รายการอัพเดทล่าสุด

ไก่ต้มน้ำปลา




ไก่ต้มน้ำปลา  สูตรที่ 1
ส่วนประกอบ
1.  ขิ่งข่าตะไคร้บมะกรูด ครบเครื่องต้มยำเตรียมไว้1ชุด
2. ไก่บ้าน สาวๆ2ตัว (ขนาดราวตัละ4-6ขีด)
3.  น้ำต้มโครงไก่และกระดูกหมู  1หม้อ  น้ำซุป
4.  น้ำมันพืช
5. กระเทียมสด  4 หัว
6. น้ำปลา อย่างดี
7. เกลือ  1 ถุง
8. ผงปรุงรส ดี  4 ชต.

วิธีทำ
นำไก่สดมาสับเป็นชิ้นพอคำ  กะทะตั้งไฟร้อน ลงน้ำมัน ใส่ไก่ลงผัดให้สุกพอหนังตึงๆ ใส่น้ำปลา ผงปรุงรส เกลือ สุกท้าย เครื่อง ต้มยำ ผัดให้หอม จากนั้นเติมน้ำซุปโครงไก่ลง ต้มพร้อมเติมกระเทียมสดบุบพอแตก  ลงไป4หัว แล้วต้ม หมั่นช้อนฟองทิ้ง น้ำจะหอมไม่คาวและทำให้น้ำซุปไก่มีสีใสน่ากิน ต้มต่อไป อีกราว 40-60นาที่ แล้วแต่ความนุ่มของไก่ ถ้าใช้ไก่เนื้อระวังเนื้อเละ ต้องใช้เวลาน้อยลง ถ้าให้อร่อยใช้ไก่บ้านจะดีกว่ามาก เนื้อเหนียวนุ่มหนังกรอบเด้ง หลังจากนั้น เอาหม้อต้มไก่ ลงรอให้เย็น แล้วเอาเข้า้ตู้เย็น ทิ้งไว้ 1 คืน วันรุ่งขึ้น เอาหม้อ ออกมาช้อน มันที่ลอยหน้าทิ้ง (ความอร่อยจะลดลง แต่สุขภาพจะดีขึ้น แล้วแต่ความชอบครับ) ที่นี้เวลาทาน เราจะ ตักไก่และน้ำซุปไก่ เท่าที่เราจะทาน มาต้มให้เดือด แล้วทานได้ รสชาติไก่จะเข้าเนื้อ  กลมกล่อม หอมเครื่อเทศ นิดหน่อย น้ำไก่ไม่คาว ไม่ต้องใส่อะไรเพิ่ม ทานกับข้าวสวยร้อนๆ อร่อยมากๆครับ


ไก่ต้มน้ำปลา  สูตรที่ 2
ส่วนประกอบ
1. ไก่ปลดระวาง (ไก่ไข่ที่ ไม่ไข่แล้ว) 2 ตัว สับชิ้นพอคำ
2. น้ำปลาดี 1 ขวด
3. เกลือ 1 ถุง
4. ตะไคร้ใบมะกรูด
5. น้ำสะอาด
6. ซีอิ้วดำหวาน 3 ทัพพี

วิธีทำ
ลองดูนะค่ะบังเอิญครั้งนี้ต้ม 2ตัวใครต้มตัวเดียว ลดเกลือกัปน้ำปลาลงหน่อยเวลาน้ำเดือด แล้วชิมดูถ้ารสอ่อนเติมน้ำปลาให้รสพอดีไม่เค็มพอเวลาต้มน้ำงวด ลงกลับด้านตัวไก่พอได้ที่รสชาดจะพอดี อ้อใช้แม่ไก่ไข่ปลดระวางหรือไก่บ้าน หนังจะกรุปๆอร่อยถ้าใครใช้ไก่พันธุ์เนื้ออย่าต้มนานเปื่อยเกินไม่อร่อย แม่ไก่ไข่ 2 ตัว อาบน้ำให้สะอาดเฉือนมันทิ้ง ตะไคร้ ใบมะกรูด น้ำปลาเกือบครึ่งขวด เกลือ 1 ชต. ซีอิ้วดำหวาน 3 ทับพี เติมน้ำพอท่วมไก่ ตั้งไฟพอเดือด ลดไฟอ่อน ต้มต่อประมาณ 1ชั่วโมงครึ่ง เสร็จก็รัปทานกับน้ำจิ้มรสแซ่บตามใจคุณค่ะ


ไก่ต้มน้ำปลา  สูตรที่3
ส่วนประกอบ
1. น้ำปลา
2. ไก่ทั้งตัว

น้ำจิ้ม
1.พริกชี้ฟ้าเหลือง
2.กระเทียม
3.เกลือ
4.น้ำตาลทราย
5.น้ำปลา
6. น้ำส้มสายชู

*โขลกให้ละเอียดสำหรับเป็นน้ำจิ้มไก่น้ำปลา

วิธีทำ
1. นำหม้อตั้งไฟ เทน้ำปลาลงไปต้มพอเดือด ใส่ไก่ที่ล้างทำความสะอาดแล้วลง ไปเคี่ยวไฟอ่อนประมาณ 3-4 ชั่วโมง แต่น้ำปลาต้องท่วมตัวไก่
2. พอไก่เคี่ยวได้ที่แล้วตักขึ้นสับเป็นชิ้น ๆ จิ้มกับพริกน้ำส้มที่โขลกละเอียดแล้ว
ในถาพ ตักไปไม่ใส่น้ำ ทานกับข้าวสวยเป็นอีกแบบหนึ่ง ไก่มีรสเค็มๆ ทานกับน้ำจิ้ม รสแซป กินแล้วอร่อยดี เข้าท่า ทำง่ายๆ ไม่ยุ่งยาก

ต้มข่าไก่





ต้มข่าไก่
ส่วนผสมวัตถุดิบและเครื่องปรุง
1. พริกขี้หนูสวนทุบพอแตก                 5 เม็ด
2. ข่าอ่อนปอกเปลือกหั่นแว่น            15 แว่น
3. น้ำพริกเผา                                      1 ช้อนโต๊ะ
4. น้ำตาลทราย                                   1 ช้อนโต๊ะ
5. น้ำมะนาว                                        3 ช้อนโต๊ะ
6. น้ำปลา                                            3 ช้อนโต๊ะ
7. ตะไคร้หั่นเฉียง                             1/2 ต้น
8. ใบมะกรูดฉีก                                   3 ใบ
9. หางกะทิ                                         2 ถ้วย
10. หัวกะทิ                                         1 ถ้วย
11. เนื้ออกไก่หั่นชิ้นพอคำ                 1 ถ้วย

วิธีการทำต้มข่าไก่
ลำดับแรกเลยให้ใส่หัวกะทิ และหางกะทิลงไปในหม้อตั้งไฟพอประมาณกลางๆพอเริ่มเดือดให้ใส่ข่าลงไปเคี่ยวไฟอ่อนพอเริ่มมีกลิ่นหอมข่าจึงใส่เนื้อไก่ลงไปแล้วเคี่ยวพอสุก
ขั้นตอนต่อไปปรุงรสด้วยน้ำตาลทรายจากนั้นตามด้วย น้ำปลา น้ำมะนาว ใส่ใบมะกรูด ตะไคร้ และน้ำพริกเผา ลงไปคนผสมให้เข้ากัน ตักใส่ถ้วยเป็นอันเสร็จเรียบร้อยแต่งด้วยพริกขี้หนู

ต้มยำกุ้งน้ำข้น




สูตรต้มยำกุ้งน้ำข้น สูตรที่ 1
1. กุ้งกุลาดำ 15 ตัว
2. เห็ดโคนประมาณ 10-15 ดอก ใครจะใช้เห็ดนางฟ้าหรือเห็ดฟางแทนก็ได้
3. มะนาวใช้ 3 ลูก บีบน้ำได้ประมาณ 3 ช้อนกินข้าวแบบสั้น
4. พริกขี้หนูเม็ดเล็กใช้ 10 เม็ด
5. หัวหอมแดง 3-4 หัว
6. ตะไคร้ใช้ 2-3 ต้นไม่ใหญ่
7. ข่าแก่ 5 แว่น
8. ใบมะกรูด 4-5 ใบ
9. รากผักชี 2-3 ต้น
10. ใครจะเพิ่มผักชีฝรั่งก็ใส่ได้ตามชอบใจ
11. น้ำพริกเผา 1 ช้อนโต๊ะ
12. น้ำปลาอย่างดี 2-3 ช้อนโต๊ะ (ต้องชิมรสประกอบ)
13. น้ำตาลทราย 1 ช้อนชา
14. นมข้นไม่หวาน (ใช้คาร์เนชั่น) หรือใช้นมสดรสจืดยิ่งดีเลย  1ถ้วย
15. น้ำซุป ไม่มี ใช้น้ำเปล่าแล้วใช้รสดีแทน 1 ลิตร

สูตรต้มยำกุ้งน้ำข้น สูตรที่ 2
เครื่องปรุงและส่วนประกอบ
1. ตะไคร้ 2 ต้น
2. ข่า 1 แง่ง
3. ผักชี 1 ต้น
4. พริกขี้หนู 5 เม็ด
5. ใบมะกรูด 5 ใบ
6. มะเขือเทศใหญ่ 1 ลูก
7. เห็ดฟาง 5 ดอก
8. เห็ดนางฟ้า 5 ดอก
9. กุ้งสด 10 ตัว
10. น้ำพริกเผา 1 ช้อนโต๊ะ
11. น้ำมะนาว 2 ช้อนโต๊ะ
12. น้ำปลา 1 ช้อนโต๊ะครึ่ง
13. นมสด 1 ทัพพี
14. น้ำเปล่า 1 ลิตร


