทานต่อการเคลื่อนไหวของคลื่นลมและกระแสน้ำได้ดีจึงต้องหล่อแท่งซีเมนต์และใช้ไม้เป็นแกนกลาง อาจใช้ไม้โกงกาง หรือไม้เนื้อแข็งอื่นๆ ก็ได้ ไม้ที่ยื่นออกมาจะถูกปักยึดอยู่ในดิน เพื่อพยุงให้เสาซีเมนต์ไม่ล้มลง ทุนเพียงครั้งเดียวก็สามารถใช้ประโยชน์ได้นานปี ขนาดของแท่งซีเมนต์ขึ้นอยู่กับระดับน้ำและความต้องการของผู้เลี้ยงแต่โดยทั่ว ไปที่ทำการทดลองแล้วได้รับผลดี เป็นขนาดความสูง 50-70 ซม. ด้านหน้าตัดของเสาเป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส 12x12 ซม.  ไม้ที่ใช้เป็นแกนกลางยาว 1 เมตร ฝังอยู่ในแท่งซีเมนต์ 50 ซม. ส่วนที่ยื่นออกไปเพื่อปักลงไปในดิน 50 ซม.

4. การเลี้ยงโดยใช้หลักไม้ การเลี้ยงด้วยวิธีนี้นับว่าเป็นวิธีที่เหมาะยิ่งกับสภาพชายฝั่งทะเลที่มีสภาพเป็นอ่าวเปิดพื้นดินเป็นโคลนอ่อนหรือโคลนปนทราย เป็นแหล่งที่ไม่มีเครื่องกำบังคลื่นลม ยิ่งไปกว่านั้นวิธีนี้ยังสามารถเลี้ยงตามชายฝั่งของปากแม่น้ำลำคลองที่มีกระแสน้ำไหลค่อนข้างแรงได้ โดยไม่ทำให้เกิดความเสียหายมากมายนัก ไม้ที่ใช้เป็นไม้เนื้อแข็งเพื่อให้ลูกหอยเกาะเลี้ยงตัวจนได้ขนาดตลาด คล้ายหลักหอยแมลงภู่ แต่ไม้ที่ใช้เป็นจำพวกไม้เนื้อแข็ง ไม้พังกา หรือสักทะเล บ้างก็ใช้เปลือกหอยตะโกรมหรือหอยนางรมร้อยเป็นพวงๆ ไปล่อลูกหอยในแหล่งหอยเกิดตามธรรมชาติ ลูกหอยจะเกาะติดอยู่ตามเปลือกหอย เมื่ออายุประมาณ 1-2 เดือน จึงนำเปลือกหอยที่มีลูกหอยเกาะติดอยู่แล้วนั้นมายึดติดกับหลักโดยใช้ ลวดผูกให้เปลือกหอยอยู่ห่างกันเป็นระยะพอสมควร หลักไม้ที่ใช่ส่วนมากเป็นไม้ไผ่ ไม้เป้ง หรือใช้ไม้อื่นๆ ราคาถูกที่อาจหาได้ในท้องที่นั้น หลังจากที่ประกอบเปลือกหอยติดเข้ากับหลักไม้แล้ว จากนั้นก็นำไปปักไว้ในแหล่งเลี้ยงเป็นแถวๆ โดยเว้นระยะห่างกันพอสมควร การปักไม้จะลึกลงไปในดินมากน้อย เท่าใดนั้นแล้วแต่ความแข็งของดิน ถ้าดินเป็นโคลนแข็งปักลึกลงไปเพียง 30-40 ซม. ก็เพียงพอหากดินเป็นโคลนอ่อนต้องปักลึกจนแน่ใจว่ามั่นคงพอ

5. การใช้หลอดหรือท่อซีเมนต์ เหมาะสำหรับแหล่งเลี้ยงที่มีน้ำท่วมอยู่ตลอดเวลา ได้แก่ ที่ตื้นชายฝั่งทะเลปากแม่น้ำ ลำคลอง และทะเลสาบ พื้นดินเป็นโคลนหรือโคลนอ่อนปนทาย ขั้นแรกต้องทำการปักหลัก ไม้ราคาถูก ซึ่งอาจจัดหาได้เองในท้องที่ได้แก่ ไม้เป้ง โกงกาง หลอดไม้ ฯลฯ โดยปักให้เรียงเป็นแถวมีช่องว่าง ระหว่างแถวห่างกันประมาณ 1 เมตร จากนั้นนำหลอดซีเมนต์กลวงที่เตรียมไว้สวมลงในไม้หลักที่ปักไว้ พร้อมกันนั้นใช้ไม้วางพาดเป็นฐานรองรับท่ออีกชั้นหนึ่ง เพื่อป้องกันไม่ให้ท่อจมโคลน หรือเป็นท่อซีเมนต์ที่มีปากเปิดข้างเดียว ก็ใช้สวมลงบนหลักไม้ได้โดยตรง ด้วยวิธีดังกล่าวสามารถวางท่อได้ประมาณ 1,600 ท่อ/ไร่ นอกจากหลอดซีเมนต์ที่ได้กล่าวมาแล้ว ปัจจุบันเกษตรกรได้มีการพัฒนาขยายขนาดหลอดให้มีขนาดใหญ่ขึ้นมีลักษณะเป็นท่อซีเมนต์เพื่อเพิ่มพื้นที่ยึดเกาะของลูกหอยและใช้ฐานซีเมนต์เพื่อการรองรับ ท่อที่มีขนาดใหญ่ขึ้น แทนที่จะใช้ไม้เป็นตัวรองรับเช่นเดิม ทำให้อายุการใช้งานนานขึ้นและการจัดการสะดวกขึ้น การเลี้ยงวิธีนี้เป็นที่นิยมในการเลี้ยงหอยนางรมที่จังหวัดสุราษฎร์ธานีและจันทบุรี

6. การเลี้ยงแบบพวงอุบะแขวน เป็นรูปแบบการเลี้ยงที่นิยมทั่วไปในประเทศญี่ปุ่น อเมริกา และยุโรป เพราะหอยโตเร็วและให้ผลผลิตสูง การเลี้ยงในวิธีการนี้สามารถกระทำได้ใน 2 ลักษณะด้วยกัน คือ การแขวนใต้แพ และแขวนจาก Long line จุดสำคัญต้องเลี้ยงในอ่าวปิด หรือที่ที่มีกำบังคลื่นลมได้เป็นอย่างดี แพที่จะใช้เลี้ยงหอยจะมีขนาดกว้างยาวตามความต้องการของผู้เลี้ยง ใช้ถังพลาสติก หรือทุ่นโฟมพยุง มีสมอยึดทั้งสี่มุม เพื่อตรึงให้แพหรือเชือกอยู่กับที่ ระดับความลึกของน้ำควรอยู่ประมาณ 5-10 เมตร การล่อลูกหอยใช้วิธีเดียวกับการเลี้ยงแบบที่ 4 เมื่อลูกหอยติดกับเปลือกหอยได้แล้ว จึงเอาเปลือกหอยนั้นมาร้อยเป็นพวง ใช้ลวดสังกะสีเบอร์ 10 ให้เปลือกหอยอยู่ห่างกัน ประมาณ 15-20 ซม. โดยใช้ไม้ไผ่รวกขนาดเล็กกั้นระหว่างเปลือก จากนั้นนำพวงหอยไปแขวนเลี้ยงไว้ที่แพจนหอยได้ขนาดที่ตลาดต้องการ การเลี้ยงแบบพวงอุบะแขวนในประเทศไทยนิยมทำกันในแม่น้ำหรือคลองในย่านน้ำกร่อย เช่น ในจังหวัดพังงา หรือการเลี้ยงแบบร้อยเปลือกหอยและแขวนเป็นราวที่ใช้กับหอยตะโกรมกรามดำ ในคลองบางนางรม จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ เป็นต้น

7. การเลี้ยงหอยนางรมแบบอื่นๆ นอกจากวิธีการเลี้ยงหอยนางรมที่ได้กล่าวถึงข้างต้นแล้ว ยังมีรูปแบบการเลี้ยงอื่นๆ โดยใช้วัสดุการเลี้ยงรูปแบบอื่นที่มีสภาพแข็งแน่นเพื่อการนี้ได้ เช่น ยางรถยนต์ที่ไม่ใช้แล้ว กระเบื้องลอนเดี่ยว ลอนคู่ อิฐ อ่าง ไห ตุ่มที่ชำรุดแล้ว นอกจากนี้ในบางประเทศนิยมเลี้ยงหอยนาง่รมแบบหว่านลงเลี้ยงกับพื้นดิน โดยนิยมใช้ในสภาพพื้นดินแข็งเพื่อกันหอยนางรมจมโคลนซึ่งอาจก่อให้เกิดการเสียหายได้