วิธีทำต้มยำกุ้งน้ำข้น
1. นำตะไคร้มาทุบแบบหยาบ และหั่นประมาณ 1 นิ้ว ต่อด้วยหั่นข่า 1 แง่งให้เป็นแว่นๆ เพื่อให้ได้ประมาณ 5-7 แว่น ไม่ต้องหนามากนะคะ เอาแบบพอดีๆ
2. หั่นผักชีเป็นฝอยๆ และนำรากผักชีไปทุบพอหยาบ และทุบพริกขี้หนูอีก 10 เม็ดให้พอหยาบเช่นกัน
3. หั่นมะเขือเทศลูกใหญ่โดยผ่าให้ได้ 4 ชิ้น จากนั้นก็หั่นเห็ดฟางแบบครึ่งและเห็ดนางฟ้าฉีกครึ่ง ใบมะกรูดนำมาฉีกครึ่งเป็น 4 ส่วน
4. ปอกเปลือกกุ้งสดให้สะอาด ผ่าหลังและล้างน้ำให้สะอาด
5. ผักทุกชนิดที่เราจะรับประทาน จำเป็นต้องล้างน้ำให้สะอาดก่อนหั่นนะคะ
6. เตรียมน้ำพริกเผาผสมนมสด โดยนำนมสดหรือน้ำข้นไม่หวาน 1 ถ้วยมาผสมกับ น้ำพริกเผา บี้ให้ตัวพริกเผาไม่ให้จับตัวเป็นก้อน
7. นำหม้อต้มใส่น้ำเปล่า 1 ลิตรที่ได้เตรียมไว้ โดยเริ่มตั้งไฟด้วยไฟแรง หลังจากนั้นก็ใส่ตะไคร้ทุบและข่าที่หั่นเตรียมไว้ และใส่รากผักชีทุบลงไปพร้อมๆ กันเลยค่ะ
8. เมื่อน้ำเดือดแล้วให้ใส่เห็ดฟางและเห็ดนางฟ้าไปพร้อมๆ กับกุ้งสดรอจนน้ำเดือด
9. พอน้ำเดือด ให้หรี่ไฟเป็นไฟเป็นแบบปานกลาง จากนั้นก็ใส่เครื่องปรุงรสที่เราได้เตรียมไว้แล้ว นั้นก็คือ น้ำปลา มะนาว คน 1 รอบ ตามด้วยน้ำพริกเผาผสมนมสด และคนให้เข้ากันอีกรอบ และเปิดไฟแรงอีกครั้งค่ะ
9. นำมะเขือเทศและพริกขี้หนู  และใบมะกรูดมาใส่ลงในหม้อ พอน้ำเดือดแล้วให้ปิดไฟทันที
10. ยกลงมาเทใส่ถ้วย จากนั้นก็โรยหน้าด้วยผักชี ถือว่าเป็นอันเสร็จเรียบร้อย พร้อมเสิร์ฟแล้วล่ะค่ะ อาจปรุงรสเพิ่มตามใจชอบ

แกงเขียวหวานไก่



แกงเขียวหวานไก่
สูตร
1. น้ำพริกแกงเขียวหวาน 1/4 ถ้วยตวง
2. เนื้อไก่ 350 กรัม (หั่นเป็นชิ้นเล็ก พอดีคำ)
3. กะทิ 1 1/4 ถ้วยตวง
4. ใบโหระพา 1/4 ถ้วยตวง
5. มะเขือเปราะ 2 ลูก (หั่นเป็นชิ้นเล็กๆ)
6. น้ำซุปไก่ 1/2 ถ้วยตวง
7. น้ำตาลมะพร้าว 2 ช้อนโต๊ะ (หรือน้ำตาลทรายธรรมดา)
8. น้ำปลา 3 ช้อนโต๊ะ
9. พริกชี้ฟ้าแดง 2 เม็ด (หั่นเฉียง)
10. ใบมะกรูด 4 ใบ


วิธีทำทีละขั้นตอน
1. ตั้งกะทิ 1/2 ถ้วยตวง (กระทิส่วนที่เหลือไว้ค่อยใช้ในขั้นตอนต่อไป) บนกระทะจนร้อน (ใช้ไฟปานกลาง) คนจนกระทิเดือดประมาณ 3 - 5 นาที จากนั้นใส่เครื่องแกงเขียวหวานลงไปผัดกับกระทิสักพักจนน้ำกระทิงวดลง จึงเทส่วนผสมทั้งหมดลงในหม้อใหญ่
2. นำหม้อใบใหญ่ตั้งไฟปานกลาง ใส่เนื้อไก่และคนประมาณ 2 นาที จากนั้นใส่น้ำปลา, น้ำตาล คนต่อไปอีก 1 นาที ใส่มะเขือเปราะที่หั่นไว้แล้ว ใส่น้ำกระทิที่เหลือและใส่น้ำซุปไก่ ต้มต่อไปสักพักจนเนื้อไก่เริ่มสุก และมะเขือเปราะนิ่ม
3. ใส่ใบมะกรูดและใบโหระพา รอจนเดือด จากนั้นจึงปิดไฟ ตักใส่ถ้วยเสิรฟพร้อมกับข้าวสวยร้อนๆ และพริกน้ำปลา

การปลูกคะน้า




การปลูกคะน้า  การเพาะกล้า
1. การเตรียมแปลงเพาะ แปลงเพาะกล้าควรมีขนาดกว้าง 1 เมตร ส่วนความยาวตามความเหมาะสม
2. การเตรียมดินบนแปลงเพาะกล้า ควรขุดไถพรวนดินอย่างดี ตากดินไว้ประมาณ 5-7 วัน ย่อยหน้าดิน ให้ละเอียด แล้วใส่ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมักที่สลายตัวดีแล้วให้มาก คลุกเคล้าให้เข้ากับดินให้ทั่ว
3. การเพาะ หว่านเมล็ดให้กระจายสม่ำเสมอทั่วแปลง กลบเมล็ดด้วยดินหรือปุ๋ยคอกที่สลายตัวดีแล้วให้หนาประมาณ 0.6-1 เซนติเมตร คลุมด้วยฟางหรือหญ้าแห้งบางๆ รดน้ำให้ชุ่มด้วยบัวรดน้ำ
4. การดูแลต้นกล้า ต้นกล้าจะงอกภายใน 7 วัน ควรดูแลต้นกล้า ถอนต้นที่อ่อนแอ ไม่แข็งแรง หรือเบียดกันแน่นทิ้งไป ผสมสารละลายสตาร์ทเตอร์โวลูชั่นในน้ำแล้วนำไปรด เพื่อให้ต้นกล้าแข็งแรงสมบูรณ์ ดูแลป้องกันโรคแมลงที่เกิดขึ้น เมื่อต้นกล้ามีอายุประมาณ 25-30 วัน จึงทำการย้ายไปปลูกในแปลงปลูกต่อไป

วิธีการปลูก
การปลูกคะน้านิยมปลูก 2 แบบ คือ
1. แบบหว่านกระจายทั่วแปลง เหมาะสำหรับแปลงปลูกขนาดใหญ่ ทำเป็นการค้า
2. แบบแถวเดียว เหมาะสำหรับแปลงปลูกขนาดเล็กหรือผักสวนครัว เตรียมดินโดยการใช้แรงงานคนให้น้ำโดยใช้บัวรดน้ำ
ระยะปลูก ควรให้มีระยะปลูกระหว่างต้นและระหว่างแถวประมาณ 20 X 20 เซนติเมตร
การเตรียมแปลงปลูก มีวิธีการดังนี้
1. ขุดดินให้ลึกประมาณ 15-20 เซนติเมตร
2. ตากดินทิ้งไว้ประมาณ 7-10 วัน
3. นำปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมักที่สลายตัวดีแล้วมาใส่ คลุกเคล้าให้เข้ากับดินเป็นการปรับปรุงสภาพทางกายภาพและเพิ่มความอุดม สมบูรณ์ของดิน
4. พรวนย่อยหน้าดินให้มีขนาดเล็ก โดยเฉพาะการปลูกแบบหว่านลงในแปลง เพื่อไม่ให้เมล็ดตกลงไปในดิน เพราะจะไม่งอกหรืองอกยากมาก
5. ถ้าดินเป็นกรดควรใส่ปูนขาวเพื่อปรับปรุงดินให้อยู่ในสภาพที่เหมาะสม

ในการปลูกคะน้านิยมหว่านเมล็ดลงบนแปลงปลูกโดยตรงมากกว่าย้ายกล้า โดยมีขั้นตอนดังนี้
1. หว่านเมล็ดให้กระจายทั่วทั้งผิวแปลงโดยให้เมล็ดห่างกันประมาณ 2-3 เซนติเมตร
2. ใช้ดินผสมหรือปุ๋ยคอกที่สลายตัวดีแล้วหว่านกลบเมล็ดให้หนาประมาณ 0.6-1 เซนติเมตร เพื่อเก็บรักษาความชื้นและป้องกันเมล็ดถูกน้ำกระแทกกระจาย
3. คลุมด้วยฟางหรือหญ้าแห้งบางๆ
4. รดน้ำให้ทั่วถึงและสม่ำเสมอ ต้นกล้าจะงอกภายใน 7 วัน
5. หลังจากต้นคะน้างอกแล้วประมาณ 20 วัน หรือต้นสูงประมาณ 10 เซนติเมตร ให้เริ่มถอนแยก โดยเลือกต้นที่ไม่สมบูรณ์ออก ทิ้งระยะห่างระหว่างต้นประมาณ 10 เซนติเมตร ต้นอ่อนของคะน้าที่ถอนแยกออกมาในวัยนี้เมื่อเด็ดรากออกแล้วส่งขายตลาดเป็น ยอดผักได้
6. เมื่อคะน้ามีอายุประมาณ 30 วัน ให้ถอนแยกครั้งที่ 2 ให้เหลือระยะห่างระหว่างต้น 20 เซนติเมตรต้นอ่อนของคะน้าที่ถอนแยกออกมาในวัยนี้เมื่อเด็ดรากออก แล้วส่งขายตลาดเป็นยอดผักได้
7. ในการถอนแยกคะน้าแต่ละครั้งควรกำจัดวัชพืชไปด้วย


การให้น้ำ
1. คะน้าต้องการน้ำอย่างเพียงพอและสม่ำเสมอ เนื่องจากมีการเจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว ดังนั้นควรปลูกในแหล่งที่มีน้ำอย่างเพียงพอ
2. การให้น้ำให้ใช้ฝักบัวฝอยรดให้ทั่วและให้ชุ่ม ในเวลาเช้าและเย็น

การใส่ปุ๋ย
คะน้าต้องการปุ๋ยที่มีธาตุไนโตรเจนสูง อาจใส่ปุ๋ยสูตร 12-8-8 หรือ 20-11-11 ในอัตราประมาณ 100 กิโลกรัมต่อไร่ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความอุดมสมบูรณ์ของดินและปริมาณปุ๋ยคอกที่ใช้โดยแบ่งใส่ 2 ครั้ง คือ หลังจากถอนแยกครั้งแรกและหลังจากถอนแยกครั้งที่ 2

การเก็บเกี่ยวผลผลิต
อายุการเก็บเกี่ยวของคะน้าอยู่ที่ประมาณ 45-55 วันหลังปลูก คะน้าที่ตลาดต้องการมากที่สุดคือ คะน้าที่มีอายุ 45 วัน แต่คะน้าที่มีอายุ 50-55 วัน เป็นระยะที่เก็บเกี่ยวได้น้ำหนักมากกว่า วิธีการเก็บเกี่ยวคะน้าทำได้ดังนี้
1. ใช้มีดคมๆ ตัดให้ชิดโคนต้น
2. ตัดไล่เป็นหน้ากระดานไปตลอดทั้งแปลง
3. หลังตัดแล้วบางแห่งมัดด้วยเชือกกล้วยมัดละ 5 กิโลกรัม บางแห่งก็บรรจุเข่ง แล้วแต่ความสะดวกใน


การขนส่ง
การเก็บเกี่ยวคะน้าให้ได้คุณภาพดี รสชาติดี และสะอาด ควรปฏิบัติดังนี้
1. เก็บในเวลาเช้าดีกว่าเวลาบ่าย
2. ใช้มีดเล็กๆ ตัด อย่าเก็บหรือเด็ดด้วยมือ
3. อย่าปล่อยให้ผักแก่เกินไป
4. หลังเก็บเกี่ยวเสร็จควรนำผักเข้าที่ร่ม วางในที่โปร่งและอากาศเย็น
5. ภาชนะที่บรรจุผักควรสะอาด

ประโยชน์ของ การปลูกคะน้า
คะน้ามีวิตามินหลายชนิด เช่น เบต้าแคโรทีน 186.92 ไมโครกรัม ต่อ 100 กรัม ช่วยลดความเสี่ยงต่อการเกิด มะเร็งกระเพาะอาหาร มะเร็งลำไส้ มะเร็งปอด และมะเร็งกระเพาะปัสสาวะ และยังมีวิตามินซีช่วยเสริมสร้างเนื้อเยื่อให้ชุ่มชื้น และทำให้ระบบภูมิคุ้มกันโรคของเรามีความแข็งแรงสมบูรณ์ นอกจากนี้ยังพบแคลเซี่ยมช่วยเสริมสร้างกระดูก แต่หากบริโภคมากเกินไปจะทำให้ท้องอืด เนื่องจากมีกอยโตรเจน (goitrogen)ในคะน้า

คะน้า เป็นผักที่อุดมไปด้วยวิตามินซี วิตามินอี แคโรทีนอยด์ และ โฟเลตนอก จากนี้ ยังมี"สารลูทีน" ซึ่งเป็นสารสำคัญที่พบในเลนส์ตา ผลจากงานวิจัย พบว่า การกินอาหารหรือพืชผักที่มีสารลูทีนสูง เช่น คะน้า จะช่วยลดโอกาสเสี่ยงของการเกิดโรคต้อกระจกลงได้ถึง 20 เปอร์เซ็นต์ เมื่อเทียบกับคนที่ไม่กิน นอกจากนี้ การกินคะน้าเป็นประจำ ยังช่วยลดอัตราการเกิดมะเร็งลำไส้ใหญ่ กระเพาะอาหาร ปอด และเต้านมอีกด้วย

การปลูกผักกาดขาว





การปลูกผักกาดขาว
การเพาะปลูก การปลูกผักกาดขาว
ผักกาดขาว นับเป็นผักที่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจชนิดหนึ่งของประเทศไทย เนื่องจากมีผู้นิยมบริโภคอย่างแพร่หลาย ส่วนที่ใช้บริโภคคือ ส่วนของใบ ซึ่งมีลักษณะเป็นผืนเดียวกันตลอด มีก้านใบกว้างและแบน ผักกาดขาวนอกจากจะใช้บริโภคสด และประกอบอาหารได้หลายอย่างแล้วยังเป็นผักที่นำมาใช้แปรรูปเป็นผักตากแห้ง และกิมจิ ตลอดจนเป็นผักที่ใช้ในอุตสาหกรรมรูปอื่นๆ อีก  พันธุ์ผักกาดขาวจะมีความแตกต่างกันไปตามลักษณะรูปร่างของปลี สำหรับพันธุ์ที่นิยมปลูกในประเทศไทยแบ่งได้ 3 พวกใหญ่ๆ ตามลักษณะของปลี

1. พวกปลียาว ปลีมีลักษณะทรงสูง รูปไข่ ได้แก่ พันธุ์มิชิลีหรือผักกาดหางหงส์, ผักกาดโสภณ, ผักกาดขาวปลีฝรั่ง เป็นต้น

2. พวกปลีกลม ปลี มีลักษณะทรงสั้นและอ้วนกลมกว่าพวกปลียาว ได้แก่ พันธุ์ซาลาเดีย ไฮบริด, พันธุ์ทรอปิคคอล ไพรด์ ไฮบริด ฯลฯ ส่วนใหญ่เป็นพันธุ์เบา มีอายุสั้น

3. พวกปลีหลวมหรือไม่ห่อปลี ส่วน มากเป็นผักพื้นเมืองของเอเชีย ผักกาดขาวพวกนี้มักไม่ห่อเป็นปลี สามารถปลูกได้แม้อากาศไม่หนาว ฝนตกชุก สำหรับความอร่อยน่ากินและการเก็บรักษาได้นานสู้ผักกาดขาวพวกเข้าปลีไม่ได้ ทำให้ปริมาณในปัจจุบันลดลง ได้แก่ พันธุ์ผักกาดขาวใหญ่ (อายุ 45 วัน) ผักกาดขาวธรรมดา (อายุ 40 วัน) เป็นต้น

พันธุ์ผักกาดขาวที่เกษตรกรนิยมใช้ได้แก่ ตราดอกโบตั๋น ตราช้าง ตราเครื่องบิน ตราเครื่องบินพิเศษ พันธุ์เทียนจินและพันธุ์เทียนจินเบอร์ 23 ซึ่งเป็นพันธุ์ที่ทนร้อนได้ปานกลาง

ผักกาดขาวเป็นผักที่มีอายุปีเดียว ในประเทศไทยสามารถปลูกได้ตลอดปี แต่ปลูกได้ผลดีที่สุดอยู่ในช่วงเดือนตุลาคมถึงกุมภาพันธ์ ขึ้นได้ในดินเกือบทุกชนิด แต่ชอบดินร่วนที่มีการระบายน้ำดีและมีความอุดมสมบูรณ์สูง มีความเป็นกรดเป็นด่างๆ (pH) ของดินอยู่ในช่วงพอเหมาะประมาณ 6 - 6.8 ต้องการน้ำอย่างสม่ำเสมอและเพียงพอเพื่อให้มีการเจริญเติบโตอย่างสม่ำเสมอ และควรได้รับแสงแดดเต็มที่ตลอดวัน อุณหภูมิที่เหมาะสมอยู่ระหว่าง 15 - 22 องศาเซลเซียส