ข้อควรระวังในการเลี้ยงหอยนางรม
1. ปัญหามรสุมและคลื่นลมแรงเป็นอุปสรรคต่อการเลี้ยงหอย เพราะวัสดุที่วางหักล้มจมโคลน ทำให้ให้หอยตาย

2. ควรตรวจและซ่อมแซมวัสดุอุปกรณ์ที่ใช้เลี้ยงหอยที่ชำรุดอย่างสม่ำเสมอ

3. ควรระมัดระวังสภาพของแหล่งน้ำที่เสื่อมโทรม ซึ่งนับวันจะมีมากขึ้นย่อมจะกระทบต่อผลผลิตหอยที่จะลดลงเรื่อย ๆ

4. ปัญหาแหล่งน้ำตื้นเขิน เกิดตะกอนดินมากขึ้นจะส่งผลกระทบต่อการเจริญเติบโตและหอยตายในที่สุด

5. มักจะมีสัตว์น้ำที่แย่งอาหารและที่อยู่อาศัยของหอยนางรม เช่น หอยแมลงภู่ หอยกะพง เพรียง และฟองน้ำ เป็นต้น

6. ปัญหาการลักขโมยหลักหอยมักจะเกิดขึ้นเสมอ ฉะนั้น จึงควรมีที่พักหรือขนำให้คนเฝ้าดูแลรักษาบริเวณแปลงเลี้ยงหอย

7. ควรระวังศัตรูหอยนางรมหลายชนิดที่สำคัญได้แก่ หอยหมู หอยมะระ ปู ปลาดาว ปลากระเบน ปลานกแก้ว และนกบางชนิด เป็นต้น นอกจากนี้หอยนางรมลอยหรือที่ชาวบ้านเรียกว่า " หอยเฉลียบ " จะเกิดแพร่พันธุ์และแย่งพื้นที่การเจริญเติบโต ของหอยนางรมขนาดเล็ก ชาวบ้านจะเอาขึ้นมาตากแดด 2 วัน หอยจะตาย ปัจจุบันหอยชนิดนี้เพิ่มจำนวนมากขึ้น

8. สิ่งปนเปื้อนในหอยที่มักพบว่ามีปัญหาเสมอ ได้แก่ ปริมาณแบคทีเรียต่าง ๆ ที่มีมากเกินกำหนด ดังนั้นจึงควรทำความ สะอาดหอยหรือบำบัดสิ่งปนเปื้อนในตัวหอยดังกล่าวให้ปลอดภัยต่อการบริโภค

ประโยชน์ของหอยนางรม
หอยนางรมเป็นที่นิยมบริโภคกันอย่างแพร่หลาย เป็นอาหารที่มีคุณค่าทางโภชนาการสูง เนื้อหอยนางรมนอกจากสามารถรับประทานสดๆ และปรุงอาหารได้หลายหลายแล้ว ยังนำมาแปรรูปเป็นอาหารสำเร็จรูปได้อีกด้วยหอยนางรมอุดมไปด้วยคุณค่าทางอาหาร คือ เป็นแหล่งของวิตามินเอ บีหนึ่ง บีสอง บีสาม ซี และดี การ ริโภคหอยนางรมตัวที่มีขนาดกลาง 4-5 ตัว ช่วยให้ร่างกายได้รับแร่ธาตุและสารอาหาร ประเภทแร่เหล็ก คอปเปอร์ ไอโอดีน แมกนีเซียม แคลเซียม ซิงค์ แมงกานีส ฟอสฟอรัส โปรตีน และแคลซียม อย่างไรก็ตามหอยนางรมดิบ อาจมีเชื้อแบคทีเรียปะปนอยู่ เมื่อรับประทานเข้าไปแล้วแทนที่จะให้ประโยชน์ กลับทำให้เป็นอันตรายต่อสุขภาพ เช่น อาจทำให้ปวดท้อง ท้องเสีย หรือรุนแรงถึงขั้นเสียชีวิต

หอยนางรมกับสุขภาพทางเพศชาย
ภาวะเสื่อมสมรรถภาพทางเพศหรือสมรรถภาพทางเพศถดถอยเกิดจากหลายสาเหตุ แต่ในปัจจุบันพบว่าผู้ชายมีความต้องการทางเพศน้อยลง อันเนื่องมาจากความเครียด ภาวะบีบคั้นจากสภาพเศรษฐกิจ สังคม และหลายๆ ปัจจัย จากการวิจัยพบว่าความเครียดจะส่งผลให้เซลล์ต่างๆ ในร่างกายเสื่อมเร็วขึ้น ทำให้ฮอร์โมนต่างๆ ในร่างกาย หลั่งน้อยลงกว่าปกติและถ้าความเครียดถูกสะสมไว้นานๆ อาจมีผลทำให้การทำงานของอวัยวะในหลายๆ ระบบบกพร่องไปด้วย ซึ่งอวัยวะเพศ และความรู้สึกทางเพศ นั้น มีส่วนสัมพันธ์กับความเครียดอย่างมาก ยิ่งความเครียดสูง การหลั่งฮอร์โมนเพศจะลดลง ส่งผลให้ความต้องการทางเพศลดลง เป็นลำดับ หากปล่อยไว้นานไป จะมีผลทำให้อวัยวะเพศเสื่อมสมรรถภาพได้ เนื่องจากกล้ามเนื้อในส่วนดังกล่าวไม่ได้ถูกใช้งาน หอยนางรมมีสารประกอบสำคัญ คือ ทอรีน (Taurine ) ซึ่งส่งผลต่อการทำงานของระบบประสาท มีผลต่อการทำงานของต่อมหมวกไต ซึ่งมีหน้าที่หลั่งฮอร์โมนเพศ และมีส่วนเกี่ยวข้องกับการสร้างพลังงานให้กับร่างกาย ทอรีนจะมีธาตุสังกะสี (Zinc) เป็นตัวส่งเสริมการออกฤทธิ์ให้ได้ผลดียิ่งดีขึ้น ซึ่งเราจะพบ Zinc ได้มากในหอยนางรม ดังนั้นหอยนางรมสามารถนำมาเป็นอาหารเพื่อส่งเสริมสุขภาพ หรือสมรรถภาพทางเพศได้อย่างดีอีกด้วย

คุณสมบัติและสารประกอบที่พบในหอยนางรม

ทอรีน (Taurine) เป็นกรดอะมิโนตัวหนึ่งที่หลายคนยังไม่รู้จักทอรีนนี้มีความสำคัญยิ่งต่อกระบวนการต่างๆ ในร่างกายอย่างมาก โดยเฉพาะในสมองเพราะ

1. ทอรีนสามารถใช้ในผู้ที่มีความดันโลหิตสูง(Hypertension) โดยกลไกจะทำงานเกี่ยวข้องกับระบบ Renin-Angiotension ของไตซึ่งมีหน้าที่ในการควบคุมความดันโลหิต

2. ทอรีนมีหน้าที่ควบคุมการเข้าออกของอิออนต่างๆ จากเซลล์เราจึงพบทอรีนมาก ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการส่งกระแส ประสาท เช่น สมองส่วนกลางและพบมากในอวัยวะ ที่เกี่ยวข้องกับการรับสัมผัส และแหล่งรวมกระแสประสาททั้งหลายนอกจากนี้ยังพบทอรีนมากในเนื้อเยื่อของกล้าม เนื้อลาย และหัวใจ

3. ทอรีนยังช่วยการทำงานของตับและตับอ่อนโดยการสร้าง Taurocholate ซึ่งจะไปช่วยทำให้ไขมันที่รับประทานเข้าไป แตกตัวเป็นโมเลกุลเล็กๆ สามารถถูกย่อยและเผาผลาญได้ง่ายขึ้น ร่างกายของเราจึงสามารถนำ พลังงานเหล่านั้น ไปใช้ เป็นกำลังงานในการทำกิจกรรมต่างๆ ได้เร็วขึ้น

4. พบว่าสามารถใช้เทารีนในผู้ชายที่เป็นหมัน (Male Infertility) อันเนื่องจาก Sperm ไม่เคลื่อนที่หรือไม่มีกำลังเคลื่อนที่ซึ่งทอรีนจะช่วยให้สภาวะดังกล่าวดีขึ้นได้

การรับประทานหอยนางรมเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด
1.การรับประทานหอยนางรมสดๆ จะมีอันตรายเพราะมีเชื้อไวรัสตับอักเสบ และพยาธิที่ก่อให้เกิดโรคติดตามมามากมาย หรือหอยที่ผ่านการปรุงรสก็อาจจะไม่ได้รับสารอาหารครบถ้วน เพราะสารอาหารเหล่านั้นจะถูกความร้อนที่ใช้ในการปรุงอาหารทำลายไปแล้ว

2.ทางออกที่ปลอดภัยและได้รับสารอาหารจากหอยนางรมครบถ้วน คือการเลือกทานอาหารเสริมที่สกัดเอาคุณประโยชน์จากหอยนางรมได้อย่างครบถ้วนในปริมาณที่พอเหมาะกับร่างกายและปราศจากผลข้างเคียง ซึ่งจะเห็นได้ว่าการทานสารสกัดจากหอยนางรมนั้นมีประโยชน์สำหรับเพศชายเป็นอย่างมาก

ต้นทุนการเลี้ยงหอยนางรม
ต้นทุนการเลี้ยงหอยนางรมทั้งหอยนางรมพันธุ์เล็กและหอยนางรมพันธุ์ใหญ่จะขึ้น อยู่กับวิธีการเลี้ยงเพราะมูลค่าวัสดุที่ใช้สำหรับวางเลี้ยงเป็นส่วนประกอบที่สำคัญ

1. ต้นทุนและผลตอบแทนจากการเลี้ยงหอยนางรมพันธุ์ใหญ่เฉลี่ยต่อไร่โดยวิธีใช้หลอดซีเมนต์ ซึ่งเป็นวิธีที่นิยมทำกันมากที่สุดในจังหวัดสุราษฎร์ธานีมีรายละเอียดดังนี้

ต้นทุนผันแปร
ค่าพันธุ์หอยนางรม ราคาตัวละ 5-8 บาท ต่อไร่ 800,000 บาท

ปูนซีเมนต์ 9,750 บาท

ค่าแรงงาน 10,000 บาท

น้ำมันเชื้อเพลิง 1,000 บาท

ค่าเสียโอกาส 1,000 บาท

ต้นทุนคงที่
ไม้ไผ่ปักเขตและปักหลอด 1,000 บาท

หลอดซีเมนต์พร้อมหลัก 72,000 บาท

ค่าน้ำ (อาชญาบัตร) 80 บาท

ค่าเสียโอกาส 1,000 บาท

ต้นทุนทั้งหมด 895,770 บาท

ต้นทุนเฉลี่ยต่อตัว 5.50 บาท

รายได้ที่ได้รับเกษตรกรจะขายได้ 10-20 บาท/ตัว 1,600,000 - 3,000,000 บาท

กำไรที่ได้รับต่อตัว 4.50 - 9.50 บาท

กำไรที่ได้รับต่อไร่ 360,000 บาท/ไร่/ปี


2. ต้นทุนและผลตอบแทนจากการเลี้ยงหอยนางรมพันธุ์เล็กแบบแขวนใต้แพ ซึ่งเป็นวิธีที่นิยมทำกันมากที่จังหวัดชลบุรี มีรายละเอียดโดยสังเขปดังนี้

ต้นทุนผันแปร
ต้นทุนค่าไม้ไผ่ 20,000 บาทต่อนั่งร้าน 1 แผง

ต้นทุนค่าลูกหอย 9,000 บาท

จำหน่ายผลผลิตได้ 900 กก. ๆ ละ 70 บาท เป็นเงินรวม 63,000 บาท

กำไรต่อนั่งร้าน 1 แผง (ขนาดแผง 6x 46 เมตร) = 63,000 - 29,0000 41,000 บาท

กำไรที่ได้รับต่อไร่ (1 ไร่เลี้ยงได้ 3 แผง ) = 3x41,000 123,000 บาท

การเลี้ยงหอยแมลงภู่




การเลี้ยงหอยแมลงภู่
      หอยแมลงภู่เป็นสัตว์ที่มีคุณค่าทางเศรษฐกิจชนิดหนึ่ง ประชาชนนิยมบริโภคกันอย่างแพร่หลาย ทั้งประกอบกันเป็นอาหารรับประทานสดและการถนอมในรูปแบบต่างๆ อาทิ ตากแห้ง ทำเค็ม และหมักดองเป็นต้น นับเป็นอาหารทะเลที่มีรสชาติอร่อยและมีคุณค่าทางโภชนาการสูงอีกชนิดหนึ่ง ซึ่งบริโภคทั้งในและต่างประเทศนับวันจะเพิ่มปริมาณตามความต้องการมากยิ่งขึ้น อีกทั้งหอยชนิดนี้สามารถทำรายได้เข้าประเทศในแต่ละปีเป็นจำนวนมาก    หอยแมลงภู่ที่ซื้อขายกันอยู่ในตลาดทั่วไปปัจจุบันนี้ ส่วนใหญ่เป็นผลผลิตที่ได้จากแหล่งเลี้ยงในท้องที่จังหวัดชายฝั่งทะเล ทั้งในบริเวณชายฝั่งของอ่าวไทยตอนนอก ชายฝั่งภาคตะวันออกและภาคใต้ แม้ว่าการเลี้ยงหอยแมลงภู่ในประเทศไทยจะได้ขยายขอบเขตออกไปในพื้นที่ที่เหมาะสมมากขึ้น แต่ผลผลิตที่ได้ก็ยังไม่เพียงพอกับความต้องการของตลาด

หอยแมลงภู่เป็นสัตว์ที่เลี้ยงง่าย เจริญเติบโตเร็ว ไม่จำเป็นต้องให้อาหารหรือใช้ปุ๋ยอย่างการเลี้ยงปลาในบ่อ เพราะว่าหอยแมลงภู่จะกรองกินพวกแพลงตอนพืชและสัตว์ขนาดเล็กรวมใทั้งอินทรีย์วัตถุที่แขวนลอยในทะเลเป็นอาหารซึ่งสิ่งมีชีวิตดังกล่าวเกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ และล่องลอยอยู่ในน้ำทะเล การเลี้ยงหอยแมลงภู่จึงเป็นธุรกิจที่ใช้ต้นทุนต่ำและสามารถใช้แรงงานของสมาชิกในครอบครัวเพื่อการนี้ได้โดยไม่จำเป็นต้องเสียค่าแรงงานมากนักสำหรับธุรกิจขนาดเล็ก ส่วนการเลี้ยงหอยแมลงภู่เป็นธุรกิจขนาดใหญ่ก็มีลู่ทางที่ดำเนินการให้ประสบผลสำเร็จด้วยดีได้เช่นกัน

การเลือกสถานที่      
ทำเลพื้นที่ที่เหมาะสมสำหรับเลี้ยงหอยแมลงภู่ เป็นปัจจัยสำคัญอย่างยิ่งในการประกอบอาชีพการเลี้ยงหอยแมลงภู่ จึงมีข้อควรพิจารณาดังนี้
1 ควรเป็นแหล่งน้ำที่มีพันธุ์หอยแมลงภู่เกิดชุกชุมตามธรรมชาติ
2 ต้องเป็นแหล่งน้ำกร่อยหรือน้ำเค็มและคงสภาพความเค็มอยู่เป็นเวลานานประมาณ 7 – 9 เดือนในรอบปี
3 ควรเป็นพื้นที่ที่ปลอดภัยจากกระแสน้ำคลื่นลมแรง
4 ควรเป็นแหล่งน้ำที่อยู่ห่างไกลจากโรงงานอุตสาหกรรม ซึ่งอาจถ่ายเทน้ำเสียอันเป็นพิษเป็นภัยต่อสัตว์น้ำ
5 แหล่งเลี้ยงหอยแมลงภู่ควรเป็นแหล่งน้ำตื้นชายฝั่ง ซึ่งเป็นแหล่งน้ำลึกประมาณ 3 – 10 เมตร
6 แหล่งเลี้ยงหอยแมลงภู่หากมีทางเลือกควรอยู่ใกล้ตลาด การคมนาคมสะดวก และห่างไกลจากแหล่งมิจฉาชีพ

ประเภทการเลี้ยง      
การเลี้ยงหอยแมลงภู่มีหลายแบบ แต่ละแบบเหมาะที่จะใช้ตามลักษณะภูมิประเทศและสภาวะแวดล้อม การที่จะเลี้ยงแบบใดนั้นเป็นเรื่องที่จะต้องพิจารณาตามความเหมาะสมซึ่งรูปแบบที่นิยมมีดังนี้