แปลงเพาะกล้า ทำ การไถดินบนแปลง แล้วตากดินทิ้งไว้ประมาณ 5 - 7 วัน หลังจากนั้นหว่านปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมักที่สลายตัวดีแล้วให้มาก คลุกเคล้าให้เข้ากับดิน พรวนย่อยดินให้ละเอียดโดยเฉพาะผิวหน้าดิน ทั้งนี้เพื่อป้องกันไม่ให้เมล็ดผักกาดขาวซึ่งมีขนาดเล็กตกในดินลึกเกินไป เมื่อปลูกโดยวิธีหว่าน
แปลงปลูก ทำ การไถดินหรือขุดดินให้ลึกประมาณ 30 เซนติเมตร ตากดินทิ้งไว้ประมาณ 7-10 วัน แล้วทำการไถพรวนดินอีกครั้ง ใส่ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมักที่สลายตัวดีแล้วพร้อมกับคลุกเคล้าให้เข้ากับดิน ถ้าดินเป็นดินทรายควรใส่ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมักให้มากขึ้น อัตราการใช้ประมาณ 2 ปี๊บต่อตารางเมตรหรือถ้าใช้มูลเป็ด ไก่ หรือสุกร ให้ลดปริมาณการใส่ลงมาเหลือตารางเมตรละ 1 ปี๊บก็พอ คลุกเคล้าให้เข้ากัน ใส่กรณีที่ดินเป็นดินเปรี้ยวหรือดินเป็นกรดควรใส่ปูนขาวในอัตราประมาณ 40 กิโลกรัมต่อไร่


การปลูกผักกาดขาวสามารถทำได้ 3 แบบ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับพันธุ์ที่นำมาปลูกและสภาพพื้นที่
1. แบบหว่านกระจายทั่วแปลง การปลูกแบบนี้ใช้ในกรณีที่ใช้พันธุ์ผสมทั่วๆ ไปมาปลูก เมล็ดพันธุ์มีราคาไม่แพง และโดยเฉพาะในท้องที่ภาคกลางที่ยกแปลงกว้าง มีร่องน้ำ

2. แบบแถวเดียว เหมาะสำหรับการปลูกแบบโรยเป็นแถวหรือย้ายกล้า กรณีใช้เมล็ดพันธุ์ลูกผสมที่มีราคาแพง ในท้องที่ที่ปลูกผักแบบไร่

3. แบบแถวคู่ เหมาะสำหรับการปลูกแบบหยอดเมล็ดหรือย้ายกล้า กรณีใช้เมล็ดพันธุ์ลูกผสมที่มีราคาแพง เช่น ในเขตท้องที่ภาคเหนือที่นิยมยกแปลงปลูกแคบ
สำหรับระยะปลูกที่เหมาะสมสำหรับปลูกผักกาดขาวในประเทศไทยก็คือ ระหว่างแถว 50 เซนติเมตร และระหว่างต้น 50 เซนติเมตร

การปลูกผักกาดขาวสามารถทำได้ 2 วิธีด้วยกันคือ

การปลูกลงบนแปลงปลูกโดยตรง และการปลูกโดยการเพาะกล้าก่อนแล้วย้ายไปปลูกในแปลงปลูก จะเลือกใช้วิธีใดนั้นขึ้นอยู่กับความสะดวกและความเหมาะสมของปัจจัยของ เกษตรกรเอง เช่น แรงงาน ลักษณะของแปลง และจำนวนเมล็ดพันธุ์ เป็นต้น

การปลูกลงบนแปลงปลูกโดยตรง การปลูกผักกาดขาวด้วยวิธีนี้มี 2 แบบ คือ
1. แบบหวานโดยตรง โดย การหว่านเมล็ดพันธุ์ให้กระจายทั่วทั้งแปลง ซึ่งการปลูกแบบนี้เหมาะสำหรับกรณีที่เมล็ดพันธุ์มีราคาไม่แพง และโดยเฉพาะในท้องที่ภาคกลางที่ยกแปลงกว้าง มีร่องน้ำ การหว่านควรหว่านให้เมล็ดกระจายสม่ำเสมอ โดยทั่วไปนิยมผสมพวกทรายหรือเมล็ดผักที่เสื่อมคุณภาพแล้วที่มีขนาดพอๆ กันลงไปด้วย เพื่อให้เมล็ดพันธุ์กระจายได้สม่ำเสมอยิ่งขึ้น จากนั้นใช้ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมักหว่านทับลงไปหนาประมาณ 1/2 - 1 เซนติเมตร เพื่อช่วยรักษาความชื้น เสร็จแล้วจึงคลุมด้วยฟางแห้งสะอาดบางๆ อีกชั้นหนึ่งรดน้ำด้วยบัวฝอยละเอียดให้ทั่วถึงสม่ำเสมอ หลังจากต้นกล้างอกและมีใบจริง 1-2 ใบควรถอนแยกเพื่อจัดระยะปลูกและถอนแยกครั้งสุดท้ายไม่ควรปล่อยให้กล้ามีอายุ เกิน 25-30 วัน โดยจัดระยะปลูกระหว่างต้นและระหว่างแถวประมาณ 50 x 50 เซนติเมตร

2. แบบปลูกเป็นแถวหรือหยอดเป็นหลุม โดย การหยอดเมล็ดให้เป็นแถวบนแปลงปลูก โดยให้ระยะระหว่างแถวห่างกัน 50 เซนติเมตร หยอดเมล็ดลึกประมาณ 1/2 - 1 เซนติเมตร หรือทำเป็นหลุมตื้นๆ หยอดเมล็ดลงประมาณ 3-5 เมล็ด ใช้ดินกลบให้หนา 1/2 เซนติเมตร ใช้หญ้าแห้งหรือฟางคลุมบางๆ รดน้ำด้วยบัวฝอยละเอียด เมื่อต้นกล้าเริ่มมีใบจริง 2 ใบให้ ทำการถอนแยกให้เหลือหลุมละ 1 ต้น ให้ได้ระยะต้นในแต่ละแถวเท่ากับ 50 เซนติเมตร และถอนแยกครั้งสุดท้ายอายุไม่ควรเกิน 30 วัน

การปลูกโดยการเพาะกล้าแล้วย้ายกล้าไปปลูก การปลูกผักกาดขาวด้วยวิธีนี้จะประหยัดเมล็ดพันธุ์ได้มาก โดยเฉพาะถ้าเป็นการปลูกโดยใช้เมล็ดพันธุ์ลูกผสมที่มีราคาแพง  หลังจากเตรียมดินแปลงเพาะกล้าเรียบร้อยแล้ว ให้หว่านเมล็ดให้ทั่วพื้นผิวแปลง แล้วใช้ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมักที่สลายตัวดีแล้วหว่านกลบให้หนาประมาณ 1/2 - 1 เซนติเมตร หรืออาจใช้วิธีหยอดเมล็ดเป็นแถวห่างกันแถวละประมาณ 5-10 เซนติเมตร ลึกลงไปในดินประมาณ 1/2 - 1 เซนติเมตร เมล็ดควรโรยให้ห่างกันพอสมควร แล้วหว่านกลบด้วยปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมักหรือดินผสมแล้วรดน้ำด้วยบัวฝอยละเอียด ให้ทั่วแปลง คลุมแปลงด้วยหญ้าแห้งหรือฟางสะอาดบางๆ เพื่อช่วยเก็บรักษาความชื้นในดินและป้องกันการกระแทกของน้ำต่อเมล็ดและต้นกล้าที่ยังเล็กอยู่  เนื่องจากกล้าผักกาดขาวค่อนข้างอ่อนแอ ดังนั้นควรย้ายชำลงถุงพลาสติกหรือกระทงก่อนเมื่อกล้าอายุประมาณ 20-25 วัน จากนั้นหมั่นดูแลรักษาและป้องกันโรคแมลงที่อาจเกิดขึ้น ก่อนการย้ายกล้าลงปลูกในแปลงควรทำให้กล้าแข็งแรง โดยการนำต้นกล้าออกตากแดดบ้าง อายุกล้าที่เหมาะสมในการย้ายปลูกคือ 30-35 วัน ไม่ควรใช้กล้าที่มีอายุมากเกินป การย้ายกล้าไปปลูกควรย้ายในช่วงบ่ายๆ ถึงเย็น หรือช่วงที่อาศมืดครึ้ม นำต้นกล้าปลูกในแปลงปลูกที่เตรียมไว้แล้ว โดยใช้ระยะห่างระหว่างต้นและระหว่างแถว 50 x 50 เซนติเมตร หลังจากปลูกเสร็จแล้วใช้ฟางหรือหญ้าแห้งคลุมดินอีกชั้นหนึ่ง เพื่อช่วยรักษาความชื้นในดินและผักตั้งตัวได้เร็ว แล้วรดน้ำด้วยบัวฝอยละเอียดการปลูกด้วยวิธีการเพาะกล้าก่อนนำไปปลูกนี้จะทุ่นค่าเมล็ดพันธุ์ ค่าปุ๋ย และปลูกได้เป็นระเบียบสวยงาม การดูแลและทำงานได้ปราณีตขึ้นทำให้ได้ผลผลิตดีขึ้น ทุ่นเวลาและแรงงานที่จะดูแลรักษาในขณะที่ยังเป็นต้นกล้าอยู่ แต่ในเวลาย้ายปลูกจะต้องใช้แรงงานมากในการปลูกให้รวดเร็ว