1 การเลี้ยงแบบปักหลักล่อลูกหอย
          การเลี้ยงแบบนี้เหมาะสมที่จะดำเนินการในพื้นที่ย่านน้ำตื้นซึ่งมีความลึกประมาณ 4 – 6 เมตร  ตามบริเวณชายฝั่งทะเลที่มีสภาพเป็นอ่าวทั่วไป พื้นทะเลตั้งแต่เส้นขอบฝั่งออกไปไม่ลาดชันเกินไป สภาพดินเป็นโคลน และโคลนปนทราย   ระดับน้ำสูงสุดและต่ำสุดไม่แตกต่างกันมากนัก เป็นแหล่งน้ำที่มีแพลงตอนอาหารตามธรรมชาติของหอยเกิดขึ้นอย่างสมบูรณ์  หากมีเกาะแก่งกระจายกันอยู่และบางบริเวณมีภูเขาที่ตั้งอยู่ชายน้ำจะช่วยเป็นเครื่องกำบังคลื่นลมและกระแสน้ำได้ดี

แหล่งเลี้ยงหอยแมลงภู่  ของประเทศไทยจะมีลูกหอยเกิดแทบทุกเดือนตลอดทั้งปี แต่ฤดูวางไข่จะมีลูกหอยเกาะจำนวนมาก พบในช่วงเดือนเมษายน – กรกฎาคม ช่วงหนึ่ง และอีกช่วงหนึ่งในเดือนตุลาคม- ธันวาคมของทุกปี ในช่วงหลังนี้มีลูกหอยชุกชุมมากกว่าช่วงแรก  เกษตรกรผู้เลี้ยงหอยจึงต้องเตรีมปักหลักไม้เพื่อให้แล้วเสร็จก่อนที่ลูกหอยจะเริ่มเกาะประมาณ 1 – 2 สัปดาห์ หลักที่ใช้กันทั่วไปเป็นไม้ไผ่รวก ไม้ไผ่นวล และไม้เป้ง ซึ่งมีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 3 – 5 เซนติเมตร ยาว 5 – 6 เมตรโดยจะปักเรียงกันเป็นแถว ไม้ไผ่แต่ละต้นปักให้ลึก 1 – 1.5 เมตรและมีความเอียงทำมุมกับพื้นทะเลประมาณ 60  องศา ทั้งนี้ใช้ไม้เอียงไปทางขวาและทางซ้ายสลับกันไปทุกต้น การที่ปักหลักไม้เอียงดังกล่าวก็เพื่อช่วยให้กล่าวหักโค่นลดน้อยลงเมื่อหอยมีขนาดโตขึ้นและน้ำหนักมากขึ้น รวมทั้งป้องกันการเสียดสี เมื่อมีกระแสน้ำไหลแรง ซึ่งจะทำให้หอยหล่นเสียหายได้

ในพื้นที่เลี้ยงหอย 1 ไร่  (1600 ตารางเมตร) จะปักหลักไม้จำนวนประมาณ 1200 ต้น โดยแบ่งออกเป็น 4 แถว แถวละ 300 ต้น หรืออาจเพิ่มจำนวนไม้และเพิ่มจำนวนแถวได้ตามความเหมาะสม แต่ไม่ควรปักเกิน 1600 – 1800 ต้น เพราะจะทำให้มีความหนาแน่นมากเกินไป เป็นผลให้หอยได้รับอาหารไม่เพียงพอและเจริญเติบโตช้า
        
การเจริญเติบโตของลูกหอยที่เริ่มเกาะหลักไม้ ประมาณว่าเมื่อลูกหอยมีอายุ 7 เดือน จะมีความยาวเฉลี่ย 5.86 เซนติเมตร ซึ่งจัดว่าเป็นขนาดที่สามารถส่งจำหน่ายแก่ผู้บริโภคต่อไปได้ การที่ลูกหอยมีขนาดหนาแน่นมากเกินไปไม่เพียงแต่ทำให้มีอัตราการตายสูงมากเท่านั้นแต่จะเป็นผลให้หอยมีการเจริญเติบโตช้าลงอีกด้วย ทั้งนี้เนื่องจากหอยต้องแย่งอาหารกัน
        
ต้นทุนการเลี้ยงหอยแมลงภู่แบบปักหลักเลี้ยงโดยตรงซึ่งเฉลี่ยทุกท้องที่จากผลการสำรวจในปี 2528 เท่ากับ 12,995.11 บาทต่อไร่ เป็นต้นทุนคงที่ 738.68 บาท และต้นทุนผันแปร 12,256.43 บาท หรือร้อยละ 5.68 และ 94.32 ของต้นทุนทั้งหมด โดยเป็นค่าไม้หลักมากที่สุด 6,341.34 บาท และคิดเป็นร้อยละ 48.80 ของต้นทุนทั้งหมด รองลงมาเป็นค่าแรงงาน 3,802.16 บาท/ไร่ เป็นค่าจ้างแรงงาน 3,228.52 บาท  ซึ่งคิดเป็นร้อยละ 24.84 ของต้นทุนทั้งหมด และเมื่อพิจารณาต้นทุนโดยเฉลี่ยต่อผลผลิตที่เก็บเกี่ยวได้เท่ากับต้นละ 785.72 บาทโดยเป็นต้นทุนผันแปร 741.06 บาท  และต้นทุนคงที่ 44.66 บาทต่อตัน


2 การเลี้ยงแบบแพ
          ขนาดของแพมีหลายขนาดตั้งแต่ 25 ตารางเมตร ,75 ตารางเมตร และ 150 ตารางเมตร เป็นต้นวัสดุที่ใช้ประกอบด้วยไม้เนื้อแข็งหรือไม้ไผ่ หรือวัสดุชนิดอื่นๆ ประกอบกันเป็นแพ จำนวน 7 แถว ยาวกันห่างแถวละ 1/2เมตร ทุ่นลอยใช้โฟมถังน้ำมัน หรือถังพลาสติกขนาด 200 ลิตรประกอบหัวท้ายสามารถรับเชือกเลี้ยงหอยขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 24 มม. ยาว 3 เมตร ได้ไม้ละ 35 เส้น ระยะเวลาการเลี้ยง 8 เดือนจะได้น้ำหนักหอยประมาณ 1200 กก. ขนาดแพอาจประกอบกันได้หลายชุดและตรึงไว้ด้วยสมอขนาด 15 กก. โดยใช้เชือกสมอ มีความยาว  5   เท่าของความลึกของน้ำบริเวณใดกระแสน้ำแรงจัดก็เพิ่มได้ตามความเหมาะสม กรณีที่ต้องการสร้างแพด้วยท่อเหล็กควรทาสีกันสนิมด้วย การเลี้ยงหอยแมลงภู่แบบแพเชือกก็เป็นวิธีเลี้ยงอีกรูปแบบหนึ่งที่สามารถเลี้ยงได้บริเวณคลื่นลมแรงพอสมควร พื้นดินเป็นดินแข็ง หรือบริเวณที่ปักไม้ไม่ลงก็สามารถเลี้ยงได้ ส่วนตัวแพที่เลี้ยงมีความคงทนมีอายุการใช้งานหลายปี วัสดุที่ใช้หาง่ายมีจำหน่ายตามท้องตลาดทั่วไป

ปัจจุบันมีการพัฒนาการเลี้ยงหอยแมลงภู่แบบแพเชือก ซึ่งใช้วัสดุและอุปกรณ์ในการประกอบแพเชือก ดังนี้
1. เชือกโพลีโพรพีลีน (polypropylene = pp) หรือ โพลีเอธทีลีน (polyethylene = pe) ขนาด 6-8 และ 20 มิลลิเมตร
2. ถังทุ่นขนาด 20 – 30 ลิตร
3. ทุ่นสมอปูนขนาด 60 – 80 ซม.
4. กระชังเหล็กสำหรับเป็นพาหนะเคลื่อนย้ายทุ่นสมอปูนขนาด 2 x 2 ตารางเมตร
5. เนื้ออวนขนาดตาเหยียด 6 เซนติเมตร ขนาดเส้นเชือก 700D/15



สำหรับการประกอบตัวแพ ขนาด 40 x 40 ตารางเมตรมีการดำเนินงานตามขั้นตอนต่างๆคือ
1 การถักแพเชือก ขนาด 40 x 40 ตารางเมตร
           นำเชือกขนาด 16 มิลลิเมตร ตัดยาว 50 เมตร มาถักให้ได้ขนาดตา 1 x 1 ตารางเมตร กว้าง 40 เมตร ซึ่งจะเท่ากับพื้นที่ 1 ไร่ เมื่อถักเสร็จแล้วใช้เชือกขนาด 20 มิลิเมตร วางรอบนอกตัวแพและในส่วนปลายของเชือก 16 มิลลิเมตร ผูกติดกับเชือก 20 มิลลิเมตร รอบนอกเพื่อให้ตัวแพมีสภาพคงทนและแข็งแรง

2 การผูกถังทุ่น ขนาด 20 – 30 ลิตร
          เมื่อถักเชือก ขนาด 16 มิลลิเมตรเป็นตัวแพเรียบร้อยแล้ว มีขนาด 40 x 40 ตารางเมตร ตัวแพจะมีแถวตามแนวตั้ง 41 แนว แถวแนวนอน 41 แนว นำถังทุ่นขนาด 20 – 30 ลิตร ใช้เชือกขนาด 6 – 8 มิลลิเมตร ผูกถังทุ่นที่ปมให้แน่นโดยผูก 6 แถว ตามแนวตั้ง เว้นแถวเพื่อต้องการให้เรือเข้าทำงานในตัวแพได้ ซึ่งจะทำให้สะดวกในการซ่อมแซม และเก็บเกี่ยว ทำการผูกถังทุ่นจนหมดพื้นที่ 1 ไร่

3 การเตรียมทุ่นสมอปูน
          นำท่อนเหล็กปล้องอ้อย ขนาด 0.6 นิ้ว ยาว 1 เมตร และเหล็กหูแหนบ 2 อัน มาเชื่อมให้ติดกันที่หัว- ท้ายของปลายเหล็กเพื่อทำเป็นห่วงนำไปวางตรงกลางในท่อปูนขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 60 – 80 เซนติเมตร เทปูนภายในจะได้ทุ่นสมอปูนสำหรับยึดตัวแพใน 1 แพ จะใช้ทุ่นสมอปูนขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 60 เซนติเมตร 6 ลูก ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 80 เซนติเมตร 6 ลูก

4 การเคลื่อนย้ายทุ่นสมอปูน
          อาศัยช่วงน้ำขึ้นโดยให้น้ำขึ้นสูงกว่าทุ่นสมอปูนประมาณ 1 เมตร ใช้กระชังเหล็กขนาด 2 x 2 ตารางเมตร อยู่ด้านบนทุ่นสมอปูน ใช้แรงงานคน 5 – 6 คน อยู่บนกระชัง นำเชือก 16 มิลลิเมตร ยาว 4 เมตร จำนวน 2 เส้น ปลายเชือกทั้ง 2 เส้น ผูกที่ตัวกระชังใกล้กับห่วงทุ่นสมอปูน  ส่วนปลายอีกด้านหนึ่งร้อยเข้าห่วงเหล็กนำมาผูกกับตัวกระชัง การผูกต้องผูกให้ตึง แต่ให้แก้ง่ายเพื่อสะดวกในการปล่อยทุ่นลงสู่พื้นในทะเล ต่อจากนั้นย้ายคนสลับด้านไปอยู่ฝั่งตรงข้ามทำเช่นเดียวกับครั้งแรก เมื่อผูกเสร็จแล้วคนลงจากกระชัง กระชังจะลอยขึ้น ช่วงกระชังลอยขึ้น จะดึงทุ่นสมอปูนขึ้นจากพื้นดิน ใช้เรือลากตัวแพไปทิ้งทุ่นสมอปูนตามจุดที่ต้องการ

5 การนำแพเชือกลงทะเล
          ทิ้งทุ่นสมอปูนเส้นผ่าศูนย์กลาง 80 เซนติเมตรก่อน 4 มุม ห่างกันประมาณ 100 เมตร เมื่อทิ้งเสร็จใช้เรือลากแพลงทะเล ใช้เชือกขนาด 20 มิลลิเมตร ผูกสมอยึดแพไว้ 4 มุม ก่อน ต่อไปเอาทุ่นสมอปูน 80 เซนติเมตร ดึงด้านหน้า 2 ลูก ส่วนด้านข้างอีก 3 ด้านใช้ทุ่นสมอปูนเส้นผ่าศูนย์กลาง 60 เซนติเมตร   ด้านละ 2 ลูก รวมใช้ทุ่นทั้งหมด 12 ลูก หลังจากลงแพเรียบร้อยจัดเตรียมสายเลี้ยงลูกหอยโดยใช้เนื้ออวนขนาดตา 6 เซนติเมตร ตัดให้ยาว 2 เมตร    กว้าง  20 เซนติเมตร (3-4 ตา) ผูกปลายด้านหนึ่งด้วยหินทะเลหรือหินที่ใช้ในการก่อสร้างโดยใช้หินเบอร์ 2-3 ใส่ถุงพลาสติก ใช้หนังยางผูกติดกับปลายเนื้ออวนที่ตัดไว้แล้ว ส่วนอีกปลายด้านหนึ่งผูกกับเชือกขนาด 16 มิลลิเมตร ของแพที่จัดเตรียมไว้แล้วในทะเลโดยผุกใต้ถังทุ่น 1 สาย และผูกรอบนอกถังทุ่นอีก 4 สาย เพราะฉะนั้น 1 ถังทุ่นจะมีสายเลี้ยงหอย 5 สายในพื้นที่ 1 ไร่ จะผูกสายเลี้ยงหอยได้ทั้งหมด (1600 x 5) เท่ากับ 8,000 สาย
       
หลังจากลูกหอยแมลงภู่เกาะแล้วจะกินอาหารธรรมชาติจำพวกแพลงตอนพืชและแพลงตอนสัตว์ ใช้เวลาการเลี้ยงประมาณ 6 เดือน  หอยจะมีขนาดประมาณ 6 เซนติเมตร ให้เริ่มทยอยขายได้โดยเลือกกลุ่มที่มีขนาดตลาดต้องการก่อน เก็ยเฉพาะตัวหอย เหลือสายเลี้ยงหอยไว้เพื่อให้ลูกหอยรุ่นต่อไปเกาะ จะเป็นการประหยัดค่าใช้จ่ายในปีต่อไป

ประมาณรายจ่ายต่อไร่ของการเลี้ยงหอยแบบแพเชือก
เชือกโพลีโพรพีลีน ขนาด 16 มิลลิเมตร 24 ม้วน                      51,700      บาท
เชือกโพลีโพรพีลีน ขนาด 20 มิลลิเมตร 2 ม้วน                         6,600      บาท
เชือกโพลีโพรพีลีน ขนาด 8 มิลลิเมตร 18 ม้วน                         11,100    บาท

ด้ายเบอร์ 36 จำนวน 10 มัด                                                       700      บาท
ทุ่นสมอปูน 12 ลูก                                                                      9,600      บาท
ถังทุ่นพลาสติก ขนาด 20 – 30 ลิตร จำนวน 1,476 ใบ                 39,900      บาท
อวนขนาดตา 6 เซนติเมตร เนื้ออวน 700D/15 จำนวน 6ม้วน     31,200     บาท
อื่นๆเช่น ค่าแรง ค่าจับ และน้ำมันเชื้อเพลิง                                45,000   บาท
รวมค่าใช้จ่าย                                                                             195,800   บาท
ประมาณการรายรับต่อไร่ของการเลี้ยงหอยแบบแพเชือก
จำนวนสายเลี้ยงหอย 8000 สาย เฉลี่ยสายละ 8 กิโลกรม รวม        64,000 กิโลกรัม
ราคากิโลกรัมละ                                                                           5      บาท
รวมเป็นเงิน                                                                                320,000    บาท



3 การเลี้ยงแบบหอยแขวนแบบราวเชือก
          วิธีการเลี้ยงหอยแมลงภู่แบบแขวน มีความเหมาะสมสำหรับแหล่งเลี้ยงที่มีระดับความลึกและปลอดภัยจากกระแสคลื่นลมแรงและ อยู่ห่างฝั่ง ส่วนประกอบที่สำคัญคือเชือก เส้นใหญ่ เส้นผ่าศูนย์กลางไม่น้อยกว่า 1/2นิ้ว ยาวประมาณ 100 เมตร มีทุ่นผูกเป็นระยะ 2 – 4 เมตร เพื่อพยุงไม่ให้จมเชือกนี้มีเส้นเล็กขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 1 เซนติเมตร ผูกเป็นระยะๆ เพื่อให้หอยเกาะมีระยะห่างกัน 50  เซนติเมตร ปลายเชือกยาวไม่เกินระดับน้ำลงต่ำสุด  ที่ปลายเชือกเส้นใหญ่ทั้งสองข้างผูกไว้กับสมอยึดไม่ให้เคลื่อนที่ ถ้าเป็นทุ่นใหญ่อาจผูกเชือกคู่ก้ได้ ผลผลิตพอๆ กับการเลี้ยงหอยแบบแพ แต่วิธีนี้เชื่อว่ามีความต้านทานต่อคลื่นลมได้ดี
        