การให้น้ำ ผัก กาดขาวต้องการน้ำมากและสม่ำเสมอเพื่อใช้ในการเจริญเติบโตตลอดฤดูปลูก ดังนั้นควรให้น้ำอย่างเพียงพอและสม่ำเสมอ โดยในระยะแรกเมื่อผักกำลังงอกควรให้น้ำวันละ 3-4 ครั้ง เพื่อให้หน้าดินอ่อนสะดวกแก่การงอกของเมล็ด เมื่อผักมีอายุเกิน 7 วันไปแล้ว ก็ลดลงเหลือให้วันละ 3 ครั้ง พออายุเกิน 1 เดือนไปแล้วให้น้ำเพียงวันละ 2 ครั้ง เช้าและเย็น ไม่ควรให้น้ำในเวลาสายๆ ที่แดดจัดเพราะน้ำอาจร้อนทำให้ผักกาดขาว ซึ่งบางเสียหายได้ง่าย การให้น้ำควรใช้บัวรดน้ำหรือฉีดพ่นเป็นฝอยด้วยเครื่อง แต่อย่าให้ฉีดแรงนัก เพราะอาจจะเป็นอันตรายต่อผักได้ การให้น้ำผักกาดขาวระยะที่ควรระวังที่สุดก็คือ ในช่วงที่ผักกาดขาวกำลังห่อปลีไม่ควรให้ขาดน้ำอย่างเด็ดขาด เพราะจะทำให้การห่อปลีและการเจริญเติบโตไม่สมบูรณ์

การใส่ปุ๋ย เนื่อง จากผักกาดขาวเป็นผักกินใบ ดังนั้นควรเลือกใช้ ปุ๋ยเคมี-อินทรีย์ตราบัวทิพย์ สูตรที่ 2 จึงจะเหมาะสม โดยให้ในอัตราประมาณ 80-150 กิโลกรัมต่อไร่ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความอุดมสมบูรณ์ของดินและปริมาณปุ๋ยคอกที่ใช้ โดยแบ่งใส่เป็น 2 ครั้ง คือ ครั้งแรกใส่เป็นปุ๋ยรองพื้นจำนวนครั้งหนึ่ง โดยใส่ตอนเตรียมดินปลูก และครั้งที่ 2 ใส่เมื่อผักกาดขาวมีอายุ 20 วัน
สำหรับผักกาดขาวพันธุ์ปลียาวและปลีกลมควรให้ปุ๋ยไนโตรเจน เช่น ยูเรียหรือแอมโมเนียมไนเตรท ในอัตรา 20-30 กิโลกรัมต่อไร่เมื่อกล้าอายุได้ 30-40 วัน โดยการหว่านหรือโรยข้างต้นก็ได้ แล้วรดน้ำตามทันที แต่ระวังอย่าให้ปุ๋ยตกค้างอยู่ที่ใบเพราะจะทำให้ใบไหม้


อายุการเก็บเกี่ยว  ของผักกาดขาวนั้น ไม่แน่นอน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับลักษณะประจำพันธุ์ของแต่ละพันธุ์คือ พันธุ์ที่เข้าปลีหลวมๆ มีอายุการเก็บเกี่ยวประมาณ 40-50 วัน หลังจากหว่านเมล็ด โดยเลือกเก็บเกี่ยวต้นเริ่มแก่เต็มที่ได้ขนาด สำหรับพันธุ์ปลียาวและปลีกลมมีอายุการเก็บเกี่ยวประมาณ 50-80 วันหลังจากหว่านเมล็ด โดยเก็บขณะที่ปลีห่อแน่นเต็มที่ก่อนที่ปลีจะเริ่มคลายตัวหลวมออก
วิธีการเก็บเกี่ยวโดยใช้มีดคมๆ ตัดที่โคนต้น แล้วตัดแต่งใบที่เป็นโรคถูกแมลงทำลายออกบ้างพอสมควร แต่ไม่มากนัก ควรเหลือใบนอกๆ ไว้สัก 2-3 ใบ เพื่อป้องกันการกระทบกระแทกระหว่างการขนส่ง


ประโยชน์ของ การปลูกผักกาดขาว
หัวผักกาดขาว: มีรสเผ็ดหวาน คุณสมบัติเย็น (เป็นยิน) ช่วยย่อย แก้ไอมีเสมหะ ไม่มีเสียง อาเจียนเป็นโลหิต ท้องเสีย
เมล็ด: มีรสเผ็ดหวาน คุณสมบัติเป็นกลาง แก้ไอมีเสมหะ และหืด ช่วยให้ย่อย ท้องเสีย
ใบ: มีรสเผ็ดขม คุณสมบัติเป็นกลาง ช่วยย่อย เจ็บคอ ท้องเสีย ขับน้ำนม
ช่วยระบบย่อยอาหาร ขับปัสสาวะ แก้ไอ มีโฟเลทสูง บำรุงคุณแม่ตั้งครรภ์

ในหัวผักกาดขาวสดส่วนที่ใช้เป็นอาหารได้ 100 กรัม มีน้ำ 91.7 กรัม โปรตีน 0.6 กรัม คาร์โบไฮเดรต 5.7 กรัม ความร้อน 250,000 แคลอรี่ เส้นใยหยาบ 0.8 กรัม ash 0.8 กรัม คาโรทีน (Carotene) 0.02 มก.วิตามินบีหนึ่ง 0.02 มก. วิตามินบีสอง 0.04 มก. กรดนิโคตินิค (Nicotinic acid) 0.5 มก. วิตามินซี 30 มก. แคลเซียม 49 มก. ฟอสฟอรัส 34 มก. เหล็ก 0.5 มก. โปแตสเซียม 196 มก.ซิลิกอน 0.024 มก. แมงกานีส 1.26 มก. สังกะสี 3.21 มก. โมลิบดีนัม 0.125 มก. โบรอน 2.07 มก.ทองแดง 0.21 มก. นอกจากนี้ยังมีกลูโคส (Glucose) ซูโครส (Sucross) Fructose Coumaric acid,Ferulic acid, Gentisic acid, Phenylpyruvic acid และกรดอะมิโนหลายชนิด

เมล็ด มีไขมัน เช่น: -Erucic acid, Linolenic acid และ Glycerol sinapate เป็นต้น น้ำมันหอมระเหยที่สำคัญคือ Methyl mercaptan นอกจากนี้ยังมีสารที่ยับยั้งแบคทีเรีย คือ Raphanin

การปลูกหัวไชเท้า




การปลูกผักกาดหัวไชเท้า
การเพาะปลูก การปลูกผักกาดหัวไชเท้า
ผักกาดหัวเป็นพืชผักอายุปีเดียวที่ปลูกกันไว้เพื่อบริโภคส่วนของรากที่ขยายตัวใหญ่ขึ้น ซึ่งเราเรียกว่า “หัวผักกาด” อาจจะเป็นสีแดงหรือสีขาวก็ได้ คุณภาพของหัวผักกาดขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายอย่าง เช่น พันธุ์ การปลูก การปฎิบัติดูแลรักษา ตลอดจนการเก็บเกี่ยว ถ้าหากปล่อยให้อายุแก่หรือเลยระยะเวลาเก็บเกี่ยวแล้วรากจะขยายใหญ่มากยิ่งขึ้นเพื่อสะสมอาการสำหรับสร้างดอก และติดเมล็ด เนื้อจะเริ่มฟ่าม มีเส้นใยมากขึ้น

ผักกาดหัว มีชื่ออื่น ๆ อีกเช่น ผักขี้หูด ผักกาดจีน ไช้โป๊ว หรือไช้เท้า เป็นต้น สามารถปลูกได้ดีในดินร่วนปนทราย ซึ่งมีความชื้นในดินสูงพอควร และได้รับแสงแดดตลอดวัน มีพีเอชประมาณ 5.5-7.0 และอุณหภูมิประมาณ 18.5-24 องศาเซลเซียส สามารถปลูกได้ผลดีที่สุด ในช่วงเดือนตุลาคม – มกราคม เป็นที่นิยมปลูกกันมากทางภาคตะวันตกของประเทศไทย เช่นแถบจังหวัดราชบุรี เพชรบุรีและกาญจนบุรี
ผักกาดหัวนิยมปลูกเพื่อใช้เป็นอาหารทั้งรับประทานสดหรือดองเค็ม (ไช้โป๊ว) เพราะมีคุณค่าทางโภชนาการสูงพอควร คือ ในปริมาณ 100 กรัม จะให้โปรตีน 1 กรัม, คาร์โบไฮเดรท 3.6 กรัม, ไขมัน 0.1 กรัม, วิตามิน เอ 10 ไอ.ยู รวมทั้งพลังงาน 17 แคลลอรี่ นอกจากนี้ยังมีธาตุอาหารอื่น ๆ รวมอยู่อีกมาก

พันธุ์ที่ใช้ปลูก
ผักกาดหัวแบ่งออกเป็น 2 กลุ่มใหญ่ ๆ คือ
1. กลุ่มยุโรป ซึ่งเรียกกันว่า แรดิช ซึ่งส่วนของรากมีขนาดเล็กมาก ผิวสีแดงเข้ม ดำ หรือน้ำเงิน เนื้อภายในอาจเป็นสีขาว หรือสีแดง มีอายุการเก็บเกี่ยวสั้นประมาณ 18-25 วัน นิยมปลูกและบริโภคเป็นผักสลัดในแถบทวีปยุโรป และอเมริกา