สำหรับการเลี้ยงแบบหลักไม้แขวนลอย การเลี้ยงแบบนี้จะรวบรวมพันธุ์หอยจากแหล่งธรรมชาติมาเตรียมให้หอยเกาะกับหลักไม้เป้งความยาว 1 เมตรเส้นผ่าศูนย์กลาง 3 – 5 เซนติเมตร โดยใช้ถุงอวนบางประกอบกับไม้แล้วบรรจุหอยลงในช่วงระหว่างเนื้อถุงอวนกับ ผิวไม้ ผูกมัดเป็นส่วนๆ ประมาณ 3 – 4 ส่วน ตามความยาวไม้ จากนั้นจึงใช้เชือกลอดตามรูปลายไม้ด้านบนที่เจาะเตรียมไว้ แล้วผูกให้แน่นนำหลักไม้ที่พันหอยแมลงภู่นี้ไปแขวนลอยไว้บนราวที่มีเสาค้ำจุน โดยจัดให้หลักหอยจมน้ำอยู่ตลอดเวลา แม้จะเป็นระยะที่น้ำลดต่ำสุดภายใน 4 – 5 วัน หอยจะเกาะกระจายอยู่ตามผิวหลักไม้อย่างมั่นคง จากนั้นจึงตัดอวนออกและเลี้ยงให้หอยเจริญเติบโตต่อไป ในระยะเวลา 8 เดือน หอยเจริญเติบโตได้ขนาดตลาด ซึ่งมีความยาวเฉลี่ย 7.3 เซนติเมตร ให้ผลผลิตเฉลี่ยหลักละ 5 กิโลกรัม ประมาณได้ว่าพื้นที่ 1 ตารางเมตร สามารถเลี้ยงได้ 4 หลัก ในแหล่งน้ำที่มีสภาพแวดล้อมเหมาะสมมีอาหารตามธรรมชาติสมบูรณ์ในเนื้อที่ 1 ไร่ สามารถเก็บผลผลิตจากการเลี้ยงหอยได้ประมาณ 30 – 32 ตัน/ไร่

4 การเลี้ยงหอยแบบตาข่ายเชือก
          การเลี้ยงแบบตาข่ายเชือกสามารถเลี้ยงได้ในระดับน้ำลงต่ำสด 2 เมตร และในบริเวณดินแข็งที่ไม่สามารถปักไม้เลี้ยงหอยได้ การเลี้ยงแบบนี้มีข้อดี คือวัสดุที่ใช้ เป็นวัสดุสงเคราะห์ซึ่งหาได้ง่ายตามตลาดทั่วไป และวัสดุที่ใช้เลี้ยงมีความคงทนใช้งานหลายปี สำหรับการเตรียมงานติดตั้งตาข่ายเชือกมีขั้นตอนต่างๆดังนี้

1 การเตรียมฐานเสา
          นำแม่แบบเส้นผ่าศูนย์กลาง 150 เซนติเมตรวางตะแกรงเหล็กภายในแม่แบบ ที่ตะแกรงเหล็กเชื่อมห่วงหรือเหล็กหูแหนบสูงประมาณ 20-30 เซนติเมตร ตัดท่อพีวีซี ยาว 40 เซนติเมตร ตั้งในแบบ 4 ท่อน เทปูนภายในแบบให้สูงประมาณ 30 เซนติเมตร ฐานเสาจะมีรูสำหรับสวมเสาเหล็ก 4 รู  ข้อควรระวัง อย่าให้เนื้อปูนเข้าในท่อพีวีซี จะทำให้เกิดการอุดตันไม่สามารถสวมเหล็กแป๊บได้

2 การเตรียมเสาเหล็กสวมใส่ท่อพีวีซี
          นำท่อแป๊บขนาด 2 นิ้วเชื่อมห่วงโซ่ขนาด 1 นิ้ว ให้ติดกับท่อแป๊บ 2 จุด จุดแรกเชื่อมที่โคนเสาให้ห่างจากโคนเสา 30 เซนติเมตร จุดที่2    ขึ้นอยู่กับน้ำลดต่ำสุด ถ้าน้ำลดลงต่ำสุด 2 เมตรวัดจากโคนเสาไปถึงปลายเสาให้เชื่อมที่ระดับ 2 เมตร (การเชื่อมจุดที่2 เพราะป้องกันการรูดลงของเชือก)เสร็จแล้วเทปูนภายในท่อแป๊บเพื่อให้ท่อแป๊บมีความแข็งแรงยิ่งขึ้น

3 การเตรียมราวเชือก
          นำเชือกขนาด 10 มิลลิเมตร มาถักให้ได้ขนาดตา กว้าง 50 เซนติเมตร ยาว 2.5 เมตร ถักให้เป็นผืนใหญ่ กว้าง 40 เมตร ยาว 40 เมตร  หรือผืนเล็ก 4 ผืน กว้าง 10 เมตร ยาว 40 เมตร การถักราวเชือกควรเหลือปลายเชือกรอบนอกไว้สำหรับผูกยึดเชือก 14 – 16 มิลลิเมตร ประมาณ 1 เมตร

4 การเคลื่อนย้ายฐานเสา
          นำกระชังเหล็กขนาดกว้าง 2 เมตร ยาว 2 เมตร ใช้เชือกผูกถังขนาด 100 ลิตรจำนวน 8 – 12 ใบ การเตรียมย้ายต้องอาศัยระดับน้ำ เป็นตัวช่วยเวลาย้ายฐานเสา ควรเป็นช่วงที่น้ำข้นสูงกว่าฐานเสาประมาณ 1 เมตร การเคลื่อนย้ายนำกระชังให้ลอยอยู่บนฐานเสาใช้เชือกขนาด 14 – 16 มิลลิเมตร 2   เส้น ยาว   4 เมตร มีขั้นตอนลำดับดังนี้ ใช้คน 5 – 6 คน ขึ้นบนกระชังให้อยู่ด้านใดด้านหนึ่ง นำปลายของเชือกเส้นแรกผูกติดกับกระชังก่อน  ส่วนอีกปลายหนึ่งร้อยเข้าห่วงเหล็ก แล้วนำมาผูกติดกับตัวกระชัง การผูกต้องให้ตึงและแก้ง่ายเพื่อสะดวกในการปล่อยฐานเสา เสร็จแล้วย้ายคนสลับด้านไปอยู่ฝั่งตรงข้าม ทำเช่นเดียวกับครั้งแรก เมื่อผูกเชือกเสร็จแล้วคนลงจากกระชัง กระชังจะลอยขึ้น วงเวลากระชังลอยขึ้นจะดึงฐานเสาขึ้นจากพื้นเสร็จแล้วใช้เรือลากกระชังไปทิ้งทุ่นสมอตามจุดที่ต้องการ

5 การวางฐานเสา
          ใช้ไม้ปักวางแนวก่อนให้ห่างกัน 10 เมตร ใช้เรือลากฐานเสานำไปทิ้งใกล้กับไม้ที่ปักทำเป็นแนวจะได้ฐานเสาห่างกัน 10 เมตร ในเนื้อที่ 1 ไร่ จะใช้ฐานเสา 25 ฐาน ในกรณีที่ลงฐานเสาไม่ตรงจุดทำการเคลื่อนย้ายได้โดยทำเช่นเดียวกับการเคลื่อนย้ายฐานเสา

6 การสวมเสาหลัก
          นำเสาหลักที่เตรียมไว้แล้วสวมในรูฐานเสา 2 ต้น แล้วใช้เชือก 2 เส้น เส้นที่ 1 ผูกที่ปมเหล็ก ด้านบนให้แน่น ให้เสาติดอยู่คู่กันแล้ว ใช้เชือกอีกเส้นหนึ่งขนาด 10 มิลลิเมตร ผูกปมเหล็กด้านบนไปยึดห่วงเหล็กด้านล่างให้ตึง การผูกยึดเพื่อป้องกันการหลุดของเสาหลัก

7 การขึงเชือก 14 – 16 มิลลิเมตร
          นำเชือก ขนาด 10 มิลลิเมตร ที่ถักเรียบร้อยแล้ววางพาดบนเชือกขนาด 14- 16 มิลลิเมตร ใช้ปลายเชือกขนาด 10 มิลลิเมตร ที่เหลือไว้ผูกติดกับเชือก 14 – 16 มิลลิเมตรให้แน่น

8 การวางตาข่ายเชือก
          นำเชือกขนาด 10 มิลลิเมตร ที่ถักเรียบร้อยแล้ววางพาดบนเชือก ขนาด 14 – 16 มิลลิเมตร ใช้ปลายเชือกขนาด 10 มิลลิเมตรที่เหลือไว้ผูกติดกับเชือก 14 – 16 มิลลิเมตรให้แน่น

9 การเก็บเกี่ยวลูกหอย
          เนื่องจากการเลี้ยงหอยแมลงภู่แบบราวเชือกเป็นการเลี้ยงหอยอยู่กับที่ เวลาเก็บเกี่ยวต้องน้ำลงไปเก็บเกี่ยวผลผลิต หลังการเก็บเกี่ยวทำความสะอาดเส้นเชือก แล้วปล่อยทิ้งไว้ให้หอยมาเกาะในรุ่นต่อไป

10 การเสริมฐานเสา
          ถ้าปริมาณลูกหอยเกาะตามราวเชือกจำนวนมากต้องเสริมฐานเสาขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 1 เมตร การเสริมฐานเสา เสริมกลางระหว่างฐานเสาขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 1 เมตร การเสริมฐานเสาเสริมกลางระหว่างฐานเสา 4 ต้น ถ้าราวเชือกหย่อนให้เพิ่มฐานเสาอีก

ถ้าเลี้ยงได้ในระดับน้ำลงต่ำสด 2 เมตร และในบริเวณดินแข็งที่ไม่สามารถปักไม้เลี้ยงหอยได้ การเลี้ยงแบบนี้มีข้อดี คือวัสดุที่ใช้ เป็นวัสดุสงเคราะห์ซึ่งหาได้ง่ายตามตลาดทั่วไป และวัสดุที่ใช้เลี้ยงมีความคง
ทนใช้งานหลายปี สำหรับการเตรียมงานติดตั้งตาข่ายเชือกมีขั้นตอนต่างๆดังนี้                                                                                                                 
ประมาณการค่าใช้จ่ายต่อไร่ของการเลี้ยงหอยแบบตาข่ายเชือก
เชือกโพลีโพรพีลีนขนาด 10 มิลลิเมตร จำนวน 20 มัด                     16,900     บาท
เชือกโพลีโพรพีลีนขนาด 16 มิลลิเมตร 2.5 มัด                                 5,100         บาท
ฐานเสาปูนขนาด 1.50 เมตร 25 ฐาน                                               12,500     บาท
ฐานแซม ขนาด 1 เมตร16 ฐาน                                                        2,400     บาท
เหล็กแป๊บ ขนาด 2 นิ้ว                                                                     6,600    บาท
ท่อพีวีซี ขนาด 2.5 นิ้ว                                                                      2,400    บาท
อื่นๆเช่น ค่าแรง ค่าจับ ค่าน้ำมันและเหล็ก                                        14,100   บาท
รวมเป็นเงิน                                                                                    60 ,000  บาท

ประมาณการรายรับต่อพื้นที่ตาข่าย 1 ไร่ ของการเลี้ยงหอยแบบตาข่ายเชือก
ผลผลิตเฉลี่ยประมาณ 6 กิโลกรัม /1เมตร                  25,680       บาท
ราคากิโลกรัมละ                                                                 5        บาท
รวมเป็นเงิน                                                           128,400        บาท
ฉะนั้นกำไรสุทธิ                                                        68,400       บาท

การดูแลรักษา
การดุแลรักษาสำคัญมากเพราะว่าผลผลิตจะดีหรือไม่ขึ้นอยู่กับการเอาใจใส่ของผู้เลี้ยง ซึ่งพอจำแนกเฝ้าระวังรักษาได้ดังนี้

1 ควรมีการกำหนดขอบเขตแปลงเลี้ยงหอยอย่างแน่ชัด โดยทำเครื่องหมายที่สามารถสังเกตได้ชัด เพื่อป้องกันไม่ให้บุคคลภายนอก เข้ามาทำการประมงด้วยเครื่องมือจับสัตว์น้ำประเภทต่างๆ บริเวณที่เลี้ยงหอยทีได้รับอนุญาตจากทางราชการแล้ว

2 ในแปลงเลี้ยงหอยควรมีที่พักคนเฝ้าไว้สำหรับดูแลรักษาแปลงหอยเป็นการป้องกันไม่ให้หอยสูญหายจากมิจฉาชีพ

3 ในการเลี้ยงหอยแบบแขวน ควรจะได้มีการตรวจและซ่อมแซม วัสดุ อุปกรณ์ที่อาจชำรุด ตลอดจนชำระล้างตะกอน โคลนและกำจัดศัตรู เช่น ปู หอย เพรียง และปลาที่เข้ามาอาศัย อย่างน้อย 2 สัปดาห์ต่อครั้ง โดยดำเนินการเวลาเช้าตรู่ปลอดจากความร้อนสูงของแสงแดด

4 การเปลี่ยนแปลงความเค็มของน้ำจะมีผลต่อการเจริญเติบโตและการตายของหอยอย่างมาก โดยเฉพาะช่วงฤดูฝนที่ฝนตกชุกความเค็มจะลดต่ำลงอย่างกะทันหัน เป็นสาเหตุให้แหล่งน้ำขาดความอุดมสมบูรณ์ของอาหารธรรมชาติ หอยแมลงภู่จะผอมและมีน้ำหนักลดลงหรืออาจตายได้ ดังนั้นระยะเวลาดังกล่าว ผู้เลี้ยงควรพิจารณาเก็บผลผลิตส่งจำหน่ายก่อน

5 ความหนาแน่นของหอยที่เกาะเลี้ยงตัวบนวัสดุ มีผลต่อการเจริญเติบโตเพราะความหนาแน่นสูง หอยจะเบียดกันมากและแย่งอาหารกัน กินนอกจากนี้ถ้าเป็นหลักไม้หากหอยเกาะมากเกินความพอเหมาะของพื้นที่ที่มีอยู่หอยบางส่วนจะหลุดร่วงจากหลักจมโคลนและตายในที่สุด ดังนั้นผู้เลี้ยงควรจะนำหอยที่มีขนาด 2 – 3 เซนติเมตร ซึ่งมีความหนาแน่นมากไปจำหน่ายใช้เป็นอาหารเลี้ยงเป็ดหรืออาจนำไปเลี้ยงโดยวิธีการอื่น ได้แก่การเลี้ยงแบบแขวนในกระบะและวิธีอื่นๆ เพื่อลดความหนาแน่นของหลักไม้ให้ต่ำลง

6 การเลี้ยงหอยแบบหลักแขวนลอย ในบางฤดูที่มักจะเกิดน้ำเสียหรือเกิดขี้ปลาวาฬ ผู้เลี้ยงหอยควรจะได้สอดส่องดูแลระมัดระวัง ตลอดจนเตรียมการระมัดระวังเตรียมการป้องกันหรือเคลื่อนย้ายแพเลี้ยงหอยออกไปพักไว้ในบริเวณที่ปลอดภัยจากน้ำเสีย

7 ความขุ่นของน้ำในบริเวณที่เลี้ยงหอย ถ้าขุ่นมากตะกอนและโคลนตมจะเกาะตามเหงือก ทำให้หอยหายใจไม่ออกและตายได้ นอกจากนี้ความขุ่นยังทำให้ประสิทธิภาพการกรองอาหารต่ำลง

8 ปัญหาจกคลื่นลมและกระแสน้ำ รวมทั้งการทำการประมงด้วยเรืออวนลากและอวนรุนเป็นผลให้ไม้หลักเลี้ยงหอยถูกทำลาย

9 ปัญหาน้ำเสียจากโรงงาน

การเลี้ยงปลาตะเพียน




การเลี้ยงปลาตะเพียนขาว
ปลาที่เรียกกันว่า “ตะเพียน” บางคนได้ยินชื่ออาจจะออกอาการขยาดเพราะปลาชนิดนี้ก้างเยอะมาก แต่บางคนที่ทำเป็นเขาทำให้ก้างอ่อนตัวลง คนรับประทานไม่ต้องกลัวก้างเพราะสามารถรับประทานได้ทั้งก้าง ไม่ต้องกลัวว่าจะปักคอ

ปลาตะเพียน ชื่อเต็ม ๆ ของมันคือ ปลาตะเพียนขาว (นอกจากตะเพียนขาวแล้วยังมีตะเพียนชนิดอื่นอีก เช่น ตะเพียนหางแดง เป็นต้น) เป็นปลาน้ำจืดชนิดหนึ่งอาศัยอยู่ทั่วไปทั้งในแม่น้ำ ลำคลอง หนอง บึง แต่เจริญเติบโตขยายพันธุ์ได้ในแหล่งน้ำซึ่งมีความกร่อยเล็กน้อย ฉะนั้นจึงสามารถเลี้ยงให้เจริญเติบโตได้ทั้งในบ่อน้ำจืดและน้ำกร่อย อ่างเก็บน้ำ ตลอดจนในนาข้าว

ข้อมูลจากกรมประมงระบุว่า แม่ปลาตะเพียนขาวตัวหนึ่ง ๆ สามารถมีไข่ได้ตั้งแต่ 50,000-100,000 ฟอง และชอบวางไข่ตามบริเวณชายฝั่งของลำธารเล็ก ๆ ที่ไหลลงมารวมกับลำธารใหญ่ซึ่งมีสภาพเป็นโคลน ปลาตะเพียนขาวสามารถวางไข่ในบ่อเลี้ยงได้ภายในปีแรก เมื่อแม่ปลามีขนาดตัวยาว 25 ซม.
 