2. กลุ่มอาเซีย เรียกกันว่า ผักกาดหัว ส่วนของรากที่ขยายใหญ่หรือหัวมีขนาดใหญ่ รูปทรงแตกต่างกันไป เช่น ทรงกลม, กระบอกกรวยยาว และยาวธรรมดา ขึ้นอยู่กับพันธุ์ ผิวของรากอาจเป็นสีขาวหรือสีแดงแต่เนื้อภายในสีขาว มีอายุการเก็บเกี่ยวยาวกว่ากลุ่มแรกคือพันธุ์เบาประมาณ 42-45 วัน และพันธุ์หนักประมาณ 60-65 วัน สามารถแยกออกได้เป็น 2 พวกคือ
2.1 พันธุ์แบบญี่ปุ่น ซึ่งมีลักษณะขอบใบหยักลึกเข้าไปตลอดใบ จะถี่มากหรือน้อยขึ้นอยู่กับชนิดของพันธุ์ ส่วนใหญ่เป็นพันธุ์หนัก หรือปานกลาง
2.2 พันธุ์แบบจีน มีลักษณะขอบใบเรียบ ไม่มีรอยหยักหรือมีน้อยมาก ส่วนใหญ่เป็นพันธุ์เบา

พันธุ์ที่นิยมปลูกในบ้านเรานั้น เป็นพันธุ์กลุ่มเอเชียทั้ง 2 พวกดังกล่าว เช่น
ก. พันธุ์แม่โจ้ 1 (OW-1) มีลักษณะรูปทรงของหัวแบบทรงกรวยยาว ผิวเปลือกและเนื้อในสีขาว ยาวประมาณ 20-22 ซม. รสชาติไม่เผ็ดนัก ใบและขอบใบเรียบ ไม่มีหยัก หรือมีน้อย ไม่มีขนหรือหนามดอกสีขาว เป็นพันธุ์เบามีอายุการเก็บเกี่ยวประมาณ 42 วัน หลังจากหยอดเมล็ด


ข. พันธุ์ เค.ย.- วัน ลักษณะรูปทรงของหัวแบบทรงกรวยยาว ผิวเปลือกและเนื้อในสีขาวเช่นกัน ยาวประมาณ 20.5 เซนติเมตร เส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 4.5 ซม. และน้ำหนักต่อหัวโดยเฉลี่ยประมาณ 225 กรัม ใบเรียบไม่มีขน หรือหนาม ขอบใบเรียบและมีหยักเล็กน้อยบริเวณโคนก้านใบ ดอกสีขาว เหมาะสำหรับรับประทานสดมากกว่าดองเค็ม เป็นพันธุ์เบา มีอายุการเก็บเกี่ยวประมาณ 45-48 วัน หลังจากหยอดเมล็ด

ค. พันธุ์เอฟเวอเรส ไฮบริด มีขนาดของหัวโตสม่ำเสมอ ยาวประมาณ 30 – 35 ซม. เส้นผ่าศูนย์กลาง 6 – 7 ซม. ลักษณะใบเรียบ ไม่มีขน เป็นพันธุ์ปานกลาง มีอายุการเก็บเกี่ยวประมาณ 50 วัน หลังจากหยอดเมล็ด เป็นพันธุ์จากประเทศญี่ปุ่น

การปลูก
การเตรียมแปลง เนื่องจากผักกาดหัวเป็นพืชที่มีระบบรากลึก ควรขุดดินให้ลึกตั้งแต่ 10-12 นิ้วขึ้นไป และตากดินทิ้งไว้ 7-10 วันก่อนปลูก ใส่ปุ๋ยคอก หรือปุ๋ยหมักที่สลายตัวดีแล้ว อัตรา 1,500-2,000 กก.ต่อไร่ เพื่อปรับปรุงคุณสมบัติทางกายภาพของดินกรณีดินเป็นกรด ควรใส่ปูนเพื่อปรับระดับพีเอชของดินให้พอเหมาะกับผักกาดหัว จากนั้นจึงยกแปลงกว้างประมาณ 1 – 1.5 เมตร ยาวแล้วแต่พื้นที่ และความสะดวกในการปฎิบัติงาน ใส่ปุ๋ยเคมีตามอัตราส่วนที่แนะนำ พรวนดินหรือย่อยดินชั้นผิวหน้า เพื่อกลบปุ๋ยรองพื้นและให้ดินผิวหน้ามีขนาดเล็ก

การปลูก นิยมปลูก 2 แบบ
1. โรยเป็นแถว โดยการเจาะร่องตามความยาวของแปลง จำนวน 3 แถวต่อแปลง ระยะห่างเท่ากับ 30 – 45 ซม. ลึกประมาณ 1 – 1.2 ซม. โรยเมล็ดตามร่อง กลบด้วยขี้เถ้าแกลบ หรือดินผสมที่ละเอียดคลุมด้วยฟางหรือหญ้าแห้งรดน้ำให้ชุ่ม

2. หยอดหลุม โดยการเจาะหลุมปลูกระยะห่างระหว่างต้น 20 – 30 ซม. และระหว่างแถว 30 – 45 ซม. จำนวน 3 แถวต่อแปลง หยอดเมล็ด 3 – 5 เมล็ดต่อหลุม กลบด้วยขี้เถ้าแกลบ หรือดินผสมละเอียด คลุมด้วยฟางหรือหญ้าแห้ง รดน้ำให้ชุ่ม

การปฎบัติดูแลรักษา
1. การให้น้ำ ควรให้อย่างสม่ำเสมอและเพียงพอต่อความต้องการ ถ้าขาดน้ำจะทำให้ได้ขนาดและคุณภาพของหัวผักกาดเลวลง

2. การถอนแยก หลังจากปลูกได้ 7 – 10 วันหรือต้นกล้าเริ่มงอกมีใบจริง 2 – 3 ใบ ควรถอนแยกบ้างโดยถอนต้นที่อ่อนแอเป็นโรคหรือถูกแมลงทำลายทั้ง กรณีปลูกแบบโรยเป็นแถว ควรถอนแยกและจัดระยะห่างระหว่างต้น 20 – 30 ซม. ส่วนการปลูกแบบหยอดหลุมควรถอนให้เหลือหลุมละ 1 ต้น

3. การให้ปุ๋ย ปุ๋ยที่แนะนำให้ใช้กับผักกาดหัวนั้น นอกจากจะแนะนำให้ใช้ปุ๋ยคอก หรือปุ๋ยหมักที่สลายตัวดีแล้ว อัตรา 1,500 – 2,000 กก.ต่อไร่ โดยแบ่งใส่ 2 ครั้ง ครั้งแรกใส่ก่อนปลูกปริมาณครึ่งหนึ่ง ครั้งที่สองเมื่อผักกาดหัวมีอายุ 20 – 25 วันหลังปลูก และปุ๋ยแอมโมเนียมซัลเฟท (21-0-0) อัตรา 10 – 15 กก./ไร่ หลังปลูก 7 – 10 วัน โดยโรยข้างแถว และพรวนดินกลบลงไป

4. การพรวนดินและกำจัดวัชพืช ควรกระทำพร้อม ๆ กับการใส่ปุ๋ยทั้ง 2 ครั้งดังกล่าวคือ หลังปลูก 7 – 10 และ 20 – 25 วัน หลังปลูก ควรกระทำด้วยความระมัดระวัง เพราะถ้ารากกระทบกระเทือนมากเกินไป จะทำให้ผักกาดไม่ลงหัว


5. การป้องกันกำจัดโรค และแมลง  โรคที่สำคัญของผักกาดหัว ได้แก่
ก. โรคโคนเน่า เกิดจากเชื้อรา 3-4 ชนิด มักระบาดใยแปลงเพาะที่ต้นกล้าขึ้นแน่น แสงแดดส่งไม่ถึงโดยต้นกล้าจะแสดงอาการหักที่โคนต้น และเหี่ยวแห้งตายในเวลาต่อมา บริเวณที่เป็นโรคจะขยายออกเป็นวงกลม ต่อมาจะไม่มีกล้าเหลือบริเวณนั้นเลย เมื่อตรวจดูใกล้ ๆ จะพบว่าโดนต้นมีแผลสีน้ำตาลดำ

การป้องกันกำจัด โดยอย่างหว่านกล้าผักแน่นเกินไป หรือควรมีการถอนแยก จัดระยะต้นกล้าให้ห่างพอเหมาะ หากใช้สารเคมีควรใช้

- พีซีเอ็นบี อัตรา 10 – 20 กรัม/น้ำ 20 ลิตร ฉีดพ่นหรือราดลงบนดิน ทุก 7 วัน

- คอปเปอร์อ๊อกซี่คลอไรด์ อัตรา 30 กรัม/น้ำ 20 ลิตร ฉีดพ่น หรือราดทุก 7 วัน

- พีวีเคอร์ อัตรา 10 – 20 ซีซี./น้ำ 20 ลิตร ฉีดพ่น ทุก 5-7 วัน

1. โรคเน่าเละ มีแบคทีเรียเป็นเชื้อสาเหตุ โดยจะแสดงอาการเป็นจุดฉ่ำน้ำ และเน่าอย่างรวดเร็วทำให้เนื้อเยื่อเปื่อยและเป็นน้ำภายใน 2-3 ผักกาดหัวจะเน่ายุบหายไปทั้งต้นหรือหัวโดยอาการเน่าเริ่มจากโคนก้านใบ หรือกลางลำต้นอ่อน ซึ่งเข้าทางบาดแผลที่หนอนหรือแมลงทำลายไว้ก่อนแล้ว