การนำปลาตะเพียนขาวมาเลี้ยงในบ่อนั้น บ่อเลี้ยงควรเป็นบ่อดินซึ่งมีขนาด 400 ตารางเมตรขึ้นไปจนถึงขนาด 1 ไร่ หรือมากกว่านั้น ความลึกของน้ำในบ่อควรให้เกินกว่า 1 เมตรขึ้นไป ใช้เลี้ยงลูกปลาที่มีขนาดความยาว 5-7 เซนติเมตร หากปลาที่ปล่อยลงเลี้ยงมีขนาดโตกว่านั้นควรปล่อยในอัตรา 2-3 ตัวต่อ 1 ตารางเมตร


การเตรียมบ่อ หากเป็นบ่อที่ขุดใหม่ ดินมักจะเป็นกรด ควรใช้ปูนขาวโรยให้ทั่วบ่อ ในอัตรา 1 กิโลกรัม ต่อเนื้อที่ 10 ตารางเมตร หากเป็นบ่อเก่า จำเป็นต้องปรับปรุงบ่อ โดยกำจัดวัชพืชออกให้หมด เช่น ผักตบชวา จอก บัว และหญ้าต่าง ๆ เพราะวัชพืชเหล่านี้จะปกคลุมผิวน้ำเป็นอุปสรรคต่อการหมุนเวียนของอากาศ และเป็นที่อยู่อาศัยของศัตรูได้ คันบ่อควรลอกเลนขึ้นมาตกแต่ง และทำท่อระบายน้ำให้เรียบร้อย ตากบ่อนั้นทิ้งไว้จนแห้ง แสงแดดจะช่วยกำจัดเชื้อโรคและช่วยให้คุณภาพของดินในบริเวณบ่อมีคุณสมบัติดีขึ้น ก่อนปล่อยปลาลงเลี้ยง ต้องกำจัดศัตรูของปลาตะเพียน ได้แก่ พวกปลากินเนื้อ เช่น ปลาช่อน ปลาชะโด ปลาดุก กบ เขียด และงู ฯลฯ โดยการระบายน้ำออกจากบ่อให้แห้งขอดแล้วจับขึ้นให้หมด ในกรณีที่ไม่สามารถระบายน้ำออกได้ ควรใช้โล่ติ๊นสด 1 กิโลกรัม ต่อปริมาณน้ำ 100 ลูกบาศก์เมตร วิธีใช้คือทุบหรือบดโล่ติ๊น   ให้ละเอียด นำลงแช่น้ำสัก 1 หรือ 2 ปี๊บ ขยำโล่ติ๊นเพื่อให้สีขาวออกมาหลาย ๆ ครั้งจนหมด แล้วนำไปสาดให้ทั่วบ่อ ศัตรูพวกปลาดังกล่าวก็จะตายลอยขึ้นมา ต้องเก็บออกทิ้งอย่าปล่อยให้เน่าอยู่ในบ่อเพราะจะทำให้น้ำเสียได้ ก่อนที่จะปล่อยปลาลงเลี้ยง ควรทิ้งระยะไว้ประมาณ 7-10 วัน เพื่อให้ฤทธิ์ของโล่ติ๊นสลายตัว



แม้ไม่ใช่การปลูกพืชแต่การเลี้ยงปลาตะเพียนต้องใส่ปุ๋ย เพื่ออะไร ที่ใส่ปุ๋ยก็เพื่อให้มีอาหารธรรมชาติเกิดขึ้น ปุ๋ยที่ว่านั้นคือ ปุ๋ยอินทรีย์ ซึ่งได้แก่ปุ๋ยคอกที่ตากแห้งแล้ว หรือปุ๋ยหมัก อัตราการใส่ปุ๋ยประมาณ 50-200 กิโลกรัมต่อไร่ ระยะแรกนั้นควรใส่ปุ๋ยในขณะที่ตากบ่อก่อนระบายน้ำเข้า ระยะหลัง ๆ ควรใส่ในอัตราครั้งละครึ่งหนึ่งของระยะแรก จนกระทั่งน้ำมีสีเขียว ลักษณะเช่นนี้แสดงว่ามีอาหารธรรมชาติเกิดขึ้นอย่างสมบูรณ์แล้ว ปุ๋ยอินทรีย์หรือปุ๋ยวิทยาศาสตร์ อาจหาซื้อได้ในรูปที่ผสมเสร็จแล้ว โดยมีอัตราส่วนของฟอสฟอรัสสูงกว่าส่วนผสมอื่น และใช้ในอัตรา 4 กิโลกรัมต่อไร่ต่อเดือน

ปลาที่จะเลี้ยงจนโตได้ขนาดตามที่ต้องการ นอกจากใช้อาหารธรรมชาติซึ่งมีอยู่ในบ่อ ผู้เลี้ยงจำเป็นต้องให้อาหารสมทบเพิ่มเติม เพื่อเป็นการเร่งให้ปลามีอัตราการเจริญเติบโตเร็วขึ้น อาหารสมทบดังกล่าวได้แก่ แหนเป็ดและไข่น้ำ (ไข่น้ำเป็นพืชที่เกิดขึ้นลอยอยู่บนผิวน้ำปะปนกับพวกจอกแหน มีลักษณะเป็นเม็ดกลม ๆ ขนาดเท่า ๆ กับสาคูเม็ดเล็กที่ยังไม่แช่น้ำ มีสีค่อนไปทางเขียวอ่อน ชาวอีสานเรียกว่า “ผำ”) ใช้โปรยให้กินสด ๆ เศษผัก ผักบุ้ง ผักกาดขาว และเศษผักต่าง ๆ โดยวิธีต้มให้เปื่อยผสมกับรำหรือปลายข้าวที่ต้มสุก กากถั่วเหลือง กากถั่วลิสง ใช้แขวนหรือใส่กระบะไม้ไว้ในบ่อ ส่วนอาหารจำพวกเนื้อสัตว์ หรือสัตว์ที่มีชีวิต เช่น ตัวไหม ปลวก ไส้เดือน หนอน มด ฯลฯ ใช้โปรยให้กิน พวกเครื่องในและเลือดของสัตว์ต่าง ๆ เช่น หมู วัว ควาย ใช้บดผสมคลุกเคล้ารำและปลายข้าวซึ่งต้มสุกแล้ว นำไปใส่ไว้ในกระบะไม้ในบ่อ การให้อาหาร ให้วันละครั้ง ในตอนเช้าหรือตอนเย็น ครั้งละประมาณ 5% ของน้ำหนักปลาที่เลี้ยง ถ้าให้มากเกินไป เศษอาหารที่เหลือจะทำให้น้ำเน่าเสีย

ลูกปลาจะเจริญเติบโตไม่เท่ากัน จำเป็นต้องคัดปลาที่มีขนาดไล่เลี่ยเลี้ยงในบ่อเดียวกัน เพราะถ้าเลี้ยงรวมกัน จะทำให้ลูกปลาที่เล็กกว่าเติบโตได้ไม่เท่าที่ควร และเมื่อปลามีขนาดโตขึ้น ต้องแบ่งไปเลี้ยงบ่ออื่นอย่าปล่อยให้อยู่แน่นเกินไป เพราะปลาจะไม่เจริญเติบโตเท่าที่ควร ปลาตะเพียนขาวซึ่งใช้เวลาเลี้ยงประมาณ 6 เดือนนั้น จะมีน้ำหนักประมาณ 3-4 ตัวต่อ 1 กิโลกรัม

คงไม่ยากหากจะเลี้ยง หากอยากได้รายละเอียดมากกว่านี้ไปขอได้ที่ฝ่ายประชาสัมพันธ์ กรมประมง ขอเอกสารคำแนะนำในการเลี้ยงปลาต่าง ๆ มีให้เลือกด้วย


บทความที่ได้รับความนิยม

 
Support : |
Copyright © 2011-2012 อาชีพพารวย - All Rights Reserved
เข้าสู่ปีที่ 2 อาชีพพารวย เพื่อนคู่คิดนักเกษตร พ.ศ. 2555
เว็บไซต์เพื่อนเกษตร