การป้องกันกำจัด ระมัดระวังในการเข้าปฏิบัติงานอย่าให้ต้นผักกาดหัวเกิดบาดแผล หรือใช้สารเคมีพวกยาฆ่าแมลงพ่นไล่แมลง ถ้าเกิดแล้ว ควรใช้สารเคมีพวกยาปฎิชีวนะ เช่น อะกริมัยซิน อัตรา 10 – 20 กรัม/น้ำ 20 ลิตร ฉีดพ่นทุก 7 วัน

2. โรคเน่าดำ สาเหตุจากเชื้อแบคทีเรีย ซึ่งติดมากับเมล็ดพันธุ์ โดยแสดงอาการขอบใบแห้งเข้าไปเป็นรูปสามเหลี่ยมปลายแหลมชี้ไปที่เส้นกลางใบ อาการใบแห้งนี้จะลุกลามเข้าไปถึงเส้นกลางใบ และส่วนอื่น ๆ จะสังเกตเห็นเส้นใบสีดำชัดเจน ใบเหลืองและแห้งตายในที่สุด

การป้องกันกำจัด ใช้เมล็ดพันธุ์ที่ปราศจากโรคนี้ใช้พันธุ์ต้านทานปลูกพืชหมุนเวียนหรือใช้สารเคมีพวกปฎิชีวนะ เช่น อะกริมัยซิน อัตรา 10 กรัม/น้ำ 20 ลิตร ฉีดพ่นทุก 7 วัน

แมลงที่สำคัญของผักกาดหัว ได้แก่
3. เพลี้ยอ่อน ลักษณะลำตัวเล็กมาก ขนาดเล็กกว่า 2 มม. สีเขียวทึบ ทำลายผักกาดหัวโดยการดูดกินน้ำเลี้ยงที่ยอดหรือใบอ่อน ทำให้ส่วนที่ถูกทำลายแคระแกรนผิดปกติ นอกจากนี้ยังเป็นพาหะของโรคที่เกิดจากเชื้อโวรัสหลายชนิด

การป้องกันกำจัด โดยการปลูกพืชหมุนเวียนและทำลายวัชพืชในบริเวณแปลงปลูกผักกาดหัว และแปลงข้างเคียงเพื่อเป็นการทำลายพืชอาศัย รวมทั้งการใช้สารเคมีพวก เมทามิโดฟอส และเมวินฟอส อัตรา 20 – 30 ซีซีต่อน้ำ 20 ลิตร ฉีดพ่นทุก 5-7 วัน

4. หนอนใยผัก ลักษณะขนาดลำตัวเล็กประมาณ 1 ซม. สีเขียวอ่อน เท่าอ่อน หรือเขียวปนเหลือง มองเห็นค่อนข้างยาก หัว-ท้ายแหลม เมื่อถูกลำตัวจะดิ้นอย่างแรง และทิ้งตัวลงดิน โดยการสร้างใย ทำลายผักกาดหัวโดยการกัดกินผิวใบด้านล่างจนเป็นรูพรุน โดยเฉพาะใบส่วนยอดที่กำลังเจริญ ระบาดมากช่วงฤดูหนาวต่อฤดูร้อน

การป้องกันกำจัด ทำลายต้นผักกาดหัวทันทีหลังการเก็บเกี่ยว และวัชพืชบริเวณข้างเคียงเพื่อมิให้เป็นที่ขยายพันธุ์ หรือใช้สารฆ่าแมลงประเภทจุลินทรีย์ เช่น ทรูริไฮด์, อโดรน่า เป็นต้น อัตรา 20 – 30 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร ฉีดพ่นทุก 5-7 วัน หรือใช้สารเคมีพวกเพอร์เมทริน อัตรา 20 ซีซี หรือเมทามิโดฟอส อัตรา 30 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร ฉีดพ่นทุก 5-7 วัน

5. ด้วงหมัดผัก ที่พบมี 2 ชนิด คือชนิดลาย ซึ่งมีแถบสีน้ำตาลอ่อนพาด 2 แถว ประมาณ 80% อีกชนิดหนึ่งคือชนิดสีน้ำเงินเข้ม ลำตัวมีขนาดเล็กสีขาวใส โตเต็มที่ยาวประมาณ 0.5 ซม. ตัวแก่เป็นแมลงปีกแข็ง เวลาถูกกระทบกระเทือนจะกระโดดไปได้ไกลโดยอาศัยโคนขาหลังที่ใหญ่จะทำลายผักกาดหัวโดยตัวแก่ชอบกัดกินใบจนพรุน ตัวอ่อนชอบกัดกินซากพืช ระบาดมากบริเวณที่ปลูกซ้ำที่เดิมโดยเฉพาะฤดูฝน

การป้องกันกำจัด โดยการไถตากดินในฤดูแล้ง กำจัดวัชพืชในบริเวณแปลงปลูกผักกาดหัว และปลูกพืชหมุนเวียนเพื่อช่วยทำลายตัวอ่อน, ดักแด้ และตัดชีพจักร นอกจากนี้ยังสามารถใช้สารเคมี พวกเมทามิโดฟอส 20 ซีซี, ดีดีวีพี 30 ซีซี และออร์ซีน 30 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร ฉีดพ่นทุก 5-7 วัน

การเก็บเกี่ยว
ควรเก็บเกี่ยวทันที เมื่อถึงอายุการเก็บเกี่ยวซึ่งขึ้นอยู่กับแต่ละพันธุ์ และสภาพแวดล้อม การปล่อยให้ผักกาดหัวแก่เกินอายุการเก็บเกี่ยวจะทำให้คุณภาพลดลง คือเนื้อฟ่าม เหนียว ไม่กรอบ รสไม่ดี และน้ำหนักลดลงมาก โดยเฉพาะพวกพันธุ์เบา

ประโยชน์ของ การปลูกผักกาดหัวไชเท้า
ราก : รสชุ่ม เย็น ละลายเสมหะ แก้พิษ ท้องอืดแน่นเนื่องจากกินมากเกิน เสมหะมากไม่มีเสียง อาเจียนเป็นเลือด กระอักเลือด กระหายน้ำ บิด และปวดหัวข้างเดียว รากทำให้สุก ใช้เป็นยาระบาย สมานลำไส้ บำรุงม้าม ขับเสมหะ เรียกน้ำลาย แก้คันและบำรุงเลือด
เมล็ด : รสเผ็ด ชุ่ม เย็น เมล็ดคั่วแล้วมีรสเผ็ด ชุ่ม สุขุม ใช้เป็นยาระบาย ระงับอาการหอบ ช่วยย่อยอาหาร ขับเสมหะ แก้ไอหอบมีเสมหะมาก ท้องอืดแน่น บิด และแก้บวม
ใบหรือทั้งต้น : รสเผ็ด ขม สุขุม ทำให้เจริญอาหาร แก้ท้องเฟ้อเรอเปรี้ยว ท้องอืดแน่น อาหารไม่ย่อย บิด ท้องร่วง เจ็บคอ ต่อมน้ำนมบวม และน้ำนมคั่ง
ใบสด : คั้นเอาน้ำทา แก้ผิวหนังเป็นผื่นคันมีน้ำเหลือง

การปลูกฟักทอง





การปลูกฟักทอง
ฟักทอง จัดเป็นผักในตระกูลแตงที่มีการใช้ประโยชน์มาอย่างยาวนานที่สุดชนิดหนึ่ง คาดการณ์ว่ามีการปลูกมานานไม่ต่ำกว่า 10,000 ปี สำหรับการปลูกฟักทองในประเทศไทยได้มีการพัฒนามาอย่างต่อเนื่อง คนไทยนิยมบริโภคฟักทองที่มีขนาดน้ำหนักผลเฉลี่ย 2-3 กิโลกรัม เปลือกมีสีเขียวคล้ำ ร่องผลเป็นพูสม่ำเสมอหรือเปลือกขรุขระแบบหนังคางคก เนื้อสีเหลืองหนาและเหนียว พันธุ์ฟักทองที่เกษตรกรไทยนิยมปลูกเป็นการค้าส่วนใหญ่จะซื้อพันธุ์ลูกผสมที่ มีราคาค่อนข้างแพงให้ผลผลิตสูงแต่ไม่สามารถเก็บเมล็ดไว้ทำพันธุ์ต่อได้ ในขณะที่อีกกลุ่มหนึ่งเป็นพันธุ์ฟักทองที่ได้จากการผสมปล่อยและได้มีการคัด เลือกพันธุ์จนมีความนิ่งระดับหนึ่งเมื่อปลูกไปแล้วสามารถเก็บเมล็ดพันธุ์ไว้ ทำพันธุ์ต่อได้

ผศ.ดร.จานุลักษณ์ ขนบดี จากสถาบันวิจัยและฝึกอบรมการเกษตรลำปาง มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา ได้มีการเผยแพร่ วิธีการปลูกฟักทองแบบปลอดภัย เริ่มต้นจากการปรับปรุงดินให้มีคุณภาพดีโดยใช้ปุ๋ยหมักชีวภาพ มีการคลุมดินด้วยวัสดุจากธรรมชาติ เช่น ฟางข้าว ซากพืชและสัตว์ที่ผุพัง มีการปลูกพืชหมุนเวียนเพื่อลดการระบาดของศัตรูพืชและมีการอนุรักษ์แมลงที่ เป็นประโยชน์ การราดน้ำปุ๋ยหมักชีวภาพลงในดินที่ใช้ปลูกฟักทองจะเป็นการเพิ่มปริมาณ จุลินทรีย์ให้แก่ดินบริเวณรากพืช จุลินทรีย์จะใช้อาหารจากปุ๋ยหมักชีวภาพและตรึงไนโตรเจนจากอากาศได้


ในการเตรียมพื้นที่ปลูกฟักทอง เกษตรกรจะต้องทราบสภาพความเป็นกรด-ด่างของดิน ถ้าดินมีค่า pH ต่ำกว่า 5.5 จะต้องใส่ปูนขาวหรือปูนโดโลไมท์ อัตรา 100-200 กิโลกรัมต่อไร่ และจะต้องใส่ก่อนลงมือปลูกอย่างน้อย 1 อาทิตย์

หลังจากนั้นให้ไถพรวนผสมคลุกเคล้าให้ปูนผสมกับดินและตากดินทิ้งไว้ การไถพรวนตากดินควรให้มีความลึกอย่างน้อย 30 เซนติเมตร

สิ่งสำคัญอีกประการหนึ่งที่เกษตรกรผู้ปลูกฟักทองควรคำนึงคือ ต้นฟักทองจะมีการเจริญเติบโตได้ดีที่อุณหภูมิเฉลี่ย 18-27 องศาเซลเซียส จัดเป็นพืชผักที่ไม่ทนต่อสภาพอากาศที่หนาวเย็นจัด พบว่าต้นฟักทองจะชะงักการเจริญเติบโตในสภาพอุณหภูมิที่ต่ำกว่า 10 องศาเซลเซียส

หลังจากที่เพาะเมล็ดฟักทองในถาดเพาะกล้านานเฉลี่ย 10-13 วัน หรือเมื่อต้นฟักทองมีใบจริง 1-2 ใบจึงทำการย้ายปลูก ปัจจุบันมีเทคโนโลยีสมัยใหม่ที่มีความปลอดภัยต่อเกษตรกรและสิ่งแวดล้อมด้วย การรองก้นหลุมด้วยสารสตาร์เกิล จี อัตรา 2 กรัมต่อหลุม

พบว่าในระยะการเจริญเติบโตของต้นกล้าจนต้นฟักทองมีความสูงประมาณ 20-30 เซนติเมตร สารสตาร์เกิล จี จะป้องกันการทำลายของแมลงปากดูดทุกชนิดรวมถึงกำจัดเต่าแตงที่เข้ามาทำลายใบ ฟักทองได้ด้วย ในการปลูกฟักทอง ในเชิงพาณิชย์แนะนำให้ใช้ระยะปลูกระหว่างต้น 1 เมตร ระยะระหว่างแถว 4 เมตร พื้นที่ 1 ไร่ จะปลูกได้ประมาณ 400 ต้น.

 
ฟักทอง จัดเป็นผักในตระกูลแตงที่มีการใช้ประโยชน์มาอย่างยาวนานที่สุดชนิดหนึ่ง คาดการณ์ว่ามีการปลูกมานานไม่ต่ำกว่า 10,000 ปี สำหรับการปลูกฟักทองในประเทศไทยได้มีการพัฒนามาอย่างต่อเนื่อง คนไทยนิยมบริโภคฟักทองที่มีขนาดน้ำหนักผลเฉลี่ย 2-3 กิโลกรัม เปลือกมีสีเขียวคล้ำ ร่องผลเป็นพูสม่ำเสมอหรือเปลือกขรุขระแบบหนังคางคก เนื้อสีเหลืองหนาและเหนียว พันธุ์ฟักทองที่เกษตรกรไทยนิยมปลูกเป็นการค้าส่วนใหญ่จะซื้อพันธุ์ลูกผสมที่ มีราคาค่อนข้างแพงให้ผลผลิตสูงแต่ไม่สามารถเก็บเมล็ดไว้ทำพันธุ์ต่อได้ ในขณะที่อีกกลุ่มหนึ่งเป็นพันธุ์ฟักทองที่ได้จากการผสมปล่อยและได้มีการคัด เลือกพันธุ์จนมีความนิ่งระดับหนึ่งเมื่อปลูกไปแล้วสามารถเก็บเมล็ดพันธุ์ไว้ ทำพันธุ์ต่อได้

การปลูกฟักทอง
การเตรียมดิน
การปลูกฟักทองคล้ายๆ กับแตงโม ควรขุดไถดินลึกประมาณ 25-30 ซม. เพราะเป็นพืชที่มีระบบรากลึก ควรตากดินทิ้งไว้ 5-7 วัน เพื่อฆ่าเชื้อโรคและวัชพืชได้บ้าง ควรใส่ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมัก เพื่อปรับปรุงสภาพดินให้ร่วนซุย และเพิ่มความอุดมสมบูรณ์ให้ดิน แล้วจึงย่อยพรวนดินให้ร่วนซุยเก็บเศษวัชพืชต่างๆ ออกจากแปลงให้หมด


การปลูก พันธุ์ที่มีลำต้นเลื้อยและให้ผลใหญ่ ใช้เนื้อที่ปลูกมาก โดยใช้ระยะปลูก 3x3 เมตร
พันธุ์ที่มีทรงต้นพุ่ม ให้ผลขนาดเล็ก ใช้ระยะปลูก 75x150 ซม. (พันธุ์เบา)
ใช้วิธีหยอดหลุมปลูก หลุมละ 3-5 เมล็ด ลึกประมาณ 3-5 ซม. แล้วกลบหลุม ถ้ามีฟางข้าวแห้ง ให้นำมาคลุมแปลงปลูก เพื่อรักษาความชุ่มชื้นให้แก่ผิวหน้าดิน และเมล็ดพันธุ์จะงอกเป็นต้นกล้า ตั้งตัวได้เร็วการหยอดหลุมปลูกในแปลง จะได้ต้นกล้าที่แข็งแรง และโตเร็วกว่า การย้ายกล้าจากถุงมาปลูก หากหลุมใดไม่งอก แม้จะนำมาปลูกซ่อม ก็จะเจริญไม่ทัน แต่หากว่างไว้ จะกินเนื้อที่ว่างมาก ควรปลูกซ่อม แต่จะเก็บผลได้ช้ามาก

การดูแลรักษาและใส่ปุ๋ย
1. เมื่อต้นกล้างอกจะมีใบจริง 2-3 ใบแล้ว ควรถอนแยกต้นที่ไม่สมบูรณ์ทิ้งไป เหลือต้นที่สมบูรณ์แข็งแรง เหลือหลุมละ 2 ต้น และรดน้ำทุกวัน

2. เมื่อต้นกล้าเจริญจนไม่มีใบจริง 4 ใบ ช่วงนี้ให้ใส่ปุ๋ยแอมโมเนียมซัลเฟตหรือปุ๋ยผัก (21-0-0) ละลายน้ำแล้วใช้รดต้นฟักทอง ต้องรดน้ำทุกวัน

3. เมื่อฟักทองเริ่มออกดอก ใส่ปุ๋ยเคมี สูตร 15-15-15 (หรือสูตรใกล้เคียงกัน เช่น 13-13-27 หรือ 14-14-21) โรยรอบๆ ต้นแล้วรดน้ำตามและใส่ปุ๋ยอีกครั้งเมื่อฟักทองเริ่มติดผลอ่อน

4. พันธุ์ฟักทองที่เป็นพันธุ์หนักให้ผลโต อายุเก็บเกี่ยวยาวนาน ดังนั้นการใส่ปุ๋ยให้ฟักทองพันธุ์หนักควรใส่มากกว่าพันธุ์เบา

5. การรดน้ำต้องรดน้ำทุกวัน จนคะเนว่าอีก 15 วัน จะเก็บผลแก่ได้ จึงเลิกรดน้ำ





ประโยชน์ของ การปลูกฟักทอง
ฟักทองมีกากใยสูง อุดมด้วยวิตามินเอและสารต่อต้านการผสมกับออกซิเจนกับเกลือแร่ และมี “กรดโปรไพโอนิค” กรดนี้ทำให้ทำให้เซลล์มะเร็งให้อ่อนแอลง

ประโยชน์ทางยา

ส่วนที่ใช้เป็นยา เมล็ด ราก ขั้ว น้ำมันจากเมล็ด เยื่อกลางผลยางรสและสรรพคุณในตำรายาไทย
เมล็ด รสมัน ขับพยาธิตัวตืด ขับปัสสาวะ บำรุงร่างกาย แก้พิษปวดบวม
ราก รสเย็น ต้มน้ำดื่ม บำรุงร่างกาย แก้ไอ ถอนพิษของฝิ่น ดับพิษสัตว์กัดต่อย
ขั้ว รสเย็น ฝนกับมะนาวผสมใยฝ้ายเผาไฟ รับประทานแก้พิษกิ้งกือกัด
น้ำมันจากเมล็ด รสหวานมัน รับประทานบำรุงประสาท
เยื่อผลกลาง รสหวานเย็น พอก แก้ฟกช้ำ แก้ปวดอักเสบ
ยาง แก้พิษผื่นคัน เริมและงูสวัด

บทความที่ได้รับความนิยม

 
Support : |
Copyright © 2011-2012 อาชีพพารวย - All Rights Reserved
เข้าสู่ปีที่ 2 อาชีพพารวย เพื่อนคู่คิดนักเกษตร พ.ศ. 2555
เว็บไซต์เพื่อนเกษตร